ความหมายของแผนการสอน
แผนการสอน คือ การนำวิชาหรือกลุ่มประสบการณ์ที่ต้องทำการสอน ตลอดภาคเรียนมาสร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อ อุปกรณ์การสอน การวัดและการประเมินผล สำหรับเนื้อหาสาระและจุดประสงค์การเรียนการสอนย่อยๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุ
ประสงค์หรือจุดเน้นของหลักสูตร สภาพผู้เรียน ความพร้อมของโรงเรียนในด้านวัสดุอุปกรณ์ และตรงกับชีวิตจริงในท้องถิ่น ซึ่งถ้ากล่าวอีกนัยหนึ่ง แผนการสอนคือ การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้า หรือ คือการบันทึกการสอนตามปกตินั่นเอง (กรมวิชาการ. 2545 : 3)
นิคม ชมภูหลง (2545 : 180) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า แผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์และจุดมุ่งหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ภพ เลาหไพฑูรย์ (2540 : 357) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึงลำดับขั้นตอนและกิจกรรมทั้งหมดของผู้สอนและผู้เรียน ที่ผู้สอนกำหนดไว้เป็นแนวทางในการจัดสถานการณ์ให้ผู้เรียนเปลี่ยนพฤติกรรมไปตามวัตถุประสงค์
วัฒนาพร ระงับทุกข์ (2542 : 1) ให้ความหมายของแผนการสอนว่าแผนการสอน หมายถึง แผนการหรือโครงการที่จัดทำเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ในการปฏิบัติการสอนในรายวิชาใดวิชาหนึ่ง เป็นการเตรียมการสอนอย่างมีระบบและเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนการสอนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดหมายของหลักสูตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2543 : 133) ให้ความหมายของแผนการสอนว่า หมายถึง การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อเป็นแนวดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้งโดยกำหนดสาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอนสื่อ ตลอดจนการวัดผลและการประเมินผล
สถาบันพัฒนาความก้าวหน้า (2545 : 69) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ว่าเป็นแผนงานหรือโครงการที่ครูผู้สอนได้เตรียมการจัดการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ปฏิบัติการเรียนรู้ในรายวิชาใดวิชาหนึ่งอย่างเป็นระบบระเบียบ โดยใช้เป็นเครื่องมือสำหรับจัดการเรียนรู้เพื่อนำผู้เรียนไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตรอย่างมีประสิทธิภาพ
กรมวิชาการ (2545 : 73) ได้ให้ความหมายของแผนการจัดการเรียนรู้ คือผลของการเตรียมการวางแผนการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบโดยนำสาระและมาตรฐานการเรียนรู้
คำอธิบายรายวิชา และกระบวนการเรียนรู้ โดยเขียนเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นไปตามศักยภาพ
ของผู้เรียน
สรุปว่า แผนการสอนคือ การวางแผนการจัดกิจกรรมเป็นลายลักษณ์อักษรไว้ล่วงหน้าอย่างละเอียด เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งมีเนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการสอน และวิธีวัดผลประเมินผลที่ชัดเจน
ความสำคัญของแผนการจัดการเรียนรู้
สุพล วังสินธ์ (2536 : 5–6) กล่าวว่า แผนการจัดการเรียนรู้เป็นกุญแจดอกสำคัญที่ทำให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพมากขึ้นซึ่งสรุปความไว้ ดังนี้
1. ทำให้เกิดการวางแผนวิธีเรียนที่ดี ผสมผสานความรู้และจิตวิทยาการศึกษา
2. ช่วยให้ครูมีคู่มือการสอนที่ทำด้วยตนเองล่วงหน้ามีความมั่นใจในการสอน
3. ส่งเสริมให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในด้านของหลักสูตร วิธีสอนการวัดผลและ
ประเมินผล
4. เป็นคู่มือสำหรับผู้มาสอนแทน
5. เป็นหลักฐานแสดงข้อมูลที่ถูกต้องเที่ยงตรง เป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษา
6. เป็นผลงานทางวิชาการแสดงความชำนาญความเชี่ยวชาญของผู้ทำ
ลักษณะที่ดีของแผนการจัดการเรียนรู้
สมนึก ภัททิยธนี (2546 : 5) ได้กล่าวถึงลักษณะที่ดีของแผนต้องมีขั้นตอน ดังนี้
1. เนื้อหาต้องเขียนเป็นรายคาบ หรือรายชั่วโมงตารางสอน โดยเขียนให้
สอดคล้องกับชื่อเรื่องให้อยู่ในโครงการสอน และเขียนเฉพาะเนื้อหาสาระสำคัญพอสังเขป (ไม่ควรบันทึกแผนการสอนอย่างละเอียดมาก ๆ เพราะจะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย)
2. ความคิดรวบยอด (Concept) หรือหลักการสำคัญ ต้องเขียนให้ตรงกับเนื้อหาที่
จะสอนส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจของเรื่องครูต้องทำความเข้าใจในเนื้อหาที่จะสอนจนสามารถเขียนความคิดรวบยอดได้อย่างมีคุณภาพ
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม ต้องเขียนให้สอดคล้อง กลมกลืนกับความคิดรวบ
ยอด มิใช่เขียนตามอำเภอใจไม่ใช่เขียนสอดคล้องเฉพาะเนื้อหาที่จะสอนเท่านั้นเพราะจะได้เฉพาะ
พฤติกรรมที่เกี่ยวกับความรู้ความจำ สมองหรือการพัฒนาของนักเรียนจะไม่ได้รับการพัฒนาเท่าที่ควร
4. กิจกรรมการเรียนการสอน โดยยึดเทคนิคการสอนต่างๆ ที่จะช่วยให้นักเรียน
เกิดการเรียนรู้
5. สื่อที่ใช้ควรเลือกให้สอดคล้องกับเนื้อหา สื่อดังกล่าวต้องช่วยให้นักเรียนเกิด
ความเข้าใจในหลักการได้ง่าย
6. วัดผลโดยคำนึงถึงเนื้อหา ความคิดรวบยอด จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและช่วง
ที่ทำการวัด (ก่อนเรียน ระหว่างเรียน หลังเรียน) เพื่อตรวจสอบว่าการสอนของครูบรรลุจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้หรือไม่
ประโยชน์ของแผนการจัดการเรียนรู้
ถ้าครูได้ทำแผนการสอนและใช้แผนการสอนที่จัดทำขึ้น เพื่อนำไปใช้สอนในคราวต่อไป แผนการสอนดังกล่าวจะเกิดประโยชน์ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 134)
1. ครูรู้วัตถุประสงค์ของการสอน
2. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ
3. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้เหมาะสมกับวัยของผู้เรียน
4. ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้อย่างมีคุณภาพ
5. ถ้าครูประจำชั้นไม่ได้สอน ครูที่มาทำการสอนแทนสามารถสอนแทนได้ตาม
จุดประสงค์ที่กำหนด
การวางแผนการจัดการเรียนรู้
การวางแผนการจัดการเรียนรู้ หมายถึง การตีความหมายของหลักสูตร และการกำหนดรายละเอียดของหลักสูตรที่จะต้องนำมาจัดการเรียนการสอน ให้แก่ผู้เรียน ผลจากการวางแผนจะได้
คู่มือที่ใช้เป็นแนวทาง เรียกว่ากำหนดการสอน ประกอบด้วยกิจกรรม ดังนี้ (สำนักงานคณะกรรมการ
การประถมศึกษาแห่งชาติ. 2544 : 2 – 7)
1. ศึกษาวิเคราะห์หลักสูตร ได้แก่ หลักการ จุดหมาย โครงสร้าง เวลาเรียนแนว
ดำเนินการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ตอบสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ และจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การวัดและการประเมินการเรียน คำอธิบายในแต่ละกลุ่มประสบการณ์ ซึ่งระบุเนื้อหาที่ต้องให้นักเรียนได้เรียน ตามลำดับขั้นตอนกระบวนการที่ต้องให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ และจุดประสงค์การเรียนรู้ที่ต้องการให้เกิดการเรียนรู้
2. ศึกษาความสอดคล้องสัมพันธ์กันกับองค์ประกอบแต่ละส่วนของหลักสูตร
3. ลำดับความคิดรวบยอดที่จัดให้นักเรียนแต่ละระดับชั้นได้เรียนรู้ก่อนหลัง โดย
พิจารณาขอบข่ายเนื้อหา และกิจกรรมที่กำหนดไว้ในคำอธิบายรายวิชา
4. กำหนดผลที่ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อได้เรียนรู้ความคิดรวบยอดแต่ละ
เรื่องแล้ว
5. กำหนดกิจกรรมการเรียนการสอนตามลำดับขั้นตอนที่กำหนดไว้ในคำอธิบาย
รายวิชา หรืออาจพิจารณาจากกิจกรรมที่เหมาสมกับเนื้อหาสาระ
6. กำหนดเวลาเรียนให้เหมาะสมกับขอบข่ายเนื้อหาสาระหรือความคิดรวบยอด
จุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมที่กำหนดไว้
7. รวบรวมรายละเอียดตามกิจกรรมข้อ 1 – 6 จัดทำเป็นเอกสารที่เรียกว่ากำหนด
การสอนหรือแนวการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ใช้เป็นแนวทางในการเตรียมแผนการสอนต่อไป
การเตรียมการสอนและการปฏิบัติการสอน
การเตรียมการสอนเริ่มด้วยการจัดทำแผนการสอน ซึ่งเป็นผลมาจากการวางแผน มาสร้าง
เป็นแผนการสอนย่อยๆ องค์ประกอบที่สำคัญของแผนการสอน ควรมีดังนี้ (สำลี รักสุทธี และคณะ.
2541 : 7)
1. สาระสำคัญ
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
3. เนื้อหา
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
5. สื่อการเรียนการสอน
6. การวัดและประเมินผลการเรียน
รายละเอียดแผนการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ (Lesson Plan) ประกอบด้วย 9 หัวข้อ โดยการบูรณาการของหน่วยศึกษานิเทศก์ (สำลี รักสุทธี และคณะ. 2541 : 136 – 137)
1. สาระสำคัญ (Concept) เป็นความคิดรวบยอดหรือหลักการของเรื่องหนึ่งที่
ต้องการให้เกิดกับนักเรียน เมื่อเรียนตามแผนกาสอนแล้ว
2. จุดประสงค์การเรียนรู้ (Learning Objective) เป็นการกำหนดจุดประสงค์ที่
ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบตามแผนการสอนแล้ว
3. เนื้อหา (Content) เป็นเนื้อหาที่จัดกิจกรรมและต้องการให้นักเรียนเกิดการ
เรียนรู้
4. กิจกรรมการเรียนการสอน (Instructional Activities) เป็นการสอนขั้นตอนหรือ
กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งนำไปสู่จุดประสงค์ที่กำหนด
5. สื่อและอุปกรณ์ (Instructional Media) เป็นสื่อ และอุปกรณ์ที่ใช้ในกิจกรรม
การเรียนการสอน ที่กำหนดไว้ในแผนการสอน
6. การวัดผลและประเมินผล (Measurement and Evaluation) เป็นการกำหนด
ขั้นตอนหรือวิธีการวัดและประเมินผล ว่านักเรียนบรรลุจุดประสงค์ตามที่ระบุไว้ในกิจกรรมการเรียน
การสอน แยกเป็นก่อนสอน ระหว่างสอน และหลังสอน
7. กิจกรรมเสนอแนะ เป็นกิจกรรมที่บันทึกการตรวจแผนการสอน
8. ข้อเสนอแนะของผู้บังคับบัญชา เป็นการบันทึกตรวจแผนการสอนเพื่อเสนอ
แนะหลังจากได้ตรวจสอบความถูกต้อง การกำหนดรายละเอียดในหัวข้อต่างๆ ในแผนการสอน
9. บันทึกการสอน เป็นการบันทึกของผู้สอน หลังจากนำแผนการสอนไปใช้แล้ว
เพื่อเป็นการปรับปรุงและใช้ในคราวต่อไป มี 3 หัวข้อ คือ
9.1 ผลการเรียน เป็นการบันทึกผลการเรียนด้านสุขภาพและปริมาณทั้ง
3 ด้าน คือด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย ซึ่งกำหนดในขั้นกิจกรรมการเรียนการสอนและ
การประเมิน
9.2 ปัญหาและอุปสรรค เป็นการบันทึก ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้น
ในขณะสอน ก่อนสอน และหลังทำการสอน
9.3 ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข เป็นการบันทึกข้อเสนอแนะเพื่อ
แก้ไขปรับปรุงการเรียนการสอน ให้เกิดการเรียนรู้ บรรลุจุดประสงค์ของบทเรียนที่หลักสูตรกำหนด
รูปแบบของแผนการเรียนรู้
สำลี รักสุทธี และคณะ (2541 : 136 – 137) ได้เสนอรูปแบบแผนการเรียนรู้ดังตัวอย่าง
ตัวอย่างรูปแบบแผนการเรียนรู้
หน่วยการสอนที่……………………………………………………………………………….........
หน่วยย่อยที่……………………………………………………………………………………........
เรื่อง……………………………………………………….....………เวลา…………………….คาบ
1. สาระสำคัญ
……………………………………………………………………………………………………...
2. จุดประสงค์
2.1 จุดประสงค์ปลายทาง
…………………………………………………………………………………………………….....
2.2 จุดประสงค์นำทาง
……………………………………………………………………………………………………......
3. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
4. กิจกรรม
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………...............
6. การวัดผลและประเมินผล
……………………………………………………………………………………………………........
………………………………………………………………………………………………………….
7. กิจกรรมเสนอแนะเพิ่มเติม หรือภาคผนวก
……………………………………………………………………………………………………........
เศวต ไชยโสภาพ (2545 : 42) ได้ศึกษาค้นคว้าการแบ่งรูปแบบของแผนการเรียนรู้ออกเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. แบบบรรยาย เป็นแบบฟอร์มที่คณะกรรมการข้าราชการครู เสนอแนะไว้ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่ 1
เรื่อง………………………………………………………………….………………เวลา……….คาบ
วิชา………………………………………………..ชั้น……………...............ภาคเรียนที่…………….
สอนวันที่………….เดือน…………………พ.ศ………….ชื่อผู้สอน…………………………………
1. สาระสำคัญ
…………………………………………………………………………………………………………
2. เนื้อหา
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
3. จุดประสงค์การเรียนรู้
3.1 จุดประสงค์ปลายทาง
................………………………………………………………………………………………………
3.2 จุดประสงค์นำทาง (กระบวนการ
……………………………………………………………………….................………......................
………………………………………………………………………………………………………….
4. กิจกรรมการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
5. สื่อการเรียนการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 วิธีการวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
6.2 เกณฑ์การวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
6.3 เครื่องมือวัดและประเมินผล
…………………………………………………………………………………………………………
7. กิจกรรมเสนอแนะ (ถ้ามี)
…………………………………………………………………………………………………………
8. ข้อเสนอแนะของหัวหน้าสถานศึกษา หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
(ตรวจสอบ / นิเทศ / เสนอแนะ / รับรอง)
…………………………………………………………………………………….……………………
ลงชื่อ……………………………………………….
(…………………………...……………….)
ตำแหน่ง…………………………………………...
วันที่………เดือน…………..พ.ศ…….
บันทึกหลังสอน
1. ผลการสอน
…………………………………………………………………………………………………………
2. ปัญหา / อุปสรรค
…………………………………………………………………………………………………………
3. ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
…………………………………………………………………………………………………………
ลงชื่อ………………………………………..
(………………………………………)
ตำแหน่ง…………………………………….
วันที่……….เดือน……………พ.ศ…….
2. แผนการเรียนรู้แบบตาราง ตัวอย่าง เช่น
แผนการเรียนรู้ที่……
เรื่อง………………………………………………………….....…..……………..เวลา…………..คาบ
วิชา……………………………………………..ชั้น………….......…………….ภาคเรียนที่…………..
สอนวันที่…………..เดือน………………………….พ.ศ…………ชื่อผู้สอน……….......…………….
สาระสำคัญ
|
จุดประสงค์
ปลายทาง/นำทาง
|
เนื้อหา
|
กิจกรรม
การเรียน
|
สื่อ / อุปกรณ์
|
การวัดผล
|
กิจกรรมเสนอแนะ…………………………………………………………………………………..…
………………………………………………………………………………………………...…….…
………………………………………………………………………………………………...……….
………………………………………………………………………………………………...…….…
………………………………………………………………………………………………...……….
………………………………………………………………………………………………...…….…
3. แผนการเรียนรู้แบบกึ่งตาราง ดังตัวอย่าง
แผนการเรียนรู้ที่…..
เรื่อง……………………………………………...............…………………เวลา……………….คาบ
วิชา……………………………………...………..ชั้น…………..........………..ภาคเรียนที่…………
สอนวันที่……..เดือน………......……..พ.ศ………..ชื่อผู้สอน………………........………………….
สาระสำคัญ………………………............……………………………………………………………
เนื้อหา………………………………............…………………………………………………………
จุดประสงค์ปลายทาง…………………………………………………………………………............
จุดประสงค์นำทาง
|
กิจกรรมการเรียนการสอน
|
สื่อการเรียนการสอน
|
การวัดผล / ประเมินผล
|
กิจกรรมเสนอแนะ………………………………………………………………………………….......
………………………………………………………………………………….......………………….……………………………………………………………….......…………………………………….…………………………………………….......……………………………………………………….
รูปแบบของแผนการสอนทั้ง 3 แบบ ได้แก่ แบบไม่ใช้ตาราง แบบตาราง และแบบกึ่งตาราง สามารถยึดหยุ่นเรื่อง การแบ่งช่องและเรียกชื่อ ดังนี้
1. หัวเรื่อง
2. จำนวนคาบ / ชั่วโมงของแต่ละหัวข้อ
3. สาระสำคัญโดยสรุป
4. จุดประสงค์การเรียนรู้ (กระบวนการที่ใช้)
5. กิจกรรมการเรียนการสอน
6. การใช้สื่อ/อุปกรณ์การเรียนการสอน
7. การวัดผลประเมินผล
ขั้นตอนการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้
การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้คือ การวางแผนจัดกิจกรรมการเรียนการสอนล่วงหน้าคล้ายกับบันทึกการสอนที่ฝึกทำในวิชาครู โดยมีวัตถุประสงค์ให้ครูผู้สอนได้ออกแบบและเตรียมการสอนล่วงหน้าให้เห็นรายละเอียดของกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละหัวข้อย่อยของเนื้อหาวิชาหรือสำหรับการสอนแต่ละครั้ง ซึ่งจะต่างจากเอกสารแนวการสอนตรงที่แผนการเรียนรู้มีกิจกรรมที่เป็นรูปธรรมเฉพาะเจาะจงว่า แบ่งย่อยตามเนื้อหาย่อยๆ หรือจุดประสงค์ย่อยๆ ได้มากกว่าลักษณะแสดงลักษณะการสอนที่จัดสรรแล้วให้ตรงกับสภาพแวดล้อม ปัญหาความต้องการและปัจจัยอำนวยความสะดวกของโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง และชุมชนทั้งนี้เพื่อเป็นการจัดเตรียมการสอน โครงการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรตามโครงสร้างของรูปแบบแผนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์การเรียนรู้ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล
การเขียนแผนการสอนหรือแผนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่ง
ชาติ ได้เสนอแนะไว้ว่า ควรให้เป็นระบบ ซึ่งเริ่มจากศึกษาหลักสูตร เอกสารที่เกี่ยวข้องสภาพแวดล้อม และตัวผู้เรียนจึงดำเนินการเขียนแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอน เมื่อเสร็จจากการนำแผนการเรียนรู้ไปใช้ประกอบการสอนแล้ว ควรสรุปผลการใช้และนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการพัฒนาแผนการเรียนรู้ต่อไป ตามแผนการเรียนรู้เชิงระบบ ดังนี้ (รุจิร์ ภู่สาระ. 2545 : 147)
ภาพที่ แผนการจัดการเรียนรู้เชิงระบบ
แนวทางการตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการเรียนรู้ที่เขียนเสร็จแล้ว ผู้เขียนควรตรวจสอบย้อนกลับไปดูอีกครั้งว่าแผนที่เขียนขึ้นนั้นยังมีข้อใดที่ยังบกพร่อง ควรปรับปรุง โดยมีหลักการ ดังนี้ (สุวิทย์ มูลคำ และอรทัยมูลคำ. 2545 : 108-116)
1. จุดประสงค์การเรียนการสอน
จุดประสงค์ที่ดีนั้นจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการ
ความครอบคลุม หมายถึง ความครอบคลุมมวลพฤติกรรม 3 ด้าน คือ ด้านความรู้
ความเข้าใจ ทักษะ เจตคติ เพราะทั้ง 3 ด้านเป็นองค์ประกอบเพื่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมอันเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษา อย่างไรก็ตามในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนหนึ่งๆ อาจไม่จำเป็นครบองค์ประกอบ 3 ด้านนี้เสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
ความชัดเจน หมายถึง จุดประสงค์นั้นมีความเป็นพฤติกรรมมากพอที่จะตรวจ
สอบว่ามีการบรรลุแล้วหรือไม่ เช่น ถ้าเขียนเพื่อให้ “รู้” กับเพื่อให้ “ตอบได้” คำว่า “รู้”เป็น
ความคิดรวบยอดมากกว่าพฤติกรรม ถือว่าไม่ชัดเจน แต่คำว่า “ตอบ” มีลักษณะเป็นพฤติกรรมมากขึ้น
โดยผู้เรียนอาจจะพูดตอบ หรือ เขียนตอบก็ได้
ความเหมาะสม หมายถึง จุดประสงค์นั้นไม่สูงหรือต่ำเกินไป ทั้งนี้เมื่อคำนึงถึง
เวลา เนื้อหา และวัยของผู้เรียน
2. เนื้อหาสาระ
เนื้อหาในแผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนที่ดีนั้น จะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ ความถูกต้อง ความครอบคลุม และความชัดเจน ดังนี้
2.1 ความถูกต้อง หมายถึง เนื้อหาสาระตรงกับหลักวิชา โดยทั้งนี้อาจยึด
ตามคู่มือวิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3
2.2 ความครอบคลุม หมายถึง ปริมาณเนื้อหาตามหัวข้อนั้นมีมากพอที่จะ
ก่อให้เกิดความคิดรวบยอดได้หรือไม่
2.3 ความชัดเจน หมายถึง การที่เนื้อหามีแบบแผนของการนำเสนอสาระที่ไม่
สับสนเข้าใจง่าย
3. กิจกรรมการเรียนการสอน (เน้นผู้เรียน)
กิจกรรมการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติน่าสนใจความเหมาะสมและความริเริ่ม ดังนี้
3.1 ความน่าสนใจ หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้ชวนให้น่าติดตามไม่เบื่อหน่าย
3.2 ความเหมาะสม หมายถึง กิจกรรมที่นำมาใช้จะต้องทำให้เกิดการเรียนรู้
ตามจุดประสงค์ได้จริง
3.3 ความคิดริเริ่ม หมายถึง การที่นำเอากิจกรรมใหม่ๆ ที่ท้าทายมาสอดแทรก
ช่วยให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอน
สื่อการเรียนการสอนที่ดีจะต้องมีคุณสมบัติของความน่าสนใจ ความประหยัดและ
การช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว ดังนี้
4.1 ความน่าสนใจ หมายถึง สื่อนั้นช่วยให้น่าติดตาม ไม่น่าเบื่อ ช่วยให้เกิดการ
เรียนรู้ได้เร็ว หมายถึง สื่อนั้นจะต้องใช้ได้ผลในการทำให้ผู้เรียนรู้ได้จริง และตรงกับเนื้อหาที่ใช้เรียน
4.2 ความประหยัด หมายถึง สื่อที่ใช้นั้นราคาแพง อยู่ในระดับสถานศึกษา
รับผิดชอบได้
5. การวัดและประเมินผล
การวัดและประเมินผลที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้ที่ดีควรมีคุณสมบัติของความเที่ยงตรง ความเชื่อถือได้ และความสามารถประยุกต์ได้ ดังนี้
5.1 ความเที่ยงตรงหมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผนนั้นๆ
ต้องสอดคล้องและตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรง
ตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.2 ความเชื่อถือได้ หมายถึง เครื่องมือ วิธีการที่ใช้ในการวัดผลของแต่ละแผน
นั้นๆ ต้องสอดคล้อง และตรงตามจุดประสงค์ที่ระบุไว้ในแผนการเรียนรู้นั้นๆ และรวมทั้งตรง
ตามเนื้อหาที่ใช้ประกอบการสอน
5.3 ความสามารถประยุกต์ได้ หมายถึง การที่ประเมินที่ระบุไว้สามารถประเมิน
ได้จริงมิใช่แต่ระบุไว้เฉย ๆ
6. ความสอดคล้องขององค์ประกอบต่างๆ ของแผนการเรียนรู้ความสอดคล้องของแผนการเรียนรู้ ให้พิจารณาความสอดคล้องของเรื่องจุดประสงค์การเรียนการสอน เนื้อหาสาระกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน ประเมินผลตลอดทั้งแผนนั้นๆ
แนวทางการประเมินแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลังจากครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ได้เขียนแผนการเรียนรู้เสร็จเรียบร้อยแล้วควรมีการตรวจสอบแผนการเรียนรู้ และประเมินแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เพื่อเป็นแนวทางให้ครูผู้เขียน
แผนการเรียนรู้นำผลการประเมินไปปรับปรุงแผนการเรียนรู้ตามแนวทางการตรวจสอบคุณภาพของ
แผนการเรียนรู้เพื่อให้ได้แผนการเรียนรู้มีคุณภาพ อันส่งผลถึงประสิทธิภาพการสอนจากการใช้
แผนการเรียนรู้นั้น ๆ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2546 : 98-101)
ตัวอย่าง แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
คำชี้แจง
1.ให้ท่านประเมินแผนการเรียนรู้ที่เขียนขึ้นมาโดยตัวท่านเองว่าในรายการประเมินอยู่
ในระดับใด โดยทำเครื่องหมาย / ลงในช่องที่กำหนดให้ และการให้นำหนักของคะแนนตาม
ความหมาย ดังนี้
5 หมายถึง ดีมาก
4 หมายถึง ดี
3 หมายถึง พอใช้
2 หมายถึง ปรับปรุง
1 หมายถึง ใช้ไม่ได้
การแปลผลของการประเมินผล แผนการเรียนรู้
80 – 100 อยู่ในระดับดีมาก
60 – 79 อยู่ในระดับดี
40 - 59 อยู่ในระดับพอใช้
20 - 39 อยู่ในระดับปรับปรุง
ต่ำกว่า 20 อยู่ในระดับใช้ไม่ได้
ตารางที่ แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
รายการประเมิน
|
ระดับ
|
หมายเหตุ
| ||||
ดีมาก
|
ดี
|
พอ
ใช้
|
ปรับปรุง
|
ใช้
ไม่ได้
| ||
1. จุดประสงค์การเรียนรู้
ความครอบคลุมและชัดเจน
ความเหมาะสม
2. เนื้อหาสาระ
ความถูกต้องและชัดเจน
ความครอบคลุม
3. กิจกรรมการเรียนการสอน
ความน่าสนใจ
ความเหมาะสม
ความริเริ่ม
4. สื่อการเรียนการสอน
ความน่าสนใจ ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็ว
ความประหยัด
5. ตรงกับเนื้อหา
6. การประเมินผล
ความเที่ยงตรง
ความเชื่อถือได้
ความสามารถประยุกต์ได้
7. ความสอดคล้อง
จุดประสงค์กับกิจกรรมการเรียนการสอน
เนื้อหากิจกรรมการเรียนการสอน
กิจกรรมการเรียนการสอนกับสื่อการเรียน
การสอน
จุดประสงค์การเรียนรู้ กับการวัดและประเมินผล
เนื้อหากับการวัดและประเมินผล
| ||||||
รวม
|
แนวทางการรวบรวมและสรุปรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้การรวบรวมแผน
การเรียนรู้เป็นรูปเล่ม
แผนการเรียนรู้ที่ใช้ประกอบการสอนตลอดปีการศึกษานั้น เมื่อสิ้นปีการศึกษาแล้วควร
จัดเก็บรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้ไว้เป็นรูปเล่มเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาแผนการที่มีที่มี
ประสิทธิภาพต่อไป ซึ่งการรวบรวมแผนการจัดการเรียนรู้เป็นรูปเล่มนั้น ควรประกอบด้วยดังนี้
ส่วนที่ 1 คำอธิบายรายวิชา และผลการวิเคราะห์หลักสูตร โดยจำแนกให้เห็นได้ว่า
แยกแยะจุดประสงค์ เนื้อหา และเวลาที่ใช้สอนแต่ละเนื้อหาอย่างไร
ส่วนที่ 2 ตารางสอนของครูผู้ทำการสอน
ส่วนที่ 3 แผนการเรียนรู้ หรือบันทึกการสอนทั้งหมด
ส่วนที่ 4 ภาคผนวก ประกอบด้วยเอกสารหรือสื่อต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบการสอน
แต่ละครั้ง
การจัดทำรายงานผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้
เมื่อสิ้นปีการศึกษา ครูผู้สอนควรมีการสรุปผลการสอนของตนเอง โดยสรุปผลการสอน
ในรูปของเอกสาน “รายงานผลการใช้แผนการเรียนรู้” เพื่อที่จะเป็นแนวทางการปรับปรุงและ
พัฒนาการเรียนการสอนของตนเองได้อย่างเป็นระบบ ในเอกสารการรายงานผลการเรียนรู้ควร
ประกอบด้วย
ตอนที่ 1 เกริ่นนำ จะประกอบด้วย หลักสูตร คำอธิบายรายวิชา จุดหมาย
หลักการสอน แนวการนำหลักสูตรไปใช้กับผู้เรียน
ตอนที่ 2 หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3)
โครงสร้าง เนื้อหา จุดหมาย คำอธิบายรายวิชา จุดประสงค์การเรียนรู้ ขอบข่ายเนื้อหาที่ใช้ประกอบ
การสอนกิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือวัดผลอื่นๆ
ตอนที่ 3 ผลการสอน เป็นสิ่งที่ได้จากการใช้แผนการเรียนรู้ที่ผลการสอนอาจจะ
เป็นผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้งภาคความรู้ ภาคปฏิบัติ ความสามารถทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เจตคติทางวิทยาศาสตร์ หรือความสามารถทางวิทยาศาสตร์ในสมรรถภาพอื่น ๆ ระหว่างเรียน ปลายภาค หรือปลายปี เป็นของผู้เรียนเป็นรายบุคคล รายห้องเรียน หรือรายชั้นเรียน เป็นต้น
ตอนที่ 4 สรุปผลการเรียน อภิปรายผล และข้อเสนอแนะการจัดทำแผนการเรียนรู้
การใช้แผนการเรียนรู้
แผนการสอนที่ดีควรยึดหลักการเขียน ดังนี้ ภาษาเข้าใจง่าย และสามารถสื่อได้ตรงกัน
ไม่ว่าใครใช้สอนก็เข้าใจตรงกัน
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2537 : 201 – 208) ได้ให้ทัศนะว่า การเขียนแผนที่ดีนั้น ควรเขียน
ครอบคลุมเนื้อหา และต้องไม่เขียนพฤติกรรมของครูลงในแผนการสอน พึงระลึกเสมอว่านักเรียนเป็น
ผู้แสดง ครูเป็นเพียงผู้แนะนำ แบบเรียนหรือแผนใดๆ มิใช่คัมภีร์หรือกฎหมายที่ครูต้องปฏิบัติตามไป
เสียหมด จะต้องนำไปพิจารณาถึงความเหมาะสม ปรับใช้ให้เหมาะสมแก่บุคคล โอกาสและสถานที่
จึงนับว่าเป็นครูที่มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
การทำแผนการสอน ไม่ว่าจะเป็นลักษณะและรูปแบบใด จะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เป็น
สำคัญ
1. จุดประสงค์การเรียนรู้ต้องชัดเจน
2. กิจกรรมควรนำไปสู่ผลการเรียนตามจุดประสงค์ได้จริง
3. ระบุพฤติกรรมนักเรียนและพฤติกรรมครูผู้สอนอย่างชัดเจน ในการอำนวย
ความสะดวกแก่นักเรียนให้เกิดการเรียนรู้
4. สื่อการเรียนการสอนจะต้องมีคุณค่า มีความหลากหลาย ทั้งของจริง ภาพ
แผนภูมิ เอกสาร ใบความรู้
5. วิธีการวัดผลควรชัดเจนตามจุดประสงค์การเรียนรู้
แผนการสอนที่มีคุณภาพ จะแสดงถึงการเตรียมความพร้อมของครูในการพัฒนาอาชีพอีก
ด้วย สิ่งสำคัญควรเริ่มลงมือศึกษาและทำแผนการสอนตลอดทั้งนำไปใช้แล้วบันทึกผลลงด้วยจึงจะเกิดประโยชน์ต่อตัวนักเรียนอย่างสูงสุด
ตัวอย่างแผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง
ลำดับและอนุกรม หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: สุวรรณา
กาหยี.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ตรีโกณมิติ
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง จุรี
เรืองเริงกุลฤทธิ์...[และคนอื่น ๆ]
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เวกเตอร์ 2
และ 3 มิติ หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง นงรัตน์
วงศ์ศรี.
แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ทฤษฎีกราฟ
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: สุวรรณา
กาหยี.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการให้เหตุผล
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: จิตลดา
สมงาม.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องสถิติและความสัมพันธ์เชิงฟังก์ชันของข้อมูล
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง พัชรี คำมณี, สุกิจ
สมงาม, นงรัตน์ วงศ์ศรี.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง
ลิมิตของฟังก์ชัน อนุพันธ์ของฟังก์ชัน และการอินติเกรด
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง สันติพร
ตันติหาชัย.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องจำนวนจริงและทฤษฎีจำนวนเบื้องต้น
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: จรรยา
พันธุ์เถลิงอมร.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องฟังก์ชันเอกซ์โปเนนเชียลและลอการิทึม
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: บัญญัติ
ศรีประเสริฐ.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องเรขาคณิตวิเคราะห์
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: สมหมาย
ทองเมือง.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง
เมทริกซ์และดีเทอร์มินันท์
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: สุวรรณา
ช่วยอยู่.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง: ธรรมนิตย์
ชำนาญกิจ.
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องความน่าจะเป็น
หลักสูตรลดระยะเวลาเรียนสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย [electronic resource] / ผู้เรียบเรียง พรพจน์
อุ้ยกุล.
การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เรื่อง
ชุมชนของเราสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี /
อิ่มทอง ปัญญา.
http://guru.google.co.th/guru/thread?tid=00351c1f5067c570แผนการสอน พว+ม.1
Download แผนการสอน http://www.wpp.co.th/teach_plan.html Download แผนการสอน - บริษัท สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช
จำกัด
www.wpp.co.th
216 - 220 ถ.บำรุงเมือง แขวงสำราญราษฎร์
เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200 โทร. 02 222 9394 , 02 222 5371 , 02 222 5372 Fax 02 225
6556 , 02 225 6557 , email:
info@wpp.co.th
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น