เครือรัฐออสเตรเลีย (อังกฤษ: Commonwealth of Australia) เป็นประเทศซึ่งประกอบด้วยแผ่นดินหลักของทวีปออสเตรเลีย เกาะแทสเมเนีย และเกาะอื่นๆในมหาสมุทรอินเดีย แปซิฟิก และมหาสมุทรใต้ ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออกทางเหนือ หมู่เกาะโซโลมอน วานูอาตู และนิวแคลิโดเนียทางตะวันออกเฉียงเหนือ และนิวซีแลนด์ทางตะวันออกเฉียงใต้
ชื่อออสเตรเลีย มาจากคำในภาษาละติน ว่า australis ซึ่งหมายถึงทิศใต้ โดยมีตำนานถึง "ดินแดนทางใต้ที่ไม่รู้จัก" (ละติน: terra australis incognita) ชาวยุโรปเริ่มสำรวจค้นพบออสเตรเลียในพุทธศตวรรษที่ 22 และต่อมาจึงกลายเป็นดินแดนอาณานิคมของบริเตน โดยเริ่มต้นเป็นอาณานิคมนักโทษในนิวเซาท์เวลส์ และจึงมีการตั้งอาณานิคมขึ้นอีกห้าแห่ง อาณานิคมทั้งหกรวมตัวเป็นสหพันธรัฐในปีพ.ศ. 2444 ออสเตรเลียมีชนพื้นเมืองซึ่งอาศัยตั้งแต่ก่อนชาวยุโรปเข้ามา เรียกว่าชาวอะบอริจิน
ประวัติศาสตร์
ชนพื้นเมืองในออสเตรเลียก่อนการตั้งถิ่นฐานของชาวยุโรป คือชาวอะบอริจิน และชาวเกาะทอร์เรสสเทรต ซึ่งชนเหล่านี้มีภาษาแตกต่างกันนับร้อยภาษา ประมาณการว่า มีชาวอะบอริจินมากกว่า 780,000 คนอยู่ในออสเตรเลียในปีพ.ศ. 2331
การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2149 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่างปีพ.ศ. 2149 และ 2313 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์ ในปีพ.ศ. 2313 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ในปีพ.ศ. 2330 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาในปีพ.ศ. 2336 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2346 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งในปีพ.ศ. 2368 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกในปีพ.ศ. 2372 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปีพ.ศ. 2391 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และปีพ.ศ. 2411 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ปีพ.ศ. 2394 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย ในปีพ.ศ. 2444 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2454 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปีพ.ศ. 2470 ในปีพ.ศ. 2454 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน
ออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ คริสต์ศักราช 1931 (พ.ศ. 2474) ในปีพ.ศ. 2485 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์ ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีพ.ศ. 2516 พระราชบัญญัติออสเตรเลีย คริสต์ศักราช 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ในปีพ.ศ. 2542 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แม่แบบ:Governor-general) เป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินี และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินี" อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือพลตรีไมเคิล เจฟเฟอรี ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด มาจากพรรคแรงงาน พรรคอื่นๆที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา
การค้นพบออสเตรเลียของชาวยุโรปครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้ เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2149 เป็นเรือของชาวดัตช์ โดยกัปตัน Willem Janszoon ทำแผนที่ชายฝั่งส่วนหนึ่งของออสเตรเลีย ระหว่างปีพ.ศ. 2149 และ 2313 มีเรือของชาวยุโรปประมาณ 54 ลำจากหลายชาติเดินทางมาที่ออสเตรเลีย ซึ่งรู้จักในขณะนั้นว่านิวฮอลแลนด์ ในปีพ.ศ. 2313 เจมส์ คุก เดินทางมาสำรวจออสเตรเลียและทำแผนที่ชายฝั่งตะวันออกของออสเตรเลีย และได้ประกาศให้เป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร ให้ชื่อว่านิวเซาท์เวลส์ ต่อมาสหราชอาณาจักรใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคม กองเรือชุดแรกเดินทางมาถึงออสเตรเลียที่อ่าวซิดนีย์ในปีพ.ศ. 2330 ในวันที่ 26 มกราคม (ค.ศ. 1788) ซึ่งต่อมาเป็นวันออสเตรเลีย ผู้ตั้งถิ่นฐานยุคแรกส่วนใหญ่เป็นนักโทษและครอบครัวของทหาร โดยมีผู้อพยพเสรีเริ่มเข้ามาในปีพ.ศ. 2336 มีการตั้งถิ่นฐานบนเกาะแทสเมเนีย หรือชื่อในขณะนั้นคือฟานไดเมนส์แลนด์ ในปีพ.ศ. 2346 และตั้งเป็นอาณานิคมแยกอีกแห่งหนึ่งในปีพ.ศ. 2368 สหราชอาณาจักรประกาศสิทธิในฝั่งตะวันตกในปีพ.ศ. 2372 และเริ่มมีการตั้งอาณานิคมแยกขึ้นมาอีกหลายแห่ง ได้แก่เซาท์ออสเตรเลีย วิกตอเรีย และควีนส์แลนด์ โดยแยกออกมาจากนิวเซาท์เวลส์ เซาท์ออสเตรเลียไม่เคยเป็นอาณานิคมนักโทษ ในขณะที่วิกตอเรียและเวสเทิร์นออสเตรเลียยอมรับการขนส่งนักโทษภายหลัง เรือนักโทษลำสุดท้ายมาถึงนิวเซาท์เวลส์ในปีพ.ศ. 2391 หลังจากการรณรงค์ยกเลิกโดยกลุ่มผู้ตั้งถิ่นฐาน การขนส่งนักโทษยุติอย่างเป็นทางการในปีพ.ศ. 2396 ในนิวเซาท์เวลส์และแทสเมเนีย และปีพ.ศ. 2411 ในเวสเทิร์นออสเตรเลีย
ปีพ.ศ. 2394 เอดเวิร์ด ฮาร์กรีฟส์ ค้นพบสายแร่ทอง ในที่ ๆ เขาตั้งชื่อว่าโอฟีร์ (Ophir) ในนิวเซาท์เวลส์ ทำให้เกิดยุคตื่นทอง นำคนจำนวนมากเดินทางมาออสเตรเลีย ในปีพ.ศ. 2444 หกอาณานิคมในออสเตรเลียรวมตัวกันเป็นสหพันธรัฐ ในชื่อเครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) ประกอบด้วยรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐวิกตอเรีย รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย และรัฐแทสเมเนีย รวมหกรัฐเข้าอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญหนึ่งเดียว เฟเดอรัลแคพิทัลเทร์ริทอรีก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2454 เป็นเมืองหลวงของสหพันธรัฐ จากส่วนหนึ่งของรัฐนิวเซาท์เวลส์ บริเวณแยส-แคนเบอร์รา และเริ่มดำเนินงานรัฐสภาในแคนเบอร์ราในปีพ.ศ. 2470 ในปีพ.ศ. 2454 นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี แยกตัวออกมาจากเซาท์ออสเตรเลีย และเข้าเป็นดินแดนในกำกับของสหพันธ์ ออสเตรเลียสมัครใจเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง โดยมีอาสาสมัครเข้าร่วมถึง 60,000 คนจากประชากรชายน้อยกว่าสามล้านคน
ออสเตรเลียประกาศใช้บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ คริสต์ศักราช 1931 (พ.ศ. 2474) ในปีพ.ศ. 2485 โดยมีผลบังคับใช้ย้อนไปตั้งแต่ 3 กันยายน พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นการยุติบทบาทนิติบัญญัติของสหราชอาณาจักรในออสเตรเลียเกือบทั้งหมด ในสงครามโลกครั้งที่สอง ออสเตรเลียประกาศสงครามกับเยอรมนีพร้อมกับสหราชอาณาจักรและฝรั่งเศส หลังจากเยอรมนีบุกโปแลนด์ ออสเตรเลียส่งทหารเข้าร่วมสมรภูมิในยุโรป เมดิเตอร์เรเนียน และแอฟริกาเหนือ แผ่นดินออสเตรเลียโดนโจมตีโดยตรงครั้งแรกจากการเข้าตีโฉบฉวยทางอากาศของญี่ปุ่นที่ดาร์วิน ออสเตรเลียยุตินโยบายออสเตรเลียขาว โดยดำเนินการขั้นสุดท้ายในปีพ.ศ. 2516 พระราชบัญญัติออสเตรเลีย คริสต์ศักราช 1986 (พ.ศ. 2529) ยกเลิกบทบาทของสหราชอาณาจักรในอำนาจนิติบัญญัติและตุลาการของออสเตรเลียโดยสิ้นเชิง ในปีพ.ศ. 2542 ออสเตรเลียจัดการลงประชามติ ว่าจะให้ประเทศเป็นสาธารณรัฐ มีประธานาธิบดีแต่งตั้งจากรัฐสภาหรือไม่ ซึ่งคะแนนเสียงเกือบ 55% ลงคะแนนปฏิเสธ
การเมืองการปกครอง
ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealthตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (แม่แบบ:Governor-general) เป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินี และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินี" อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือพลตรีไมเคิล เจฟเฟอรี ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย ในทางธรรมเนียมปฏิบัตินั้น ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของรัฐมนตรี สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธานการประชุม และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพตลอดชีพ แต่ในทางปฏิบัติจะเรียกประชุมเฉพาะรัฐมนตรีคณะปัจจุบัน รัฐบาลจะมาจากพรรคที่ได้เสียงข้างมากในสภาผู้แทนราษฎร
ออสเตรเลียมีรัฐสภาเก้าแห่ง หนึ่งสภาของสหพันธ์ หกสภาของแต่ละรัฐ และสองสภาของแต่ละดินแดน รัฐสภาของสหพันธ์ ใช้ระบบสองสภา ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี) ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี สมาชิกวุฒิสภามีวาระ 6 ปี โดยการเลือกตั้งแต่ละครั้งจะเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด
ออสเตรเลียมีพรรคการเมืองหลักสามพรรค ได้แก่พรรคแรงงานออสเตรเลีย พรรคเสรีนิยม และพรรคชาติ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2465 รัฐบาลของสหพันธ์มาจากพรรคแรงงานหรือเป็นรัฐบาลผสมของพรรคเสรีนิยมและพรรคชาติ ปัจจุบันนายกรัฐมนตรีจูเลีย กิลลาร์ด มาจากพรรคแรงงาน พรรคอื่นๆที่มีบทบาทได้แก่ออสเตรเลียนเดโมแครต และออสเตรเลียนกรีนส์ โดยมักได้ที่นั่งในวุฒิสภา
รัฐและดินแดน
- รัฐนิวเซาท์เวลส์
- รัฐควีนส์แลนด์
- รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
- รัฐแทสเมเนีย
- รัฐวิกตอเรีย และ
- รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
แต่ละรัฐและดินแดนมีสภานิติบัญญัติของตัวเอง โดยในควีนสแลนด์และดินแดนทั้งสองแห่งเป็นลักษณะสภาเดี่ยว ในขณะที่ในรัฐที่เหลือเป็นแบบสภาคู่ สมเด็จพระราชินีมีผู้แทนพระองค์ในแต่ละรัฐ เรียกว่า governor และในนอร์เทิร์นเทอร์ริทอรี administrator ส่วนในเขตเมืองหลวง ใช้ผู้แทนพระองค์ของเครือรัฐ (governor-general)
ภูมิศาสตร์
ออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปร้อยละ 65 เป็นที่ราบสูง และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร และมีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลทรายสะฮาราในทวีปแอฟริกา ชาวออสเตรเลียเรียกดินแดนที่แห้งแล้งและทุรกันดารนี้ว่า "เอาต์แบ็ก" ประชากรออสเตรเลียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกหลังเทือกเขาเกรตดิไวดิง ซึ่งแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกกับเขตเอาต์แบ็ก มีแม่น้ำสายสำคัญ ๆ อยู่ทางภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์เรย์ ส่วนตอนกลางของประเทศที่เรียกว่า "เขตเซนทรัลโลว์แลนด์" เป็นเขตแห้งแล้งที่สุด แม่น้ำลำธารต่าง ๆ อาจแห้งสนิทเป็นเวลาหลายปี เนื่องจาก ทวีป ออสเตรเลียมีสภาพเป็นเกาะทำให้ มีสิ่งมีชวิตที่มีลักษณะเฉพาะเป็นของตนเอง เนื่องจากสิ่งมีชีวิตพวกนี้ได้มีวิวัฒนาการเป็นอิสระจากสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดินใหญ่ โดยเฉพาะสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง เช่น จิงโจ้
ประชากร
ประเทศออสเตรเลียมีประชากรประมาณ 21 ล้านคน ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากชาวยุโรปที่มาตั้งรกรากในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20 หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองจนถึงปีพ.ศ. 2543 มีผู้อพยพใหม่เข้ามาถึง 5.9 ล้านคนทำให้ประชากรเกือบสองในเจ็ดของออสเตรเลียเกิดในต่างประเทศ หลังจากการเลิกนโยบายออสเตรเลียขาวในปีพ.ศ. 2516 รัฐบาลออสเตรเลียได้พยายามส่งเสริมความสามัคคีระหว่างเชื้อสายต่าง ๆบนพื้นฐานของพหุวัฒนธรรม ในช่วงปีพ.ศ. 2548 ถึง 2549 มีผู้อพยพเข้ามากกว่า 131,000 คน ส่วนใหญ่มาจากทวีปเอเชียและโอเชียเนีย
ประชากรพื้นเมืองของออสเตรเลีย ได้แก่ชาวอะบอริจินบนแผ่นดินหลักและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสซึ่งมีทั้งหมด 410,003 คนในปีพ.ศ. 2544 (ร้อยละ 2.2 ของประชากร)
ออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปีพ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นโรมันคาทอลิก และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม อเทวนิยม agnosticism (ลัทธิไม่เชื่อศาสนา) และ rationalism (ลัทธิถือเหตุผล) ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่นๆ รวมถึงพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน อย่างไรก็ตาม มีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์
ประชากรพื้นเมืองของออสเตรเลีย ได้แก่ชาวอะบอริจินบนแผ่นดินหลักและชาวเกาะช่องแคบทอร์เรสซึ่งมีทั้งหมด 410,003 คนในปีพ.ศ. 2544 (ร้อยละ 2.2 ของประชากร)
ออสเตรเลียไม่มีศาสนาประจำชาติ จากการสำรวจสำมะโนครัวในปีพ.ศ. 2549 ประชากรประมาณ 12.6 ล้านคน (64%) ประกาศตัวเป็นคริสเตียน ในจำนวนนี้ 5.1 ล้านคน (26%) เป็นโรมันคาทอลิก และ 3.7 ล้านคน (19%) เป็นแองกลิกัน ประชากร 3.7 ล้านคนถูกจัดอยู่ในกลุ่มไม่นับถือศาสนา ซึ่งรวมถึงแนวความเชื่อแบบมนุษยนิยม อเทวนิยม agnosticism (ลัทธิไม่เชื่อศาสนา) และ rationalism (ลัทธิถือเหตุผล) ประชากรเกือบหนึ่งล้านคน (5%) นับถือศาสนาอื่นๆ รวมถึงพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู และศาสนาเชน อย่างไรก็ตาม มีประชากรเพียง 1.5 ล้านคน (7.5%) ที่เข้าโบสถ์เป็นประจำทุกสัปดาห์
วัฒนธรรม
วัฒนธรรมของออสเตรเลียมีลักษณะเป็นวัฒนธรรมตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษหรือแองโกล-เคลติก แต่ก็ยังมีเอกลักษณ์เฉพาะซึ่งพัฒนามาจากสภาพแวดล้อมและชนพื้นเมือง ในระยะหลัง วัฒนธรรมของออสเตรเลียยังได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอเมริกัน
รายละเอียดเกี่ยวประเทศออสเตรเลีย คลิกอ่านเพิ่มเติมตามเว็ปข้างล่างนี้
และ
ระเบียบการและเอกสารยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศ ออสเตรเลีย
1. หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
1. หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
( รายละเอียดแบบฟอร์มการขอวีซ่า http://www.immi.gov.au/allforms/foreign/48rtha.pdf )
2. รูปถ่าย 2 - 2.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
3. การเงิน ( สำเนาสมุดเงินฝาก ออมทรัพย์ หรือ ประจำ ตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 6 เดือน )
4. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน,
5. สำเนาทะเบียนสมรส ( กรณีที่แต่งงานแล้วต้องใช้ )
6. ใบรับรองการทำงานจากบริษัทที่ท่านทำงานอยู่ ( ภาษาอังกฤษ ) สำเนาทะเบียนการค้าหรือสำเนาใบพาณิชย์ (กรณีเป็นเจ้าของ)
7. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ และ นามสกุล ( ถ้ามี )
8. สำเนาสูติบัตร ( สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี )
9. เด็ก ขอหนังสือรับรองจากโรงเรียน ใช้ตัวจริง ( เป็นภาษาอังกฤษ )
10. เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องมีใบอนุญาติจากผู้ปกครองในกรณีเดินทางเอง ( บิดาหรือมารดา )อีกกรณี หากเด็กเดินทาง
ไปกับบิดาจะต้องมีใบรับรองจากมารดา หรือหากเด็กเดินทางกับมารดาจะต้องมีใบรับรองจากบิดา
11. ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 70 ปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์ และใบประกันสุขภาพ ( จากบริษัทประกันภัย )
หมายเหตุ - ในการกรอกใบสมัครยื่นวีซ่า ทางสถานฑูตต้องการให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน พร้อมที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อลูกค้าได้สะดวก
2. รูปถ่าย 2 - 2.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
3. การเงิน ( สำเนาสมุดเงินฝาก ออมทรัพย์ หรือ ประจำ ตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 6 เดือน )
4. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน,
5. สำเนาทะเบียนสมรส ( กรณีที่แต่งงานแล้วต้องใช้ )
6. ใบรับรองการทำงานจากบริษัทที่ท่านทำงานอยู่ ( ภาษาอังกฤษ ) สำเนาทะเบียนการค้าหรือสำเนาใบพาณิชย์ (กรณีเป็นเจ้าของ)
7. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ และ นามสกุล ( ถ้ามี )
8. สำเนาสูติบัตร ( สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี )
9. เด็ก ขอหนังสือรับรองจากโรงเรียน ใช้ตัวจริง ( เป็นภาษาอังกฤษ )
10. เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องมีใบอนุญาติจากผู้ปกครองในกรณีเดินทางเอง ( บิดาหรือมารดา )อีกกรณี หากเด็กเดินทาง
ไปกับบิดาจะต้องมีใบรับรองจากมารดา หรือหากเด็กเดินทางกับมารดาจะต้องมีใบรับรองจากบิดา
11. ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 70 ปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์ และใบประกันสุขภาพ ( จากบริษัทประกันภัย )
หมายเหตุ - ในการกรอกใบสมัครยื่นวีซ่า ทางสถานฑูตต้องการให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้
ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน พร้อมที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อลูกค้าได้สะดวก
เวลาทำการของสถานฑูต
8.00 น. – 12.00 น. เปิดรับยื่นเอกสารขอวีซ่า และ รับเล่มพาสปอร์ต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 287 – 2680 ( ตั้งแต่เวลา 15.00 น. – 16.00 น. )
ข้อมูลด้านล่างนี้ ปรับปรุงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2549
EMBASSY OF AUSTRALIA
37 SOUTH SATHORN RD.,BANGKOK 10120
Tel : 0 2344 6400
เวลายื่น 09:00-15:00 น./เวลารับ 15:00-16:00 น.
*** ระยะเวลาในการยื่นขอวีซ่าไม่รวมวันที่รับเอกสาร***
*** เอกสาร และเวลาที่ใช้ในการยื่นวีซ่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานทูต ***
*** เอกสาร และเวลาที่ใช้ในการยื่นวีซ่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานทูต ***
เอกสารยื่น VISA AUSTRALIA
Business ใช้แบบฟอร์ม 456
1. จ.ดหมายรับรองการทำงาน
2. จดหมายเชิญจากบริษัทในประเทศออสเตรเลีย
3. สำเนาStatement บริษัทย้อนหลัง 3 เดือน
4. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
5. รูปถ่าย 2 นิ้วสี 2 รูป พื้นหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขาว
6. พาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า พร้อมพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
7. ฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 1 ชุด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.immi.gov.au ดูหัวข้อ Visiting Australia แล้วไปตาม stepที่ Visit For :, Business, Business Visa Short stay Form 456
8. ค่าธรรมเนียมวีซ่า 2200 บาท(เริ่ม 1 ก.ค.49)+ค่าตรวจเช็คเอกสารที่จ้างคนนอกมาทำ 428 บาท(รวมอยู่ในใบเสร็จสถานฑูต)
และค่าแคชเชียร์เช็ค 35 บาทต่อคนรวมเป็น 2,663 บาท (ยกเว้นยื่นเป็น FAMILY VISA ซึ่งต้องใช้นามสกุลเดียวกันสามารถกรอกแบบฟอร์มเดียวกันได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแค่คนเดียว แต่ต้องเสียค่าตรวเช็คเอกสารแยกแต่ละคน เช่น สามีเดินทางไปประชุมและมีภรรยาและลูกเดินทาง ไปด้วยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มชุดเดียวกันแต่ลูกต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าวีซ่า 2,200บาท , ค่าจ้างตรวจเอกสาร คนละ 428 บาท ค่าแค็ชเชียน์เช็ค 35 บาท รวมเป็น 3,519 บาท )
9. เริ่ม 01 ตุลาคม48 ใช้เวลา 5-7 วันทำการ (สำหรับคนไทย) ใช้เวลา 10-14 วันทำการ (สำหรับชาวต่างชาติ) ขึ้นอยู่กับสถานฑูตจะเป็นผู้กำหนดวันรับ หากต้องการเร็วกว่านี้ ทางเอเม็กซ์ อาจจะช่วยขอให้ในขณะยื่น แต่รับรองไม่ได้ว่าสถานฑูต จะอนุญาติหรือไม่
10. ใบจองตั๋วเครื่องบิน
Tourist ใช้แบบฟอร์ม 48 R THA
1. จ.ดหมายรับรองการทำงาน
2. สำเนาบัญชีเงินฝากของผู้เดินทางย้อนหลัง 3 เดือน
3. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
4. รูปถ่าย 2 นิ้วสี 2 รูป พื้นหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขาว
5. พาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า พร้อมพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
6. ฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 1 ชุด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.immi.gov.au
ดูหัวข้อ Visiting Australia แล้วไปตาม stepที่ Visit For :, Holiday , Applying for an ETA (Visitor) or A Tourist Visa
,Form 48R THA Application to Visit Australia
7. ค่าธรรมเนียมวีซ่า 2300 บาท+ค่าตรวจเช็คเอกสารที่จ้างคนนอกมาทำ 428 บาท(รวมอยู่ในใบเสร็จสถานฑูต)
และค่าแคชเชียร์เช็ค 35 บาทต่อคนรวมเป็น 2,763 บาท (ยกเว้นยื่นเป็น FAMILY VISA ซึ่งต้องใช้นามสกุลเดียวกันสามารถกรอกแบบฟอร์มเดียวกันได้
โดยเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแค่คนเดียว แต่ต้องเสียค่าตรวเช็คเอกสารแยกแต่ละคน เช่น สามีเดินทางไปประชุมและมีภรรยาและลูกเดินทาง ไปด้วยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มชุดเดียวกันแต่ลูกต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าวีซ่า 2,300บาท , ค่าจ้างตรวจเอกสาร คนละ 428 บาท ค่าแค็ชเชียน์เช็ค 25 บาท รวมเป็น 3,609 บาท )
8. เริ่ม 01 ตุลาคม48 ใช้เวลา 5-7 วันทำการ (สำหรับคนไทย) ใช้เวลา 10-14 วันทำการ (สำหรับชาวต่างชาติ) ขึ้นอยู่กับสถานฑูตจะเป็นผู้กำหนดวันรับ หากต้องการเร็วกว่านี้ ทางเอเม็กซ์ อาจจะช่วยขอให้ในขณะยื่น แต่รับรองไม่ได้ว่าสถานฑูต จะอนุญาติหรือไม่
9. ใบจองตั๋วเครื่องบิน
Transit Visa
*** คน Hungary , Austria , UK ไม่ต้องทำวีซ่าระยะเวลาขึ้นอยู่กับ Immigration ที่ประเทศออสเตรเลีย ***
*** คนอินเดีย ที่มี Work Permit ในไทยใช้เวลาในการยื่น 2-3 สัปดาห์ ***
ผู้เดินทางที่ถือพาสปอร์ตของประเทศต่อไปนี้สามารถทำอิเล็คทอนิควีซ่าได้
1. Andorra 12. Iceland 23. Portugal
2. Austria 13. Ireland 24. San Marino
3. Belgium 14. Italy 25. Singapore
4. Brunei 15. Japan 26. South Korea
5. Canada 16. Liechtenstein 27. Spain
6. Denmark 17. Luxembourg 28. Sweden
7. Finland 18. Malaysia 29. Switzerland
8. France 19. Malta 30. United Kingdom
9. Germany 20. Monaco 31. United States of America
10. Greece 21. Netherlands 32. Vatican City
11. Hong Kong 22. Norway
แบบฟอร์มสำหรับนักท่องเที่ยวทั่วไปในการมาเยือนประเทศออสเตรเลีย
http://www.immi.gov.au/allforms/foreign/48rtha.pdf
http://www.immi.gov.au/allforms/foreign/48rtha.pdf
ประเทศออสเตรเลีย
ภูมิประเทศ ประเทศออสเตรเลียตั้งอยู่ในซีกโลกใต้ทาทิศตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศไทย ลักษณะประเทศเป็นเกาะ ออสเตรเลียเป็นทวีปที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก แต่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ระหว่างมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิค เป็นประเทศในเครือจักรภพอังกฤษมีสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เอลิซาเบธที่ 2 แห่งราชอาณาจักรอังกฤษเป็นประมุข
พื้นที่ของเกาะมีประมาณ 7.6 ล้านตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลที่งดงาม ชายหาดขาวสะอาด มีป่าดงดิบ และป่าชื้นเขตร้อนที่ยังคงความสมบูรณ์ และเป็นธรรมชาติที่สุดแห่งหนึ่ง พื้นที่ของประเทศมีทั้งแห้งแล้ง และอุดมสมบูรณ์ ประมาณหนึ่งในสามเป็นทะเลทราย แต่พื้นที่แถบชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของรัฐออสเตรเลียตะวันตก และรัฐแทสมาเนียจะอุดมสมบูรณ์มาก มีฝนตกชุก ออสเตรเลียเป็นประเทศที่โดดเดี่ยวมานาน ดังนั้นธรรมชาติจึงถูกทำลายน้อยมาก ที่นี่มีสัตว์และพืชรวมทั้ง ดอกไม่ป่าหลายชนิด ที่ไม่พบเห็นในดินแดนอื่น เช่น จิงโจ้ หมีโคอาล่า วอมแบต ดิงโก้ พอสชั่ม ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมด สัตว์และพืชหายากเหล่านี้คงมีให้เห็นอีกนาน เพราะชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญเรื่องการรักษาสภาพแวดล้อม และการอนุรักษ์ธรรมชาติเป็นอย่างมาก
ประชากร ออสเตรเลียมีประชากรราว 18.6 ล้านคน ประมาณหนึ่งในห้าของชาวออสเตรเลีย เกิดในประเทศอื่น ออสเตรเลียจึงเป็นสังคมหลายชนชาติ หลายวัฒนธรรม 85% ของพลเมืองออสเตรเลียอาศัยตามเขตเมืองใหญ่ รัฐที่มีประชากรอาศัยหนาแน่นที่สุดคือ รัฐนิวเซ้าท์เวลล์ ชาวออสเตรเลียปัจจุบันให้ความสำคัญกับ เทคโนโลยีสมัยใหม่มากจนได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของ โทรศัพท์มือถือ และเครื่องโทรสารต่อจำนวนประชากรมาก เป็นอันดับ 4 ของโลก นอกจากนี้ยังเป็นศูนย์คอมพิวเตอร์ เชื่อมโยงกับเครือข่างอินเตอร์เน็ตมากเป็นอันดับหกของโลก
ภูมิอากาศ สภาพอากาศของออสเตรเลียแตกต่างกันในแต่ละรัฐ สภาพอากาศทั่วไป จะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อุณหภูมิเฉลี่ยต่ำสุดที่แทสมาเนียประมาณ 11 - 12 องศาเซลเซียส และร้อนสุดที่มณฑลตอนเหนือประมาณ 34 องศาเซลเซียส
ฤดูใบไม้ผลิ กันยายน - พฤศจิกายน อากาศดีดอกไม่บานสวยงาม
ฤดูร้อน ธันวาคม - กุมภาพันธ์ อากาศร้อนและแห้งแล้ง บางแห่งร้อนจัดและอาจมีไฟป่า
ฤดูใบไม้ร่วง - มีนาคม - พฤษภาคม อากาศเริ่มเย็นลง ตามเมืองชายฝั่งทางตอนใต้และเมืองในเขตป่าฝนจะตกชุก บางแห่งอาจมีน้ำท่วม
ฤดูหนาว มิถุนายน - สิงหาคม อากาศเย็นจัด มีหิมะตกบนเขตภูเขาสูงโดยทั่วไป
ตลอดทั้งปี ออสเตรเลียจะมีฟ้าในและแดดแรง โดยเฉพาะตามเมืองชายทะเลและเมืองในแถบทะเลทราย จึงควรป้องกันการถูกแดดเผา โดยการใส่หมวกปีกกว้าง และทาครีมกันแดดเสมอ
เวลา ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีพื้นที่กว่างใหญ่มาก จึงมีการแบ่งเวลาตามเส้นแบ่งของโลก ออกเป็น 3 เขตเวลา (Time Zone)
เวลาฝั่งตะวันออก (Eastern Standard Time-EST) ใช้ในรัฐนิวเซาท์เวลล์ รัฐวิคตอเรีย รัฐแทสมาเนีย รัฐควีนสแลนด์ และเมืองแคนเบอร่า เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 3 ชั่วโมง
เวลาภาคกลาง (Central Standard Time-CST) ใช้ในรัฐเซาท์ออสเตรเลียและมณฑลตอนเหนือ เวลาจะเร็วกว่าประเทศไทย 2 ชั่วโมงครึ่ง
เวลาภาคตะวันตก (Western Standard Time-WST) ใช้ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย เวลาเร็วกว่าประเทศไทย 1 ชั่วโมง
การปกครอง ออสเตรเลียปกครองด้วยระบบสหพันธรัฐ โดยรัฐบาลของออสเตรเลียแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับคือ รัฐลบาลสหพันธรัฐ รัฐบาลรัฐ และรัฐบาลท้องถิ่น
ไฟฟ้า ใช้กระแสไฟฟ้า 240 - 250 V. AC 50 Hz เหมือนประเทศไทย แต่เป็นปลั๊กแบบ 3 ขา ถ้าจะนำเครื่องใช้ไฟฟ้าไปจากเมืองไทยต้องใช้ Adapter ซึ่งหาซื้อได้ในประเทศไทยและออสเตรเลีย
ประปา น้ำประปาสะอาดสามารถใช้สำหรับดื่มได้
ศาสนา ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ แต่ก็มีศาสนาอื่นๆ เช่น พุทธ อิสลาม และ ยิว ด้วยเช่นกัน เนื่องด้วย ออสเตรเลียให้เสรีภาพในการนับถือศาสนา
เมืองที่สำคัญ ของประเทศออสเตรเลีย
คลิปน้ำท่วมออสเตรเลีย 10/01/2011
.
2. รูปถ่ายสี 2 นิ้ว 1 รูป
3. ฟอร์มวีซ่า ใช้ฟอร์ม 876
4. พาสปอร์ตตัวจริง
5. ค่าธรรมเนียม 428 บาท
6. ใช้เวลาทำการ 5 วัน
Transfer Visa เสียค่าธรรมเนียม 428 บาท ใช้เวลาทำการ 5 วัน
ข้อมูลประเทศออสเตรเลีย
ตอบลบภูมิประเทศของเรา
ผืนแผ่นดินสีน้ำตาลอันกว้างใหญ่
ออสเตรเลียเป็นประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับหกของโลก โดยมีขนาดโดยประมาณเท่ากับมลรัฐที่อยู่บนแผ่นดินใหญ่ทั้ง 48 รัฐของสหรัฐอเมริกา และใหญ่กว่าทวีปยุโรปครึ่งนึง แต่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก กล่าวคือ มีประชากรเพียงสองคนต่อหนึ่งตารางกิโลเมตร
สวรรค์บนชายหาด
แนวชายฝั่งทะเลของออสเตรเลียเหยียดยาวเกือบ 50,000 กิโลเมตรซึ่งเชื่อมต่อโดยชายหาดกว่า 10,000 แห่ง มากกว่าประเทศใด ๆ ในโลก กว่าร้อยละ 85 ของชาวออสเตรเลียอาศัยอยู่ภายในรัศมี 50 กิโลเมตรจากชายฝั่ง จึงทำให้ชายฝั่งทะเลเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของวิถีชีวิตสบาย ๆ ของเรา
บ้านบนเกาะของเรา
ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศเดียวที่ปกครองทวีปทั้งทวีปรวมถึงเกาะต่าง ๆ ที่อยู่รอบนอก พื้นที่บนแผ่นดินใหญ่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด และเป็นทวีปที่แบนและเล็กที่สุดในโลก
สินค้าส่งออกของเรา
โอปอลในดวงใจเรา
ประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ผลิตโอปอลที่มีค่ามากถึงร้อยละ 95 ของโลก และเป็นผู้ผลิตโอปอลดำร้อยละ 99 เมืองหลวงของโอปอลโลกเป็นเมืองใต้ดินที่ชื่อว่า Coober Pedy ในรัฐ ออสเตรเลียใต้ โอปอลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งมีน้ำหนัก 5.27 กิโลกรัม ถูกค้นพบที่นี่ในปี 1990
ทองที่มีอยู่มากมาย
เมือง Kalgoorlie ในรัฐ ออสเตรเลีย ตะวันตกเป็นแหล่งผลิตทองคำที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย นอกจากนั้น เมืองนี้ยังเป็นเขตเลือกตั้งที่ใหญ่ที่สุดในโลกด้วย โดยครอบคลุมพื้นที่กว้างใหญ่มหาศาลขนาด 2.2 ล้านตารางกิโลเมตร
แกะพันธุ์ Merino และวัว
แกะ 85.7 ล้านตัว (ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ Merino) ในประเทศออสเตรเลียคือแหล่งผลิตขนแกะเกือบทั้งหมดของโลก และด้วยวัว 25.4 ล้านตัว ออสเตรเลียยังเป็นประเทศที่ส่งออกเนื้อวัวที่ใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย
สถิติที่เราสร้างขึ้น
ตำนานทางธรรมชาติของเรา
แนวปะการังใหญ่ Great Barrier Reef ในรัฐควีนส์แลนด์ของเรา เป็นที่อยู่ของหอยนางรมที่ใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีน้ำหนักถึง 3 กิโลกรัม ในขณะที่ไส้เดือนดิน 4 เมตรที่ยาวที่สุดในโลกก็พบได้ในเขตภูมิภาค Gippsland ในรัฐวิกตอเรีย ปูที่หนักที่สุด ซึ่งหนักถึง 14 กิโลกรัมก็พบอยู่ในช่องแคบ Bass Strait ใกล้รัฐแทสเมเนีย ภูเขาที่สูงที่สุดของออสเตรเลียคือภูเขา Mt. Kosciuszko มีความสูงถึง 2,228 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
ถนน ทางรถไฟ และรั้วที่ยาวที่สุดในโลก
รางรถไฟสายตรงที่ยาวที่สุดในโลกเหยียดยาวเป็นระยะทาง 478 กิโลเมตร ข้ามที่ราบ Nullarbor Plain ที่กว้างใหญ่และปราศจากต้นไม้ของรัฐเซาท์ออสเตรเลีย ถนนสายตรงที่ยาวที่สุดของออสเตรเลียซึ่งยาว 148 กิโลเมตร คือทางหลวง Eyre Highway ในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ซึ่งนั่นเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของเส้นทางถนนระยะทาง 2,700 กิโลเมตรซึ่งนำนักท่องเที่ยวจากเมืองเพิร์ทเดินทางไปยังแอดิเลด รั้วต่อเนื่องที่ยาวที่สุดในโลกคือรั้วที่กั้นสุนัขป่าดิงโก ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อปกป้องฝูงแกะจากสุนัขพื้นเมืองของออสเตรเลีย รั้วนี้มีความยาวถึง 5,531 กิโลเมตร ผ่านรัฐควีนส์แลนด์ตอนกลางและรัฐเซาท์ออสเตรเลีย
.
พืชและสัตว์ของเรา
ตอบลบสัญลักษณ์ที่กระโดดได้
จิงโจ้ที่เป็นสัตว์สัญลักษณ์ที่มีเฉพาะในประเทศออสเตรเลียและเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมซึ่งเป็นที่รู้จักมากที่สุดของเรา มีจิงโจ้ประมาณ 40 ล้านตัวในประเทศออสเตรเลีย นับเป็นจำนวนที่สูงกว่าเมื่อเริ่มมีผู้มาตั้งรกรากในประเทศ
สัตว์ป่าที่มีลักษณะเฉพาะ
ทวีปออสเตรเลียมีสัตว์ที่มีลักษณะเฉพาะซึ่งเกิดขึ้นเมื่อทวีปนี้แยกตัวออกจากมหาทวีปกอนด์วานาเมื่อกว่า 50 ล้านปีที่ผ่านมา ในปัจจุบัน ออสเตรเลียเป็นที่อยู่ของสัตว์ป่าจำนวนมากซึ่งไม่พบที่อื่นใดในโลก เรามีนกประมาณ 800 ชนิด ซึ่งครึ่งหนึ่งของจำนวนนี้มีเฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น ทะเลของเรามีปลามากกว่า 4,000 ชนิด รวมถึงสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง พืช และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กนับหมื่น ๆ ชนิด ประมาณร้อยละ 80 ของสัตว์ทะเลทางตอนใต้ของออสเตรเลียไม่สามารถพบหาได้จากที่อื่นในโลก
พืชพันธุ์ที่อุดมสมบูรณ์
นอกจากนี้ ประเทศออสเตรเลียยังมีต้นไม้อย่างน้อย 25,000 ชนิด เทียบกับ 17,500 ชนิดที่พบในทวีปยุโรป ทั้งยังรวมถึงต้นไม้โบราณที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น ต้นสนดึกดำบรรพ์วอลเลมีและต้นกลาสทรี ทั้งยังมีดอกไม้ป่าสีสันสดใส เฉพาะในรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียก็มีมากกว่า 12,000 ชนิดแล้ว
ประชากรและวัฒนธรรมของเรา
แหล่งหลอมรวมเชื้อชาติที่แตกต่างกัน
นับตั้งแต่ปี 1945 เป็นต้นมา มีประชากรกว่าหกล้านคนจากทั่วโลกได้เข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ปัจจุบัน กว่าร้อยละ 20 ของชาวออสเตรเลียเป็นผู้ที่เกิดในต่างแดน และกว่าร้อยละ 40 เป็นผู้ที่มีเชื้อสายผสม ในประเทศของเรา เราพูดทั้งหมด 226 ภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ภาษาที่ใช้กันมากที่สุดได้แก่ ภาษาอิตาเลียน กรีก จีนกวางตุ้ง และอาหรับ
ประเทศใหญ่ ความคิดก็ใหญ่
ชาวออสเตรเลียเป็นผู้คิดค้นกระดาษจดบันทึก (1902), รอกม้วนสำหรับช่วยชีวิต (1906), ยาแอสไพริน (1915), เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจ (1926), ยาเพนนิซิลิน (1940) ราวตากผ้าปรับระดับ (1946), กระบอกฉีดยาพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (1949), ถังไม้บรรจุไวน์ (1965), หูเทียมซึ่งมีชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (1978), ชักโครกที่กดน้ำได้สองระบบ (1980), เทคโนโลยีการป้องกันธนบัตรปลอม (1992), และคอนแท็กเลนส์ประเภทที่ใส่ได้นาน (1999)
วัฒนธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
ชาวอะบอริจินซึ่งอาศัยอยู่ในทวีปนี้มานานกว่า 50,000 ปี ได้ชื่อว่าเป็นเจ้าของอารยธรรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ชุมชนชาวอะบอริจินมีการพัฒนาในลักษณะเฉพาะก่อนหน้าที่ชาวยุโรปจะมาถึง พวกเขาประดิษฐ์บูมเมอแรงที่ใช้หลักอากาศพลศาสตร์และเครื่องพุ่งหอกที่เรียกว่า Woomera นอกจากนี้ ชาวอะบอริจินยังเป็นชุมชนแรกที่ลับปลายอันแหลมคมของเครื่องมือตัดที่ทำจากหิน และเป็นชนกลุ่มแรกที่ใช้เครื่องมือหินบดเมล็ดพืช ซึ่งเครื่องมือเครื่องใช้ประจำวันเหล่านี้มีการคิดค้นหลังจากนี้อีกนานมากโดยชนกลุ่มอื่น
.
การใช้ชีวิตในออสเตรเลีย
ตอบลบคำนำ
ออสเตรเลียมีขนาดใหญ่และมีความหลากหลายมากเกินกว่าที่สัญลักษณ์ใดสัญลักษณ์หนึ่ง จะสามารถใช้แสดงเอกลักษณ์ของประเทศได้ สถาปัตยกรรมอันน่าตื่นตาตื่นใจของโรงอุปรากรซิดนีย์โอเปร่าเฮ้าส์ (Sydney Opera House) แสงประกายของก้อนหินอูลูรู (ที่ Ayers Rock) ยามพลบค่ำ คลื่นที่ม้วนอยู่เหนือปะการังสีสวย – สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนของประสบการณ์ที่ท่านจะได้สัมผัสเมื่อท่านมาถึงแผ่นดินของประเทศทวีปอันน่าทึ่งแห่งนี้
ความงดงามทางธรรมชาติของออสเตรเลียเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากที่สุดอย่างหนึ่ง ภูมิทัศน์ที่หลากหลายตั้งแต่ขอบฟ้าสีทองที่มีเส้นสายตาไม่สิ้นสุด ไปจนถึงป่าฝนเขตร้อนและชายหาดทางใต้ที่เยือกเย็น ในเมืองใหญ่ ออสเตรเลียมีการผสมผสานกันระหว่างความปรารถนาในศิลปะและรสชาดอาหาร พร้อมด้วยความรักในกีฬาและชีวิตกลางแจ้ง ผู้ที่มาเยือนจะต้องเปลี่ยนความคิดที่มีต่อสภาพภูมิศาสตร์ของประเทศอันยิ่งใหญ่แห่งนี้ ขนาดอันมโหฬาร และประชากรที่หลากหลาย คือเอกลักษณ์ที่แท้จริงของออสเตรเลีย
มีหลายสิ่งของเกาะแสนไกลแห่งนี้ที่แตกต่างออกไป ถึงแม้จะเป็นสิ่งที่ดูคุ้นเคยก็ตาม ท่านอาจจะเคยเดินทางไปที่ห่างไกลมาหลายแห่งแล้ว แต่คงยังไม่เคยมาที่เอ้าท์แบคอันโดดเดี่ยวและอ้างว้างที่สุดเพียงนี้ ที่ที่มีหลุมเกลือเป็นประกายและหอหินทรายตั้งตระหง่าน ท่านอาจจะเคยพบเห็นสัตว์ป่ามาแล้ว แต่ท่านเคยขี่อูฐผ่านต้นโอ๊คทะเลทรายครั้งสุดท้ายเมื่อไหร่ หรือเคยตั้งแคมป์ใกล้กับแหล่งทางผ่านของสุนัขแทสเมเนียนเดวิลหรือไม่? บางทีท่านอาจจะเคยรับประทานอาหารทะเลอร่อยมาก่อน แต่ที่นี่ท่านจะได้ลิ้มลองรสชาติของปลาบารามันดิ หรือปลากะพง และกุ้งมอตั้นเบย์บัคที่แปลกอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง
จากทางเดินเล็กๆ ในป่าฝนจนถึงพิพิธภัณฑ์อันน่าตื่นตาตื่นใจ สีสันของเมืองหลากวัฒนธรรมไปจนถึงความหลงใหลในเกมส์กีฬา ทำให้ออสเตรเลียเป็นสถานที่ที่พิเศษและมีเอกลักษณ์ของตน
ผู้คนที่นี่
ประชากรของออสเตรเลียในช่วงกลางปี ค.ศ. 2005 มีจำนวนเท่ากับ 20,265,000 คน มีความหนาแน่นประชากรต่ำที่สุดในโลก ด้วยอัตราเฉลี่ยเพียง 2.5 คนต่อตารางกิโลเมตร – ในเขตพื้นที่ห่างไกล ผู้คนจะอาศัยอยู่ห่างกันมากจนแทบไม่ได้ยินเสียงตะโกนเรียก ผู้คนส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลด้านตะวันออก โดยมีความหนาแน่นเบาบางกว่าที่แนวชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ ชาวออสเตรเลียใช้ชีวิตอยู่ในประเทศที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงที่สุดในโลก โดยมีประชากร 23% เกิดในต่างประเทศ ชาวออสเตรเลียได้รับเอาอิทธิพลหลากหลายรูปแบบเข้ามาสู่วิถีชีวิตและรูปแบบการพักผ่อนของตน
สถานที่ต่างๆ
รัฐและมณฑลต่างๆ ของออสเตรเลียต่างก็มีเอกลักษณ์ของตน ท่านจะสำรวจสถานที่ทีละแห่งหรือแวะเที่ยวทุกแห่งในคราวเดียวกันหลังจากที่เรียนจบแล้วก็ได้! ระยะทางทั้งหมด อาจหมายถึง 14,000 กิโลเมตร โดยที่ยังไม่นับรวมการแวะเที่ยวชายหาด ป่า ภูเขา เมืองตามชนบท และที่อื่นๆ... หรือแม้ว่าท่านจะเป็นคนไม่ชอบเดินทางไกลจากสถานที่ที่ท่านศึกษาอยู่ ท่านก็ยังพบว่ามีสิ่งที่ท่านให้รับความเพลิดเพลินใจได้มากมายเช่นกัน
ศักยภาพ
ออสเตรเลียให้ข้อเสนอต่อประสบการณ์ที่เป็นแบบเฉพาะสำหรับนักศึกษา นอกจากระบบการศึกษาคุณภาพระดับโลกแล้ว โอกาสในการมีส่วนร่วมในชีวิตประจำวันของที่นี่ ยังมีอีกมากมายไม่สิ้นสุด ไม่ว่าความสนใจของท่านจะอยู่ที่ศิลปะหรือการกีฬา การจัดปาร์ตี้หรือชมรมหนังสือ ชีวิตกลางแจ้งหรือร้านกาแฟสบายๆ ท่านจะพบว่ามีหลายทางเลือก ที่ท่านจะสามารถเข้าร่วมและหาความสนุกได้ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าท่านต้องการทั้งการศึกษา และการใช้ชีวิตที่คุ้มค่า ออสเตรเลียคือสถานที่ที่เหมาะที่สุด
.
รัฐนิวเซาท์เวลส์
ตอบลบนิวเซาท์เวลส์ (อังกฤษ: New South Wales) เป็นหนึ่งในหกรัฐของเครือรัฐออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ นิวเซาท์เวลส์เป็นอาณานิคมบริเตนแห่งแรกในออสเตรเลีย แรกเริ่มกินดินแดนกว้างขวางกว่าปัจจุบัน ก่อนที่จะแยกไปเป็นรัฐอื่นๆภายหลัง เมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐคือซิดนีย์
รัฐควีนส์แลนด์
รัฐควีนส์แลนด์ (อังกฤษ: Queensland) เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลียที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของแผ่นดินทวีป ติดกับนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทางตะวันตก ติดกับรัฐเซาท์ออสเตรเลียทางตอนตะวันตกเฉียงใต้ และรัฐนิวเซาท์เวลส์ ทางทิศใต้
ทางตะวันตกของรัฐควีนส์แลนด์ เป็นทะเลปะการังและมหาสมุทรแปซิฟิก รัฐควีนส์แลนด์มีพื้นที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 รองจากรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียและเป็นรัฐที่มีประชากรมาที่สุดเป็นอันดับ 3 รองจากรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย
พื้นที่แต่เดิมมีคนพื้นเมืองออสเตรเลียและชาวเกาะทอร์เรสสเตรทอาศัยอยู่ ที่มาอยู่ราว 40,000 ถึง 65,000 ปีก่อน ต่อมาเป็นอาณานิคมของอังกฤษและแยกจากนิวเซาท์เวลส์เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน ค.ศ. 1859 ถือว่าเป็นวันเฉลิมฉลองประจำปีของรัฐ เรียกว่าวันควีนส์แลนด์
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย
รัฐเซาท์ออสเตรเลีย (อังกฤษ: South Australia) เป็นรัฐของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ ครอบคลุมพื้นที่แห้งแล้งโดยส่วนใหญ่ของทวีป มีพื้นที่ 983,482 ตร.กม. (379,725 ตร.ไมล์) ถือว่าเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 4 ใน 6 รัฐและ 2 ดินแดน ของประเทศ
รัฐมีพื้นที่ติดกับรัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย ทางตะวันตก ติดกับนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ทางทิศเหนือ ติดกับรัฐควีนส์แลนด์ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ติดกับรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรียทางตะวันออก และทางทิศใต้ติดกับอ่าวเกรตออสเตรเลียไบท์และมหาสมุทรใต้ กับประชากรราว 1.6 ล้านคน ซึ่งมีจำนวนน้อยกว่า 10% ของประชากรในออสเตรเลีย เป็นรัฐหรือดินแดนที่มีประชากรอันดับ 5 ของออสเตรเลีย ประชากรส่วนใหญ่อยู่ที่เมืองแอดิเลด เมืองหลวงของรัฐ ที่ยังคงเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์ ทั้งชายฝั่งตะวันออกเฉียงใต้และแม่น้ำเมอร์เรย์
รัฐแทสเมเนีย
เกาะแทสเมเนีย เป็นรัฐหนึ่งของประเทศออสเตรเลีย ตั้งอยู่ห่างออกไปราว 240 กม. (150 ไมล์) ทางตอนใต้ของส่วนตะวันออกของทวีปออสเตรเลีย โดยถูกกั้นด้วยช่องแคบบาสส์ แทสเมเนียมีประชากรราว 456,652 คน (จากการสำรวจสำมะโนประชากรในปี ค.ศ. 2001) และมีพื้นที่ 68,332 กม.² (26,383 ตารางไมล์) จากการสำรวจเมื่อวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 2003 พบว่าแทสเมเนียมีประชากรที่อยู่อาศัยจริงราว 476,199 คน ชื่อเล่นของแทสเมเนียคือ เกาะแอปเปิล เนื่องจากมีการปลูกแอปเปิลมาก และรูปร่างของเกาะที่เหมือนผลแอปเปิล
เมืองหลวงและเมืองขนาดใหญ่ที่สุดของเกาะคือเมืองโฮบาร์ต ซึ่งรวมถึงชุมชนโฮบาร์ต เกลนอร์ชี และ แคลเรนซ์ เมืองใหญ่ที่มีประชากรจำนวนมากอีกแห่งได้แก่เมืองลอนเซสตัน ทางตอนเหนือ และเดวอนพอร์ต กับเบอร์นีทางตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะ
เกาะแมกควารี ซึ่งเป็นเกาะเล็กของทวีปแอนตาร์กติก ก็อยู่ในความปกครองของรัฐแทสเมเนีย แทสเมเนียยังเป็นที่รู้จักในเรื่องของธรรมชาติที่งดงาม มีสัตว์หายากที่พบได้บนเกาะนี้ที่เดียว ได้แก่แทสเมเนียนเดวิล
รัฐวิกตอเรีย
รัฐวิกตอเรีย ตั้งอยู่ทางใต้ของรัฐนิวเซาธ์เวลส์ เป็นรัฐที่เล็กที่สุดเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย ขนาด 227,600 ตารางกิโลเมตร แต่มีประชากรหนาแน่นที่สุด มีประชากรอาศัยอยู่ในรัฐนี้คิดเป็นร้อยละ 26 ของชาวออสเตรเลียทั้งหมด
นครหลวงเมลเบิร์นเป็นเมืองหลวงและเมืองที่ใหญ่ที่สุดของรัฐวิกตอเรีย และมีประชากรขอรัฐอาศัยอยู่มากที่สุดถึง 70% เป็นศูนย์กลางที่มีชื่อเสียงทางด้านศิลปวัฒนธรรม การเงิน และการคมนาคมเนื่องจากมีท่าอากาศยานนานาชาติ ท่าเรือโดยสารและขนส่ง และทางรถไฟเชื่อมระหว่างรัฐใกล้เคียง
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย (อังกฤษ: Western Australia) เป็นรัฐในประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นรัฐที่ใหญ่ที่สุดของออสเตรเลีย และเป็นเขตการปกครองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีประชากร 2.1 ล้านคน (10% ของประเทศ) มี 85% ของคนที่อาศัยทางมุมใต้-ตะวันตกของรัฐ มีเมืองหลวงคือ เพิร์ท
.
ทัณฑนิคม
ตอบลบทัณฑนิคม (อังกฤษ: penal colony) หมายถึงถิ่นฐานซึ่งใช้สำหรับเนรเทศนักโทษและแยกพวกเขาจากประชากรส่วนใหญ่โดยการส่งตัวนักโทษเหล่านี้ไปยังสถานที่ที่อยฦห่างไกล ซึ่งส่วนใหญ่มักเป็นเกาะหรือดินแดนอาณานิคมที่อยู่ไกลออกไป คำดังกล่าวมักหมายถึงประชาคมนักโทษซึ่งอยู่ภายใต้การควบคุมของนักโทษหรือผู้ว่าการซึ่งมีอำนาจเด็ดขาด ในทางประวัติศาสตร์ ทัณฑนิคมมักจะเป็นสถานที่ซึ่งมีการใช้แรงงานนักโทษในดินแดนของรัฐ (หรือส่วนใหญ่คืออาณานิคม) ซึ่งเศรษฐกิจอย่างไม่พัฒนา และมีขนาดใหญ่กว่า "ฟาร์มในคุก" อย่างมาก ในทางปฏิบัติแล้ว ทัณฑนิคมมีความเหนือกว่าประชาคมทาสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น จักรวรรดิอังกฤษ จักรวรรดิฝรั่งเศส และจักรวรรดิอาณานิคมอื่น ๆ มักจะใช้ทวีปอเมริกาเหนือ และส่วนอื่น ๆ ของโลกเป็นทัณฑนิยมสำหรับโทษที่แตกต่างกัน ซึ่งบางครั้งอยู่ในฐานะความจำยอม การผูกมัดหรือการจัดการที่คล้ายคลึงกัน
ลักษณะโดยทั่วไป
การปกครองภายในนิคมมักจะเต็มไปด้วยความโหดร้าย และบางครั้งรวมไปถึงการลงโทษทางกายอย่างรุนแรง ดังนั้น ถึงแม้ว่าบรรดานักโทษจะไม่ได้รับการตัดสินให้ถูกประหารชีวิต แต่ก็มีจำนวนมากที่เสียชีวิตจากความอดอยาก โรคระบาด ความละเลยทางการแพทย์ การใช้แรงงานหนัก หรือในระหว่างพยายามหลบหนี
ในระบบทัณฑนิคม นักโทษจะถูกส่งตัวออกไปไกล ๆ เพื่อป้องกันความพยายามในการหลบหนีและเพื่อตัดกำลังใจในการกลับมายังบ้านเกิดของตนหลังจากโทษหมดลง ทัณฑนิคมมักจะตั้งอยู่ในพื้นที่อันห่างไกลซึ่งไม่ได้การต้อนรับ ที่นั่น พวกเขาจะต้องใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าจ้างซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อประเทศแม่ก่อนที่แรงงานจะอพยพเข้ามาในพื้นที่ หรือนักโทษอาจต้องใช้แรงงานต่อไปหลังจากนั้น เนื่องจากค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่ามาก อันที่จริงแล้ว บางคน (โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนจน) มักจะถูกตัดสินให้ต้องกลายมาเป็นแรงงานราคาถูกจำนวนมาก
จักรวรรดิอังกฤษ
อังกฤษได้ใช้ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทัณฑนิคมผ่านทางระบบของคนงานขึ้นบัญชี ผู้ต้องโทษจะถูกส่งตัวโดนพ่อค้าและขายทอดตลาดไปยังเจ้าของที่ดินเมื่อไปถึงอาณานิคม มีการประมาณกันว่ามีผู้ต้องโทษชาวอังกฤษกว่า 50,000 คนถูกส่งตัวไปยังอาณานิคมอเมริกา ซึ่งอาจคิดเป็นหนึ่งในสี่ของจำนวนผู้อพยพออกนอกอังกฤษระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่ออังกฤษไม่สามารถส่งนักโทษไปยังทวีปอเมริกาเหนือได้อีกหลังจากการปฏิวัติอเมริกาในคริสต์ทศวรรษ 1780 อังกฤษจึงได้หันไปเริ่มใช้ออสเตรเลียเป็นทัณฑนิคมแทน ซึ่งรวมไปถึงเกาะนอร์ฟอล์ก แทสมาเนีย และนิวเซาท์เวลส์ หากปราศจากการจัดสรรของแรงงานผู้ต้องโทษไปยังเกษตรกร ผู้ครอบครองที่ดินเพาะปลูก และโครงการของรัฐบาล อย่างเช่น การสร้างถนน ไปเสียแล้ว การยึดครองออสเตรเลียเป็นอาณานิคมก็คงจะไม่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อพิจารณาจากการสิ้นเปลืองไปกับแรงงานซึ่งมิใช่ผู้ต้องโทษอันเกิดจากนักขุดทองจำนวนมากซึ่งเกิดขึ้นในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1800
.
ระเบียบการและเอกสารยื่นขอวีซ่าเข้าประเทศ ออสเตรเลีย
ตอบลบ1. หนังสือเดินทางที่มีอายุใช้งานได้ไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
2. รูปถ่าย 2 - 2.5 นิ้ว จำนวน 2 รูป
3. การเงิน ( สำเนาสมุดเงินฝาก ออมทรัพย์ หรือ ประจำ ตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าปัจจุบัน ไม่น้อยกว่า 6 เดือน )
4. สำเนาทะเบียนบ้าน, สำเนาบัตรประชาชน,
5. สำเนาทะเบียนสมรส ( กรณีที่แต่งงานแล้วต้องใช้ )
6. ใบรับรองการทำงานจากบริษัทที่ท่านทำงานอยู่ ( ภาษาอังกฤษ ) สำเนาทะเบียนการค้าหรือสำเนาใบพาณิชย์ (กรณีเป็นเจ้าของ)
7. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อ และ นามสกุล ( ถ้ามี )
8. สำเนาสูติบัตร ( สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี )
9. เด็ก ขอหนังสือรับรองจากโรงเรียน ใช้ตัวจริง ( เป็นภาษาอังกฤษ )
10. เด็กอายุต่ำกว่า 20 ปีจะต้องมีใบอนุญาติจากผู้ปกครองในกรณีเดินทางเอง ( บิดาหรือมารดา )อีกกรณี หากเด็กเดินทาง
ไปกับบิดาจะต้องมีใบรับรองจากมารดา หรือหากเด็กเดินทางกับมารดาจะต้องมีใบรับรองจากบิดา
11. ผู้สูงอายุที่มีอายุเกิน 70 ปี จะต้องมีใบรับรองแพทย์ และใบประกันสุขภาพ ( จากบริษัทประกันภัย )
หมายเหตุ - ในการกรอกใบสมัครยื่นวีซ่า ทางสถานฑูตต้องการให้กรอกเบอร์โทรศัพท์ที่ติดต่อได้ ทั้งที่ทำงานและที่บ้าน พร้อมที่อยู่ปัจจุบันที่สามารถติดต่อลูกค้าได้สะดวก
เวลาทำการของสถานฑูต
8.00 น. – 12.00 น. เปิดรับยื่นเอกสารขอวีซ่า และ รับเล่มพาสปอร์ต
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทรศัพท์ 287 – 2680 ( ตั้งแต่เวลา 15.00 น. – 16.00 น. )
ข้อมูลด้านล่างนี้ ปรับปรุงเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2549
EMBASSY OF AUSTRALIA
37 SOUTH SATHORN RD.,BANGKOK 10120
Tel : 0 2344 6400
www.immi.gov.au
เวลายื่น 09:00-15:00 น./เวลารับ 15:00-16:00 น.
*** ระยะเวลาในการยื่นขอวีซ่าไม่รวมวันที่รับเอกสาร***
*** เอกสาร และเวลาที่ใช้ในการยื่นวีซ่า อาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้าทั้งนี้ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของสถานทูต ***
เอกสารยื่น VISA AUSTRALIA
Business ใช้แบบฟอร์ม 456
1. จ.ดหมายรับรองการทำงาน
2. จดหมายเชิญจากบริษัทในประเทศออสเตรเลีย
3. สำเนาStatement บริษัทย้อนหลัง 3 เดือน
4. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
5. รูปถ่าย 2 นิ้วสี 2 รูป พื้นหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขาว
6. พาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า พร้อมพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
7. ฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 1 ชุด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่
www.immi.gov.au
ดูหัวข้อ Visiting Australia แล้วไปตาม stepที่ Visit For :, Business, Business Visa Short stay Form 456
8. ค่าธรรมเนียมวีซ่า 2200 บาท(เริ่ม 1 ก.ค.49)+ค่าตรวจเช็คเอกสารที่จ้างคนนอกมาทำ 428 บาท(รวมอยู่ในใบเสร็จสถานฑูต)
และค่าแคชเชียร์เช็ค 35 บาทต่อคนรวมเป็น 2,663 บาท (ยกเว้นยื่นเป็น FAMILY VISA ซึ่งต้องใช้นามสกุลเดียวกันสามารถกรอกแบบฟอร์มเดียวกันได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแค่คนเดียว แต่ต้องเสียค่าตรวเช็คเอกสารแยกแต่ละคน เช่น สามีเดินทางไปประชุมและมีภรรยาและลูกเดินทาง ไปด้วยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มชุดเดียวกันแต่ลูกต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าวีซ่า 2,200บาท , ค่าจ้างตรวจเอกสาร คนละ 428 บาท ค่าแค็ชเชียน์เช็ค 35 บาท รวมเป็น 3,519 บาท )
9. เริ่ม 01 ตุลาคม48 ใช้เวลา 5-7 วันทำการ (สำหรับคนไทย) ใช้เวลา 10-14 วันทำการ (สำหรับชาวต่างชาติ) ขึ้นอยู่กับสถานฑูตจะเป็นผู้กำหนดวันรับ หากต้องการเร็วกว่านี้ ทางเอเม็กซ์ อาจจะช่วยขอให้ในขณะยื่น แต่รับรองไม่ได้ว่าสถานฑูต
จะอนุญาติหรือไม่
10. ใบจองตั๋วเครื่องบิน
.
Tourist ใช้แบบฟอร์ม 48 R THA
ตอบลบ1. จ.ดหมายรับรองการทำงาน
2. สำเนาบัญชีเงินฝากของผู้เดินทางย้อนหลัง 3 เดือน
3. สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน
4. รูปถ่าย 2 นิ้วสี 2 รูป พื้นหลังเป็นสีอ่อนหรือสีขาว
5. พาสปอร์ตตัวจริงที่มีอายุเหลือไม่น้อยกว่า 6 เดือนและมีหน้าว่างอย่างน้อย 3 หน้า พร้อมพาสปอร์ตเล่มเก่า (ถ้ามี)
6. ฟอร์มวีซ่ากรอกข้อมูลครบถ้วนและเซ็นต์ชื่อ 1 ชุด ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่ www.immi.gov.au ดูหัวข้อ Visiting Australia แล้วไปตาม stepที่ Visit For :, Holiday , Applying for an ETA (Visitor) or A Tourist Visa
,Form 48R THA Application to Visit Australia
7. ค่าธรรมเนียมวีซ่า 2300 บาท+ค่าตรวจเช็คเอกสารที่จ้างคนนอกมาทำ 428 บาท(รวมอยู่ในใบเสร็จสถานฑูต) และค่าแคชเชียร์เช็ค 35 บาทต่อคนรวมเป็น 2,763 บาท (ยกเว้นยื่นเป็น FAMILY VISA ซึ่งต้องใช้นามสกุลเดียวกันสามารถกรอกแบบฟอร์มเดียวกันได้ โดยเสียค่าธรรมเนียมวีซ่าแค่คนเดียว แต่ต้องเสียค่าตรวเช็คเอกสารแยกแต่ละคน เช่น สามีเดินทางไปประชุมและมีภรรยาและลูกเดินทาง ไปด้วยให้กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มชุดเดียวกันแต่ลูกต้องมีอายุไม่เกิน 18 ปี จะเสียค่าธรรมเนียมดังนี้ ค่าวีซ่า 2,300บาท , ค่าจ้างตรวจเอกสาร คนละ 428 บาท
ค่าแค็ชเชียน์เช็ค 25 บาท รวมเป็น 3,609 บาท )
8. เริ่ม 01 ตุลาคม48 ใช้เวลา 5-7 วันทำการ (สำหรับคนไทย) ใช้เวลา 10-14 วันทำการ (สำหรับชาวต่างชาติ) ขึ้นอยู่กับสถานฑูตจะเป็นผู้กำหนดวันรับ หากต้องการเร็วกว่านี้ ทางเอเม็กซ์ อาจจะช่วยขอให้ในขณะยื่น แต่รับรองไม่ได้ว่าสถานฑูต
จะอนุญาติหรือไม่
9. ใบจองตั๋วเครื่องบิน
Transit Visa
1. ใบจองตั๋วเครื่องบินหรือสำเนาตั๋วเครื่องบิน
2. รูปถ่ายสี 2 นิ้ว 1 รูป
3. ฟอร์มวีซ่า ใช้ฟอร์ม 876
4. พาสปอร์ตตัวจริง
5. ค่าธรรมเนียม 428 บาท
6. ใช้เวลาทำการ 5 วัน
Transfer Visa เสียค่าธรรมเนียม 428 บาท ใช้เวลาทำการ 5 วัน
*** คน Hungary , Austria , UK ไม่ต้องทำวีซ่าระยะเวลาขึ้นอยู่กับ Immigration ที่ประเทศออสเตรเลีย ***
*** คนอินเดีย ที่มี Work Permit ในไทยใช้เวลาในการยื่น 2-3 สัปดาห์ ***
ผู้เดินทางที่ถือพาสปอร์ตของประเทศต่อไปนี้สามารถทำอิเล็คทอนิควีซ่าได้
1. Andorra 12. Iceland 23. Portugal
2. Austria 13. Ireland 24. San Marino
3. Belgium 14. Italy 25. Singapore
4. Brunei 15. Japan 26. South Korea
5. Canada 16. Liechtenstein 27. Spain
6. Denmark 17. Luxembourg 28. Sweden
7. Finland 18. Malaysia 29. Switzerland
8. France 19. Malta 30. United Kingdom
9. Germany 20. Monaco 31. United States of America
10. Greece 21. Netherlands 32. Vatican City
11. Hong Kong 22. Norway
.