อังเกลา โดโรเธีย แมร์เคิล (เดิม อังเกลา โดโรเธีย คัสเนอร์; เกิด 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2497 ณ เมืองฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเยอรมนี ซึ่งได้รับการเลือกตั้งสู่รัฐสภาเยอรมันจากแคว้นเม็คเล็นบูร์ก-ฟอร์พอมเมิร์น เป็นประธานพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (CDU) ตั้งแต่วันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2543 และเป็นประธานกลุ่มพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน-สหภาพสังคมคริสเตียนในรัฐสภาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 จนถึง พ.ศ. 2548 นอกจากนั้นนางแมร์เคิลยังเป็นผู้นำรัฐบาลผสมกับพรรคสหภาพสังคมคริสเตียน (CSU) และพรรคประชาธิปไตยสังคมแห่งเยอรมนี (SPD) ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังภายจากการเลือกตั้งทั่วไปในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2548
ในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปและประธานกลุ่มประเทศจีแปด นอกจากนั้นนางดำเนินบทบาทในการเจรจาสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินอีกด้วย ด้านนโยบายภายในประเทศ เรื่องของการปฏิรูปเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในอนาคตนับเป็นเรื่องใหญ่ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนาง
นางแมร์เคิลเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี นางได้รับการเลือกจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังเป็นสตรีคนที่สองในการเป็นประธานกลุ่มประเทศจีแปดต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2551 นางแมร์เคิลได้รับรางวัล Charlemagne "สำหรับการทำงานเพื่อปฏิรูปสหภาพยุโรป" จากประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส
นางแมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบูร์ก และได้ศึกษาทางด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก หลังจบการศึกษา แมร์เคิลที่สถาบันวิทยาศาสตร์เยอรมนี และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง
ในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังดำรงตำแหน่งประธานคณะมนตรียุโรปและประธานกลุ่มประเทศจีแปด นอกจากนั้นนางดำเนินบทบาทในการเจรจาสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินอีกด้วย ด้านนโยบายภายในประเทศ เรื่องของการปฏิรูปเรื่องการดูแลสุขภาพและปัญหาเกี่ยวกับการพัฒนาพลังงานในอนาคตนับเป็นเรื่องใหญ่ในระหว่างการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของนาง
นางแมร์เคิลเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี นางได้รับการเลือกจากนิตยสาร Forbes ให้เป็นสตรีที่ทรงอำนาจมากที่สุดในโลกยุคปัจจุบัน และในปี พ.ศ. 2550 นางแมร์เคิลยังเป็นสตรีคนที่สองในการเป็นประธานกลุ่มประเทศจีแปดต่อจากนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์อีกด้วย
ในปี พ.ศ. 2551 นางแมร์เคิลได้รับรางวัล Charlemagne "สำหรับการทำงานเพื่อปฏิรูปสหภาพยุโรป" จากประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซีแห่งฝรั่งเศส
นางแมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบูร์ก และได้ศึกษาทางด้านฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยไลพ์ซิก หลังจบการศึกษา แมร์เคิลที่สถาบันวิทยาศาสตร์เยอรมนี และได้ลาออกในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเข้ามาเล่นการเมือง
อังเงลา แมร์เคิล (Angela Dorothea Merkel)
ตอบลบนายกรัฐมนตรีเยอรมนี (เยอรมัน: Bundeskanzler; อังกฤษ: Chancellor of Germany) คือ ผู้บริหารประเทศเยอรมนี ตำแหน่งนี้เป็นตำแหน่งเก่าแก่ เกิดขึ้นในสมัยที่เยอรมนีเพิ่งรวมประเทศภายใต้รัฐธรรมนูญจักรวรรดิเยอรมัน (Constitution of the German Empire 1871 AD) ในสมัยบิสมาร์คในปี ค.ศ. 1871 โดยรัฐต่าง ๆ ของเยอรมนีที่เป็นประเทศอิสระจากกันหลายประเทศ หลายแว่นแคว้น (ภายหลังการยกเลิกจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ ในปี ค.ศ. 1815 โดยพระจักรพรรดินโปเลียนมหาราชแห่งฝรั่งเศส) ได้เข้ามารวมกันภายใต้การนำของราชอาณาจักรปรัสเซีย
การร่างรัฐธรรมนูญครั้งนั้น กำหนดให้พระราชาแห่งราชอาณาจักรปรัสเซียเป็นประธานาธิบดีของสหพันธรัฐ แล้วเรียกชื่อว่า จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมัน จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิเยอรมันจะแต่งตั้งหัวหน้าฝ่ายบริหาร คือตำแหน่งอัครมหาเสนาบดีแห่งจักรวรรดิ (German Chancellor) ที่เรียกชื่อตำแหน่งเช่นนี้ เนื่องจากเยอรมนีมีสภาพเป็นสหพันธรัฐ แต่ละรัฐหรือราชอาณาจักรในสหพันธรัฐ (เช่น ราชอาณาจักรปรัสเซีย, ราชอาณาจักรบาวาเรีย เป็นต้น) ต่างก็มีตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเอง
เมื่อมีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ที่เยอรมนีเปลี่ยนไปเป็นระบบประธานาธิบดี หรือแม้แต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ระบบสหพันธรัฐก็ยังคงอยู่ (แม้ว่ายุคบิสมาร์กจะเรียกจักรวรรดิ แต่ในรัฐธรรมนูญนั้นยังเรียกว่าระบบสหพันธรัฐ) ตำแหน่ง Chancellor จึงยังคงเป็นตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหารไม่เปลี่ยนแปลง
ในสมัย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ได้รวมตำแหน่ง Chancellor เข้ากับตำแหน่งประธานาธิบดีแล้วเรียกว่า "ผู้นำ" (Führer) หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีกลับไปใช้ระบบสหพันธรัฐและมีประธานาธิบดีเป็นประมุขเช่นเดิม หัวหน้าฝ่ายบริหารก็ยังคงเรียกแบบเดิมคือ Chancellor ตำแหน่งนี้เทียบเท่ากับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของไทย หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมาเยอรมนีมีมุขมนตรี 8 คน ถ้าไม่นับฮิตเลอร์
นายกรัฐมนตรีคนล่าสุดคือ อันเกลา แมร์เคิล ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของเยอรมนี สังกัดพรรคสหภาพคริสเตียนเดโมแครต นางขึ้นดำรงตำแหน่งต่อจากนายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ จากพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยเยอรมนีในปี ค.ศ. 2005
.
อังเกล่า แมร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ในประวัติศาสตร์เยอรมนี
ตอบลบการจะเห็นผู้หญิงก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งผู้นำประเทศนั้น เกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ไม่ว่าจะในประเทศพัฒนาแล้วหรือประเทศกำลังพัฒนาในโลกปัจจุบัน ที่เรียกได้ว่า "ยุคสมัยใหม่"
แต่ทุกครั้งที่เห็นผู้หญิงก้าวขึ้นมาถึงจุดสูงสุดนี้ มักทำให้เกิดความน่าสนใจและน่าจดจำทุกครั้งไป เพราะจากประวัติศาสตร์การเมืองโลกยุคใหม่ที่ผ่านมา มีหญิงแกร่งระดับผู้นำไม่กี่คนที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้คน...
คนแรกๆ ที่เรานึกถึงอาจเป็น "นางมาร์กาเร็ต แท็ตเชอร์" ฉายา "หญิงเหล็ก" อดีตนายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษ หรือ "นางอินทิรา คานธี" อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย หรืออาจพานนึกไปถึงหญิงแกร่งหาญกล้าอีกคนอย่าง "นางออง ซาน ซูจี" ผู้นำพรรคฝ่ายค้านพม่า ที่ต่อสู้เพื่อปลดแอกประเทศจากอำนาจเผด็จการทหาร
และประเทศหนึ่งในโลกที่พัฒนาแล้วอย่างเยอรมนี ที่เรียกได้ว่าเป็นประเทศแห่งความทันสมัยล้ำยุคด้วยเทคโนโลยีประเทศหนึ่งในโลกตะวันตก เพิ่งจะมีนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกในประวัติศาสตร์ของประเทศคือ "นางอังเกล่า แมร์เคล" หรือในชื่อเต็มๆ ว่า "ดอกเตอร์อังเกล่า โดโรธี แมร์เคล" (Dr.Angela Dorothea Merkel) หัวหน้าพรรคซีดียู ที่เพิ่งได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้งชนิดเฉียดฉิวเหนือพรรคเอสพีดีของ "นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์" ที่สุดท้ายต้องยอมสละตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่ครองมา 2 สมัย(8 ปี) ให้กับนางแมร์เคลไปอย่างจำใจ หลังจากการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่ต้องใช้เวลาในการเจรจากันนานร่วม 2 เดือน
มีการออกเสียงเรียกชื่อเธอแตกต่างกันไป สุดแต่สำเนียงใคร บ้างก็ว่า แองเจล่า แอนเจล่า หรืออังเกอล่า ก็ตามแต่ ผู้เขียนขออ้างอิงจากเว็บไซต์สถานทูตเยอรมนีในการออกเสียงว่า "อังเกล่า แมร์เคล" หรือที่บรรดาคนสนิทเรียกว่า "แองจี้" ปัจจุบันอายุ 51 ปี ผ่านการแต่งงานมาแล้ว 2 ครั้ง ยังไม่มีบุตร ที่น่าสนใจคือ เธอเป็นผู้ที่เติบโตขึ้นในระบอบคอมมิวนิสต์แห่งอดีตเยอรมนีตะวันออก
และยังนับเป็นครั้งแรกที่อดีตพลเมืองของเยอรมนีตะวันออกก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำประเทศเยอรมนีที่รวมประเทศกันอีกครั้งหลังกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989
ปฐมบทของ"แมร์เคล"
เดิมที อังเกล่า แมร์เคล เกิดที่เมืองฮัมบวร์ก(Hamburg) ทางภาคเหนือของประเทศ(อดีตเยอรมนีตะวันตก) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 1954 ในวัยเด็กเธอได้ติดตามครอบครัวเดินทางเข้าไปใช้ชีวิตในเยอรมนีตะวันออก โดยการตัดสินใจของบิดาคือ นายฮอร์สต์ คาสเนอร์(Horst Kasner) บาทหลวงแห่งศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนต์ ที่มีความประสงค์อยากทำหน้าที่บาทหลวงที่นั่น เพื่อจะได้มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดกับญาติพี่น้อง แต่ก็ยังคงรักษาการติดต่อกับครอบครัวในเยอรมนีตะวันตกมาโดยตลอดในฐานะลูกสาวของบาทหลวงที่ไม่มีแนวคิดต่อต้านระบอบ แมร์เคลจึงได้รับการปฏิบัติเป็นกรณีพิเศษในโรงเรียน แต่เนื่องจากมีความจำเป็นต้องปรับตัวเข้ากับสังคมและไม่ต้องการอยู่อย่างโดดเดี่ยว เธอจึงตัดสินใจขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ "ขบวนการเยาวชนแห่งพรรคคอมมิวนิสต์"
หลังจากเรียนจบชั้นมัธยมปลาย เธอได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเมืองไลป์ซิก(Leipzig) เมื่อปี 1973 ในสาขาวิทยาศาสตร์ และจบออกมาด้วยคะแนนเกียรตินิยม ก่อนที่จะเข้ารับราชการในศูนย์ค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ สาขาเคมีฟิสิกส์ ที่กรุงเบอร์ลินตะวันออก เมื่อปี 1978
ในขณะที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยเมืองไลป์ซิกนี้เอง เธอได้แต่งงานกับนักศึกษาด้วยกันคือ นายอูลริช แมร์เคล(Ulrich Merkel) ซึ่งเธอยังคงรักษานามสกุลนี้เอาไว้จนกระทั่งทุกวันนี้ ถึงแม้จะแยกทางกันตั้งแต่ปี 1981 ก็ตาม ก่อนที่จะเริ่มชีวิตคู่ใหม่อีกครั้งในอีกไม่กี่ปีต่อมา กับศาสตราจารย์ด้านเคมี ชื่อ Joachim Sauer จนถึงปัจจุบัน
...ต่อ...
.
...ต่อ...
ตอบลบเส้นทางการเมืองสู่ความเป็นผู้นำ
ในปี 1989 แมร์เคลได้เข้าร่วมในขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยในเยอรมนีตะวันออก หลังกำแพงเบอร์ลินที่แบ่งแยกประเทศเยอรมนีออกจากกันพังทลายลง โดยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในพรรคการเมืองใหม่คือ พรรค "Demokratischer Aufbruch" ซึ่งต่อมาได้รับเลือกให้เป็นพรรครัฐบาลพรรคแรก และเพียงครั้งเดียวในระบอบประชาธิไตยของเยอรมนีตะวันออกในขณะนั้น (ก่อนที่จะมารวมตัวกับพรรคซีดียู จากเยอรมนีตะวันตกในอีกปีถัดมา) ทั้งนี้ แมร์เคลได้รับตำแหน่งรองโฆษกของรัฐบาลใหม่ภายใต้ผู้นำคือ นาย "Lothar De Maziere" นายกรัฐมนตรีคนสุดท้ายของเยอรมนีตะวันออก
เมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายราบคาบลงเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 1989 "พรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียนแห่งเยอรมนนี"(Christian Democratic Union-CDU) หรือพรคคซีดียู และ "พรรคสหภาพสังคมคริสเตียน" (Christian Social Union-CSU) หรือพรรคซีเอสยู พรรคพี่น้องที่มักถูกเรียกรวมกันว่า "ซีดียู/ซีเอสยู"(CDU/CSU) ได้ขยายสาขาออกสู่เยอรมนีตะวันออก อังเกล่า แมร์เคล ไม่ลังเลใจสมัครขอเข้าร่วมวงไพบูลย์เป็นสมาชิกด้วยในการเข้าร่วมเจรจารวมประเทศในฐานะโฆษกของนาย Lothar De Maziere
เมื่อเข้าร่วมเป็นสมาชิกพรรคซีดียู/ซีเอสยู นางแมร์เคลได้แสดงออกถึงท่าทีอันเด่นชัดที่แตกต่างจากกลุ่มที่ยังอาลัยอาวรณ์ในบางสิ่งบางอย่างของเยอรมนีตะวันออก โดยเธอได้แสดงจุดยืนที่เด่นชัดในการที่จะให้ประเทศเยอรมนีที่รวมกันเป็นหนึ่งเดียวแล้ว สังกัดในระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจตลาดเสรีของโลกตะวันตก และมีความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้นกับสหรัฐอเมริกา ซึ่งท่าทีดังกล่าวได้รับการจับตาดูอย่างเงียบๆ จากนายเฮลมุต โคห์ล(Helmut Kohl) นายกรัฐมนตรีแห่งเยอรมนีตะวันตกในขณะนั้น
หลังการรวมประเทศเข้าเป็นหนึ่งเดียวเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 1990 ใครๆ ภายในพรรคซีดียู/ซีเอสยู ต่างก็มองนางแมร์เคลในฐานะ "เด็กหญิงรับใช้" หรือ "Das Madchen" ของนายโคห์ล เพียงไม่กี่เดือนต่อมา ท่ามกลางความแปลกประหลาดใจไปทั่ว นายกรัฐมนตรีเฮลมุต โคห์ล ได้ตัดสินใจผลักดันให้อังเกล่า แมร์เคล ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่ง "รองหัวหน้าพรรคซีดียู" ในเดือนธันวาคม 1990 เมื่อเธอมีอายุ 36 ปี แทนที่นาย Lothar De Maziere ที่ประกาศถอนตัวออกจากเวทีการเมืองอย่างกะทันหัน
ปัจจัยที่ทำให้นายโคห์ลตัดสินใจเช่นนั้นเพราะเขาเห็นว่าสตรีผู้นี้มีคุณสมบัติ 3 ประการคือ 1.อายุยังน้อย 2.เป็นสตรี และ 3.เป็น "ออสซี่" (Ossie) คำเรียกขานชาวเยอรมนีภาคตะวันออก อันเป็นการเน้นให้เห็นถึงเจตนารมณ์ของนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ที่พยายามจะลบล้างแนวความคิดที่ว่า ชาวเยอรมันภาคตะวันออกคือ "พลเมืองชั้นสอง" แต่ถึงกระนั้นก็ยังไม่สามารถทำให้ความนิยมในภาคส่วนนี้ของประเทศ (อดีตเยอรมนีตะวันอออก) ต่อพรรคซีดียู/ซีเอสยู เป็นที่น่าพอใจสำหรับการเลือกตั้ง ในทางตรงกันข้าม พรรค "ขบวนการฝ่ายซ้ายใหม่" ที่ประกอบไปด้วยบรรดานักการเมืองแห่งอดีตพรรคคอมมิวนิสต์ของเยอรมนีตะวันออกยุคประเทศถูกแบ่งแยกเป็นจำนวนมาก กลับเป็นผู้ได้รับความนิยมสูงสุด ทั้งนี้ เชื่อกันว่าเป็นเพราะการปฏิรูปจากระบบเศรษฐกิจรวมศูนย์ตามทฤษฎีมาร์กซิสม์ สู่ระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรีนั้น มีความขมขื่นมากเกินไปสำหรับชาวเยอรมันในภาคตะวันออก
หลังการเลือกตั้งครั้งแรกแห่งการรวมชาติ นางแมร์เคลได้รับการเลือกตั้งในรัฐ Mecklemburg-Pomerania ตะวันตก (ในเยอรมนีตะวันออก) ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งจากนายโคห์ล ให้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกิจกรรมสตรีและเยาวชนเมื่อเดือนมกราคม 1991 และรัฐมนตรีกระทรวงสิ่งแวดล้อมในเวลาต่อมา
หลังจากพรรคซีดียู/ซีเอสยูแพ้การเลือกตั้งในปี 1998 นายแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ทำให้การครองอำนาจ 4 สมัยติดต่อกันถึง 16 ปี ของนายโคห์ล สิ้นสุดลง และนางแมร์เคลได้ขึ้นเป็นเลขาธิการของพรรคซีดียู
เมื่อนายเฮลมุต โคห์ล ตกจากอำนาจไปแล้ว พรรคซีดียู/ซีเอสยูก็โดนมรสุมขนาดหนัก โดยถูกขบวนการยุติธรรมตั้งข้อหาในเรื่องบัญชีมืด (วิธีหาเงินเข้าสนับสนุนพรรคอย่างผิดกฎหมาย) จนทำให้นาย "Wolfgang Schauble" หัวหน้าพรรคในขณะนั้น ต้องลาออกจากตำแหน่ง ในขณะที่เกียรติยศและศักดิ์ศรีนายโคห์ล ผู้มีสมญานามว่า "นายกรัฐมนตรีแห่งการรวมชาติ" ได้รับผลกระทบอย่างหนักตามไปด้วย จนเรียกได้ว่าสถานการณ์ของซีดียู/ซีเอสยูในขณะนั้นแทบเอาตัวไม่รอดเลยทีเดียว
...ต่อ...
...ต่อ...
ตอบลบในสถานการณ์เช่นนั้น จึงทำให้พรรคมีความจำเป็นอย่างไม่เคยมีมาก่อนที่จะต้องรื้อฟื้นภาพพจน์อันสวยงามคืนมาให้ได้ ดังนั้น ในวันที่ 10 เมษายน ปี 2000 พรรคซีดียู/ซีเอสยูจึงเปิดกองประชุมสมัชชาสมัยวิสามัญขึ้นที่เมือง Essen รัฐ Ruhr ซึ่งเป็นเขตอุตสาหกรรมใหญ่ในภาคตะวันตกของประเทศ และได้ลงมติเห็นชอบให้นางอังเกล่า แมร์เคล เข้ารับตำแหน่งหัวหน้าพรรค จึงทำให้บรรดาสื่อในประเทศฝรั่งเศสตอนนั้นขนานนามให้นางแมร์เคล ว่าคือ Jeanne d"Arc แห่งประเทศเยอรมนี อันเป็นการเปรียบเทียบกับนักรบวีรสตรีของฝรั่งเศส ที่พยายามกอบกู้ฐานะของประเทศจากการยึดครองของอังกฤษในศตวรรษที่ 15 นั่นเอง
หลังผ่านเส้นทางอันยาวนานทางการเมือง นางอังเกล่า แมร์เคล ก็ได้รับเลือกให้ขึ้นตำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของเยอรมนีอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2548
มติชน 21 ธค. 48
.