10 อันดับผู้นำหญิงของโลก
วันนี้ ผู้หญิงมีความสามารถในการทำงานเกือบทุกเรื่องเท่าเทียมกับผู้ชาย เรียกว่าสามารถทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้ชายได้ทีเดียว
การก้าวขึ้นมายืนอยู่แถวหน้าของ "ผู้หญิง" ได้รับการยอมรับมากแค่ไหนในยุคปัจจุบัน ลองมาดูทำเนียบต่อไปนี้ค่ะ
อันดับที่ 10 Laura Chinchilla
ลอร่า ชินชิลล่า (Laura Chinchilla) วัย 50 ปี เพิ่งชนะเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของสาธารณรัฐคอสตาริก้า เธอจะเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของคอสตาริก้า และจะถูกนับเป็นประธานาธิบดีหญิงคนที่ห้าของกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่มี ประธานาธิบดีหญิงมาก่อนหน้านี้แล้ว คือ นิคารากัว ปานามา ชิลี และอาร์เจนติน่า และทั้งหมดนี้มาจากการเลือกตั้งทั้งสิ้น อย่าง ไรก็ตาม กล่าวกันว่า ลอร่า ชินชิลล่า ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดีของสาธารณรัฐฯ ได้รับการสนับสนุนจากนายออสการ์ อาเรียส ประธานาธิบดีคนปัจจุบัน และเธอจะเป็นผู้สานต่อนโยบายเศรษฐกิจของเขา โดยเฉพาะนโยบายตลาดเสรี และการค้ากับจีน นอกจากนี้ ลอร่า ชินชิลล่า ยังมีแนวคิดทางสังคมแบบอนุรักษ์นิยมในบางประเด็น เช่น คัดค้านการทำแท้ง และการแต่งงานของคนเพศเดียวกัน แต่นักโทษหญิงวัย 24 ปี คนหนึ่งที่ลงคะแนนเสียงให้ลอร่า ชินชิลล่า บอกว่า "ฉัน เลือกลอร่า ชินชิลล่า เพราะเธอสัญญาว่าเธอจะต่อสู้เพื่อผู้หญิง เธอเป็นคนเดียวที่มาเยี่ยมพวกเราและบอกพวกเราเกี่ยวกับนโยบายของเธอ และฉันเชื่อเธอ"
อันดับที่ 9 Kamla Persad-Bissessar
Kamla Persad-Bissessar ประธานาธิบดีของตรีนิเดด
อันดับที่ 8 Tarja Halonen
ตารยา การินา ฮาโลเนน (ฟินแลนด์: Tarja Kaarina Halonen Loudspeaker.svg [tɑrjɑ kɑːrinɑ hɑlonen] เป็นประธานาธิบดีของประเทศฟินแลนด์คนที่ 11 และคนปัจจุบัน ฮาโลเนนเข้ารับตำแหน่งสมัยแรกในปีพ.ศ. 2543 โดยเป็นประธานาธิบดีหญิงคนแรกของประเทศ และได้รับเลือกอีกครั้งในปีพ.ศ. 2549 ก่อนหน้านี้ ฮาโลเนนเคยดำรงตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่าง ประเทศ ฮาโลเนนสังกัดพรรคสังคมประชาธิปไตยฟินแลนด์ (Suomen Sosialidemokraattinen Puolue)
อันดับที่ 7 Ellen Johnson Sirleaf
Ellen Johnson-Sirleaf ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดี และเข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม 2549 (ค.ศ. 2006) จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ นาง Johnson-Sirleaf เป็นบุคคลซึ่งได้รับการยอมรับและรู้จักอย่างกว้างขวางบนเวทีระหว่างประเทศ เนื่องจากมีภาพลักษณ์ของผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ทางการปฏิรูป อีกทั้งยังมีประสบการณ์ในการทำงานกับองค์การสหประชาชาติ อย่างไรก็ดี นาง Ellen ยังคงมีฐานความนิยมทางการเมืองในไลบีเรียน้อย
อันดับที่ 6 Sheik Hasina Wajed
Sheik Hasina Wajed นายกรัฐมนตรีของประเทศบังคลาเทศ
Sheikh Hasina (Bengali: শেখ হাসিনা Shekh Hasina) (born September 28, 1947) is a Bangladeshi politician and current Prime Minister of Bangladesh. She has been the President of the Awami League, a major political party, since 1981. She is the eldest of five children of Sheikh Mujibur Rahman, the founding father (and first president) of Bangladesh and widow of a reputed nuclear scientist, M. A. Wazed Miah. Sheikh Hasina's party defeated the BNP-led Four-Party Alliance in the 2008 parliamentary elections, thus assuring her of the post of prime minister. Sheikh Hasina has once before held the office, from 1996 to 2001.
อันดับที่ 5 Angela Merkel
แมร์เคิ่ล มีชื่อเต็มว่า อังเกลา โดโรเธีย คาสเนอร์ เกิดเมื่อปี 1954 ในเมืองฮัมบวร์ก มี คุณพ่อเป็นนักบวชศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ คุณแม่เป็นครู หลังจากเกิดได้ไม่นาน คุณพ่อคุณแม่ของเธอได้อพยพไปยังเยอรมนีตะวันออก แมร์เคิ่ลจบดอกเตอร์ด้านฟิสิกส์ ทำงานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฏีควอนตัม พูดคล่องทั้งภาษาเยอรมัน อังกฤษ และรัสเซีย ขอเดาว่าเวลาเจอประธานาธิบดีปูตินของรัสเซีย คงจะพูดรัสเซียกันไฟแล่บเลยทีเดียว ติดอะไรมาน่ะตัว เบี้ยวรึเปล่าจ๊ะ? แมร์ เคิ่ลก้มหน้าก้มตาทำงานวิจัยทดลองของเธอ จนกระทั่งในปลายทศวรรษ 80s ที่เธอเริ่มหันมาสนใจการเมืองบ้าง โดยเธอได้สมัครเป็นสมาชิกกลุ่ม Democratic Renewal ต่อต้านรัฐบาลเยอรมนีตะวันออก หลัง จากกำแพงเบอร์ลินล่มสลาย เมอร์เคิ่ลย้ายมาอาศัยอยู่ในเยอรมันตะวันตก และเริ่มเข้าสู่การเมืองโดยเข้าเป็นสมาชิกพรรคสหภาพคริสเตียนประชาธิปไตย (CDU) เป็นที่รู้กันดีว่า เฮลมุท โคห์ล นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น สนับสนุนเธอเป็นพิเศษ เพราะต้องการฐานเสียงจากเยอรมันตะวันออก แมร์เคิ่ลได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงครอบครัวและผู้หญิง และกระทรวงสิ่งแวดล้อม เป็นรัฐมนตรีที่อายุน้อยที่สุดในยุคนั้น ก้าว กระโดดทางการเมืองของแมร์เคิ่ลมาถึงในปี1999 เมื่อพรรค CDU ต้องเผชิญกับข้อครหารับเงินสนับสนุนพรรคอย่างผิดกฏหมาย ทำให้ชื่อเสียงของนายกรัฐมนตรีโคห์ล, ว่าที่ผู้นำพรรคคนต่อไปอย่าง โวล์ฟกัง ชอยเบิล และนักการเมืองคนอื่นๆ ในพรรคย่ำแย่ไปตามๆ กัน แมร์เคิ่ลจึงกลายเป็นตัวเลือกของสมาชิกพรรคส่วนใหญ่ที่จะฉุดภาพลักษณ์ของ พรรคให้ดีขึ้น เธอได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรคในปี 2000 แน่ นอนว่ามีแรงต้านจากนักการเมืองในพรรคไม่น้อย โดยเฉพาะนักการเมืองผู้ชาย แต่จะว่าไปแล้ว แมร์เคิ่ลเจอแรงต้านมาโดยตลอดในหลายๆ ด้าน เช่น เรื่องสถานภาพครอบครัวของเธอ พรรค CDU ซึ่งเป็นพรรคค่อนข้างเคร่งศาสนาคริสต์นิกายแคธอลิก ซึ่งให้ความสำคัญกับเรื่องครอบครัวมาก แต่แมร์เคิ่ลนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ เป็นแม่ม่ายหย่าสามี และไม่มีลูก แม้เธอจะแต่งงานใหม่เมื่อปี 1998 แต่นั่นก็ไม่ได้ทำให้ภาพลักษณ์ของเธอเข้ากับพรรคอย่าง CDU ได้มากนัก หรือ ข้อครหาว่าเธอเป็นคอมมิวนิสต์ เพราะสมัยเป็นวัยรุ่น แมร์เคิ่ลเคยเป็นสมาชิกองค์กรเยาวชนคอมมิวนิสต์ ที่ชื่อว่า Free German Youth Organization เธอบอกว่าเธอทำไป ก็เพื่อที่จะได้มีที่เรียนในมหาวิทยาลัย โชคดีที่เธอไม่ได้มีตำแหน่งสำคัญอะไรมากในองค์กร ข้อกล่าวหาก็เลยฟังไม่ขึ้น แม้ กระทั่งเรื่องรูปลักษณ์ของเธอก็ตกเป็นขี้ปากของคน สมัยที่แมร์เคิ่ลเล่นการเมืองใหม่ๆ ใครๆ ก็หัวเราะเยาะเธอ ด้วยความที่เธอไม่แต่งตัว ทำผมทรงเชยๆ ใส่ชุดสูทโทรมๆ นักการเมืองมักจะพูดกันลับหลังว่า "โอ๊ย จะคาดหวังอะไรมากกับพวก Ossie (ชาวเยอรมันตะวันออก)" ขนาดหนังสือพิมพ์ยังชอบลงรูปของเธอที่ดูเหมือนว่าเธอเป็นพวกสหายจากลัทธิ คอมมิวนิสต์ ซึ่งเธอไม่เคยเป็น เวลาเจอเรื่องแบบนี้ เธอมักจะตอบกลับว่า "คนที่ฉลาดมีกึ๋น มีเรื่องจะพูด ไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องสำอางค์หรอก" <<< แต่ถ้าพูดถึงเรื่องการแต่งตัวนั้น ก็ต้องบอกว่า ตั้งแต่เธอได้เป็นตัวแทนเข้าลงชิงชัยตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเมื่อปี 2005 รูปลักษณ์ของแมร์เคิ่ลก็เปลี่ยนไป เธอจ้างสไตลิสต์ เปลี่ยนทรงผมและการแต่งตัวของเธอใหม่ รวมทั้งเริ่มแต่งหน้าด้วย กลายเป็นแมร์เคิ่ลนิวลุค ที่ถ้าเอารูปในอดีตมาเทียบกับปัจจุบันแล้ว ต้องบอกว่าเปลี่ยนไปแทบเป็นคนละคนเลยทีเดียว
อันดับที่ 4 Dalia Grybauskaite
Dalia Grybauskaite ประธานาธิบดีลีทัวเนีย
Dalia Grybauskaitė (pronounced [ˈdaːlʲæ ɡʲrʲiːbɒʊsˈkaɪtʲeː], born 1 March 1956) is a Lithuanian politician and the current President of Lithuania, inaugurated on 12 July 2009. She was previously Lithuania's Vice-Minister of Foreign Affairs, Finance Minister, and European Commissioner for Financial Programming & the Budget. Often referred to as the "Iron Lady", Grybauskaitė is Lithuania's first female head of state.
อันดับที่ 3 Cristina Fernández de Kirchner
คริสติน่า เป็นชื่อที่คนอาร์เยนติน่ารู้จักเธอชื่อเต็มคือ Cristina Elisabet Fernández de Kirchner เกิดเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 1953 ที่เมือง La Plata จังหวัดบัวโนส ไอเรส หรือเกิดได้ 7 เดือน ต่อมา เอวิต้า เปรอง อดีตภรรยา(คนที่สอง)ของประธานาธิบดีฮวน เปรอง ก็ถึงแก่กรรม คริ สติน่าเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งที่ดูดี เพราะเคยกล่าวว่าการมีรูปร่างดีจะทำให้เกิดความประทับใจแก่ผู้พบเห็น ในฐานะนักการเมืองในช่วง 2 เดือนก่อนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งเธอเดินทางไปยุโรปและสหรัฐอเมริกาเพื่อ พูดให้นักลงทุนเข้าไปลงทุนในประเทศอาร์เยนติน่า เครดิตของเธอดีถึงขนาดว่าประธานาธิบดีฮิวโก้ ชาเวซ แห่งเวเนซูเอล่าผู้ร่ำรวยด้วยน้ำมันดิบยอมยืดอายุเงินกู้ 5 พันล้านดอลลาร์แก่อาร์เยนติน่าออกไปอีก อาร์เยนติน่ามีสตรีคนที่สองที่เป็นประธานาธิบดี คนแรกในช่วง 1974 เมื่ออิสาเบล เปรอง(Isabel Peron)รองประธานาธิบดีขึ้นครองตำแหน่งแทนสามีนายพลฮวน เปรอง เมื่อเขาถึงแก่กรรม แต่อิสาเบลไม่ได้ผ่านการเลือกตั้งเหมือนคริสติน่า
อันดับที่ 2 Johanna Sigurdardottir
Johanna Sigurdardottir เป็นชาวไอส์แลนด์ เกิดที่เมือง Reykjavik ศึกษาที่ Commercial College of Iceland หลังจบการศึกษาได้ทำงานเป็น แอร์โฮส์ทเตส ที่สายการบิน Loftleiðir แต่เธอไม่หยุดยั้งชีวิตเพียงเท่านั้นเธอได้เข้าไปมีส่วนร่วมกับ องค์กร และสมาคมผู้ใช้แรงงาน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนในปี 1978 ในนามพรรค Social Democratic Party และต่อมาในปี 1984 เธอได้รับการโหวตให้เป็นหัวหน้าพรรค และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีอีกหลายตำแหน่ง ในปี 2008 ไอส์แลนด์ประสบณ์วิกิตการทางการเงินขั้นรุนแรง จนเป็นประเทศแรกในยุโรปที่ต้องขอรับการช่วยเหลือ จาก IMF ทำให้นายกรัฐมนตรี Geir Haarde และคณะรัฐมนตรีของไอส์แลนด์ต้อง แสดงความรับผิดชอบโดยการลาออกทั้งคณะ ทำให้ Johanna Sigurdardottir ก้าวขึ้นรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน โดยชีวิตส่วนตัวของ Johanna Sigurdardottir ได้เปิดเผยตัวว่าิเป็นพวกรักรุ่วมเพศ ( หญิงรักหญิง ) และได้ทำการแต่งงานถูกต้องตามกฎหมายกับแม่หม้ายลูกติดนามว่า Jonina Leosdottir
อันดับที่ 1 Julia Eileen Gillard
จูเลีย ไอลีน กิลลาร์ด (อังกฤษ: Julia Eileen Gillard) เกิดเมื่อวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1961 เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 27 ของออสเตรเลีย และเป็นนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน ถือเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงของแรกและเป็นคนแรกที่ยังไม่เคยสมรสมาก่อน กิลลาร์ดได้รับเลือกเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรในฐานะผู้แทนของเขตเลือกตั้งลา เลอร์ ในปี ค.ศ. 1998 จากนั้นในปี ค.ศ. 2001 หลังจากที่พรรคแรงงานพ่ายแพ้การเลือกตั้ง เธอได้รับเลือกให้เป็นส่วนหนึ่งของคณะรัฐมนตรีเงาในตำแหน่งรัฐมนตรีเงา กระทรวงประชากรและการอพยพย้ายถิ่น ในเดือนกรกฎาคมปี ค.ศ. 2006 เธอได้เป็นรัฐมนตรีเงากระทรวงสาธารณสุข ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 2006 ภายใต้รัฐบาลของเควิน รัด เธอเข้ารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย พร้อมตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม ในวันที่ 24 มิถุนายน ค.ศ. 2010 เธอดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของออสเตรเลีย
********************************************************
10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก
ทีมงาน Toptenthailand.com เห็นว่าช่วงนี้ไกล้เลือกตั้งเข้าไปทุกทีแล้วและก็มีโอกาสที่จะมีนายกหญิงเป็นครั้งแรกสูงซะด้วยวันนี้เลยขอนำเรื่องราวของผู้นำหญิงมาให้แฟนๆ Toptenthailand.com ได้ชมกันในหัวข้อ "10 อันดับทำเนียบผู้นำหญิงโลก"
10 เวโรนิกา มิเชล บาชแล็ต ประธานาธิบดีแห่งชิลี |
|
|
|
ประธานาธิบดี หญิงของประเทศที่ยาวที่สุดในโลกและมีช่องว่างทางรายได้ระหว่างคนรวยและคนจน มากที่สุดในโลก ชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2006 มิเชล มีเชื้อสายฝรั่งเศส-กรีซ พูดได้ 6 ภาษา และประกาศว่าไม่นับถือศาสนาใดๆทั้งสิ้น ใน วัยเด็ก เธอใช้ชีวิตอย่างสุขสบายในฐานะลูกสาวเศรษฐีไร่องุ่น แต่เมื่อนายพลออกุสโต ปิโนเชต์ ก่อการปฏิวัติได้จับบิดาของเธอซึ่งเป็นอดีตอธิบดีกรมปันส่วนอาหารไปทรมาน และขังครอบครัวของเธอไว้ในค่ายกักกันหลายแห่ง และสุดท้ายถูกเนรเทศออกจากชิลีไปสู่ออสเตรเลีย เธอจบการศึกษาแพทย ศาสตร์จากเยอรมันที่มหาวิทยาลัยไลป์ซิก ในระหว่างที่ชิลีปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์ และปฏิบัติงานเป็นแพทย์ที่มหาวิทยาลัยฮุมโบลด์ในกรุงเบอร์ลิน อยู่ 2 ปี จนได้กลับสู่ประเทศชิลีอีกครั้งในฐานะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรม ระหว่างนั้นเธอพบรักกับอเล็กซ์ โวจโควิค เทรียร์ หนึ่งในคณะก่อการลอบสังหารนายพลปิโนเชต์ในปี 1986 แต่ล้มเหลวซึ่งความสัมพันธ์ก็หยุดลงแค่นั้น ต่อมาหลังนายพลปิโนเชต์เสียอำนาจ และชิลีกลับมาเป็นประชาธิปไตย เธอเข้าร่วมกับองค์การอนามัยโลกเพื่อต่อต้านโรคเอดส์ในทวีปอเมริกา ตามด้วยเข้าศึกษาทางยุทธศาสตร์ทหารในวิทยาลัยป้องกันประเทศ และวิทยาลัยสหอเมริกาเพื่อการป้องกันประเทศแห่งกระทรวงกลาโหม สหรัฐอเมริกาในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และกลับสู่ประเทศชิลีในฐานะที่ปรึกษาอาวุโสประจำรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมชิลี ในปี 1996 มิเชลสมัครลงเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีครั้งแรกในปลายปี 1996 แต่พ่ายแพ้ได้คะแนนเป็นอันดับ 4 ในปี 2000 เธอได้รับเสนอชื่อให้เป็นรัฐมนตรีสาธารณสุขโดยรัฐบาลของประธานาธิบดีริคา ร์โด ลากอส และมีผลงานยอดเยี่ยมในการลดเวลารอคิวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลรัฐลง 90% และสนับสนุนการใช้ยาคุมกำเนิดหลังการมีเพศสัมพันธ์เพื่อลดอัตราการทำแท้ง ในปี 2002 เธอได้รับแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้บริหารนโยบายสมานฉันท์และคืนสภาพให้แก่ผู้ถูกรัฐบาลเผด็จการของปิโนเชต์ ย่ำยีสิทธิเสรีภาพ ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เธอได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2006มิ เชลสนับสนุนการทำ FTA และการค้ากับประเทศต่างๆในเอเชีย ทั้งจีน บรูไน สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงสนับสนุนสหรัฐอเมริกาซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้นำคนอื่นๆในละติ นเมริกาที่ต่อต้านอิทธิพลสหรัฐฯ ในสมัยของเธอ ช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนลดลงมาก มีการกวาดล้างข้ารัฐการที่ทุจริตคอรัปชันซึ่งทำงานมาตั้งแต่สมัยนายพลปิโนเช ต์ อย่างไม่ไว้หน้า ปัจจุบัน ชิลีได้รับการสนับสนุนให้มีที่นั่งในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ แต่ถูกคัดค้านโดยเปรูและเวเนซุเอลา |
|
|
|
|
|
|
|
9 | คริสตินา แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีแห่งอาร์เจนตินา |
|
|
|
"Don't Cry For Me, Argentina" ประโยคเด็ดของเอวิตา เปรอง ประธานาธิบดีหญิงคนแรกของอาร์เจนตินาเป็นหนึ่งในแรงบันดาลใจของคริสตินา แฟร์นันเดซ เด เกิร์ชเนอร์ ประธานาธิบดีคนปัจจุบันของอาร์เจนตินา รวมถึงวิถีขึ้นสู่อำนาจของเธอก็เช่นเดียวกัน จนชาวอาร์เจนติน่าต่างตั้งสมญานามเธอว่า "อีวา(เปรอง) คนที่สอง"คริ สตินาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีต่อจากสามีของเธอ เนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ เช่นเดียวกับเอวิตา เปรองที่ได้รับเลือกต่อจากฮวน เปรอง ด้วยคะแนนทิ้งห่างคู่แข่งขันกว่า 22% เธอจบการศึกษานิติศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลา ปลาตา และพบรักกับเนสเตอร์ เกิร์ชเนอร์ในมหาวิทยาลัยนั่นเอง รัฐ บาลของเกิร์ชเนอร์เป็นแนวร่วมกับเวเนซุเอลาของประธานาธิบดีฮูโก ชาเวซ ในการต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐในเขตละตินอเมริกา เธอถูกกล่าวหาว่ารับเงินสนับสนุนจากฮูโก ชาเวซ มาใช้ในการเลือกตั้ง และหลังจากสาบานตนรับตำแหน่ง มีการสอบสวนในคดีเงินปริศนา 790,000$ ที่ทนายความของเธอถือขึ้นเครื่องบินที่เวเนซุเอลา แต่เรื่องก็เงียบไปหลังมีการพาดพิงถึงเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำกรุง บัวโนส ไอเรส ในเดือนมีนาคม-เมษายน เกิดการประท้วงของเกษตรกรกว่า 25,000 คน หลังจากรัฐบาลคริสตินาออกกฎหมายขึ้นภาษีส่งออกถั่วเหลือง และมีการประท้วงรุนแรงถึงขั้นล้อมทำเนียบประธานาธิบดีกลางกรุงบัวโนส ไอเรสไว้ ความล่าช้าในการแก้ไขปัญหาประท้วงทำให้ความนิยมของเธอร่วงลงกว่า 20% ถูกนิตยสารการเมืองและเศรษฐกิจวิจารณ์ว่า สามีของเธอชักใยการบริหารอยู่เบื้องหลังทำให้เธอไม่สามารถตัดสินใจแก้ปัญหา ได้อย่างรวดเร็ว ต่อมาเธอได้แก้ไขกฎหมายใหม่และรองประธานาธิบดี จูลิโอ โคบอส ลาออกเพื่อรับผิดชอบนโยบายที่ผิดพลาด ทำให้ความนิยมของคริสตินากลับมาสูงอีกครั้งหนึ่ง ฮูโก ชาเวซ ตั้งข้อสงสัยกรณีประท้วงดังกล่าวว่า อาจเกิดจากหน่วยสืบราชการลับ CIA ของสหรัฐฯสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง แต่เอกอัครราชทูตสหรัฐปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา |
|
|
|
|
|
|
|
8 | มิเชล ปิแอร์-ลูอิส นายกรัฐมนตรีแห่งเฮติ |
|
|
|
นายกรัฐมนตรีหญิงคนที่สองของประเทศเฮติ อดีตประธานองค์กร NGO ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากจอร์จ โซรอส ได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีเรอเนต์ เปรอวาล ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในเดือนสิงหาคม 2008เธอ เป็นนายกรัฐมนตรีที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ เนื่องจากเฮอริเคนเข้าถล่มคาบสมุทรแคริบเบียนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เฮอริเคนกุสตาฟ เฮอริเคนฮันนาห์ และเฮอริเคนไอค์ |
|
|
|
|
|
|
|
7 | เอลเลน จอห์นสัน เซอร์ลีฟ ประธานาธิบดีแห่งไลบีเรีย |
|
|
|
"หญิงเหล็กแห่งแอฟริกา" ประธานาธิบดีหญิงที่มาจากการเลือกตั้งคนแรกของทวีปแอฟริกา ผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง เธอจบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์ในประเทศและศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนจะกลับไลบีเรียตามคำขอร้องของรัฐบาล เพื่อเป็นรัฐมนตรีคลังในรัฐบาลประชาธิปไตยที่ถูกรัฐประหารในปี 1980 เธอถูกจำคุกนานถึง 10 ปี หลัง ได้รับการปล่อยตัว เอลเลนเดินทางสู่สหรัฐอเมริกา และเข้าทำงานกับซิตี้แบงค์ และก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานฝ่ายแอฟริกา ต่อมาเมื่อนายพลชาร์ลส์ เทย์เลอร์ ก่อกบฏต่อต้านรัฐบาลทหารเดิมของแซมวล โด จนเกิดสงครามกลางเมืองและพยายามจัดการเลือกตั้งในไลบีเรีย เอลเลนร่วมสมัครเพื่อชิงตำแหน่งประธานาธิบดีแต่พ่ายแพ้การเลือกตั้ง และถูกกล่าวหาว่าโกงการเลือกตั้งจนต้องลี้ภัยออกนอกประเทศ หลังจาก นั้นสงครามกลางเมืองได้ปะทุขึ้นอีกครั้งเนื่องจากการแทรกแซงจากประเทศเพื่อน บ้าน และการบุกรุกดินแดนข้างเคียงของนายพลเทย์เลอร์ จนเทย์เลอร์ถูกกดดันให้ลี้ภัยออกจากประเทศ และตั้งคณะกรรมการปฏิรูปรัฐขึ้นโดยมีเอลเลน จอห์นสัน-เซอร์ลีฟ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการด้วย ซึ่งทำให้มีการเลือกตั้งสามัญอีกครั้งโดยเอลเลนเข้าเลือกตั้งต่อสู้กับนัก ฟุตบอลชื่อดัง จอร์จ เวอาห์ และชนะการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีในปี 2005หลัง ได้รับการเลือกตั้ง เอลเลน จอห์นสัน-เซอร์ลีฟ ปฏิรูปไลบีเรียด้วยความช่วยเหลือของสหรัฐอเมริกาและแคนาดาผ่านการสนับสนุน ของคอนโดลีซซา ไรซ์ ลอรา บุช และมิแชลล์ ฌอง(ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ สมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ประจำแคนาดา) เธอประกาศให้ฟรีการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการรักษาพยาบาล และฟื้นฟูสาธารณูปโภคที่เสียหายจากสงครามกลางเมือง เธอได้รับเสนอชื่อให้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ในปี 2007 |
|
|
|
|
|
|
|
6 | อังเกลา แมร์เคิล สมุหนายกแห่งสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี |
|
|
|
"หญิงเหล็กแห่งเยอรมัน" และ "บิสมาร์คหญิง" คือสมญานามของสมุหนายก(Chancellor)หญิงคนแรกของสหพันธสาธารณรัฐเยอรมนีผู้นี้ สตรี ผู้ทรงอำนาจอันดับ 1 ของโลกปัจจุบันจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ผู้ก้าวมาจากอาชีพนักฟิสิกส์นิวเคลียร์ในเยอรมันตะวันออกได้พลิกโฉมหน้าของ เยอรมันในยุคศตวรรษที่ 21 ให้ก้าวมามีบทบาทในประชาคมโลกอย่่างเต็มภาคภูมิเยี่ยงเดียวกับที่ออตโต ฟอน บิสมาร์ค ทำให้ปรัสเซียยิ่งใหญ่ แมร์เคิลเกิดที่เมืองฮัมบวร์ก เป็นบุตรสาวของบาทหลวงนิกายลูเธอแรนและครูสอนภาษาละติน จบการศึกษาวิทยาศาสตร์บัณฑิตสาขาฟิสิกส์ในมหาวิทยาลัยไลป์ซิก และทำงานในห้องวิทจัยวิทยาศาสตร์แห่งไลป์ซิกจนได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตด้วย ผลงานวิชาการด้านเคมีควอนตัม เธอสนใจก้าวสู่วงการการเมืองหลังการ ล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินในปี 1989 และเข้าไปเป็นโฆษกพรรคประชาธิปไตยตื่นเถิด(Demokratischer Aufbruch) ในการเลือกตั้งครั้งแรกและครั้งเดียวของเยอรมันตะวันออกก่อนการรวมประเทศใน ปี 1990 ซึ่งเธอได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหพันธ์(Bundestag)อีกครั้ง ในนามพรรคคริสเตียนเดโมแครต (CDU) ซึ่งหลังจากการพ่ายแพ้ของเฮลมุต โคห์ล ในปี 1998 แมร์เคิลได้รับเลือกขึ้นเป็นเลขาธิการพรรค และนำพาพรรคได้ชัยชนะติดต่อกันหกในเจ็ดครั้ง ขึ้นเป็นผู้นำฝ่ายค้านเสียงข้างมากของเยอรมัน แมร์เคิลสนับสนุนแนว คิดพันธมิตรร่วมเยอรมัน-อเมริกันในสงครามอิรักเมื่อปี 2003 และต่อต้านการคัดค้านอเมริกาของอดีตสมุหนายกแกร์ฮาร์ด ชโรเดอร์อย่างรุนแรงจนนักวิจารณ์กล่าวหาเธอว่าเป็นลูกไล่อเมริกา เมื่อถึงการเลือกตั้งในปี 2005 พรรค CDU ได้เสียงข้างมากพร้อมกับพรรคพันธมิตร ตั้งรัฐบาลผสมและขึ้นเป็นสมุหนายกหญิงคนแรก เธอพลิกบทบาทมาเป็นการทยอยถอนทหารเยอรมันออกจากอิรัก และการนำสหภาพยุโรปให้มีบทบาทคานอำนาจในวงการการเงินและเศรษฐกิจโลกในปัญหา จริยธรรมของธนาคารโลกและ IMF ในปี 2007 แมร์เคิลได้รับตำแหน่งประธานสภายุโรปและประธาน G8 ตามวาระ เธอมีบทบาทสำคัญในการร่างสนธิสัญญาลิสบอนและปฏิญญาเบอร์ลินเพื่อการรวมสหภาพ ยุโรป ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ของฝรั่งเศส มอบรางวัลพิเศษ "Charlemagne Prize" แก่แมร์เคิลเพื่อเป็นเกียรติในฐานะผู้พยายามปฏิรูปสหภาพยุโรปให้แข็งแกร่ง และเป็นหนึ่งเดียวกว่าเดิม แมร์เคิลและรัฐบาลของเธอถูกวิพากษ์ วิจารณ์ในกรณีนำภาษีของชาวเยอรมันตะวันตกไปอุดหนุนการพัฒนาเขตตะวันออกที่ เพิ่งเปลี่ยนสู่ระบบทุนนิยม แต่เธอก็กล่าวว่าเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องทำเพื่อความเสมอภาคของชาวเยอรมัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาผู้อพยพชาวตุรกีและโปแลนด์ รวมถึงการพิจารณายกเลิกค่าเสียหายที่รัฐบาลเยอรมันต้องจ่ายให้อิสราเอลเพื่อ ชดเชยโศกนาฏกรรมยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ทุกปีอีกด้วย เป็นที่รู้กัน ดีว่าแมร์เคิลเป็นแฟนฟุตบอลตัวยง และติดตามการแข่งขันนัดสำคัญของทีมฟุตบอลเยอรมันแทบทุกนัด ดังจะเห็นจากนัดชิงชนะเลิศยูโร 2008 ที่แมร์เคิลนั่งชมเกมนัดชิงร่วมกับนายกรัฐมนตรี โฮเซ่ มาเรีย ซาปาเตโร แห่งสเปนคู่แข่งนัดชิงชนะเลิศอย่างเอาจริงเอาจัง เธอได้รับตำแหน่งนักเตะและสมาชิกกิตติมศักดิ์ของทีมเอแนร์กี้ ค็อตบุสในบุนเดสลีกาอีกด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
5 | ลุยซา ดิแอซ ดิโอโก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐโมซัมบิก |
|
|
|
นายก รัฐมนตรีหญิงคนแรกของดินแดนอดีตอาณานิคมโปรตุเกส ลุยซา ดิโอโก จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิตจาก LSE (London School of Economics) เธอปฏิบัติงานที่ธนาคารโลกเพื่อการพัฒนาประเทศโมซัมบิกมาก่อน แล้วจึงเข้าสู่วงการเมืองผ่านพรรค FRELIMO ซึ่งปกครองประเทศโมซัมบิกตั้งแต่ประกาศเอกราชในปี 1975เธอรับ ตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และได้รับเลือกให้เป็นนายกรัฐมนตรีในปี 2004 เธอสร้างมิติใหม่ให้แก่ประเทศโมซัมบิกด้วยการรณรงค์ด้านสาธารณสุข ลดอัตราการตายของหญิงมีครรภ์ลงกว่า 75% ลดการแพร่กระจายโรคเอดส์ ตั้งเครือข่ายนักการเมืองและรัฐมนตรีหญิงเพื่อความเท่าเทียมของสิทธิทางการ เมือง รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่างๆในทวีปแอฟริการ่วมมือกัน ปัจจุบัน โมซัมบิกมีการพัฒนาดีขึ้นกว่าประเทศส่วนใหญ่ในทวีปแอฟริกา ทั้งการสาธารณสุขและเศรษฐกิจ GDP รายปีต่อประชากรเพิ่มขึ้น 80% และไม่มีปัญหาขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้าน ทรัพยกรธรรมชาติ สัตว์ป่า และป่าไม้ ได้รับการฟื้นฟู แต่คุณภาพด้านการศึกษาของประชากรยังเป็นปัญหาเนื่องจากเด็กๆส่วนใหญ่ยังต้อง ใช้แรงงานช่วยเหลือครอบครัวในการเกษตร |
|
|
|
|
|
|
|
4 | ซีไนดา กราเซียนี นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐมอลโดวา |
|
|
|
นายกรัฐมนตรีหญิงจากพรรคคอมมิวนิสต์คนแรกและคนเดียวของโลก ณ เวลานี้ ได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรีใหม่ๆ หมาดๆ ในเดือนมีนาคม 2008ซีไนดา เปตรอฟนา กราชนายา เกิดในเขต ทอมสก์ สหภาพโซเวียต ในปี 1956 จบการศึกษาด้านเศรษฐศาสตร์การเงินจากมหาวิทยาลัยแห่งมอลโดวา เธอ ขึ้นเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังมอลโดวาในปี 2000 และเป็นรัฐมนตรีว่าการโดยการสนับสนุนของประธานาธิบดี วลาดิเมียร์ โวโรนิน ในปี 2002และเมื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมลาออก ประธานาธิบดีโวโรนินเสนอชื่อเธอเพื่อรับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี โดยเธอได้รับเสียงสนับสนุนในสภา 56 จาก 101 เสียง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนล่าสุดของสาธารณรัฐมอลโดวาเมื่อเดือนมีนาคม 2008 |
|
|
|
|
|
|
|
3 | ยูเลีย โวโลดึยเมียเรียฟนา ทึยโมเชงโก นายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐยูเครน |
|
|
|
" โจน ออฟ อาร์คแห่งยูเครน" ที่มาพร้อมกับเอกลักษณ์ประจำตัวคือผมถักสีบลอนด์ จบเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยดมิโปรเปตรอฟสก์แห่งโซเวียต ประสบความสำเร็จในธุรกิจเครือข่ายร้านเช่าวิดีโอที่ได้รับอานิสงส์จากนโยบาย เปเรสทรอยกา ในสมัยประธานาธิบดี มิฮาอิล กอร์บาชอฟ และได้เข้าไปมีส่วนบริหารบริษัทพลังงานในเครือก๊าซพรอมของรัสเซียหลัง โซเวียตล่มสลาย เธอได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาในฐานะสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรครั้งแรกในปี 1996 สร้างกลุ่มการเมืองของตัวเองเข้ามามีบทบาทต่อรองอำนาจในรัฐสภายูเครน ระหว่างนั้นเธอถูกรัฐบาลมอสโคว์ตั้งข้อหาลักลอบค้าน้ำมันเถื่อนระหว่างพรม แดนรัสเซีย-ยูเครน และถูกประกาศจับห้ามเข้าประเทศรัสเซียระยะหนึ่ง จนปี 2002 ที่เธอเป็นหัวหน้าพรรคปิตุภูมิ(บัตเคียฟสกินา) และได้รับเลือกตั้งเข้ามาในสภา 7.6 % ของจำนวน สส.ในปี 2005 เธอตั้งรัฐบาลผสมหลายพรรคและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐยูเครนสมัย แรก แต่ถูกประธานาธิบดีวิกตอร์ ยูซเชงโกปลดออกในเวลา 9 เดือนด้วยเหตุว่า รัฐบาลของเธอบริหารเศรษฐกิจได้ย่ำแย่ และเกิดความแตกแยกในกลุ่มพรรคพันธมิตรที่เคยสนับสนุนเธอมาก่อน อย่างไรก็ตาม ในการเลือกตั้งสามัญปี 2006 พรรคของเธอได้รับเลือกตั้งเข้ามาด้วยเสียงข้างมาก และรวมกลุ่มพรรคพันธมิตรตั้งรัฐบาลได้อีกครั้ง ด้วยความสนับสนุนของประธานาธิบดียูซเชงโก ในปี 2008 เกิดความร้าวฉานระหว่างนายกฯยูเลียและประธานาธิบดียูซเชงโก ในกรณีสงครามจอร์เจีย-เซาธ์ออสเซเทีย-รัสเซีย เนื่องจากประธานาธิบดียูซเชงโกให้การสนับสนุนจอร์เจียแต่นายกฯหญิงยูเลียไม่ เห็นด้วยกับการประณามรัสเซีย และเสนอว่ายูเครนควนดำเนินนโยบายเป็นกลาง จึงเสนอร่างกฎหมายสอบสวนประธานาธิบดีเพื่อปลดออกจากตำแหน่ง และก่อให้เกิดวิกฤตการเมืองอีกครั้งในยูเครน นักวิจารณ์กล่าวว่า ยูเลียเป็นนักบริหารที่เล่นการเมืองเก่ง แต่ถูกตั้งข้อสงสัยว่าทรัพย์สินของเธออาจได้มาโดยมิชอบ เธอยังถูกกล่าวหาว่าเล่นพรรคเล่นพวกและพยายามปกครองในรูปแบบคณาธิปไตย รวมถึงมีแนวโน้มเข้าข้างรัสเซีย แต่เมื่อดูจากประวัติของเธอแล้วก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า เธอเป็นผู้นำหญิงที่เก่งกาจและงดงามมากที่สุดคนหนึ่งของโลก |
|
|
|
|
|
|
|
2 | กลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ประธานาธิบดีแห่งฟิลิปปินส์ |
|
|
|
ประธานาธิบดี คนที่ 14 และประธานาธิบดีหญิงคนที่สองของฟิลิปปินส์(ต่อจากคอราซอน อาคิโน) บุตรีของรัฐบุรุษมาคาปากัล ดิออสดาโด จบการศึกษาเศรษฐศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยแห่งฟิลิปปินส์ หลังศึกษาจบเธอเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอยู่ช่วงหนึ่งก่อนจะสมรสกับทนายความ หนุ่มโฮเซ่ มิเกล อาร์โรโยและเข้าสู่วงการเมือง โดยสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี 1992 ซึ่งเป็นการเลือกตั้งสามัญครั้งแรกหลังการล้มล้างระบอบเผด็จการของเฟอร์ดิ นานด์ มาร์กอส อาร์โรโยลงสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีใน ปี 1998 แต่ถูกอดีตประธานาธิบดีฟิเดล รามอส เกลี้ยกล่อมให้ลงสมัครเป็นรองประธานาธิบดีคู่กับโฮเซ่ เด เวเนเซีย แต่สุดท้ายแล้วผู้ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคือ โจเซฟ เอสตราดา(หมายเหตุ : ฟิลิปปินส์แยกการเลือกตั้งประธานาธิบดีกับรองประธานาธิบดีแยกจากกันครับ)อาร์ โรโยลาออกจากตำแหน่งรองประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ในปี 2000 หลังจากประธานาธิบดีเอสตราดาถูกฟ้องร้องในข้อหาทุจริต เธอไม่ได้ร่วมขึ้นเวทีประท้วงเอสตราดาแต่ร่วมลงนามเรียกร้องให้เอสตราดาลา ออกจากตำแหน่งด้วย และหลังจากเกิดจลาจลต่อต้านเอสตราดารุนแรง ศาลฎีกาสูงสุดของฟิลิปปินส์ประกาศให้เอสตราดาหลุดจากตำแหน่ง และคณะผู้พิพากษาลงความเห็นตามข้อกฎหมายให้อาร์โรโยขึ้นเป็นประธานาธิบดีคน ใหม่ของฟิลิปปินส์แทนเอสตราดาในปี 2001อาร์โรโยบริหารประเทศ ฟิลิปปินส์ตามรูปแบบรัฐการ และสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยว เห็นด้วยและสนับสนุนการทำสงครามอิรักของสหรัฐฯโดยส่งทหารฟิลิปปินส์เข้าสู่ สมรภูมิด้วย เนื่องจากต้องการการสนับสนุนด้านยุทโธปกรณ์เพื่อต่อต้านกลุ่มกบฎแบ่งแยกดิน แดนและผู้ก่อการร้ายตามหมู่เกาะต่างๆ เช่น กลุ่มอาบู ไซยาฟ ที่มินดาเนา เป็นต้น รัฐบาลของอาร์โรโยถูกต่อต้านและกล่าวหาจากทั้งผู้สนับสนุนอดีตประธานาธิบดี เอสตราดาและกลุ่มทหาร แต่ประชาชนและคริสตจักรคาทอลิกยังให้ความเชื่อมั่นในตัวเธออยู่เนื่องจาก สภาพเศรษฐกิจและสังคมของฟิลิปปินส์ดีขึ้นจากสมัยของเอสตราดาพอควร อาร์ โรโยนับถือและเชื่อมั่นแนวทางการบริหารเศรษฐกิจแบบทักษิโณมิกส์ เปิดเสรี FTA ทั้งระดับทวิภาคีและพหุภาคี รวมถึงนำนโยบายหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ไทยปรับปรุงจากแนวทางของเมืองโออิ ตะ ประเทศญี่ปุ่น ไปประยุกต์ใช้เรียกว่า Philippines OTOP (One Town One Product) ซึ่งก็ถูกฝ่ายค้านระบุว่าสร้างภาพและล้มเหลวเช่นเดียวกันกับไทย |
|
|
|
|
|
|
|
1 | เฮเลน คลาร์ก นายกรัฐมนตรีแห่งนิวซีแลนด์ |
|
|
|
นายก รัฐมนตรีคนที่ 37 ของนิวซีแลนด์ เฮเลน คลาร์ก จากพรรคเลเบอร์ เธอชนะการเลือกตั้งทั่วไปในปี 1999 และชนะการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2005 ประเทศนิวซีแลนด์อยู่อย่างสงบสุขและเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการพัฒนานโยบายการศึกษาดังจะเห็นได้ว่าผู้มีอันจะกินในประเทศไทยหลาย คนนิยมส่งลูกหลานของตนไปเรียนที่นิวซีแลนด์ เธอยังสนับสนุนการฟื้นฟู ประเพณีวัฒนธรรมของชาวเมารี และเปิดโอกาสให้ชาวเมารีมีสิทธิ์มีเสียงในการปกครองประเทศ จนเป็น สส. ในพรรคแรงงานได้ มีครั้งหนึ่งที่เธอเอ่ยปากขอโทษที่เหล่าชาวผิวขาวมา บุกรุกและแย่งแผ่นดินชาวเมารีในอดีตจนถูกนักการเมืองฝ่ายค้านยกมาโจมตีในสภา แต่เธอก็ไม่ยี่หระและกล่าวว่ามันคือความจริงที่ชาวนิวซีแลนด์และโลกต้องยอม รับ เธอปฏิเสธการส่งทหารเข้าร่วมสงครามอิรักของสหรัฐฯในปี 2003 ประกาศว่านิวซีแลนด์เป็นเขตปลอดนิวเคลียร์โดยสิ้นเชิงและเป็นดินแดนที่เป็น กลางอย่างสมบูรณ์แม้ว่าจะอยู่ในเครือจักรภพอังกฤษก็ตาม ประธานาธิบดี เจียง เจ๋อ หมิน แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนเอ่ยคำชื่นชมเธอว่า เป็นเพื่อนเก่าที่แสนดี อย่างไรก็ดี เธอถูกสอบสวนในข้อกล่าวหาใช้งบประมาณเลือกตั้งเพื่ออุดหนุนพรรคแรงงานอย่าง ผิดปกติในการเลือกตั้งปี 2005 แต่พ้นผิดด้วยเหตุผลว่าหลักฐานไม่เพียงพอ |
|
|
|
|
|
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น