ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

20 กรกฎาคม 2554

สหภาพโซเวียต

                               สหภาพโซเวียต




สหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (รัสเซีย: Сою́з Сове́тских Социалисти́ческих Респу́блик - CCCP; อังกฤษ: The Union of Soviet Socialist Republics - USSR) นิยมเรียกสั้นว่า สหภาพโซเวียต (อังกฤษ: Soviet Union) เคยเป็นประเทศขนาดใหญ่ทางตอนเหนือของทวีปยูเรเชีย ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2465 (ค.ศ. 1922) อยู่มาจนกระทั่งล่มสลายในปี พ.ศ. 2534 (ค.ศ. 1991)

การก่อตัวของสหภาพโซเวียตเกิดขึ้นเมื่อการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 ถึงจุดสูงสุด โค่นล้มการปกครองของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคอมมิวนิสต์ประเทศแรกของโลก โดยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ ภายใต้การนำของกลุ่มบอลเชวิค (ต่อมาเป็นพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต) เมื่อปี พ.ศ. 2460 (ค.ศ. 1917) องค์กรทางการเมืองที่ปกครองประเทศมีพรรคเดียว คือ พรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต ซึ่งเป็นผู้กำหนดนโยบายต่าง ๆ รวมทั้งนโยบายต่างประเทศ

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อกองทัพแดงได้ทำลายกองทัพนาซีจนย่อยยับ และยึดครองกรุงเบอร์ลินได้แล้ว สหภาพโซเวียตได้ทำการก่อตั้งรัฐสังคมนิยมในประเทศที่โซเวียตยึดครองจากฝ่ายนาซีในแนวรบด้านตะวันออก จนเกิดเป็นโลกตะวันออกซึ่งเป็นหนึ่งขั้วมหาอำนาจในช่วงสงครามเย็น

เขตแดนของสหภาพโซเวียตเปลี่ยนแปลงเสมอ ก่อนการล่มสลายมีเขตแดนอยู่ในแนวใกล้เคียงกับปลายยุคจักรวรรดิรัสเซีย ไม่รวมประเทศโปแลนด์และฟินแลนด์ โดยมีอาณาเขตติดต่อกับนอร์เวย์ ฟินแลนด์ โปแลนด์ ฮังการี บัลแกเรีย โรมาเนีย เชโกสโลวาเกีย ตุรกี อิหร่าน อัฟกานิสถาน จีน มองโกเลีย และเกาหลีเหนือ อีกทั้งยังมีพรมแดนทางทะเลใกล้กับมลรัฐอะแลสกาของสหรัฐอเมริกาด้วย




วิดีโอ YouTube








ประวัติศาสตร์





วลาดิมีร์ เลนิน




วลาดิมีร์ เลนิน (Vladimir Lenin) มีชื่อเต็มว่า วลาดิมีร์ อิลลิช เลนิน (Vladimir Ilyich Lenin, Владимир Ильич Ленин) (เกิด 22 เมษายน พ.ศ. 2413-21 มกราคม พ.ศ. 2467) ผู้นำนักปฏิวัติมาร์กซิส คนแรกของสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตที่สถาปนาเมื่อ พ.ศ. 2465 หัวหน้าพรรคบอลเชวิก นายกรัฐมนตรีคนแรกและเป็นเจ้าของแนวคิดส่วนใหญ่ในลัทธิเลนิน


ชื่อ “เลนิน” นั้นเป็นหนึ่งในนามแฝงที่ใช้ในการปฏิวัติ เดิมมีชื่อสกุลว่าอูเลียนอฟ (Ulyanov) ได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากมหาวิทยาลัยคาซาน และเซนปีเตอร์สเบิร์ก เลนินถูกจำคุกระหว่าง พ.ศ. 2438-2440 และในปีต่อมาถูกเนรเทศไปไซบีเรียจนถึง พ.ศ. 2443 เนื่องจากเข้าขบวนการปฏิวัติใต้ดิน หลังการปฏิวัติเลนินได้เป็นหัวหน้าพรรค “บอลเชวิค” (Bolshevik) ที่ทำการปฏิวัติล้มล้างระบบกษัตริย์ของรัสเซียในปี พ.ศ. 2460 และตั้งตนเป็นผู้นำประเทศและรีบทำการเจรจาสงบศึกกับฝ่ายเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อทุ่มกำลังปราบปรามฝ่ายต่อต้านในสงครามกลางเมืองของรัสเซียที่เกิดขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2461-2464


เลนินมีความเชื่อมั่นในระบอบสังคมนิยม จึงรวบอำนาจมารวมไว้ในพรรคคอมมิวนิสต์ และเริ่มปรับเปลี่ยนระบบควบคุมจากส่วนกลางที่เข้มงวดและเหี้ยมโหดของพวกบอลเชวิก มาทุ่มเทการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในแนวใหม่ที่เรียกว่า “นโยบายเศรษฐกิจแนวใหม่” (New Economic Policy) อย่างเต็มที่เพื่อล้มระบบทุนนิยม แต่ก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์และการต่อต้านจากกลุ่มหัวรุนแรงเดิมว่าเป็นการอ่อนข้อให้ระบบทุนนิยมและหนีห่างจากระบบสังคมนิยมมากเกินไป


ก่อนเสียชีวิต เลนินป่วยหนักมีอาการชักและมีโลหิตออกในสมอง ศพของเลนินได้รับการอาบน้ำยาตั้งไว้ให้ประชาชนเคารพในสุสานที่จตุรัสหน้าวังเครมลินจนถึงปัจจุบัน นับว่าเลนินเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของสหภาพโซเวียตที่ยังมีคนนับถือ พรรคคอมมิวนิสต์ได้เปลี่ยนชื่อเมืองสำคัญคือนครเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก มาเป็นเมืองเลนินกราดเมื่อ พ.ศ. 2467 เพื่อเป็นเกียรติแก่เขา แต่ได้กลับมาใช้ชื่อเดิมอีกหลังจากการล่มสลายของสหภาพโซเวียต


ผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำต่อจากเลนิน คือ โจเซฟ สตาลิน ผู้นำสหภาพโซเวียตเข้าสู่ยุคม่านเหล็กที่ลึกลับที่ปิดประเทศจากโลกเสรี มีการปกครองที่เด็ดขาดและโหดเหี้ยมขัดกับเจตจำนงเดิมของเลนินอันเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สหภาพโซเวียตสลายได้โดยง่ายเมื่อปี พ.ศ. 2534





การปฏิวัติรัสเซีย และการก่อตั้งสหภาพโซเวียต






สหภาพโซเวียตถูกก่อตั้งมาจากการยึดอำนาจของพรรคบอลเชวิก โดยยึดอำนาจจากพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 นำโดย วลาดิมีร์ เลนิน เรียกการปฏิวัติครั้งนั้นว่าการปฏิวัติรัสเซีย ค.ศ. 1917 เกิดขึ้นในวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2460 ซึ่งอยู่ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง การปฏิวัติครั้งนั้นส่งผลให้ รัฐบาลของกษัตริย์ถูกยกเลิก ระบอบการปกครองโดยกษัตริย์ถูกยกเลิก ก่อเกิดรัฐสังคมนิยมขึ้นมาแทน และเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์โรมานอฟในเวลาต่อมา ผลอื่นๆคือ กิจการธนาคารและโรงงานทั้งหมดถูกโอนเป็นของรัฐ และบัญชีส่วนบุคคลทั้งหมดถูกโอนให้แก่รัฐ และสหภาพโซเวียตถอนตัวออกจากสงครามโลกครั้งที่ 1



ยุคสตาลิน (ค.ศ. 1922-1953)



โจเซฟ สตาลินในปี ค.ศ. 1942

โจเซฟ สตาลิน



โจเซฟ สตาลิน (รัสเซีย: Иосиф Виссарионович Сталин Iosif Vissarionovich Stalin โยซิฟ วิซซาร์โยโนวิช สตาลิน ; อังกฤษ: Joseph Stalin) (18 ธันวาคม ค.ศ. 1878 - 5 มีนาคม ค.ศ. 1953) เป็นผู้นำของสหภาพโซเวียต ตั้งแต่กลางทศวรรษที่ 1920 ถึง ค.ศ. 1953 และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์แห่งสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1922-1953) ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เปรียบได้กับหัวหน้าพรรค

สตาลินสืบทอดอำนาจจาก วลาดิมีร์ เลนิน และนำโซเวียตก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจของโลก หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ก็เป็นหนึ่งในขั้วอำนาจในการทำสงครามเย็นกับสหรัฐอเมริกา



ประวัติ


โจเซฟ สตาลิน ไม่ใช่ชื่อจริงของเขา ชื่อจริงของเขาคือ იოსებ ბესარიონის ძე ჯუღაშვილი Ioseb Besarionis dze Jughashvili โยเซบ เบซาริโอนิส ดเซ จูกาชวิลลี เขาเกิดที่เมือง โกรี ประเทศจอร์เจีย รัฐจอร์เจีย ซึ่งเป็นหนึ่งในรัฐของจักรวรรดิรัสเซียสมัยนั้น เขาก็เป็นชาวจอร์เจียนโดยกำเนิด โดยชื่อ สตาลิน นี้เขาตั้งขึ้นมาเองขณะทำงานให้พรรคคอมมิวนิสต์ (stalin ในภาษารัสเซียแปลว่า เหล็กกล้า) เป็นลูกของช่างทำรองเท้า ต่อมาพ่อของเขาต้องย้ายไปอยู่ที่เมืองทิฟลิส ทำให้สตาลินต้องอาศัยอยู่กับมารดาเพียงคนเดียวในจอร์เจีย

สตาลินนั้นเป็นเด็กที่เรียนดี เขาเรียนในโรงเรียนสอนศาสนาแห่งหนึ่ง แต่ต่อมาเขาเริ่มสนใจในลัทธิมาร์กซ์ ทำให้เขามีความคิดต่อต้านศาสนา และเริ่มใช้ชื่อว่า โคบา อีกทั้งยังเขาร่วมกับพรรคแรงงานสังคมประชาธิปไตยแห่งรัสเซีย จนในที่สุด เขาก็ถูกไล่ออกจากโรงเรียนเพราะเผยแพร่ลัทธิมาร์กซ์ หลังจากนั้นเขาก็ใช้ชื่อว่า สตาลิน และทำงานอยู่ที่เมืองทิฟลิส

ด้วยความทะเยอทะยานทำให้สตาลินได้เริ่มมีบทบาทสำคัญในพรรคบอลเชวิค หลังจากที่พรรคบอลเชวิคทำการปฏิวัติโค่นล้มระบอบกษัตริย์ลงได้ สตาลินก็ได้รับตำแหน่งคอมมิสซาร์ประชาชนเพื่อกิจการชนชาติต่างๆ จนเมื่อเลนินล้มป่วย สตาลินก็เริ่มมีบทบาทมากขึ้นไปอีก จนได้เป็นเลขาธิการพรรคใน ค.ศ. 1922

จนกระทั่งเมื่อเลนินเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1924 ก็ได้เกิดการแย่งชิงอำนาจกันระหว่างสตาลินกับ ลีออน ทรอตสกี สุดท้ายสตาลินก็ชนะ จึงได้เป็นประธานาธิบดีต่อจากเลนิน ทำให้ทรอตสกีต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ เม็กซิโก แต่ในที่สุด ทรอตสกีก็ถูกลอบสังหารที่แม็กซิโกนั่นเอง

ใน ค.ศ. 1940 ระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่ง ผู้นำของสหภาพโซเวียต เขาถูกเรียกว่า บิดาแห่งชาวสหภาพโซเวียตทั้งปวง เมื่อศาสนาเป็นสิ่งผิดกฎหมายในรัฐคอมมิวนิสต์ บทบาทของพระเจ้าก็ถูกเล่นโดยสตาลิน เขานำระบบ คอมมูน มาใช้ ทุกคนถูกห้ามมีทรัพย์สินส่วนตัว ทุกอย่างรวมทั้งตัวบุคคลเป็นของพรรคหรือคอมมูน ผู้ต่อต้านถูกส่งไปค่ายกักกันและเสียชีวิตราว 10 ล้านคน ไมมีการสำรวจประชากรว่าระหว่างเขาเป็นผู้นำประชากรโซเวียตลอดไปเท่าไร ในช่วงที่มีการปฏิวัติระบบ นารวม มีคนอดตายอีกเป็นล้านๆ คน เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้นกับรัสเซีย ปี ค.ศ. 1941 - ค.ศ. 1945 เขานำโซเวียตชนะสงคราม โดยประชาชนเสียชีวิต 20 ล้านคน ทหารเสียชีวิต 10 ล้านคน เขาสั่งพัฒนาประเทศต่อไปอย่างไม่รีรอ

เขาเสียชีวิตในปี ค.ศ. 1953 หลังสตาลินตาย ครุฟซอฟ ผู้นำคนใหม่ได้ผ่อนคลายความเข้มงวดในระบบสตาลินลง พร้อมทั้งประณามขุดคุ้ยความโหดร้ายของเจ้านายคนเก่าของเขา จนในที่สุดทุกๆ ที่ ที่มีรูปปั้นสตาลินถูกทุบทิ้ง เพลงชาติถูกลบชื่อของเขาออก ศพของเขาถูกย้ายจากข้างๆ เลนิน ไปฝังอยู่ในกำแพงวังเครมลิน ......







นับตั้งแต่สตาลินได้ถูกแต่งตั้งเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ในปี ค.ศ. 1922 สตาลินได้ดำเนินนโยบายแบบรวมอำนาจ แข็งกร้าว และรุนแรง เขาได้ริเริ่มแผนปฏิรูป 5 ปี เพื่อสร้างระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม แผนดังกล่าวมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางการทหารและเศรษฐกิจ โดยเน้นการพึ่งตนเองเป็นหลัก นโยบายดังกล่าวได้ทำให้เกิดการก่อตั้งนารวม (Collective farm) ขึ้น ส่งผลให้ชาวนาผู้ถือครองที่ดินอยู่ก่อนเกิดความไม่พอใจ สตาลินจึงสร้างค่ายกักกัน (Gulak) ขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ในการคุมขังผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับเขา ตลอดการปกครองของสตาลินมีผู้คาดการณ์ว่ามีนักโทษเสียชีวิตในค่ายกักกันถึง 60 ล้านคน สตาลินได้ทำการกวาดล้างผู้ต่อต้านครั้งใหญ่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1930 ซึ่งบุคคลเหล่านั้นรวมถึงสมาชิกพรรคบอลเชวิคหลายๆคนซึ่งเคยร่วมกับเลนินในการทำการปฏิวัติรัสเซียปี ค.ศ. 1917 ด้วย

ในปี ค.ศ. 1932 สหภาพโซเวียตได้มีส่วนร่วมในการประชุมเพื่อลดอาวุธ ณ กรุงเวียนนา ในปีถัดมาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหภาพโซเวียตได้ถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในปลายทศวรรษที่ 1930 สหภาพโซเวียตได้ทำสนธิสัญญาไม่รุกรานกับนาซีเยอรมนีและในปีเดียวกันความล้มเหลวในการเจรจาให้ฟินแลนด์เลื่อนเขตแดนให้ห่างจากเมืองเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก (เลนินกราดในสมัยนั้น) ออกไปอีก 25 กิโลเมตร ทำให้สหภาพโซเวียตได้ใช้กำลังบุกฟินแลนด์ซึ่งจบลงด้วยชัยชนะของสหภาพโซเวียต

แม้ว่าสหภาพโซเวียตและนาซีเยอรมนีจะได้ทำข้อตกลงไม่รุกราน แต่นาซีเยอรมนีได้ละเมิดข้อตกลงและรุกรานสหภาพโซเวียตในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1941 แม้ว่ากองทัพของสหภาพโซเวียตจะมียุทโธปรณ์ที่ทันสมัยซึ่งเป็นผลมาจากแผนปฏิรูป 5 ปี แต่กองทัพแดง ขาดผู้นำาทางการทหารซึ่งเป็นผลมาจากการกวาดล้างครั้งใหญ่ของสตาลิน ทำให้กองทัพแดงขาดบุคลากรไปเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ในช่วงแรกของสงครามสหภาพโซเวียตพ่ายแพ้มาโดยตลอด แต่เมื่อกำลังเสริมจากไซบีเรียมาถึงสงครามจึงเปลี่ยนไป ฝ่ายเยอรมนีประสบกับความพ่ายแพ้มาตลอดจนเสียกรุงเบอร์ลินให้แก่สหภาพโซเวียต และสิ้นสุดสงครามเมื่อปี ค.ศ. 1945 อย่างไรก็ตาม สงครามดังกล่าวส่งผลให้ชาวรัสเซียเสียชีวิตไปกว่า 10 ล้านคน บ้านเรือน ไร่ นาเสียหายอย่างใหญ่หลวง เมื่อสิ้นสุดสงครามสหภาพโซเวียตได้สถาปนาการปกครองระบอบคอมมิวนิสต์ขึ้นในรัฐต่างๆที่ถูกปลดแอกจากการยึดครองของนาซีเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น โปแลนด์ โรมาเนีย เป็นต้น

ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหภาพโซเวียตได้ซ่อมแซมบ้านเมืองที่เสียหายจากสงคราม ฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ พร้อมทั้งแผ่ขยายอำนาจและก่อตั้งรัฐบริวารในยุโรบตะวันออก ต่อมาได้ก่อตั้งคณะกรรมการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ (Comecon) ในปีค.ศ. 1949 และสถาปนาสนธิสัญญาวอร์ซอในปี ค.ศ. 1955 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นับเป็นการเริ่มตันของสงครามเย็นอย่างแท้จริง ซึ่งเปลี่ยนประเทศพันธมิตรในสงครามโลกครั้งที่ 2 อย่าง สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา ให้กลายเป็นศัตรูกับสหภาพโซเวียต




ปฏิรูปของกอร์บาชอฟ และการล่มสลายของสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1985-1991)




มิคาอิล กอร์บาชอฟ

บอริส เยลซิน ยืนท้าทายคณะรัฐประหารอยู่ด้านหน้ารัฐสภา วันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991



เมื่อ มิคาอิล กอร์บาชอฟได้ขึ้นครองอำนาจเขาได้ดำเนินนโยบายปฏิรูปการเมืองและเศรษฐกิจในสหภาพโซเวียตที่เรียกว่าแผน "เปเรสตรอยกา" (Perestroika) ที่ให้อิสระเสรีแก่ประชาชนมากขึ้น เปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล ให้เสรีภาพแก่สื่อมวลชน ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่มีผู้นำโซเวียตคนใดทำมาก่อน นอกจากนี้ เขาได้ดำเนินโยบายถอนทหารออกจากอัฟกานิสถาน ในปีค.ศ. 1988 การปฏิรูปของกอร์บาชอฟได้ส่งผลให้เกิดกฎหมาย Law on Cooperatives Law on Cooperatives ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดตั้งแต่สมัยเลนิน กฎหมายนี้ได้อนุญาตให้ประชาชนมีทรัพย์สินส่วนบุคคล และดำเนินกิจการเอกชนได้ ซึ่งขัดต่อลัทธิมาร์กซ์อย่างสิ้นเชิง

ต่อมา ในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1990 ที่ประชุมพรรคคอมมิวนิสต์ได้มีมติเห็นชอบยกเลิกการรวมอำนาจไว้ที่พรรคคอมมิวนิสต์ นั่นหมายถึงพรรคคอมมิวนิสต์ได้กระจายอำนาจสู่ประชาชนและทำให้เกิดการเลือกตั้ง ส่งผลให้อีกไม่กี่สัปดาห์ต่อมา รัฐจำนวน 15 รัฐของสหภาพโซเวียตได้รับรองกฎหมายเลือกตั้งทั่วไป และผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซียในปี ค.ศ. 1991 คือ บอริส เยลซิน ได้คะแนนสูงสุดถึง 57.3% (มีการเลือกตั้งในวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1991) เนื่องจากกอร์บาชอฟมีความพยายามที่จะลดความเป็นศูนย์กลางอำนาจของสหภาพโซเวียตสหภาพโซเวียตตึงได้มีแผนจะผ่านสนธิสัญญา New Union Treaty ซึ่งจะมาแทน สนธิสัญญาการก่อตั้งสหภาพโซเวียต ปี ค.ศ. 1922 ซึ่งมีแผนจะลงนามในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1991 มีเนื้อหาแปลงสหภาพโซเวียตให้เป็นสหพันธรัฐ มีประธานาธิบดีเป็นผู้นำของรัฐนั้น ๆ

การปฏิรูปของกอร์บาชอฟส่งผลให้เกิดความไม่พอใจในหมู่สมาชิกซ้ายจัดของพรรคคอมมิวนิสต์ และเกิดเป็นความพยายามที่จะยึดอำนาจการบริหารจากกอร์บาชอฟ เรียกการรัฐประหารครั้งนั้นว่า การรัฐประหารเดือนสิงหาคม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเนื่องจากเกิดการต่อต้านจากประชาชนส่วนมากในประเทศและเยลต์ซินสามารถกู้สถานการณ์เอาไว้ได้ ผลคือ คณะรัฐประหารถูกจับกุมและถูกสังหาร สนธิสัญญาถูกเห็นชอบ หลังจากผ่านสนธิสัญญารัฐย่อยต่างๆของสหภาพโซเวียตซึ่งมีความพยายามจะแยกตัวมากก่อนหน้านี้แล้ว ได้มีการลงประชามติเห็นชอบการแยกตัวออกจากสหภาพโซเวียต รัฐย่อยต่างๆจึงได้แยกตัวจากสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์ ท้ายสุดในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 กอร์บาชอฟได้เห็นชอบโอนอำนาจการบริหารทั้งหมดจากประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต ให้กับ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย และในคืนวันนั้นธงชาติสหภาพโซเวียตได้ถูกเชิญลงจากยอดเสาที่เครมลิน อันเป็นการสิ้นสุดสหภาพโซเวียตอย่างสมบูรณ์



ประเทศที่แยกตัวจากสหภาพโซเวียต




สหภาพโซเวียต ล่มสลายเมื่อปี 1991 ทำให้สาธารณรัฐต่าง ๆ แบ่งแยกตั้งเป็นประเทศทั้งหมด 15 ประเทศ หลังจากการแยกตัวออกมาปกครองอย่างเอกเทศแล้ว ประเทศเหล่านี้ยังมีการรวมกลุ่มกันเป็น Commonwealth of Independent States (CIS) ยกเว้น เอสโตเนีย ลัตเวีย และลิทัวเนีย



  1. ประเทศเอสโตเนีย
  2. ประเทศลัตเวีย
  3. ประเทศลิทัวเนีย
  4. ประเทศเบลารุส
  5. ประเทศยูเครน
  6. ประเทศรัสเซีย
  7. ประเทศอาร์เมเนีย
  8. ประเทศอาเซอร์ไบจาน
  9. ประเทศคาซัคสถาน
  10. ประเทศคีร์กีซสถาน
  11. ประเทศมอลโดวา
  12. ประเทศทาจิกิสถาน
  13. ประเทศเติร์กเมนิสถาน
  14. ประเทศอุซเบกิสถาน
  15. ประเทศจอร์เจีย



นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต

ยุทธศาสตร์โซเวียต

  • เป็นศิลปที่มุ่งที่จะแสวงหาผลตอบแทนที่สูงที่สุดแก่โซเวียตเท่าที่ทำได้ในสภาวะจำกัด เพื่อรับใช้อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ จะแปรเปลี่ยนไปตามขั้นตอน อาจจะรุกไปข้างหน้าหรือถอยไปข้างหลังเพื่อรอจังหวะ โดยดำเนินการทั้งยุทธศาสตร์ทางตรง ได้แก่ การใช้กำลัง และยุทธศาสตร์ทางอ้อม เช่นทางจิตวิทยาหรือโฆษณาชวนเชื่อ

  • ยุทธศาสตร์ของโซเวียตได้ยึดถือแนวความคิดของเลนิน-สตาลิน ในเรื่อง “ความสัมพันธ์กำลังรบ” เป็นแนวในการดำเนินการประกอบกับทางเลือกต่างๆ ในการปฏิบัติซึ่งเรียกว่า ”ยุทธวิธี” (Tactics) บางครั้งยุทธวิธีอาจสวนทางกับอุดมการณ์ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผู้มีอำนาจตัดสินใจว่าจะเลือกปฏิบัติอย่างไร เพื่อให้ได้ประโยชน์ตอบแทนมากกว่า



หลักการในการกำหนดนโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียต



  1. อุดมการณ์คอมมิวนิสต์ เป็นองค์ประกอบตายตัวในนโยบายต่างประเทศ อาจมีการผ่อนปรนในบางครั้ง ถ้าเห็นว่าผลประโยชน์สำคัญของชาติ (Vital National Interest) นั้นมีความสำคัญกว่า บางครั้งอาจจะต้องชะลอเพื่อสร้างฐานที่แข็งแกร่งไปสู่ชัยชนะของการปฏิวัติโลก
  2. ยุทธศาสตร์โซเวียต
  3. ทิศทางปฏิบัติการ เป็นความพยายามเชื่อมต่อปฏิบัติการย่อยๆ เข้าด้วยกัน เพื่อให้ยุทธวิธีมีความเป็นเอกภาพ มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายต่างประเทศมากกว่ายุทธศาสตร์ เป้าหมายเพื่อการเป็นผู้นำคอมมิวนิสต์ และบรรลุอุดมการณ์คอมมิวนิสต์



นโยบายต่างประเทศของสหภาพโซเวียตสามารถแบ่งได้เป็น 3 ยุค คือ



  1. นโยบายต่างประเทศก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง
  2. นโยบายต่างประเทศของโซเวียตยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สอง นับตั้งแต่ปี 1945 -1985 สามารถแบ่งได้ดังนี้
    1. นโยบายต่างประเทศหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
    2. นโยบายต่างประเทศหลังทศวรรศที่ 1970
  3. นโยบายต่างประเทศของโซเวียตช่วงก่อนการล่มสลาย





วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube










.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น