ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

12 กรกฎาคม 2554

Asbestos หรือแร่ใยหิน

                    Asbestos หรือแร่ใยหิน


Asbestos หรือแร่ใยหิน คืออะไร

แร่ใยหิน (Asbestos) เป็นชื่อทั่วไปที่ใช้สำหรับเส้นใยแร่ซิลิเกต (Fibrous mineral silicates) ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติ มีลักษณะเป็นเส้นใยอยู่รวมกันเป็นมัด (Bundle) แร่ใยหินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ แอมฟิโบลและเซอร์เพนไทน์ ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น 6 ชนิด
แร่ใยหินมีคุณสมบัติพิเศษคือ มีความเหนียว ทนทานต่อแรงดึงได้สูง ทนความร้อนได้ดี และมีความทนทานต่อกรด ด่าง และสารเคมีหลายชนิดได้ดี แร่ใยหินถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่ต้องการความแข็งแกร่ง ทนกรด ด่าง ความร้อน เช่น กระเบื้องกันความร้อน กระเบื้องมุงหลังคา ภาชนะพลาสติกบรรจุแบตเตอรี่รถยนต์ เป็นต้น
แร่ใยหินแม้จะมีคุณสมบัติที่เอื้อให้เกิดประโยชน์หลายประการ แต่หากแร่นี้เข้าไปอยู่ในปอดมันสามารถก่อให้เกิดโรคที่ร้ายแรงในมนุษย์ได้ อันตรายต่อสุขภาพมนุษย์นี้เป็นที่ทราบกันมานาน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1930 แล้ว โรคที่มีสาเหตุมาจากแร่ใยหิน ได้แก่ แอสเบสโตสิส (Asbestosis) มะเร็งปอด และเมโสเธลิโอมา (Mesothelioma) แม้จะเป็นที่ทราบดีเกี่ยวกับอันตรายของแร่ใยหิน และมีความพยายามที่จะควบคุมหรือหลีกเลี่ยงไม่ใช้แร่นี้ เช่น ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศได้พยายามลดการใช้และห้ามนำเข้าแร่ใยหิน ตลอดจนค้นคว้าหาสารอื่นเพื่อใช้ทดแทน อย่างไรก็ตามในปัจจุบันยังคงมีการผลิตและการใช้แร่ใยหินอยู่โดยเฉพาะประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งทีมีการนำเข้าแร่ใยหินเป็นจำนวนมาก

แหล่งที่มีการสัมผัส

แร่ใยหินเป็นแร่ธรรมชาติมีอยู่ทั่วไปในพื้นดิน ในบางพื้นที่อาจมีแร่ใยหินอยู่ปริมาณมากมายจนสามารถทำเหมืองได้ ฉะนั้น ในกิจกรรมบางชนิดที่เกี่ยวข้องกับการขุดเจาะดิน เช่น การทำเหมืองทองแดง ตะกั่ว เหล็ก หรือนิกเกิล จึงอาจมีแร่ใยหินฟุ้งกระจายอยู่ในอากาศได้ ด้วยเหตุนี้การสัมผัสแร่ใยหินจึงเกิดขึ้นได้ ทั้งในสิ่งแวดล้อมทั่วไปและสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่มีการใช้แร่ชนิดนี้ในกระบวนการผลิต

อุตสาหกรรมที่นำแร่ใยหินมาใช้เป็นวัตถุดิบมากที่สุดในประเทศไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตกระเบื้องซีเมนต์ อุตสาหกรรมผลิตเบรคและคลัทช์ อุตสาหกรรมผลิตท่อน้ำ
ผลกระทบต่อสุขภาพ การเข้าสู่ร่างกาย การสะสม และการกำจัด ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้แร่ใยหินก่อให้เกิดโรคมี 3 ประการ คือ
1 ปริมาณแร่ใยหินที่เข้าสู่ปอด
2 ขนาดของเส้นใย (เส้นใยต้องมีความยาวมากกว่า 5 ไมครอน และมีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 3 ไมครอน โดยมีอัตราส่วน ความยาว: ความกว้าง>=3:1)
3 ความคงทนของเส้นใยเมื่ออยู่ในปอด

เพราะฉะนั้นเส้นใยที่ยาว บาง และทนทานจึงเป็นเส้นใยที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่สุด อย่างไรก็ตาม เส้นใยที่มีขนาดใหญ่ คือ ยาวกว่า 200 ไมครอน และเส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 3 ไมครอน ส่วนมากจะไม่สามารถเข้าสู่ถุงลมปอดได้ มักจะสะสมอยู่ในทางเดินหายใจส่วนบน และถูกกำจัดออกจากร่างกายโดยขับออกมากับเมือกเป็นเสมหะ ในขณะที่เส้นใยที่มีขนาดเล็กกว่าคือ ยาวน้อยกว่า 5 ไมครอน และเส้นผ่านศูนย์กลางต่ำกว่า 2 ไมครอน ส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดย Alveolar macrophages
จากการศึกษาวิจัย ทั้งในสัตว์ทดลองและในมนุษย์ International Agency for Research on Cancer ได้ระบุว่า แร่ใยหินทุกชนิดเป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ (Class 1)

โรคเนื่องจากแร่ใยหิน
แร่ใยหินเข้าสู่ร่างกายทางจมูกโดยการหายใจเข้าไป อวัยวะเป้าหมายสำคัญคือ ปอด ผลจากการศึกษาทางระบาดวิทยา โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับแร่ใยหิน ทำให้เชื่อได้ว่า แร่ใยหินทุกชนิดมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค แอสเบสโตสิส มะเร็งปอด และมะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง (Mesothelioma) แอสเบสโตสิส (Asbestosis) เป็นโรคปอดเรื้อรังที่เกิดเฉพาะกับผู้ที่สัมผัสกับแร่ใยหินเท่านั้น เนื่องจากปฏิกิริยาทางชีวภาพระหว่างเส้นใย แร่ใยหินและเนื้อเยื่อปอด ทำให้ปอดเกิดเป็นแผลเป็น ปอดที่ถูกทำลายไปแล้วไม่สามารถรักษาให้กลับคืนมาดีได้ดังเดิม




ภาพจาก h
ttp://www.insurance-death.co.cc/2010/06/what-is-mesothelioma.html
ระยะเวลาในการฟักตัวของโรคนี้ยาวนานถึง 15-35 ปี การวินิจฉัยโรคทำได้โดยการดูประวัติการทำงาน ว่าเคยสัมผัสกับแร่ใยหินหรือไม่ อาการทางคลินิก ภาพถ่ายรังสีปอดและการตรวจสมรรถภาพปอด การวินิจฉัยโรคสำหรับผู้ป่วยระยะแรก ตรวจพบโรคค่อนข้างยาก โดยเฉพาะผู้ทีสัมผัสแร่ใยหินแล้วน้อยกว่า 20 ปี จึงมักพบผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวต่อเมื่อมีอาการรุนแรงแล้ว อาการแสดงเริ่มแรกของโรคนี้ มีลักษณะคือ ไอ และหายใจหอบมีช่วงการหายใจออกสั้น และจากการตรวจร่างกายอาจสังเกตเห็นริมฝีปากและลิ้นหรือเล็บเป็นสีน้ำเงินคล้ำและมีเสียงกรอบแกรบที่ฐานของปอด จากภาพถ่ายรังสีปอดจะเห็นจุดทึบเล็กๆ และมีสมรรถภาพการทำงานของปอดต่ำ ผู้ป่วยมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะพัฒนากลายเป็นมะเร็งปอด

มะเร็งปอดเนื่องจากแร่ใยหิน
ความสัมพันธ์ระหว่างมะเร็งปอดและการสัมผัสแร่ใยหิน เป็นเรื่องที่ค่อนข้างซับซ้อนเนื่องจากมีหลายปัจจัยเข้ามาเกี่ยวข้อง จากการศึกษาทางระบาดวิทยาพบว่า การสัมผัสแร่ใยหินที่ความเข้มข้นต่ำ (Accumulative Dose=10-50 ล้านเส้นใยต่อ ลบ.ฟุตต่อปี) ไม่พบความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปอด

นอกจากนี้การเกิดมะเร็งปอดยังสัมพันธ์กับขนาดเส้นใย เส้นใยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5-2.5 ไมครอนและมีความยาว 10-80 ไมครอน จะมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ในขณะที่เส้นใยที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 0.2 ไมครอน และมีความยาว 5-10 ไมครอน ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็ง ผลการศึกษาทางระบาดวิทยา ยืนยันว่าการสูบบุหรี่เพิ่มอัตราการตายเนื่องจากโรคแอสเบสโตสิส และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด ในคนที่สัมผัสแร่ใยหิน โดยการสูบบุหรี่และการสัมผัสแร่ใยหินมีความสัมพันธ์กันในลักษณะเสริมกัน (Synergistic Effect)

เมโสเธลิโอมา (Mesothelioma) คือ มะเร็งเยื่อหุ้มปอดและเยื่อบุช่องท้อง เป็นมะเร็งที่พบน้อยมากในประชาชนทั่วไป ส่วนมากจะพบในคนที่สัมผัสแร่ใยหิน ผู้ป่วยมีอาการหายใจสั้น เจ็บช่องอก และอาการเจ็บช่องอกนี้จะรุนแรงมากหากหายใจลึกๆ โรคลุกลามเร็ว และสามารถทำให้เสียชีวิตภายในเวลา 2-3 ปี หลังจากที่มีอาการปรากฏ
ที่มา : http://www.aftermarket.daiwaasia.co.th/index.php?option=com_content&view=article&id=53:asbestos-&catid=19:brake-knowledge&Itemid=134

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube






3 ความคิดเห็น:

  1. สารใยหินหรือแร่ใยหิน คืออะไร



    สารใยหิน เป็นแร่ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ พบมากในดินและหินบางชนิด แร่ใยหินเิกิด จากการรวมตัวของแร่หลายชนิด เช่น amosite, chrysotile, crocidolite, tremolite, actinolite, and anthophyllite
    สารใยหิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ Serpentine และ Amphibole โดยมีลักษณะ ทางกายภาพ หรือทางฟิสิกซ์ที่แตกต่างกัน Serpentine มีโครงสร้างแบบเป็นชั้นๆ และ Amphibole มีโครงสร้างแบบลูกโซ่

    ในประเทศไทย สารใยหินเป็นวัตถุอันตรายที่ห้ามมิให้มีการผลิต การนำเข้า การส่งออก หรือการ มีไว้ในครอบครอง แต่ยังมีการนำเข้าการใช้แร่ใยหินในหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะ อุตสาหกรรมผลิตผ้าเบรกภายในประเทศ


    คุณสมบัติ

    เส้นใยมีความแข็งแกร่ง
    ยึดหยุ่น
    มีคุณสมบัติเป็นสื่อนำไฟฟ้าต่ำ
    ทนความร้อนและสารเคมี
    เส้นใยมีขนาดเล็กมองด้วยตาเปล่าไม่เห็น
    ประโยชน์

    ใช้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น ผนัง เพดาน
    ใช้ในอุตสาหกรรมรถยนต์ เช่น ผ้าเบรก คลััช แบตเตอรี่

    อันตรายของแร่ใยหินต่อสุขภาพอนามัย (Health Effect)



    สัมผัสทางหายใจ

    การหายใจเข้าไป ทำให้เป็นโรคแอสเบสโตซีส
    (มีเส้นใยแอสเบสตอส์อยู่ภายในปอด) ทำให้เป็นมะเร็งปอดได้
    หายใจถี่รัว, ไอ, แน่นหน้าอก

    สัมผัสทางผิวหนัง

    การสัมผัสถูกผิวหนัง ถูกสารปริมาณมากจะทำให้ระคายเคืองผิวหนัง ผิวหนังซีดเป็นสีน้ำเงิน เนื่องจากร่างกายขาดออกซิเจน

    กินหรือกลืนเข้าไป

    การกลืนหรือกินเข้าไป แอสเบสตอท
    เป็นสารที่มีพิษต่อร่างกาย ทำให้หายใจขัด, ไอ, เจ็บหน้าอก,
    เหนื่อยล้า และน้ำหนักลด

    สัมผัสถูกตา

    การสัมผัสถูกตา ฝุ่นของสารจะทำให้ระคายเคืองตา

    การปฐมพยาบาล

    ถ้าหายใจเข้าไป ให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยไปที่อากาศบริสุทธิ์ ถ้าไม่หายใจให้ใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าหายใจติดขัดให้ออกซิเจน นำส่งไปพบแพทย์
    ถ้ากลืนหรือกินเข้าไป อย่าทำให้อาเจียน รีบนำไปพบแพทย์
    ถ้าสัมผัสถูกผิวหนัง ให้ล้างผิวหนังทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ ถอดเสื้อผ้าและรองเท้าที่ปนเปื้อนสารออก ถ้ายังมีการระคายเคืองอยู่ รีบนำไปพบแพทย์ ทำความสะอาดเสื้อผ้าก่อนนำมาใช้ใหม่
    ถ้าสัมผัสถูกตา ให้ล้างตาทันทีด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ เป็นเวลาอย่างน้อย 15 นาที พร้อมกับเปิดเปลือกตาขึ้น แล้วนำส่งไปพบแพทย์


    ที่มา : หน่วยข้อสนเทศวัตถุอันตรายและความปลอดภัย
    ศูนย์วิจัยแห่งชาติด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม และของเสียอันตราย
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย





    .

    ตอบลบ
  2. แร่ใยหินเป็นแร่ซิลิเกต (silicate minerals) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในหลายรูป ที่สำคัญคือ ชนิดสีน้ำเงิน Crocidolite สีน้ำตาล Amosite และสีขาว Chrysotile มีลักษณะเหมือนเส้นใยเป็นมัดๆ เหมืองแร่ใยหินที่ผลิตใหญ่และเป็นแหล่งนำเข้าของไทย คือ จากเมือง Quebec ประเทศแคนาดา ประเทศไทยนำเข้าประมาณ 200,000 ตันต่อปี คุณสมบัติของมัน คือ ความแข็งแรง ทนร้อน เป็นฉนวนไม่นำไฟฟ้า ทนทานต่อสารเคมี ดูดกลืนเสียง ทำให้แร่ใยหินเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง การผลิตเชิงการค้าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1874 จากประเทศแคนาดา ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุโครงสร้างอาคาร ผสมซีเมนต์ หรือแผ่นกระเบื้อง เช่น ใช้มุงหลังคา ตู้อบ ไทยนำเข้ามา 30 ปีแล้ว ส่วนใหญ่ใช้ในการก่อสร้าง ทำผ้าเบรคและคลัชท์ อนุภาคของมันเล็กมาก (ประมาณ 3.0 – 20 ?m หรือยาวแค่ 0.01 ?m) จนมองไม่เห็น และสามารถเข้าทางจมูกจนไปถึงปอด เมื่อติดอยู่ในปอดมากขึ้น ปอดจะสร้างเนื้อเยื่อหุ้มห่ออนุภาค จนเกิดอาการปอดแข็ง (Asbestosis) หรือปอดอักเสบ หายใจติดขัด และเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดด้วย

    สัญญาณเตือนภัยเริ่มจากรายงานการเสียชีวิตครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 เริ่มมีข้อสังเกตการเสียชีวิตและปัญหาโรคปอดในประชากรในเมืองที่มีเหมืองแร่ใยหิน และยังพบคนงานในอุตสาหกรรมต่อเรือของสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตถึง 100,000 คน

    ประเทศสหรัฐอเมริกา มีการออกกฎห้ามใช้แร่ใยหินในแผ่นกระเบื้องทนไฟตั้งแต่ประมาณปลายทศวรรต 1970 โดย US Consumer Product Safety Commission เพราะกระเบื้องเหล่านี้ปลดปล่อยอนุภาคฟุ้งกระจายได้ระหว่างการใช้งาน จนปี ค.ศ. 1989 องค์การปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) จึงออกกฎหมายประกาศห้ามผลิต นำเข้า และ วางจำหน่ายแร่ใยหิน รวมถึงการนำแร่ใยหินไปใช้ในทุกประเภทผลิตภัณฑ์ (Asbestos: Manufacture, Importation, Processing, and Distribution in Commerce Prohibitions; Final Rule, 54 FR 29460, July 12, 1989) แต่กฎหมายนี้ถูกภาคอุตสาหกรรมแร่ใยหิน ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล โดยให้เหตุผลว่า การห้ามใช้แร่ใยหินในทุกกรณีจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมาก ซึ่งการใช้สารอื่นมาทดแทนแร่ใยหินจะทำให้สินค้ามีราคาสูงมาก และไม่ได้มีประสิทธิภาพหรือความปลอดภัยมากกว่าการใช้แร่ใยหิน ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1991 ศาลอุทธรณ์จึงประกาศตัดสินให้ห้ามใช้แร่ใยหินในเฉพาะบางผลิตภัณฑ์เท่านั้น คือ กระดาษลูกฟูก (Corrugated paper) กระดานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (rollboard) กระดาษต่างๆ (commercial and specialty paper) และ แผ่นปูพื้น (flooring felt) รวมถึงห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนในอดีต หรือที่เรียกว่า “การใช้ใหม่” (new uses) ด้วย ดังนั้นปัจจุบันในประเทศสหรัฐฯ จึงยังคงมีการใช้แร่ใยหิน หรือมีผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยแร่ใยหินวางจำหน่ายอยู่

    ประเทศออสเตรเลีย เริ่มมีข้อสงสัยประมาณปี ค.ศ. 1970 ระหว่างที่มีการใช้แร่ใยหินในการก่อสร้างช่วงปี ค.ศ. 1945 – 1980 จึงได้หยุดการทำเหมืองไปในปี ค.ศ.1983 และยุติการใช้แร่ใยหินทุกชนิด

    ในปี ค.ศ. 2004 Dr. Cooke ชาวอังกฤษเป็นคนตั้งชื่อโรคปอดที่เกิดจากแร่ใยหินว่า Abestosis จากการตรวจพบอนุภาคแร่ใยหินในปอดของคนงานเหมืองในปี ค.ศ. 1924

    ประเทศญี่ปุ่นนั้นห้ามใช้แร่ใยหินทั้งหมดในปี ค.ศ. 2004 บางประเทศอย่างนิวซีแลนด์ เริ่มห้ามบางชนิดก่อน คือห้ามนำเข้าชนิดที่อันตรายมาก ได้แก่ ชนิดสีน้ำเงินและสีน้ำตาล ในปี ค.ศ.1984 และห้ามชนิดสีขาวเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2002 พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ของประเทศไทย กำหนดให้แร่ใยหินชนิดสีขาว Chrysotile เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 หมายความว่า ต้องมีการขออนุญาตในการผลิต นำเข้า ครอบครอง และส่งออก พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดค่ามาตรฐานให้ปนเปื้อนในบรรยากาศของการทำงานได้ไม่เกิน 5 เส้นใยต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตรอากาศ อาการของโรคไม่เกิดทันที แต่ระยะยาวเป็นปี อาจถึง 20 ปี จึงจะเห็นความผิดปกติ คนสูบบุหรี่จะเสี่ยงกว่าปกติหลายเท่าตัว อาชีพที่อาจเกี่ยวข้องกับแร่ใยหินมีหลากหลาย ตั้งแต่วิศวกรก่อสร้าง ช่างไม้ ช่างฉาบปูน ช่างมุงหลังคา ช่างซ่อมบำรุง คนงานรื้อถอนติดตั้งสายไฟ คนงานก่อสร้าง เจ้าหน้าที่โรงงานกระเบื้องเพดาน ผนังกั้น วัสดุปล่องลิฟต์ ผ้าเบรคคลัชท์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 ทั่วโลกเริ่มลดการผลิตลงแล้ว และมีแนวโน้มว่าหลายประเทศห้ามการผลิต การนำเข้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ประกาศยืนยันแล้วว่า แร่ใยหินทุกชนิดก่อโรคปอดอักเสบ และมะเร็งปอดได้




    เขียนโดย...รศ. สุชาตา ชินะจิตร http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=9&ID=3






    .

    ตอบลบ
  3. สารเคมีที่เป็นข่าวระดับโลก Asbestos แร่ใยหิน


    ผู้เขียน: รศ. สุชาตา ชินะจิตร
    วันที่: 26 ม.ค. 2554



    แร่ใยหินเป็นแร่ซิลิเกต (silicate minerals) ที่มีอยู่ตามธรรมชาติในหลายรูป ที่สำคัญคือ ชนิดสีน้ำเงิน Crocidolite สีน้ำตาล Amosite และสีขาว Chrysotile มีลักษณะเหมือนเส้นใยเป็นมัดๆเหมืองแร่ใยหินที่ผลิตใหญ่และเป็นแหล่งนำเข้าของไทย คือ จากเมือง Quebec ประเทศแคนาดา ประเทศไทยนำเข้าประมาณ 200,000 ตันต่อปี คุณสมบัติของมัน คือความแข็งแรง ทนร้อน เป็นฉนวนไม่นำไฟฟ้า ทนทานต่อสารเคมี ดูดกลืนเสียงทำให้แร่ใยหินเป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง การผลิตเชิงการค้าเริ่มตั้งแต่ ค.ศ. 1874 จากประเทศแคนาดา ใช้ในการก่อสร้างเป็นวัสดุโครงสร้างอาคาร ผสมซีเมนต์หรือแผ่นกระเบื้อง เช่น ใช้มุงหลังคา ตู้อบ ไทยนำเข้ามา 30 ปีแล้วส่วนใหญ่ใช้ในการก่อสร้าง ทำผ้าเบรคและคลัชท์ อนุภาคของมันเล็กมาก (ประมาณ 3.0 – 20 ?m หรือยาวแค่ 0.01 ?m) จนมองไม่เห็น และสามารถเข้าทางจมูกจนไปถึงปอดเมื่อติดอยู่ในปอดมากขึ้น ปอดจะสร้างเนื้อเยื่อหุ้มห่ออนุภาค จนเกิดอาการปอดแข็ง (Asbestosis) หรือปอดอักเสบ หายใจติดขัด และเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดด้วย
    สัญญาณเตือนภัยเริ่มจากรายงานการเสียชีวิตครั้งแรกในปี ค.ศ. 1906 เริ่มมีข้อสังเกตการเสียชีวิตและปัญหาโรคปอดในประชากรในเมืองที่มีเหมืองแร่ใยหินและยังพบคนงานในอุตสาหกรรมต่อเรือของสหรัฐอเมริกาเสียชีวิตถึง 100,000 คน
    ประเทศสหรัฐอเมริกามีการออกกฎห้ามใช้แร่ใยหินในแผ่นกระเบื้องทนไฟตั้งแต่ประมาณปลายทศวรรต 1970 โดย US Consumer Product Safety Commission เพราะกระเบื้องเหล่านี้ปลดปล่อยอนุภาคฟุ้งกระจายได้ระหว่างการใช้งาน จนปี ค.ศ. 1989 องค์การปกป้องสิ่งแวดล้อม (EPA) จึงออกกฎหมายประกาศห้ามผลิต นำเข้า และวางจำหน่ายแร่ใยหิน รวมถึงการนำแร่ใยหินไปใช้ในทุกประเภทผลิตภัณฑ์ (Asbestos: Manufacture, Importation, Processing, and Distribution in Commerce Prohibitions; Final Rule, 54 FR 29460, July 12, 1989) แต่กฎหมายนี้ถูกภาคอุตสาหกรรมแร่ใยหินยื่นอุทธรณ์ต่อศาล โดยให้เหตุผลว่าการห้ามใช้แร่ใยหินในทุกกรณีจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอย่างมากซึ่งการใช้สารอื่นมาทดแทนแร่ใยหินจะทำให้สินค้ามีราคาสูงมากและไม่ได้มีประสิทธิภาพหรือความปลอดภัยมากกว่าการใช้แร่ใยหิน ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1991 ศาลอุทธรณ์จึงประกาศตัดสินให้ห้ามใช้แร่ใยหินในเฉพาะบางผลิตภัณฑ์เท่านั้น คือกระดาษลูกฟูก (Corrugated paper) กระดานเคลื่อนย้ายผู้ป่วย (rollboard) กระดาษต่างๆ (commercial and specialty paper) และ แผ่นปูพื้น (flooring felt) รวมถึงห้ามใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนในอดีต หรือที่เรียกว่า “การใช้ใหม่” (new uses) ด้วย ดังนั้นปัจจุบันในประเทศสหรัฐฯจึงยังคงมีการใช้แร่ใยหินหรือมีผลิตภัณฑ์ที่ประกอบด้วยแร่ใยหินวางจำหน่ายอยู่
    ประเทศออสเตรเลียเริ่มมีข้อสงสัยประมาณปี ค.ศ. 1970 ระหว่างที่มีการใช้แร่ใยหินในการก่อสร้างช่วงปีค.ศ. 1945 – 1980 จึงได้หยุดการทำเหมืองไปในปี ค.ศ.1983 และยุติการใช้แร่ใยหินทุกชนิด
    ในปี ค.ศ. 2004 Dr. Cooke ชาวอังกฤษเป็นคนตั้งชื่อโรคปอดที่เกิดจากแร่ใยหินว่า Abestosis จากการตรวจพบอนุภาคแร่ใยหินในปอดของคนงานเหมืองในปี ค.ศ. 1924
    ประเทศญี่ปุ่นนั้นห้ามใช้แร่ใยหินทั้งหมดในปี ค.ศ. 2004 บางประเทศอย่างนิวซีแลนด์เริ่มห้ามบางชนิดก่อน คือห้ามนำเข้าชนิดที่อันตรายมาก ได้แก่ชนิดสีน้ำเงินและสีน้ำตาล ในปี ค.ศ.1984 และห้ามชนิดสีขาวเพิ่มเติมในปี ค.ศ. 2002 พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ของประเทศไทย กำหนดให้แร่ใยหินชนิดสีขาว Chrysotile เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 หมายความว่า ต้องมีการขออนุญาตในการผลิตนำเข้า ครอบครอง และส่งออก พรบ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดค่ามาตรฐานให้ปนเปื้อนในบรรยากาศของการทำงานได้ไม่เกิน 5 เส้นใยต่อลูกบาศก์เซ็นติเมตรอากาศ อาการของโรคไม่เกิดทันที แต่ระยะยาวเป็นปี อาจถึง 20 ปี จึงจะเห็นความผิดปกติ คนสูบบุหรี่จะเสี่ยงกว่าปกติหลายเท่าตัวอาชีพที่อาจเกี่ยวข้องกับแร่ใยหินมีหลากหลาย ตั้งแต่วิศวกรก่อสร้าง ช่างไม้ช่างฉาบปูน ช่างมุงหลังคา ช่างซ่อมบำรุง คนงานรื้อถอนติดตั้งสายไฟ คนงานก่อสร้างเจ้าหน้าที่โรงงานกระเบื้องเพดาน ผนังกั้น วัสดุปล่องลิฟต์ ผ้าเบรคคลัชท์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 2004 ทั่วโลกเริ่มลดการผลิตลงแล้ว และมีแนวโน้มว่าหลายประเทศห้ามการผลิตการนำเข้าที่จะเกิดขึ้นใหม่ องค์การอนามัยโลก (WHO) ก็ได้ประกาศยืนยันแล้วว่าแร่ใยหินทุกชนิดก่อโรคปอดอักเสบและมะเร็งปอดได้



    http://www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=9&ID=3

    ตอบลบ