ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

29 กรกฎาคม 2554

เทคโนโลยี 3G คืออะไร

เทคโนโลยี 3G คืออะไร


วิดีโอ YouTube

เทคโนโลยี 3G คืออะไร

3G คือ โทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่สาม หรือมาตรฐาน IMT-2000 นั้นนิยามสั้นๆ เพื่อให้เข้าใจตรงกันว่า
  • “ต้องมี แพลทฟอร์ม (Platform) สำหรับการหลอมรวมของบริการต่างๆ อาทิ กิจการประจำที่ (Fixed Service) กิจการเคลื่อนที่ (Mobile Service) บริการสื่อสารเสียง ข้อมูล อินเทอร์เน็ต และ พหุสื่อ (Multimedia) เป็นไปในทิศทางเดียวกัน” คือ สามารถถ่ายเท ส่งต่อข้อมูล ดิจิตอล ไปยังอุปกรณ์โทรคมนาคมประเภทต่างๆ ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้
  • “ความสามารถในการใช้โครงข่ายทั่วโลก (Global Roaming) ” คือ ผู้บริโภคสามารถ ถืออุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ได้ทั่วโลก โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่อง
  • “บริการที่ไม่ขาดตอน (Seamless Delivery Service) ” คือ การใช้งานโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยไม่รู้สึกถึงการเปลี่ยน เซลล์ไซต์ (Cell Site) เขาใช้คำว่า Seam less นั้นแปลว่า ไร้รอยตะเข็บนะครับ
  • อัตราความเร็วในการส่งข้อมูล (Transmission Rate) ในมาตรฐาน IMT-2000 นั้นกำหนดไว้ว่าต้องมีอัตราความเร็วดังนี้ [

    • ในสภาวะอยู่กับที่หรือขณะเดิน มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 2 เมกะบิต/วินาที
    • ในสภาวะเคลื่อนที่โดยยานพาหนะ มีความเร็วอย่างน้อยที่สุด 384 กิโลบิต/วินาที
    • ทุกสภาวะ มีความเร็วอย่างมากที่สุด 14.4 เมกะบิต/วินาที
        จุดเริ่มต้นของเทคโนโลยี 3G

        มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (Third Generation Mobile Network หรือ 3G) เป็นเทคโนโลยียุคถัดมาจากการเปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 2 หรือ 2G ซึ่งประสบความสำเร็จในการสร้างมูลค่าทางธุรกิจสื่อสารไร้สายอย่างมหาศาลนับ ตั้งแต่ พ.ศ. 2537 เป็นต้นมา ในยุคของโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G มีมาตรฐานที่สำคัญที่มีการนิยมใช้งานทั่วโลกอยู่ 2 มาตรฐาน กล่าวคือมาตรฐาน GSM (Global System for Mobile Communication) อันเป็นมาตรฐานของกลุ่มสหภาพยุโรป ปัจจุบันมีส่วนแบ่งทางการตลาดทั่วโลกสูงที่สุด และมาตรฐาน CDMA (Code Division Multiple Access) อันเป็นมาตรฐานจากสหรัฐอเมริกา มีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับที่สอง
        จุดมุ่งหมายของการพัฒนามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ขึ้น ก็เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานระบบสื่อสารไร้สายส่วนบุคคล (Personal Communication) ในลักษณะไร้พรมแดน (Global Communication) โดยเปิดโอกาสให้ผู้ใช้บริการสามารถนำเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ไปใช้ งานในที่ใด ๆ ก็ได้ทั่วโลกที่มีการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ดังกล่าว และยังเป็นยุคของการนำมาตรฐานสื่อสารแบบดิจิตอลสมบูรณ์แบบมาใช้รักษาความ ปลอดภัย และเสริมประสิทธิภาพในการสื่อสารหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นบริการส่งข้อความแบบสั้น (Short Message Service หรือ SMS) และการเริ่มต้นของยุคสื่อสารข้อมูลผ่านเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นครั้งแรก โดยมาตรฐาน GSM และ CDMA ตอบสนองความต้องการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วสูงสุด 9,600 บิตต่อวินาที ซึ่งถือว่าเพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับอัตราเร็วของการสื่อสารผ่านโมเด็มใน เครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานเมื่อกว่าสิบปีก่อน
        การตอบรับของกลุ่มผู้บริโภคบริการสื่อสารไร้สายทั่วโลก ทำให้มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G สร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการณ์ทั่วโลกอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการเปิดสัมปทานและนำมาซึ่งการแข่งขันอย่างรุนแรงในแทบทุกประเทศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนอกจากจะมีผลทำให้เกิดการเพิ่มจำนวนของผู้ใช้บริการอย่าง ก้าวกระโดดแล้ว ในขณะเดียวกันยังสร้างผลกระทบต่อรายได้โดยเฉลี่ยต่อเลขหมาย (Average Revenue per User หรือ ARPU) ของผู้ให้บริการเครือข่าย อันเนื่องมาจากการกลยุทธ์การแข่งขันด้านราคา ยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบพร้อมใช้ (Prepaid Subscriber) ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ก็ทำให้เกิดการลดถอยของ ARPU ลงอย่างต่อเนื่อง พร้อม กับปัญหาผู้ใช้บริการย้ายค่าย (Brand Switching) ที่รุนแรงขึ้น
        เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นในตราสินค้าและยังเป็นการสร้างรายได้ เพิ่มเพื่อชดเชย ARPU ที่ลดต่ำลง เนื่องจากปรากฏการณ์อิ่มตัวของบริการสื่อสารด้วยเสียง (Voice Service) ผู้ประกอบการในธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกจึงมีความเห็นตรงกันที่จะ สร้างบริการสื่อสารไร้สายรูปแบบใหม่ ๆ ขึ้น โดยพัฒนาเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่เปิดใช้งานอยู่ ให้มีศักยภาพเพิ่มเติมเพื่อรองรับบริการสื่อสารข้อมูลแบบที่มิใช่เสียง (Non-Voice Communication) พร้อมกับการวางแผนธุรกิจ แผนปฏิบัติการทางวิศวกรรม การตลาด และแผนการลงทุน เพื่อสร้างกระแสความต้องการ (Demand Aggregation) ให้กับฐานลูกค้าผู้ใช้บริการที่มีอยู่เดิม เพื่อเพิ่ม ARPU ให้สูงขึ้น พร้อม ๆ กับผลักดันให้เกิดบริการรูปแบบใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับส่งข้อมูลแบบ EMS (Enhanced Messaging Service) หรือ MMS (Multimedia Messaging Service) รวมถึงบริการท่องโลกอินเทอร์เน็ตไร้สายผ่านอุปกรณ์สื่อสารรุ่นใหม่ ๆ ซึ่งมีทั้งที่เป็นโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่ว ๆ ไป อุปกรณ์ไร้สายประเภท PDA (Personal Digital Assistant) และโทรศัพท์เคลื่อนที่อัจฉริยะ (Smart Phone)
        เพื่อเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ที่ได้มีการลงทุนไว้แล้วให้เกิดประโยชน์สูงสุด มาตรฐานเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลในรูปแบบใหม่ ๆ จึงถูกกำหนดขึ้น ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาเครือข่ายเดิม ไม่ว่าจะเป็นเทคโนโลยี HSCSD (High Speed Circuit Switching Data), GPRS (General Packet Radio Service) หรือ EDGE (Enhanced Data Rate for GPRS Evolution) ของค่าย GSM และเทคโนโลยี cdma20001xEV-DV หรือ cdma20001xEV-DO ของค่าย CDMA ดังแสดงพัฒนาการในรูปที่ 1 เรียกมาตรฐานต่อยอดดังกล่าวโดยรวมว่า เทคโนโลยียุค 2.5G/2.75G ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ปรากฏมีมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ PDC (Packet Digital Cellular) เปิดให้บริการสื่อสารข้อมูลในลักษณะของเทคโนโลยี 2.5G ภายใต้ชื่อเครื่องหมายการค้า i-mode ซึ่งประสบความสำเร็จอย่างมากในการเปิดศักราชของการให้บริการสื่อสารข้อมูล แบบมัลติมีเดียไร้สายในประเทศญี่ปุ่น และได้กลายเป็นต้นแบบของการจัดทำธุรกิจ Non-Voice ให้กับผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกในเวลาต่อมา

        การเติบโตของธุรกิจ Non-Voice

        ตั้งแต่ พ.ศ. 2543 เป็นต้นมาอันเป็นยุคเริ่มต้นของเทคโนโลยี 2.5G ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย มีการผลักดันบริการสื่อสารข้อมูลรูปแบบใหม่ ๆ ในรูปแบบ Non-Voice เพื่อสร้างกระแสนิยมในกลุ่มผู้บริโภคมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการใช้ประโยชน์จากเครือข่าย 2.5G อย่างเต็มรูปแบบ หรือเป็นการผลักดันให้เกิดการยอมรับในบริการที่มีอยู่แล้ว อันได้แก่บริการ SMS ซึ่งในปัจจุบันจะเห็นว่าบริการเหล่านี้ได้กลายเป็นช่องทางสำคัญที่เพิ่ม มูลค่าให้บริการ ARPU ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของบริการประเภทต่าง ๆ บนเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ในภาพรวมของทั้งทวีปเอเชียตั้งแต่ช่วงปี พ.ศ. 2544 จนถึง พ.ศ. 2553 ซึ่งในท้ายที่สุดบริการแบบ Non-Voice จะมีสัดส่วนที่เป็นนัยสำคัญต่อรายได้รวมทั้งหมด
        สำหรับธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทยเอง นับตั้งแต่การเปิดให้บริการประเภท Non-Voice อย่างจริงจังเมื่อต้นปี พ.ศ. 2545 เป็นต้นมา บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็สามารถสร้างรายได้เพื่อ เสริมทดแทนการลดทอนของค่า ARPU ภายในเครือข่ายของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการเปิดตัวบริการสื่อสารไร้สายมัลติมีเดียของ บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด (HUTCH) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 เป็นต้นมา สภาพการแข่งขันในธุรกิจสื่อสารไร้สายในประเทศไทยก็เริ่มมุ่งความสำคัญในการ สร้างบริการ Non-Voice ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดให้บริการ MMS อย่างเป็นทางการ การคิดโปรโมชั่นกระตุ้นการท่องอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ หรือแม้กระทั่งการทดลองเปิดให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ (TV on Mobile) ซึ่งความพยายามของผู้ให้บริการเครือข่ายแต่ละราย ทำให้เกิดกระแสความสนใจใช้บริการ Non-Voice เพิ่มมากขึ้น
        รูปที่ 3 และ 4 แสดงถึงความสำคัญของรายได้ที่เกิดขึ้นจากบริการ Non-Voice นับตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา อันมีผลทำให้บรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่สามารถเพิ่มค่า ARPU ของตนให้มีแนวโน้มสูงขึ้น พร้อม ๆ กับการเพิ่มจำนวนผู้ใช้บริการภายในเครือข่ายของตน ซึ่งแตกต่างจากสภาพการณ์ในช่วงก่อนหน้านี้ที่รายได้เฉลี่ยของตนตกลงเรื่อย ๆ สวนทางกับการเพิ่มจำนวนของกลุ่มผู้ใช้บริการ โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงกลุ่มผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่พร้อมใช้ ซึ่งถือเป็นกลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของประเทศ มีการเพิ่มค่า ARPU ขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ส่วนหนึ่งจะมาจากนโยบายการตลาดของผู้ให้บริการที่มีการจำกัดเวลาในการโทร ให้สัมพันธ์กับวงเงินก็ตาม แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เช่นกันว่า ความนิยมในบริการ Non-Voice ประเภท SMS และ EMS โดยเฉพาะที่อยู่ในรูปแบบของบริการดาวน์โหลดรูปภาพ (Logo/Animation) และเสียงเรียกเข้า (Ringtone) ในกลุ่มวัยรุ่นและนักศึกษามีผลอย่างเป็นนัยสำคัญต่อการเพิ่มค่า ARPU ดังกล่าว

        ข้อจำกัดของเครือข่าย 2.5G และ 2.75G

        มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G แม้จะสามารถรองรับการสื่อสารประเภท Non-Voice ได้ แต่ก็ไม่อาจสร้างบริการประเภท Killer Application ที่ผลิกผันรูปแบบการให้บริการได้อย่างชัดเจน ดังจะเห็นได้จากสถาการณ์การให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในประเทศไทย ที่แม้จะมีการเติบโตอย่างชัดเจนในตลาดประเภท Non-Voice แต่เมื่อศึกษาอย่างละเอียดก็จะพบว่าบริการที่ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ล้วนเป็นบริการประเภท SMS และ EMS ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการดาวน์โหลดรูปภาพหรือเสียงเรียกเข้า รวมถึงการเล่นเกมส์ตอบปัญหาหรือส่งผลโหวตที่ปรากฏอยู่ตามสื่อชนิดต่าง ๆ ซึ่งบริการเหล่านี้ล้วนเป็นบริการพื้นฐานในเครือข่าย 2G
        ข้อจำกัดของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อน 2.5G และ 2.75G เกิดขึ้นมาจากความพยายามพัฒนาเครือข่าย 2G เดิม ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน GSM หรือ CDMA ให้เกิดประโยชน์สูงสุด คุ้มค่าการลงทุน ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายไม่อาจบริหารจัดการทรัพยากรเครือข่ายโทรศัพท์ เคลื่อนที่ได้อย่างคล่องตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่ว่าจะเป็นย่านความถี่ 900 เมกะเฮิตรซ์ , 1800 เมกะเฮิตรซ์ หรือ 1900 เมกะเฮิตรซ์ เนื่องจากอุปกรณ์ที่มีการติดตั้งใช้งานมาตั้งแต่การเปิดให้บริการในยุค 2G ล้วนเป็นเทคโนโลยีเก่า มีการทำงานแบบ Time Division Multiple Access (TDMA) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเก่า ต้องจัดสรรวงจรให้กับผู้ใช้งานตายตัว ไม่สามารถนำทรัพยากรเครือข่ายมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีดังกล่าวเหมาะสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบ Voice ซึ่งต้องการคุณภาพและความคมชัดในการสนทนา
        แม้เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยี GPRS และ EDGE ซึ่งถือเป็นการเสริมเทคโนโลยีสื่อสารข้อมูลแบบแพ็กเกตสวิตชิ่ง (Packet Switching) ที่มีความยืดหยุ่นในการสื่อสารข้อมูลแบบ Non-Voice ในลักษณะเดียวกับที่พบในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็ตาม แต่เทคโนโลยีทั้ง 2 ประเภทนี้ก็ถือว่าเป็นการ ต่อยอด บนเครือข่ายแบบเดิมที่มีการทำงานแบบ TDMA ทำให้ผู้ให้บริการเครือข่ายต้องพะวงกับการจัดสรรทรัพยากรช่องสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการจัดสรรวงจรสื่อสารผ่านคลื่นความถี่วิทยุจากสถานีฐาน ไปยังเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบ Non-Voice ได้อย่างเต็มรูปแบบ เนื่องจากจะทำให้เกิดผลรบกวนต่อจำนวนวงจรสื่อสารแบบ Voice มากจนเกินไป
        ด้วยเหตุดังกล่าว จึงพบว่าไม่มีผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2.5G หรือ 2.75G รายใดในโลก สามารถเปิดให้บริการเทคโนโลยี GPRS ด้วยอัตราเร็วสูงสุด 171 กิโลบิตต่อวินาที หรือ EDGE ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาทีได้ เนื่องจากการทำเช่นนั้นจะทำให้สถานีฐาน (Base Station) ที่ทำหน้าที่รับส่งสัญญาณกับเครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ไม่มีวงจรสื่อสารเหลือสำหรับให้บริการแบบ Voice อีกต่อไป ผลที่เกิดขึ้นในมุมมองของผู้ใช้บริการก็คือความเชื่องช้าในการสื่อสารข้อมูล ผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G ทำให้หมดความสนใจที่จะใช้บริการต่อไป โดยในขณะเดียวกันก็มีบริการสื่อสารอัตราเร็วสูงแบบบรอดแบนด์ผ่านคู่สาย เช่น DSL (Digital Subscriber Line) เป็นทางเลือกสำหรับใช้บริการ ความสนใจที่จะใช้เครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อรับส่งข้อมูลจึงมีอยู่ เฉพาะการเล่นเกมส์และส่ง SMS, MMS ซึ่งทำได้ง่าย และมีการประชาสัมพันธ์ดึงดูดใจมากมาย

        มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G

        เพื่อเป็นการเพิ่มความคล่องตัวในการเปิดให้บริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ พร้อมทั้งยังคงรักษาคุณภาพในการให้บริการ Voice ด้วยระดับคุณภาพที่ทัดเทียมหรือดีกว่าในยุค 2G องค์กรสากล 3GPP (Third Generation Program Partnership) และ 3GPP2 จึงได้กำหนดมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ขึ้น โดยมีมาตรฐานสำคัญอยู่ 2 ประเภท คือ
        มาตรฐาน UMTS (Universal Mobile Telecommunications Services) เป็นมาตรฐานที่ออกแบบมาสำหรับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้นำ ไปพัฒนาจากยุค 2G/2.5G/2.75G ไปสู่มาตรฐานยุค 3G อย่างเต็มตัว รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP มีเทคโนโลยีหลักที่ปัจจุบันมีการยอมรับใช้งานทั่วโลกคือมาตรฐาน Wideband Code Division Multiple Access (W-CDMA) โดยในอนาคตจะมีการพัฒนาต่อเนื่องไปสู่มาตรฐาน HSDPA (High Speed Downlink Packet Access) ซึ่งรองรับการสื่อสารด้วยอัตราเร็วสูงถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าการสื่อสารแบบ 2.75G ถึง 36 เท่า มาตรฐาน W-CDMA นี้เองที่กิจการร่วมค้า ไทย - โมบาย กำลังจะดำเนินการพัฒนาเพื่อเปิดให้บริการภายในต้นปี พ.ศ. 2548 นอกจากจะเป็นเส้นทางในการพัฒนาสู่มาตรฐาน 3G ของบรรดาผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังได้รับการยอมรับจากผู้ให้บริการรายใหญ่อย่างบริษัท NTT DoCoMo ผู้เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ I-mode ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDC ให้เป็นมาตรฐาน 3G สำหรับใช้งานภายใต้เครื่องหมายการค่า “FOMA” โดยได้เปิดให้บริการในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา และปัจจุบัน W-CDMA ได้กลายเป็นเครือข่าย 3G ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน cdma2000 เป็นการพัฒนาเครือข่าย CDMA ให้รองรับการสื่อสารในยุค 3G รับผิดชอบการพัฒนามาตรฐานโดยองค์กร 3GPP2 มีเทคโนโลยีหลักคือ cdma2000-3xRTT ที่มีศักยภาพเทียบเท่ากับมาตรฐาน W-CDMA ของค่ายยุโรป แต่ปัจจุบันยังไม่มีกำหนดความพร้อมสำหรับให้บริการเชิงพาณิชย์ที่ชัดเจน สำหรับในประเทศไทย บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด เปิดให้บริการเฉพาะเครือข่าย cdma20001xEV-DO ซึ่งยังมีขีดความสามารถเทียบเท่าเครือข่าย 2.75G เท่านั้น
        มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ W-CDMA ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้รองรับการสื่อสารแบบมัลติมีเดียสมบูรณ์แบบ โดยเปลี่ยนแปลงรูปแบบการสื่อสารชนิด TDMA ที่ปรากฏอยู่ในเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุค 2G/2.5G/2.75G ไปเป็นการสื่อสารแบบแพ็กเกตสวิทชิ่งเต็มรูปแบบ สามารถรองรับทั้งการสื่อสารทั้ง Voice และ Non-Voice โดยมีมาตรฐานการรองรับและควบคุมคุณภาพของข้อมูลที่สมบูรณ์แบบ อันเป็นผลต่อเนื่องมาจากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล (Information Coding) จึงทำให้ผู้ให้บริการเครือข่าย 3G ก้าวพ้นจากข้อจำกัดในการบริหารจัดการข้อมูลประเภท Voice และ Non-Voice ดังที่ปรากฏอยู่ในมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้อย่างเด็ดขาด
        อย่างไรก็ตามเพื่อให้เครือข่าย W-CDMA สามารถรองรับการสื่อสารข้อมูลได้อย่างเต็มรูปแบบ และให้เกิดความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากรความถี่วิทยุ จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดย่านความถี่สำหรับใช้เปิดให้บริการ โดยเป็นไปตามแผนผังการจัดวางความถี่สากลทั่วโลกดังแสดงในรูปที่ 5 ด้วยเหตุดังกล่าวจึงทำให้ กิจการร่วมค้าไทย - โมบาย เป็นเพียงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายเดียวในประเทศไทยที่สามารถเปิด ให้บริการเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA ได้ในทันที เนื่องจากมีสิทธิ์ใช้คลื่นความถี่วิทยุในย่าน 1965 – 1980 เมกะเฮิตรซ์ และ 2155 – 2170 เมกะเฮิตรซ์ ขณะที่ผู้ให้บริการเครือข่ายรายอื่น ๆ จำเป็นต้องยื่นคำร้องผ่านกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโดยคณะกรรมการ กิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกหลายปีเพื่อได้สิทธิ์ในการเปิดให้บริการ W-CDMA เป็นรายต่อไป

        จุดเด่นของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA

        นอกจากมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G จะมีการพัฒนาเทคโนโลยีสถานีฐาน (Base Station Subsystem) จากยุค 2G ซึ่งใช้เทคโนโลยี TDMA เป็นการรับส่งข้อมูลในรูปแบบแพ็กเกตเพื่อความคล่องตัวในการจัดสรรทรัพยากร ความถี่สำหรับให้บริการทั้งแบบ Voice และ Non-Voice อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด อันจะช่วยสร้างความรู้สึกให้กับผู้ใช้บริการ (End User Perception) ถึงความรวดเร็วในการสื่อสารข้อมูล และยังคงรักษาคุณภาพของการสนทนาที่เหนือกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว มาตรฐาน W-CDMA ยังมีความคล่องตัวในการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายข้อมูลที่อยู่ในโลกอิน เทอร์เน็ต เนื่องจากมาตรฐานการเชื่อมต่อต่าง ๆ สอดรับกับมาตรฐานของอุตสาหกรรมอินเทอร์เน็ตทุกประการ ก่อให้เกิดการเปิดกว้างในรูปแบบของความร่วมมือกับพันธมิตรจำนวนมาก มีความคล่องตัวในการบันทึก จัดเก็บ และบริหารจัดการข้อมูลประเภทสื่อข้อมูล (Content) ต่าง ๆ
        เมื่อทำการเปรียบเทียบเฉพาะด้านของอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลดังแสดงใน รูปที่ 6 จะเห็นว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G นอกจากจะรองรับการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G แล้ว ยังก่อให้เกิดการถือกำเนิดของบริการรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่สามารถสร้างขึ้นบนเครือข่ายยุคในตระกูล 2G/2.5G/2.75G ได้ ที่เห็นได้ชัดเจนก็คือบริการ Video Telephony และ Video Conference ซึ่งเป็นการสื่อสารแบบเห็นหน้ากัน โดยเครือข่าย 3G จะทำการถ่ายทอดสดทั้งภาพและเสียงระหว่างคู่สนทนา โดยไม่เกิดความหน่วงหรือล่าช้าของข้อมูล บริการในลักษณะนี้จะกลายเป็น จุดขาย สำคัญประการหนึ่งของมาตรฐานการสื่อสารแบบ 3G ทั้งนี้เครื่องลูกข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G ที่มีจำหน่ายในปัจจุบัน ล้วนรองรับบริการ Video Telephony แล้วทั้งสิ้น จึงสามารถเปิดให้บริการดังกล่าวได้ในทันที
        ข้อมูลจาก UMTS Forum ในรูปที่ 7 แสดงให้เห็นถึงการเติบโตของจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA เปรียบเทียบกับมาตรฐาน GSM โดยพิจารณาอัตราการเติบโตภายในช่วง 10 ไตรมาสแรก (2 ปีครึ่ง) หลังจากการเปิดให้บริการ GSM ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2535 เทียบกับ 10 ไตรมาสแรกหลังจากการเปิดให้บริการ W-CDMA ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2544 พบว่าเครือข่าย 3G แบบ W-CDMA มีอัตราการเติบโตที่สูงกว่ามาก มูลเหตุสำคัญมาจากแรงผลักดัน (Business Momentum) ที่ผู้ใช้บริการ 2.5G หรือ 2.75G รอคอยเครือข่ายสื่อสารไร้สายที่สามารถตอบสนองความต้องการในการสื่อสารข้อมูล ด้วยอัตราเร็วสูงอย่างแท้จริง อีกทั้งผู้ให้บริการเครือข่ายยังมีความคล่องตัวในการจัดสรรเครือข่ายในด้าน ต่าง ๆ เพื่อสร้างบริการสื่อสารประเภท Non-Voice ที่ต้องพึ่งพาอัตราเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่สูงขึ้น นอกเหนือจากบริการ Non-Voice พื้นฐานอย่าง SMS และ EMS

        กล่าวโดยสรุป ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้มาตรฐานเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA มีแนวโน้มของการประสบความสำเร็จทางธุรกิจที่รวดเร็วกว่ามาตรฐาน 2G จนถึง 2.75G นั้น สืบเนื่องมาจากการปฏิวัติรูปแบบของเทคโนโลยีเครือข่าย เพื่อตอบสนองรูปแบบการสร้างความร่วมมือทางธุรกิจให้ผลักดันบริการ Non-Voice อย่างเต็มรูปแบบ ทั้งนี้ UMTS Forum ได้กล่าวถึงจุดเด่นของมาตรฐาน W-CDMA ซึ่งจะนำความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจให้กับผู้ประกอบการดังนี้ (เอกสาร Why the world has chosen W-CDMA : 24 September 2003)

        1. เครือข่าย W-CDMA รับประกันคุณภาพในการรองรับข้อมูลแบบ Voice และ Non-Voice ในแง่ของผู้ใช้บริการจะรับรู้ได้ว่าคุณภาพเสียงจากการใช้งานเครือข่าย 3G ชัดเจนกว่าหรืออย่างน้อยเทียบเท่าการสนทนาผ่านเครือข่าย 2G ส่วนการรับส่งข้อมูลแบบ Non-Voice จะรับรู้ถึงอัตราเร็วในการสื่อสารที่สูงกว่าการใช้งานผ่านเครือข่าย 2.5G และ 2.75G มาก อันเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีเครือข่าย และใช้ย่านความถี่ที่สูงขึ้น

        2. W-CDMA เป็นมาตรฐานเปิด (Open Standard) ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยกลุ่ม 3GPP ซึ่งเป็นกลุ่มเดียวกับผู้พัฒนามาตรฐาน GSM ทำให้ผู้ให้บริการ 3G สามารถเชื่อมต่อเครือข่าย 3G เข้าหากันได้ถึงขั้นอนุญาตให้มีการใช้งานข้ามเครือข่าย (Roaming) เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในเครือข่ายยุค 2G นอกจากนั้นยังสามารถเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานข้ามเครือข่ายกับมาตรฐาน 2G/2.5G/2.75G ได้ในทันที โดยผู้ใช้บริการเพียงมีอุปกรณ์สื่อสารแบบ Dual Mode เท่านั้น ทำให้เกิดลู่ทางในการสร้างเครือข่าย W-CDMA เพื่อเปิดให้ผู้ประกอบการเครือข่ายรายอื่นได้ร่วมเข้าใช้บริการ ในลักษณะของ Mobile Virtual Network Operator (MVNO) เป็นรายได้ที่สำคัญนอกเหนือจากการให้บริการ 3G กับผู้ใช้บริการที่จดทะเบียนภายในเครือข่าย

        3. มาตรฐาน W-CDMA เป็นมาตรฐานโลก ที่จะเข้ามาแทนที่เครือข่ายในตระกูล GSM เช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เครือข่าย GSM เข้ามาแทนที่เครือข่าย 1G เมื่อกว่า 10 ปีที่แล้ว จึงเป็นการรับประกันถึงพัฒนาการที่มีอย่างต่อเนื่องในด้านต่าง ๆ การเร่งเปิดให้บริการ 3G จึงเปรียบได้กับการเร่งเข้าสู่ตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G ของผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ยักษ์ใหญ่ในปัจจุบันที่เกิดขึ้น ในอดีต

        4. พิจารณาเฉพาะการให้บริการแบบ Voice จะเห็นว่าการลงทุนสร้างเครือข่าย W-CDMA มีต้นทุนที่ต่ำกว่าการสร้างเครือข่าย GSM ถึงกว่า 30 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากมาตรฐาน W-CDMA มีความยืดหยุ่นและคล่องตัวให้ผู้ประกอบสามารถปรับเปลี่ยนทรัพยากรความถี่ เพื่อรองรับ Voice และ Non-Voice ได้อย่างผสมผสาน ต่างจากการกำหนดทรัพยากรตายตัวในกรณีของเทคโนโลยี GSM

        5. W-CDMA เป็นมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดเดียวที่มีรูปแบบการทำงานแบบแถบความถี่กว้าง (Wideband) อันนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสร้างพื้นที่ให้บริการที่กว้างใหญ่ ไปพร้อม ๆ กับความสะดวกในการเพิ่มขยายขีดความสามารถในการรองรับข้อมูลข่าวสาร ต่างจากเครือข่าย 2G โดยทั่วไปที่ปัจจุบันเริ่มประสบกับปัญหาการจัดสรรความถี่ที่ไม่เพียงพอต่อ การขยายเครือข่าย เนื่องจากเป็นระบบแบบแถบความถี่แคบ (Narrow Band)

        6. กลไกการทำงานภายในเครือข่าย W-CDMA เป็นไปตามมาตรฐานสากล โดยเฉพาะมาตรฐาน IETF (Internet Engineering Task Force) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถเปิดโอกาสให้พันธมิตรทางธุรกิจซึ่งมีความเชี่ยวชาญ ในการพัฒนาโปรแกรมหรือบริการพิเศษต่าง ๆ บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้ทำการพัฒนาสร้างบริการผ่านอุปกรณ์สื่อสารไร้สาย โดยใช้ทักษะความสามารถและความชำนาญที่มีอยู่ เป็นการกระตุ้นให้เกิดบริการประเภท Non-Voice ได้สารพัดรูปแบบ

        7. มีแนวทางในการพัฒนาขีดความสามารถในรองรับการสื่อสารข้อมูลที่มีอัตราเร็วสูง ขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาสู่มาตรฐาน HSDPA ที่รองรับการสื่อสารข้อมูลด้วยอัตราเร็วที่สูงมากถึง 14 เมกะบิตต่อวินาที ในขณะที่มาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM ไม่สามารถพัฒนาให้รองรับการสื่อสารข้อมูลได้มากกว่าเทคโนโลยี EDGE ในปัจจุบัน ซึ่งรองรับข้อมูลได้ด้วยอัตราเร็ว 384 กิโลบิตต่อวินาที และในความเป็นจริงก็ไม่สามารถเปิดให้บริการด้วยอัตราเร็วถึงระดับดังกล่าว ได้ เนื่องจากจะทำให้สถานีไม่สามารถรองรับบริการ Voice ได้อีกต่อไป

        8. ในอนาคตมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G มีทิศทางการพัฒนาที่ชัดเจนในการรวมตัวกับมาตรฐานสื่อสารไร้สายชนิดอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน Wireless LAN (IEEE802.11b/g) หรือ WiMAX (IEEE802.16d/e/e+) ทำให้ผู้ใช้บริการเครือข่ายไร้สายสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้งานในเครือข่ายใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมทางภูมิประเทศ โดยยังคงได้รับการดูแลโดยผู้ให้บริการเครือข่าย 3G

        ความสำคัญต่าง ๆ เหล่านี้เองที่เป็นแรงผลักดันให้ผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่ GSM จำนวนมากทั่วโลก รวมนักลงทุนหน้าใหม่ ให้ความสำคัญสำหรับการแสวงหาสิทธิ์ในการเปิดให้บริการเครือข่าย 3G และมีแผนกำหนดเปิดให้บริการเทคโนโลยี W-CDMA ดังมีข้อมูลแสดงในรูปที่ 8 โดยเฉพาะยักษ์ใหญ่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อันดับต้น ๆ ของโลก 8 รายได้ตัดสินใจเลือกมาตรฐาน W-CDMA เป็นเทคโนโลยี 3G

        ในท้ายที่สุด ความสมบูรณ์แบบในการรองรับธุรกิจ Non-Voice ของมาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะช่วยผลักดันให้เกิดห่วงโซ่ธุรกิจที่สมบูรณ์แบบ ดังแสดงในรูปที่ 10 แม้จะมีความพยายามในกลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจโทรคมนาคมภายในประเทศที่จะผลัก ดันให้เกิดการประสานผลประโยชน์อย่างลงตัวระหว่างผู้ให้บริการเครือข่าย โทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G/2.5G/2.75G กับผู้ประกอบการสื่อข้อมูลต่าง ๆ มาก่อนหน้านี้ แต่เนื่องจากข้อจำกัดของเครือข่ายในตระกูล GSM และ CDMA เองที่ไม่มีความยืดหยุ่นเพียงพอที่จะสร้างความประทับใจต่อผู้ใช้บริการ จึงทำให้เกิดการขาดช่วงของความสมดุลในการผสานผลประโยชน์ เมื่อพิจารณาจากความสำเร็จของเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ FOMA ของบริษัท NTT DoCoMo ซึ่งเป็นผู้ให้บริการรายแรกที่เปิดให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA และประสบความสำเร็จในการดึงศักยภาพของเครือข่าย W-CDMA ให้เกื้อหนุนต่อความลงตัวสำหรับการร่วมมือในธุรกิจ Non-Voice ในประเทศญี่ปุ่นอย่างงดงาม ต่อเนื่องด้วยความคืบหน้าในการสานต่อโครงสร้างธุรกิจ Non-Voice ในประเทศจีนและอีกหลาย ๆ ประเทศ จึงสรุปได้ว่ามาตรฐานโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G แบบ W-CDMA จะเป็นการเปิดประตูสู่ธุรกิจ Non-Voice ในประเทศไทยในอนาคตอันใกล้

        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube





        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube







        28 กรกฎาคม 2554

        สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates)

          สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (United Arab Emirates)


        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube


        สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (الإمارات العربيّة المتّحدة) เป็นประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของคาบสมุทรอาหรับ ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ริมอ่าวเปอร์เซีย ประกอบด้วยรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirates) 7 รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี อัจมาน ดูไบ ฟูไจราห์ ราสอัลไคมาห์ ชาร์จาห์ และอุมม์อัลไกไวน์ ในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2514 (ค.ศ. 1971) กลุ่มรัฐดังกล่าวเป็นที่รู้จักกันในชื่อ รัฐสงบศึก (Trucial States) หรือ ทรูเชียลโอมาน (Trucial Oman) โดยอ้างอิงตามสัญญาสงบศึกในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ระหว่างอังกฤษกับเชคอาหรับบางพระองค์

        สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีพรมแดนติดกับโอมาน ซาอุดีอาระเบีย และกาตาร์ เป็นประเทศหนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรน้ำมัน



        การแบ่งเขตการปกครอง



        สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประกอบด้วยรัฐ (emirates) 7 รัฐ ดังนี้







        วิดีโอ YouTube






        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube


        รอส อัลคอยมะห์ (Ras al-Khaimah)



        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube













        ประชากร



        มีพลเมืองประมาณ 2.6 ล้านคน แต่ในจำนวนนี้เป็นชาวเอมิเรตส์เพียง 19% ในขณะที่มีชาวเอเชียใต้ถึง 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ และชาวอิหร่าน 23% และชาวตะวันตกกับชาวเอเชียอื่น ๆ อีก 13%



        อ้างอิง







        วิดีโอ YouTube





        วิดีโอ YouTube





        วิดีโอ YouTube





        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube




        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube






        วิดีโอ YouTube


        สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
        The United Arab Emirates




        ข้อมูลทั่วไป

        ที่ตั้ง


        ทิศเหนือเป็นทะเลอ่าวเปอร์เซียหรืออ่าวอาหรับ ทิศตะวันออกติดกับโอมานและอ่าวเปอร์เซียบริเวณ ใกล้ช่องแคบฮอร์มุซ (Hormuz) และบริเวณอ่าวโอมาน ทิศใต้และตะวันตกติดกับโอมานและซาอุดีอาระเบีย



        พื้นที่ ประมาณ 90,559 ตารางกิโลเมตร



        เมืองหลวง กรุงอาบูดาบี (Abu Dhabi)



        ประชากร 5.6 ล้านคน (ปี 2551) เป็นชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร้อยละ 25 ชาวต่างชาติ ร้อยละ 75 ส่วนมากเป็นแรงงานจากอินเดีย ปากีสถาน อิหร่าน ฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ และจากกลุ่มประเทศอาหรับด้วยกัน



        ศาสนา ศาสนาอิสลามร้อยละ 96 (สุหนี่ร้อยละ 80 ชีอะต์ ร้อยละ 16) ฮินดู คริสต์ และอื่นๆ ร้อยละ 4



        ภาษา ภาษาอาหรับเป็นภาษาราชการ ภาษาอังกฤษมีการใช้อย่างกว้างขวาง และภาษาฟาร์ซี (Farsi) มีการใช้ระหว่างชาวอิหร่านที่พำนักอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์



        ภูมิอากาศ มี 2 ฤดู ได้แก่ ฤดูร้อนและฤดูหนาว
        เดือนพฤษภาคมถึงกันยายนอากาศร้อนจัดและความชื้นสูง อุณหภูมิประมาณ 32-48 องศาเซลเซียส เดือนตุลาคมถึงเมษายนเป็นฤดูหนาวซึ่งอากาศไม่หนาวมากนัก อุณหภูมิเฉลี่ย 15-30 องศาเซลเซียส




        หน่วยเงินตรา ดีแรห์ม (Dirham) อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐ
        เท่ากับ 3.68 ดีแรห์ม หรือ 1 ดีแรห์ม เท่ากับประมาณ 9 บาท




        ประธานาธิบดี H.H. Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan
        (เจ้าผู้ครองรัฐอาบูดาบี)




        นายกรัฐมนตรี H.H. Sheikh Mohammad bin Rashid Al Maktoum (รอง ปธน.ยูเออี และเจ้าผู้ครองรัฐดูไบ)

        รมว.กต. H.H.Sheikh Abdallah Bin Zayid Al Nahyan




        ระบอบการปกครอง
        สหพันธรัฐ ประกอบด้วยรัฐ ๗ รัฐ ได้แก่ อาบูดาบี (Abu Dhabi) ดูไบ (Dubai) (เป็นเมืองท่าและศูนย์กลางธุรกิจ) ชาร์จาห์ (Sharjah) อัจมาน (Ajman) ราสอัลไคมาห์ (Ra’s al-Khaimah) ฟูไจราห์ (Fujairah) และอุมม์ อัล ไคเวน (Umm al-Qaiwain) ปกครองโดยประธานาธิบดีซึ่งเลือกจากเจ้าผู้ครองรัฐแต่ละรัฐ การปกครองมีลักษณะเป็นราชาธิปไตย




        สังคม
        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เหมือนกับประเทศอ่าวอื่นๆ ที่ให้สวัสดิการกับประชาชนสูงในด้านสาธารณสุข การเคหะ และการดำรงชีพ มีการเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ ทำให้ประชาชนมีมาตรฐานการดำรงชีพสูง เป็นอันดับต้นของตะวันออกกลาง มีรายได้ต่อหัวสูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก สตรีมีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ สูง เมื่อเทียบกับสังคมประเทศอาหรับทั่วไป

        - สำหรับคนชาติสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และชุมชนชาวต่างชาติที่มีรายได้สูง สหรัฐอาหรับ เอมิเรตส์นับว่ามีสภาพแวดล้อม และความเป็นอยู่ที่มั่นคง แต่สำหรับแรงงานที่มีรายได้ต่ำจะประสบความยากลำบาก เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อและการที่ระดับการคุ้มครองของรัฐยังไม่สูงพอ ในกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามสัญญาจ้าง




        การเมืองการปกครอง



        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เกิดจากการรวมตัวของรัฐต่าง ๆ อย่างหลวม ๆ ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2514 เป็นต้นมาและได้แก้ไขรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 2514 ให้เป็นฉบับถาวรเมื่อปี 2539 โดยได้มีการลงนามในรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2539 นับเป็นก้าวสำคัญที่จะทำให้ประเทศ เป็นปึกแผ่นมั่นคงทั้งนี้ วันดังกล่าวถือเป็นวันชาติของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นสหพันธรัฐ (Federation) ประกอบด้วย 7 รัฐ แต่ละรัฐมีระบบการปกครองท้องถิ่นของตนเอง มีกรุงอาบูดาบีเป็นเมืองหลวงถาวร โดยมีรัฐบาลกลาง (Federal Government) ดูแลนโยบายและกิจการที่สำคัญของประเทศ เช่น การต่างประเทศและความมั่นคง เป็นต้น ซึ่งประกอบด้วย

        สภาสูงสุด (Federal Supreme Council) ประกอบด้วยเจ้าผู้ครองรัฐทั้ง 7 รัฐ ผู้กำหนดทิศทางของนโยบาย ออกกฎหมายและเป็นผู้เลือกประธานาธิบดีและรองประธานาธิบดีจากสมาชิก สภา ฯ การตัดสินใจใช้คะแนนเสียงอย่างต่ำ 5 คะแนน (โดยต้องมีรัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบ) ซึ่งประธานาธิบดี คนปัจจุบัน คือ เชคคอลิฟะห์ บิน ไซอิด อัลนะห์ยัน (H.H. Sheikh Khalifa bin Zayed Al-Nahyan) ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี อนึ่ง นับตั้งแต่การก่อตั้งประเทศ เป็นที่ตกลงกันว่าตำแหน่งประธานาธิบดีจะอยู่กับเจ้าผู้ครองรัฐอาบูดาบีและตำแหน่งรองประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีจะเป็นของเจ้าผู้ครองรัฐดูไบ

        คณะรัฐมนตรี (Federal Council of Ministers) มีสมาชิก 21 คน ทำหน้าที่เป็นฝ่ายบริหารขึ้นตรงต่อสภาสูงสุด แต่งตั้งโดยประธานาธิบดี

        สภาแห่งชาติของสหพันธรัฐ (Federation National Council - FNC) มีจำนวนสมาชิกทั้งสิ้น 40 คน มีวาระ 2 ปี ประกอบด้วยสมาชิก 20 คนที่ได้รับการแต่งตั้งโดยเจ้าผู้ครองรัฐแต่ละรัฐ และ อีก 20 คนมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2549 จากเดิมที่สมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งและเริ่มวาระสมาชิกสภาฯ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2550 การเลือกตั้งครั้งนี้นับเป็นก้าวแรกของการพัฒนาการทางการเมืองในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อให้คนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์คุ้นเคยและตระหนักถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง และแสดงให้เห็นบทบาทของสตรีที่มีมากขึ้นทางการเมืองและเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากมีสมาชิกเป็นสตรีรวม 9 คน (มาจากการเลือกตั้ง 1 คน) อย่างไรก็ตาม สภาแห่งชาติของสหพันธรัฐยังไม่มีอำนาจในการบัญญัติกฎหมายเช่นเดียวกับรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย แต่ทำหน้าที่คล้ายสภาที่ปรึกษาและกลั่นกรองกฎหมายเพื่อเสนอให้สภาสูงสุดพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง รวมทั้งพิจารณาข้อเสนอของคณะรัฐมนตรีในเรื่องต่างๆ คาดว่าในอนาคตจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อให้อำนาจสภาฯ และเพิ่มจำนวนสมาชิกให้มากขึ้น

        ศาลสูงสุด (Federal Supreme Council)

        - แม้ว่าเจ้าผู้ครองรัฐมีอำนาจและมีสิทธิค่อนข้างมากในการกำหนดนโยบายในรัฐตน การเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ เชคโมฮัมเมด บิน ราชิด อัล มัคทูม (H.H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum) เจ้าผู้ครองรัฐดูไบและการสนับสนุนที่เข้มแข็งของ เชคโมฮัมเมด บิน ไซอิด อัลนะห์ยัน (H.H. Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan) มกุฎราชกุมารรัฐอาบูดาบี มีแนวโน้มจะนำไปสูการมีนโยบายร่วมกันในระดับสหพันธรัฐ

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีเสถียรภาพทางการเมืองสูง ที่ผ่านมาการเกิดวิกฤติและความไร้เสถียรภาพในตะวันออกกลางกลับมีผลให้สถานะของประเทศดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมักพุ่งสูงขึ้นทำให้มีรายได้จากการส่งออกน้ำมันเพิ่มขึ้น


        นโยบายต่างประเทศ
        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประเทศตะวันตก มีความสัมพันธ์อันดีกับประเทศเพื่อนบ้านส่วนใหญ่ โดยรวมแล้ว สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักเลือกแสดงท่าทีและดำเนินนโยบายเกี่ยวกับความมั่งคงร่วมกันในกรอบภูมิภาคมากกว่าจะแสดงจุดยืนโดยลำพัง แต่ในระยะหลังได้แสดงท่าที ข้อคิดเห็นต่อประเด็นการเมืองในภูมิภาคอย่างเปิดเผยมากขึ้น โดยเป็นหนึ่งในกลุ่ม Arab Quartet (ประกอบด้วย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ จอร์แดน ซาอุดิอาระเบีย และอียิปต์) ที่ตั้งขึ้นเพื่อประสานท่าทีระหว่างสมาชิกกลุ่มประเทศอาหรับกับกลุ่ม International Quartet ในเรื่องพัฒนาการและสถานการณ์ในภูมิภาค และเพื่อชี้แจงทัศนะและท่าทีของอาหรับ โดยไม่ต้องการให้ International Quartet มีบทบาทนำฝ่ายเดียว ในการกำหนดระเบียบวาระของกระบวนการเจรจาสันติภาพในตะวันออกกลาง

        - นโยบายด้านการต่างประเทศของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีหลักการต่อต้านความรุนแรงและการรุกราน การส่งเสริมความร่วมมือกับสันติประเทศ การไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับกิจการภายในของประเทศอื่นๆ การส่งเสริมการเจรจาหารือเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศ การสนับสนุนการดำเนินการที่ยุติธรรมภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ และการให้ความช่วยเหลือมิตรประเทศ

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีพันธมิตรทางการทหารในวงกว้าง โดยกองทัพเรือและกองทัพอากาศของสหรัฐฯ ใช้เป็นฐานขนส่งบำรุงกำลัง (ฐานทัพอากาศที่อาบูดาบี และท่าเรือ Jabel Ali ที่ดูไบ) ร่วมมือกับกองทัพในภูมิภาคและระหว่างประเทศ และมีการสั่งซื้ออาวุธสงครามที่ทันสมัยจากหลายประเทศ เพื่อรองรับสถานการณ์ในภูมิภาค โดยเป็นประเทศเดียวในภูมิภาคที่มีอู่ต่อเรือและซ่อมเรือรบของตนเอง (Abu Dhabi Shipbuilding) และล่าสุดได้ลงนามความตกลงด้านความร่วมมือด้านนิวเคลียร์กับฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรตามลำดับ เพื่อวางกรอบความร่วมมือในเรื่องการสำรวจและใช้พลังงานนิวเคลียร์อย่างสันติ และความตกลงด้านความร่วมมือทางทหารกับฝรั่งเศส เพื่อให้ฝรั่งเศสตั้งฐานทัพถาวรในปี 2552 อนึ่ง สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่ 4 ในตะวันออกกลางที่ประกาศแผนจะสร้างโรงงานนิวเคลียร์ โดยเน้นย้ำจุดยืนว่าตนสนับสนุนสนธิสัญญาการไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ และสนับสนุนให้ตะวันออกกลางปราศจากอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapons of Mass Destruction – WMD)

        - แม้จะมีการขู่จากกลุ่มก่อการร้ายต่างๆ แต่ยังไม่มีการปฏิบัติการก่อการร้ายเกิดขึ้น ขณะที่รัฐประกาศและให้ความมั่นใจว่าประเทศปลอดภัยจากการก่อการร้าย แต่ก็มีการออกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่เป็นเครื่องบ่งชี้ว่ารัฐมีความกังวลต่อความมั่นคงปลอดภัยภายในประเทศ ทั้งนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อยู่ในกลุ่มประเทศที่กลุ่มก่อการร้าย อัลไคดาห์ ได้ประกาศว่าเป็นเป้าหมายในการปฏิบัติการก่อการร้าย เนื่องจากเป็นรัฐที่ร่วมมือให้สหรัฐฯ ใช้ดินแดนของตนเพื่อวัตถุประสงค์ทางการทหาร

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีท่าทีและบทบาทในเวทีระหว่างประเทศในปัจจุบัน อาทิ

        1) การเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศ (International Renewable Energy Agency) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับการเลือกให้เป็นตั้งสำนักงานใหญ่ขององค์กรพลังงานหมุนเวียนระหว่างประเทศที่รัฐอาบูดาบี เมื่อเดือนมิถุนายน 2552

        2) โครงการปรมาณูของอิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีนโยบายต่อต้านการแพร่ของอาวุธนิวเคลียร์ในตะวันออกกลาง และการกระทำอื่นๆ ที่จะนำไปสู่ความไร้เสถียรภาพในภูมิภาค โดยหวังว่าอิหร่านจะยึดถือการดำเนินการที่โปร่งใส แต่หวั่นเกรงว่า การพัฒนาปรมาณูดังกล่าวจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม และจะให้การสนับสนุนหากนานาชาติลงมติให้มีมาตรการลงโทษอิหร่าน อย่างไรก็ดี สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เร่งพัฒนาขีดความสามารถด้านการทหารของประเทศอย่างเร่งด่วนในช่วง 2 - 3 ปี ที่ผ่านมา โดยมีการสั่งซื้ออาวุธ เทคโนโลยีทางทหารใหม่ๆ เพื่อใช้ในการป้องกันประเทศ โดยมองว่าอิหร่านมีศักยภาพที่จะเป็นภัยคุกคาม

        3) ข้อพิพาทด้านดินแดนกับอิหร่าน สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ยังมีข้อพิพาทกับอิหร่านในเรื่องอธิปไตยเหนือเกาะ 3 เกาะ คือ Abu Musa, The Greater Tunb และ The Lesser Tunb ซึ่งตั้งอยู่ใกล้บริเวณช่องแคบฮอร์มุซ เคยมีการหยิบยกกรณีดังกล่าวขึ้นในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติในปี 2514 และตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักถือโอกาสการประชุม Arab League และ การประชุมกลุ่มประเทศคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ส่งสัญญาณทางการเมืองไปยังอิหร่านโดยขอให้อิหร่านมีการเจรจาโดยตรงหรือนำข้อพิพาทขึ้นสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการ อย่างไรก็ดี การที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน และมีความร่วมมือกับอิหร่านในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติแสดงให้เห็นว่าสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์แยกแยะประเด็นการเมืองและเศรษฐกิจออกจากกันเมื่อคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของชาติ





        เศรษฐกิจการค้า



        ข้อมูลเศรษฐกิจ (2551)

        ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ 221.976 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

        รายได้ประชาชาติต่อหัว 39,639 ดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2551)

        การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 7.7 (ปี 2551)

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประเทศที่ร่ำรวยด้วยทรัพยากรพลังงาน เป็นหนึ่งในประเทศที่มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในภูมิภาค และอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความก้าวหน้าในการพัฒนาเศรษฐกิจมากที่สุดของโลกโดยการจัดลำดับของ World Economic Forum มีน้ำมันดิบสำรองประมาณร้อยละ 10 ของโลก รายได้จากการส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 30 ของ GDP และมีก๊าซธรรมชาติสำรองเป็นลำดับที่ 4 ของโลก รองจากรัสเซีย อิหร่านและกาตาร์ สภาพที่ตั้งอยู่ระหว่างภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และแอฟริกา จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเฉพาะรัฐดูไบเป็นศูนย์กลางการค้า ในตะวันออกกลางและเป็นแหล่งขนถ่ายและส่งต่อสินค้าไปยังประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค เช่น อิหร่าน รวมทั้งส่งออกไปยังตลาดนอกภูมิภาค ได้แก่ แอฟริกา เอเชียกลาง และยุโรป ปัจจุบันมีท่าเรือ 9 แห่ง (รัฐละ 1 แห่ง) ยกเว้นรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบีมีรัฐละ 2 แห่ง ท่าเรือทั้งหมดรองรับสินค้าประมาณ 30 ล้านตันต่อปี (ไม่รวมน้ำมันดิบ)

        - รายได้หลักของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ขึ้นอยู่กับน้ำมันปิโตรเลียมและก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างรายได้จากการพัฒนาธุรกิจภาคที่ไม่ใช่น้ำมันอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะรัฐดูไบซึ่งมีมูลค่าการค้าต่างประเทศที่ไม่ใช่น้ำมันเพิ่มขึ้นในปี 2549 ถึงร้อยละ 9.15 ดังนั้น รัฐบาลปัจจุบันจึงให้ความสำคัญกับนโยบายการพัฒนาเพื่อขยายฐานทางเศรษฐกิจ (diversification) เพื่อเพิ่มรายได้โดยไม่ต้องพึ่งรายได้จากน้ำมันเพียงอย่างเดียว และพยายามส่งเสริมการค้าการลงทุน รวมทั้งสนับสนุนให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในเขตเศรษฐกิจเสรี (Economic Free Zone) ทั้งในรูปการลงทุนในอุตสาหกรรมการผลิต และการใช้สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นฐานการกระจายสินค้า

        - ยุทธศาสตร์ของรัฐอาบูดาบี เน้นการพัฒนาด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะเคมีภัณฑ์อุตสาหกรรมปลายน้ำ (downstream) ของกระบวนการผลิตน้ำมัน และอุตสาหกรรมการหลอมอะลูมิเนียม หน่วยงานดูแลการลงทุนในต่างประเทศของรัฐเน้นเลือกการลงทุนในโครงการที่ก่อผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะการลงทุนร่วมกับบริษัทต่างชาติในโครงการที่มีอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อนึ่ง ผู้นำรัฐรุ่นใหม่มีการริเริ่มโครงการเศรษฐกิจใหม่ ๆ และสนับสนุนเพื่อสร้างให้รัฐเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศูนย์กลางการศึกษา อาทิ มีโครงการสร้างสาขาของพิพิธภัณฑ์ลุฟของฝรั่งเศส เป็นต้น

        - การพัฒนาของรัฐดูไบนับจากทศวรรษที่ 1980 เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่มีการพัฒนา
        อย่างรวดเร็วมาก โดยเฉพาะการทำให้ดูไบเป็นศูนย์กลางคมนาคมทั้งทางทะเลและทางอากาศ การเป็นศูนย์กลางการค้าและการส่งออกต่อ รวมทั้งศูนย์กลางการเงิน โดยมีเงินทุนจำนวนมากไหลเข้าไปในภาคอสังหาริมทรัพย์และสถาบันการเงินในดูไบ ดังจะเห็นได้จากการที่ดูไบเปิดตลาดหุ้นในปี คศ 2004 และสามารถกลายมาเป็นเป็นศูนย์กลางการเงินได้ในเวลาเพียง 5 ปี ตลาดหุ้นดูไบถือหุ้นในตลาดหุ้นลอนดอนร้อยละ 20 และใน NAZDAQ และการที่มีเงินไหลเข้ามาจำนวนมากจึงนำไปลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และลงทุนในต่างประเทศ เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในสหรัฐอเมริกาในปี 2551 เศรษฐกิจดูไบก็ได้รับผลกระทบเป็นลูกโซ่ ในปี 2552 ปรากฎมีโครงการก่อสร้างต่างๆ ที่ยังไม่แล้วเสร็จกว่าร้อยละ 40 ต้องหยุดชะงักไป โครงการอสังหาริมทรัพย์ถึง 400 โครงการ มูลค่าประมาณ 300 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ยังขายไม่ได้ นอกจากนี้ การลงทุนของดูไบในต่างประเทศก็ต้องชะงักลง

        - นับตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ รัฐอาบูดาบีและรัฐดูไบมีการแข่งขันกันอยู่ในทีและมีการต่อรองการอยู่ร่วมกันมาโดยตลอด ความสำคัญของอาบูดาบีเกิดจากการมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและครอบคลุมแหล่งน้ำมันร้อยละ 94 แหล่งก๊าซธรรมชาติร้อยละ 93 และการเป็นรัฐผู้สนับสนุนงบประมาณของสหพันธรัฐเป็นสัดส่วนสูงสุด ขณะที่ดูไบ มีการผลิตน้ำมันประมาณร้อยละ 6 และมีฐานะเป็นศูนย์กลางด้านต่างๆ รวมทั้งการประชุมการจัดการแข่งขันกีฬา และมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ เช่น Dubai World ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่รวมบริษัทขนาดใหญ่ต่างๆ ที่รัฐเป็นเจ้าของเข้าด้วยกัน และเจ้าผู้ครองรัฐซึ่งมีตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร ได้เข้าไปมีบทบาทดำเนินการต่างๆ ในระดับประเทศ อย่างไรก็ตาม ผู้นำรุ่นที่สองของประเทศเห็นว่า บทบาทที่ขีดเส้นว่าอาบูดาบีเป็นเมืองหลวงและดูไบเป็นเมืองพาณิชย์เริ่มชัดเจนน้อยลง โดยผู้นำของรัฐทั้งสองตระหนักว่าจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันเพื่อความอยู่รอดของทั้งสองฝ่าย เมื่อรัฐดูไบประสพภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ รัฐอาบูดาบีเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการประคับประคองเศรษฐกิจของดูไบโดยการช่วยเหลือด้านการเงินและการเข้าถือหุ้นในกิจการของรัฐดูไบ

        - ล่าสุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีโครงการก่อสร้างเมืองเศรษฐกิจใหม่ (New Economic City – NEC) เรียกว่าโครงการ Masdar City ที่รัฐอาบูดาบี มีมูลค่า 15,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ออกแบบตามความต้องการของบริษัทข้ามชาติที่มาร่วมลงทุน โดยนำเงินรายได้มหาศาลจากการส่งออกน้ำมันดิบมาใช้ในการพัฒนา และจะเป็นแหล่งทดลองเทคโนโลยีใหม่ๆ ในภาคพลังงาน เช่น การใช้แสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้า และการกลั่นน้ำทะเล เป็นต้น

        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นสมาชิกในตลาดร่วมศุลกากร (Customs Union) ของคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (Gulf Cooperation Council-GCC) และได้มีการกำหนดให้เพิ่มภาษีศุลกากรสินค้านำเข้าภายในกลุ่ม จากร้อยละ 4 เป็นร้อยละ 5 สำหรับสินค้าทั่วไปและไม่มีภาษีสำหรับสินค้าประเภทอาหาร นอกจากนั้น ยังไม่มีการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีกำไรและภาษีรายได้บุคคล และมีนโยบายให้สามารถนำเงินเข้า-ออกประเทศได้โดยเสรี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการจูงใจให้ต่างชาติเข้ามาทำธุรกิจในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มากขึ้น

        ความร่วมมือเอเชีย (Asia Cooperation Dialogue: ACD) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เข้าร่วมเป็นสมาชิกความร่วมมือเอเชียเมื่อปี 2547 และสนใจที่จะเป็นผู้นำ (Prime Mover) ในด้าน E-Commerce, E-Education, Infrastructure Fund, SMEs, Information Technology Development และ Environmental Education





        ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์



        ความสัมพันธ์กับประเทศไทย

        ความสัมพันธ์ทั่วไป

        ด้านการทูต

        ไทยและสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที 12 ธันวาคม 2518 โดยไทยเปิดสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ เมื่อเดือนมกราคม 2535 และเปิดสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูดาบี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2537 ส่วนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เปิดสถานเอกอัครราชทูตฯ ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนเมษายน 2541

        ด้านการเมือง

        ในรอบปี 2551 มีการเยือนที่สำคัญ ได้แก่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
        (นายนพดล ปัทมะ) และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (นายสันติ พรมภัท) เดินทางเยือนเพื่อเป็นประธานร่วมในการลงนาม Letter of Intent เกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้สำหรับโครงการSouthern Land Bridge ของไทยระหว่างผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และนาย Sultan Ahmed Bin Sylayem ประธานบริษัท Dubai World ระหว่างวันที่ 6-7 เมษายน 2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน (นางอุไรวรรณ เทียนทอง) ได้เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้เข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2551 และ ในปี 2552 มีการเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ดังนี้นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางเยือนระหว่าง 4 – 5 มีนาคม 2552 นายชุมพล ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เดินทางเยือนระหว่าง 3 – 9 พฤษภาคม 2552 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเข้าร่วมงาน GASTECH 2009 Conference and Exhibition ระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤษภาคม 2552


        ด้านเศรษฐกิจ
        - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นประตูการค้าของไทยและเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยในตะวันออกกลาง ตั้งแต่ช่วงปี 2541 เป็นต้นมา โดยมีมูลค่าการค้าระหว่างกันในปี 2551 คิดเป็นมูลค่ากว่า 13,942.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 2,793.31 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 11,149.49 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

        - สินค้าส่งออกสำคัญของไทยได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ ผ้าผืน อัญมณีและเครื่องประดับ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สินค้านำเข้าสำคัญจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้แก่ น้ำมันดิบ สินแร่โลหะ เศษโลหะ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องเพชรพลอย อัญมณี เงินและทองคำแท่ง และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

        - ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นอันดับหนึ่งจากกลุ่มประเทศตะวันออกกลางและประเทศอื่นๆ ในโลก โดยคิดเป็นประมาณร้อยละ 30 ของการนำเข้าทั้งหมด ในปี 2551 ไทยนำเข้าน้ำมันดิบจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นมูลค่า 10,548.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ถึงร้อยละ 61.8 ประเทศไทยโดยบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นำเข้าน้ำมันดิบจาก Abu Dhabi National Oil Company (ADNOC) มากเป็นอันดับหนึ่ง โดยมีสัญญาการซื้อขายน้ำมันแบบ G to G ตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมา

        - เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2550 สภาเทศบาลสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้มีมติรับรองตราฮาลาลของสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในการรับรองโรงฆ่าไก่ที่ถูกต้องตามหลักศาสนา และโรงงานแปรรูปเนื้อไก่ในประเทศไทย ซึ่งมติดังกล่าวส่งผลให้ประเทศไทยสามารถส่งออกไก่ต้มสุกฮาลาลไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ และมติรับรองดังกล่าวเป็นการเปิดโอกาสสำหรับสินค้าฮาลาลไทยในตะวันออกกลาง เนื่องจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นศูนย์ส่งออกต่อฮาลาลที่สำคัญที่สุดในภูมิภาคไปยังประเทศอื่นๆ ในตะวันออกกลาง แอฟริกา และกลุ่มประเทศ CIS

        - ภาคเอกชนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เช่น

        (ก) Jumeirah Group ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ Dubai Holdings เข้าบริหาร Jumeirah
        Phuket Private Island Resort ที่ เกาะแรดในบริเวณอ่าวปอ จังหวัดภูเก็ต

        (ข) กลุ่ม Dubai Holdings ได้ซื้อหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 800 ล้านหุ้น หรือ ร้อยละ 15 จากบริษัท ธนายง

        (ค) กลุ่ม Dubai World ได้ ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรเรื่องการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่า เพื่อสนับสนุนการศึกษาความเป็นไปได้โครงการ Southern Land Bridge นอกจากนี้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีการร่วมทุนกับบริษัทไทย เช่น บริษัทผลิตพรม (ไทปิง) เป็นต้น ขณะที่ภาคเอกชนไทยยังเข้าไปลงทุนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์น้อยราย แต่ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ภาคการบริการทางการแพทย์ เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ โรงพยาบาลกรุงเทพ และภาคการก่อสร้าง เช่น บริษัทอิตัล-ไทย ได้เริ่มเข้าไปลงทุนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบริษัทเอกชนรายใหญ่ เช่น บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ และบริษัทสยามซีเมนต์ ได้เข้าไปมีบริษัทตัวแทนในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อย่างไรก็ตามปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจดูไบน่าจะก่อผลกระทบต่อภาคธุรกิจกก่อสร้างของไทยในรัฐดูไบและโครงการ Southern Land Bridge



        ความสัมพันธ์ทางสังคมและวัฒนธรรม
        ด้านการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เดินทางมาไทยมากเป็นอันดับสองของภูมิภาคตะวันออกกลาง (รองจากอิสราเอล) มีจำนวนถึง 87,939 คน ในปี 2551 โดยนักท่องเที่ยวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์จำนวนมากนิยมเดินทางมาตรวจสุขภาพและรักษาพยาบาลในไทยทุกปี เนื่องจากค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าประเทศในยุโรป และมักใช้โอกาสเดินทางมาพักผ่อนด้วย โดยสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ส่งเจ้าหน้าที่มาประจำการที่สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ประจำประเทศไทย เพื่ออำนวยความสะดวกผู้ป่วยที่รัฐส่งมารับการรักษาพยาบาล สำหรับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยเฉพาะเมืองดูไบเป็นเมืองที่ได้รับความนิยมจากคนไทยเดินทางไปท่องเที่ยวเป็นอันดับหนึ่งในตะวันออกกลาง

        ด้านแรงงาน ปัจจุบัน มีคนไทยอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ประมาณ 12,000 คน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานฝีมือ และทำงานในภาคอุตสาหกรรม ปิโตรเคมี ธุรกิจบริการ และธุรกิจก่อสร้าง ส่วนมากทำงานในรัฐดูไบและรัฐอาบูดาบี ทั้งนี้ วิกฤติเศรษฐกิจดูไบทำให้ความต้องการแรงงานไทยในดูไบลดลง ขณะที่การขยายโครงการก่อสร้างในรัฐอาบูดาบีทำให้ความต้องการแรงงานเพิ่มมากขึ้น มีผลให้แรงงานไ ทยในยูเออีโดยรวมไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก


        ปัญหาและอุปสรรคทางการค้า
        -ปัจจุบันสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจบริการที่เป็นข้อจำกัดของการเข้าสู่ตลาด ได้แก่ (1) มาตรการจำกัดสัดส่วนการถือหุ้นของชาวต่างชาติได้ไม่เกินร้อยละ 49 (2) การทำธุรกิจทุกชนิดต้องมีชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นผู้อุปถัมภ์ (local sponsor) กล่าวคือเป็นเจ้าของทะเบียนการค้า (trade license) โดยชาวต่างชาติที่ร่วมดำเนินธุรกิจเป็นเพียงผู้บริหารจัดการ โดยต้องจ่ายค่าอุปถัมภ์ในอัตราที่ตกลงกันทุกปี

        -ภาคเอกชนไทยบางส่วนยังรู้สึกไม่คุ้นเคยและขาดข้อมูล อีกทั้งความแตกต่างด้านวัฒนธรรม สังคม ประเพณี และธุรกิจการค้า ทำให้ขาดแรงจูงใจที่จะเข้าไปทำการค้าในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และโดยที่ชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มักปล่อยให้การบริหารจัดการบริษัทเป็นหน้าที่ของชาวต่างชาติ โดยเฉพาะผู้จัดการฝ่ายต่างๆ จึงมักจะยินดีที่จะทำธุรกิจกับบริษัทที่บริหารโดยชนชาติเดียวกับตนเป็นลำดับแรก อาทิ อินเดีย ปากีสถาน อียิปต์ ดังนั้น หากฝ่ายไทยไม่สามารถเข้าถึงผู้ถือหุ้นใหญ่หรือเจ้าของกิจการที่เป็นชาวสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ โอกาสที่ไทยจะเจาะตลาดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ย่อมมีน้อยลง

        - นอกจากนี้ แม้สินค้าของไทยจะมีคุณภาพดี แต่ภาพลักษณ์ของสินค้าไทยในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อยู่ในระดับเดียวกับสินค้าจากจีนและอินเดีย ดังนั้น สินค้าไทยที่มีคุณภาพสูงกว่าและราคาสูงกว่า จึงอาจพบข้อจำกัดในการเข้าไปแข่งขันในตลาดของประเทศนี้ สำหรับสินค้าเกษตร คู่แข่งสำคัญคือ ซาอุดีอาระเบีย อิหร่าน อินเดีย และปากีสถาน


        ความตกลงที่สำคัญๆกับไทย
        - ความตกลงว่าด้วยการบริการเดินอากาศระหว่างกัน ลงนามเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2533

        - ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการเก็บภาษีซ้อน ลงนามเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 และมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2543

        - ความตกลงเพื่อส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน ซึ่งสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ส่งร่างฯ ให้ฝ่ายไทยพิจารณาเมื่อปี 2547 และอยู่ในระหว่างการเจรจา

        - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และวิชาการ ลงนามเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2550 และมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2551

        - ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราผู้ที่ถือหนังสือเดินทางทูตและราชการ ซึ่งฝ่ายไทยเสนอร่างฯ ให้ฝ่ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พิจารณา เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2548 และอยู่ในระหว่างการเจรจา

        - บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน ลงนามเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2550

        - ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคง ลงนามย่อเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2552

        - กรมสุขภาพสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจกับโรงพยาบาลกรุงเทพ ในเดือนสิงหาคม 2547 เป็นส่วนหนึ่งของแผนการพัฒนาบริการทางการแพทย์ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยกรมสุขภาพฯ จะส่งผู้ป่วยไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลกรุงเทพ และบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนความร่วมมือและผู้เชี่ยวชาญระหว่างกัน

        - The Emirates Securities and Commodities Authority (ESCA) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจด้านความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2550

        - บันทึกความเข้าใจระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร กระทรวงคมนาคม และบริษัทดูไบ เวิลด์ 2551 ว่าด้วยการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิลด์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือ ฝั่งอ่าวไทย ลงนามเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551


        การแลกเปลี่ยนการเยือน

        ฝ่ายไทย

        พระราชวงศ์

        สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
        - วันที่ 1 - 2 มิถุนายน 2550 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 25 - 26 กรกฎาคม 2550 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 8 - 9 กันยายน 2550 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 20 - 21 ตุลาคม 2550 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 4 มีนาคม 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 13 - 14 มีนาคม 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 1 มิถุนายน 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่าง ทรงทำการบิน
        - วันที่ 31 กรกฎาคม 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการบิน
        - วันที่ 4 - 10 สิงหาคม 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 1 - 2 กันยายน 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 24 – 25 กันยายน 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 7 – 9 ตุลาคม 2551 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 30 – 31 พฤษภาคม 2552 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 29 – 30 มิถุนายน 2552 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 15 – 16 สิงหาคม 2552 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่างทรงทำการฝึกบิน
        - วันที่ 23 กันยายน 2552 เสด็จฯ แวะพักที่เมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ระหว่าง
        ทรงทำการฝึกบิน

        สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
        - วันที่ 25 เมษายน 2551 เสด็จฯ เยือนเมืองดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นการส่วนพระองค์ ภายหลังจากทรงเข้าร่วมการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 11 ที่สาธารณรัฐกานา

        สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์
        - วันที่ 11-15 มีนาคม 2541 เสด็จฯ เยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เป็นการส่วนพระองค์


        รัฐบาล
        รองนายกรัฐมนตรี
        - วันที่ 20 พฤศจิกายน 2548 ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้เข้าเฝ้าและหารือข้อราชการกับ Sheikh Hamdan bin Zayed Al Nahyan รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีแห่งรัฐ ด้านการต่างประเทศ

        รัฐมนตรี

        - เดือนธันวาคม 2523 นายวิศิษฐ์ ตันสัจจา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางเยือนซาอุดีอาระเบีย อียิปต์ คูเวต โอมาน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 5 กรกฎาคม 2530 นายเฉลียว วัชรพุกก์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างไทยกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมทั้งเยี่ยมคนงานไทย

        - วันที่ 7 - 8 พฤษภาคม 2534 ม.ร.ว. เกษมสโมสร เกษมศรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เดินทางเยือนดูไบ เพื่อศึกษาแนวทางในการสร้างความสัมพันธ์

        - วันที่ 15 - 19 ตุลาคม 2536 ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง การต่างประเทศ นำคณะผู้แทนและนักธุรกิจเยือนดูไบ เพื่อขยายลู่ทางความร่วมมือด้านการค้าการลงทุน และการท่องเที่ยว

        - วันที่ 6 - 8 มีนาคม 2540 นายเกียรติชัย ชัยเชาวรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวง มหาดไทย นำคณะเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อดูงานด้านกิจการไฟฟ้า

        - วันที่ 8 - 9 พฤษภาคม 2540 นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมนำคณะเดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อศึกษาดูงานระบบงานศาล

        - เดือนมิถุนายน 2541 ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ

        - วันที่ 15 - 16 กุมภาพันธ์ 2547 ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงว่าการต่างประเทศ เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ

        - วันที่ 9 - 10 เมษายน 2547 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และคณะ เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์อย่างเป็นทางการ

        - วันที่ 25 มิถุนายน 2548 นายปรีชา เลาหพงศ์ชนะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปศึกษาลู่ทางการค้าการลงทุนของไทย ณ เมืองดูไบ

        - วันที่ 27 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2549 นายอนุทิน ชาญวีระกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพบหารือกับ H.E. Humaid Mohamed Al Qutami รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 2 กรกฎาคม 2549 นายวิเศษ จูภิบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพบหารือกับ H.E. Mohammad bin Dhaen Al Hamli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 8 - 9 กุมภาพันธ์ 2550 ดร.ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพบหารือกับ H.E. Mohammad bin Dhaen Al Hamli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 22 – 24 เมษายน 2550 นายนิตย์ พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพบหารือกับ H.H. Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan มกุฎราชกุมารแห่งรัฐอาบูดาบี H.H. Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum รองประธานาธิบดี นายกรัฐมนตรี และเจ้าผู้ครองรัฐดูไบ และ H.H. Sheikh Abdullah bin Zayed Al Nahyan รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 6 – 7 เมษายน 2551 นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อพบหารือกับนักธุรกิจสำคัญของดูไบ และร่วมหารือเกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจการให้ความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากบริษัท ดูไบ เวิลด์ เพื่อศึกษาความเหมาะสมแนวทางการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามันและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมโยงท่าเรือฝั่งอ่าวไทย (โครงการ Southern Land Bridge)

        - วันที่ 5 – 9 พฤษภาคม 2551 นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อเป็นประธานเปิดสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยประจำเมืองดูไบ

        - วันที่ 19 พฤษภาคม 2551 นางอุไรวรรณ เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เดินทางเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์และได้เข้าพบหารือกับ H.E. Mr. Saqr Ghobash Saeed Ghobash รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยี่ยมเยียนแรงงานไทย

        - วันที่ 4 – 5 มีนาคม 2552 นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ นำคณะภาครัฐและเอกชนด้านธุรกิจเยือนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และได้พบหารือกับนาย Mohammed Ahmed bin Abdul Aziz Shihhi ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        - วันที่ 3 – 9 พฤษภาคม 2552 นายชุมพล ศิลปะอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยว เดินทางเยือนเพื่อเปิด Thailand Stand ในงาน Arabian Travel Market และได้เข้าเฝ้า Sheikh Ahmed bin Saeed Al Maktoum รองประธานสภาบริหารแห่งรัฐดูไบ และประธาน Emirates Group และ Dubai Civil Aviation Authority

        - วันที่ 24 – 26 พฤษภาคม 2552 นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเดินทางเยือนเพื่อเข้าร่วมงาน GASTECH 2009 Conference and Exhibition


        ฝ่ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
        พระราชวงศ์

        - ปี 2546 H.H. Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan รองมกุฎราชกุมารรัฐอาบูดาบีเสด็จเยือนไทยเป็นการส่วนพระองค์

        - วันที่ 12 - 13 มิถุนายน 2549 H.H. Sheikh Mohammed bin Zayed Al Nahyan มกุฎราชกุมารรัฐอาบูดาบี และรองผู้บัญชาการทหารสูงสุดสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เสด็จฯ ร่วมพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

        - เดือนมีนาคม 2552 H.H. Sheikh Hamdan bin Sayed Al Nahyan อดีตรองนายกรัฐมนตรี และพระอนุชาของประธานาธิบดีสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ได้เสด็จเยือนประเทศไทยเป็นการส่วนพระองค์

        รัฐบาล

        รัฐมนตรี
        - เดือนพฤษภาคม 2520 H.E. Sheikh Ahmed Khalifa Al Suweidi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ H.H. Sheikh Hamdan bin Rashid Al Maktoum รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและอุตสาหกรรม และ H.E. Mr. Moma Saeed Al Oteiba รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการปิโตรเลียมและทรัพยากรเดินทางเยือนไทยตามคำเชิญของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
        - เดือนกุมภาพันธ์ 2543 H.H. Sheikh Fahim bin Sultan Al Qassimi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจและการค้า เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ร่วมการประชุมแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNCTAD) ครั้งที่ 10 ที่กรุงเทพฯ และได้หารือทวิภาคีกับ ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
        - วันที่ 21 - 23 มีนาคม 2550 H.E. Mohammad bin Dhaen Al Hamli รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เยือนไทยเพื่อร่วมงาน Asian Energy Dialogue
        - วันที่ 30 ตุลาคม – 3 พฤศจิกายน 2550 H.E. Dr. Ali bin Abdullah Al Gaabi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เยือนไทยเพื่อร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านแรงงาน

        Royal Thai Embassy
        East 18/1, District 80, Al Murror Road,
        4th Street,Oppcrsitc Al Falah Plaza,
        P.O, Box,47466, Abu Dhabi
        Tel. (971-2) 6421772
        Fax. (971-2) 6421773
        E-mail : thaiauh@emirates.net.ae

        ฝ่ายสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

        The Embassy of the United Arab Emirates
        82 Saeng Thong Thani Bldg., 25th Fl.,
        North Sathorn Road,
        Bangkok 10500
        Tel: 0-2639-9820-4
        Fax: 0-2639-9818
        Consular Fax: 0-2639-9800
        ที่มา : กองตะวันออกกลาง กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา


        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube



        วิดีโอ YouTube





        วิดีโอ YouTube











        United Arab Emirates



        The United Arab Emirates ( Listeni/juˌntɪd ˌærəb ˈɛmɪrɨts/, Arabic: دولة الإمارات العربية المتحدةAl Imārāt al ‘Arabīyah al Muttaḥidah), often abbreviated as UAE or shortened to The Emirates (Arabic: الاماراتAl Imārāt), is a country situated in the southeast of the Arabian Peninsula in Southwest Asia on the Persian Gulf, bordering Oman and Saudi Arabia and sharing sea borders with Iraq, Kuwait, Bahrain, Qatar and Iran.
        Termed emirates because they are ruled by emirs, they are Abu Dhabi, Ajman, Dubai, Fujairah, Ras al-Khaimah, Sharjah and Umm al-Quwain. The capital is Abu Dhabi, which is also the country's center of political, industrial and cultural activities.
        Before 1971, the UAE was known as the Trucial States or Trucial Oman, in reference to a 19th-century truce between the United Kingdom and several Arab Sheikhs. The name Pirate Coast was also used in reference to the area's emirates from the 18th to the early 20th century.
        The UAE's political system, based on its 1971 Constitution, is composed of several intricately connected governing bodies. Islam is the official religion, and Arabic is the official language.
        Its oil reserves are ranked as the world's sixth-largest and the UAE possesses one of the most-developed economies in West Asia. It is the thirty-fifth-largest economy at market exchange rates, and has a high per capita gross domestic product (GDP), with a nominal per capita GDP of US$47,407 as per the International Monetary Fund (IMF). It is 15th in purchasing power per capita and has a relatively high Human Development Index for the Asian continent, ranking thirty-second globally. The UAE is classified as a high-income developing economy by the IMF.
        Although the UAE has a constitution and a president, it is neither a constitutional monarchy nor a republic. It is a federation of seven monarchies, whose rulers retain absolute power within their emirates. The emirs chose one of their number to be the president of the federation, but this does not alter the monarchical character of the government of the emirates. The constitution is concerned solely with the relations between the emirates as members of the federation, and does not prescribe a constitutional system of government.
        The UAE is a founding member of the Cooperation Council for the Arab States of the Gulf, and a member state of the Arab League. It is also a member of the United Nations, the Organisation of Islamic Cooperation, OPEC, and the World Trade Organization.




        History


        The earliest known human habitation in the UAE dated from 5500 BCE. At this early stage, there is proof of interaction with the outside world, particularly with civilizations to the north in Persia. These contacts persisted and became wide-ranging, probably motivated by trade in copper from the Hajar Mountains, which commenced around 3000 BCE. Foreign trade, the recurring motif in the history of this strategic region, flourished also in later periods, facilitated by the domestication of the camel at the end of the second millennium BC.
        By the 1st century AD overland caravan traffic between Syria and cities in southern Iraq began. Also, there was seaborne travel to the important port of Omana (perhaps present-day Umm al-Qaiwain) and then to India. These routes were an alternative to the Red Sea route used by the Romans. Pearls had been exploited in the area for millennia but at this time the trade reached new heights. Seafaring was also a mainstay and major fairs were held at Dibba, bringing in merchants from as far as China.

        Advent of Islam

        The arrival of envoys from the Islamic prophet Muhammad in 630 heralded the conversion of the region to Islam. After Muhammad, one of the major battles of the Ridda Wars was fought at Dibba resulting in the defeat of the non-Muslims and the triumph of Islam in the Arabian Peninsula.
        In 637, Julfar (today Ra's al-Khaimah) was used as a staging post for the conquest of Iran. Over many centuries, Julfar became a wealthy port and pearling center from which dhows travelled throughout the Indian Ocean especially to neighboring land of Sindh and its cities of Thatta and Debal.

        Portuguese control

        Portuguese expansion into the Indian Ocean in the early 16th century following Vasco da Gama's route of exploration saw them battle Safavid Persia up the coast of the Persian Gulf. The Portuguese controlled the area for 150 years, in which they conquered the inhabitants of the Arabian Peninsula. Vasco da Gama was helped by Ahmad Ibn Majid, a navigator and cartographer from Julfar, to find the spice route from Asia.

        European domination


        During the 16th century, piecemeal, the entire territory of the nation came under the direct influence of the European colonial empires, with the British eventually getting the upper hand. The region was known to the British as the "Pirate Coast", as raiders based there harassed the shipping industry despite both European and Arab navies patrolling the area from the 17th century into the 19th. British expeditions to protect the Indian trade from raiders at Ras al-Khaimah led to campaigns against that headquarters and other harbours along the coast in 1819. The next year, a peace treaty was signed to which all the sheikhs of the coast adhered. Raids continued intermittently until 1835, when the sheikhs agreed not to engage in hostilities at sea. In 1853, they signed a treaty with the British, under which the sheikhs (the "Trucial Sheikhdoms") agreed to a "perpetual maritime truce." It was enforced by the United Kingdom, and disputes among sheikhs were referred to the British for settlement.

        Primarily in reaction to the ambitions of other European countries, the United Kingdom and the Trucial Sheikhdoms established closer bonds in an 1892 treaty, similar to treaties entered into by Britain with other Persian Gulf principalities. The sheikhs agreed not to dispose of any territory except to Britain and not to enter into relationships with any foreign government other than the United Kingdom without its consent. In return, the British promised to protect the Trucial Coast from all aggression by sea and to help in case of land attack. British suppression of piracy meant that pearling fleets could operate in relative security. However, the British prohibition of the slave trade meant an important source of income was lost to some sheikhs and merchants.

        Pearling industry


        During the 19th and early 20th centuries, the pearling industry thrived in the relative calm sea, providing both income and employment to the people of the Persian Gulf. It began to become a good economic resource for the local people. Then the First World War had a severe impact on the pearl fishery, but it was the economic depression of the late 1920s and early 1930s, coupled with the Japanese invention of the cultured pearl, that all but destroyed it. The industry eventually faded away shortly after the Second World War, when the newly independent Government of India imposed heavy taxation on pearls imported from the Arab states of the Persian Gulf.
        The decline of pearling resulted in a very difficult era, with little opportunity to build any infrastructure.

        Beginning of the oil era

        At the beginning of the 1960s, the first oil company teams carried out preliminary surveys and the first cargo of crude was exported from Abu Dhabi in 1962. As oil revenues increased, ruler of Abu Dhabi, Zayed bin Sultan Al Nahyan, undertook a massive construction program, building schools, housing, hospitals and roads. When Dubai’s oil exports commenced in 1969, Rashid bin Saeed Al Maktoum, the de facto ruler of Dubai, was also able to use oil revenues to improve the quality of life of his people.
        In 1955, Great Britain sided with Abu Dhabi in the latter's dispute with Oman over the Buraimi Oasis, another territory to the south. A 1974 agreement between Abu Dhabi and Saudi Arabia would have settled the Abu Dhabi-Saudi border dispute; however, the agreement has yet to be ratified by the UAE government and is not recognized by the Saudi government. The border with Oman also remains officially unsettled, but the two governments agreed to delineate the border in May 1999.

        Zayed bin Sultan Al Nahyan and the union

        In the early 1960s, oil was discovered in Abu Dhabi, an event that led to quick unification calls made by UAE sheikdoms. Zayed bin Sultan Al Nahyan became ruler of Abu Dhabi in 1966 and the British started losing their oil investments and contracts to U.S. oil companies. The British had earlier started a development office that helped in some small developments in the emirates. The sheikhs of the emirates then decided to form a council to coordinate matters between them and took over the development office. They formed the Trucial States Council, and appointed Adi Bitar, Sheikh Rashid bin Saeed Al Maktoum's legal advisor, as Secretary General and Legal Advisor to the Council. The council was terminated once the United Arab Emirates was formed.
        In 1968, the United Kingdom announced its decision, reaffirmed in March 1971, to end the treaty relationships with the seven Trucial Sheikhdoms which had been, together with Bahrain and Qatar, under British protection. The nine attempted to form a union of Arab emirates, but by mid-1971 they were still unable to agree on terms of union, even though the British treaty relationship was to expire in December of that year.
        Bahrain became independent in August, and Qatar in September 1971. When the British-Trucial Sheikhdoms treaty expired on December 1, 1971, they became fully independent. The rulers of Abu Dhabi and Dubai decided to form a union between their two emirates independently, prepare a constitution, then call the rulers of the other five emirates to a meeting and offer them the opportunity to join. It was also agreed between the two that the constitution be written by December 2, 1971. On that date, at the Dubai Guesthouse Palace, four other emirates agreed to enter into a union called the United Arab Emirates. Ras al-Khaimah joined later, in early 1972.
        The UAE supported military operations from the United States and other Coalition nations that are engaged in the war against the Taliban in Afghanistan (2001) and Saddam Hussein in Iraq (2003) as well as operations supporting the Global War on Terrorism for the Horn of Africa at Al Dhafra Air Base located outside of Abu Dhabi. The air base also supported Allied operations during the 1991 Persian Gulf War and Operation Northern Watch. The country had already signed a military defense agreement with the U.S. in 1994 and one with France in 1995.
        On 2 November 2004, the UAE's first president, Sheikh Zayed bin Sultan Al Nahyan, passed away. His eldest son, Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan, succeeded as Emir of Abu Dhabi. In accordance with the constitution, the UAE's Supreme Council of Rulers elected Khalifa as president. Sheikh Mohammad bin Zayed Al Nahyan succeeded Khalifa as Crown Prince of Abu Dhabi. In January 2006, Sheikh Maktoum bin Rashid Al Maktoum, the prime minister of the UAE and the ruler of Dubai, died, and the crown prince Sheikh Mohammed bin Rashid Al Maktoum assumed both roles.

        Geography




        The United Arab Emirates is situated in Southwest Asia, bordering the Gulf of Oman and the Persian Gulf, between Oman and Saudi Arabia; it is in a strategic location along southern approaches to the Strait of Hormuz, a vital transit point for world crude oil.


        The UAE lies between 22°30' and 26°10' north latitude and between 51° and 56°25′ east longitude. It shares a 530-kilometer border with Saudi Arabia on the west, south, and southeast, and a 450-kilometer border with Oman on the southeast and northeast. The land border with Qatar in the Khawr al Udayd area is about nineteen kilometers in the northwest; however, it is a source of ongoing dispute. The total area of the UAE is approximately 77,700 square kilometers. The country's exact size is unknown because of disputed claims to several islands in the Persian Gulf, because of the lack of precise information on the size of many of these islands, and because most of its land boundaries, especially with Saudi Arabia, remain undemarcated. Additionally, island disputes with Iran and Qatar remain unresolved.
        The largest emirate, Abu Dhabi, accounts for 87% of the UAE's total area (67,340 square kilometers). The smallest emirate, Ajman, encompasses only 259 square kilometers (see figure).
        The UAE coast stretches for more than 650 kilometers along the southern shore of the Persian Gulf. Most of the coast consists of salt pans that extend far inland. The largest natural harbor is at Dubai, although other ports have been dredged at Abu Dhabi, Sharjah, and elsewhere. Numerous islands are found in the Persian Gulf, and the ownership of some of them has been the subject of international disputes with both Iran and Qatar. The smaller islands, as well as many coral reefs and shifting sandbars, are a menace to navigation. Strong tides and occasional windstorms further complicate ship movements near the shore. The UAE also has a stretch of the Al Bāţinah coast of the Gulf of Oman, although the Musandam Peninsula, the very tip of Arabia by the Strait of Hormuz is an enclave of Oman within the UAE.
        South and west of Abu Dhabi, vast, rolling sand dunes merge into the Rub al-Khali (Empty Quarter) of Saudi Arabia. The desert area of Abu Dhabi includes two important oases with adequate underground water for permanent settlements and cultivation. The extensive Liwa Oasis is in the south near the undefined border with Saudi Arabia. About 100 kilometers to the northeast of Liwa is the Al-Buraimi oasis, which extends on both sides of the Abu Dhabi-Oman border.
        Prior to withdrawing from the area in 1971, Britain delineated the internal borders among the seven emirates in order to preempt territorial disputes that might hamper formation of the federation. In general, the rulers of the emirates accepted the British intervention, but in the case of boundary disputes between Abu Dhabi and Dubai, and also between Dubai and Sharjah, conflicting claims were not resolved until after the UAE became independent. The most complicated borders were in the Al-Hajar al-Gharbi Mountains, where five of the emirates contested jurisdiction over more than a dozen enclaves.

        Flora and fauna



        The oases grow date palms, acacia and eucalyptus trees. In the desert the flora is very sparse and consists of grasses and thornbushes. The indigenous fauna had come close to extinction because of intensive hunting, which has led to a conservation program on Bani Yas island initiated by Sheikh Zayed bin Sultan Al Nahyan in the 1970s, resulting in the survival of, for example, Arabian oryx and leopards. Coastal fish consist mainly of mackerel, perch and tuna, as well as sharks and whales.

        Climate

        The climate of the U.A.E is subtropical-arid with hot summers and warm winters. The hottest months are July and August, when average maximum temperatures reach above 48 °C (118.4 °F) on the coastal plain. In the Al Hajar Mountains, temperatures are considerably lower, a result of increased altitude. Average minimum temperatures in January and February are between 10 and 14 °C (50 and 57.2 °F). During the late summer months, a humid southeastern wind known as Sharqi (i.e. "Easterner") makes the coastal region especially unpleasant. The average annual rainfall in the coastal area is less than 120 mm (4.7 in), but in some mountainous areas annual rainfall often reaches 350 mm (13.8 in). Rain in the coastal region falls in short, torrential bursts during the summer months, sometimes resulting in floods in ordinarily dry wadi beds. The region is prone to occasional, violent dust storms, which can severely reduce visibility. The Jebel Jais mountain cluster in Ras al-Khaimah has experienced snow only twice since records began.

        Government and politics



        The politics of the United Arab Emirates take place in a framework of a federal, presidential, elective monarchy. The UAE is a federation of seven absolute monarchies: the emirates of Abu Dhabi, Ajman, Fujairah, Sharjah, Dubai, Ras al-Khaimah and Umm al-Qaiwain. The President of the United Arab Emirates is its head of state, and the Prime Minister of the United Arab Emirates is its head of government, including foreign affairs, security and defense, nationality and immigration issues, education, public health, currency, postal, telephone and other communications services, air traffic control, licensing of aircraft, labor relations, banking, delimitation of territorial waters and extradition of criminals. All responsibilities not granted to the national government are reserved to the emirates.
        The UAE government comprises three branches: the executive, legislature, and judiciary. The executive branch consists of the President, Vice President, Prime Minister, Federal Supreme Council, and a Council of Ministers (the cabinet). The Federal Supreme Council is composed of the emirs of the seven emirates. It elects the president, vice president, members of the Council of Ministers, and judges of the Federal Supreme Court. The Supreme Council also formulates government policy, proposes and ratifies national laws, and ratifies treaties.
        Although elected by the Supreme Council, the president and prime minister are essentially hereditary. The emir of Abu Dhabi holds the presidency, and the emir of Dubai is prime minister. All but one prime minister served concurrently as vice president. The political influences and financial obligations of the emirates are reflected by their respective positions in the federal government. While each emirate still retains autonomy over its own territory, a percentage of its revenue is allocated to the UAE’s central budget.
        Sheikh Zayed bin Sultan Al Nahyan was the UAE's president from the nation's founding until his death on November 2, 2004. On the following day the Federal Supreme Council elected his son, Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan, to the post. Abu Dhabi's crown prince, Mohammed bin Zayed Al Nahyan, is the heir apparent.
        The legislature is the Federal National Council (FNC), which consists of 40 members drawn from all the emirates. Half are appointed by the rulers of the constituent emirates, and the other half are indirectly elected to serve two-year terms. The first indirect elections took place in 2006, and the goal is a wholly elected council. The council carries out the country’s main consultative duties and has both a legislative and supervisory role provided by the constitution. The council scrutinizes and amends proposed legislation, but cannot prevent it from becoming law. The main tasks of the FNC are:
        • Discussing constitutional amendments and draft laws, which may be approved, amended or rejected
        • Reviewing the annual draft budget of the federation
        • Debating international treaties and conventions
        • Influencing the Government’s work through the channels of discussion, question and answer sessions, recommendations and following up on complaints
        A constitutionally independent judiciary includes the Federal Supreme Court. However, Dubai and Ras al-Khaimah do not belong to the national judiciary. All emirates have their own secular and Islamic law for civil, criminal, and high courts.
        In parallel to the economic developments of the UAE, the country's leaders have also initiated political reforms in order to further develop the political institutions. The political modernization process was envisaged in three stages: first, conduct elections to elect half the FNC members through an Electoral College; second expand the powers of the FNC and increase the number of FNC members, which would require extensive constitutional studies and possible modifications, at the end of which the political institution would be a more enabled body; and finally, an open election for half the council.
        The purpose of the elections was to expand political participation and develop a culture of government reform. The limited scope of participation was conditioned by three reasons: (1) the country not having an electoral tradition, (2) the prevailing political tension and instability in the region meaning that there was no scope for error, and (3) elections in the region having proved to potentially be divisive affairs, based on sectarian and religious issues, which the UAE wanted to avoid.
        In December 2008, the Supreme Council approved constitutional amendments both to empower the FNC and to enhance government transparency and accountability.

        United Arab Emirates Government

        The United Arab Emirates (UAE) eGovernment is the extension of the UAE Federal Government in its electronic form. The UAE eGovernment enables convenient access to government information and services through innovative and customer-friendly delivery channels and streamlines the processes for quality and timely government service delivery. The UAE eGovernment engages modern tools in Information and Communication Technology to actively connect with its wide base of users from within the UAE and beyond. The setting up of the UAE eGovernment is a major step towards modernisation and upgradation of government functioning as it brings about a cost-effective, eco-friendly, transparent and participative government.

        Law



        When contrasted with other Arab states, such as Saudi Arabia for instance, the UAE has comparatively very liberal laws. The country has a civil law jurisdiction. However, Shari'a or Islamic law is applied to aspects of family law, inheritance and certain criminal acts. Women can drive in the UAE and there is a strong emphasis in equality and human rights brought by the UAE's National Human Rights Committee.
        A federal court system applies to all emirates except Dubai and Ras Al Khaimah, which are not fully integrated into the federal judicial system. All emirates have secular courts to rule about criminal, civil, and commercial matters, and Islamic courts to review family and religious disputes.
        The country has undergone a period of liberalization and modernisation during the reign of Sheikh Zayed bin Sultan Al Nahyan. The laws of the UAE tolerate alcohol to a certain extent. However, public bars and nightclubs in the UAE operate mainly in hotels and clubs, much like in Qatar, although some do operate independently.
        In the UAE the establishment of the Civil and Criminal Courts resulted in diminishing the role of the Sharia Courts. Nevertheless, the competence of the Sharia Courts in some emirates, particularly Abu Dhabi, was substantially expanded later on to include, in addition to matters of personal status, all types of civil and commercial disputes as well as serious criminal offences. Therefore, in addition to the Civil Courts, each of the seven emirates maintains a parallel system of Sharia Courts which are organised and supervised locally.
        Civil cases may also be tried under Sharia courts with one exception: Shi'ite Muslims may try such cases in their own courts. Other civil proceedings include those involving claims against the government and enforcement of foreign judgments. Live-in relationships are illegal in all emirates including Dubai where there have been numerous arrests of couples that have lived together, and even have visited the city together.

        Human rights and social development

        Human rights are legally protected by the Constitution of the United Arab Emirates, which confers equality, liberty, rule of law, presumption of innocence in legal procedures, inviolability of the home, freedom of movement, freedom of opinion and speech, freedom of communication, freedom of religion, freedom of council and association, freedom of occupation, freedom to be elected to office and others onto all citizens, within the limit of the law.
        Because of the rapid development of the UAE from a traditional, homogeneous society in the mid-20th century to a modern, multicultural one at the beginning of the 21st century, the concurrent development of legal provisions and the practical enforcement of existing laws has been challenging and, in consequence, problems exist mainly in regard to human rights of non-citizens, who make up around 80% of the population. Main issues include companies' and employers' non-compliance with labor laws.
        Many expatriate workers, mostly of South Asian origin, have after their arrival in the UAE been turned into debt-ridden de facto indentured servants. Confiscation of passports, although illegal, occurs on a large scale, primarily of unskilled or semi-skilled employees.
        The UAE's system of employment for non-citizens ties an employee to the employer and prevents him or her from seeking alternative employment without the express approval of the original employer. Also, non-payment of wages, cramped and unsanitary living conditions and poor safety practices are widespread and have been the subject of foreign media attention.
        In order to institutionalize the fight against human trafficking, including that of expatriate workers for blue collar jobs, the UAE government has devised a four-pillar strategy: (1) legislation, (2) enforcement (3) victim support, and (4) bilateral agreements and international cooperation. In 2007 the National Committee to Combat Human Trafficking was established, which serves as a coordinating agency. The UAE has ratified the United Nations Protocol to Prevent, Suppress and Punish Trafficking in Persons, especially Women and Children (Palermo Protocol).
        The victim support program includes protection, counseling and rehabilitation. Police departments and non-Government organizations provide shelter and support for human trafficking victims until they are able to acquire the right documents and many victims are then sent home at the Government’s expense, under the Crime Victim Assistance Programme. These shelters include the Dubai Women's and Children's Foundation, which was established in July 2007, and Ewaa in Abu Dhabi, which opened in late 2008, as well as the Human Rights Care Department in Dubai and the Social Support Centre in Abu Dhabi, which have been operating for several years.
        The issue of sexual abuse among female domestic servants is an area of concern, particularly given that domestic servants are not covered by the UAE Labor Law of 1980 or the Draft Labor Law of 2007. Worker protests have been cracked down on. Until today, the government has not allowed for trade unions to form despite having promised to do so since 2004.
        As Sharia prohibits sodomy, homosexual relationships are not commonly disclosed. The UAE is much more moderate on homosexual punishment than many of its neighbors. The death penalty is never implemented for homosexuality, and rarely life imprisonment. Foreigners generally receive deportation, which is sometimes temporary. Prospective foreign employees infected with Hepatitis, Tuberculosis, or HIV will not be given work visas and have to leave the country. There is, however, no screening of tourists.
        The UAE authorities on the federal and local level have instituted a number of mechanisms and policies to improve the protection of human rights. For example, in 2004, the Dubai police opened designated departments in all emirate police stations that are mandated to protect the human rights of both victims and perpetrators of crime.
        UN rapporteurs – one on the sale of children, child prostitution and child pornography, and the other on contemporary forms of racism, racial discrimination, xenophobia and related intolerance – visited the UAE separately and held discussions with various ministries, civil society organizations, academics and ordinary citizens. Commending the Government’s ‘cooperation and openness’, a preliminary report of the rapporteur on racism said: "The recent review of the UAE by the Committee on the Elimination of Racial Discrimination and by the Universal Periodic Review of the Human Rights Council demonstrates that the authorities are willing to find ways and means of addressing human rights challenges faced by the people in the UAE and to ensure compliance with international human rights standards."
        Efforts are under way to promulgate a draft national law for better protection of children, in line with the Convention on the Rights of the Child. The proposed law provides for the establishment of a hotline to respond to children's problems and encourages the establishment of associations or clubs specializing in child affairs, as well as calling for the appointment of a special judge to handle cases related to children.
        The UAE National Human Rights Report, prepared by a committee comprising representatives from various ministries and government institutions, with the participation of representatives from civil society and non-governmental organizations (NGOs), and presented to the UN Human Rights Council on 4 December 2008 outlines efforts in the field of human rights observance and listed challenges facing the country, such as the following:
        • Providing more mechanisms to protect human rights, keeping up with national and international developments, and updating laws and systems
        • Meeting the state's expectations with regards to building national capabilities and deepening efforts for education on human rights and basic freedoms through a national plan
        • Striving to regulate the relationship between employers and workers in framework that preserves dignity and rights, and is in harmony with international standards, especially with regard to domestic help
        • Increasing the empowerment of women's role in society, increasing opportunities for involvement in a number of fields based on their skills and abilities
        • Working to confront human trafficking crimes by reviewing the best international practices in the field, working to update and improve the state's legislature in accordance with international standards, working to establish institutions and agencies to confront human trafficking crimes, and working to support the foundations of international cooperation with international organizations and institutions.
        The UAE government is currently studying the establishment of a national human-rights commission. Mean wages were $45.61 per manhour in 2009.

        Foreign policy and military



        The UAE’s liberal climate towards foreign cooperation, investment and modernization has prompted extensive diplomatic and commercial relations with other countries. It plays a significant role in OPEC and the UN, and is one of the founding members of the Gulf Cooperation Council (GCC).
        Regionally, the UAE has a very close relationship with other GCC members as well as most of the Arab countries. The Emirates have long maintained close relations with Egypt and remain the highest investor in the country from among the rest of the Arab world. Pakistan has also been a major recipient of economic aid and relations have been extremely close since the founding of the federation. Pakistan had been first to formally recognize the UAE upon its formation and continues to be one of its major economic and trading partners with about 400,000 expatriates receiving employment in the UAE. India’s large expat community in the UAE also has over the centuries evolved into current close political, economic and cultural ties. The largest demographic presence in the Emirates is Indian. Like most countries in the region, the UAE and Iran dispute rights to a number of islands in the Persian Gulf but this has not significantly impacted relations because of the large Iranian community presence and strong economic ties.


        Following the 1990 Iraq invasion of Kuwait, the UAE has maintained extensive relations with its allies for security and cooperation towards increasing interoperability of its defense forces and for liberating Kuwait. France and the USA have played the most strategically significant roles with defense cooperation agreements and military material provision. Most recently, these relations culminated in a joint nuclear deal for the US to supply the UAE with nuclear power equipment, technology and fuel. In turn, the UAE – a Nuclear Non-Proliferation Treaty (NPT) signatory – has agreed to open its nuclear facilities to full international inspections and refrain from producing its own reactor fuel.
        Commercially, the UK and Germany are the UAE’s largest export markets and bilateral relations have long been close as a large number of their nationals reside in the UAE.
        Diplomatic relations between UAE and Japan were established as early as UAE's independence in December 1971. The two countries had always enjoyed friendly ties and trade between each other. Exports from the UAE to Japan include crude oil and natural gas and imports from Japan to UAE include cars and electric items.
        The UAE is pursuing a policy of peaceful settling of the region's issues. The country supports the right of the Palestinian people to establish an independent state. At the second international conference to support the Palestinian economy and reconstruction of Gaza strip, which was held in Sharm el Sheikh, Egypt, the UAE said it would continue to offer political, economic and humanitarian support to the Palestinian cause. The UAE has provided over US$3 billion in aid to the Palestinians, including development funds for infrastructure, housing, hospital and school projects. In addition, the country donated US$174 million towards reconstruction in Gaza. The UAE has been an active supporter of the Iraqi Government in its efforts to draw up a comprehensive political formula to enable the country to achieve security and stability. It has one of the few functioning Arab embassies and resident ambassadors in Baghdad, and has canceled debts worth about US$7 billion to support Iraq’s reconstruction efforts. The UAE continues to contribute constructively to the international efforts aimed at stabilizing Afghanistan and supporting its bid to restore security. As part of its humanitarian and development assistance to Afghanistan, it provided US$550 million between 2002 and 2008. The UAE is the only Arab country performing humanitarian activities on the ground in Afghanistan.
        One major diplomatic success for the UAE during 2009, which also reflected its growing international status, came with Abu Dhabi being chosen to host the headquarters of the International Renewable Energy Agency (IRENA). This is one of the few times that a developing country has had the opportunity to host the headquarters of a major international organization.

        Foreign aid


        The UAE has continuously been a major contributor of emergency relief to regions affected by conflict and natural disasters in the developing world. The main UAE governmental agency for foreign aid is the Abu Dhabi Fund for Development (ADFD) which was established in 1971. Since its establishment, the ADFD has provided over Dh12.6 billion (US$3.45 billion) in soft loans and grants to countries mainly in Africa. Since 1971, these have accounted for a further Dh10 billion (US$2.7 billion), bringing the total amount of the loans, grants and investments provided by the fund or the Abu Dhabi government, and managed by the fund, to around Dh24 billion (US$6.5 billion), covering 258 different projects in a total of 52 countries.
        In November 2008, the Abu Dhabi Fund announced a long term loan of around US$278 million for rehabilitation of agricultural land in the state of Uzbekistan. Between 1994 to mid-2008, for example, around Dh15.4 billion (US$4.2 billion) has been provided for the Palestinians, including, most recently, US$300 million pledged at a donor conference in Paris and an annual commitment of US$43 million to support the Palestine National Authority.
        The UAE has also used the Red Crescent authority and charities such as Dubai Cares and Noor Dubai to donate aid to foreign countries.

        Political divisions



        The United Arab Emirates is divided into seven emirates. Abu Dhabi is the most populated Emirate with 38% of the UAE population. The Emirate of Dubai has a further 30%, so over two-thirds of the UAE population live in either Abu Dhabi or Dubai.
        Abu Dhabi has an area of 67,340 square kilometres, which is 86.7% of the country’s total area, excluding the islands. It has a coastline extending for more than 400 kilometres and is divided for administrative purposes into three major regions. The Emirate of Dubai extends along the Persian Gulf coast of the UAE for approximately 72 kilometres. Dubai has an area of 3,885 square kilometers, which is equivalent to 5 per cent of the country’s total area, excluding the islands. The Emirate of Sharjah extends along approximately 16 kilometers of the UAE’s Persian Gulf coastline and for more than 80 kilometers into the interior. The northern emirates which include Fujairah, Ajman, Ras al-Khaimah, and Umm al-Qaiwain all have a total area of 3,881 square kilometres. There are two areas under joint control. One is jointly controlled by Oman and Ajman, the other by Fujairah and Sharjah.
        There is an Omani exclave surrounded by UAE territory, known as Wadi Madha. It is located halfway between the Musandam peninsula and the rest of Oman in the Emirate of Sharjah. It covers approximately 75 square kilometres (29 sq mi) and the boundary was settled in 1589. The north-east corner of Madha is closest to the Khor Fakkan-Fujairah road, barely 10 metres (33 ft) away. Within the Omani exclave of Madha, is a UAE exclave called Nahwa, also belonging to the Emirate of Sharjah. It is about 8 kilometres (5 mi) on a dirt track west of the town of New Madha. It consists of about forty houses with its own clinic and telephone exchange.

        Ras Al KhaimahFujairahFujairahRas al-KhaimahUmm al-QuwainAjmanSharjahDubaiDubaiSharjahSharjahAbu DhabiUAE en-map.png
        About this image


        Demographics


        In 2010, the UAE's population was estimated at 4,975,593, of which less than 20% were UAE nationals or Emiratis, while the majority of the population were expatriates. The country's net migration rate stands at 21.71, the world's highest.
        23% of the population are non-Emirati Arabs and Iranians and the majority of the population, about 50%, is from India. Approximately 1.75 million Indian nationals reside in the UAE, making them the single largest expatriate community in the country. However, by 2020 emiratis are projected to form 10% of the population. There is also a growing presence of Europeans especially in multi-cultural cities such as Dubai Those from other parts of Asia (including the Philippines, Iran or Sri Lanka) comprised up to 1 million people. The rest of the population were from other Arab states.
        Thousands of Palestinians, who came as either political refugees or temporary employment, also live in the United Arab Emirates. There is also a sizable population of people from Egypt, Somalia and Sudan who migrated to the UAE before its formation. The UAE has also attracted a small number of expatriates from countries in Europe, North America, Asia, and Oceania. More than 100,000 British nationals live in the country.
        The population of the UAE has a skewed sex distribution consisting of more than twice as many males as females. The 15–65 age group has a male/female sex ratio of 2.743. The UAE's gender imbalance is only surpassed by other Arab countries in the Persian Gulf region.
        The most populated city is Dubai, with approximately 1.7 million people. Other major cities include Abu Dhabi, Al-Ain, Sharjah, and Fujairah. About 88% of the population of the United Arab Emirates is urban. The remaining inhabitants live in tiny towns scattered throughout the country or in the many desert oilfield camps in the nation.
        The average life expectancy is 75 years, higher than any other Arab country.


        Religions



        Main article: Religion in the United Arab Emirates


        Islam is largest and the official state religion of the UAE, though the government follows a policy of tolerance toward other religions and rarely interferes in the activities of non-Muslims.


        However, it is illegal in the UAE to spread the ideas of any religion apart from Islam through any form of media as it is considered a form of proselytizing. There are approximately 31 churches throughout the country and one Hindu temple in the region of Bur Dubai.


        Based on the Ministry of Economy census in 2005, 76% of the total population was Muslim, 9% Christian, and 15% other (mainly Hindu and Buddhist). Census figures do not take into account the many "temporary" visitors and workers while also counting Baha'is and Druze as Muslim. Non-Islamic religions are mainly followed by foreigners or expatriates. As the majority of the population are non-citizens, of the citizens 85% are Sunni Muslim while 15% are Shi'a Muslims. Omani immigrants are mostly Ibadi, while Sufi influences exist too.



        Education


        The education system through secondary level is monitored by the Ministry of Education. It consists of primary schools, middle schools and high schools. The public schools are government-funded and the curriculum is created to match the United Arab Emirates development's goals and values. The medium of instruction in the public school is Arabic with emphasis on English as a second language. There are also many private schools which are internationally accredited. Public schools in the country are free for citizens of the UAE, while the fees for private schools vary.
        There has been significant improvement in private education across the UAE. This is particularly important given the fact that a relatively high percentage of students in the Emirates are enrolled in private schools: in Dubai 50% of all students are in private schools, while the number for Abu Dhabi stands at around 40%.
        Many private international schools in the UAE are accredited by international bodies and there are currently 17 International Baccalaureate schools operating in the country, all of which have obtained approval from the International Baccalaureate Organization in Geneva to run their programs.
        Reforms to special education are under way across the country. In 2006, the Cabinet passed the UAE Disabilities Act, a comprehensive law that requires public and private schools to provide equal access to all children. The law was subsequently amended in 2009 to replace references to disability with the phrase "special needs".
        The higher education system is monitored by the Ministry of Higher Education. The ministry also is responsible for admitting students to its undergraduate institutions.
        A recent survey showed that the illiteracy rate is on the decline in the UAE, and is now in the region of 7%. This is mainly due to programmes that combat illiteracy amongst the adult population. Currently there are thousands of nationals pursuing formal learning at 86 adult education centres spread across the country.
        In fall 2009, the Masdar Institute of Science and Technology (MIST) opened its doors to its first class of graduate students. The Dubai School of Government (DSG), a research and teaching institution focusing on good governance and public policy in the Middle East, launched its first masters program also in 2009. A number of foreign universities, from the Paris Sorbonne to Michigan State University, have opened campuses in the UAE. In February 2008, a branch of the New York Film Academy opened in Abu Dhabi; it will launch its first bachelor’s degree program in 2010. In fall 2010 the opening of the Abu Dhabi campus of New York University will mark a new milestone. INSEAD, one of the world’s largest graduate business schools, has been operating a Middle East campus in Abu Dhabi since 2007, and now runs seven executive-education programs.
        The Government has launched many programs and initiatives to improve the quality of education at schools across the country.
        The UAE has shown a strong interest in improving education and research. Enterprises include the establishment of the CERT Research Centers and the Masdar Institute of Science and Technology and institute for enterprise development.

        Health


        Standards of healthcare are considered to be generally high in the United Arab Emirates, resulting from increased government spending during strong economic years. According to the UAE government, total expenditures on healthcare from 1996 to 2003 were US$436 million. According to the World Health Organization, in 2006 total expenditures on health care constituted 2.6 percent of gross domestic product (GDP), and the per capita expenditure for health care was US$673. General government expenditure on health as percentage of total government expenditure is 8.7% and Health care currently is free only for UAE citizens, with a health insurance scheme in place for those working the Emirates. Hospital beds (per 10 000 population) was 18 in 2005. The number of doctors per 100,000 (annual average, 1990–2005) was 17 and dentistry personnel (per 100 000 population) was 30 in 2002. The pharmaceutical personnel (per 100 000 population) was 40.
        The life expectancy at birth in the UAE is at 78.5 years. According to World Health Organisation (WHO) statistics, the UAE is ranked fourth in the world in terms of health care.
        In February 2008, the Ministry of Health unveiled a five-year health strategy for the public health sector in the northern emirates, which fall under its purview and which, unlike Abu Dhabi and Dubai, do not have separate healthcare authorities. The strategy focuses on unifying healthcare policy and improving access to healthcare services at reasonable cost, at the same time reducing dependence on overseas treatment. The ministry plans to add three hospitals to the current 14, and 29 primary healthcare centres to the current 86. Nine were scheduled to open in 2008.
        The introduction of mandatory health insurance in Abu Dhabi for expatriates and their dependents was a major driver in reform of healthcare policy. Abu Dhabi nationals were brought under the scheme from 1 June 2008 and Dubai followed for its government employees. Eventually, under federal law, every Emirati and expatriate in the country will be covered by compulsory health insurance under a unified mandatory scheme. Recently the country has been benefiting from medical tourists from all over the GCC. The UAE currently attracts medical tourists seeking plastic surgery and advanced procedures, cardiac and spinal surgery, and dental treatment, as health services have higher standards than other Persian Gulf countries.
        Cardiovascular disease is the principal cause of death in the UAE, constituting 28 percent of total deaths; other major causes are accidents and injuries, malignancies, and congenital anomalies. Diabetes and Cancer are also the main causes of death in the country, and statistics have indicated that UAE has the highest rate of Diabetes in the world.

        Economy


        At the time of independence, the UAE was already regarded as a rich country with GDP per capita exceeding $2,000.
        The UAE has an open economy with one of the highest per capita incomes in the world and a sizable annual trade surplus. In 2009, its GDP, as measured by purchasing power parity, stood at US$400.4 billion. The GDP per capita is currently the third in the world and second in the Middle East, after Qatar and Kuwait as measured by the CIA World Factbook, or the 17th in the world as measured by the International Monetary Fund.
        With almost $1 trillion in foreign invested assets, some argue the UAE to be the richest, with the highest average income in the world. Over half of this money is generated by the nation's capital; Abu Dhabi. With a population of just under 900,000 Abu Dhabi was labeled "The richest city in the world" by a CNN article.
        UAE's economy, particularly that of Dubai, was badly hit by the financial crisis of 2007–2010. In 2009, the country's economy shrank by 4.00 percent, but UAE's overseas investments are expected to support its full economic recovery. However, concern remains about the property sector. Property prices in Dubai fell dramatically when Dubai World, the government construction company, sought to delay a debt payment. The ability to service debt remains a problem.
        Petroleum and natural gas exports play an important role in the economy, especially in Abu Dhabi. More than 85% of the UAE's economy was based on the exports of natural resources in 2009.
        A massive construction boom, an expanding manufacturing base, and a thriving services sector are helping the UAE diversify its economy. Nationwide, there is currently $350 billion worth of active construction projects. Aluminum, steel, iron and other forms of metal exports along with textile produce much a significant amount of income and are expected to surpass the income brought in by petroleum and natural gas exports within the next 40 to 60 years. Government projects include the Burj Khalifa, which is the world's tallest building, Dubai World Central International Airport which, when completed, will be the most expensive airport ever built, and the three Palm Islands, the largest artificial islands in the world. Other projects include the Dubai Mall which is the world's largest shopping mall, and a man-made archipelago called The World which seeks to increase Dubai's rapidly growing tourism industry. Also in the entertainment sector is the construction of Dubailand, which is expected to be twice the size of Disney World, and of Dubai Sports City which will not only provide homes for local sports teams but may be part of future Olympic bids. However, this is concern that this construction boom has been built on debt and speculation, with little creation of true economic value.
        Major increases in imports occurred in manufactured goods, machinery, and transportation equipment, which together accounted for 80% of total imports. Another important foreign exchange earner, the Abu Dhabi Investment Authority – which controls the investments of Abu Dhabi, the wealthiest emirate – manages an estimated $360 billion in overseas investments & an estimated $900 billion in assets.
        More than 200 factories operate at the Jebel Ali complex in Dubai, which includes a deep-water port and a free trade zone for manufacturing and distribution in which all goods for re-export or transshipment enjoy a 100% duty exemption. A major power plant with associated water desalination units, an aluminium smelter, and a steel fabrication unit are prominent facilities in the complex. The complex is currently undergoing expansion, with sections of land set aside for different sectors of industry. A large international passenger and cargo airport, Dubai World Central International Airport, with associated logistics, manufacturing and hospitality industries, is also planned here.


        Except in the free trade zones, the UAE requires at least 51% local citizen ownership in all businesses operating in the country as part of its attempt to place Emiratis into leadership positions. However, this law is under review and the majority ownership clause will very likely be scrapped in order to bring the country into line with World Trade Organisation regulations.
        As a member of the Gulf Cooperation Council (GCC), the UAE participates in the wide range of GCC activities that focus on economic issues. These include regular consultations and development of common policies covering trade, investment, banking and finance, transportation, telecommunications, and other technical areas, including protection of intellectual property rights.
        The currency of the United Arab Emirates is the Emirati Dirham.


        Infrastructure



        The UAE has been spending billions of dollars on infrastructure and is the biggest projects market in the region, accounting for 37 percent of total project value within the construction, oil and gas, petrochemicals, power and water and waste sectors. Many huge investments have been poured into real estate, tourism and leisure. These developments are particularly evident in the larger emirates of Abu Dhabi and Dubai. In the former, Masdar City and Saadiyat Island highlight the status as an emerging market. Dubai World Central, a 140-square kilometre multi-phase development under construction near Jebel Ali, will create 900,000 jobs, and will include Al Maktoum International Airport, which will be the largest airport in the world by 2020. Property developer Emaar’s Burj Khalifa is a Dh3.67 billion (US$1billion) tower that is the world's tallest skyscraper.
        Governments in the northern emirates are rapidly following suit, providing major incentives for developers of residential and commercial property. In addition, UAE President Sheikh Khalifa bin Zayed Al Nahyan has allocated Dh16 billion (US$4.4 billion) for infrastructure projects in the northern emirates. The allocation will be used to fund the construction of road networks, new housing communities, drainage networks and other projects, providing integrated solutions to some infrastructure deficits in these areas.
        The United Arab Emirates has an extensive road network that connects all major cities and towns. Roads in the western and southern regions are still relatively undeveloped. Those are highly dangerous roads passing through desert regions and many are still unsealed, gravel roads. This has resulted in the continued use of airplanes as the main or alternative mode of transportation for the residents.
        There are seaports throughout the country. The major ports are Port Jebel Ali, Port Rashid, Port Khalid, Port Saeed, Port Khor Fakkan, and Port Zayed.
        The UAE contains a number of significant airports. Dubai International Airport (DXB) is the main airport of the country. In 2008, the airport was the 20th busiest airport in the world by passenger traffic and 11th busiest by cargo traffic. The airport also was the 6th busiest airport in the world by international passenger traffic. Other important airports include Abu Dhabi International Airport, Sharjah International Airport, and Al-Ain International Airport. There are also airports in smaller towns, as well as small domestic airstrips in the rural Western region. There are daily flight services between West and East UAE, which is the only convenient option for passengers travelling between the two parts of the country to places such as Sir Bani Yas. The UAE is home to the largest airline in the Middle East, Emirates Airline. It has Dubai as its hub, and flies to over 100 destinations across six continents. The airline was the eighth-largest airline in the world in terms of international passengers carried, and fifth-largest in the world in terms of scheduled international passenger-kilometres flown in 2008. Etihad Airways, from Abu Dhabi, is also growing, with over 100 aircraft on order.
        The Dh15.5 billion (US$4.2 billion) Dubai Metro project includes a 52-kilometre Red Line viaduct, which stretches the length of Sheikh Zayed Road between Al Rashidiya and Jebel Ali and was opened in September 2009 after round-the-clock work for three years. The Red Line when fully complete will carry an estimated 27,000 passengers per hour in each direction on 42 trains. Work also on the Green Line, which will link Al Qusais to Dubai Healthcare City, began in 2006 and is scheduled for completion in late 2010. In Abu Dhabi plans are underway for all a metro system and also a country-wide national railway, which will connect all the major cities and is later to connect to the GCC wide network. The cost for the railway will be between Dh25bn and Dh30bn, and will be a total length of 1,100 kilometres, connecting Ghuwaifat, bordering the Kingdom of Saudi Arabia, in the west and the border with the Sultanate of Oman in the east.
        The Federal Electricity and Water Authority (FEWA) is the body responsible for overseeing federal utilities, whilst authorities in individual emirates, including Abu Dhabi Water and Electricity Authority (ADWEA), Dubai Water and Electricity Authority (DEWA) and Sharjah Water and Electricity Authority (SEWA), oversee power and water generation in their individual emirates. The UAE plans to build 68 rechargeable dams in the coming five years to augment the 114 dams in existence, all but two of which are rechargeable, to help with providing for the growing population.
        The UAE is also planning to develop a peaceful nuclear energy programme to generate electricity. So far, the UAE has signed peaceful nuclear agreements with France, United States, and South Korea, and a MOU with the United Kingdom.
        The UAE is presently serviced by two telecommunications operators, Etisalat and Emirates Integrated Telecommunications Company ("du"). Etisalat operated a monopoly until du launched mobile services in February 2007. However, Etisalat, with over 80 per cent of the market, remains the UAE's biggest telecom provider and is expanding dramatically internationally and is now the sixteenth largest telecommunications firm in the world. Du is targeting a 30 per cent market share by 2010. Between 2002 and 2007, the number of mobile phone subscribers in the UAE grew by an annual average of 25.6 per cent, almost four times its population growth. In 2007, there were 7.7 million subscribers. Forecasts indicate that the UAE mobile market will increase to 11.9 million users by 2012.
        Current UAE internet penetration figures assume 2.4 users per subscription. TRA projections indicate that over the next few years growth in both users and subscriptions will be coupled with a fall in the number of users per subscription: the number of subscribers are expected to increase from 0.904 million in 2007 to 1.15 million in 2008, 1.44 million in 2009 and 2.66 million in 2012. Internet use is extensive; by 2007 there were 1.7 million users. The authorities filter websites for religious, political and sexual content.


        Culture


        The United Arab Emirates has a diverse and multicultural society. The country's cultural imprint as a small, ethnically homogenous pearling community was changed with the arrival of other ethnic groups and nationals—first by the Iranians in the early 1900s, and later by Indians and Pakistanis in the 1960s. Dubai has been criticized for perpetuating a class-based society, where migrant workers are in the lower classes. Despite the diversity of the population, only minor and infrequent episodes of ethnic tensions have been reported in the city. Major holidays in Dubai include Eid al Fitr, which marks the end of Ramadan, and National Day (2 December), which marks the formation of the United Arab Emirates.
        Emirati culture mainly revolves around the religion of Islam and traditional Arab, and Bedouin culture. The influence of Islamic and Arab culture on the region's architecture, music, attire, cuisine and lifestyle are very prominent as well. Five times every day, Muslims are called to prayer from the minarets of mosques which are scattered around the country. Since 2006, the weekend has been Friday-Saturday, as a compromise between Friday's holiness to Muslims and the Western weekend of Saturday-Sunday.
        This unique socioeconomic development in the Persian Gulf has meant that the UAE is relatively liberal. While Islam is the main religion, the UAE has been known for its tolerant practices. Christian churches can be found alongside mosques and this courtesy has seemingly been extended to Hinduism and Sikhism as there is a place tucked away inside a residential style building which houses a Hindu temple and a Sikh gurudwara. There is evidently no persecution of Hindus or Sikhs which is why it is home to several communities that have faced persecution elsewhere, who are now contributing to the cosmopolitan atmosphere. There are a variety of Asian-influenced schools, cultural centers and restaurants. Increasing numbers of European centers, schools, and restaurants can also be seen in the UAE.


        Dress and etiquette


        Most Emirati males prefer to wear a kandura, an ankle-length white tunic woven from wool or cotton, and most Emirati women wear an abaya, a black over-garment covering most parts of the body. Western-style clothing is, however, dominant because of the large expatriate population, and this practice is beginning to grow in popularity among Emiratis.

        Etiquette is an important aspect of UAE culture and tradition, to which visitors are expected to conform. Recently, many expatriates have disregarded the law and been arrested for indecent clothing at beaches. Western-style dress is tolerated in appropriate places, such as bars or clubs, but the UAE has maintained a strict policy of protecting highly public spaces from cultural insensitivity. This is due, in large part, to the effects such practices are considered to have on the social integration and participation of a largely conservative Emirati population.


        Food



        See also: Arab cuisine

        The traditional food of the Emirates has always been rice, fish, and meat. The people of the United Arab Emirates have adopted most of their foods from the surrounding countries including Iran, Saudi Arabia, and Oman. Seafood has been the mainstay of the Emirati diet for centuries. Meat and rice are other staple foods; lamb and mutton are the more favored meats, then goat and beef. Popular beverages are coffee and tea, which can be supplemented with cardamom, saffron, or mint to give them a distinct flavor.

        Muslims are prohibited from eating pork, so it is not included in local menus. Hotels frequently have pork substitutes such as beef sausages and veal rashers on their breakfast menus. If pork is available, it is clearly labeled as such.

        Alcohol is generally only served in hotel restaurants and bars (but not in Sharjah). All nightclubs and golf clubs are permitted to sell alcohol. Specific supermarkets may sell alcohol and pork, but these products are sold in separate sections.



        Traditional Emirati Tea



        Dishes forming part of the Emirati cuisine:

        • Machboos
        • Harees
        • Lukaimat
        • Batheeth
        • Khamir
        • Al-Madrooba
        • Al-Saloona (Curry)
        • Fareed









        Literature and poetry



        The main themes in Emirati poetry for Arab Poets range from satire, chivalry, self-praise, patriotism, religion, family and love, and could range from descriptive to narrative.

        The style and form of ancient poetry in the UAE was strongly influenced by the 8th-century Persian Gulf Arab scholar Al Khalil bin Ahmed, who followed sixteen metres. This form underwent slight modification (Al Muwashahat) during the period of Islamic civilization in Andalucia (Spain).

        The earliest known poet in the UAE is Ibn Majid, who was born between 1432 and 1437 in Ras Al-Khaimah. Coming from a family of successful sailors, Ibn Majid's oeuvre has a total of 40 surviving compositions, 39 of which are verses.

        The greatest luminaries in the UAE literary realm during the 20th century, particularly for Classical Arabic poetry, were Mubarak Al Oqaili (1880–1954), Salem bin Ali al Owais (1887–1959) and Ahmed bin Sulayem (1905–1976). Three other poets from Sharjah, known as the Hirah group, also thrived during the 20th century including Khalfan Musabah (1923–1946), Sheikh Saqr Al Qasimi (1925–1993), an ex-ruler of Sharjah, and Sultan bin Ali al Owais (1925–2000). The Hirah group’s works are observed to have been heavily influenced by the Apollo and romantic poets.

        The meeting of classical Arabic poetry and media continued through the regionally highly successful television shows – Million’s Poet and The Prince of Poets – broadcast on Abu Dhabi TV and poetry TV channels. The Prince of Poets also won the International Broadcasting Award in London in the specialist genre TV category.

        There are three annual book fairs in the UAE, the well-known Sharjah International Book Fair, the oldest and largest in the country, its Abu Dhabi counterpart and the newly launched Al-Ain Book Fair.

        The UAE has a booming magazine and newspaper industry. the biggest selling English language magazine is Ahlan! magazine. The biggest selling English language newspaper is Gulf News.



        Museums and art galleries




        Many emirates have established museums of regional repute, most famously Sharjah with its Heritage District containing 17 museums, which in 1998 was the Cultural Capital of the Arab World. Abu Dhabi's cultural foundation is also an important place for the presentation of indigenous and foreign art. In Dubai, the area of Al Quoz has attracted a number of art galleries.

        Abu Dhabi has embarked on the path to become an art center of international caliber, by creating a culture district on Saadiyat Island. There, six grand projects are planned: the Sheikh Zayed National Museum by Foster + Partners, the modern art museum Guggenheim Abu Dhabi to be built by Frank Gehry, the classical museum Louvre Abu Dhabi by Jean Nouvel, a maritime museum by Tadao Ando, a Performing Arts Center by Zaha Hadid, and a Biennale Park with 16 pavilions.

        Dubai also plans to build a Kunsthal museum and a district for galleries and artists.

        2009 saw the UAE’s first pavilion at the Venice Biennale, one of the top cultural events in Europe. The pavilion was called ‘It’s Not You, It’s Me’ and was designed to offer a playful and provocative look at what has been described as the world’s most prestigious contemporary art event. This was the first occasion on which a country from the Persian Gulf has taken part in the Biennale.


        Music, dance and cinema




        The United Arab Emirates is a part of the khaliji tradition, and is also known for Bedouin folk music. Liwa is a type of music and dance performed mainly in communities which contain descendants of East Africans. During celebrations singing and dancing also took place and many of the songs and dances, handed down from generation to generation, have survived to the present time. Young girls would dance by swinging their long black hair and swaying their bodies in time to the strong beat of the music. Men would re-enact battles fought or successful hunting expeditions, often symbolically using sticks, swords or rifles. Recently Emirati music has ventured into Hip Hop with Desert Heat becoming the first Emirati Hip Hop Group in the UAE. Releasing a hip hop album "when The Desert Speaks". The Album is a fusion album of Arabian traditional music with modern Hip Hop Beats.

        Hollywood movies are the most popular in the UAE. The UAE has an active music scene, with musicians Amr Diab, Diana Haddad, Tarkan, Aerosmith, Santana, Mark Knopfler, Christina Aguilera, Elton John, Pink, Shakira, Celine Dion, Coldplay, Ahlam, and Phil Collins and a slew of Bollywood stars having performed in the country. Kylie Minogue was paid 4.4 million dollars to perform at the opening of the Atlantis resort on November 20, 2008. The Dubai Desert Rock Festival is also another major festival consisting of heavy metal and rock artists.

        In 2009 the highly successful Abu Dhabi Classics series celebrated its second season by treating the Emirates Palace audience to the Middle Eastern debut of the New York Philharmonic with pieces by Beethoven and Mahler, as well as holding a concert inside the recently renovated Jahili Fort in Al-Ain.


        Sports


        Association football is the national sport of the United Arab Emirates. Emirati Soccer clubs Al-Ain, Al-Wasl, Al-Shabbab ACD, Al-Sharjah, Al-Wahda, and Al-Ahli are the most popular teams and enjoy the reputation of long-time regional champions. The great rivalries keep the UAE energized as people fill the streets when their favorite team wins. The United Arab Emirates Football Association was first established in 1971 and since then has dedicated its time and effort to promoting the game, organizing youth programs and improving the abilities of not only its players, but of the officials and coaches involved with its regional teams. The UAE football team qualified for the World Cup in 1990—with Egypt it was the third consecutive World Cup with two Arab nations qualifying after Kuwait and Algeria in 1982 and Iraq and Algeria again in 1986. The UAE also recently won the Gulf Cup Championship held in Abu Dhabi January 2007.
        Cricket is one of the most popular sports in the UAE, largely because of the expatriate population from the Indian subcontinent, the United Kingdom, and Australia. The Sharjah Cricket Association Stadium in Sharjah has hosted 4 international Test matches so far. Sheikh Zayed Stadium and Al Jazira Mohammed Bin Zayed Stadium in Abu Dhabi also host international cricket matches. Dubai has two cricket stadiums (Dubai Cricket Ground No.1 and No.2) with a third, 'S3' currently under construction as part of Dubai Sports City. Dubai is also home to the International Cricket Council. The United Arab Emirates national cricket team qualified for the 1996 Cricket World Cup and narrowly missed out on qualification for the 2007 Cricket World Cup.
        Other popular sports include camel racing, falconry, endurance riding, and tennis.

        See also



      • Outline of the United Arab Emirates

      • Takatof

      • UAE eGovernment


      • Notes



        1. ^ The unemployment rate may be much higher as many people have become unemployed due to the global economic crisis taking a heavy toll on property values, construction and employment.


        References