ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

02 พฤศจิกายน 2554

ตัวอย่างงานวิจัยสาขาวิชาเคมี

                ตัวอย่างงานวิจัยสาขาวิชาเคมี




ท่านสามารถเปิดดูงานวิจัยและก๊อปได้ โดยใช้โปรแกรม Adobe Acrobat Reader การโหลดและการติดตั้งโปรแกรม Adobe Acrobat Reader


การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องกรด-เบส และเจตคติต่อการเรียนเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบวัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นการเรียนรู้แบบ KWL และการเรียนรู้แบบปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ รุ่งระวี ศิริบุญนาม





การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้วัฎจักรการเรียนรู้ 7 ขั้น เรื่องพันธะเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ฐิติสิทธ นิลโสม





การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์วิชาเคมี 1 เรื่องพันธะเคมีสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนพิมายดำรงวิทยาคม / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ปรารถนา เพชรโต




การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง พันธะเคมี กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ บุญส่ง จันทร





การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปเรื่องพันธะเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ชิดชนก พวงคต




การสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์วิชาเคมีเรื่อง พันธะเคมี สำหรับกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่4 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ ไพศาล ภาโนมัย




การสร้างแบบทดสอบพีระมิดที่มีหลายข้อในแต่ละขั้นวิชาเคมีเรื่องพันธะเคมีที่ดำเนินการสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 / วิทยานิพนธ์ ของ เยาวนิตย์ อรัญญวาส




การสร้างแบบทดสอบปิรามิดที่มีหลายข้อในแต่ละขั้น วิชาเคมีเรื่องสารประกอบของคาร์บอนที่ดำเนินการสอบโดยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จังหวัดบุรีรัมย์ / วิทยานิพนธ์ ของ สมมิตร วงศ์เฉลิมมัง





การสร้างชุดการเรียนวิชาเคมีเรื่อง สารประกอบของคาร์บอน / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ จุฑามณี พันธ์ศรี




การพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างสรรค์ความรู้เรื่องอัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ อังคณา ต่อติด




การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคงทนในการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่องสมดุลเคมีระหว่างการสอน ตามแนวคอนสตรักติวิสซึมและการสอนตามปกติ / วิทยานิพนธ์ ของ ศรานนท์ วะปะแก้ว




ผลของการเรียนเรื่องสมดุลเคมีโดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 7 ขั้นที่มีต่อการคิดวิพากษ์วิจารณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ รัตนภรณ์ ศรีประโชติ




การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุล / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ พิสิฏฐ์ ดีบ้านโสก





การพัฒนาแบบฝึกโครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง สมบัติของสารละลายกรด-เบส สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 / การศึกษาค้นคว้าอิสระ ของ สุนันทา เสนาะเสียง





ผลการเรียนรู้เรื่องกรด-เบส ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนด้วยบทเรียนบนเครือข่ายแบบเว็บเควสท์ / วิทยานิพนธ์ ของ จุรีย์รัตน์ สิงห์สมบัติ










สาขาวิชาเคมีศึกษา



คลิกอ่านได้ที่ วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ




การตรวจหา GnRH-LINK NEUROPEPTIDE ในกุ้งก้ามกราม (Macrobrachium rosenbergii) โดยวิธี IMMUNOCYTOCHEMISTRY ระดับ ปริญญาโท






การประยุกต์เทคนิคโฟลอินเจ็กชันในการวิเคราะห์หาปริมาณทองแดงและนิกเกิลโดยอาศัยการเกิดปฏิกิริยากับ bis(acetylacetone)propylenediimine (Flow injection spectrophotometric determination of copper and nickel using bis(acetylacetone)propylenediimine) ระดับ ปริญญาโท






การวิเคราะห์เขม่าปืนด้วยเทคนิค SEM/EDX (Gunshot residue analysis by SEM/EDX) ระดับ ปริญญาโท






การวิเคราะห์ทองแดง (II) โดยใช้แนพธาซารินเป็นรีเอเจนต์ด้วยวิธีทางเคมีไฟฟ้าโพเพนชิโอเมตรี และ โวลแทมเมตรี (Determination of cooper (II) using Naphthazarin reagent by electrochemical methods : potentiometry and voltammetry) ระดับ ปริญญาโท






การศึกษาพฤติกรรมการดูดซับของแบเรียมและเรเดียมบนพื้นผิวของแมงกานีสไดออกไซด์ (Investigation on adsorption behavior of barium and radium on manganese dioxide surface) ระดับ ปริญญาโท






การศึกษาสารต้านอนุมูลอิสระในลูกหว้า ระดับ ปริญญาโท







การศึกษาหาสูตรโครงสร้างและฤทธิ์ทางชีวภาพของสารจากดอกและใบโสน ระดับ ปริญญาโท







การสกัด Silicon Bodies จากพืชโดยใช้เอนไซม์และวิธีทางกายภาพ (Extraction of silicon bodies from plants by enzymatic and physica methods) ระดับ ปริญญาโท






การสกัดแยกพอลิเมอร์ชีวภาพจากครัสเตเซียน การเตรียมอนุพันธ์ และการใช้ดูดซับสารเคมีบางชนิด ระดับ ปริญญาโท






สาขาวิชาเคมีอินทรีย์



คลิกอ่านได้ที่ วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ





การใช้ไมโครเวฟในการสังเคราะห์และการทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเชื้อจุลชีพของสารประกอบวงวิวิธพันธ์ของแนฟโทดวิโนน (Microwave-assisted synthesis and antimicrobial activity of Heterocyclic Naphthoquinones) ระดับ ปริญญาโท






การศึกษาการสังเคราะห์และสมบัติทางชีวภาพของอะพอร์ฟีนอัลคาลอยด์,ออกโซอะพอร์ฟีนอัลคาลอยด์ และอัลคาลอยต์ที่เกี่ยวข้องบางชนิด (Synthetic and biological activity studies of selected Aporphine, Oxoaporphine and Related Alkaloids) ระดับ ปริญญาเอก







การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกผลสุกของสารภี ระดับ ปริญญาโท






การศึกษาองค์ประกอบทางเคมีของรากช้าพลู ระดับ ปริญญาโท






การสังเคราะห์สารวงวิวิธพันธ์ของแนพโทควิโนน (Synthesis of heterocyclic naphthoquinones) ระดับ ปริญญาโท








สาขาวิชาเคมีวิเคราะห์





คลิกอ่านได้ที่ วิทยานิพนธ์ฉบับเต็ม/Fulltext ค่ะ





การตรวจสอบความสามารถในการเป็นสารแอนตี้ออกซิแดนท์ของเครื่องดื่มชาโดยวิธีไซคลิกโวลแทมเมตรี ระดับ ปริญญาโท





การตรวจหาปริมาณก๊าซ CO2 และ CO ในระบบปิดด้วยเครื่อง Gas-Chromatography และ CO2, CO sensors (Determination of CO2 and CO gas in a closed system by Gas-Chromatography and CO2 and CO sensors) ระดับ ปริญญาโท





การพัฒนาวิธีการวิเคราะห์ทางเคมีไฟฟ้าเพื่อการวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณของสารด้านอนุมูลอิสระในสารสกัดจากผลพิกุล ระดับ ปริญญาโท






การวิเคราะห์ความสามารถในการต้านออกซิเดชั่นของขิง (Antioxidant activity analysis of ginger) ระดับ ปริญญาโท






การวิเคราะห์หาสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์บางชนิดในอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตโดยเทคนิคไอออนโครมาโตกราฟฟี (Determination of some organic and inorganic species in processed foods by Ion Chromatography) ระดับ ปริญญาโท











เว็ปสอนวิชาเคมี









































3 ความคิดเห็น:

  1. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน วิชาเคมี




    ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน
    วิชาเคมี สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รหัสวิชา ว43211 เรื่อง ธาตุและสารประกอบ
    ในอุตสาหกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

    ผู้วิจัย นางกาญจนา บุตรโคตร ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชำนาญการพิเศษ

    โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามหาสารคาม เขต 2



    บทคัดย่อ



    การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีคุณภาพนั้น ครูผู้สอนต้องจัด
    กระบวนการเรียนรู้ การใช้วิธีสอนที่มุ่งเน้นการฝึกทักษะการคิด จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงานเป็นวิธีสอนที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นผู้วิจัยจึงนำรูปแบบวิธีการสอนดังกล่าวมาศึกษาค้นคว้า โดยกำหนดความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อพัฒนาจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน วิชาเคมี สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม รหัสวิชา ว43211 เรื่อง ธาตุและสารประกอบในอุตสาหกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มตัวอย่างการทดลองเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนนาเชือกพิทยาสรรค์ จำนวนนักเรียน 42 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน จำนวน 14 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินและตรวจชิ้นงาน และแบบวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 3 ชั่วโมง/ต่อสัปดาห์ รวม 28 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ทดสอบความแตกต่าง t-test ผลการวิจัย พบว่า
    1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงาน วิชาเคมี สาระการเรียนรู้ เพิ่มเติม
    รหัสวิชา ว43211 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ 86.10/87.86 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
    2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานที่พัฒนาขึ้นมีค่าดัชนี
    ประสิทธิผลเท่ากับ 0.7665 แสดงว่าผลการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้นักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 76.65
    3. ผลการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโครงงาน วิชาเคมี สาระการเรียนรู้เพิ่มเติม
    รหัสวิชา ว43211 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
    4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมมี
    ความพึงพอใจในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านเนื้อหาการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลนักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากทุกด้าน
    โดยสรุป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบโครงงาน วิชาเคมีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเหมาะสม ส่งผลให้นักเรียนเกิดทักษะในการทำงานอย่างเป็นระบบ สร้างองค์ความรู้จากการฝึกปฏิบัติและสามารถทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้







    .

    ตอบลบ
  2. งานวิจัย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน


    บทคัดย่อ

    ชื่องานวิจัย : การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
    โดย : กนกวรรณ สะกีพันธ์
    ชื่อปริญญา : วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
    สาขาวิชา : วิทยาศาสตร์ศึกษา
    ประธานกรรมการที่ปรึกษา : ดร.ประนอม แซ่จึง
    ศัพท์สำคัญ : ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ สารประกอบไฮโดรคาร์บอน

    การค้นคว้าอิสระในครั้งนี้ได้พัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่องสารประกอบไฮโดรคาร์บอน รายวิชาเคมี 5 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนทุ่งไชยพิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภออุทุมพรพิสัย จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการค้นคว้าประกอบด้วย (1) แผนจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (2) แบบบันทึกกิจกรรมการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และ (4) แบบประเมินความพึงพอใจโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ร้อยละ และ t-test ในการวิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและประเมินความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 ด้วยดัชนีประสิทธิผลนักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ 62.10 จากผลการวิเคราะห์แบบประเมินความพึงพอใจ พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก และประสิทธิภาพของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เท่ากับ 79.11/75.16 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้






    .

    ตอบลบ
  3. ชื่อเรื่องวิจัย :


    การเปรียบเทียบผลของการสอนระหว่าง การเรียนแบบร่วมมือกับการสอนแบบปกติ วิชาเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเพชรพิทยาคม จังหวัดเพชรบูรณ์


    ผู้วิจัย :


    นายธีรพงษ์ แสงสิทธิ์
    โปรแกรมวิชาประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู
    คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

    ปีการศึกษา : 2548

    บทคัดย่อ


    งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบผลของการสอนและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอม โดยการเรียนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเพชรพิทยาคม และเปรียบเทียบเจตคติที่มีต่อการเรียนวิชาเคมี โดยการเรียนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบปกติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเพชรพิทยาคม ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเพชรพิทยาคม มีจำนวนทั้งหมด 12 ห้อง ห้องละ 40 คน รวม 480 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาที่ 4 โรงเรียนเพชรพิทยาคม สุ่มมาจำนวน 2 ห้อง ห้องละ 40 คน รวม 80 คน ใช้วิธีสุ่มอย่างง่าย หน่วยที่สุ่มคือ ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือ วิชาเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง โครงสร้างอะตอม เป็นแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สำหรับทดสอบนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบปกติ จำนวน 10 ข้อ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 แบบวัดเจตคติต่อวิชาเคมี เป็นแบบวัดที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สำหรับทดสอบนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ กับการสอนแบบปกติ จำนวน 12 ข้อ มีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93
    จากการวิจัยพบว่า การเรียนแบบร่วมมือ นักเรียนได้พัฒนาทักษะการทำงานและการช่วยเหลือกันเป็นกลุ่ม พัฒนาทักษะการยอมรับความคิดเห็นของบุคคลอื่น พัฒนาทักษะการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในทางบวก นักเรียนได้รู้จักตนเองและเห็นคุณค่าของตนเองเมื่อได้ทำงานร่วมกัน และนักเรียนได้พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการทำงานกลุ่ม ซึ่งแตกต่างจากการสอนแบบปกติ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้างอะตอม ของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเจตคติต่อวิชาเคมี ของนักเรียนที่เรียนด้วยการเรียนแบบร่วมมือ สูงกว่าการสอนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01







    .

    ตอบลบ