ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

16 พฤศจิกายน 2554

การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel 2010

   การใช้งานโปรแกรม Microsoft Excel 2010




คู่มือการใช้โปรแกรม Microsoft Excel 2010





วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube











การใช้งาน Microsoft Excel 2010



โปรแกรม Microsoft Excel 2010 เป็นโปรแกรมที่นิยมใช้ในการจัดการคำนวณ มีความสามารถในการคำนวณสูตรต่างๆ พร้อมทั้งฟังก์ชันที่ช่วยในการคำนวณทางคณิตศาสตร์อีกด้วย หรือจะจัดทำเป็นตารางงานก็ยิ่งสะดวกขึนไปอีก ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีประโยชน์มากมายจริง ๆ สำหรับ Excel เวอร์ชัน 2010 จะมีความคล้ายกับ Microsoft Excel 2007 อยู่พอสมควร แต่ก็มีการพัฉนาเทคนิคการใช้งานบางประการเพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างสะดวกมากขึ้น



ส่วนประกอบของโปรแกรม Microsoft Excel 2010 พิมพ์
หน้าต่างของโปรแกรม Microsoft Excel 2010 นั้นมีส่วนประกอบที่สำคัญอยู่หลายส่วนด้วยกัน ดังนี้
1
ส่วนประกอบของโปรแกรม
1. แถบชื่อเรื่อง (Title Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงชื่อโปรแกรม และรายชื่อไฟล์ที่ได้เปิดใช้งาน
2. แถบเครื่องมือด่วน (Quick Access) = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงคำสั่งที่ใช้งานบ่อย
3. ปุ่ม แฟ้ม (File) = เป็นส่วนที่ใช้ในการจัดเก็บคำสั่งการทำงานในโปรแกรม เช่น New Open, Save และคำสั่ง Print เป็นต้น
4. ปุ่มควบคุม = เป็นส่วนที่ใช้ควบคุมการเปิด หรือปิดหน้าต่างโปรแกรม
5. ริบบอน (Ribbon) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงรายการคำสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำงานกับเอกสาร
6. พื้นที่การทำงาน = เป็นส่วนที่ใช้ในการแสดงรายละเอียดต่าง ๆ ขั้นภายในเอกสาร
7. แถบสถานะ (Status Bar) = เป็นส่วนที่ใช้แสดงจำนวนหน้ากระดาษ และจำนวนตัวอักษรที่ใช้ในเอกสาร
8. Name Box = เป็นช่องที่ใช้แสดงชื่อเซล์ที่ใช้งานอยู่ในขณะนั้น เช่น ถ้ามีการใช้งานข้อมูลในเซลล์ A1 รายชื่อเซลล์นี้ก็จะไปแสดงอยู่ในช่อง Name Box
9. แถบสูตร (Formula Bar) = เป็นช่องที่ใช้แสดงการใช้งานสูตรการคำนวณต่าง ๆ
10. เซลล์ (Cell) = เป็นช่องตารางที่ใช้สำหรับบรรจุข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งช่องเซลล์แต่ละช่องนั้นจะมีชื่อเรียกตามตำแหน่งแถว และคอลัมน์ที่แสดงตำแหน่งของเซลล์ เช่น เซลล์ B1 จะอยู่ใน คอลัมน์ B ในแถวที่ 1 เป็นต้น

11. คอลัมน์ (Column) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวตั้งของแผ่นงาน (Worksheet)
12. แถว (Row) = เป็นช่องเซลล์ที่เรียงกันในแนวนอนของแผ่นงาน
13. Sheet Tab = เป็นแถบที่ใช้แสดงจำนวนแผ่นงานที่เปิดขึ้นมาใช้งาน



การสร้างสมุดงาน ใน Excel 2010 พิมพ์
เมื่อเปิดโปรแกรม Excel 2010 ขึ้นมาใช้งานครั้งแรกนั้น จะเห็นได้ว่ามีสมุดงานขึ้นมาใช้งาน 1 ไฟล์ และในแต่ละสมุดงานนั้น ก็จะมีแผ่นงานให้ใช้งานได้ถึง 3 แผ่น แต่นอกจากสมุดงานที่โปรแกรมกำหนดให้มานั้น หากเราต้องการสร้างสมุดงานใหม่มาใช้ ก็สามารถทำได้หลายวิธี ดังนี้
วิธีที่ 1 การสร้างสมุดงาน (Workbook) โดยทั่วไป
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก สมุดงานเปล่า (Blank Workbook)
3. คลิกเลือก สร้าง (Create)
1
วิธีที่ 2 การสร้างสมุดงาน (Workbook) จาก Template
เป็นการสร้าง Workbook ขึ้นมาใช้งานจากรูปแบบ Workbook ที่มีอยู่ในโปรแกรม ซึ่ง Workbook ใหม่ที่สร้างขึ้นมาก็จะมีลักษณะเหมือนต้นแบบที่ได้เลือกไว้ทุกประการ ซึ่งทำได้ตามขั้นตอนดังนี้
1. คลิกปุ่ม แฟ้ม (File) > สร้าง (New)
2. คลิกเลือก ตัวอย่างแม่แบบ (Sample templates)
2
3. คลิกเลือกสมุดงานที่ต้องการ
4. คลิกปุ่ม สร้าง (Create)
3
5. สมุดงานจะถูกสร้างขึ้นมาจากแม่แบบตามที่เลือก
4



Excel Shortcut ที่ควรรู้
ท่านเคยลากคลุมเลือกช่วงของข้อมูลยาว ๆ เกินหนึ่งหน้าบ้างไหม ถ้าเคยจะรู้สึกว่าทำงานไม่ค่อยสะดวก เพราะต้องเลื่อนหน้าจอลง พร้อมกับการเลือกข้อมูล ถ้าเป็นอย่างนี้ ต้องอาศัย Shortcut เข้าช่วย เพราะ Shortcut ใช้ปุ่มบน Keyboard ทำให้ทำงานได้สะดวกขึ้นอีกเยอะเลย Keyboard shortcut ที่ควรทราบ มีดังนี้
การพิมพ์และการแก้ไข
Ctrl + Enter ออกจากโหมดป้อนค่า หรือแก้ไข โดยไม่เปลี่ยนตำแหน่งเซลล์
F2 แก้ไขข้อมูลในเซลล์
Alt + Enter บังคับให้ขึ้นบรรทัดใหม่ภายในเซลล์เดียวกัน
F12 บันทึกเป็น
Ctrl + C คัดลอกเซลล์ที่กำลังถูกเลือก
Esc ยกเลิกการคัดลอก
Ctrl + V วางเซลล์ที่คัดลอก
Ctrl + X ตัดเซลล์ที่กำลังถูกเลือก
Ctrl + Alt + V ถ้ามีการคัดลอกข้อมูลไว้แล้ว จะแสดงหน้าต่างการวางแบบพิเศษ
การเลือกเซลล์
Ctrl + * เลือกเซลล์ที่ติดกันทั้งหมด เช่น มีข้อมูลในเซลล์ A1 ถึง A20 ขณะนี้เคอเซอร์อยู่ที่เซลล์ A5 ถ้ากด Ctrl ค้างไว้และ กดเครื่องหมาย * บริเวณ A1 ถึง A20 จะถูกเลือก ข้อมูลที่ไม่ติดกับข้อมูลชุดนี้ จะไม่ถูกเลือก
Ctrl + A เลือกพื้นทีทั้งหมดของชุดข้อมูลนั้น ๆ ถ้ากด Ctrl + a อีกครั้ง จะเป็นการเลือกแผ่นงานทั้งหมด
Ctrl + Shift + ปุ่มลูกศร ขยายพื้นที่การเลือกเซลล์จนถึงจุดสิ้นสุดของชุดข้อมูล (ชุดข้อมูลคือบริเวณที่ไม่มีเซลล์ว่าคั่น)
ดับเบิ้ลคลิกที่ Fill handle มีผลเช่นเดียวกับการลาก Fill handle เพื่อคัดลอกสูตรหรือข้อมูล
Shift + คลิก เลือกบริเวณพื้นที่สี่เหลี่ยม ตั้งแต่เซลล์แรกที่คลิกไว้ ครอบคลุมถึงบริเวณที่คลิก เช่น คลิกที่เซลล์ B5 และ ไป Shift + คลิก ที่เซลล์ E30 บริเวณที่ถูกเลือกคือ B5:E30
Shift + ปุ่มลูกศร ขยายพื้นที่การเลือกเซลล์อีก 1 เซลล์ ตามแนวทิศทางลูกศร
การเคลื่อนที่ไปยังเซลล์ต่าง ๆ
Ctrl + G หรือ F5 เปิดหน้าจอให้พิมพ์ตำแหน่งเซลล์ที่ต้องการไป
Home เลื่อนไปยังเซลล์แรกของแถวนั้น
ปุ่มลูกศร เลื่อนตำแหน่งไปยังเซลล์ ซ้าย ขวา บน ล่าง ตามแนวทิศทางลูกศร
Ctrl + ปุ่มลูกศร เลื่อนตำแหน่งไปยังเซลล์ริมสุดของพื้นที่ข้อมูลชุดนั้น ถ้าไม่มีข้อมูลจะเลื่อนไปยังตำแหน่งบนสุด ล่างสุด ซ้ายสุด ขวาสุด ของแผ่นงาน ตามแนวทิศทางลูกศร
PageDown/Up เลื่อนตำแหน่งขึ้น-ลง ครั้งละ 1 หน้า
การจัดการเกี่ยวกับไฟล์
Ctrl + F4 ปิดโปรแกรม
Ctrl + N เปิดไฟล์ใหม่

รวมสูตรการปัดเศษ ของ Excel

สูตรข้างล่างนี้ สามารถใช้ได้กับ Excel 2003-2010
สมมุติว่า ในเซลล์ A1 มีข้อมูล 123.456 เมื่อใช้สูตรข้างล่าง จะได้ผลดังนี้
สูตร ผลลัพธ์ ความหมาย
=ROUND(A1,2) 123.46 ปัดเศษ ทศนิยมสองตำแหน่ง
=ROUND(A1,-1) 120 ปัดเศษ เหลือจำนวนเต็มหลักสิบ
=ROUND(A1,-2) 100 ปัดเศษ เหลือจำนวนเต็มหลักร้อย
=ROUNDDOWN(A1,2) 123.45 ปัดเศษลง ให้มีจำนวนจุดทศนิยมตามที่กำหนด
=ROUNDUP(A1,2) 123.46 ปัดเศษขึ้น ให้มีจำนวนจุดทศนิยมตามที่กำหนด
=ODD(A1) 125 ปัดเป็นเลขคี่
=EVEN(A1) 124 ปัดเป็นเลขคู่
=CEILING(A1,0.5) 123.5 ปัดขึ้น เพื่อให้ตัวเลขที่กำหนดหารลงตัว เช่น ใช้ในกรณีที่ต้องกรหลีกเลี่ยงเศษที่ไม่มีหน่วยเงิน เช่น 45 สตางค์ ไม่มีเหรียญ ก็เลยปัดให้เป็น 50 สตางค์ คือ กำหนดให้เป็นทวีคูณของ 50 สตางค์
=FLOOR(A1,0.5) 123 ปัดลง เพื่อให้ตัวเลขที่กำหนดหารลงตัว เช่น หลีกเลี่ยง 45 สตางค์ ก็เลยปัดลงให้เป็น 00 สตางค์ คือให้ 50 สตางค์หารลงตัว หรือ พูดอีกอย่างว่า ให้เป็นทวีคูณของ 50 สตางค์ เป็นต้น
=INT(A1) 123 เอาเฉพาะเลขจำนวนเต็ม
=TRUNC(A1,2) 123.45 ตัดเอาจำนวนตำแหน่งทศนิยมที่กำหนด ไม่มีการปัดเศษ
=MOD(A1,2) 1.456 เศษที่เหลือจากการหาร ของตัวหารที่กำหนด ในตัวอย่างคือ นำ 2 ไปหาร 123 เหลือเศษ 1
ทดลองการใช้สูตร ใน Excel Web App ข้างล่างนี้ (พิมพ์สูตรเสร็จแล้ว กดปุ่ม Enter)









เริ่มใช้งานโปรแกรมMicrosoft Excel 2007








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น