ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

08 พฤษภาคม 2554

พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล

           พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล



พระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาลเรียกโดยราชประเพณีว่า "ศรีปัญจมหาราชธิราช" (เนปาลี: श्री ५ महाराजधिराज, Śrī Pañca Mahārājdhirāj) และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีแห่งราชอาณาจักรเนปาล เรียก "ศรีปัญจพฑามหารานี" (เนปาลี: श्री ५ बडामहारानी, Śrī Pañca Badāmahārānī) ทั้งนี้ การปกครองประเทศเนปาลตามระบอบราชาธิปไตยนั้นได้ยกเลิกไปโดยมติของสภาร่างรัฐธรรมนูญแห่งเนปาลซึ่งให้เปลี่ยนแปลงเป็นระบอบสาธารณรัฐตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2551



รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเนปาล


ราชวงศ์ศาหะ
ที่ พระนาม รัชกาล หมายเหตุ
1 สมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีนารายณศาหะ
(पृथ्वी नारायण शाह, Prithvi Narayan Shah, ปฤฺฐฺวี นารายณ ศาห)
25 กันยายน 2311
11 มกราคม 2318
2 สมเด็จพระราชาธิบดีประตาปสิงหศาหะ
(प्रताप सिंह शाह, Pratap Singh Shah, ปรฺตาป สิงฺห ศาห)
11 มกราคม 2318
17 พฤศจิกายน 2320
-
3 สมเด็จพระราชาธิบดีราณาพหาทูรศาหะ
(राणा बहादुर शाह, Rana Bahadur Shah, ราณา พหาทูร ศาห)
17 พฤศจิกายน 2320
23 มีนาคม 2342
-
4 สมเด็จพระราชาธิบดีคีรวันยุทธพิกรมศาหเทวะ
(गिर्वन युद्धा बिक्रम शाह , Girvan Yuddha Bikram Shah Deva, คีรฺวน ยุทฺธา พิกรฺม ศาห เทว)
23 มีนาคม 2342
20 พฤศจิกายน 2329
-
5 สมเด็จพระราชาธิบดีราเชนทรพิกรมศาหะ
(राजेन्द्र बिक्रम शाह, Rajendra Bikram Shah, ราเชนฺทฺร พิกรฺม ศาห)
20 พฤศจิกายน 2329
12 พฤษภาคม 2390
-
6 สมเด็จพระราชาธิบดีสุเรนทรพิกรมศาหะ
(सुरेन्द्र बिक्रम शाह, Surendra Bikram Shah, สุเรนฺทฺร พิกรฺม ศาห)
12 พฤษภาคม 293017 พฤษภาคม 2424 -
7 สมเด็จพระราชาธิบดีปฤฐวีพีรพิกรมศาหะ
(पृथ्वी वीर विक्रम शाहदेव, Prithvi Bir Bikram Shah, ปฤฺฐฺวี วีร วิกรฺม ศาหเทว)
17 พฤษภาคม 2424
11 ธันวาคม 2454
-
8 สมเด็จพระราชาธิบดีตริภุวนพีรพิกรมศาหะ
(त्रिभुवन वीर विक्रम शाहदेव, Tribhuvan Bir Bikram Shah, ตฺริภุวน วีร วิกรฺม ศาหเทว)
11 ธันวาคม 24547 พฤศจิกายน 2493 (ครั้งที่หนึ่ง)7 มกราคม 2494
13 มีนาคม 2498 (ครั้งที่สอง)
9 สมเด็จพระราชาธิบดีคยาเนนทรพีรพิกรมศาหเทวะ
(ज्ञानेन्द्र वीर बिक्रम शाहदेव, Gyanendra Bir Bikram Shah Dev, ชฺญาเนนฺทฺร วีร พิกรฺม ศาหเทว)
7 พฤศจิกายน 24937 มกราคม 2498 (ครั้งที่หนึ่ง)4 มิถุนายน 254428 พฤษภาคม 2551 (ครั้งที่สอง) -
10 สมเด็จพระราชาธิบดีมเหนทรพีรพิกรมศาหเทวะ
(महेन्द्र वीर विक्रम शाह, Mahendra Bir Bikram Shah, มเหนฺทฺร วีร วิกรฺม ศาห)
14 มีนาคม 249831 มกราคม 2515 -
11 สมเด็จพระราชาธิบดีพีเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ
(वीरेन्द्र वीर विक्रम शाहदेव, Birendra Bir Bikram Shah Dev, พีเรนฺทฺร วีร วิกรฺม ศาหเทว)
31 มกราคม 2515
1 มิถุนายน 2544
-
12 สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทรพีรพิกรมศาหเทวะ
(दिपेन्द्र वीर विक्रम शाहदेव, Dipendra Bir Bikram Shah Deva, ทิเปนฺทฺร วีร วิกรฺม ศาหเทว)

1 มิถุนายน 2544
4 มิถุนายน 2544


เหตุการณ์สังหารหมู่ราชวงศ์เนปาล พ.ศ. 2544


เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2544 ได้เกิดเหตุการณ์สังหารหมู่พระราชวงศ์แห่งเนปาลขึ้นภายในพระราชวังในกรุงกาฐมาณฑุ เป็นผลให้กษัตริย์พิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ (Birendra Bir Bikram Shah Dev) และสมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (Aiswarya) เสด็จสวรรคต พร้อมด้วยสมาชิกพระราชวงศ์อีก 7 พระองค์ ซึ่งล้วนแต่เป็นสมาชิกองค์สำคัญในราชวงศ์เนปาลทั้งสิ้น เหตุการณ์นี้ทำให้ชาวโลกตื่นตะลึง และยังความเศร้าโศกโกลาหลให้แก่ชาวเนปาลอย่างมหันต์
สำนักพระราชวังได้ประกาศสาเหตุของโศกนาฏกรรมว่า เกิดจากอุบัติเหตุพระแสงปืนลั่นโดยมกุฎราชกุมารดิเพนทรา (Dipentra) เป็นผู้ทำพระแสงปืนลั่นในขณะที่สมาชิกพระราชวงศ์กำลังร่วมเสวยพระกระยาหารค่ำ ก่อนที่องค์มกุฏราชกุมารจะทำพระแสงปืนลั่นถูกพระองค์เอง ในขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของสำนักพระราชวังและแหล่งข่าวหลายกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าโศกนาฏกรรมครั้งนี้เกิดจากการที่องค์มกุฏราชกุมาณทรงบันดาลโทสะในขณะทรงวิวาทกับพระราชมารดาเรื่องการที่องค์มกุฏราชกุมาร ทรงต้องการจะอภิเษกกับสตรีจากตระกูลรานา (Rana) และแหล่งข่าวอีกหลายกระแส ตั้งข้อสงสัยว่าองค์มกุฏราชกุมารทรงตกอยู่ในพระอาการมึนเมาจากน้ำจัณฑ์ (สุรา) และยาเสพติด
หลังจากจัดงานพระบรมศพเรียบร้อย ในวันที่ 3 มิถุนายน ทางการเนปาลก็ได้อันเชิญให้มกุฏราชกุมาร ดิเพนทรา ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระราชบิดา แต่ในวันเดียวกัน พระองค์ก็สวรรคตลงอีกพระองค์หนึ่ง ทำให้ทางการเนปาลต้องถวายการแต่งตั้งให้เจ้าชายคยาเนนทรา (Gyanendra) พระอนุชาของกษัตริย์พิเรนทรา ซึ่งมิได้ประทับในกาฐมาณฑุขณะเกิดโศกนาฏกรรม
การสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทรา ส่งผลให้การเมืองภายในประเทศของเนปาลเกิดความปั่นป่วนขึ้นเกือบจะในทันที ประชาชนจำนวนมากได้รวมตัวกันเป็นขบวนประท้วงไปตามถนนในกรุงกาฐมาณฑุ เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลสืบหาความจริงของโศกนาฏกรรมโดยด่วน ประชาชนที่กำลังโกรธแค้นได้ทำลายสาธารณสมบัติ และต่อสู้กับเจ้าหน้าที่ตำรวจจนมีผู้เสียชีวิตหลายราย ทำให้ทางการต้องประกาศกฎอัยการศึกทั่วประเทศจนถึงวันที่ 8 มิถุนายน ในขณะเดียวกันหนังสือพิมพ์ 3 ฉบับถูกสั่งปิดข้อหาลงข่าวที่ไม่เหมาะสม ขณะที่ผู้นำกลุ่มลัทธิเหมา (Maoist) นายประจันดา (Prachanda เป็นชื่อย่อจาก Pushpa Kamal Dahal) ได้ออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ฝ่ายซ้าย (leftist) ฝ่ายชาตินิยม (nationalist) และฝ่ายนิยมสาธารณรัฐ (republican) ร่วมกันตั้งรัฐบาลเฉพาะการณ์ขึ้นในระหว่างที่ประเทศกำลังระส่ำระสาย นอกจากนี้ นายมาดาว์ กุมาร เนปาล (Madhav Kumar Nepal) หัวหน้าพรรคแนวร่วมคอมมิวนิสต์แห่งเนปาล (Nepal Communist Party-United Marxist and Leninist : NCP-UML) ซึ่งเป็นฝ่ายค้านของเนปาลได้ลาออกจากตำแหน่งในวันที่ 14 มิถุนายน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจต่อการสวรรคตของกษัตริย์พิเรนทรา


เหยื่อจากเหตุการณ์สังหารหมู่

ผู้เสียชีวิต

  • สมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทรพีรพิกรมศาหเทวะ (พระชนก)
  • สมเด็จพระราชินีไอศวรรยาราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระชนนี)
  • มกุฎราชกุมารทิเปนทรพีรพิกรมศาหเทวะ (ภายหลังถูกยกเป็นพระมหากษัตริย์ ภายหลังจึงได้สวรรคตในเวลา 3 วัน)
  • เจ้าฟ้าชายนิราชันพีรพิกรมศาหเทวะ (พระอนุชา)
  • เจ้าฟ้าหญิงศรุติราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระขนิษฐา)
  • นายธีเปนทร ศาหะ (พระอนุชาในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร ซึ่งถูกถอดพระอิสริยยศ)
  • เจ้าฟ้าหญิงชยันตีราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • เจ้าฟ้าหญิงศานติราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระพี่นางในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • เจ้าฟ้าหญิงศารทราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระพี่นางในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • นายกุมาร ขัทกะ (พระสวามีในเจ้าฟ้าหญิงศารท)

ผู้ได้รับบาดเจ็บ

  • เจ้าฟ้าหญิงโศภาราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระขนิษฐาในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • นายกุมาร โครัข (พระสวามีในเจ้าฟ้าหญิงศรุติ)
  • เจ้าฟ้าหญิงโกมาลราชยลักษมีเทวีศาหะ (พระชายาในเจ้าฟ้าชายชญาเนนทร ภายหลังได้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระราชินีแห่งเนปาลคนสุดท้าย)
  • นายเคตากี เชสเตอร์ (พระญาติในสมเด็จพระราชาธิบดีพิเรนทร)
  • เจ้าฟ้าชายปาราสพีรพิกรมศาหเทวะ (พระโอรสในเจ้าฟ้าชายชญาเนนทร ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นมกุฎราชกุมารภายหลังจากการสิ้นพระชนม์ของมกุฎราชกุมารทิเปนทร)





สถาบันกษัตริย์ที่มีอายุยาวนานนับร้อยปีต้องพังครืนจบสิ้นลงไป



สถาบันกษัตริย์ "เนปาล" ที่มีอายุยาวนาน 240 ปี
ต้องพังครืนจบสิ้นลงไป

จบลงในรัชสมัยของสมเด็จพระราชาธิบดี "คยาเนนทรา" ผู้สืบเชื้อสายราชวงศ์ "ชาห์" ต่อเนื่องมา
จากปฐมกษัตริย์ "ปฤถวี นารายัน ชาห์" ผู้สถาปนาราชอาณาจักรเนปาลขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2311

กษัตริย์คยาเนนทราเมื่อวันก่อน ณ วันนี้ ไร้อิสริยยศ มีคำนำหน้าเหลือเพียงแค่ "นาย"

"สาธารณรัฐเนปาล" ถือกำเนิดขึ้นมาแทนที่ "ราชอาณาจักรเนปาล" โดยสมบูรณ์!

ก่อนการปฏิวัติ เนปาลปกครองโดยระบอบ Constitutional monarchy โดยมี กษัตริย์พิเรนทรา
(वीरेन्द्र वीर विक्रम शाह King Bīrendra Bīr Bikram Śāh) ทรงเป็นองค์พระประมุข

ภายหลังจากสภาเนปาลชุดใหม่ เปิดประชุมในกรุงกาฐมาณฑุ เมื่อวันที่ 28-29 พฤษภาคม และลงมติ
560 ต่อ 4 เสียงเห็นชอบรับรองการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อยุบ-ล้มล้างสถาบันกษัตริย์ ตามแรงกดดันของ
พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล

กลุ่มการเมืองที่ผันมาจากการเป็นกบฏนิยมลัทธิเหมา หลังชนะการเลือกตั้งยึดกุมเก้าอี้ส.ส.ในสภามาก
ที่สุด รัฐบาลยื่นคำขาดให้ กษัตริย์คยาเนนทรา กับ พระราชินีโกมาล รวมถึงเชื้อพระวงศ์คนอื่นๆ เก็บข้าว
ของออกจากพระราชวังภายใน 15 วัน มิเช่นนั้นจะใช้มาตรการเด็ดขาด!

เบื้องหลังการขึ้นสู่อำนาจของคยาเนนทรา เต็มไปด้วยความแปลกประหลาด ลึกลับ และคาวเลือด
เพราะตำแหน่ง "กษัตริย์" ของพระองค์นั้น ได้มาหลังจากมกุฎราชกุมารทิเพนทรา ก่อเหตุช็อกโลกเมื่อ
วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2544 รัวปืนกลฆ่าหมู่ กษัตริย์พิเรนทรา พระราชินีไอศวรรยา และพระบรมวงศา
นุวงศ์พระองค์อื่นๆ ระหว่างร่วมงานเลี้ยงเสวยพระกระยาหารค่ำในพระราชวังนารายันฮิติ ดับอนาถ 9ศพ
ก่อนใช้ปืนยิงปลิดชีพพระองค์เอง
Dipendra Bir Bikram Shah Dev.jpg http://t1.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRXxWKSPiUQ7nvSHpMSVQ2XaAR9DwbCR5YfjjveDXWiX1nsm0s&t=1&usg=__Qml6TbAMozCxy-azmHff2sgnq0Q=
ได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระราชาธิบดีทิเปนทรพีรพิกรมศาหเทวะ ได้เพียง 3 วัน
Dipendra Bir Bikram Shah Dev

ผลการสอบสวนของทางการชี้ว่า มกุฎราชกุมารทิเพนทรา เมาสุราและเมากัญชาขณะลงมือสังหารโหด
แรงจูงใจเพราะผิดหวังในความรัก เนื่องจากกษัตริย์พิเรนทรา พระราชบิดา ไม่อนุญาตให้อภิเษกกับ

น.ส.เทพยานี
คนรักต่างราชสกุล

แต่การที่ กษัตริย์คยาเนนทรา พระอนุชา กษัตริย์พิเรนทรา ที่ได้ขึ้นครองราชย์แทน และครอบครัวของ
กษัตริย์คยาเนนทรา ไม่ได้อยู่ในงานเลี้ยงคืนนั้น ทั้งที่ปกติจะต้องเสด็จไปร่วม กลายเป็นที่มาของข้อครหา
ชาวเนปาลจำนวนมากเชื่อว่า คยาเนนทราอยู่เบื้องหลัง แผนโศกนาฏกรรมนี้ เพื่อจะได้ขึ้นเป็นใหญ่ นับตั้ง
แต่บัดนั้นเป็นต้นมา ทัศนคติของชาวบ้านเนปาลที่มีต่อพระองค์ก็ตกต่ำลงเรื่อยๆ

ในสมัยของกษัตริย์พิเรนทรา พระองค์จะไม่ทรงเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับ "การเมือง" มากนัก แต่เมื่อคยาเนนทรา
ก้าวขึ้นเป็นกษัตริย์ ก็เริ่มใช้อำนาจ "เผด็จการ" รุกคืบเข้าไป แผ่อิทธิพลทางการเมือง ทั้งประกาศยุบสภา
เลื่อนวันเลือกตั้ง ปลดนายกรัฐมนตรีเข้าๆ ออกๆ เป็นว่าเล่น

นอกจากนั้น ยังเปิดศึกกับกลุ่ม "กบฏลัทธิเหมา" ที่ครองพื้นที่แถบชนบทอย่างเข้มข้น

จุดแตกหัก เกิดขึ้นชัดเจนช่วงต้นปี 2548 เมื่อกษัตริย์คยาเนนทรามีพระบรมราชโองการปลด นายกรัฐ
มนตรีเชียร์ บาหดุร เดออูบา รวมถึงรัฐมนตรีทั้งคณะออกจากตำแหน่งและทรงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เอง พร้อมตั้งคณะรัฐมนตรีหุ่นเชิดชุดใหม่

ImageShack, share photos, pictures, free image hosting, free video hosting, image hosting, video hosting, photo image hosting site, video hosting site
Police confront demonstrators after the announcement of the death of King Dipendra and the coronation of his uncle, King Gyanendra, June 4, 2001 in Katmandu

ผลลัพธ์ที่ตามมา เกิดการเดินขบวนประท้วงเรียกร้องประชาธิปไตย ขณะที่ฝ่ายรัฐส่ง ทหารเข้าปราบ
ปรามประชาชน
เรื่องราวจึงบานปลายใหญ่โตกลายเป็นวาระระดับโลก เมื่อรัฐบาล
สหรัฐ อังกฤษ ฝรั่งเศส
เยอรมนี และสหภาพยุโรป
(อียู)
สั่งระงับการช่วยเหลือด้านอาวุธแก่เนปาลและกดดันให้กษัตริย์คยาเนนทรา
จัดเลือกตั้งโดยเร็ว
ImageShack, share photos, pictures, free image hosting, free video hosting, image hosting, video hosting, photo image hosting site, video hosting site

ช่วงนี้ข่าวลือข้อมูลเกี่ยวกับความโลภด้านการทำธุรกิจส่วนพระองค์ ของกษัตริย์คยาเนนทรา และพฤติกรรม
หลงระเริงในกามของ "มกุฎราชกุมารปาราส" พระโอรสยิ่งแพร่สะพัดในสังคมเนปาลสั่นคลอนแรงศรัทธา
ต่อสถาบันกษัตริย์มากขึ้นไปอีก


ImageShack, share photos, pictures, free image hosting, free video hosting, image hosting, video hosting, photo image hosting site, video hosting site
ทางเดินของพระองค์ถึงทางตัน เมื่อ 7พรรคการเมืองใหญ่ กับ กบฏเหมา ประกาศสงบศึกยุติ การทำ
สงครามกลางเมือง ที่ยืดเยื้อนับสิบปี เพื่อผนึกกำลังโค่นราชบัลลังก์!

กลาง ปี พ.ศ.2549 แม้ กษัตริย์คยาเนนทรา ยอมกลับลำคืนอำนาจให้สภา และเปิดทางไปสู่การเลือกตั้ง ทุก
อย่างก็สายเกินแก้ โดยสภาชุดรักษาการที่กลับมาใหม่มีมติยกเลิกพระราชอำนาจต่างๆ ตามด้วยมติยึด พระ
ราชวัง พระราชทรัพย์ ที่ได้มาหลังขึ้นครองราชย์มาเป็นของรัฐ ส่วนกบฏเหมา นำโดย ายประจันดา ส่งคน
ในสังกัดชูประเด็น"ล้มล้างกษัตริย์-จัดตั้งสาธารณรัฐ" กรีธาทัพลงสมัครรับเลือกตั้งจนชนะครองเสียงข้าง
มาก

นายทหารชั้นผู้ใหญ่ ที่เคยใกล้ชิดกับ ษัตริย์คยาเนนทรา เผยว่าเคยแนะให้พระองค์ ทำงานเพื่อประชาชนบ้าง
เช่น แบ่งเอาวังไปทำเป็นโรงพยาบาลช่วยคนยากไร้ เพื่อเรียกความรักความศรัทธาคืนมา แต่ท่านไม่ฟังอย่าง
ไรก็ตาม ถึงจะหมดอำนาจวาสนา แต่คยาเนนทรายังมี"อาวุธลับ" ที่อาจใช้ต่อกรกับกลุ่มการเมืองได้อีกเฮือก
หนึ่งถ้าต้องการ นั่นคือ ขุมข่ายธุรกิจมูลค่ามหาศาลที่ถือครองอยู่

หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา เกิดเหตุระเบิดหลายครั้งในกรุงกาฐมาณฑุ ตำรวจสันนิษฐานว่าเป็นกลุ่มภักดีที่ยัง
ฮึดสู้ นักวิเคราะห์ยังชี้ด้วยว่า การแก้ไขปัญหาความยากจนของชาวเนปาล ซึ่งมีอัตราว่างงานสูงถึงร้อยละ 42
จัดเป็นเรื่องสำคัญที่ท้าทายความสามารถรัฐบาลชุดใหม่ ดูแลปากท้องชาวบ้านไม่ดีโอกาสจะหล่นจากอำนาจ
ก็มีสูงเช่นกัน!




ที่มาจากหนังสือพิมพ์




2 มีนาคม 2552

มีรายงานว่า พระราชวังซึ่งเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์เนปาล ถูกเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์เมื่อวันที่ 26 ก.พ.52
ทำให้ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าชมวิถีชีวิตของอดีตประมุข ที่มีทั้งด้านหรูหราฟุ่มเฟือย รวมถึงด้านที่โหดร้าย
ของเขาได้

ราชวงศ์ชาห์ ปกครองเนปาลมากว่า 240 ปีแล้ว แต่ได้ถูกล้มล้างไปเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมาโดย
พรรคคอมมิวนิสต์เนปาล (เหมาอิสต์) ก่อนมีการลงนามข้อตกลงสันติภาพ จากพรรคการเมืองเสียงข้างมาก
และร่วมกันต่อต้านกษัตริย์คยาเนนทราผู้ฉาวโฉ่ ซึ่งในตอนนี้อดีตกษัตริย์ได้อาศัยอยู่ในเขตชานเมืองของกรุง
กาฐมานฑุ
ด้านหน้าพิพิธภัณฑ์ ซึ่งอดีตเคยเป็นพระราชวัง รูป AP/Binod Joshi)

สิ่งดึงดูดลำดับต้นๆของ พิพิธภัณฑ์นารายันฮิติ คือ พระราชบัลลังค์ ที่สร้างขึ้นด้วยเงินและทองคำ ห้องโถง
เลี้ยงรับรอง รวมถึงห้องนอนของอดีตกษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดง มงกุฎประดับเพชร มรกต ไม้คทา
รวมถึงรถเบนซ์ ที่ อดอลฟ์ ฮิตเลอร์ มอบให้ปู่ของ กษัตริย์คยาเนนทรา อีกด้วย

นัน ดา คิยอร์ ปัน อดีตกบฏลัทธิเหมาที่เข้าเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ให้ความเห็นว่า มันแสดงให้เห็นถึงความห่างชั้น
กันอย่างมากระหว่างชีวิตของชาวเนปาลทั่วไปกับชีวิตของกษัตริย์ วิถีชีวิตของพวกในวังทำให้ประชาชนมีความ
ชอบธรรมที่จะลุกฮือขึ้นสู้

ขณะที่ นิลัม สุเบดี ผู้ที่เข้าชมพระราชวังมาได้ ๗ ชั่วโมง ให้ความเห็นว่าการได้เห็นความแตกต่างในเรื่องความ
ร่ำรวยระหว่างประชาชนทั่วไปกับอดีตกษัตริย์ทำให้เขารู้สึกเศร้าและบอกอีกว่า"มันดีแล้วที่เราไม่ต้องมีกษัตริย์อีก"
ประจันดา นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันของเนปาลและอดีตผู้นำกบฏลัทธิเหมา พูดเปิดพิพิธภัณฑ์แห่งนี้เอาไว้ว่า
เป็น "อีกหนึ่งก้าว ที่จะนำไปสู่การสร้างสถาบันแบบสาธารณรัฐ" นอกจากนี้นายกรัฐมนตรีเนปาลยังบอกอีก
ว่า มันเป็นชัยชนะของประชาชนที่มีต่อระบอบศักดินา

ลานที่มีการสังหารหมู่ในพระราชวังเมื่อปี 2544(ที่มารูป Reuters Picture)

สถานที่ที่ดึงดูดผู้คนอีกที่หนึ่งคือ
ห้องที่กษัตริย์พิเรนทรา กษัตริย์พระองค์ก่อนหน้ากษัตริย์คยาเนนทราและเชื้อ
พระวงศ์จำนวนมากถูกสังหาร
หมู่ในปี 2001 โดย เจ้าชายดิเพนทรา ผู้ที่กำลังเมายาและต่อมาก็ปลงพระชนม์
พระองค์เอง มีข่าวลือว่าการสังหารหมู่ในราชวงศ์ครั้งนี้มาจากการสมคบคิดของกษัตริย์คยาเนนทรา ผู้ที่ไม่ได้อยู่
ในเหตุการณ์ เพื่อเป็นหนทางให้พระองค์สืบทอดราชบัลลังก์

นายกรัฐมนตรี ประจันดา
ให้คำมั่นว่าจะนำคดีนี้ขึ้นมาไต่สวนอีกครั้งเพื่อ
"นำความจริงเรื่องการสังหารหมู่มาสู่ในที่แจ้ง"

"ประชาชนสมควรจะได้รู้ว่ามีอะไรเกิดขึ้นในคืนนั้น ผมได้ตัดสินใจแล้วว่า
จะไต่สวนเหตุการณ์นี้ และลงโทษผู้กระทำผิด" นายกรัฐมนตรีกล่าว

ไฟล์:Kathmandu palace.jpg

พระราชวังนารายันฮิติ สร้างขึ้นโดยราชวงศ์ชาห์ ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่18และเมื่อเดือนสิงหาคมปี2550
รัฐบาลเนปาล ได้ตั้งให้พระราชวังแห่งนี้เป็นสมบัติของชาติ แต่ยังอนุญาตให้กษัตริย์ประทับอยู่ได้ จนกว่าจะมีมติ
จาก
สภาร่างรัฐธรรมนูญ
กษัตริย์คยาเนนทรา ออกจากพระราชวังนารายันฮิติไปที่ พระราชวังนากาจัน หนึ่งวันหลังจากการลงมติ ให้
เนปาล
เป็นสาธารณรัฐ ก่อนที่จะกลับมาที่พระราชวังเดิมอีกครั้ง

ในปี 2551 พระราชวังนารายันฮิติ เป็นหนี้รัฐถึงราว หนึ่งล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งมาจากค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์
พระราชวังหยุดจ่ายค่าไฟมาตั้งแต่ปี 2548 ปีที่กษัตริย์มีอำนาจโดยเบ็ดเสร็จ
https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEilV5-Ie8iw9NSIMQBCrtSrfUZ9HqNU6d_wIy7B0fGPzDaO-DZM-9sbaPProZQQ2p6161zmcqiPW-y_c6VjxyWKnlzgQkKZoSKFY90kmWI0cVK-wf8GEd5TFDsi_9mcVmgVoSkdhN_Axqbj/s320/2.jpg
ในวันที่ 28 พ.ย.2551 ที่มีการเปิดสภาฯ กษัตริย์คยาเนนทรา มีเวลา15วันในการย้ายออกจากพระราชวังอีกวันถัด
จากนั้นธงรูปสิงโตบนพื้นแดง สัญลักษณ์ของกษัตริย์เนปาลก็ถูกลดลงและนำธงรูปสามเหลี่ยมคู่ ที่เป็นธงชาติ
ของ ประเทศเนปาล ขึ้นแทนที่ สภาฯ ของเนปาลในช่วงเวลานั้นยังกล่าวด้วยว่าจะปรับปรุงให้พระราชวังเป็น พิพิธ
ภัณฑ์ประวัติศาสตร์ หรือนำมาใช้สอยในทางด้านอื่นที่เป็นประโยชน์กับ ประเทศชาติ ตามแต่รัฐบาลจะเห็นควร

Nepal flag http://allnepal.com/nepal/maps/nepal_map.jpg

อดีตกษัตริย์ยอมออกจาก พระราชวังนารายันฮิติ ในวันที่ 11 มิ.ย.2551 หลังการแถลงข่าว โดยมอบมงกุฏให้กับ
รัฐบาลของเนปาล ทั้งยังทิ้งเฟอร์นิเจอร์และทรัพย์สินส่วนใหญ่ที่ได้มาในตอนที่ยัง ปกครองประเทศไว้ด้วย

ขณะเดียวกันคยาเนนทรา-อดีตกษัตริย์เนปาลได้ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวขณะเยือนประเทศอินเดีย บอกว่าเขาอยาก
ใช้ชีวิตอยู่ต่อที่เนปาล ตราบใดที่ประชาชนของเนปาลยังต้องการให้เขาอยู่ เขาบอกว่าไม่อยากไปอยู่ในสถานที่อื่น
อดีตกษัตริย์คยาเนนทรา ขณะเยือนอินเดีย ซึ่งถือเป็นการเยือนต่างประเทศเป็นครั้งแรกในฐานะสามัญชน

อดีตกษัตริย์คยาเนนทรา กับภรรยาและน้องสาวผู้เป็นอดีตภรรยาและอดีตเจ้าหญิงตามลำดับ มาเยือนที่กรุงนิวเดลี
ประเทศอินเดียตั้งแต่วันที่ 25 ก.พ.ที่ผ่านมา ซึ่งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่อดีตกษัตริย์ออกนอกประเทศเนปาล นับตั้งแต่แผน
การอาศัยกองทัพเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศล้มเหลวในปี 2548 เป็นชนวนให้เขาค่อยๆ เสื่อมอำนาจลง

ที่มา: แปลและเรียงเรียงจาก
Former king Gyanendra wants to continue to live in Nepal , 27 Feb. 2009 , New Keralahttp://www.newkerala.com/topstory-fullnews-101824.htmlNepal's former royal palace opened to the public , 27 Feb. 2009 , AFP
http://news.yahoo.com/s/afp/20090227/wl_sthasia_afp/nepalpoliticsroyalsmuseum_20090227081516
Public gets first view of royal palace in Nepal , 28 Feb 2009 , AFP/The Times
http://www.timesonline.co.uk/tol/news/world/asia/article5818181.eceข้อมูลประกอบการเขียน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น