ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

09 พฤษภาคม 2554

เอวา ดูอาร์เต้ เด เปรอน(Eva Duarate de Peron)

เอวา ดูอาร์เต้ เด เปรอน(Eva Duarate de Peron)

สตรีหมายเลขหนึ่งตลอดกาลของอาร์เจนตินา

วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube





วิดีโอ YouTube





Madonna - Evita - 11 Don't Cry for Me Argentina (1996)


"ฉันต้องการมีชีวิตร่วมกับเปรอง และประชาชนของฉันตลอดไป ซึ่งมันเป็นความจริง ที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ และมันคือความต้องการ ครั้งสุดท้ายของฉัน มันน่าจะเป็นวิถีทาง ที่ต้องดำเนินต่อไป ทรัพย์สมบัติของฉันทั้งหมด ถูกใช้ไปกับการแก้ปัญหาความยากจน และฉันต้องการให้สิ่งนี้ พิสูจน์ความรักของฉัน ที่มีต่อประชาชนทุกคน?







กุหลาบแดงหลายดอกเสียบอยู่ที่ประตูเหล็กบานใหญ่ซึ่งมีรูปกางเขนทำด้วยทองแดงสุกปลั่งท่ามกลางลวดลายอันงดงาม และเมื่อเงยหน้าขึ้นมองกรอบประตูด้านบน จะเห็นตัวอักษรโลหะเป็นภาษาสเปนว่า FAMILIA DUARTE ประดับอยู่บนหินอ่อนสีดำขัดมัน...แต่นี่หาใช่ประตูสู่คฤหาสถ์อันโอ่อ่าในย่านของตระกูลขุนนางเก่าและมหาเศรษฐีแห่งอาร์เจนติน่า หากเป็นเพียงประตูสถานที่เก็บศพของสมาชิกคนหนึ่งของตระกูลดูอาร์เต้ ในสุสาน La Recoleta กรุงบัวโนส ไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ? และสมาชิกคนนั้นคือ เอวา ดูอาร์เต้ เด เปรอน (Eva Duarate de Peron) สตรีหมายเลขหนึ่งตลอดกาลของอาร์เจนตินา ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติ (the Spiritual Leader of the Nation)


มาเรีย เอวา ดูอาร์เต้ เกิดที่ชานกรุงบัวโนส ไอเรส เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ.1919ในครอบครัวที่ยากจน และสถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อบิดาเสียชีวิตขณะที่เอวามีอายุได้เพียง 7 ขวบ ทิ้งภรรยาและลูก ๆ อีก 5 คน ให้เผชิญโลกตามลำพัง การดิ้นรนในสังคมที่มีความแตกต่างกันอย่างมากทางชนชั้น ความอยุติธรรม และการเอารัดเอาเปรียบต่าง ๆ ทำให้เอวามีแนวคิดทางสังคมมาตั้งแต่เล็ก ๆ ในชั้นแรกเธอคิดเหมือนกับคนจนทั่วไปว่าเป็นเรื่องปกติที่คนจนจะเป็นได้แค่ต้นหญ้า และคนรวยจะเติบโตเป็นต้นไม้ใหญ่ตลอดไป แต่เมื่อเริ่มโตขึ้น เธอเริ่มพินิจว่า การที่คนจำนวนมากยากจนนั้นเป็นเพราะคนรวยแสวงหาความร่ำรวยจนเกินไปโดยไม่รู้จักความพอเพียง


เอวาสนใจในการแสดงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น ในปี 1934 เธอเดินทางเข้ามาศึกษาวิชาการแสดงและการกล่าวสุนทรพจน์ที่บัวโนส ไอเรส และเริ่มชีวิตนักแสดงละครเวที แต่ยังไม่มีชื่อเสียงมากนัก หลังจากนั้นจึงหันไปเป็นนางแบบปกนิตยสาร นางแบบโฆษณา ควบคู่ไปกับการแสดงภาพยนต์ และจัดรายการวิทยุ ซึ่งทำให้เธอเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง แต่ชีวิตของศิลปินในเวลานั้นเป็นไปด้วยความขมขื่นและยากลำบาก


วันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ.1943 เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งสำคัญในอาร์เจนตินา เมื่อคณะทหารทำการปฏิวัติยึดอำนาจการปกครอง ต่อมาในเดือนตุลาคมปีนั้น คณะปฏิวัติ ได้แต่งตั้งพันโทฆวน โดมิงโก้ เปรอน มาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมแรงงาน เพื่อดูแลรับผิดชอบปัญหาแรงงาน ก่อนที่กรมนั้นจะได้รับการปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานเลขาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม มีฐานะเทียบเท่ากระทรวง ในเวลาอีกเพียงหนึ่งเดือนต่อมา

กลางเดือนมกราคม ค.ศ.1944 เกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในจังหวัดซันฆวนเหล่าศิลปินได้รวมตัวกันจัดงานหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัย ประธานาธิบดีเปรโด รามิเรซ และพันโทเปรอน ได้มาร่วมงานด้วย เอวามีโอกาสพบกับเปรอนเป็นครั้งแรก และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมาตั้งแต่นั้น ทั้งคู่มีทัศนะทางสังคมและการเมืองที่สอดคล้องกัน โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยสันติวิธี

เอวาช่วยเหลือพันโทเปรอนด้านงานแรงงานและสวัสดิการสังคมอย่างเต็มที่ จนกลายเป็นอุปสรรคต่องานแสดงภาพยนต์ของเธอเอง อย่างไรก็ตาม เอวาได้ก่อตั้งสมาพันธ์ขึ้นเป็นผลสำเร็จ และดำรงตำแหน่งประธานคนแรกของสมาพันธ์ฯ

นโยยายด้านแรงงานและสวัสดิการสังคมของพันโทเปรอนส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของผู้ใช้แรงงานและคนยากจน ทำให้เขาได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จนประธานาธิบดีต้องแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองประธานาธิบดี และรัฐมนตรีกลาโหม ควบคู่กับตำแหน่งเลขาธิการแรงงานและสวัสดิการสังคม ท่มกลางความไม่พอใจแก่นายทหารบางกลุ่ม

วันที่ 13 ตุลาคม 1945 พันโทเปรอนถูกจับกุมและคุมขังอยู่ในเรือนจำบนเกาะกลางแม่น้ำปลาต้า เอวิต้าขอเข้าไปอยู่ในเรือนจำกับเปรอนด้วย แต่ได้รับการปฏิเสธ เธอและเพื่อน ๆจึงเดินทางไปตามโรงงานและสหพันธ์แรงงานต่าง ๆ เพื่อปลุกระดมคนงานให้ปกป้องและปลดปล่อยเปรอน

รุ่งอรุณของวันที่ 17 ตุลาคม คนงานทั่วกรุงบัวโนส ไอเรส พากันหยุดงานและชุมนุมกันเป็นจำนวนมหาศาลอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน แต่การชุมนุมเป็นไปด้วยความสงบ ปราศจากความรุนแรงใด ๆ ชนิดที่กระจกร้านค้าสักบานเดียวก็ไม่มีแตก กลุ่มผู้ประท้วงได้รวมตัวกันอย่างเหนียวแน่นที่จตุรัสมาโยสร้างแรงกดดันจนรัฐบาลต้องยินยอมปล่อยตัวเปรอนเป็นอิสระ

พันโทฆวน เปรอน เข้าพิธีสมรสกับเอวาในวันที่ 22 ตุลาคม 1945 ที่บ้านเกิดของเธอในเขตฆูนิน ชานกรุงบัวโนส ไอเรส จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทำให้เปรอนกลายเป็นตัวเก็งในการสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีไปโดยปริยาย ซึ่งผลการเลือกตั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 1946 ก็เป็นไปตามคาด และเอวา เปรอน ได้กลายเป็นสตรีหมายเลขหนึ่งของอาร์เจนตินา เมื่ออายุเพียง 26 ปี โดยเป็นขวัญใจของประชาชน ทั้งในด้านความงาม ความเยาว์วัย และความเฉลียวฉลาด เธอได้ตั้งสำนักงานของเธอขึ้นในกระทรวงแรงงานและความมั่นคงสังคม เพื่อทำงานเรื่องแรงงานและสังคมอย่างหามรุ่งหามค่ำ เอวาอุทิศตัวเพื่อการปฏิรูปสังคมอย่างสันติตามแนวคิดของเธอ รวมทั้งในเรื่องการศึกษาของเยาวชน สวัสดิการสังคม การรักษาพยาบาล และสิทธิสตรี โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย

ผลของการทำงานหนักเกินกำลังทำให้เอวาล้มป่วยลง แต่ประชาชนและสหพันธ์แรงงานก็เรียกร้องให้เธอเป็นรองประธานาธิบดีในการสมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สองของเปรอน ท่ามกลางกระแสการต่อต้านจากฝ่ายทหารและข้าราชการ จนถึงขั้นมีความพยายามก่อการรัฐประหาร แต่ได้รับการต่อต้านจากประชาชนอย่างหนัก เอวาซึ่งป่วยหนักได้เดินทางมาพบประชาชนซึ่งชุมนุมกันอยู่ที่จตุรัสมาโย และเรียกร้องให้พวกเขาสนับสนุนเปรอนในการต่อสู้ตามวิถีทางของระบอบประชาธิปไตย เอวาปรากฏตัวต่อประชาชนอีกครั้งในวันที่ 17 ตุลาคม 1951 ในสภาพที่อ่อนเปลี้ยไม่สามารถทรงตัวได้ โดยมีสามีคอยพยุงอยู่ตลอดเวลา หลังจากนั้นเพียงไม่กี่วัน เธอก็ถูกส่งตัวเข้าโรงพยาบาลเพื่อรับการผ่าตัดฉุกเฉิน โดยเป็นที่เปิดเผยในภายหลังว่าเธอป่วยเป็นโรคมะเร็งในระยะสุดท้าย

การเลือกตั้งในวันที่ 11 พฤศจิกายน 1951 เป็นครั้งแรกที่สตรีอาร์เจนตินามีสิทธิในการลงคะแนน ตามที่เอวาได้เรียกร้องต่อสู้ และมีสตรีได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และสมาชิกวุฒิสภาจำนวนหนึ่ง ขณะที่เอวาใช้สิทธิลงคะแนนบนเตียงคนป่วยในโรงพยาบาล

วันที 24 มกราคม 1952 รัฐสภามีมติในวาระพิเศษให้ขนานนามเอวา เปรอนว่า เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติ
เอวา เปรอน อยู่เคียงข้างสามีในวันที่เขาเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง แต่ชาวอาร์เจนตินาก็พากันตระหนักถึงสุขภาพอันปราะบางของเธอ ประชาชนและอารามต่าง ๆทั่วประเทศพากันสวดขอพรให้กับเอวา ความหม่นหมองและเศร้าซึมเหมือนเมฆทึบที่ปกคลุมดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาล และในเช้ามืดวันที่ 26 กรกฏาคม 1952 อาการของเธอก็เข้าขั้นโคม่า

ในตอนสายวันเดียวกัน มีประกาศอย่างเป็นทางการว่า ?ผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติ ได้จากไปชั่วนิรันดร์? ศพของอีวา เปรอน ถูกรักษาอย่างดีโดยนายแพทย์ผู้มีชื่อเสียง และถูกนำไปไว้ที่สหพันธ์แรงงานโดยได้รับการอารักขาอย่างเข้มแข็ง แต่เมื่อรัฐบาลของประธานาธิบดีเปรอนถูกปฏิวัติโดยคณะทหาร ศพของเธอก็ถูกเนรเทศไปอยู่ทีมิลาน ประเทศอิตาลีเป็นเวลานานเกือบ 20 ปี จนเกิดการปฎิวัติครั้งใหม่ และคณะปฏิวัติชุดนี้จึงมอบศพของเธอคืนให้เปรอนซึ่งลี้ภัยอยู่ในประเทศสเปน

เอวา ดูอาร์เต้ เด เปรอน เดินทางกลับบ้านเกิดในปี 1974 และพำนักอยู่ที่สุสาน La Corleta อย่างสงบ แต่ถึงแม้ว่าเธอจะจากโลกนี้ไปกว่า 50 ปีแล้ว แต่โลกก็ยังไม่ลืมเธอ ทุกวันนี้ยังมีคนจากทุกมุมโลกเดินทางมาเยี่ยมเยือนเธออยู่เสมอ และประตูเหล็กบานใหญ่ซึ่งปิดตายก็จะมีดอกกุหลาบแดงเสียบไว้ไม่เคยขาด

สำหรับชาวอาร์เจนตินาเองแล้ว นี่อาจจะเป็นดังถ้อยคำในสุนทรพจน์ที่เธอกล่าว
กับประชาชนเป็นครั้งสุดท้ายในชีวิต เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 1951 ว่า... ?


I will be with my people, dead or alive?

ประภัสสร เสวิกุล
บัวโนส ไอเรส อาร์เจนตินา, 24 กุมภาพันธ์ 2550
Eva Perón was the second wife and political partner of President Juan Perón (1895–1974) of Argentina. An important political figure in her own right, she was known for her campaign for female suffrage (the right to vote), her support of organized labor groups, and her organization of a vast social welfare program that benefited and gained the support of the lower classes.

Early years

The youngest of five children of Juan Duarte and Juana Ibarguren, María Eva Duarte was born on May 7, 1919, in the little village of Los Toldos in Buenos Aires province, Argentina. Following the death of her father, the family moved to the larger nearby town of Junín, where her mother ran a boarding house. At the age of sixteen, Evita, as she was often called, left high school after two years and went to Buenos Aires with the dream of becoming an actress. Lacking any training in the theater, she obtained a few small parts in motion pictures and on the radio. She was finally employed on a regular basis with one of the largest radio stations in Buenos Aires making 150 pesos every month. Her pay had increased to five thousand pesos every month by 1943 and jumped to thirty-five thousand pesos per month in 1944.

Partners with Perón

In 1943 Eva met Colonel Juan Perón, who had assumed the post of secretary of labor and social welfare in the military government that had recently come to power. Eva developed a close relationship with the widowed Perón, who was beginning to organize the Argentine workers in support of his own bid for the presidency. Becoming Perón's loyal political confidante (one with whom secrets are trusted) and partner, she helped him increase his support among the masses. In October 1945, after Perón was arrested and put in prison by a group of military men who did not support him, she helped to organize a mass demonstration that led to his release. A few days later, on October 21, 1945, Eva and Juan Perón were married.

Eva Perón. Courtesy of the Library of Congress.
Eva Perón.
Courtesy of the
Library of Congress
.
Now politically stronger than ever, Perón became the government candidate in the February 1946 presidential election. Señora de Perón participated actively in the campaign, something no Argentine woman had ever done. She directed her appeal to the less privileged groups of Argentine society, whom she labeled "los descamisados" (the shirtless ones).

Influence in political affairs

Following Perón's election, Eva began to play an increasingly important role in the political affairs of the nation. During the early months of the Perón administration she launched an active campaign for national women's suffrage, which had been one of Perón's campaign promises. Due largely to her efforts, suffrage for women became law in 1947, and in 1951 women voted for the first time in a national election.
Eva also assumed the task of gathering the support of the working classes and controlling organized labor groups. Taking over a suite of offices in the Secretariate of Labor, Perón's former center of power, she used her influence to hire and fire ministers and top officials of the General Confederation of Labor, the chief labor organization in Argentina. Although not given the official title, she acted as the secretary of labor, supporting workers' demands for higher wages and backing a number of social welfare measures.

Helped the lower classes

Because Eva came from a lower-class background, she identified with the members of the working classes and was strongly committed to improving their lives. She devoted several hours every day to meeting with poor people and visiting hospitals, orphanages, and factories. She also supervised the newly created Ministry of Health, which built many new hospitals and established a successful program to fight different diseases.
A large part of Eva's work with the poor was carried out by the María Eva Duarte de Perón Welfare Foundation, established in June 1947. Its funds came from contributions, often obtained with force, from trade unions, businesses, and industrial firms. The foundation grew into an enormous semiofficial welfare agency that distributed food, clothing, medicine, and money to needy people throughout Argentina and on occasion to those suffering from disasters in other Latin American countries.
Enjoying great popularity among the descamisados, Eva Perón helped greatly in maintaining the loyalty of the masses to the Perón administration. On the other hand, her program of social welfare and her campaign for female suffrage led to considerable opposition among the gente bien (upper class), to whom Eva was unacceptable because of her humble background and earlier activities. Eva was driven by the desire to master those members of the government that had rejected her, and she could be cruel and spiteful with her enemies.

Death and place in history

In June 1951 it was announced that Eva would be the vice presidential candidate on the reelection ticket with Perón in the upcoming national election. Eva's candidacy was strongly supported by the General Confederation of Labor, but opposition within the military and her own failing health caused her to decline the nomination. Already suffering from cancer, Eva died on July 26, 1952, at the age of thirty-two. After Eva's death, which produced a huge display of public grief, Perón's political fortunes began to decline. He was finally removed from office by a military takeover in September 1955.
Eva Perón's friends and enemies agreed that she was a woman of great personal charm. Her supporters have elevated her to popular sainthood as the champion of the lower classes. The favorable portrayal of her in the play Evita, first staged in 1978, and in the 1997 film of the same name, brought Eva to the forefront of the American public. By a large part of the officer corps of the military, however, she is greatly despised. There is still considerable difference of opinion regarding her true role in the Perón administration and her true place in Argentine history.

For More Information

Barnes, John. Evita, First Lady: A Biography of Eva Perón. New York: Grove Press, 1978.
Fraser, Nicholas, and Marysa Navarro. Evita. New York: W. W. Norton, 1996.
Perón, Eva. In My Own Words. Edited by Laura Dail. New York: New Press, 1996.
Taylor, Julie. Eva Perón: The Myths of a Woman. Chicago: University of Chicago Press, 1979.




.

3 ความคิดเห็น:

  1. เอวา เปรอง (Maria Eva Duarte de Peron) หรือ "เอวิตา" (Evita)



    สตรีหมายเลขหนึ่งของอาเจนตินาระหว่างปี 2489-2495 ภรรยาผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของประธานาธิบดี ฮวน เปรอง (Juan Domingo Peron) เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในมดลูก ขณะอายุได้เพียง 33 ปี ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เอวิตาเกิดเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2462 ในชนบทของอาเจนตินา บิดาเสียชีวิตตอนเธอ 7 ขวบ เธอย้ายไปอยู่ที่เมืองหลวงคือ กรุงบูเอโนส ไอเรส ตอนอายุ 15 ปี เริ่มอาชีพเป็นนักแสดงละครเวที ต่อมาได้ออกอากาศในวิทยุ เป็นนางแบบถ่ายปกนิตยสาร และได้แสดงภาพยนตร์จนกลายเป็นดาราดังในที่สุด ในปี 2487 เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ในอาเจนตินา ทหารนักการเมืองและศิลปินต่างมาช่วยเหลือผู้ประสบภัย เอวิตาพบกับนายพลฮวน ต่อมาเธอได้ทำงานด้านแรงงานและสวัสดิการสังคม ส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นแรงงานและคนยากจนดีขึ้น ทำให้ฮวนได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง จนได้ตำแหน่งรองประธานาธิบดี ปีต่อมาทั้งสองได้แต่งงานกัน จากนั้นฮวนถูกจับในข้อหากบฏ แต่ประชาชนชาวอาเจนตินาได้ออกมาประท้วงกันอย่างกว้างขวางจนรัฐบาลต้องปล่อยตัว ปีต่อมาฮวนก็ได้รับการเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีและเอวิตาได้เป็นสตรีหมายเลขหนึ่ง ในวัยเพียง 26 ปี เธอได้ทำงานในกระทรวงแรงงานและความมั่นคงสังคม ซึ่งเธออุทิศตัวเพื่อการปฏิรูปสังคมอย่างสันติ ดูแลเรื่องการศึกษา สวัสดิการสังคม การรักษาพยาบาล และสิทธิสตรีในการลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย เอวิตาจึงกลายเป็นขวัญใจของประชาชน ทั้งในด้านความงาม ความเฉลียวฉลาด และความทุ่มเทในการทำงาน หลังจากฮวน เปรองขึ้นรับตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่สอง วันที่ 24 มกราคม 2495 รัฐสภามีก็มติในวาระพิเศษให้ขนานนามเธอว่า "ผู้นำทางจิตวิญญาณของประชาชาติ" (Spiritual Leader of the Nation) จากการกรำงานหนักมาตลอดเธอก็เริ่มป่วยเป็นมะเร็งในระยะสุดท้ายและเสียชีวิตในที่สุด มีการจัดงานศพของเธออย่างยิ่งใหญ่ ประชาชนชาวอาเจนตินาต่างพากันเศร้าโศกกันทั่วประเทศ หลังจากนั้นในปี 2498 รัฐบาลของนายพลเปรองถูกคณะทหารทำรัฐประหาร ศพของเอวิตาถูกเนรเทศไปอยู่ที่สุสานในเมืองมิลาน ประเทศอิตาลีเป็นเวลายาวนานเกือบ 20 ปี จนเมื่อฮวน เปรองยึดอำนาจคืนมาอีกครั้งเมื่อปี 2514 ศพของเธอจึงถูกนำกลับมาฝังไว้ยังสุสานที่กรุงบูเอโนส ไอเรส ข้าง ๆ ครอบครัวของเธอ เรื่องราวของเอวิตายังคงติดตรึงในใจของชาวอาร์เจนตินาอยู่จนทุกวันนี้ จนถูกนำไปสร้างเป็นละครเพลงและภาพยนตร์หลายครั้ง




    .

    ตอบลบ
  2. Eva Perón Foundation

    The Eva Perón Foundation was a charitable foundation begun by Eva Perón, a prominent Argentine political leader, when she was the First Lady and Spiritual Leader of the Nation of Argentina. It operated from 1948 to 1955.


    Inspiration and Beginnings

    Social welfare in Argentina was highly underdeveloped before Juan Perón was elected president in 1945 and his wife, who had been born into the working classes, was aware of this. Most charity work was undertaken by the Sociedad de Beneficencia, which was controlled by eighty-seven elderly women of the upper-classes. The orphans whose care the Sociedad controlled had to wear blue smocks and have their heads shaved; at Christmas they were put out onto the streets of Buenos Aires with collecting tins. Their policies are supposed to have been the inspiration behind Evita's famous declaration that, 'When the rich think about the poor, they have poor ideas.'

    The chairpersons of this society were traditionally the Papal Nuncio to Argentina and the First Lady, but the society refused to extend the invitation to Evita when her husband was elected president. At first they insisted that it was because she was too young; but it was widely interpreted as an insult to the new First Lady. Evita was furious and moved against the society, effectively bringing it to an end. She then created her own foundation to replace it. ‘It is time,’ Evita declared, ‘for [real] social justice.’


    The Foundation's Beginnings


    On 8 July 1948 the María Eva Duarte de Perón Foundation was established. Its name was later changed to the simpler Eva Perón Foundation. Its opening charter declared that it was to remain ‘in the sole hands of its founder… who will… possess the widest powers afforded by the State and the Constitution.’ The Foundation's aims were to provide monetary assistance and scholarships to gifted children from impoverished backgrounds, build homes, schools, hospitals and orphanages in underprivileged areas and ‘to contribute or collaborate by any possible means to the creation of works tending to satisfy the basic needs for better life of the less privileged classes.’ Initially work began with nothing more than garden parties for single mothers or Evita’s personal trips to the ghettoes of Buenos Aires to hand out aid parcels.


    The Foundation at its height


    By the end of the 1940s, Evita and her team of advisers had worked so effectively that the Foundation was better-funded and organised than many departments of State. It had funds of over three billion pesos, controlled $200 million on the exchange rate, employed over 14,000 workers, purchased 500,000 sewing machines, 400,000 pairs of shoes and 200,000 cooking pots for distribution annually and it had succeeded in building numerous new houses, schools, hospitals and orphanages.

    The vast majority of these funds came from willing donors and the Peronist-dominated Congress, who were keen to back the First Lady's endeavours. The trade unions, who saw Evita as their patron, regularly sent enormous contributions to the Foundation’s work. More importantly, the Catholic Church had endorsed her projects, citing Biblical exhortations towards charity for the poor and Evita’s own personal priest, Father Benítez, claimed that the need to help the poor had taken over Eva Perón’s life. Finally, Congress assisted in 1950 by ruling that a proportion of all lottery tickets, cinema tickets and gambling games played in casinos should be given to the Foundation. By the time of Evita's death in 1952, the popularity of the Foundation amongst her millions of followers had given her an aura of sainthood.






    .

    ตอบลบ
  3. Criticisms


    There were allegations that most of the Foundation's wealth was ill-gotten, with Evita coercing people into donating. There were examples of pressure, particularly with the infamous case of the Mu-Mu sweet manufacturers, who were temporarily shutdown after they refused to give the Foundation a free donation of sweets for underprivileged children. There was, however, only one example of Evita targeting the landed aristocracy and this was when the Foundation received most of the 97 million pesos which the Bemberg dynasty were forced to pay after they had attempted to evade tax after their patriarch died abroad.


    There were allegations that Evita set up a secret bank account in Switzerland with the funds, but these allegations have been dismissed by her more recent biographers.


    Decline


    After Evita's premature death in 1952, the Foundation briefly passed under the control of other Peronist women; but it did not outlast the fall of the regime itself in 1955 and had been in terminal decline since 1952 anyway. As late as the 1970s, storage facilities full of goods intended for the Argentine poor were still being discovered.


    Footnotes


    1.^ Most of this article is based on the findings of N. Fraser and M. Navarro in their biography, Evita: The Real Lives of Eva Perón and the unpublished essay, And the Money Kept Rolling Out: The Eva Perón Foundation and Social Welfare in Mid-Century Argentina, by G. Russell; submitted to the St. Peter's College Essay Prize, University of Oxford, 2006.

    2.^ N. Fraser and M. Navarro, Evita: The Real Lives of Eva Perón, p. 116

    3.^ N. Fraser and M. Navarro, Evita: The Real Lives of Eva Perón, p. 118

    4.^ N. Fraser and M. Navarro, Evita, p. 117

    5.^ Based largely on the unpublished Oxford essay, And the Money Kept Rolling Out (2006)





    .

    ตอบลบ