คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ (Κλεοπάτρα θεά φιλοπάτωρ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ คลีโอพัตรา เกิดในเดือนมกราคม 69 ปีก่อนคริสตกาล - เสียชีวิตในวันที่ 30 พฤศจิกายน 30 ปีก่อนคริสตกาล) เป็นราชินีแห่งอียิปต์โบราณ และเป็นสมาชิกคนสุดท้ายของราชวงศ์ปโตเลมีแห่งมาเซโดเนีย ดังนั้น จึงเป็นผู้ปกครองอียิปต์ที่มีเชื้อสายกรีกคนสุดท้าย บิดาของพระนางคือปโตเลมีที่ 12 โอเลเตส และคาดว่าพระมารดาเป็นเชษฐภคินีของโอเลเตส ทรงพระนามว่า คลีโอพัตราที่ 5 ทรีฟาเอนา ชื่อ"คลีโอพัตรา" เป็นภาษากรีก แปลว่า "ความเจริญรุ่งเรืองของบิดา" พระนามเต็มของพระนางคือ "คลีโอพัตรา เธอา ฟิโลปาตอร์" ซึ่งหมายถึง "เทพีคลีโอพัตรา ผู้เป็นที่รักของบิดา" พระนางทรงมีความเฉลียวฉลาดมาก ทรงแตกฉานถึง 14 ภาษา เช่น ภาษาฮิบรู ภาษาละติน ภาษามาซิโดเนีย ภาษาเอธิโอเปียน ภาษาซีเรีย ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอียิปต์ ซึ่งแม้แต่ในราชวงศ์ก็น้อยคนนักที่จะแตกฉานในภาษานี้
ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา - สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
ประวัติ
คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีกที่กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ ปโตเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ ขณะนั้นพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ได้ร่วมกันก่อการกบฏขึ้น ทำให้ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ออเลติส ต้องไปขอกำลังเสริมจากสภาซีเนตแห่งกรุงโรม ออกัส กาบิเนียส จึงได้ให้องค์ฟาโรห์จ่ายเงินเป็นจำนวน 10,000 เทลแลนด์ แต่องค์ฟาโรห์มีเงินไม่พอ จึงได้ไปขอยืมเงินจากคหบดีผู้ร่ำรวยนาม ราบีเรียส โพลตูมัส เมื่อได้กำลังเสริมแล้วก็กลับไปอียิปต์เพื่อจัดการกับผู้ก่อการกบฏ และได้สั่งประหารพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ ทำให้ราบีเรียสได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระคลังของอียิปต์
ราบีเรียสได้รีดไถชาวอียิปต์อย่างหนัก ทำให้ชาวอียิปต์ไม่พอใจลุกฮือกันต่อต้านราบีเรียส ทำให้ราบีเรียสต้องรีบหนีกลับไปยังกรุงโรม เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชธิดาองค์โตของออเลติส เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ พระนางได้ครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของพวกโรมัน และปโตเลมีที่ 14 แต่เนื่องด้วยการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือคลีโอพัตรา เพื่อจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชา - สวามีของพระนางสวรรคตลงทั้งสองพระองค์ คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยการครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30 ก่อนคริสตกาล
ในปีที่48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของปโตเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปธินุส ได้ยึดอำนาจของคลีโอพัตราและบังคับให้พระนางหนีไปจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาของพระนางติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกันนี้ อำนาจของปโตเลมีที่ 13ได้ถูกริดรอนเมื่อนำตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม เมื่อนายพลปอมเปอุส มักนุส (ผู้ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของจูเลียส ซีซาร์ โดยที่นางได้เสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ที่กำลังหลบหนีจูเลียส ซีซาร์ ได้มาหาที่หลบซ่อนในเมืองอเล็กซานเดรีย ก็ถูกปโตเลมีที่ 13ปลิดชีพ เพื่อสร้างความดีความชอบแก่ตนให้ซีซาร์ได้เห็น จูเลียส ซีซาร์รู้สึกขยะแขยงกับแผนการอันโสมมดังกล่าว จึงได้ยกทัพบุกเข้ายึดเมืองหลวงของอียิปต์ และตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างปโตเลมีที่ 13และคลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ปโตเลมีที่ 13ก็ถูกสังหาร และ จูเลียส ซีซาร์ได้คืนบัลลังก์ให้แก่คลีโอพัตรา โดยมีปโตเลมีที่ 14เป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วม
จูเลียส ซีซาร์ได้พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล และคลีโอพัตราได้สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของซีซาร์ ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างคลีโอพัตรากับซีซาร์ในช่วงฤดูหนาวได้ทำให้นางตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรสชื่อปโตเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธการให้ซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน
คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ไปเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก่อนเดินทางกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ปโตเลมีที่ 14ก็สวรรคตอย่างลึกลับ คลีโอพัตราจึงได้แต่งตั้งให้ซีซาเรียนเป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมกับพระนาง มีการสันนิษฐานว่านางได้ลอบวางยาพิษปโตเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเอง
ในปีที่42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางอำนาจ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของซีซาร์ ได้ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน เมื่อคลีโอพัตราเดินทางมาถึง เสน่ห์ของพระนางทำให้มาร์ค แอนโทนีเลือกที่จะใช้เวลาช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่41 ก่อนคริสตกาล กับพระนางในอเล็กซานเดรีย ในช่วงฤดูหนาวนั้น พระนางได้ทรงพระครรภ์เป็นโอรส - ธิดาฝาแฝด ผู้มีพระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเน
สี่ปีต่อมา ในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี ได้เดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางไปออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย เขาได้สานสัมพันธ์กับคลีโอพัตรา และถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา มาร์ค แอนโทนีอาจจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับคลีโอพัตราตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) แต่อย่างไรก็ดี เขาได้แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของเพื่อนชื่ออ็อกตาเวียน หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม เขามีบุตรกับคลีโอพัตราอีกหนึ่งคน ชื่อว่าปโตเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่คลีโอพัตราและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีได้มีชัยเหนืออาร์เมเนีย คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์เมเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนปโตเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้แล้วคลีโอพัตรายังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย
มีเหตุการณ์อันโด่งดังเกี่ยวกับคลีโอพัตราหลายเหตุการณ์ แต่เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดและไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ ได้แก่เหตุการณ์เกี่ยวกับพระกระยาหารค่ำของพระนางกับมาร์ค แอนโทนีมื้อหนึ่งที่มีราคาแพงลิบ พระนางได้หยอกเย้ากับมาร์ค แอนโทนีด้วยการพนันกันว่า เขาเชื่อหรือไม่ว่าพระนางจะสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ ซึ่งเขาก็รับพนัน ในคืนต่อมา พระนางได้เสิร์ฟพระกระยาหารค่ำธรรมดาไม่ได้หรูหราอะไร ทำให้พระนางถูกมาร์ค แอนโทนีล้อ แต่พระนางก็ได้รับสั่งให้เสิร์ฟพระกระยาหารสำรับต่อมา ซึ่งมีเพียงน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วย จากนั้นพระนางก็ถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ของพระนางออก หย่อนลงไปในน้ำส้มสายชู ปล่อยให้ไข่มุกละลาย แล้วดื่มส่วนผสมนั้น
พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงได้โน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของมาร์ค แอนโทนีได้เผชิญหน้ากับทหารโรมันด้วยทัพเรือนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราได้ร่วมออกรบโดยมีทัพเรือของพระนางเอง แต่พระนางก็ได้เห็นกองเรือของมาร์ค แอนโทนี ที่มีเรือขนาดเล็กและขาดแคลนยุทโธปกรณ์ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางต้องหลบหนีและมาร์ค แอนโทนีได้เลิกรบและหนีตามพระนางไป
หลังจากการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนก็ได้ยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ในขณะที่ทัพของอ็อกตาเวียนเกือบจะถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังทหารของมาร์ค แอนโทนีก็หนีทัพไปร่วมกับกองกำลังของอ็อกตาเวียน คลีโอพัตรากับมาร์ค แอนโทนีตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยกันทั้งคู่ โดยที่คลีโอพัตราได้ใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ก็ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ โอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับมาร์ค แอนโทนีได้รับการไว้ชีวิตและนำกลับไปยังกรุงโรมโดยอ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของมาร์ค แอนโทนี
มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราได้ใช้ แอสพฺ (งูพิษชนิดหนึ่ง) ปลิดชีพพระองค์เอง "asp" เป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในอาฟริกาและยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ในการประหารนักโทษในบางครั้ง ยังมีเรื่องเล่าว่าคลีโอพัตราได้ทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายต่างๆนานากับข้าราชบริพารหลายคน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการที่พระนางเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
ด้วยที่เป็นชนเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม คลีโอพัตรามีชื่อเสียงในแง่ที่ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 300 ปีที่ราชวงศ์ปโตเลมีปกครองอียิปต์นั้น พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของปโตเลมีในที่เรียนรู้ภาษาอียิปต์ได้แตกฉาน และ ยังเรียนรู้ภาษาอื่นๆถึง 14 ภาษา ได้แตกฉาน
http://www.thairath.co.th/content/life/94393
ยังเป็นข้อถกเถียงระหว่างนักไอยคุปต์ศาสตร์ กับนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกา ว่าแท้จริงแล้วคลีโอพัตรานั้นมีเชื้อสายใดกันแน่ นักไอยคุปต์ศาสตร์บอกว่าคลีโอพัตรานั้นสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ปโตเลมีของกรีก โดยมีบรรพบุรุษเป็นหนึ่งในนายพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยังกล่าวว่าผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นระบุไว้ว่า มีการสมรสข้ามเผ่าพันธุ์อยู่มาก มีการระบุว่าคลีโอพัตราเป็นราชนิกูลพระองค์แรกที่เรียนภาษาอียิปต์ และบอกว่าพระนางมีผิวขาว รูปปั้นโบราณรวมทั้งรูปบนเหรียญตรายังชี้ไปว่าพระนางมีเชื้อสายคอเคเชียน อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์สายนิยมแอฟริกาได้อ้างว่าดินแดนไอยคุปต์นั้นได้ถูกปกครองโดยอารยธรรมของชาวชนผิวดำ และชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ และถึงแม้ว่ากลุ่มนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกาจะยอมรับว่าราชวงศ์ปโตเลมีนั้นเป็นชนผิวขาว แต่ก็เชื่อว่าจะราชวงศ์กับชาวอียิปต์น่าจะมีการสมสู่กัน และในเมื่อไม่มีใครทราบว่ามารดาของคลีโอพัตราเป็นใคร (ไม่ได้ถูกระบไวุ้ในผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมี) ทำให้หลายคนเชื่อว่านางน่าจะเป็นพระสนมผิวดำคนหนึ่ง
นักไอยคุปต์ศาสตร์อ้างว่า การกล่าวว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวดำนั้น เป็นแนวคิดแต่งเติมของนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนเชื้อสายแอฟริกัน ส่วนนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกาอ้างว่า ความเชื่อว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวขาวนั้น เป็นเพียงอีกหนึ่งตัวอย่างของการที่ชนผิวขาวขโมยวัฒนธรรมของชนผิวดำ
เรื่องราวของคลีโอพัตราสร้างความทึ่งให้กับนักประพันธ์และศิลปินตลอดเวลาหลายศตวรรษ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของสตรียั่วสวาท ผู้สามารถกุมหัวใจของชายผู้มีอำนาจสูงสุดของแผ่นดินไว้ได้ถึงสองคนในคราเดียวกัน (จูเลียส ซีซาร์ กับ มาร์ค แอนโทนี)
บางส่วนของบทประพันธ์เกี่ยวกับคลีโอพัตรา:
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ได้แก่เรื่อง Antony and Cleopatra (ปี ค.ศ. 1908) นำแสดงโดย Florence Lawrence ในบทของคลีโอพัตรา ส่วนภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีคลีโอพัตราเป็นเนื้อหาหลักได้แก่เรื่อง Cleopatra, Queen of Egypt นำแสดงโดย เฮเลน การ์ดเนอร์ (ค.ศ. 1912)
บางส่วนของภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์:
ในปัจจุบัน คลีโอพัตรา ที่ 7 ฟิโลปาตอร์ นับได้ว่าเป็นผู้ปกครองอียิปต์โบราณที่มีชื่อเสียงมากที่สุด นิยมเรียกพระนามสั้นๆ ว่า คลีโอพัตรา ซึ่งทำให้ราชินีองค์ก่อนๆ ที่ทรงพระนามคล้ายคลึงกับพระนางถูกลืมไปสิ้น จริงๆ แล้วพระนางไม่เคยปกครองอียิปต์ตามลำพัง แต่ครองราชย์ร่วมกับพระบิดา พระอนุชา พระอนุชา - สวามี หรือไม่ก็พระโอรส แต่อย่างไรก็ดี การครองราชย์ร่วมกันดังกล่าวมีผู้ร่วมบัลลังก์เป็นเพียงกษัตริย์ตามพระยศเท่านั้น อำนาจแท้จริงอยู่ในมือของคลีโอพัตราเองทั้งสิ้น
ประวัติ
คลีโอพัตราที่ 7 เป็นชาวกรีกที่กำเนิดในดินแดนอเล็กซานเดรีย ประเทศอียิปต์ ได้ขึ้นครองราชย์หลังจากที่ ปโตเลมีที่ 12 แห่งอียิปต์ ขณะนั้นพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ได้ร่วมกันก่อการกบฏขึ้น ทำให้ฟาโรห์ปโตเลมีที่ 12 ออเลติส ต้องไปขอกำลังเสริมจากสภาซีเนตแห่งกรุงโรม ออกัส กาบิเนียส จึงได้ให้องค์ฟาโรห์จ่ายเงินเป็นจำนวน 10,000 เทลแลนด์ แต่องค์ฟาโรห์มีเงินไม่พอ จึงได้ไปขอยืมเงินจากคหบดีผู้ร่ำรวยนาม ราบีเรียส โพลตูมัส เมื่อได้กำลังเสริมแล้วก็กลับไปอียิปต์เพื่อจัดการกับผู้ก่อการกบฏ และได้สั่งประหารพระนางเบเนไซน์และแม่ทัพอาร์เชลล์ ทำให้ราบีเรียสได้เข้ามาเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายพระคลังของอียิปต์
ราบีเรียสได้รีดไถชาวอียิปต์อย่างหนัก ทำให้ชาวอียิปต์ไม่พอใจลุกฮือกันต่อต้านราบีเรียส ทำให้ราบีเรียสต้องรีบหนีกลับไปยังกรุงโรม เมื่อพระบิดาของพระนางสวรรคตในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปีที่ 51 ก่อนคริสตกาล พระนางเป็นพระราชธิดาองค์โตของออเลติส เมื่อพระเชษฐภคินีอีกสองพระองค์สิ้นพระชนม์ลง พระนางยังมีพระขนิษฐาอีกองค์ที่มีชื่อว่าอาร์สิโนเอ ในช่วงแรกของการขึ้นครองราชย์ พระนางได้ครองราชย์ร่วมกับพระบิดาเป็นระยะเวลาสั้นๆ ต่อมาก็ได้ครองราชย์ร่วมกับพระอนุชาอีกสองพระองค์ ได้แก่ ปโตเลมีที่ 13 ผู้ซึ่งต่อต้านการปกครองของพวกโรมัน และปโตเลมีที่ 14 แต่เนื่องด้วยการสืบราชบัลลังก์ของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นนิยมการสืบเชื้อสายทางมารดา พระอนุชาทั้งสองพระองค์จึงต้องเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับพระเชษฐภคินี คือคลีโอพัตรา เพื่อจะสามารถขึ้นครองราชย์ได้อย่างถูกต้องตามกฎมนเทียรบาล ภายหลังจากที่กษัตริย์ผู้เป็นพระอนุชา - สวามีของพระนางสวรรคตลงทั้งสองพระองค์ คลีโอพัตราได้แต่งตั้งให้โอรสของพระนางเป็นกษัตริย์องค์ต่อไป มีพระนามว่าปโตเลมีที่ 15 ซีซาเรียน โดยการครองบัลลังก์ร่วมกัน ระหว่างปีที่ 44 - 30 ก่อนคริสตกาล
ในปีที่48 ก่อนคริสตกาล คณะที่ปรึกษาของปโตเลมีที่ 13 นำโดยขันทีโปธินุส ได้ยึดอำนาจของคลีโอพัตราและบังคับให้พระนางหนีไปจากอียิปต์ โดยมีอาร์สิโนเอ พระขนิษฐาของพระนางติดตามไปด้วย ต่อมาในปีเดียวกันนี้ อำนาจของปโตเลมีที่ 13ได้ถูกริดรอนเมื่อนำตัวเองเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับโรม เมื่อนายพลปอมเปอุส มักนุส (ผู้ซึ่งแต่งงานกับลูกสาวของจูเลียส ซีซาร์ โดยที่นางได้เสียชีวิตขณะคลอดบุตรชาย) ที่กำลังหลบหนีจูเลียส ซีซาร์ ได้มาหาที่หลบซ่อนในเมืองอเล็กซานเดรีย ก็ถูกปโตเลมีที่ 13ปลิดชีพ เพื่อสร้างความดีความชอบแก่ตนให้ซีซาร์ได้เห็น จูเลียส ซีซาร์รู้สึกขยะแขยงกับแผนการอันโสมมดังกล่าว จึงได้ยกทัพบุกเข้ายึดเมืองหลวงของอียิปต์ และตั้งตนเป็นผู้ตัดสินคดีชิงบัลลังก์ระหว่างปโตเลมีที่ 13และคลีโอพัตรา หลังจากการสู้รบช่วงสั้นๆ ปโตเลมีที่ 13ก็ถูกสังหาร และ จูเลียส ซีซาร์ได้คืนบัลลังก์ให้แก่คลีโอพัตรา โดยมีปโตเลมีที่ 14เป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วม
จูเลียส ซีซาร์ได้พำนักในอียิปต์ตลอดช่วงฤดูหนาว ระหว่างปีที่48 ก่อนคริสตกาล - 47 ก่อนคริสตกาล และคลีโอพัตราได้สร้างความได้เปรียบทางการเมืองให้แก่ตนด้วยการเป็นคนรักของซีซาร์ ทำให้อียิปต์ยังคงเป็นความเป็นเอกราชไว้ได้ แต่ยังคงมีกองกำลังทหารโรมันสามกองประจำการอยู่ ความสัมพันธ์ระหว่างคลีโอพัตรากับซีซาร์ในช่วงฤดูหนาวได้ทำให้นางตั้งครรภ์และให้กำเนิดพระโอรสชื่อปโตเลมี ซีซาร์ (หรือมีชื่อเล่นว่าซีซาเรียน ซึ่งแปลว่าซีซาร์น้อย) อย่างไรก็ดี จูเลียส ซีซาร์ปฏิเสธการให้ซีซาเรียนเป็นผู้สืบทอดของตน และได้แต่งตั้งให้หลานชายชื่อ ออกุสตุส ซีซาร์ อ็อกตาเวียน เป็นผู้สืบทอดอำนาจแทน
คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ไปเยือนกรุงโรมในระหว่างปีที่ 46 ก่อนคริสตกาล และ 44 ก่อนคริสตกาล และอยู่ในเหตุการณ์ขณะที่ซีซาร์ถูกลอบสังหาร ก่อนเดินทางกลับถึงอียิปต์เพียงเล็กน้อย ปโตเลมีที่ 14ก็สวรรคตอย่างลึกลับ คลีโอพัตราจึงได้แต่งตั้งให้ซีซาเรียนเป็นผู้ครองบัลลังก์ร่วมกับพระนาง มีการสันนิษฐานว่านางได้ลอบวางยาพิษปโตเลมีที่ 14 ผู้เป็นอนุชาของตนเอง
ในปีที่42 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม ผู้ซึ่งปกครองกรุงโรมในช่วงที่เกิดสูญญากาศทางอำนาจ หลังการถึงแก่อสัญกรรมของซีซาร์ ได้ขอให้คลีโอพัตราเดินทางมาพบเขาที่เมืองทาร์ซุส ในแคว้นซิลิเซีย เพื่อตอบคำถามเกี่ยวกับความจงรักภักดีของพระนางต่ออาณาจักรโรมัน เมื่อคลีโอพัตราเดินทางมาถึง เสน่ห์ของพระนางทำให้มาร์ค แอนโทนีเลือกที่จะใช้เวลาช่วงฤดูหนาวระหว่างปีที่42 ก่อนคริสตกาล - ปีที่41 ก่อนคริสตกาล กับพระนางในอเล็กซานเดรีย ในช่วงฤดูหนาวนั้น พระนางได้ทรงพระครรภ์เป็นโอรส - ธิดาฝาแฝด ผู้มีพระนามว่าอเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตรา เซเลเน
สี่ปีต่อมา ในปีที่ 37 ก่อนคริสตกาล มาร์ค แอนโทนี ได้เดินทางเยือนอเล็กซานเดรียอีกครั้ง ระหว่างทางไปออกรบกับจักรวรรดิพาร์เธีย เขาได้สานสัมพันธ์กับคลีโอพัตรา และถือเอาอเล็กซานเดรียเป็นบ้านนับแต่นั้นเป็นต้นมา มาร์ค แอนโทนีอาจจะเข้าพิธีอภิเษกสมรสกับคลีโอพัตราตามประเพณีอียิปต์ (ตามที่กล่าวไว้ในจดหมายของสุเอโตนิอุส) แต่อย่างไรก็ดี เขาได้แต่งงานแล้วกับอ็อกตาเวีย น้องสาวของเพื่อนชื่ออ็อกตาเวียน หนึ่งในคณะผู้สำเร็จราชการชุดที่สองของโรม เขามีบุตรกับคลีโอพัตราอีกหนึ่งคน ชื่อว่าปโตเลมี ฟิลาเดลฟุส ในพิธีมอบดินแดนอเล็กซานเดรียเป็นของขวัญชิ้นใหญ่แก่คลีโอพัตราและโอรสธิดา ช่วงปลายปีที่ 34 ก่อนคริสตกาล หลังจากที่มาร์ค แอนโทนีได้มีชัยเหนืออาร์เมเนีย คลีโอพัตรากับซีซาเรียนได้ปกครองอียิปต์กับไซปรัสร่วมกัน อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส ได้เป็นกษัตริย์ปกครองอาร์เมเนีย เมเดีย และ พาร์เธีย คลีโอพัตรา เซเรเน ได้เป็นราชินีปกครองซีเรไนกา และ ลิเบีย ส่วนปโตเลมี ฟิลาเดลฟุสได้เป็นกษัตริย์ปกครองโฟนิเซีย ซีเรีย และ ซิลิเซีย นอกจากนี้แล้วคลีโอพัตรายังดำรงตำแหน่งราชินีแห่งราชาทั้งปวงอีกด้วย
มีเหตุการณ์อันโด่งดังเกี่ยวกับคลีโอพัตราหลายเหตุการณ์ แต่เรื่องที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายที่สุดและไม่อาจตรวจสอบได้ว่าจริงหรือไม่ ได้แก่เหตุการณ์เกี่ยวกับพระกระยาหารค่ำของพระนางกับมาร์ค แอนโทนีมื้อหนึ่งที่มีราคาแพงลิบ พระนางได้หยอกเย้ากับมาร์ค แอนโทนีด้วยการพนันกันว่า เขาเชื่อหรือไม่ว่าพระนางจะสามารถใช้เงินสิบล้านเซสเตอร์ซีอุสกับพระกระยาหารมื้อเดียวได้ ซึ่งเขาก็รับพนัน ในคืนต่อมา พระนางได้เสิร์ฟพระกระยาหารค่ำธรรมดาไม่ได้หรูหราอะไร ทำให้พระนางถูกมาร์ค แอนโทนีล้อ แต่พระนางก็ได้รับสั่งให้เสิร์ฟพระกระยาหารสำรับต่อมา ซึ่งมีเพียงน้ำส้มสายชูอย่างแรงหนึ่งถ้วย จากนั้นพระนางก็ถอดต่างหูไข่มุกอันประมาณค่ามิได้ของพระนางออก หย่อนลงไปในน้ำส้มสายชู ปล่อยให้ไข่มุกละลาย แล้วดื่มส่วนผสมนั้น
พฤติกรรมของมาร์ค แอนโทนี นับว่ากระด้างกระเดื่องมากในสายตาของพวกโรมัน อ็อกตาเวียนจึงได้โน้มน้าวให้วุฒิสภาเปิดสงครามกับอียิปต์ ในปีที่ 31 ก่อนคริสตกาล กองกำลังของมาร์ค แอนโทนีได้เผชิญหน้ากับทหารโรมันด้วยทัพเรือนอกชายฝั่งแอคติอุม คลีโอพัตราได้ร่วมออกรบโดยมีทัพเรือของพระนางเอง แต่พระนางก็ได้เห็นกองเรือของมาร์ค แอนโทนี ที่มีเรือขนาดเล็กและขาดแคลนยุทโธปกรณ์ต้องพ่ายแพ้กับกองเรือโรมันที่มีเรือขนาดใหญ่กว่า พระนางต้องหลบหนีและมาร์ค แอนโทนีได้เลิกรบและหนีตามพระนางไป
หลังจากการรบที่อ่าวแอคติอุม อ็อกตาเวียนก็ได้ยกพลขึ้นบกบุกอียิปต์ ในขณะที่ทัพของอ็อกตาเวียนเกือบจะถึงอเล็กซานเดรีย กองกำลังทหารของมาร์ค แอนโทนีก็หนีทัพไปร่วมกับกองกำลังของอ็อกตาเวียน คลีโอพัตรากับมาร์ค แอนโทนีตัดสินใจปลิดชีพตนเองด้วยกันทั้งคู่ โดยที่คลีโอพัตราได้ใช้งูพิษปลิดชีพพระองค์เองเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ในปีที่ 30 ก่อนคริสตกาล ซีซาเรียน โอรสของพระนางที่เกิดกับจูเลียส ซีซาร์ก็ถูกอ็อกตาเวียนปลงพระชนม์ โอรสธิดาอีกสามพระองค์ที่เกิดกับมาร์ค แอนโทนีได้รับการไว้ชีวิตและนำกลับไปยังกรุงโรมโดยอ็อกตาเวีย อดีตภรรยาของมาร์ค แอนโทนี
มักกล่าวกันว่าคลีโอพัตราได้ใช้ แอสพฺ (งูพิษชนิดหนึ่ง) ปลิดชีพพระองค์เอง "asp" เป็นศัพท์เทคนิค หมายถึงงูพิษหลากหลายประเภทในอาฟริกาและยุโรป แต่ในที่นี้ หมายถึงงูเห่าอียิปต์ ซึ่งใช้ในการประหารนักโทษในบางครั้ง ยังมีเรื่องเล่าว่าคลีโอพัตราได้ทดสอบวิธีการฆ่าตัวตายต่างๆนานากับข้าราชบริพารหลายคน ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกวิธีการที่พระนางเห็นว่ามีประสิทธิภาพที่สุด
ด้วยที่เป็นชนเชื้อสายกรีก - มาเซโดเนีย ทั้งในด้านภาษาและวัฒนธรรม คลีโอพัตรามีชื่อเสียงในแง่ที่ว่า ตลอดระยะเวลากว่า 300 ปีที่ราชวงศ์ปโตเลมีปกครองอียิปต์นั้น พระนางเป็นสมาชิกคนแรกของปโตเลมีในที่เรียนรู้ภาษาอียิปต์ได้แตกฉาน และ ยังเรียนรู้ภาษาอื่นๆถึง 14 ภาษา ได้แตกฉาน
ประวัติศาสตร์ใหม่เกี่ยวกับการตายของพระนางคลีโอพัตรา
ศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยและนักประวัติศาสตร์อ้างผลการวิจัยครั้งใหม่ว่า พระนางคลีโอพัตราผู้เลอโฉมของอียิปต์โบราณ ไม่ได้ ตายด้วยงูกัดอย่างที่เชื่อกันค่อนโลก หากแต่ตายเพราะยาพิษปนกันหลายขนาน อาจารย์คริสทอป เชฟเฟอร์ แห่งมหาวิทยาลัยเทรียร์ อ้างว่าพระนางสิ้นพระชนม์ด้วยฤทธิ์ของยาปนกันหลายขนาน ที่เข้าทั้งฝิ่นและยาพิษจากต้นเฮมล้าค อาจารย์เชฟเฟอร์ได้ร่วมเดินทางไปค้นคว้าเบื้องหลังกับคณะผู้เชี่ยวชาญคนอื่น ที่ยังนครอเลกซานเดรียของอียิปต์ ได้ไปค้นคว้าตำรายาโบราณและพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญเรื่องงู "พระนางต้องการจะรักษารูปทรงให้คงสวยอยู่เมื่อตายลงแล้ว เพื่อให้สมกับคำเลื่องลือกล่าวขวัญ ดังนั้นพระนางอาจจะหายาแปลกๆ ที่เข้าฝิ่น ยาพิษจากต้นเฮมล้าคและอื่นๆ มากิน จะได้ตายโดยไม่ทรมาน ดีกว่าให้งูกัดซึ่งจะต้องทรมานอยู่เป็นวัน" พระนางครองอียิปต์ตั้งแต่ช่วง 51-30 ปีก่อนคริสต์ศักราชและนับเป็นฟาโรห์องค์สุดท้าย เมื่อหมดสิ้นพระนางแล้ว อียิปต์ได้ตกเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรโรมัน พระนางได้มีสัมพันธ์สวาทกับมาร์ค แอนโทนี นายพลโรมัน แต่เมื่อแพ้ศึกที่แอนติอุม แม่ทัพแอนโทนีได้ฆ่าตัวตาย เป็นเหตุให้พระนางปลิดชีพตายตาม ขณะพระชนม์ 39 ปี.
http://www.thairath.co.th/content/life/94393
ข้อถกเถียงเกี่ยวกับชาติพันธุ์ของคลีโอพัตรา
ยังเป็นข้อถกเถียงระหว่างนักไอยคุปต์ศาสตร์ กับนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกา ว่าแท้จริงแล้วคลีโอพัตรานั้นมีเชื้อสายใดกันแน่ นักไอยคุปต์ศาสตร์บอกว่าคลีโอพัตรานั้นสืบเชื้อสายจากราชวงศ์ปโตเลมีของกรีก โดยมีบรรพบุรุษเป็นหนึ่งในนายพลของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช และยังกล่าวว่าผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมีนั้นระบุไว้ว่า มีการสมรสข้ามเผ่าพันธุ์อยู่มาก มีการระบุว่าคลีโอพัตราเป็นราชนิกูลพระองค์แรกที่เรียนภาษาอียิปต์ และบอกว่าพระนางมีผิวขาว รูปปั้นโบราณรวมทั้งรูปบนเหรียญตรายังชี้ไปว่าพระนางมีเชื้อสายคอเคเชียน อย่างไรก็ดี นักประวัติศาสตร์สายนิยมแอฟริกาได้อ้างว่าดินแดนไอยคุปต์นั้นได้ถูกปกครองโดยอารยธรรมของชาวชนผิวดำ และชาวอียิปต์โบราณส่วนใหญ่เป็นชนผิวดำ และถึงแม้ว่ากลุ่มนักประวัติศาสตร์ที่นิยมแอฟริกาจะยอมรับว่าราชวงศ์ปโตเลมีนั้นเป็นชนผิวขาว แต่ก็เชื่อว่าจะราชวงศ์กับชาวอียิปต์น่าจะมีการสมสู่กัน และในเมื่อไม่มีใครทราบว่ามารดาของคลีโอพัตราเป็นใคร (ไม่ได้ถูกระบไวุ้ในผังตระกูลของราชวงศ์ปโตเลมี) ทำให้หลายคนเชื่อว่านางน่าจะเป็นพระสนมผิวดำคนหนึ่ง
นักไอยคุปต์ศาสตร์อ้างว่า การกล่าวว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวดำนั้น เป็นแนวคิดแต่งเติมของนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกา โดยมีวัตถุประสงค์จะสร้างความภาคภูมิใจให้กับเยาวชนเชื้อสายแอฟริกัน ส่วนนักโบราณคดีที่นิยมแอฟริกาอ้างว่า ความเชื่อว่าคลีโอพัตราเป็นชนผิวขาวนั้น เป็นเพียงอีกหนึ่งตัวอย่างของการที่ชนผิวขาวขโมยวัฒนธรรมของชนผิวดำ
คลีโอพัตรากับศิลปวัฒนธรรม
เรื่องราวของคลีโอพัตราสร้างความทึ่งให้กับนักประพันธ์และศิลปินตลอดเวลาหลายศตวรรษ จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ภาพลักษณ์ของพระนางส่วนใหญ่จะออกมาในรูปของสตรียั่วสวาท ผู้สามารถกุมหัวใจของชายผู้มีอำนาจสูงสุดของแผ่นดินไว้ได้ถึงสองคนในคราเดียวกัน (จูเลียส ซีซาร์ กับ มาร์ค แอนโทนี)
บางส่วนของบทประพันธ์เกี่ยวกับคลีโอพัตรา:
- Cléopâtre โดย Jules - Émile - Frédéric Massenet
- Incipit Legenda Cleopatrie Martiris โดย Egipti Regine จาก The Legend of Good Women ของ Geoffrey Chaucer
- Antony and Cleopatra โดย วิลเลียม เชคสเปียร์
- All for Love โดย John Dryden
- Cléopatre โดย Victorien Sardou
- Caesar and Cleopatra โดย George Bernard Shaw
- The Memoirs of Cleopatra โดย Margaret George
ในภาพยนตร์
ภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคลีโอพัตรา ได้แก่เรื่อง Antony and Cleopatra (ปี ค.ศ. 1908) นำแสดงโดย Florence Lawrence ในบทของคลีโอพัตรา ส่วนภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีคลีโอพัตราเป็นเนื้อหาหลักได้แก่เรื่อง Cleopatra, Queen of Egypt นำแสดงโดย เฮเลน การ์ดเนอร์ (ค.ศ. 1912)
บางส่วนของภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากราชินีแห่งลุ่มแม่น้ำไนล์:
- (ค.ศ. 1917) : Cleopatra: Theda Bara (คลีโอพัตรา), Fritz Leiber (ซีซาร์), Thurston Hall (แอนโทนี) กำกับการแสดงโดย J. Gordon Edwards สร้างจากบทละครเรื่อง Cléopatre ของ Émile Moreau, Cléopatre ของ Sardou และ Antony and Cleopatra ของ วิลเลียม เชคสเปียร์
- (ค.ศ. 1934) : Cleopatra: Claudette Colbert (คลีโอพัตรา), Warren William (ซีซาร์), Henry Wilcoxon (แอนโทนี) กำกับการแสดงโดย Cecil B. DeMille ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาถ่ายภาพยอดเยี่ยม
- (ค.ศ. 1946) : Caesar and Cleopatra: วิเวียน ลีห์ (คลีโอพัตรา), Claude Rains (ซีซาร์), Stewart Granger, Flora Robson — ดัดแปลงจากบทละครของ George Bernard Shaw ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สาขากำกับศิลป์-ตกแต่งภายใน วิเวียน ลีห์ ยังได้แสดงเป็นคลีโอพัตราร่วมกับ Laurence Olivierสามีของเธอในสมัยนั้น ผู้รับบทซีซาร์ ในภาคละครเวทีของเรื่องนี้ที่เปิดแสดงในกรุงลอนดอน
- (ค.ศ. 1953) : Serpent of the Nile: Rhonda Fleming (คลีโอพัตรา), Raymond Burr (มาร์ค แอนโทนี), Michael Fox (ออกตาเวียน)
- (ค.ศ. 1963) : Cleopatra: อลิซาเบท เทย์เลอร์ (คลีโอพัตรา), Rex Harrison (ซีซาร์), Richard Burton (แอนโทนี) ได้รับ 4 รางวัลออสการ์ด้านศิลปกรรม ,ถ่ายภาพ ,เครื่องแต่งกายและเทคนิคพิเศษ ระหว่างการถ่ายทำเกิดเรื่องอื้อฉาวความรักนอกจอระหว่างอลิซาเบท เทย์เลอร์ กับ ริชาร์ด เบอร์ตัน
- (ค.ศ. 1964) : Carry On Cleo ภาพยนตร์ตลกขบขัน ล้อเลียนภาพยนตร์ที่สร้างในปี ค.ศ. 1963 โดยมี Amanda Barrie รับบทเป็นคลีโอพัตรา, Sid James เป็น มาร์ค แอนโทนี และ Kenneth Williams เป็นซีซาร์
- (ค.ศ. 1974) : Antony & Cleopatra: แสดงโดย London's Royal Shakespeare Company นำแสดงโดย Janet Suzman (คลีโอพัตรา), Richard Johnson (แอนโทนี) และ Patrick Stewart (เอโนบาร์บุส)
- (ค.ศ. 1999) : Cleopatra: Leonor Varela (คลีโอพัตรา), ทิโมธี ดาลตัน (ซีซาร์), Billy Zane (แอนโทนี) สร้างจากหนังสือ Memoirs of Cleopatra โดย Margaret George และเป็นเรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกับข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์มากที่สุด
"คลีโอพัตรา ในมุมหนึ่งที่คุณไม่เคยรู้"
ตอบลบพอเอ่ยชื่อ " พระนางคลีโอพัตรา " ก็ให้รู้สึกลำบากใจที่จะต้องเขียนถึง ด้วยความที่เป็นชื่อที่ไม่มีใครไม่รู้จัก เอาเป็นว่าเราจะกล่าว ถึงเรื่องของพระนางเพียงพอสังเขปรวมถึงเรื่องราวในแง่มุม ที่คุณเองก็อาจจะไม่เคยได้รับรู้มาก่อน
เริ่มกันตั้ง แต่ชื่อ " คลีโอพัตรา " ที่ใครๆ เข้าใจเป็นชื่ออิยิปต์ แต่แท้ที่จริงแล้วชื่อนี้เป็นชื่อกรีกและยังเป็นกรีกมาซีโดเนียเสียด้วย ตามหน้าประวัติศาสตร์แล้วพระชายาองค์หนึ่งของพระเจ้าลิปซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้า
อเล็กซานเดอร์มหาราช ก็ทรงมีพระนามว่า " คลีโอพัตรา " และเมื่อราชวงศ์ปโตเลมีของมาซีโดเนี่ยนขึ้นปกครอง
"คลีโอพัตรา องค์สุดท้าย"
ไอยคุปต์นาม " คลีโอพัตรา " จึงนิยมตั้งชื่อกันอย่างแพร่หลายในหมู่เจ้าหญิงของราชวงศ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จึงไม่น่าแปลกใจเลย ที่ราชินีคลีโอพัตราแห่งไอยคุปต์จึงมีถึง 7 พระองค์ ส่วนองค์ที่เราจะได้รับรู้เรื่องเบื้องลึก
ของพระนางในวันนี้เป็น ราชินีคลีโอพัตราองค์สุดท้าย พระนางทรงเป็นราชธิดาของฟาโรห์ออลีตีส
พระนางคลีโอพัตราในความรู้สึกนึกคิดของคนทั่วไปคือพระราชินี้ผู้ทรงเสน่ห์ที่สุด มีรูปโฉมที่งดงาม
เพียบพร้อมไปด้วยกลเม็ดเด็ดพรายในเชิงพิศวาส ที่สามารถมัดใจชายผู้เป็นยอดนักรบที่กล้าแกร่งให้มาซบอยู่
ตักได้ถึงสองคนในเวลาใกล้เคียงกันแต่แท้ที่จริงแล้ว เสน่ห์ของพระนางคลีโอพัตราไม่ได้อยู่ที่เนื้อหนังมังสาหรือความงดงามแห่งใบหน้าและเรือนกายเลย แต่อยู่ที่สติปัญญาและความเฉลียวฉลาดรู้เท่าทันคนต่างหาก
....
"วาจาท่าทางแห่งมนต์เสน่ห์อันล้ำลึก"
ตอบลบการที่เราเข้าใจกันว่าพระนางมีเสน่ห์อันล้ำลึกยั่วยวนใจชายจนเหลือกำลังนั้นเป็นผลมาจากภาพของพระนาง
คลีโอพัตราที่เราเห็นจากภาพยนตร์ที่สร้างมาจากบทละครอันลือลั่นของวิลเลี่ยม เช็คสเปียร์ ชื่อเรื่อง " แอนโทนี
คลีโอพัตรา " นั่นเอง และยิ่งละครและภาพยนตร์ยิ่งดังเท่าไรผู้คนก็พากันเชื่อมั่นว่าพระนางคลีโอพัตราจะต้องเป็นผู้หญิงที่สวยที่สุดเท่านั้นแต่จากหลักฐานที่นักเขียนชีวประวัติลือนามอย่าง" พลูตาร์ค " ได้เขียนถึงพระนางคลีโอพัตราไว้ว่า " เราได้รับคำบอกเล่าว่า ความงามของคลีโอพัตรานั้นมิใช่งามเลิศไร้ที่ติจนดึงดูดสายตาของผู้พบเห็นในนาทีแรก แต่นางมีนางมีเสน่ห์อันใครต้านทานไม่ได้ มีบุคลิกแปลกและทรงอำนาจ จนทำให้ทุกวาจาและท่าทีของนางสะกดผู้คนให้ตกอยู่ในมนต์เสน่ห์อันนี้เอง "
"สติปัญญาอันชาญฉลาด"
ส่วนหลักฐานยืนยันสิ่งที่สองคือรูปสลักของพระนางที่วิหารแห่งอเล็กซานเดรียกับลูกนกบนเหรียญกษาปณ์ที่
ทำขึ้นในสมัยนั้น ภาพของพระนางคลีโอพัตราคือหญิงสาวที่มีเรือนร่างอันอวบอ้วนใบหน้ากลม ปากบางสวย
แต่มีจมูกที่ทั้งใหญ่และงุ้มแม้ว่ารูปโฉมของพระนางคลีโอพัตรา ราชินีแห่งไอยคุปต์จะไม่เหมือนอย่างที่เราเคยรับรู้ แต่บุคลิกและเอกลักษณ์ของพระนางที่เลอค่ามากกว่ารูปโฉมจนกลายเป็นเสน่ห์ที่มั่นคงและมากขึ้นตามอายุไข นั่นก็คือ สติปัญญาและความรอบรู้พระนางทรงเชี่ยวชาญในด้านคณิตศาสตร์รอบรู้เรื่องรัฐศาสตร์และหลักการปกครองอันเป็นคุณสมบัติของผู้นำที่ดี รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญด้านภาษาศาสตร์อย่างยอดเยี่ยม สามารถพูดได้ถึง 6 ภาษา รวมทั้งยังเก่งเรื่องอักษรศาสตร์และศิลปศาสตร์ เพราะตลอดเวลา 22 ปีที่ทรงครองบัลลังก์อยู่ พระนางแต่งโคลงกลอนไว้มากมายรวมทั้งให้ความอุปถัมภ์ค้ำชูศิลปกรรมสาขาต่างๆ มากมายด้วยความเก่งกาจของพระนางคลีโอพัตราที่มีอยู่มากมาย ทำให้ฟาโรห์ผู้เป็นพระราชบิดาของพระนางแต่งตั้งให้พระนางขึ้นครองราชบัลลังก์คู่กับพระองค์ในปี 52 ก่อนค.ศ. และพระนางก็สามารถบริหารราชการบ้านเมืองคู่พระบิดามาได้ด้วยความเรียบร้อย จนเมื่อพระบิดาสวรรคต ความทุกข์ความขมขื่นในชีวิตของพระนางก็เริ่มต้นขึ้นเมื่อตามธรรมเนียมไอยคุปต์ ที่สืบทอดบัลลังก์กันทางผู้หญิง โดยที่ราชธิดาของฟาโรห์จะได้รับการตระเตรียมเพื่อ
เป็นราชินีโดยที่จะต้องแต่งงานกันในระหว่างพี่น้อง
พระนางคลีโอพัตราจึงหนีไม่พ้นกฎเกณฑ์ข้อนี้ พระนางถูกวางตัวให้อยู่ในตำแหน่งาชินีและต้องแต่งงานกับฟาโรห์ปโตเลมีที่ 13 น้องชายของพระนางเอง แต่โชคร้ายที่พี่น้องคู่นี้เกลียดกันถึงขนาดต้องการจะฟาดฟันให้ตายกันไปข้างหนึ่งทีเดียว ผู้เป็นน้องชายจึงจ้องจะหาทางกำจัดพี่สาว ส่วนพระนางคลีโอพัตราก็อยากจะกำจัดน้องชายเสียให้สิ้นเรื่อง แต่ในเวลานั้นพระนางยังไม่ทรงแน่ใจในอำนาจที่มีอยู่ในมือ จึงต้องเป็นฝ่ายล่าถอยออกจากเมืองอเล็กซานเดรียเพื่อไปตั้งหลักพระนางเริ่มมองหาพันธมิตรเพื่อช่วยเหลือในการกำจัดฟาโรห์ออกจากบัลลังก์ให้ได้ ซึ่งเป็นช่วงประจวบเหมาะกับเหตุการณ์ที่โรงเริ่มรุกรานดินแดนแถบเมดิเตอร์เรเนียน โดยมี จูเลียส ซีซาร์เป็นแม่ทัพยกมาทางอียิปต์ พระนางเห็นเป็นจังหวะเหมาะถึงจึงลอบเข้าเมืองเพื่อไปหาซีซาร์มาถึงตอนนี้ที่เราเห็นในภาพยนตร์คือพระนางคลีโอพัตราซ่อนร่างอยู่ในม้วนพรมแล้วให้ทาสแบกเข้าไปในวังที่ซีซาร์พัก เมื่อคลี่พรมออกก็ปรากฏเรือนร่างเปลือยเปล่าของพระนางออกมาร่ายรำแต่จริงๆ แล้วหาได้เป็นเช่นนั้นไม่
แต่เป็นเพราะการเจรจาที่ฉลาดเฉียบแหลมทางสติปัญญาของพระนางต่างหากที่ทำให้ จูเลียต ซีซาร์ ยอมช่วย
...
ราชินีไอยคุปต์ให้ได้ครองบัลลังก์ แต่เพียงผู้เดียว
ตอบลบซีซาร์บัญชาการทหารให้ทำลายล้างกองทัพอียิปห์ที่ต่อต้านพระนางคลีโอพัตรา และการสงครามในครั้งนี้ซีซาร์ได้เผาเรือรบของตนตามแผนยุทธการ แต่บังเอิญไฟได้ลามไปถึงหอสมุดอเล็กซานเดรียไหม้ส่วนที่เป็นเอกสารสำคัญเหตุการณ์เพลิงไหม้ในครั้งนนั้นได้รับการขนามนามให้เป็น " ความทรงจำของมนุษชาติ " พอเพลิงสงบก็พบศพของปโตเลมีที่ 13 จมอยู่ในแม่น้ำไนล์ในชุดเกราะทองครบครัน และเล่าลือกันว่าพระนางคลีโอพัตรานั่นเองที่เป็นคนผลักลงไปเมื่อปราศจากผู้ครองนคร ซีซาร์ในฐานะที่ตีเมืองได้ก็ต้องแต่งตั้งผู้ครองนครขึ้นมา น้องชายอายุ 12 ปีของพระนางคลีโอพัตราจึงได้เป็นปโตเลมีที่ 14
ส่วนซีซาร์และพระนางคลีโอพัตราก็กลายเป็นคู่เชยคู่ดังแห่งยุคเมื่อซีซาร์ยกทัพกลับกรุงโรมได้ไม่นาน พระนางคลีโอพัตราก็ตั้งครรภ์ พระนางได้ตั้งชื่อพระโอรสว่า ปโตเลมีซีซาร์ แต่คนทั่วไปเรียกว่า ซีซาร์เรียน พระนางพาโอรสมาเยือนกรุงโรมในปี 46 ก่อน ค.ศ. ตามคำเชิญของซีซาร์ซึ่งทำการต้อนรับพระนางอย่างยิ่งใหญ่ พระนางนั้นหวังว่าซีซาร์จะแต่งตั้งโอรสให้เป็นผู้สืบทอดอำนาจ แต่ว่าจูเลียต ซีซาร์ก็ต้องมาถูกฆ่าตายกลางสภาในกลางเดือนมีนาคมปี 44 ก่อน ค.ศ. นั่นเอง ก่อนตายเขาได้แต่งตั้งหลานชายคือ อ๊อคตาเวีย ขึ้นครองกรุงโรม พระนางคลีโอพัตราจึงต้องพาโอรสกลับอเล็กซานเดรียด้วยความผิดหวัง
"ความรัก คลีโอพัตรา มาร์ค แอนโทนี่"
พระนางคลีโอพัตราเงียบหายไปหลายปีเพราะมัวยุ่งอยู่กับการฟื้นฟูอียิปต์และผูกไมตรีกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะ ยิว หรือ อาหรับ ในที่สุดอียิปต์ก็กลับมารุ่งเรืองอีกครั้งจนกระทั่ง มาร์คุส อันโทนิอุส หรือ มาร์ค แอนโทนี ขุนพลของโรมันต้องส่งสารเชิญพระนางคลีโอพัตราไปพบเพื่อหารือขอความช่วยเหลือเมื่อพระนางไปพบ มาร์ค แอนโทนี่ ที่เมืองทาร์ซุส ความรักครั้งยิ่งใหญ่ก็บังเกิดขึ้นและดำเนินไปด้วยความหวานชื่น แต่ก็ให้เกิดเหตุบังเอิญเมื่อ ฟุลเวีย ภรรยาคนที่สามก่อกบฏ แต่ก็ต้องพ่ายแพ้แก่อ๊อคตาเวีย
และโดนประหารในที่สุด แอนโทนีจึงต้องกลับบ้านและตกลงแต่งงานกับน้องสาวของอ๊อคตาเวียเพื่อสานสัมพันธ์กันใหม่พระนางคลีโอพัตราแทบคลั่งเมื่อได้ทราบการแต่งงานของชู้รัก ต่อมาพระนางก็ให้กำเนิดลูกแฝดแก่แอนโทนีและตั้งชื่อว่า อเล็กซานเดอร์ เฮลิออส และ คลีโอพัตราเซเลเน แล้วจู่ๆ มาร์ค แอนโทนี ก็ติดต่อมาอีกทั้งคู่จึงกลับมาคืนดีกันด้วยความหวานชื่นอีกครั้งทางด้านกรุงโรมก็กำลังวุ่นวายเมื่อรู้ว่าแอนโทนีกับคลีโอพัตราสนิทแนบแน่นกันนั้น อาจจะกำลังมีแผนการอย่างอื่นอยู่ อ๊อคตาเวียจึงเรียกร้องให้คลีโอพัตราส่งเสบียงกรังมาเป็นส่วย แต่แอนโทนีห้ามไว้
....
"สงครามอียิปต์"
ตอบลบเมื่อแน่ใจแล้วว่าแอนโทนีกำลังแปรพักตร์ไปเข้ากับอียิปต์ อ๊อคตาเวียจึงประกาศให้ชาวโรมฟังว่าแอนโทนีมี
แผนจะย้ายเมืองหลวงหรือก่อกบฎนั่นเอง แอนโทนีจึงประกาศว่าอ๊อคตาเวียไม่ใช่ทายาทที่ถูกต้อง แต่ซีซาร์เรียน
เท่านั้นที่เป็นทายาทตัวจริงของซีซาร์และมีสิทธ์ครองกรุงโรม อ๊อคตาเวียจึงเกลี้ยกล่อมสภาซีเนทของโรมให้เห็นถึงอันตรายของอียิปต์ภายใต้การปกครองของแอนโทนีและคลีโอพัตรา ในที่สุดโรมจึงประกาศสงครามกับอียิปต์ปี 31 ก่อน ค.ศ. กองทัพโรมันก็บ่ายหน้าสู่อียิปต์ มาร์ค แอนโทนียกกองทัพเรือออกไป โดยมีคลีโอพัตราลงเรือของเธอไปสังเกตการณ์ กองทัพของฝ่ายโรมันและอียิปต์เข้าโรมรันกันอย่างดุเดือด พระนางคลีโอพัตราตกพระทัย
ในศึกดุเดือดเบื้องหน้า จึงสั่งให้เรือของเธอกลับลำหนี เมื่อแอนโทนีหันมาเห็นเข้าก็ถอดเสื้อเกราะทิ้งแล้วแล่นเรือไล่ตามหลังพระนางมา การรบเป็นอันจบสิ้น รวมทั้งชีวิตของคนทั้งสองด้วย
"ความลับตลอดกาล"
เมื่อพบกับความพ่ายแพ้ มาร์ค แอนโทนี จึงฆ่าตัวตายในอ้อมแขนของพระนางคลีโอพัตรา ส่วนพระนางก็ดื่ม
ยาพิษฆ่าตัวตายตามคู่รักไป อียิปต์จึงตกเป็นของโรมันตั้งแต่นั้นมาหลักฐานของเหตุการณ์ต่างๆ ยังคงปรากฏให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาหลายยุคหลายสมัย แต่เว้นอยู่อย่างเดียวคือ ไม่มีหลักฐานใดๆ ที่จะระบุสุสานของ มาร์ค แอนโทนี และ พระนางคลีโอพัตรา อยู่ที่ไหนความลับเกี่ยวกับที่เก็บศพของคู่รักบันลือโลกคู่นี้จึงยังเป็นความลับอยู่ตลอดมา
แหล่งข้อมูล : รวมเรื่องโบราณคดี
.