ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

23 กรกฎาคม 2554

มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher)

          มาร์กาเรต แทตเชอร์ (Margaret Thatcher)






วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube





มาร์กาเรต ฮิลดา แทตเชอร์ (อังกฤษ: Margaret Thatcher) หรือ บารอนเนส แทตเชอร์ (ชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิรตส์; เกิด 13 ตุลาคม พ.ศ. 2468) เป็นนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักรตั้งแต่ พ.ศ. 2522 ถึง พ.ศ. 2533 และเป็นผู้นำพรรคอนุรักษ์นิยมตั้งแต่ พ.ศ. 2518 จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2533 โดยเป็นผู้หญิงคนแรก (และคนเดียวจนถึงบัดนี้) ที่ควบสองตำแหน่งพร้อมกัน


นางแทตเชอร์ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอังกฤษยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดซอลส์เบอรีและอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันยาวนานที่สุดนับตั้งแต่สมัยของลอร์ดลิเวอร์พูล นายกรัฐมนตรีในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 นางเป็นสตรีคนแรกที่นำพรรคการเมืองเสียงข้างมากของประเทศอังกฤษและเป็นสตรีคนแรกของเพียงสามคนที่ได้ดำรงหนึ่งในสี่ตำแหน่งใหญ่ของประเทศ ปัจจุบันนางได้มีบรรดาศักดิ์ขุนนางตลอดชีพเป็นบารอนเนสแทตเชอร์แห่งเมืองเคสตีเวน ในมณฑลลิงคอล์นไชร์ ซึ่งทำให้นางมีโอกาสได้นั่งในสภาขุนนาง


วิดีโอ YouTube



ชีวิตในวัยเด็กและการศึกษา

นางแทตเชอร์เกิดที่เมืองแกรนแทมในมณฑลลิงคอล์นไชร์ บิดาของนางคือ อัลเฟรด โรเบิร์ตส์ ซึ่งเป็นเจ้าของร้านขายของชำในเมืองและได้มีส่วนรวมในการเมืองและศาสนาของท้องถิ่น โดยเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดและเป็นฆราวาสนักเทศน์ในนิกายเมโทดิสต์ โรเบิรตส์มาจากครอบครัวพรรคเสรีนิยม แต่ไม่ได้สังกัดพรรคใด ด้วยถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการเมืองท้องถิ่นในสมัยนั้น เขาเสียตำแหน่งผู้ว่าราชการไปในปี พ.ศ. 2495 หลังจากที่พรรคเสรีนิยมชนะเสียงข้างมากเป็นครั้งแรกในสภาเมืองแกรนแทมในปี พ.ศ. 2493 อัลเฟรดได้แต่งงานกับเบียทริซ สตีเฟนสัน และได้มีบุตรีสองคน (คือ นางแทตเชอร์ กับ มูเรียล ซึ่งเป็นพี่สาว เกิด พ.ศ. 2464 ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2547) นางแทตเชอร์ได้รับการเลี้ยงดูแบบลัทธิเมโทดิสต์ที่เคร่งครัดศาสนาและยังคงเป็นคริสต์ศาสนิกชนมาตลอดชีวิตของนาง นางแทตเชอร์ได้รับการศึกษาอย่างดี โดยเข้าเรียนในโรงเรียนเด็กหญิงเคสตีเวนและแกรนแธม และต่อมาในปี พ.ศ. 2487 ก็ได้เข้าเรียนในวิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ เมืองออกซ์ฟอร์ด เพื่อเรียนวิชาเคมี โดยเลือกลงเรียนเอกวิชาผลิกศาสตร์ นางได้เป็นประธานสมาคมอนุรักษ์นิยมแห่งมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดในปี พ.ศ. 2489 โดยเป็นสตรีคนที่สามที่อยู่ในตำแหน่งนี้ นางจบการศึกษาพร้อมกับเกียรตินิยมและทำงานเป็นนักเคมีวิจัยให้แก่ British Xylonite และ บริษัท J. Lyons and Co. โดยได้ช่วยเหลือในการพัฒนาวิธีการในการเก็บรักษาไอศกรีม นางเป็นสมาชิกในทีมที่พัฒนาไอศกรีมแบบอ่อนนุ่มเป็นรายแรก นางแทตเชอร์ยังเป็นสมาชิกของสมาคมผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์อีกด้วย


ชีวิตทางการเมือง




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




แทตเชอร์เข้าสู่การเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2502 ร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงา พ.ศ. 2510 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2513-2517 เป็นอัครมหาเสนาบดีเงาร่วม (joint shadow Chancellor) พ.ศ. 2517-18 และใน พ.ศ. 2520 ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนนาเอ็ดเวิร์ด ฮีท แทตเชอร์เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ


ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษ์นิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัดมากขึ้น ทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณุปโภคที่รัฐบาลก่อน ๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ


แทตเชอร์ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2526 โดยได้เสียงข้างมากทั้ง ๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี สงครามฟอล์กแลนด์และความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้นและได้รับเลืกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี พ.ศ. 2530 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2531 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิแทตเชอร์” (Thatcherism) และด้วยเหตุผลที่แทตเชอร์เป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร รวมทั้งจากการกังขาไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนรัฐบาลเองด้วย











บั้นปลายชีวิต



ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2533 สืบเนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)

หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางตลอดชีพชั้นบารอน แทตเชอร์ได้ตระเวนปาฐกถาไปทั่วโลกในนามของมูลนิธิแทตเชอร์ และได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "มาร์กาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีต" (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) เมื่อปี พ.ศ. 2536




วิดีโอ YouTube


วิดีโอ YouTube



อ้างอิง


  • The Cambridge Biograhical Encyclopedia / Edited by David Cystal-2nd ed., Cambridge University Press, 2000


วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube




วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube



วิดีโอ YouTube






3 ความคิดเห็น:

  1. มาร์กาแรต แทตเชอร์ นายกฯหญิงเหล็ก



    นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ทรงอิทธิพลของอังกฤษ ที่มีความเด็ดเดี่ยวในด้านนโยบายและการบริหารจนเป็นที่เลื่องลือ



    เมื่อพูดถึงผู้นำหญิงของโลกยุคใหม่ เชื่อว่าหลายคนคงนึกถึงชื่อของนางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ อดีตนายกรัฐมนตรีผู้ทรงอิทธิพลของอังกฤษเป็นอันดับแรก ในฐานะผู้นำที่เข้มแข็งของชาติมหาอำนาจ ที่มีความเด็ดเดี่ยวในด้านนโยบายและการบริหารจนเป็นที่เลื่องลือ



    นางมาร์กาเร็ต แทตเชอร์ มีชื่อเดิม มาร์กาเรต ฮิลดา โรเบิรตส์ เกิดเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2468 ที่เมืองแกนท์แฮม แคว้นลินคอล์นเชียร์ ในครอบครัวชนชั้นสูง เธอจบการศึกษาในสาขาวิชาเคมี จากวิทยาลัยซอเมอร์วิลล์ มหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ในปี พ.ศ. 2489 และสมรสกับพันตรีเดนิส แทตเชอร์ในปี 2494



    เธอเข้าสู่แวดวงการเมืองครั้งแรกในปี 2493 โดยลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขตดาร์ทฟอร์ด แต่ยังไม่ได้รับเลือกตั้ง แต่การลงสนามเลือกตั้งครั้งที่ 2 ในปี 2502 ที่เขตฟินช์ลีย์ เธอได้รับความไว้วางใจจากชาวอังกฤษ



    และอีก 18 ปีต่อมา สมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยม ยังเลือกให้เธอดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค แทนนายเอ็ดเวิร์ด ฮีท นับเป็นหัวหน้าพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองอังกฤษ



    และในปี 2522 เธอก็ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ เป็นสตรีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งนี้ และดำรงตำแหน่งยาวนานถึง 11 ปี ยาวนานที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ในประวัติศาสตร์อังกฤษ

    ในช่วงที่นางแทตเชอร์ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี อังกฤษกำลังประสบปัญหาทางเศรษฐกิจอย่างหนัก รัฐบาลพรรคอนุรักษ์นิยมภายใต้การนำของเธอ จึงเน้นนโยบายปฏิรูปทางเศรษฐกิจ และบริหารประเทศด้วยความเฉียบขาด สนับสนุนภาคเอกชนและแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ด้วยการกระจายหุ้น ลดภาษีเงินได้ รวมถึงลดบทบาทของสหภาพแรงงาน ซึ่งส่งผลให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบโครงสร้างพื้นฐานในสังคมอย่างรุนแรง



    ในด้านการต่างประเทศ รัฐบาลของนางแทตเชอร์เน้นความร่วมมือกับสหรัฐฯในสมัยประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน อย่างใกล้ชิด และมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการปฏิรูปสหภาพโซเวียต โดยนายมิคาอิล กอบอชอฟ ซึ่งนำไปสู่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในที่สุด



    การใช้อำนาจตัดสินใจอย่างเด็ดขาดโดยไม่ฟังเสียงคัดค้านของนางแทตเชอร์ เป็นบุคลิกที่โดดเด่นและเป็นเอกลักษณ์ของเธอ ซึ่งเธอแสดงให้เห็นอยู่เสมอ เช่นในเหตุกรณ์ข้อพิพาทการอ้างสิทธิ์เหนือหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ ในมหาสมุทรแอตแลนติกตอนใต้ ระหว่างอังกฤษและอาร์เจนตินา เมื่อปี 2525 ที่เธอตัดสินใจส่งกองกำลังไปจู่โจมชิงหมู่เกาะคืนทันทีที่อาร์เจนติน่าส่งกำลังทหารเข้ายึดครองหมู่เกาะ และจบลงด้วยชัยชนะของอังกฤษ ซึ่งส่งผลให้เธอชนะการเลือกตั้งในปีต่อมาอย่างถล่มทลาย และได้รับการขนานนามว่านายกฯหญิงเหล็ก นับตั้งแต่นั้น

    อย่างไรก็ตาม การใช้อำนาจแบบเด็ดขาดบ่อยครั้งในช่วงปลายสมัย ก็ทำให้ความนิยมในตัวเธอเริ่มเสื่อมลง จนเกิดกระแสกดดันภายในพรรค จนสุดท้ายเธอก็ต้องประกาศลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม ในเดือนพฤษจิกายน 2533



    หลังพ้นตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เธอได้หันมาทำงานด้านการกุศลและเขียนหนังสือ รวมถึงเดินทางเยือนต่างประเทศในฐานะตัวแทนรัฐบาลอังกฤษหลายครั้ง



    ปัจจุบัน นางแทตเชอร์ที่ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นบารอเนส ในวัย 85 ปี ยังคงมีสุขภาพแข็งแรงดี และยังคงออกงานสังคมเป็นครั้งคราว ครั้งล่าสุดคือในพิธีเสกสมรสของเจ้าชายวิลเลียมและเจ้าหญิงแคทรีน





    .

    ตอบลบ
  2. มาร์กาแรต แทตเชอร์


    เมื่อเอ่ยนาม มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ หลายคนคงจะนึกถึงภาพผู้หญิงเหล็ก ท่าทีแข็งกร้าว ที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ จนไม่มีเวลาพักผ่อน แม้ว่าจะออกจากตำแหน่งสำคัญทาง การเมืองอังกฤษแล้วก็ตาม ทว่าเธอยังคง ทำประโยชน์ให้กับ สังคมโดยการเป็น วิทยากรบรรยาย ตาม สถานที่ต่าง ๆ อีกมากมาย วันนี้ โบราณ จะพาทุกท่านไปค้น ประวัติของเธอคนนี้กัน ตามมาเลยครับ

    นางมาร์กาเร็ต หรือ มาร์กาเร็ต ฮิลดา โรเบิร์ต ( Margaret Hilda Roberts) เป็นบุตรสาว คนที่สองของ พ่อค้าขาย ของชำและสาวเย็บผ้าคือนาง บีทไรซ์ และนายอัลเฟรด โรเบิร์ต ( Beatrice and Alfred Roberts) เกิดเมื่อปี 1925 มาร์กาเร็ต เติบโตที่ เมือง แกรนแธม (Grantham), รัฐลินคอล์นไชร์ (Lincolnshire)ใน ประเทศอังกฤษ กระทั่ง สำเร็จการศึกษาจาก วิทยาลัย ซัมเมอร์วิลล์ (Somerville College)แล้ว จึง ย้ายไปศึกษาที่มหาวิทยาลัย อ็อกซ์ฟอร์ด (Oxford University)ในสาขาวิชา เคมี และกฏหมาย


    หลังจากที่สำเร็จ การศึกษา เธอได้ทำงานเป็น นักเคมีสำรวจอยู่ ระยะหนึ่ง ก่อนที่จะเริ่มเข้าสู่ เส้นทางนักการเมือง แธตเชอร์ได้รับเลือกเป็น สมาชิกสภา อนุรักษ์นิยมในปี 1959โดยเริ่ม หน้าที่จาก การเป็น รัฐมนตรีชั้นผู้น้อย ก่อนที่จะได้เป็นเลขาใน กระทรวงศึกษาธิการและ วิทยาศาสตร์ ด้วยความเป็นคน ที่มี วิสัยทัศน์ของ นักวิเคราะห์ซึ่ง ทำงานด้วยความ แม่นยำชัดเจน และ ทะเยอทะยานสูง เธอจึงใช้เวลาไม่นานในการ ทำคะแนนนิยม ตีตื้นขึ้นมาเหนือ นักการเมืองคนอื่น ๆ อีกทั้ง ทักษะการพูดที่ มีเหตุมีผล เธอจึงได้รับ ความไว้วางใจจาก สมาชิกในพรรค อนุรักษ์นิยม ให้ทำหน้าที่ตอบโต้ นโยบายของ พรรคแรงงาน ซึ่งเป็น พรรคตรงข้าม แล้วเธอก็ได้รับเลือกให้เป็น ผู้นำพรรค ในที่สุด

    มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้รับยกย่องให้เป็น หญิงเหล็กแห่ง เกาะอังกฤษ ในฐานะ ผู้นำหญิงคนแรก ของพรรค อนุรักษ์นิยม และ นายกรัฐมนตรีหญิงคนแรก ของ อังกฤษ แธตเชอร์ได้กุมบังเหียน บริหาร ประเทศ เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 1979 เมื่อพรรคอนุรักษ์นิยม ของเธอ ได้รับ เสียงข้างมากในการ เลือกตั้งรัฐสภา


    ทั้งฝ่ายที่สนับสนุน และไม่เห็นด้วย กับ การดำเนินงานของเธอ ต่างยอมรับว่า แธตเชอร์เป็น นักการเมือง คนสำคัญที่สุด คนหนึ่งใน ประวัติศาสตร์ การเมืองอังกฤษ เธอสร้าง ความเปลี่ยนแปลงสำคัญ มากมาย ตลอดช่วง 11 ปีที่ดำรงตำแหน่ง ผู้นำประเทศ และริเริ่ม นโยบายใหม่ๆ อาทิการ แปรรูปอุตสาหกรรมรัฐ ลดบทบาทของ รัฐในเศรษฐกิจ ส่งเสริม ผู้ประกอบกิจการและ กระตุ้นให้เกิด การแข่งขัน


    มาร์กาเร็ตได้ใช้ ความพยายาม อย่างมากในการ ลดอิทธิพลสหภาพ การค้าในอังกฤษลง และ ต่อสู้กับ ภาวะเงินเฝ้อ เธอริ่มปฏิบัติการ โดยควบคุม การเพิ่มเงิน และ ลดการใช้จ่ายเงินของ รัฐบาลพร้อมกับ ลดภาษีรายได้ส่วนบุคคล ที่มีมูลค่า สูงกว่า แม้ว่า อัตราคนว่างงานใน ช่วงหลังสงครามจะยิ่งสูงขึ้น แต่ภาวะตกต่ำ ด้านผลผลิตทาง เศรษฐกิจ กลับลดลง


    ผู้นำหญิงคนแรกของ อังกฤษ ยังมีความสัมพันธ์ อันดีเยี่ยม กับประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ผู้นำสหรัฐฯ ในขณะนั้น รวมทั้ง ประธานาธิบดี มิคาอิล กอร์บาชอฟ ของ สหภาพโซเวียต ท่าที แข็งกร้าว ของเธอ ทำให้ สื่อโซเวียต ขนานนาม เธอว่า "หญิงเหล็ก"


    แธตเชอร์พ้นจาก ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีในปี 1990 เมื่อ สมาชิกรัฐสภาไม่เห็น ด้วย กับ นโยบายด้าน ภาษี และการที่ แธตเชอร์ขัดขวาง การรวมตัวทาง เศรษฐกิจ กับยุโรป นอกจากนี้ เธอ ยังถูก วิพากษ์วิจารณ์เ กี่ยวกับสไตล์การ บริหาร แบบ เผด็จการอีกด้วย


    หลังสิ้นอำนาจ ทางการเมือง แธตเชอร์ได้รับ พระราชทาน บรรดาศักดิ์เป็น "บารอนเนส" ในปี 1992 และรับคำเชิญไป บรรยาย ตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลกจนกระทั่ง แพทย์สั่งให้เธอ รักษาสุขภาพ และ งดกิจกรรม ดังกล่าว ตั้งแต่ เดือน มีนาคม ปี 2002



    .

    ตอบลบ
  3. มาร์กาแรต แทตเชอร์




    มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ




    4 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 มาร์กาเร็ต แธตเชอร์ (Margaret Thatcher) หัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยม (Conservative Party) ได้รับการเลือกตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของอังกฤษ และเป็นนายกฯ ติดต่อกันถึง 3 สมัย ตั้งแต่ปี 2522-2533 เธอใช้นโยบายปฏิรูปที่รุนแรงหลายอย่าง เช่น การจัดบทบาทของสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ สนับสนุนวิสหกิจเอกชน และแปรรูปรัฐวิสหกิจที่รัฐเคยยึดมากระจายให้เอกชน เธอได้รับการสนับสนุนมากขึ้นหลังจากสนับสนุนให้อังกฤษทำสงครามจนได้รับชัยชนะใน สงครามหมู่เกาะฟอล์คแลนด์ (Falkland War) ในปี 2525 และการออกกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้เช่าบ้านสามารถซื้อบ้านที่ตนเช่าได้ แต่ด้วยวิธีการทำงานแบบเบ็ดเสร็จยึดมั่นในความคิดของตัวเองอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร คัดค้านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นโยบายภาษีผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax) และขัดแย้งกับเพื่อนร่วมงาน ในที่สุดเธอก็หมดอำนาจและลาออกในปี 2533 เธอได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้นำที่กล้าตัดสินใจและกล้าเผชิญหน้า จนได้รับฉายาว่า "หญิงเหล็ก” (The Iron Lady) เป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20





    .

    ตอบลบ