ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

17 ธันวาคม 2561

โรคไขมันในเลือดสูง/คอเลสเตอรอลสูง(Dyslipidemia)

โรคไขมันในเลือดสูง/คอเลสเตอรอลสูง(Dyslipidemia)





โรคไขมันในเลือดสูง/คอเลสเตอรอลสูง (Dyslipidemia) คือ โรคที่มีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าค่าที่ถูกกำ หนดขึ้น ซึ่งค่าปกตินี้ได้มาโดยการเก็บข้อมูลทางสถิติของระดับไขมันในเลือดของคนทั่วไป โดยพบว่าเมื่อมีค่าเกินระดับหนึ่งแล้วบุคคลนั้นๆก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและตามมาคือโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) การที่บุคคลใดควรจะมีระดับไขมันเท่าใด และจะเลือกการรักษาแบบไหนขึ้นอยู่กับว่ามีความเสี่ยงอื่นๆร่วมด้วยอีกกี่ความเสี่ยง ดังนั้นการกำหนดระดับไขมันในแต่ละคนจึงอาจไม่เท่ากัน 

โดยรวมโรคนี้พบในคนเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าคนเชื้อชาติเอเชีย และพบในคนที่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าในเขตชนบท สำหรับในประเทศไทย สำนักงานสถิติแห่งชาติไม่ได้เก็บรวบ รวมข้อมูลผู้ป่วยที่มีโรคไขมันในเลือดสูง แต่อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มที่โรคนี้จะพบมากขึ้นเรื่อย ๆสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตและการบริโภคเป็นสำคัญ

ไขมันมีกระบวนการเมตาบอลิซึมอย่างไร?

ไขมันในเลือดสูง









กระบวนการเมตาบอลิซึม (Metabolism, กระบวนการทางเคมีเพื่อนำสารต่างๆไปใช้เพื่อ ให้เกิดพลังงานใช้ในการเจริญเติบโตของเซลล์) ของไขมันเริ่มจากเมื่อเรารับประทานอาหารที่มีไขมันซึ่งมีทั้งไขมันคอเลสเตอรอล (Cholesterol) และไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) ก็จะถูกลำไส้เล็กดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด และจะไปจับตัวกับโปรตีนที่ชื่อ Apolipoprotein (ชื่อย่อคือ Apo ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกันไป) ร่วมกับองค์ประกอบอื่นๆอีกกลาย เป็นกลุ่มไขมันที่ชื่อว่า Chylomicron ซึ่งเป็นกลุ่มไขมันที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ มีไตรกลีเซอไรด์อยู่มาก (คือมีไตรกลีเซอไรด์ 80 - 95% มีคอเลสเทอรอล 2 - 7%) Chylomicron นี้จะเดิน ทางไปทั่วร่างกาย และปลดปล่อยไตรกลีเซอไรด์ไปให้เซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อใช้ทำ งานโดยอาศัยเอนไซม์ (Enzyme, สารเคมีที่มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ) ที่ชื่อว่า Lipopro tein lipase (ผู้ที่มีเอนไซม์ชนิดนี้ทำงานผิดปกติจึงมีระดับไตรกลีเซอไรด์สูง) หลังจากนั้น กลุ่มไขมัน Chylomicron ก็จะมีขนาดที่เล็กลงและเดินทางเข้าสู่ตับต่อไป
ตับจะผลิตกลุ่มไขมันที่ชื่อ VLDL เข้าสู่กระแสเลือด (มีไตรกลีเซอไรด์ประมาณ 55 - 80 %) และเดินทางไปทั่วร่างกาย ปลดปล่อยไตรกลีเซอไรด์ไปให้เซลล์ไขมันและเซลล์กล้ามเนื้อใช้งาน และกลายเป็นกลุ่มไขมันที่มีขนาดเล็กลงชื่อ แอลดีแอล (LDL, Low-density lipopro tein) ซึ่งจะมีคอเลสเตอรอลเป็นองค์ประกอบหลัก LDL นี้โดยส่วนใหญ่ก็จะกลับเข้าสู่ตับโดยอา ศัยตัวรับ (Receptor) กลับสู่ตับที่ชื่อ LDL receptor (ผู้ที่มีความผิดปกติของ LDL receptor จึงวัดระดับกลุ่มไขมัน LDL หรือคอเลสเทอรอลในเลือดได้สูงนั่นเอง) LDL ที่เหลือจะถูกอวัยวะอื่น ๆนำไปใช้งานเช่น รังไข่นำไปใช้ผลิตฮอร์โมน



เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินระดับไขมันผิดปกติในเลือด

การศึกษาทางวิทยาการระบาดพบว่าผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจนั้น ควรมีระดับไขมันในเลือดดังนี้คือ TC <200 มก/ดล, LDL-C<100 มก/ดล, HDL-C ³40 มก/ดล และ TG <150 มก/ดล นอกจากนี้ควรมีอัตราส่วน TC/ HDL-C <4.5 และ LDL-C/HDL-C < 3.0  
ตารางแสดงถึงเกณฑ์ที่ใช้ตัดสินภาวะระดับไขมันผิดปกติในเลือด และความรุนแรงของความผิดปกติ  
Types of CholesterolLevels (mg/dL)ความหมาย
LDL< 100Optimal
100-129Near optimal
130-159Borderline high
160-189High
>190Very high
HDL<40Low
>60High
Triglycerides<150Normal
150-199Borderline high
200-499High
>500Very high
Source: Third Report of the Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults (Adult Treatment Panel III), National Institutes of Health

การวินิจฉัยไขมันในเลือดสูง

ค่าปกติของไขมันในเลือด
Total cholesterol levels:
  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 200 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 200 - 239 mg/dL
  • สูง: มากกว่า 240 mg/dL
LDL cholesterol levels:
  • ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจหรือมีความเสี่ยงสูง: ต่ำกว่า 70 mg/dL
  • ระดับที่ต้องการสำหรับผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจให้ต่ำกว่า 100
  • ระดับที่ต้องการ: 100 - 129
  • สูงปานกลาง: 130 - 159
  • สูง: 160 - 189
HDL cholesterol levels:
  • ผลไม่ดี: ต่ำกว่า 40 mg/dL
  • ค่าที่ยอมรับได้: 40 - 59
  • ระดับที่ต้องการ: 60 สูงกว่า
Triglyceride levels:
  • ระดับที่ต้องการ: ต่ำกว่า 150 mg/dL
  • สูงปานกลาง: 150 - 199
  • สูง:สูงกว่า 200-499
  • สูงมาก ค่า triglyceride มากกว่า 500
ผู้ใหญ่ที่ค่าไขมันปกติควรจะตรวจซ้ำทุก 5 ปี หากไขมันในเลือดสูงควรตรวจซ้ำอีก 2-6 เดือน
ไขมันในเลือดสูงหมายถึงร่างกายเรามีไขมันในกระแสเลือดสูง ไขมันที่สูงอาจจะเป็น cholesterol หรือ Triglycerideก็ได้ ไขมันสูงจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคอัมพาต เนื่องจากไขมันสูงจะตกตะกอนที่ผิวของผนังหลอดเลือดที่เรียกว่าคราบไขมันหรือ Plaque ซึ่งจะทำให้หลอดเลือดตีบ หรือคราบอาจจะหลุดลอยไปอุดหลอดเลือดทำให้เกิดโรค
ค่าปกติของไขมันคอเลสเตอรอลอยู่ระหว่าง 140 and 200 mg/d ทางการแพทย์จะให้ความสนใจเป็นพิเศษกับไขมัน Total Cholesterol และ LDL Cholesterol และไขมัน HDL Cholesterol เนื่องจากภาวะทั้งสองสามารถควบคุมโดยการใช้ยาและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แต่การเกิดหลอดเลือดแข็งจะเกิดเร็วหากมีภาวะไขมันผิดปกติดังนี้
  • มีระดับของ triglycerides (TG) สูง
  • ไขมัน low-density lipoprotein (LDL) สูง:ซึ่งเป็นไขมันไม่ดี
  • ไขมัน highdensity lipoprotein-cholesterol (HDL-C)ต่ำ

อะไรเป็นสาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูง?



โรคไขมันในเลือดสูงมีสาเหตุได้จาก
  1. สาเหตุจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของไขมันที่ผิดปกติเอง 
    1. สาเหตุที่ทำให้มีระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ แต่ระดับไตรกลีเซอไรด์ปกติ 
      1. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรับไขมันชนิด LDL (LDL recep tor) ซึ่งเรียกภาวะนี้ว่า Familial cholesterolemia (FM) โดยหากความผิดปกติของพันธุกรรมเกิดบนโครโมโซม (Chromosome) ทั้ง 2 แท่ง (ที่คู่กัน) ที่เรียกว่า Homozygous จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 คนใน 1 ล้านคน แต่ถ้าความผิดปกติเกิดบนโครโมโซมเพียงแท่งเดียว (Hetero zygous) จะพบโรคนี้ได้ประมาณ 1 คนใน 500 คน
      2. เกิดจากปัจจัยสิ่งแวดล้อมภายนอกร่วมกับมีพันธุกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูงเรียกภาวะนี้ว่า Polygenic hypercholesterolemia สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่พบบ่อยที่สุด พันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับสาเหตุนี้อาจมีหลายตัวบนหลายโครโมโซม ซึ่งปัจจุบันยังไม่ทราบชนิดพันธุกรรมที่ชัดเจน ซึ่งปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมได้แก่ การกินอาหารที่มีไขมันเป็นสัดส่วนมากเกิน ไป, การกินอาหารที่ประกอบด้วยไขมันอิ่มตัวสูง (มักเป็นไขมันจากสัตว์), มีไขมันชนิดคอเลส เทอรอลสูง (มักเป็นไขมันจากสัตว์), กินอาหารที่มีใยอาหาร (ผัก ผลไม้) น้อย, การมีน้ำหนักตัวเกิน, ดื่มแอลกอฮอล์, ไม่ออกกำลังกาย, การใช้เครื่องอำนวยความสะดวกมากเกินไป ซึ่งทั้ง หมดเป็นวิถีชีวิตส่วนใหญ่ของคนในเมือง
      3. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนที่ประกอบกับไขมันชื่อ Apo B-100 เรียกภาวะนี้ว่า Familial defective apo B-100 (FDB) พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก ยก เว้นในคนเชื้อชาติเยอรมันที่พบได้สูงถึง 1 คนใน 1,000 คน 
      4. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวรับไขมันชนิด LDL (LDL recep tor) เฉพาะที่อยู่บนตับเรียกว่า Autosomal recessive hypercholesterolemia (ARH) พบเป็นสาเหตุได้น้อยมาก ยกเว้นในคนเชื้อชาติอิตาลีที่พบได้บ่อย
      5. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูดซึมไขมันที่ลำไส้เล็กส่วนต้น เรียกภาวะนี้ว่า Sitosterolemia พบภาวะนี้ได้น้อยมากเช่นกัน
    2. สาเหตุที่ทำให้มีทั้งระดับไตรกลีเซอไรด์และระดับคอเลสเตอรอลสูงกว่าปกติ
      1. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ที่สลายกลุ่มไขมัน Chylomi cron และ VLDL ซึ่งได้แก่ Lipoprotein lipase และ Apo-C-II เรียกภาวะนี้ว่า กลุ่มอาการ Familial chylomicronemia syndrome พบได้ประมาณ 1 คนใน 1 ล้านคน ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูงมากกว่า 1,000 mg/dl (มิลิกรัม/เดซิลิตร) ส่วนระดับคอเลสเตอรอลสูงปานกลาง
      2. เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกี่ยวข้องกับโปรตีนที่ประกอบกับไขมันชื่อ Apo-E เรียกภาวะนี้ว่า Familial dysbetalipoproteinemia (FDBL) ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลขึ้นสูง
      3. ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจนแต่มีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมเรียกภาวะนี้ว่า Familial hypertriglyceridemia (FHTG) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย โดยพบได้ประมาณ 1 คนใน 500 คน ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ในช่วง 250 - 1,000 mg/dl ส่วนระดับคอเลสเทอ รอลขึ้นสูงเล็กน้อยไม่เกิน 250 mg/dl 
      4. ไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่ชัดเจนแต่มีหลักฐานว่าเกี่ยวข้องกับพันธุกรรมเรียกภาวะนี้ว่า Familial combined hyperlipidemia (FCHL) เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุด โดยพบได้ประ มาณ 1 คนใน 200 คน ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ในช่วง 200 - 800 mg/dl มีระดับคลอเลสเตอรอลอยู่ในช่วง 200 - 400 mg/dl การแยกสาเหตุจากภาวะ Familial hypertriglyce ridemia ข้างต้นต้องอาศัยการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะลงไป 
      อนึ่ง สาเหตุที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมยังมีอีกหลายภาวะ นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้ว แต่พบได้น้อยมากมาก จึงไม่ขอกล่าวถึง รวมทั้งยังมีโรคไขมันต่ำที่เกิดจากความผิดปกติของพันธุกรรมอีกหลายโรคด้วย

     แบ่งออกตามชนิดของไข มันในเลือดดังนี้


  2. สาเหตุจากการเป็นโรคอื่นๆแล้วทำให้ระบบเมตาบอลิซึมของไขมันผิดปกติได้แก่ 
    1. โรคเบาหวาน ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิด 1 (ชนิดที่เป็นตั้งแต่อายุน้อยๆ) จะไม่เป็นโรคไขมันสูงถ้าคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี แต่ในผู้ป่วยที่เป็นเบาหวานชนิด 2 (ชนิดที่ดื้อต่ออินซูลิน) จะมีระดับไขมันสูงแม้จะคุมน้ำตาลได้ดีก็ตาม เนื่องจากผู้ ป่วยเบาหวานชนิด 2 นี้จะมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมน้ำตาลในร่างกาย) และมีระดับอินซูลินขึ้นสูง ซึ่งอินซูลินจะทำให้เอนไซม์ย่อยสลายไขมันที่ชื่อ Lipoprotein lipase ทำงานลดลง จึงทำให้ไขมันกลุ่ม Chylomicron และ VLDL เพิ่มขึ้น และอินซูลินยังทำให้เนื้อเยื่อต่างๆปลดปล่อยไขมันออกมามากขึ้น ทำให้เซลล์ตับผลิตไขมันและปลดปล่อยกลุ่มไขมันVLDL มากขึ้น ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูงปานกลาง ซึ่งถ้ามีระดับขึ้นสูงมากหรือมีระดับคอเลสเทอรอล ขึ้นสูงด้วยแสดงว่าอาจมีความผิดปกติของพันธุกรรมอื่นๆข้างต้นร่วมอยู่ด้วย
    2. โรคอ้วน โรคอ้วนจะทำให้เซลล์ไขมันมีปริมาณมากขึ้นและปลดปล่อยกรดไขมันออกมามากเช่นกัน กรดไขมันเหล่านี้ก็จะถูกส่งไปที่ตับ เซลล์ตับก็จะผลิต VLDL ออกมามากขึ้น นอกจากนี้ผู้ป่วยโรคอ้วนจะเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลินและมีระดับอินซูลินขึ้นสูง ซึ่งทำให้มีผลคล้ายกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน ซึ่งการลดน้ำหนักจะช่วยลดระดับไขมันดังกล่าวได้
    3. ภาวะไทรอยด์ฮอร์โมนต่ำ จะมีระดับไขมัน LDL ในเลือดขึ้นสูง ในทางตรงกันข้าม ผู้ ป่วยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ (ระดับไทรอยด์ฮอร์โมนสูง) จะมีระดับไขมัน LDL ต่ำ
    4. โรคตับ โรคตับอักเสบไม่ว่าจะเกิดจากยา แอลกอฮอล์ หรือการติดเชื้อ จะทำให้ตับผลิตไขมันและปลดปล่อยกลุ่มไขมัน VLDL มากขึ้น ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูงเล็ก น้อยถึงปานกลาง แต่ถ้าเกิดตับอักเสบรุนแรงหรือมีตับวายจะทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์และคอ เลสเทอรอลลดลง เพราะเซลล์ตับผลิตไขมันไม่ได้ ผู้ป่วยที่มีภาวะตา ตัว เหลือง (โรคดีซ่าน) จากน้ำดีคั่งจะมีระดับคอเลสเทอรอลสูง เนื่องจากปกติคอเลสเทอรอลจะหลั่งลงสู่น้ำดีในรูปของกรดน้ำดี เมื่อเกิดการคั่งของน้ำดี คอเลสเทอรอลจึงถูกดูดกลับเข้าสู่กระแสเลือด
    5. โรคไต ผู้ป่วยโรคไตชนิดที่เรียกว่า Nephrotic syndrome จะมีทั้งระดับไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเทอรอลขึ้นสูงหรืออาจมีเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งขึ้นสูงก็ได้ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นไตวายจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูงเล็กน้อย
    6. โรคที่มีฮอร์โมนชื่อ Glucocorticoid สูงเรียกว่าโรค Cushing’s หรือ Cushing syn drome ซึ่งฮอร์โมนนี้ทำให้ VLDL ถูกผลิตมากขึ้น ผู้ป่วยจึงมีระดับไตรกลีเซอไรด์ขึ้นสูง 


โรคไขมันในเลือดสูงมีอาการอย่างไร?

อาการจากโรคไขมันในเลือดสูงได้แก่ 
  1. ผู้ป่วยภาวะ Familial cholesterolemia (FM) ที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกิดบนโคร โมโซมทั้ง 2 แท่ง (Homozygous FM) จะมีระดับคอเลสเทอรอลสูงมากกว่า 500 mg/dl ขึ้นไปตั้งแต่แรกเกิด และตรวจพบก้อนไขมันที่เกิดจากคอเลสเตอรอลสะสมขนาดเล็กๆสีเหลืองอยู่ตามผิวหนังและเส้นเอ็น (เรียกว่า Xanthoma) โดยมักพบที่เส้นเอ็นที่ข้อเท้า เส้นเอ็นข้อนิ้วมือ ตามข้อศอก ข้อเข่า และบริเวณก้น บริเวณเปลือกตาก็อาจมีไขมันไปสะสมเช่นกัน ซึ่งจะเห็นเป็นแผ่นสีเหลืองๆเรียกว่า Xanthelasma และเกิดหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว (Atherosclero sis) ตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและเกิดอาการของหัวใจขาดเลือด ผู้ป่วยที่ไม่ได้กินยารักษาส่วนใหญ่จะเสียชีวิตก่อนอายุ 20 ปี
    ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของพันธุกรรมที่เกิดบนโครโมโซมเพียงแท่งเดียว (Heterozy gous FM) จะมีระดับคอเลสเทอรอลประมาณ 200 - 400 mg/dl ตั้งแต่แรกเกิด แต่จะตรวจพบก้อนไขมันและมีอาการของหัวใจขาดเลือด (โรคหลอดเลือดหัวใจ) เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ไปแล้ว โดยประมาณ 50% ของผู้ป่วย Heterozygous FM จะมีโรคหัวใจขาดเลือดก่อนอายุ 60 ปี พ่อหรือแม่ของผู้ป่วยและประมาณครึ่งหนึ่งของพี่น้องของผู้ป่วยที่เป็น Heterozygous FM จะเป็นโรคนี้ด้วยเช่นกัน 
  2. ผู้ป่วยที่เป็น Familial defective apoB-100 (FDB) จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย Heterozy gous FM
  3. ผู้ป่วยที่มีภาะ Autosomal recessive hypercholesterolemia (ARH) จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย Homozygous FM หรือ Heterozygous FM
  4. ผู้ป่วยที่เป็น Sitosterolemia จะมีอาการคล้ายกับผู้ป่วย FM ร่วมกับมีภาวะเม็ดเลือดแดงแตกเป็นครั้งคราว (มีภาวะซีดและม้ามโตร่วมด้วย) 
  5. ผู้ป่วยที่เป็น Polygenic hypercholesterolemia จะมีระดับคอเลสเตอรอลสูงเล็กน้อยถึงปานกลาง แต่ไม่สูงเท่าผู้ป่วยกลุ่มข้างต้น และจะไม่พบก้อนไขมันขนาดเล็กๆ การซักประวัติคนในครอบครัวจะช่วยแยกโรคจากผู้ป่วยที่เป็น FM และ FDB ได้ ดังที่กล่าวตามข้างต้น ประมาณครึ่ง หนึ่งของคนในครอบครัวของผู้ป่วย FM และ FDB จะเป็นโรคนี้ด้วย แต่สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีจำนวนคนในครอบครัวที่มีระดับไขมันสูงด้วยน้อยกว่า 10% 
  6. ผู้ป่วยที่เป็น Familial chylomicronemia syndrome จะวัดระดับไตรกลีเซอไรด์ได้มากกว่า 1,000 mg/dl ตั้งแต่วัยเด็ก ระดับคอเลสเทอรอลสูงปานกลาง น้ำเลือด (Serum) ของผู้ป่วยเหล่านี้จะมีสีออกขาวขุ่น และถ้าตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสประมาณ 2 - 3 ชั่วโมงจะเห็นชั้นที่แยกตัวเป็นครีมไขมันสีขาวชัดเจน การที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงมากเช่นนี้จะทำให้มีตับอักเสบเกิดขึ้นได้บ่อยๆ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องเป็นๆหายๆจากตับอักเสบตั้งแต่วัยเด็ก ไม่พบก้อนไขมันชนิดที่เรียกว่า Xanthoma แต่จะพบตุ่มนูนเล็กๆของไขมัน สีขาวๆเหลืองๆ ซึ่งเรียกว่า Eruptive xanthoma แทน ซึ่งจะพบบริเวณแผ่นหลัง บริเวณก้น แขน และขา ตุ่มนูนชนิดนี้อาจมีอาการคันได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีตับ ม้าม โต ซึ่งเกิดจากการที่กลุ่มไขมันชนิด Chylomicron เข้าไปสะสมอยู่ที่ตับและม้าม ผู้ป่วยโรคนี้ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย 
  7. ผู้ป่วยที่เป็น Familial dysbetalipoproteinemia (FDBL) จะปรากฏก้อนไขมัน Xanthoma เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ เส้นลายมือจะมีสีออกเหลืองส้มเนื่องจากมีไขมันไปสะสม ผู้ป่วยจะมีระดับคอเลสเทอรอลสูง แต่ถ้าวัดระดับของกลุ่มไขมันLDL จะต่ำกว่าปกติ ระดับกลุ่มไขมัน HDL จะปกติ ผู้ป่วยโรคนี้จะมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือดตั้งแต่อายุยังน้อย
  8. ผู้ป่วยที่เป็น Familial hypertriglyceridemia (FHTL) ผู้ป่วยจะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ใน ช่วง 250 - 1,000 mg/dl ระดับคอเลสเทอรอลขึ้นสูงไม่เกิน 250 mg/dl ระดับกลุ่มไขมัน HDL ต่ำกว่าปกติเล็กน้อย และระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่ค่อนข้างปกติ ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะไม่มีก้อนไขมัน Eruptive xanthoma และ Xanthoma ปรากฏให้เห็น ผู้ป่วยโรคนี้ไม่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจขาดเลือด
  9. ผู้ป่วยที่เป็น Familial combined hyperlidemia (FCHL) จะมีระดับไตรกลีเซอไรด์อยู่ในช่วง 200 - 800 mg/dl ระดับคอเลสเทอรอลอยู่ในช่วง 200 - 400 mg/dl ระดับกลุ่มไขมัน HDL ต่ำกว่าปกติ และระดับกลุ่มไขมัน LDL หรือ VLDL สูงกว่าปกติ ผู้ป่วยจะไม่มีก้อนไขมัน Eruptive xanthoma และ xanthoma ปรากฏให้เห็น ประมาณ 20% ของผู้ป่วยโรคนี้จะเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 60 ปี


แพทย์วินิจฉัยโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างไร?

ตามแนวทางของผู้เชี่ยวชาญของกลุ่ม Adult Treatment Panel (ATP) และ National Cholesterol Education Program (NCEP) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนำให้ผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไปควรเจาะเลือดตรวจหาระดับไขมันในเลือดคือ คอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ ไขมัน LDL และไขมัน HDL โดยเจาะเมื่องดอาหารเป็นเวลาอย่างน้อย 12 ชั่วโมง
หลังจากได้ค่าไขมันชนิดต่างๆแล้วพบว่ามีความผิดปกติ อันดับแรกจะต้องหาสาเหตุว่าเกิดจากมีโรคอื่นๆที่ทำให้ระดับไขมันผิดปกติอยู่หรือไม่เช่น โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์ฮอร์ โมนต่ำ (ภาวะขาดไทรอยด์ฮอร์โมน) เป็นต้น 
เมื่อไม่พบสาเหตุของโรคอื่นๆที่ทำให้ระดับไขมันผิดปกติดังกล่าวแล้ว จะต้องแบ่งกลุ่มผู้ป่วยตามชนิดของไขมันที่วัดได้ผิดปกติ และพยายามหาสาเหตุตามที่กล่าวไว้ข้างต้น โดยอา ศัยการตรวจร่างกายเช่น การดูก้อนไขมัน การซักประวัติของโรคไขมันสูงในครอบครัว ซึ่งอาจต้องนำพ่อ แม่ พี่ น้องมาเจาะเลือดตรวจร่วมด้วย และการตรวจทางห้องปฏิบัติการเฉพาะกรณีเพิ่มเติม ทั้งนี้เนื่องจากสาเหตุของแต่ละโรคที่ทำให้มีระดับไขมันในเลือดสูงนั้นจะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหัวใจขาดเลือดไม่เหมือนกัน รวมทั้งการเลือกรูปแบบการรักษาและชนิดของยาที่จะตอบสนองก็ต่างกัน 


โรคไขมันในเลือดสูงมีผลข้างเคียงอย่างไร?

ภาวะที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูงถือเป็นหนึ่งในความเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัว ใจ ซึ่งนำไปสู่โรคหัวใจขาดเลือด และอัมพฤกษ์/อัมพาตจากโรคหลอดเลือดสมอง จากการที่ไขมันไปทำให้หลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัวซึ่งเรียกว่า Atherosclerosis (โรคหลอดเลือดแดงแข็ง) ความเสี่ยงเหล่านั้นได้แก่
  1. ผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 45 ปีขึ้นไป ผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป
  2. มีประวัติพ่อหรือพี่น้องผู้ชายเป็นโรคหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อหัวใจตาย) ที่อายุน้อยกว่า 55 ปี หรือมีแม่หรือญาติผู้หญิงเป็นโรคหัวใจขาดเลือดที่อายุน้อยกว่า 65 ปี 
  3. เป็นโรคความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิต ≥ 140/90 มิลลิเมตร-ปรอท
  4. สูบบุหรี่
  5. มีไขมัน HDL ต่ำกว่า 40 mg/dl แต่ถ้า HDL ≥ 60 mg/dl ให้ลบความเสี่ยงข้างต้น (ถ้ามี) ออก 1 ข้อ เพราะกลุ่มไขมัน HDL ถือว่าเป็นกลุ่มไขมันที่ดีที่ช่วยยับยั้งการเกิดหลอดเลือดแดงใหญ่แข็งตัว 
ดังนั้นการที่จะบอกว่าบุคคลใดมีระดับไขมันในเลือดสูงที่จะต้องรักษา ก็ต้องดูว่าผู้ป่วยมีความเสี่ยงใดบ้าง ถ้าไม่มีความเสี่ยงเลยหรือมีความเสี่ยงเพียง 1 ข้อ ค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 160 mg/dl ถือว่ามีไขมันในเลือดสูง แต่ถ้ามีปัจจัยเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไปค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 130 mg/dl จะถือว่ามีไขมันในเลือดสูง แต่ถ้าเป็นโรคเบาหวานหรือเคยเกิดโรคหัวใจขาดเลือดมาแล้ว ค่าระดับกลุ่มไขมัน LDL ที่มากกว่า 100 mg/dl ก็ถือว่าสูงแล้ว
สำหรับค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ไม่ได้มีความสัมพันธ์ชัดเจนต่อความเสี่ยงในการเกิดโรค หัวใจขาดเลือด


รักษาโรคไขมันในเลือดสูงอย่างไร?

การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงขึ้นอยู่กับว่าบุคคลนั้นมีความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดกี่ความเสี่ยง 
  • ถ้าไม่มีความเสี่ยงเลยหรือมีความเสี่ยงเพียง 1 ข้อ ค่า LDL ≥ 160 mg/dl ให้ใช้การรักษาโดยไม่ใช้ยาลดไขมันในเลือด 3 เดือน แล้วตรวจซ้ำ ถ้ายัง ≥160 ให้ใช้ยารักษาควบคู่ไปด้วย แต่ถ้าค่า LDL ≥ 190 ก็ให้เริ่มใช้ยาไปเลยควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยา
  • ถ้ามีความเสี่ยงตั้งแต่ 2 ข้อขึ้นไป ค่า LDL ≥130 ให้ใช้การรักษาโดยไม่ใช้ยาลดไขมันในเลือด 3 เดือน แล้วตรวจซ้ำ ถ้ายัง ≥ 130 ให้ใช้การรักษาโดยใช้ยาควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยา
  • ถ้าเป็นโรคเบาหวานหรือเคยเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหัวใจขาดเลือดมาแล้ว ค่า LDL ≥100 ให้ใช้การรักษาโดยไม่ใช้ยา ถ้า LDL ≥ 130 ให้ใช้ยาควบคู่กับการรักษาโดยไม่ใช้ยา
  • สำหรับค่าไขมันไตรกลีเซอไรด์ ถ้า ≥ 150 mg/dl ร่วมกับมีไขมัน HDL 
วิธีการรักษาโรคไขมันในเลือดสูง

  1. การรักษาโดยไม่ใช้ยาโดย
    • การควบคุมอาหาร ผู้ป่วยที่มีระดับกลุ่มไขมัน LDL สูงจะต้องลดอาหารที่มีคอเลสเตอรอลให้น้อยกว่า 300 mgต่อวัน อาหารที่มีคอเลสเทอรอลสูงเช่น ไข่แดง เครื่องในสัตว์ต่างๆ เนื้อสัตว์ติดมัน กุ้ง หอย ปลาหมึก ไข่ปลา เป็นต้น และต้องลดอาหารประเภทไขมันให้น้อยกว่า 30% ของปริมาณแคลอรีที่ร่างกายได้รับต่อวัน (โดยเฉลี่ยคือ 1,500 - 2,000 กิโลแคลอรี/วัน) โดยต้องเป็นอาหารที่กรดไขมันอิ่มตัว (มักเป็นไขมันจากสัตว์) ไม่เกิน 10% อาหารที่มีกรดไขมันอิ่ม ตัวสูงพบมากในอาหารผัด ทอด ที่ใช้น้ำมันหมู น้ำมันปาล์ม เนย หรืออาหารที่ใช้กะทิ เป็นต้น
    • ผู้ป่วยที่มีระดับไตรกลีเซอไรด์สูงต้องลดอาหารประเภทแป้งขัดสีเช่น ขนมปังชนิดต่างๆ รวม ถึงปาท่องโก๋ โดนัท เส้นก๋วยเตี๋ยว เส้นสปาเกตตี มักกะโรนี บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นต้น และอา หารที่มีน้ำตาลสูง สำหรับผู้ป่วยโรคFamilial chylomicronemia syndrome จะต้องลดอาหารประเภทไขมันให้เหลือน้อยที่สุดคือน้อยกว่า 15 กรัมต่อวัน และใช้การกินวิตามินเสริมเพื่อป้องการการขาดวิตามิน
    • การออกกำลังกาย จะช่วยลดระดับไขมันชนิดต่างๆได้และช่วยเพิ่มระดับไขมัน HDL แต่ที่สำ คัญคือการออกกำลังกายช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ/โรคหัวใจขาดเลือดได้ แม้มีปัจจัยเสี่ยงอย่างอื่นร่วมอยู่ด้วยก็ตาม
    • การลดน้ำหนัก ผู้ป่วยที่มีน้ำหนักตัวเกินต้องลดน้ำหนัก ซึ่งจะช่วยให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ลด ลงและช่วยเพิ่มระดับกลุ่มไขมัน HDL ได้ 

  2. การใช้ยารักษา ซึ่งมียาอยู่หลายกลุ่มได้แก่ 
    • ยากลุ่ม HMG-CoA reductase inhibitor ซึ่งจะไปลดการผลิตไขมันจากตับ ทำให้ลดระดับคอเลสเทอรอล ไตรกลีเซอไรด์ และกลุ่มไขมัน LDL ลงได้ ที่รู้จักกันดีชื่อ Simvastatin 
    • ยากลุ่มช่วยลดการดูดซึมคอเลสเตอรอลจากลำไส้ (Cholesterol absorption inhibitor และ bile acid sequestrants) 
    • ยาที่เป็นวิตามิน บีรวม ชื่อ Niacin ซึ่งจะช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ไขมัน LDL และช่วยเพิ่มระดับไขมันHDL ได้ 
    • ยากลุ่ม Fibrates เป็นยากลุ่มที่มีประสิทธิภาพสูงในการลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ แต่อาจเพิ่มระดับกลุ่มไขมัน LDL ได้
    • น้ำมันปลาสามารถช่วยลดระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ได้
อนึ่ง ไม่ควรซื้อยาลดไขมันกินเอง ควรกินยาตามแพทย์แนะนำเท่านั้น เพราะการใช้ยาจะได้ผลสูงสุดต้องขึ้นกับขนาดของยาด้วย นอกจากนั้น ยังอาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่ไม่ถูกต้องเพิ่มขึ้นอีกด้วย


ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีไขมันในเลือดสูง? ควรพบแพทย์เมื่อไร?

การดูแลตนเองการพบแพทย์เมื่อมีไขมันในเลือดสูงได้แก่
  • จำกัดอาหารไขมันให้น้อยที่สุดหรือดังกล่าวแล้ว หลีกเลี่ยงอาหารทอดและใช้น้ำ มันพืชแทนน้ำมันจากสัตว์
  • จำกัดอาหารแป้งและน้ำตาลเพื่อลดโอกาสเกิดโรคเบาหวาน
  • กินอาหารจืดเพื่อลดโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งมักพบเกิดร่วมกับโรคไข มันในเลือดสูง
  • เลิกบุหรี่ ไม่สูบบุหรี่ เพราะสารพิษในควันบุหรี่เพิ่มการจับตัวของไขมันในหลอดเลือด เพิ่มโอกาสเกิดหลอดเลือดแข็ง
  • ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกิดโรคอ้วนและน้ำหนักตัวเกิน
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอตามควรกับสุขภาพ
  • กินยาลดไขมันตามแพทย์แนะนำอย่าขาดยา
  • พบแพทย์ตามนัดเสมอ


ป้องกันโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างไร?

การป้องกันโรคไขมันในเลือดสูงมีวิธีการเช่นเดียวกับในการดูแลตนเองเมื่อมีไขมันในเลือดสูง นอกจากนั้นคือ ในการตรวจสุขภาพประจำปีควรตรวจเลือดเพื่อดูปริมาณไขมันในเลือดด้วย เพื่อการรักษาควบคุมโรคแต่เนิ่นๆ ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแข็ง ซึ่งจะนำไปสู่โรคที่รุนแรง ซึ่งที่ส่งผลถึงคุณภาพชีวิตและเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้คือ โรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง ทั้งนี้เริ่มได้ตั้งแต่อายุ 18 - 20 ปี ต่อจากนั้นความถี่ของการตรวจขึ้นกับแพทย์แนะนำ 

ที่มา  :: เว็บไซต์หาหมอดอทคอม





ไขมันในเลือดสูง คอเลสเตอรอลสูง เราสามารถควบคุมได้ แค่เปลี่ยนพฤติกรรมการกิน ลด ละ เลี่ยง อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง แล้วหันมาทาน อาหารลดไขมัน กันดีกว่า

          โรคไขมันในเลือดสูง หรือคอเลสเตอรอลสูง เป็นภาวะที่สามารถพบเจอได้ ถ้าเรารับประทานอาหารที่มีไขมันสูงมากเกินไปเป็นเวลานาน ซึ่งการรักษาโดยทั่วไปก็คือการทานยาเพื่อควบคุมระดับไขมัน แต่นั่นเป็นการปัญหาปลายเหตุ เพราะจะว่ากันจริง ๆ แล้ว ต้นเหตุของเรื่องก็มาจากการรับประทานอาหารของเรานี่แหละค่ะ ถ้ารู้จักควบคุมอาหารตั้งแต่ก่อนป่วย หรือแม้กระทั่งป่วยไปแล้ว ก็จะช่วยทำให้ระดับไขมันที่สูงลดลงได้ วันนี้กระปุกดอทคอมเลยนำข้อมูลดี ๆ มาบอกต่อกันค่ะ เรามาทำความรู้จักกับโรคไขมันในเลือดสูงและอาหารที่เหมาะสำหรับคนที่เป็นไขมันในเลือดสูงกันเถอะ 

          โรคไขมันในเลือดสูง เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งชนิดของไขมันที่สูงนั้นอาจเป็นคอเลสเตอรอลสูง หรือไตรกลีเซอไรด์อย่างใดอย่างหนึ่ง และในบางกรณีก็อาจจะเป็นทั้งสองชนิด ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับ เป็นต้น





          โดยปกติแล้วร่างกายของคนเราจะต้องมีระดับไขมันดังนี้

           คอเลสเตอรอลรวม 

          - ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 200 mg/dL (ถือว่าเหมาะสม)
          - ระดับปานกลาง : 200 - 239 mg/dL (เริ่มอันตราย) 
          - ระดับสูง : มากกว่า 240 mg/dL (อันตรายมาก)

           คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL)

          - ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 130 mg/dL (น้อยกว่า 100 mg/dL สำหรับผู้ป่วยเบาหวาน)
          - ระดับปานกลาง : 130 - 159 mg/dL
          - ระดับสูง : มากกว่า 160 - 189 mg/dL
          - ระดับสูงมาก : ตั้งแต่ 190 mg/dL ขึ้นไป

          คอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) เป็นไขมันที่ไม่ดีต่อร่างกายซึ่งหากสะสมอยู่ในร่างกายมาก ๆ ก็จะไปเกาะอยู่ตามผนังหลอดเลือด และทำให้หลอดเลือดตีบตัน จนเกิดภาวะอุตตันในเส้นเลือด ส่งผลให้เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดได้
           ไตรกลีเซอไรด์

          - ระดับที่ต้องการ : น้อยกว่า 150 mg/dL
          - ระดับปานกลาง : 150 - 199 mg/dL
          - ระดับสูง : มากกว่า 200 - 499 mg/dL
          - ระดับสูงมาก : ตั้งแต่ 500 mg/dL ขึ้นไป

          ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันชนิดที่ไม่ดีซึ่งจะคอยขัดขวางไม่ให้คอเลสเตอรอลที่ดีไปจัดการกับไขมันที่อยู่ในเลือด หากมีมากจนเกินไป คอเลสเตอรอลที่ดีก็จะไม่สามารถกำจัดไขมันที่ไม่ดีในเลือดได้ ส่งผลให้ไขมันที่ตกค้างอยู่ไปเกาะสะสมอยู่ในหลอดเลือดทำให้เกิดการอุดตันในที่สุด
           คอเลสเตอรอลชนิดที่ดี (HDL)

          - ระดับที่ต้องการ : มากกว่า 60 mg/dL (ยิ่งสูงยิ่งดี แต่ไม่ควรเกิน 100 mg/dL)
          - ระดับที่สามารถรับได้ : 40 - 59 mg/dL
          - ไม่ควรต่ำเกิน : 40 mg/dL (ยิ่งต่ำยิ่งไม่ดีต่อสุขภาพ)

          คอเลสเตอรอลชนิดที่ดี ทำหน้าที่ในการนำพาไขมันที่ไม่ดีต่าง ๆ ในร่างกายไปยังตับเพื่อทำการย่อยสลาย ซึ่งไขมันชนิดนี้เป็นไขมันที่ดีต่อร่างกาย ยิ่งมีมากก็จะยิ่งทำให้ไขมันที่เข้าไปในร่างกายไม่เกิดการตกค้าง และยังช่วยกำลังไขมันไม่ดีอย่างไตรกลีเซอไรด์และคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี (LDL) ได้อีกด้วย


สมาคมแพทย์สหรัฐฯ ปรับลดเกณฑ์ความดันโลหิตสูงเป็น 130/80 มิลลิเมตรปรอท แทนเกณฑ์เดิมที่ 140/90 มิลลิเมตรปรอท




สมาคมโรคหัวใจอเมริกาประกาศเกณฑ์ใหม่ของโรคความดันโลหิตสูงเมื่อวาน ซึ่งเป็นการปรับครั้งแรกนับตั้งแต่กำหนดแนวทางตรวจวัดและรักษาโรคความดันโลหิตสูงเมื่อปี 2546 โดยผลการศึกษาล่าสุดพบว่า หลอดเลือดจะเริ่มได้รับความเสียหายตั้งแต่ความดันโลหิตอยู่ที่ 130/80 แต่คนที่อยู่ในเกณฑ์ใหม่นี้ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเข้ารับการรักษา โดยเป็นเหมือนไฟเหลืองหรือสัญญาณเตือนให้ต้องลดความดันโลหิตลง โดยใช้วิธีต่างๆที่ไม่ใช่การใช้ยา เช่น ลดน้ำหนัก ออกกำลังกายมากขึ้น กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพมากขึ้น หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และเกลือ งดสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงความเครียด

ความดันโลหิตระดับปกติควรอยู่ที่ 120/80 และที่ผ่านมาคนที่อยู่ในเกณฑ์มีความดันโลหิตสูง คือ คนอายุ 50 ปีขึ้่นไป แต่ตามเกณฑ์ใหม่อาจทำให้คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป เข้าข่ายเป็นความดันโลหิตสูง และอาจทำให้ประชากรเกือบ 46% ของประชากรสหรัฐฯอยู่ในเกณฑ์มีความดันโลหิตสูง
สาเหตุของการเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง

          ภาวะไขมันในเลือดสูงนั้นอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ความปกติทางพันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด เช่น การใช้ยาขับปัสสาวะ ยาสเตรอยด์ หรือเกิดจากบางโรคเช่น โรคไทรอยด์ต่ำ โรคเบาหวาน โรคไต แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกาย และการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ รวมถึงการไม่ออกกำลังกายอีกด้วยค่ะ





วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคไขมันในเลือดสูง

          วิธีการวินิจฉัยโรคไขมันในเลือดสูงนั้น จะตรวจโดยการเจาะเลือด ซึ่งจะต้องเจาะตามคำสั่งของแพทย์เท่านั้น และนำเลือดไปตรวจหาระดับไขมันในเลือด 3 ชนิด ได้แค่ คอเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ และคอเลสเตอรอลชนิดที่ดี หรือที่เรียกว่า HDL จากนั้นจึงจะนำค่าไขมันทั้งสามชนิดไปคำนวณหาค่าคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หรือ LDL วิธีนี้จะใช้ก็ต่อเมื่อค่าไตรกลีเซอไรด์ไม่สูงเกิน 400 mg/dL แต่ถ้าหากค่าไตรกลีเซอไรด์สูงกว่านี้ก็จำเป็นจะต้องเจาะเลือดเพื่อหาค่าคอเลสเตอรอลชนิดที่ไม่ดี หรือ LDL โดยตรงแทน ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า
          โดยการตรวจหาระดับไขมันทั้ง ไตรกลีเซอไรด์ คอเลสเตอรอลรวม และทั้งชนิดที่ดีและไม่ดีนั้นจำเป็นต้องงดน้ำและอาหารอย่างน้อย 12 ชั่วโมง โดยเริ่มงดตั้งแต่เวลา 20.00 น. เป็นต้นไป โดยอาจจะจิบน้ำเปล่านิดหน่อยได้ค่ะ 

วิธีการรักษาเมื่อระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ

          เมื่อเกิดภาวะไขมันในเลือดสูง วิธีการรักษาก็คือการใช้ยา โดยแพทย์จะสั่งยาในกลุ่ม Statins และ Bile acid sequestrants เพื่อลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกาย และยาในกลุ่ม Fibric acids derivatives, Icotinic acid หรือ Analogue เพื่อช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือด แต่ยาเหล่านี้จะต้องใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้นค่ะ แต่นอกจากการใช้ยาแล้วเรายังควรออกกำลังกายและรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันก็จะช่วยทำให้ระดับไขมันในเลือดลดลงจนอยู่ในระดับปกติได้






อาหารที่เหมาะกับคนเป็นโรคไขมันในเลือดสูง

           1. ผลิตภัณฑ์จากนมที่ไม่มีไขมัน อย่างเช่น นมพร่องหรือขาดมันเนย โยเกิร์ตไม่มีไขมัน เป็นต้น
           2. เนื้อปลา และเนื้อสัตว์ที่ไม่ติดมัน
           3. ถั่วชนิดต่าง ๆ
           4. ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี เช่น ข้าวกล้อง ข้าวโอ๊ต เป็นต้น
           5. ผักสดชนิดต่าง ๆ โดยเฉพาะกระเทียมและข้าวโพด
           6. ผลไม้ไม่มีรสหวานจัด หรือสุกมากเกินไป
           7. หลีกเลี่ยงการใช้ไขมันจากสัตว์ และหันมาใช้ไขมันจากพืช เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันมะกอก น้ำมันข้าวโพด น้ำมันรำข้าว ในการประกอบอาหารแทน แต่ควรหลีกเลี่ยงน้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าว เพราะอาจจะทำให้ระดับคอเลสเตอรอลที่ไม่ดีสูงขึ้น และส่งผลให้หลอดเลือดตีบแข็งได้
           8. อาหารประเภทต้ม ต้มยำ แกงส้ม ยำ นึ่ง อบ ย่าง แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีกะทิเป็นส่วนประกอบ
           9. ไขมันจากปลาทะเล อย่างเช่นน้ำมันตับปลา ปลาแซลมอน เพราะไขมันจากเนื้อปลานั้นจะช่วยทำให้ไตรกลีเซอไรด์น้อยลง และลดการจับตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย
           10. อาหารที่มีไฟเบอร์หรือมีกากใยสูง เพราะอาหารเหล่านี้จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลในร่างกายได้

อาหารที่คนเป็นโรคไขมันในเลือดสูงควรหลีกเลี่ยง

           1 . อาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอดต่าง ๆ
           2. เนื้อสัตว์ติดมัน หนังเป็ด หนังไก่ ไข่แดง แฮม เบคอน และหมูยอ
           3. อาหารทะเลบางชนิด เช่น ปลาหมึก และหอยนางรม
           4. ขนมหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล กะทิ หรือมะพร้าว เช่น กล้วยบวชชี ขนมหม้อแกง หรือขนมถ้วย เป็นต้น
           5. ขนมหรือของว่างที่มีไขมันแฝงอยู่ เช่น ขนมขบเคี้ยว โดนัท เค้ก คุกกี้ ไอศกรีม
           6. ไขมันที่ได้จากสัตว์ทุกชนิด เช่น เนย มันหมู มันวัว มันไก่ 

ตัวอย่างปริมาณไขมันคอเลสเตอรอลที่มีในอาหาร 100 กรัม (อัพเดท)





          นอกจากนี้ยังควรงดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิดโดยเฉพาะเบียร์ เพราะจะให้สะสมเป็นไขมันไตรกลีเซอไรด์ และยังควรงดการสูบบุหรี่ ถ้าหากมีน้ำหนักตัวเกินก็ควรพยายามลดน้ำหนักตัวอีกด้วย

          โรคไขมันในเลือดสูงไม่ใช่สิ่งที่ไกลตัวเลยค่ะ ดังนั้นเราจึงควรรักษาสุขภาพ และระมัดระวังการรับประทานอาหารให้ดี หลีกเลี่ยงอาหารมัน ๆ งดได้ก็ควรงดค่ะ เพราะว่าถึงแม้อาหารเหล่านั้นจะอร่อย แต่ถ้าต้องแลกมากับสุขภาพของเราก็คงไม่ดีแน่ แล้วถ้าหากใครที่ไม่แน่ใจว่าตัวเองมีระดับไขมันสูงหรือไม่ก็ควรไปตรวจอย่างน้อยปีละครั้งนะคะ เพื่อที่เราจะได้ระมัดระวังก่อนที่ "มัน" จะมาเยือนค่ะ


ที่มา ::  หมอชาวบ้าน
http://www.srinagarind.md.kku.ac.th/หน่วยสร้างเสริมสุขภาพ/pdf/ying%20เนื้หาคู่มือไขมันเนื้อใน%20ฟ้า-แดง.pdf





💠Protandim Nrf2💠

 1) PROTANDIM ไม่ใช่อาหารเสริม แต่คือตัวช่วยให้โปรตีน NRF2 ในร่างกายทำงานโดยตรงกับยีน ทำให้ความเครียดต่างๆ ในระดับเซลล์และอนุมูลอิสระถูกขจัดออกจากร่างกายเฉลี่ย 40% ใน 30 วัน 
ดยไม่จำเป็นต้องกินวิตามินอื่นๆ 

(เปรียบเทียบถ้าร่างกายคือเครื่องจักรเก่าๆ NRF2 จะช่วยกำจัดสนิมออกไป) 
2) PROTANDIM ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริมทั่วไป แต่คือตัวช่วยชะลอวัยในระดับยีน 

สามารถป้องกันโรคเสื่อมต่างๆ และโรคไม่ติดต่อได้กว่า 200 โรค ฟื้นฟูความแข็งแรง

ให้ตับ ไต กระเพาะ สมอง หัวใจ สายตา ข้อ ผม ผิว เล็บ ระบบภูมิคุ้มกันได้ระดับเทียบเท่าตอนอายุ 20 ปี
โรคต่างๆที่ NRF2 SYNERGIZER หรือ PROTANDIM ช่วยได้ คือ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้ง เส้นเลือดแข็งกระด้าง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคของระบบหลอดเลือด และหัวใจล้มเหลว
 โรคของระบบประสาท รวมทั้ง อัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease), พาคินสัน, ALA
 มะเร็ง (ป้องกัน) และรักษาร่วมกับการรักษาอื่นๆ
โรคไตต่างๆ
โรคเบาหวาน, โรคอ้วน 
 โรคตับต่างๆโรคเกี่ยวกับปอด รวมทั้งหอบหืด, ถุงลมโป่งพอง
ติดเชื้อในกระแสเลือด
 โรคออโต้อิมมูนต่างๆ
 โรคเกี่ยวกับลำไส้
 HIV/AIDS
MULTIPLE CLEROSIS
โรคลมชัก เป็นต้น
 ย้อนวัยให้สุขภาพได้สูงสุดถึง 40% ภายใน 30 วัน 
 เอาชนะสัญญาณความเสื่อมของสุขภาพ 70 ประการ
 เหนือกว่าสเต็มเซลล์, คอลาเจนและสารต้านอนุมูลอิสระทุกชนิด 
 เพิ่มการสร้างกลูต้าไธโอนในร่างการสูงสุดถึง 300%
 เพิ่มการสร้างเอ็มไซม์เอสโอดีนสูงสุดถึง 34%

3) PROTANDIM NRF2 SYNERGIZER ได้รับสิทธิบัตรเดียวในโลก สูตรเดียวในโลก 

🔬🏆🔬พัฒนาคิดค้นโดย ดร โจ แมคคอร์ด ผู้ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมการชะลอวัยเปลี่ยนโลก (ELLIOT CRESSON MEDAL) 

🔬🎓🔬จากผลวิจัยมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างๆ เช่น ฮาวาร์ด เท็กซัส เป็นต้น ทำให้คนเราสามารถมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจนและอายุยืนขึ้นเฉลี่ย 5-10 ปี หรือ 7%

4) ถาม PROTANDIM เหมาะกับใครบ้าง⬇️⬇️⬇️

➡️📍ตอบ ผู้สูงวัยทุกคน และผู้ที่ทำงานงานหนัก หามรุ่งหามค่ำ เครียด พักผ่อนน้อย เร่งรีบ ทานอาหารไม่เป็นเวลา ป่วยง่าย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภูมิแพ้ ผิวพรรณหมองคล้ำ ดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่ประจำ เป็นต้น

🔬🎓🔬รวมผลวิจัยความคิดเห็นจากหมอและนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ PROTANDIM และ โปรตีน NRF2 กว่าหมื่นฉบับ  📝📚📚📚📝






ตัวแทนจำหน่าย Lifevantage ประเทศไทย


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  🙏🙏🙏 🙏🙏







โทร :: 082-236-4928

Line ID  ::   pla-prapasara




http://line.me/ti/p/~pla-prapasara




รับโปรโมชั่น สุดพิเศษ เฉพาะทาง Line  นะคะ



ผลการศึกษาจาก NIA พบว่า Protandim Nrf2 ช่วยยืดอายุขัยได้ 7%



YouTube Video


ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพของ LifeVantage™ :: สุขภาพดีด้วย Lifevantage

YouTube Video









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น