ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

17 ธันวาคม 2561

อัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)

อัลไซเมอร์ (Alzheimer's Disease)



อัลไซเมอร์ (Alzheimer's Diseaseโรคที่เป็นสาเหตุของภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุด ส่งผลต่อสมองส่วนที่ควบคุมความคิด ความทรงจำ และการใช้ภาษา อาการของโรคจะเริ่มจากการหลงลืมที่ไม่รุนแรงจนแย่ลงเรื่อย ๆ ถึงขั้นไม่สามารถสนทนาโต้ตอบหรือมีการตอบสนองต่อสิ่งรอบข้าง ส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างร้ายแรง โดยในปี 2558 สถิติผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในประเทศไทยมีทั้งหมดประมาณ 600,000 คน และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ
อัลไซเมอร์
โรคนี้ค้นพบเมื่อ พ.ศ. 2449 (ค.ศ. 1906) โดยจิตแพทย์ชาวเยอรมันชื่อว่า อาลอยส์ อัลซไฮเมอร์ (Alois Alzheimer) และถูกตั้งชื่อตามท่านโรคอัลไซเมอร์ Alzheimer's disease หรือ AD เป็นภาวะสมองเสื่อมที่พบได้บ่อยที่สุดโดยจะมีการเสื่อมของเซลล์สมองทุกส่วนเป็นแล้วไม่มีวันหาย ผู้ป่วยจะไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่สามารถแยกทุกผิด มีปัญหาในเรื่องการใช้ภาษา การประสานงานของกล้ามเนื้อเสียไป ความจำเสื่อม ในระยะท้ายของโรคจะสูญเสียความจำทั้งหมด  ในสหรัฐประมาณว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคนี้กว่า3-4 ล้านคน และจะมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก เนื่องจากประชากรมีอายุยืนยาวขึ้น ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 2-4 % ของผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะพบผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้น กล่าวคือจะพบเพิ่มขึ้น 2 เท่าทุก 5 ปี หลังอายุ 60 ปี สมอง
อัตราอุบัติการณ์ของโรคอัลไซเมอร์ ในผู้สูงอายุมากกว่า 65 ปี
อายุอุบัติการณ์ (ผู้ป่วยใหม่)        ต่อพันคน–ปี
65–69 3
70–74 6
75–79 9
80–8423
85–8940
90–  69
ถึงแม้ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีอาการที่พบร่วมกันหลายประการอาการแรกสุดที่พบคือความเครียด ซึ่งมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการที่เกิดขึ้นเองตามอายุ อาการที่พบในระยะต่อมาคือการสูญเสียความจำ เช่นพยายามจำข้อมูลที่เรียนรู้เมื่อไม่นานมานี้ไม่ได้ เมื่อแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์จะยืนยันการวินิจฉัย โดยการประเมินพฤติกรรมและทดสอบการรู้ และมักตามด้วยการสแกนสมองเพื่อตรวจหาพยาธิสภาพในสมอง เมื่อโรคดำเนินไประยะหนึ่งผู้ป่วยจะมีอาการสับสน หงุดหงิดง่าย และก้าวร้าว อารมณ์แปรปรวน เสียความสามารถทางภาษา สูญเสียความทรงจำระยะยาว และไม่สนใจต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากผู้ป่วยเสียการรับรู้ และต่อมาจะสูญเสียการทำงานต่างๆ ของร่างกาย และเสียชีวิตในที่สุด 



อาการของอัลไซเมอร์
อาการเริ่มแรกของโรคอัลไซเมอร์อาจมีอาการหลงลืมหรือภาวะสับสนที่ค่อย ๆ พัฒนาไปอย่างช้า ๆ โดยใช้เวลาหลายปี ซึ่งบางครั้งมีความคล้ายคลึงกับโรคอื่นจนทำให้เกิดความสับสน และอาจเข้าใจผิดไปว่าเป็นเพียงอาการหลงลืมเมื่ออายุมากขึ้น ทั้งนี้อาการในผู้ป่วยแต่ละรายก็พัฒนาช้าเร็วแตกต่างกัน ทำให้สามารถคาดเดาได้ยากว่า
อาการจะแย่ลงเมื่อใด 
อาการของโรคอัลไซเมอร์โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้
ระยะเริ่มต้น อาการในช่วงต้นของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์แต่ละรายจะแตกต่างกันไป โดยสัญญาณแรกที่มักพบได้ก็คืออาการหลงลืมที่อาจส่งผลให้ผู้ป่วยเผชิญกับสถานการณ์
ต่อไปนี้
  • ลืมบทสนทนาหรือเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้น 
  • วางของผิดที่ อาจไปวางในที่ที่ไม่น่าจะไปวางไว้
  • ลืมหรือนึกชื่อสถานที่ สิ่งของไม่ออก
  • ทำอะไรซ้ำ ๆ ย้ำ ๆ เช่น ถามซ้ำคำถามเดิมหลายครั้ง
  • ต้องใช้เวลาในการทำกิจวัตรประจำวันนานขึ้นกว่าปกติ
  • ความสามารถในการตัดสินใจต่ำ การตัดสินใจกลายเป็นเรื่องยาก
  • ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้น้อยลง มีความลังเลที่จะทำสิ่งใหม่ ๆ มากขึ้น
  • อารมณ์แปรปรวนบ่อยครั้ง เช่น หงุดหงิด กระวนกระวาย วิตกกังวลกว่าปกติ หรือมีอาการสับสนเป็นช่วง ๆ
ระยะกลาง เมื่ออาการของโรคเริ่มพัฒนาถึงขั้นต่อมา ผู้ป่วยจะยิ่งมีปัญหาด้านความทรงจำ ผู้ป่วยมักต้องได้รับความช่วยเหลือในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การรับประทานอาหาร การอาบน้ำแต่งตัว และการเข้าห้องน้ำทำธุระส่วนตัว โดยอาการที่แสดงเพิ่มขึ้นอาจมีดังนี้
  • การจำชื่อของคนรู้จักกลายเป็นเรื่องยากมากขึ้นทุกที พยายามนึกชื่อเพื่อนและครอบครัวแต่นึกไม่ออก
  • เกิดภาวะสับสนและสูญเสียการรับรู้ด้านสถานที่ เวลา และบุคคล เช่น หลงทาง หรือเดินไปเรื่อยเปื่อยโดยไม่รู้วันเวลา
  • การทำกิจวัตรประจำวันที่มีหลายขั้นตอนกลายเป็นเรื่องยากขึ้น เช่น การแต่งตัว
  • มีพฤติกรรมหมกมุ่น ทำอะไรซ้ำ ๆ หรือวู่วาม
  • ไม่สามารถเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ มีปัญหาในการรับมือกับสถานการณ์ที่ไม่คุ้นเคย
  • มีอาการหลงผิด เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นความจริงอย่างสนิทใจ รวมถึงอาจรู้สึกหวาดระแวงหรือสงสัยในตัวผู้ดูแลหรือครอบครัวของตนเอง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการพูดหรือการใช้ภาษาสื่อสาร
  • มีปัญหาด้านการนอนหลับ
  • เกิดความเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น อารมณ์ไม่คงที่ แปรปรวนบ่อยครั้ง มีภาวะซึมเศร้า หรือวิตกกังวล หงุดหงิด กระวนกระวายยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
  • ทำงานที่ต้องใช้การกะระยะได้ลำบาก
  • มีอาการประสาทหลอน
ระยะปลาย ระยะที่อาการของโรครุนแรงขึ้นอย่างมากจนนำความเศร้าเสียใจและวิตกกังวลมาให้บุคคลใกล้ชิด ในระยะนี้ผู้ป่วยอาจต้องได้รับการดูแลและให้ความช่วยเหลือตลอด ไม่ว่าจะเป็นการรับประทานอาหาร การเคลื่อนไหว หรือการเข้าห้องน้ำ
  • อาการหลงผิดหรือประสาทหลอนที่เป็น ๆ หาย ๆ กลับยิ่งแย่ลงเรื่อย ๆ 
  • ผู้ป่วยอาจอาละวาด เรียกร้องความสนใจ และไม่ไว้วางใจผู้คนรอบข้าง
  • กลืนและรับประทานอาหารลำบาก
  • เปลี่ยนท่าทางหรือเคลื่อนไหวตัวเองลำบาก ต้องได้รับการช่วยเหลือ
  • น้ำหนักลดลงมาก แม้จะรับประทานอาหารมากหรือพยายามเพิ่มน้ำหนักแล้วก็ตาม
  • มีอาการชัก
  • กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่
  • ค่อย ๆ สูญเสียความสามารถในการพูดลงไปทีละน้อยจนไม่สามารถสื่อสารได้
  • มีปัญหาด้านความทรงจำในระยะสั้นและระยะยาวอย่างร้ายแรง
อย่างไรก็ตาม บางครั้งอาการของโรคที่แย่ลงอย่างกะทันหัน อาจมีผลพวงมาจากการใช้ยา การติดเชื้อ โรคหลอดเลือดในสมอง หรือภาวะสับสนเฉียบพลันที่เกิดแทรกขึ้นมาได้ ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สังเกตพบว่าอาการของตนแย่ลงอย่างรวดเร็วควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา 
ส่วนผู้ที่มีความกังวลว่าตนเองอาจมีปัญหาด้านความทรงจำหรือเป็นโรคสมองเสื่อม หรือสงสัยว่าคนรอบข้างมีอาการคล้ายข้างต้นก็ควรสนับสนุนให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจรักษาเช่นกัน และถ้าเป็นไปได้ก็ควรเสนอตัวไปเป็นเพื่อนผู้ป่วยด้วย 
ทั้งนี้ ปัญหาเกี่ยวกับความทรงจำไม่ได้มีสาเหตุมาจากโรคสมองเสื่อมเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะซึมเศร้า ความเครียด ผลข้างเคียงจากยารักษาโรค หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ซึ่งแพทย์จะสามารถช่วยตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้นได้
สาเหตุของอัลไซเมอร์
อัลไซเมอร์เกิดจากการฝ่อตัวของสมองซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างและการทำงานของสมองบริเวณนั้น ๆ ส่วนสาเหตุที่สมองฝ่อตัวลงนี้ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จากการสังเกตสมองของผู้ป่วยอัลไซเมอร์พบว่ามีความผิดปกติที่คาดว่าจะเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกถึงโรค คือมีการสะสมของอะไมลอยด์พลัค (Amyloid Plaques) ซึ่งเป็นสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่ง มีกลุ่มใยประสาทที่พันกัน (Neurofibrillary Tangles) และสารสื่อประสาทอะซีติลโคลีน (Acetylcholine) ในสมองที่ไม่สมดุลกัน นอกจากนี้ยังพบว่าเส้นเลือดในสมองของผู้ป่วยโรคนี้มักค่อย ๆ ถูกทำลายลง ทั้งหมดนี้ส่งผลให้ประสิทธิภาพของเซลล์ประสาทลดลงและถูกทำลายทีละน้อย และเมื่อเวลาผ่านไป ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงแพร่กระจายไปสู่สมองหลาย ๆ ส่วน ซึ่งบริเวณที่จะได้รับผลกระทบเป็นส่วนแรกก็คือสมองที่ทำหน้าที่ด้านความทรงจำ
นอกจากสาเหตุที่คาดการณ์ข้างต้น ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังมีดังนี้
  • อายุ นับเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีส่วนทำให้เกิดการพัฒนาของโรค โดยโอกาสเสี่ยงเป็นอัลไซเมอร์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า ทุก ๆ 5 ปี หลังจากที่อายุล่วงผ่าน 65 ปีไปแล้ว ทั้งนี้ก็ไม่ใช่แค่ผู้สูงอายุเท่านั้นที่จะเกิดโรคนี้ได้ เพราะประมาณ 1 ใน 20 ของผู้ป่วยก็มีอายุไม่เกิน 65 ปี โดยเป็นโรคอัลไซเมอร์ชนิดเกิดเร็วที่พบได้ในผู้ที่อายุตั้งแต่ประมาณ 40 ปี
  • ประวัติของบุคคลในครอบครัว พันธุกรรมเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ กระนั้นก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อยแม้จะมีผู้ป่วยในครอบครัว แต่หากพบว่าสมาชิกในครอบครัวหลายคนประสบกับโรค ควรต้องรับการปรึกษากับแพทย์ถึงความเสี่ยงต่อโรคนี้เมื่ออายุมากขึ้น
  • กลุ่มอาการดาวน์ เป็นผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอัลไซเมอร์สูง เนื่องจากความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เป็นสาเหตุของกลุ่มอาการดาวน์นั้นสามารถทำให้เกิดการสะสมของอะไมลอยด์ขึ้นในสมองจนนำไปสู่โรคอัลไซเมอร์ได้ในบางราย
  • ได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะ ผู้ที่เคยได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรงจะยิ่งเสี่ยงพัฒนาไปเป็นโรคอัลไซเมอร์ยิ่งขึ้น
  • โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคนี้มีปัจจัยการเกิดมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม ทางที่ดีควรปรับเปลี่ยนด้วยการเลิกสูบบุหรี่ รับประทานอาหารมีประโยชน์ รักษาน้ำหนักให้ไม่มากเกิน ดื่มแอลกอฮอล์ให้น้อยลง และตรวจสุขภาพเป็นประจำ เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคอัลไซเมอร์ไปในคราวเดียวกัน
การวินิจฉัยอัลไซเมอร์
ยังไม่มีการวินิจฉัยอัลไซเมอร์ที่ยืนยันผลการตรวจได้แน่ชัดในปัจจุบัน การวินิจฉัยที่ถูกต้องและแม่นยำที่สุดจะทำได้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยเสียชีวิตไปแล้ว โดยเป็นการใช้กล้องจุลทรรศน์ส่องดูการสะสมของสารอะไมลอยด์และกลุ่มใยประสาทที่พันกันในสมอง ซึ่งเป็นการตรวจที่อันตรายต่อผู้ป่วย จึงไม่นำมาใช้เมื่อมีชีวิตอยู่ 
อย่างไรก็ตาม แพทย์จะใช้เครื่องมือและวิธีการตรวจที่หลากหลายเพื่อช่วยในการพิจารณาว่าปัญหาด้านความทรงจำของผู้ป่วยนั้นเป็นอาการชนิดที่ “อาจเป็นโรคอัลไซเมอร์” (Possible Alzheimer’s Disease) ได้ หรือ “น่าจะเป็นโรคอัลไซเมอร์” (Probable Alzheimer’s Disease
สำหรับการตรวจเบื้องต้นจะพิจารณาจากอาการที่ผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดแจ้งให้ทราบ และสอบถามครอบครัวหรือคนรอบข้างของผู้ป่วยเกี่ยวกับสุขภาพโดยรวม ประวัติสุขภาพ ความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวัน พฤติกรรมและลักษณะนิสัยที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้ป่วย รวมทั้งใช้การถามคำถามหรือทำแบบทดสอบความจำ การแก้ปัญหา การนับเลข หรือทักษะทางด้านภาษา เพื่อตรวจดูการทำงานของสมองในแต่ละส่วนและพิจารณาว่าควรรับการตรวจเพิ่มเติมหรือส่งให้ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางตรวจรักษาต่อไปหรือไม่
ขั้นต่อไปอาจเป็นการวินิจฉัยเพื่อแยกโรคอื่นที่สามารถทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความทรงจำได้เช่นกัน ซึ่งมักจะใช้วิธีต่อไปนี้
การตรวจร่างกายและประเมินระบบประสาท เป็นการตรวจสุขภาพทางระบบประสาทของผู้ป่วยด้วยแบบทดสอบที่หลากหลาย เช่น การทดสอบปฏิกิริยาโต้กลับ ความแข็งแรงและตึงตัวของกล้ามเนื้อ ความสามารถในการลุกจากเก้าอี้แล้วเดินไปยังอีกฝั่งของห้อง และตรวจดูประสาทสัมผัสทางการมองเห็นและการได้ยิน รวมถึงการประสานงานและความสมดุลของร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ จะใช้การตรวจเลือดเพื่อช่วยตรวจแยกโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการสูญเสียความทรงจำได้เช่นกัน เช่น โรคความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ หรือโรคขาดวิตามินบางชนิด 
การทดสอบสมรรถภาพทางจิตและการทำงานของสมอง เป็นการตรวจสภาวะทางจิตโดยรวมเพื่อประเมินทักษะด้านความทรงจำและความนึกคิด หลังจากนั้นแพทย์อาจเห็นควรให้มีการประเมินด้านนี้อย่างครอบคลุมเพิ่มเติม ซึ่งการตรวจการทำงานของสมองอย่างละเอียดนี้อาจช่วยให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับระบบการทำงานทางด้านความคิดของผู้ป่วยเมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่นที่มีอายุและระดับการศึกษาเดียวกันมากขึ้น
การถ่ายภาพสมอง การถ่ายภาพสมองจะถูกนำมาใช้ตรวจหาความผิดปกติใด ๆ ที่สามารถสังเกตเห็นได้และบ่งบอกว่าสัมพันธ์กับโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อัลไซเมอร์ เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง เนื้องอก หรือการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะที่ล้วนอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสมอง โดยเทคนิคการถ่ายภาพในสมองที่อาจนำมาใช้มีดังนี้
  • การตรวจเอมอาร์ไอสแกน (MRI Scan) ใช้แยกโรคอื่น ๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการผิดปกติทางความคิดความจำที่อาจเกิดขึ้น และยังอาจใช้วินิจฉัยดูการฝ่อตัวของสมองบริเวณที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคอัลไซเมอร์
  • การตรวจซีทีสแกน (CT Scan) ช่วยในการถ่ายภาพวิเคราะห์ ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่งในสมอง และยังใช้เป็นวิธีหลักในการแยกโรคที่มีสาเหตุเกิดจากเนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดในสมอง และการได้รับบาดเจ็บที่ศีรษะออกไป
  • การตรวจเพทสแกน (PET) เป็นเครื่องช่วยตรวจการทำงานโดยรวมของสมองในหลาย ๆ บริเวณ โดยจะแสดงภาพสมองส่วนที่ทำงานไม่ปกติ
การตรวจน้ำในโพรงสมองและไขสันหลัง วิธีตรวจในกรณีพิเศษจะนำมาใช้กับโรคสมองเสื่อมที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วหรือเกิดขึ้นในช่วงอายุน้อย โดยเก็บตัวอย่างทดสอบจากน้ำในไขสันหลังเพื่อหาตัวบ่งชี้ทางชีวภาพที่บ่งบอกถึงความเป็นไปได้ของการเกิดโรคอัลไซเมอร์
การรักษาอัลไซเมอร์
ปัจจุบันโรคอัลไซเมอร์ยังไม่มีวิธีรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการใช้ยารักษาและการจัดการดูแลที่จะช่วยบรรเทาอาการด้านความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยได้เพียงชั่วคราว หรืออาจช่วยให้พัฒนาการของโรคช้าลงได้ในบางราย โดยการดูแลรักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ที่สามารถทำได้มีดังนี้
การวางแผนดูแลผู้ป่วย
ผู้ป่วยที่วินิจฉัยแล้วว่าเป็นอัลไซเมอร์ควรได้รับการประเมินและการวางแผนล่วงหน้าสำหรับการดูแลด้านสุขภาพและด้านสังคมโดยแพทย์ร่วมกับสาขาวิชาชีพอื่น ๆ เพื่อให้แน่ใจว่าผู้ป่วยโรคนี้ได้รับการรักษาที่ตอบสนองต่อความต้องการ โดยจะมีการพูดคุยสอบถามถึงสิ่งที่ผู้ป่วยหรือผู้ดูแลอาจต้องการความช่วยเหลือ เช่น
  • การช่วยเหลือใดที่ตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องการเพื่อให้เกิดความสะดวกและเป็นอิสระเท่าที่จะทำได้
  • ควรมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ กับที่พักอาศัยเพื่อให้อยู่ได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้นหรือไม่
  • ผู้ป่วยต้องการความช่วยเหลือด้านการเงินหรือไม่
สร้างสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับผู้ป่วย 
การดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ควรมีการปรับสิ่งแวดล้อมในการใช้ชีวิตให้เอื้อต่อตัวผู้ป่วย รวมทั้งการสร้างนิสัยและกิจวัตรประจำวันที่ไม่จำเป็นต้องใช้การนึกหรือจำก็อาจทำให้ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ข้อปฏิบัติที่สามารถทำตามได้มีดังต่อไปนี้
  • เก็บกระเป๋าสตางค์ กุญแจ โทรศัพท์มือถือ และของมีค่าอื่น ๆ ไว้ในที่เดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการสูญหายหรือหาไม่พบ
  • สอบถามกับแพทย์ถึงวิธีการรับประทานยาที่ง่ายขึ้น โดยอาจรวมให้เหลือเพียงวันละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันการลืมรับประทานยา
  • จัดการค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟ ให้จ่ายโดยระบบหักเงินอัตโนมัติ
  • พกโทรศัพท์ที่เปิดการระบุตำแหน่งจีพีเอส (GPS) ไว้ตลอดเวลา เผื่อในกรณีที่หลงทางหรือมีอาการสับสน เพื่อให้คนอื่น ๆ สามารถตามตำแหน่งที่อยู่ในโทรศัพท์มาได้ และควรบันทึกเบอร์โทรศัพท์และรายชื่อบุคคลสำคัญไว้ในที่ที่เห็นชัดเจนในโทรศัพท์ เพื่อผู้ป่วยจะได้ไม่ต้องพยายามนึกชื่อของผู้ที่ต้องการโทร
  • การนัดหมายกับแพทย์ควรเป็นวันและเวลาที่ใกล้เคียงกับครั้งอื่น ๆ มากที่สุด
  • อาจมีปฏิทินหรือกระดานเขียนบันทึกกิจกรรมที่ต้องทำในแต่ละวันติดบ้านไว้ และเมื่อทำกิจกรรมใด ๆ เรียบร้อยแล้วก็ให้ขีดฆ่าออกเพื่อไม่ให้เกิดการหลงลืม
  • ตั้งนาฬิกาปลุกเตือนเวลาที่ต้องทำกิจกรรมต่าง ๆ 
  • กำจัดอุปกรณ์เครื่องเรือนที่ไม่จำเป็นออกจากบ้าน ไม่ให้ระเกะระกะและยุ่งเหยิง
  • ติดตั้งราวจับตามทางบันไดหรือในห้องน้ำ
  • ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันอันตราย เช่น เครื่องตรวจแก๊สรั่ว และเครื่องตรวจจับควันให้ทั่วบ้าน
  • เลือกรองเท้าที่ใส่แล้วสบายและมีความพอดีกับเท้า ไม่หลุดง่าย
  • อย่าให้มีกระจกอยู่ในบ้านมากเกินไป ผู้ป่วยโรคนี้อาจรู้สึกว่าภาพสะท้อนในกระจกนั้นน่ากลัวและทำให้รู้สึกสับสนได้
  • เก็บรูปถ่ายและสิ่งของที่มีความหมายต่อผู้ป่วยไว้ทั่ว ๆ บ้าน
  • อาจบอกรับหนังสือพิมพ์รายวันเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนวันและเวลา
  • เขียนบันทึกช่วยเตือนความจำแปะไว้ตามที่ต่าง ๆ เช่น บันทึกเตือนไม่ให้ลืมกุญแจเมื่อออกจากบ้าน
การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพและควรปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอ ไม่เว้นแม้แต่ผู้ป่วยอัลไซเมอร์ โดยอาจให้ผู้ป่วยเดินเป็นประจำทุก ๆ วันเพื่อปรับอารมณ์ให้ดีขึ้น ส่งผลดีต่อการทำงานของข้อต่อ กล้ามเนื้อ และหัวใจ นอกจากนี้ยังช่วยให้นอนหลับดีและป้องกันอาการท้องผูกได้ด้วย ทั้งนี้ควรมีผู้ดูแลเดินไปพร้อมกับผู้ป่วยและจับตาดูไม่ให้พลัดหลง ส่วนผู้ป่วยที่มีปัญหาด้านการเดินอาจขี่จักรยานอยู่กับที่หรือออกกำลังกายโดยวิธีนั่งบนเก้าอี้แทน
การรับประทานอาหาร ผู้ป่วยโรคนี้อาจลืมรับประทานอาหาร หมดความสนใจในการรับประทานอาหาร เลือกรับประทานอาหารในสัดส่วนที่ไม่เหมาะสม หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งจะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำและมีอาการท้องผูกได้ จึงควรเสริมการรับประทานอาหารด้วยน้ำปั่นจากผลไม้ผสมนมหรือโยเกิร์ตที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีแคลอรีสูง และอาจเพิ่มผงโปรตีนผสมลงไป นอกจากนี้ผู้ดูแลยังควรโน้มน้าวให้ผู้ป่วยดื่มน้ำหลาย ๆ แก้วต่อวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะส่งผลให้รู้สึกกระสับกระส่าย นอนไม่หลับ และไปกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อยขึ้น
การใช้ยารักษา
แพทย์อาจสั่งจ่ายยาเพื่อช่วยบรรเทาอาการบางชนิดและชะลอการพัฒนาของโรค โดยยาที่มักนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ระยะแรกไปถึงระยะที่อาการยังไม่รุนแรงคือยากลุ่มโคลีนเอสเทอเรส (Cholinesterase Inhibitor) เช่น โดนีพีซิล กาแลนตามีน และไรวาสติกมีน ทั้งนี้ยาในกลุ่มนี้จะมีประสิทธิภาพการรักษาไม่ต่างกัน เพียงแต่ผู้ป่วยบางรายอาจตอบสนองกับยาชนิดใดชนิดหนึ่งมากกว่าหรือได้รับผลข้างเคียงจากยาน้อยกว่าชนิดอื่น ๆ และหากผู้ป่วยไม่สามารถรับประทานยากลุ่มนี้ได้ก็อาจให้ยาเมแมนทีนแทน ซึ่งยาตัวหลังนี้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยอัลไซเมอร์ในระยะท้ายได้เช่นกัน
ยาทางเลือก 
ปัจจุบันมีอาหารเสริมและวิตามินหลากหลายชนิดที่มีการโฆษณาอย่างกว้างขวางถึงสรรพคุณในการช่วยส่งเสริมด้านความคิดและความทรงจำ ป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรก็ดี ยังไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้แน่ชัดว่าสารอาหารเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ ซึ่งล่าสุดก็มีการวิจัยเกี่ยวกับการรักษาด้วยยาทางเลือกเหล่านี้
  • กรดไขมันโอเมก้า 3 เป็นสารอาหารที่พบในปลา อาจช่วยป้องกันการเสื่อมถอยทางสติปัญญา ทว่าการวิจัยเกี่ยวกับอาหารเสริมที่ทำจากไขมันปลา ไม่พบคุณประโยชน์ด้านนี้แต่อย่างใด
  • เคอร์คูมิน สมุนไพรที่ทำมาจากขมิ้น มีคุณสมบัติต้านการอักเสบและมีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจส่งผลดีต่อกระบวนการของสารสื่อประสาทในสมอง แต่การวิจัยก็พบว่าสารนี้ไม่ได้มีประโยชน์ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์เช่นเดียวกัน
  • แปะก๊วย พืชที่ประกอบด้วยสารหลากหลายชนิด โดยการวิจัยครั้งสำคัญของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (NIH) ผลปรากฏว่าแปะก๊วยไม่สามารถป้องกันหรือชะลออาการของโรคอัลไซเมอร์ได้
  • วิตามินอี พบว่าไม่มีประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดอัลไซเมอร์ แต่การรับประทานวิตามินอีวันละ 2,000 หน่วยอาจช่วยชะลอการพัฒนาของโรคในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษายังไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ มีเพียงผลการศึกษาบางส่วนที่พบว่าวิตามินอีมีประโยชน์จริง นอกจากนี้ การรับประทานวิตามินอีวันละ 2,000 หน่วยก็ยังต้องมีการพิสูจน์เพิ่มเติมถึงความปลอดภัยหากนำมาใช้กับผู้ป่วยโรคสมองเสื่อม ก่อนที่จะมีการแนะนำให้นำมาใช้อย่างแพร่หลาย
การบำบัดทางจิต
นอกจากการใช้ยา การบำบัดโดยนักจิตวิทยา เช่น การกระตุ้นสมอง ก็อาจช่วยปรับปรุงความสามารถด้านความทรงจำ ความสามารถทางภาษา และทักษะการแก้ปัญหาได้ รวมทั้งการบำบัดทางจิตวิทยาด้านอื่น ๆ เช่น การบำบัดด้วยการปรับปลี่ยนความคิดและพฤติกรรม ดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด และการบำบัดด้วยการผ่อนคลาย ที่อาจนำมาใช้ช่วยรับมือกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล การเกิดภาพหลอน อาการหลงผิด และพฤติกรรมไม่เหมาะสมที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้
ภาวะแทรกซ้อนของอัลไซเมอร์
การสูญเสียความทรงจำหรือทักษะด้านภาษา การตัดสินใจที่บกพร่องและความสามารถทางสติปัญญาด้านต่าง ๆ ที่ลดลงไปของผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์สามารถทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในกรณีที่มีการรักษาอาการเจ็บป่วยชนิดอื่น เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้อาจไม่สามารถอธิบายถึงอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นกับตัวเอง รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งหรือทำตามแผนการรักษาไม่ได้ หรือไม่อาจสังเกตหรืออธิบายผลข้างเคียงจากการใช้ยาที่เกิดขึ้นกับตนเองให้ผู้อื่นฟังได้
สำหรับโรคอัลไซเมอร์ที่พัฒนาไปถึงระยะสุดท้าย การเปลี่ยนแปลงทางสมองที่เกิดขึ้นจะเริ่มส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกาย เช่น การกลืน การทรงตัว การควบคุมลำไส้และกระเพาะปัสสาวะ ส่งผลให้ยิ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมา เช่น 
  • สะดุดหกล้ม 
  • กระดูกหัก 
  • แผลกดทับ 
  • ภาวะทุพโภชนาการ ภาวะขาดน้ำ 
  • สำลักอาหารหรือน้ำลงปอด ปอดบวมหรือเกิดการติดเชื้ออื่น ๆ
การป้องกันโรคอัลไซเมอร์
เนื่องจากสาเหตุการเกิดโรคอัลไซเมอร์ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด จึงยังไม่มีวิธีป้องกันการเกิดโรคได้ อย่างไรก็ตาม ยังพอมีหนทางที่อาจช่วยชะลอการเริ่มต้นของโรค คือการลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้จะยิ่งมีโอกาสเกิดโรคอัลไซเมอร์และโรคสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดตามมา โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  • เลิกสูบบุหรี่  
  • ไม่ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินควร
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่พอเหมาะ โดยเลือกรับประทานผักและผลไม้อย่างน้อยวันละ 5 ส่วน
  • หมั่นออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 150 นาที อาจเฉลี่ยเป็นวันละ 30 นาที ใน 5 วันต่อสัปดาห์ ควรเลือกการออกกำลังกายแบบแอโรบิคที่ให้ร่างกายได้ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่ซ้ำๆ เช่น ปั่นจักรยาน วิ่งเร็ว จะช่วยให้ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจดีขึ้น
  • ตรวจและควบคุมระดับความดันโลหิต
  • หากป่วยเป็นโรคเบาหวาน ควรควบคุมการรับประทานอาหารและการใช้ยาอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากการลดปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง อีกวิธีป้องกันที่อาจได้ผลก็คือการฝึกการทำงานของสมอง โดยมีงานวิจัยจำนวนหนึ่งพบว่าผู้ที่ฝึกตนเองให้มีความกระฉับกระเฉงด้านร่างกาย ความคิด และทักษะทางสังคมเป็นประจำและสม่ำเสมอ หรือผู้ที่มีกิจกรรมหรืองานอดิเรกที่หลากหลาย อาจมีโอกาสเกิดโรคสมองเสื่อมน้อยลง โดยกิจกรรมที่น่าจะมีส่วนช่วย ได้แก่ การอ่านหนังสือ การเขียนเพื่อสุนทรียภาพของตนเอง การเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ การเล่นดนตรี เล่นเทนนิส ตีกอล์ฟ ว่ายน้ำ การเล่นกีฬาเป็นทีม และการเดิน
ที่มา  ::    เว็บไซต์ pobpad.com






💠Protandim Nrf2💠

 1) PROTANDIM ไม่ใช่อาหารเสริม แต่คือตัวช่วยให้โปรตีน NRF2 ในร่างกายทำงานโดยตรงกับยีน ทำให้ความเครียดต่างๆ ในระดับเซลล์และอนุมูลอิสระถูกขจัดออกจากร่างกายเฉลี่ย 40% ใน 30 วัน ดยไม่จำเป็นต้องกินวิตามินอื่นๆ 

(เปรียบเทียบถ้าร่างกายคือเครื่องจักรเก่าๆ NRF2 จะช่วยกำจัดสนิมออกไป) 
2) PROTANDIM ไม่ใช่ยาหรืออาหารเสริมทั่วไป แต่คือตัวช่วยชะลอวัยในระดับยีน 

สามารถป้องกันโรคเสื่อมต่างๆ และโรคไม่ติดต่อได้กว่า 200 โรค ฟื้นฟูความแข็งแรง

ให้ตับ ไต กระเพาะ สมอง หัวใจ สายตา ข้อ ผม ผิว เล็บ ระบบภูมิคุ้มกันได้ระดับเทียบเท่าตอนอายุ 20 ปี
โรคต่างๆที่ NRF2 SYNERGIZER หรือ PROTANDIM ช่วยได้ คือ
โรคระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้ง เส้นเลือดแข็งกระด้าง, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคของระบบหลอดเลือด และหัวใจล้มเหลว
 โรคของระบบประสาท รวมทั้ง อัลไซเมอร์ (ALZHEIMER'S DISEASE), พาคินสัน, ALA
 มะเร็ง (ป้องกัน) และรักษาร่วมกับการรักษาอื่นๆ
โรคไตต่างๆ
 โรคเบาหวาน, โรคอ้วน
  โรคกรดไหลย้อน โรคระบบทางเดินอาหาร 
 โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ออฟฟิตซินโดรม 
 โรคตับต่างๆโรคเกี่ยวกับปอด รวมทั้งหอบหืด, ถุงลมโป่งพอง
ติดเชื้อในกระแสเลือด
 โรคออโต้อิมมูนต่างๆ
 โรคเกี่ยวกับลำไส้
 HIV/AIDS
MULTIPLE CLEROSIS
โรคลมชัก เป็นต้น
 ย้อนวัยให้สุขภาพได้สูงสุดถึง 40% ภายใน 30 วัน 
 เอาชนะสัญญาณความเสื่อมของสุขภาพ 70 ประการ
 เหนือกว่าสเต็มเซลล์, คอลาเจนและสารต้านอนุมูลอิสระทุกชนิด 
 เพิ่มการสร้างกลูต้าไธโอนในร่างการสูงสุดถึง 300%
 เพิ่มการสร้างเอ็มไซม์เอสโอดีนสูงสุดถึง 34%

3) PROTANDIM NRF2 SYNERGIZER ได้รับสิทธิบัตรเดียวในโลก สูตรเดียวในโลก 

🔬🏆🔬พัฒนาคิดค้นโดย ดร โจ แมคคอร์ด ผู้ซึ่งได้รับรางวัลนวัตกรรมการชะลอวัยเปลี่ยนโลก (ELLIOT CRESSON MEDAL) 

🔬🎓🔬จากผลวิจัยมหาวิทยาลัยชื่อดังต่างๆ เช่น ฮาวาร์ด เท็กซัส เป็นต้น ทำให้คนเรา

สามารถมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นอย่างชัดเจนและอายุยืนขึ้นเฉลี่ย 5-10 ปี หรือ 7%

4) ถาม PROTANDIM เหมาะกับใครบ้าง⬇️⬇️⬇️

➡️📍ตอบ ผู้สูงวัยทุกคน และผู้ที่ทำงานงานหนัก หามรุ่งหามค่ำ เครียด พักผ่อนน้อย เร่งรีบ ทานอาหารไม่เป็นเวลา ป่วยง่าย ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ภูมิแพ้ ผิวพรรณหมองคล้ำ ดื่มแอลกอฮอล์สูบบุหรี่ประจำ เป็นต้น

🔬🎓🔬รวมผลวิจัยความคิดเห็นจากหมอและนักวิทยาศาสตร์ เกี่ยวกับ PROTANDIM และ โปรตีน NRF2 กว่าหมื่นฉบับ  📝📚📚📚📝

WWW.PUBMED.GOV



ผลการศึกษาจาก NIA พบว่า Protandim Nrf2 ช่วยยืดอายุขัยได้ 7%



YouTube Video





ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพของ LifeVantage™ :: สุขภาพดีด้วย Lifevantage



YouTube Video



ตัวแทนจำหน่าย Lifevantage ประเทศไทย


สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  🙏🙏🙏 🙏🙏



โทร :: 082-236-4928

Line ID  ::   pla-prapasara




http://line.me/ti/p/~pla-prapasara




รับโปรโมชั่น สุดพิเศษ เฉพาะทาง Line  นะคะ













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น