ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

22 กันยายน 2561

24 สรรพคุณและประโยชน์ของมัลเบอร์รี่ ! (Mulberry)

24 สรรพคุณและประโยชน์ของมัลเบอร์รี่ ! (Mulberry)


มัลเบอร์รี่

มัลเบอร์รี่


มัลเบอร์รี่ (Mulberry) หรือ หม่อน (ภาคอีสานเรียกว่า “มอน”) ที่เรารู้จักกันจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ หม่อนหรือมัลเบอร์รี่ชนิดที่ปลูกไว้เพื่อรับประทานผลเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีชื่อสามัญว่า Black Mulberry และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Morus nigra L. จัดอยู่ในวงศ์ MORACEAE ผลสุกจะเป็นสีดำมีรสเปรี้ยวอมหวาน นิยมนำมารับประทานและนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ

ส่วนอีกชนิด คือ หม่อนที่ปลูกไว้เพื่อการเลี้ยงไหมเป็นหลัก มีชื่อสามัญว่า White Mulberry และมีชื่อวิทยาศาสตร์ Morus alba L. ชนิดนี้ใบจะมีขนาดใหญ่กว่าและออกใบมากกว่า ใช้เป็นอาหารเลี้ยงไหมได้ดี แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่า เมื่อสุกจะมีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้เช่นกัน แต่ไม่เป็นที่นิยมเท่าชนิดแรก และยังมีชนิดอื่น ๆ อีกหลายชนิดครับ เช่น Red Mulberry ที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus rubra L. เป็นต้น

Mulberry

สรรพคุณของมัลเบอร์รี่


  1. ผลมัลเบอร์รี่มีรสเปรี้ยวหวานเย็น มีสรรพคุณช่วยดับร้อน คายความร้อนรุ่ม ช่วยขับลมร้อน ช่วยบรรเทาอากากระหายน้ำ ทำให้ชุ่มคอ และทำให้ร่างกายชุ่มชื่น[1],[2],[4],[6]
  2. ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาแก้ธาตุไม่ปกติ[3],[4]
  3. ผลมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ[6]
  4. มัลเบอร์รี่มีสรรพคุณช่วยทำให้เส้นประสาทตาดี ทำให้สายตาแจ่มใส หูตาสว่าง ร่างกายสุขสบาย[2],[6]
  5. ผลมีสรรพคุณช่วยแก้อาการท้องผูก และยังมีเมล็ดที่ช่วยเพิ่มใยอาหาร[2],[3],[4]
  6. ผลนำมาต้มกับน้ำหรือเชื่อมกินเป็นยาระบายอ่อน ๆ[3],[4]
  7. ผลมัลเบอร์รี่มีฤทธิ์เป็นยาเย็น ออกฤทธิ์ต่อตับและไต มีสรรพคุณช่วยบำรุงตับและไต ช่วยรักษาตับและไตพร่อง[1],[2],[4]
  8. ช่วยแก้ข้อมูลข้อเท้าเกร็ง แก้ไขข้อ โรคปวดข้อ[2],[4],[6]
  9. ช่วยบำรุงเส้นผมให้ดกดำ ป้องกันผมหงอกก่อนวัย[6]
  10. ในประเทศจีนจะใช้ผล กิ่งอ่อน เปลือกราก และใบเป็นยาบำรุงกำลัง รักษาโรคเกี่ยวกับทรวงอก แก้ไอ หืด วัณโรคปอด การสะสมน้ำในร่างกายผิดปกติ ขับปัสสาวะ และรักษาโรคปวดข้อ[4]

หมายเหตุ : การใช้ตาม [2] ผลแห้งให้ใช้ครั้งละ 10-15 กรัม นำมาต้มกับน้ำรับประทาน หรือใช้เข้าตำรับยาตามตามต้องการ (ตามตำรับยาระบุให้ใช้ผลหม่อนหรือผลมัลเบอร์รี่ ชนิดที่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Morus alba L.)

ประโยชน์ของมัลเบอร์รี่


  1. มัลเบอร์รี่มีสาร Anthocyanins ในปริมาณมาก โดยสารชนิดนี้เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตัน ต่อต้านอาการขาดเลือดในสมอง ป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง เป็นต้น[5],[6]
  2. มัลเบอร์รี่มีสาร Deoxynojirimycin ที่เป็นตัวช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้[5],[6]
  3. มัลเบอร์รี่มีกาบา (GABA) ที่เป็นตัวช่วยลดความโลหิต[5],[6]
  4. มัลเบอร์รี่มีสาร Phytosterol ที่สามารถช่วยลระดับคอเลสเตอรอลได้[5],[6]
  5. มัลเบอร์รี่มีสาร Polyphenols ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่มีประโยชน์กับร่างกาย[5],[6]
  6. สารประกอบฟีนอลในมีอยู่ในผลมัลเบอร์รี่ สามารถช่วยต้านอนุมูลอิสระ ต้านอาการอักเสบ อาการเส้นเลือดโป่งพอง และยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัสได้[5],[6]
  7. สาร Quercetin และสาร Kaempferol ที่มีอยู่ในผลมัลเบอร์รี่เป็นสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ ที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต ช่วยทำให้หลอดเลือดแข็งแรง เลือดหมุนเวียนดี ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดในหลอดเลือด ป้องกันการดูดซึมของน้ำตาลในลำไส้เล็ก ยับยั้งการเกิดสารก่อมะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งเต้านม มะเร็งลำไส้ใหญ่ ช่วยยืดอายุเม็ดเลือดขาว และลดอาการแพ้ต่าง ๆ[5],[6]
  8. มีวิตามินเอที่ช่วยในด้านการบำรุงสายตา ป้องกันการเกิดต้อกระจก ช่วยบำรุงเหงือกและฟัน บำรุงผิวพรรณ และลดการอักเสบของสิว
  9. วิตามินบี6 ในผลมัลเบอร์รี่ มีประโยชน์ในด้านการบำรุงเลือด ตับ และไต ช่วยลดอาการปวดประจำเดือน และลดการเกิดสิว
  10. มัลเบอร์รี่มีวิตามินซีสูง ที่เป็นตัวช่วยป้องกันหวัด ภูมิแพ้ วัณโรค โรคปอด เชื้อไวรัส และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แก่ร่างกาย
  11. มัลเบอร์รี่กรดโฟลิกสูง ซึ่งกรดโฟลิกนั้นสามารถช่วยทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงเจริญได้เต็มที่ ทำให้เซลล์ประสาทไขสันหลังและเซลล์สมองเจริญเป็นปกติ และช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง[5],[6]
  12. นอกจากนี้ลูกมัลเบอร์รี่ยังกรดอะมิโน วิตามินและแร่ธาตุอีกหลายชนิดที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น วิตามินเอ วิตามินบี แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม แมกนีเซียม โซเดียม สังกะสี ฯลฯ[5],[6]
  13. บางรายงานระบุว่ามัลเบอร์รี่สามารถช่วยแก้อาการเมาค้าง และช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
  14. ผลมัลเบอร์รี่สามารถนำมาแปรรูปเป็นอาหารหรือผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น แยมหม่อน เยลลี่หม่อน ขนมพาย ข้าวเกรียบ ไอศกรีมหม่อน หม่อนแช่อิ่ม หม่อนอบแห้ง ลูกอมหม่อน น้ำหม่อน ไวน์หม่อน เป็นต้น[5]

คุณค่าทางโภชชนาการของมัลเบอร์รี่ ต่อ 100 กรัม


  • พลังงาน 43 กิโลแคลอรี่
  • คาร์โบไฮเดรต 9.8 กรัม
  • น้ำตาล 8.1 กรัม
  • ใยอาหาร 1.7 กรัม
  • ไขมัน 0.39 กรัม
  • โปรตีน 1.44 กรัมMulberry
  • เถ้า 0.69 กรัม
  • วิตามินเอ 25 หน่วยสากล
  • เบต้าแคโรทีน 9 ไมโครกรัม
  • ลูทีน และ ซีแซนทีน 136 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.029 มิลลิกรัม (3%)
  • วิตามินบี2 0.101 มิลลิกรัม (8%)
  • วิตามินบี3 0.62 มิลลิกรัม (4%)
  • วิตามินบี6 0.05 มิลลิกรัม (4%)
  • วิตามินบี9 6 ไมโครกรัม (2%)
  • วิตามินซี 36.4 มิลลิกรัม (44%)
  • วิตามินอี 0.87 มิลลิกรัม
  • วิตามินเค 7.8 ไมโครกรัม
  • โคลีน 12.3 มิลลิกรัม (3%)
  • แคลเซียม 39 มิลลิกรัม (4%)
  • ธาตุเหล็ก 1.85 มิลลิกรัม (14%)
  • แมกนีเซียม 18 มิลลิกรัม (5%)
  • ฟอสฟอรัส 38 มิลลิกรัม (5%)
  • โพแทสเซียม 194 มิลลิกรัม (4%)
  • โซเดียม 10 มิลลิกรัม (1%)
  • สังกะสี 0.12 มิลลิกรัม (1%)
  • ทองแดง 0.06 มิลลิกรัม
  • ซีลีเนียม 0.6 ไมโครกรัม

% ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

หมายเหตุ : อ่านข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องมัลเบอร์รี่หรือต้นหม่อนเกี่ยวกับลักษณะของต้นหม่อนหรือต้นมัลเบอร์รี่ สรรพคุณทางยาของใบหม่อน รากหม่อน ต้นหม่อน ข้อมูลทางเภสัชวิทยาของหม่อนเพิ่มเติมได้ที่ สรรพคุณและประโยชน์ของต้นหม่อน ใบหม่อน 50 ข้อ !



เอกสารอ้างอิง

  1. หนังสือสมุนไพรไทย เล่ม 1.  (ดร.นิจศิริ เรืองรังษี, ธวัชชัย มังคละคุปต์).  “หม่อน (Mon)”.  หน้า 327.
  2. หนังสือสารานุกรมสมุนไพรไทย-จีน ที่ใช้บ่อยในประเทศไทย.  (วิทยา บุญวรพัฒน์).  “หม่อน”.  หน้า 618.
  3. หนังสือสมุนไพรลดไขมันในเลือด 140 ชนิด.  (เภสัชกรหญิง จุไรรัตน์ เกิดดอนแฝก).  “หม่อน”  หน้า 194-195.
  4. ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.  “หม่อน”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.phargarden.com.  [22 ก.ค. 2014].
  5. ภาควิชากีฏวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.  (อุไรวรรณ นิลเพ็ชร์).  “หม่อน ( Mulberry ) : พืชมากประโยชน์”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก: www.rdi.ku.ac.th/kufair50/.  [22 ก.ค. 2014].
  6. กรมหม่อนไหม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.  (นายวิโรจน์ แก้วเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านผลิตภัณฑ์หม่อนไหม).  “หม่อน & ไหม… พืชและเส้นใยแห่งอนาคต”.

7. เว็บไซต์เมดไทย (MedThai)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น