ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

22 กันยายน 2561

แคลเซียม รู้จักสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน

แคลเซียม รู้จักสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน










แคลเซียม รู้จักสารอาหารสำคัญ ที่ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
หากพูดถึง แคลเซียม สำหรับร่างกายมนุษย์แล้ว จัดว่าเป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่มีความสำคัญ แต่เราก็สามารถพบธาตุชนิดนี้ได้ทั่วไปตามธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นตามพื้นดิน ในน้ำ ตามก้อนหิน ส่วนในร่างกาย ก็คือ กระดูกและฟัน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญที่มี แคลเซียม เป็นองค์ประกอบหลัก แร่ธาตุชนิดนี้ยังทำหน้าที่เป็นตัวช่วยกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนในร่างกาย
มีส่วนสำคัญต่อกระบวนการทางชีวเคมีภายในเซลล์ ร่างกายที่มีปริมาณ แคลเซียม ที่เพียงพอ สามารถทำงานได้อย่างสมดุล ดังนั้น มันจึงเป็นแร่ธาตุที่ร่างกายไม่ควรขาด เพื่อให้ระบบการทำงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เราลองมารู้จักกับธาตุ แคลเซียม ประโยชน์ และโทษในการรับประทานมากหรือน้อยเกินไป พร้อมแหล่งที่เราจะพบสารชนิดนี้ว่ามีอยู่ในอาหารประเภทใดบ้าง


แคลเซียมคือ อะไร ?

แคลเซียม (Calcium) คือแร่ธาตุ ที่มีความสำคัญอย่างมากมายต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ง่าย ในร่างกายของเราประกอบด้วย แคลเซียม มากกว่า 1,200 กรัม เกือบ 55 เปอร์เซ็นต์ พบได้ในกระดูกและฟัน จะจับตัวร่วมกับฟอสฟอรัส เรียกว่า "Calcium Phosphates" แคลเซียม ไม่ได้อยู่แค่ในส่วนของกระดูกและฟันเท่านั้น เรายังพบ แคลเซียม ได้ในเลือด ซึ่งจับตัวอยู่กับโปรตีน และพบแคลเซียม อิสระล่องลอยทำหน้าที่อยู่ภายในร่างกายด้วย

หน้าที่และโยชน์ของแคลเซียมในร่างกาย

  1. เป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน ทำให้โครงสร้างเหล่านี้มีความแข็งแรง
  2. เป็นส่วนประกอบที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว
  3. ช่วยในการทำงานของระบบประสาทในส่วนของกล้ามเนื้อ
  4. ช่วยควบคุมการยืดและหดตัวของกล้ามเนื้อในร่างกายตามส่วนต่างๆ ทั่วไป ซึ่งรวมไปถึงกล้ามเนื้อหัวใจด้วย
  5. กระตุ้นการทำงานของโปรตีนที่เป็น corboxylated- glutamic acid ให้จับเข้ากับแคลเซียมของ Hydroxyapatite เพื่อทำหน้าที่สร้างและสลายกระดูก ทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของมวลกระดูกใหม่ๆ นั่นเอง
  6. ควบคุมความเป็นกรดด่างภายในร่างกาย

โทษของแคลเซียมเมื่อได้รับมากเกินไป


หากร่างกายได้รับแคลเซียมมากเกินไป จะส่งผลให้เกิดผลกระทบตามมา กรณีที่เรารับประทานแคลเซียมเป็นแบบอาหารเสริม และไม่มีวิตามินดีเป็นส่วนผสมอยู่ด้วย จะเกิดภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจขาดเลือด โรคนิ่วในไต และในผู้สูงอายุที่รับประทานมากเกินไปจากอาหารเสริม จะเสี่ยงต่อโรคหัวใจวาย ทั้งนี้แม้จะรับประทานในสัดส่วนที่พอดี แต่ห้ามกินติดต่อกันนานเกินไป เพราะจะส่งผลทำให้แคลเซียมในเลือดเพิ่มสูงขึ้น เป็นอันตรายต่อภาวะสมดุลระหว่างกรดเบส จนร่างกายทำงานผิดปกติตามมาได้


อันตรายจากภาวะขาดแคลเซียม


ภาวะขาดแคลเซียม มีสาเหตุที่เกิดขึ้นส่วนมากมาจากการที่ร่างกายได้รับแคลเซียมจากอาหารที่ไม่เพียงพอ การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง เมื่อเกิดภาวะนี้ขึ้น จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดโรคเกี่ยวกับกระดูก เช่น ภาวะกระดูกอ่อน โรคกระดูกพรุน ข้อรูมาตอยด์ ข้ออักเสบ และข้อเข่าเสื่อม ฯลฯ แน่นอนว่าโรคเหล่านี้ แม้เกิดขึ้นเพียงโรคเดียวก็ทำให้เกิดความทุกข์ทรมานต่อร่างกายได้อย่างมากมาย
ยิ่งอายุมากขึ้นร่างกายก็จะยิ่งเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีการหยุดการสร้างเซลล์กระดูก ทำให้เกิดการสลายกระดูกอย่างต่อเนื่อง มวลกระดูกลดลงเรื่อยๆ แปรผกผันกับอายุที่มากขึ้น เป็นอันตรายที่เราต้องรีบป้องกันก่อนสายเกินแก้ เพราะการรักษาเมื่อโรคเกิดขึ้นแล้วทำได้ยุ่งยาก และมีโอกาสที่ร่างกายจะกลับมาเป็นปกติได้เหมือนเดิมนั้นเป็นไปได้น้อยกว่าในวัยเด็กหรือวัยรุ่นอีกด้วย ภาวะขาดแคลเซียมยังรุนแรงเพิ่มขึ้น จนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
 

หลักในการรับประทานแคลเซียม

เพื่อป้องกันภาวะขาดแคลเซียม เราควรได้รับแคลเซียมให้เพียงพอในแต่ละวัน โดยทั่วไปควรได้รับจากอาหารที่เรากิน พบมากในผักใบเขียว คะน้า บลอคโคลี่ งา ข้าวโอ๊ต ถั่วขาว ถั่วแระ นมถั่วเหลือง ปลาตัวเล็กที่กินได้ทั้งกระดูก กะปิ กุ้งแห้ง นม ชีส และผลิตภัณฑ์จากนม เป็นต้น สำหรับในผู้ที่มีอายุน้อยควรได้รับแคลเซียมประมาณ 800 มิลลิกรัม คนที่มีอายุมากกว่า 51 ปี ให้เพิ่มขึ้นเป็น 1,000 กรัม
กรณีที่รับประทานอาหารไม่หลากหลาย ร่างกายได้รับ แคลเซียม ไม่เพียงพอ ให้รับประทานแคลเซียมชนิดอาหารเสริม ที่ควรได้รับคำแนะนำจากแพทย์ มีการได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายสร้างวิตามินดี ช่วยเพิ่มให้ลำไส้ดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น และเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรับประทานแคลเซียม ควรรับประทานหลังอาหาร หรือพร้อมอาหาร ซึ่งจะช่วยให้ร่างกายดูดซึม นำไปใช้ได้มากที่สุดนั่นเอง
แคลเซียม (Calcium) เป็นแร่ธาตุสำคัญในการสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและฟัน จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ กล้ามเนื้อ และระบบประสาท หากร่างกายไม่ได้รับแคลเซียมเพียงพอ แคลเซียมในกระดูกจะถูกดึงมาใช้แทน ส่งผลให้กระดูกเปราะบางและอ่อนแอลง เกิดเป็นโรคกระดูกพรุนได้
แคลเซียมเสริมจำเป็นสำหรับหญิงตั้งครรภ์ แม่ที่ต้องให้นมลูก เด็ก วัยรุ่น และหญิงใกล้หมดประจำเดือนเพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม นอกจากนี้ ผู้ที่ได้รับแคลเซียมจากอาหารในแต่ละวันไม่เพียงพอเป็นเวลานานหลายปีหรือเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกอื่น ๆ ก็สามารถรักษาได้ด้วยการให้รับประทานแคลเซียมเสริม
แคลเซียม
เกี่ยวกับแคลเซียม
กลุ่มยา แร่ธาตุ                 
ประเภทยายาตามใบสั่งแพทย์ ยาหาซื้อได้เอง
สรรพคุณใช้ทดแทนการขาดแคลเซียม และรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังที่มีภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง
กลุ่มผู้ป่วยเด็กและผู้ใหญ่
รูปแบบของยายาเม็ด ยาน้ำเชื่อม ยาฉีด
คำเตือนการใช้แคลเซียม
  • แม้แคลเซียมจะจำเป็นต่อคนท้องและแม่ที่ต้องให้นมลูก แต่การรับประทานอาหารเสริมมากเกินไปอาจเป็นอันตรายต่อแม่และเด็กได้
  • ไม่ควรใช้แคลเซียมแบบฉีดกับเด็กเพราะอาจเกิดการระคายเคืองจากเข็มฉีดยา
  • ผู้ป่วยโรคต่าง ๆ ต่อไปนี้ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำการรับประทานที่ปลอดภัยและถูกต้อง
  • ผู้ที่ท้องเสียหรือมีปัญหาเกี่ยวกับท้องและลำไส้ อาจต้องรับประทานแคลเซียมมากเป็นพิเศษหรือเจาะจงปริมาณที่แน่ชัด
  • สำหรับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ การให้แคลเซียมแบบฉีดทำให้หัวใจเต้นผิดปกติได้
  • ผู้ป่วยที่มีแคลเซียมในเลือดสูง (Hypercalcemia) และแคลเซียมในปัสสาวะสูง (Hypercalciuria) การได้รับแคลเซียมเพิ่มจะทำให้อาการแย่ลง
  • ผู้ที่มีภาวะฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูงผิดปกติ แคลเซียมฟอสเฟตอาจทำให้ระดับฟอสฟอรัสในเลือดสูงขึ้นและเสี่ยงเกิดผลข้างเคียงตามมา
  • ผู้เป็นโรคไตหรือโรคนิ่ว การได้รับแคลเซียมสูงเพิ่มโอกาสเกิดโรคนิ่วในไต
ปริมาณการใช้แคลเซียม
ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานในแต่ละวันเพื่อป้องกันการขาดแคลเซียม
  • เด็กอายุไม่เกิน 3 ปี: 400-800 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 4-6 ปี: 800 มิลลิกรัม/วัน
  • เด็กอายุ 7-10: 800 มิลลิกรัม/วัน
  • วัยรุ่นและผู้ใหญ่: 800-1,200 มิลลิกรัม/วัน
  • หญิงตั้งครรภ์และให้นมบุตร: 1,200 มิลลิกรัม/วัน
แพทย์จะสั่งจ่ายยาตามความรุนแรงในการขาดแคลเซียมของผู้ป่วย ซึ่งแคลเซียมแต่ละชนิดและแต่ละปริมาณประกอบด้วยสารแคลเซียมในปริมาณต่างกันไป ดังนี้
ชนิดของแคลเซียมปริมาณเม็ดยา (มิลลิกรัม)ปริมาณแคลเซียมในยา (มิลลิกรัม)
แคลเซียมซิเตรท950200
แคลเซียมคาร์บอเนต


625
650
750
835
1,250
1,500
250
260
300
334
500
600
แคลเซียมกลูโคเนต500
650
1,000
45
58
90
แคลเซียมแลคเตท325
650
42
84
การใช้แคลเซียม
  • รับประทานตามปริมาณกำกับ ไม่ให้มากหรือบ่อยครั้งเกินไป เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อผลข้างเคียง
  • ควรรับประทานแคลเซียมเสริมกับน้ำหรือน้ำผลไม้หนึ่งแก้วเต็ม แต่หากใช้แคลเซียมคาร์บอร์เนตเป็นยาลดการดูดซึมฟอสเฟตในการล้างไตก็ไม่จำเป็นต้องดื่มน้ำ
  • ควรรับประทาน 1-1.5 ชั่วโมงหลังอาหารเพื่อให้การดูดซึมดีที่สุด หรือตามคำแนะนำของแพทย์ แต่ผู้ป่วยที่มีภาวะไร้กรดเกลือในกระเพาะควรรับประทานพร้อมมื้ออาหาร เพื่อให้กระเพาะสามารถดูดซึมแคลเซียมได้
  • การรับประทานแคลเซียมแบบเคี้ยวได้ ควรเคี้ยวเม็ดยาให้ละเอียดก่อนกลืน
  • แคลเซียมแบบน้ำเชื่อม ควรรับประทานก่อนมื้ออาหาร จะทำให้ดูดซึมได้เร็วขึ้น และสามารถผสมกับน้ำหรือน้ำผลไม้สำหรับเด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก
  • ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเสริมร่วมกับยาอื่นใน 1-2 ชั่วโมง เพราะจะทำให้ยาอื่นออกฤทธิ์ไม่เต็มที่
  • ไม่ควรรับประทานยาหรืออาหารเสริมอื่น ๆ ที่มีปริมาณแคลเซียม ฟอสเฟต แมกนีเซียม หรือวิตามินดีสูง หากแพทย์ไม่ได้สั่งหรืออนุญาต
  • สำหรับผู้ที่กำลังรักษาภาวะแคลเซียมต่ำ ไม่ควรรับประทานแคลเซียมเสริมหลังรับประทานอาหารไฟเบอร์สูง เช่น รำข้าว ขนมปังหรือธัญพืชภายใน 1-2 ชั่วโมง อย่าดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนมากเกินหรือสูบบารากุขณะใช้ยา
  • ในกรณีที่ลืมรับประทานแคลเซียม ให้รับประทานทันที หรือข้ามไปครั้งต่อไปได้เลย อย่าเพิ่มปริมาณทดแทน
ผลข้างเคียงจากการใช้แคลเซียม
  • ผู้ที่รับประทานแคลเซียมบางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ ท้องอืด ท้องเฟ้อ และท้องผูก
  • การรับประทานอย่างต่อเนื่องในปริมาณมากอาจก่อให้เกิดโรคนิ่วในไตตามมา
  • แคลเซียมแบบฉีดอาจมีผลข้างเคียงต่อไปนี้ และหากมีอาการควรบอกแพทย์ทันที
  • เวียนศีรษะ
  • ร้อนวูบวาบตามใบหน้าหรือผิวหนัง
  • หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ผิวหนังเป็นผื่น แดง เจ็บ หรือไหม้หลังฉีดแคลเซียม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • เหงื่อออก
  • มีอาการชาคล้ายเข็มทิ่ม
  • ปัสสาวะยากหรือเจ็บเมื่อปัสสาวะ
  • ง่วงซึม




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น