ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

19 ตุลาคม 2553

พัฒนาการทางสติปัญญาของลูกน้อยวัยแรกเกิดถึง 2 ปี

ลูกถือได้ว่าเป็นเด็กนักเรียนที่ดีที่สุดเท่าที่คุณจะพึงเจอ  เขาจะตั้งอกตั้งใจเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคุณมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกวันโดยไม่มีขอบเขตใดมาจำกัดความกระหายใคร่รู้ของเขา และเขาก็ตอบสนองเป็นอย่างดีต่อสิ่งที่คุณพยายามจะให้ เพราะเขาอยากให้คุณรู้สึกพอใจ ด้วยคุณสมบัติต่างๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้คงทำให้คุณรู้สึกตื่นเต้นกับการที่ได้สอนเขาด้วยเช่นกัน ทารกต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับทุกเรื่องนับตั้งแต่เขาลืมตาดูโลก โปรดอย่าลืมว่าทารกมีประสาทสัมผัสทั้ง 6 ประเภท และเขาก็อยากเรียนรู้ให้ครบทารกมีความกระตือรือร้นอย่างสูงที่จะได้เจอะเจอ กับภาพ เสียง กลิ่น รส และสัมผัสใหม่ และเขาไม่เคยเด็กเกินกว่าที่จะเรียนรู้ เพียงแต่คุณต้องดัดแปลงวิธีและเนื้อหาของสิ่งที่จะสอนให้เหมาะกับวัยของเขา เท่านั้น ไม่ควรให้เด็กทำสิ่งที่ยากเกินอายุ เพราะจะทำให้เขาเครียดสูญเสียความมั่นใจในตนเอง และอาจรู้สึกไม่ดีกับคุณในที่สุด ควรช่วยเขาเปิดโลกทัศน์ แต่ไม่บังคับให้เขาทำในสิ่งที่คุณต้องการ คุณแม่ควรสังเกตลักษณะเฉพาะของลูก และเปิดโอกาสให้เขาแสวงหาอย่างเต็มที่
การเรียนรู้ 0-1 ขวบ

อย่าปล่อยให้ช่วย 6 สัปดาห์แรกในชีวิตของลูกคุณผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หลายๆ คนมีความคิดผิดๆ ว่าการที่ทารกไม่ค่อยเคลื่อนไหว ไม่ค่อยส่งเสียงรบกวน อันที่จริงการขาดสิ่งเร้า (เสียง ภาพ สัมผัส) จะทำให้เขาไม่สามารถมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว รวมทั้งไม่สามารถเรียนรู้ได้ จริงๆ แล้วพัฒนาการทางอารมณ์และสติปัญญาของทารกเกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา แม้ในช่วงสัปดาห์แรกๆ ของชีวิต เช่นเดียวกับการเติบโตทางกายด้านอื่นๆ ซึ่งแสดงว่าร่างกายเติบโตขึ้น เช่น น้ำหนักมากขึ้น หรือส่วนต่างๆ ของร่างกายเริ่มทำงานประสานกันมากขึ้น
บุคคลที่สำคัญที่สุดในชีวิตของทารก คือคนที่ดูแลเขามากที่สุด ซึ่งผู้ที่ทำกิจกรรมนี้ส่วนใหญ่จะเป็นคุณแม่ ดังนั้นคุณจึงถือเป็นครูคนสำคัญที่สุดในชีวิตลูก เมื่อเราโตเป็นผู้ใหญ่ เราจะเรียนรู้สิ่งที่สำคัญที่สุด และจดจำสิ่งที่เรียนได้มากที่สุด หากสิ่งนั้นถูกถ่ายทอดจากผู้ที่เราชื่นชอบและสื่อสารกันได้ดี ยิ่งถ้าเรามีความรู้สึกใกล้ชิดและเข้าใจกันและกันกับผู้ที่สอนเราด้วยแล้วก็ ยิ่งซาบซึ้งกับสิ่งที่เรียนและจดจำไปได้นานแสนนาน สิ่งที่เกิดขึ้นกับทารกก็ไม่ต่างไปจากนี้ทารกจะสามารถเรียนรู้ได้ง่ายและ เร็วขึ้นหากเขาเกิดความรู้สึกผูกพันกับครูคนแรกตั้งแต่ช่วงแรกๆ ของชีวิต นอกจากคุณแล้ว ผู้ที่จะสนิทสนมกับลูกมากเป็นลำดับต่อไปก็คือสามีของคุณ กล่าวได้ว่าผู้เป็นพ่อและแม่ควรสร้างความผูกพันอันแน่นแฟ้นกับทารกให้เร็ว ที่สุดเท่าที่จะทำได้และช่วยสอนให้เขารู้จักสิ่งต่างๆ บนโลกใบนี้
สิ่งที่คุณสอนให้กับลูกไม่จำเป็นต้องมีแบบแผน มีกฎเกณฑ์หรือมีเป้าหมายใดๆ ตายตัว ว่าลูกต้องทำอย่างนั้นอย่างนี้ให้ได้ แต่คุณควรสอนให้ลูกรู้สึกสนใจใคร่รู้ในสิ่งต่างๆ รอบตัว ให้เขาได้มีประสบการณ์ใหม่ๆ อธิบายทุกอย่างที่เห็น และให้เขาทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับคุณ คุณควรคอยกระตุ้นและสนับสนุนเขาตลอดเวลา ชมเชยลูกแม้ว่าสิ่งที่เขาทำสำเร็จจะเป็นเพียงสิ่งเล็กน้อยคอยเป็นกำลังใจ เมื่อลูกล้มเหลวผิดพลาดหากไม่มีคุณคอยอยู่เคียงข้างเด็กจะขาดความมั่นใจไป
ลูกของคุณเข้าใจอะไรได้บ้าง
ทารกแรกเกิด : ลูกจะใจจดจ่ออยู่กับใบหน้าของคุณเมื่อคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ และเขาสามารถจดจำใบหน้าของคุณได้ เมื่อลูกได้ยินเสียงคุณเขาจะสอดส่ายสายตามองหาคุณอยู่ไหน และพยายามมองตามใบหน้าของคุณ ขณะที่คุณกำลังเคลื่อนตัวเข้ามาหา เมื่อลูกอายุมากกว่า 36 ชั่วโมง และเขาจะมองออกว่าเป็นคุณ เมื่อคุณเข้ามาอยู่ในระยะไม่เกิน 30.5 เซนติเมตร จากสายตาเขา
อายุ 4 สัปดาห์ ถ้า หากคุณยื่นหน้าเข้ามาใกล้ทารกในระยะที่เขามองเห็นคุณได้ ทารกจะเฝ้ามองคุณเมื่อคุณคุยกับเขาและเขาจะพยายามเลียนแบบการพูดของคุณด้วย การเผยอปากขึ้นและลงเมื่อเขาร้องไห้เขาจะหยุดร้องเมื่อคุณอุ้มเข้าสู่อ้อมอก เพราะสำหรับทารกแล้วคุณคือผู้ที่อยู่ด้วยแล้วรู้สึกสบายใจและปลอดภัยที่สุด ในช่วงนี้ทารกจะเลียนแบบสีหน้าและการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงต่างๆ บนใบหน้าของคุณโดยเขาสามารถบังคับเนื้อบนใบหน้าให้ยิ้มและแสดงความรู้สึก ต่างๆ ได้
อายุ 6 สัปดาห์ : ทารกจะยิ้มไล่หลังคุณไป และสายตาของเขาจะมองตามของเล่นที่เคลื่อนที่ได้
อายุ 8 สัปดาห์ : ถ้าคุณถือของที่มีสีสันสดใสเหนือศีรษะทารก เขาจะเงยหน้ามองและใช้เวลาสัก 2-3 วินาทีในการปรับสายตา และจะมองจ้องวัตถุนั้นเมื่อคุณขยับของไปมา
อายุ 3 เดือน : ทารก จะมองเห็นของเล่นที่แขวนอยู่เหนือศีรษะเขาได้ทันที เขาจะยิ้มเมื่อพูดด้วยและจะส่งเสียงอ้อแอ้ตอบอย่างอารมณ์ดี ทารกจะคอยหันมองสิ่งที่เกิดขึ้นรอบๆ ตัวด้วยความอยากรู้อยากเห็น
อายุ 4 เดือน : ทารกจะแสดงความตื่นเต้นออกมาเมื่อถึงเวลาป้อนนม เขาจะหัวเราะและจะเอามือปัดป่ายไปเมื่อมีคนเล่นด้วย เขาชอบให้คุณจับนั่งจะได้เห็นสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว เมื่อได้ยินเสียงเขาจะหันไปมองทิศที่มาของเสียงนั้น
อายุ 5 เดือน : ทารกจะเริ่มเข้าใจสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น และสามารถแสดงความกลัว และความโกรธออกมา
อายุ 6 เดือน : ทารกจะเริ่มสนใจกระจกเงา และสนใจที่เห็นใบหน้าตนเองอยู่ในนั้น เขาจะเริ่มชอบอาหารบางอย่างมากเป็นพิเศษ
อายุ 8 เดือน : ทารกจะเริ่มรู้จักชื่อของตนเอง และเริ่มเข้าใจคำว่า “ไม่” เขาจะสามารถส่งเสียงเหมือนไอเบาๆ ได้เพื่อให้คุณหันมาสนใจเมื่อเขาต้องการอะไรบางอย่างทารกอาจจะเริ่มอยากรับ ประทานอาหารเองเมื่อถึงช่วงอายุนี้จะเริ่มหัดพูดแล้ว คุณควรฝึกให้ลูกพูดด้วยการมองเขา และขยับปากเป็นคำพูดทีละคำ เพื่อเขาจะเลียนแบบการขยับปากของคุณได้
อายุ 9 เดือน : ทารกจะเริ่มแสดงความปรารถนาของเขาให้คุณรับรู้ เช่น รั้งคุณไว้เมื่อคุณพยายามจะล้างหน้าให้เขา ทารกจะเริ่มแสดงความสนใจของเล่นและเกมต่างๆ อย่างจริงจัง บางครั้งเขาอาจหยิบของเล่นขึ้นมาพินิจพิจารณาดูใกล้ๆ หากมีอะไรวางบังอยู่ใต้ผ้า ทารกจะเปิดผ้าออกดูด้วยความสงสัย
อายุ 10 เดือน : ทารกเริ่มตบมือได้ โบกมือบ๊ายบายได้ เริ่มเข้าใจเลขหลักต้นๆ รวมทั้งคำพูดสั้นๆ ง่ายๆ
อายุ 11 เดือน : ทารก จะเริ่มเรียนรู้และสนุกสนานกับเกมที่เล่นง่ายๆ เขาจะชอบทิ้งหรือโยนของเล่นลงพื้นแล้วเก็บขึ้นมาใหม่ ทารกจะเริ่มส่งเสียงดัง เขาชอบหยิบของเล่นมาเขย่าให้เกิดเสียง
อายุ 12 เดือน : เขาจะพยายามทำอะไรก็ได้ให้คุณหัวเราะ แล้วก็ทำอย่างนั้นอยู่ซ้ำๆ ทารกจะเริ่มชอบดูภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ เขาจะช่วยคุณถอดเสื้อผ้าของตัวเอง โดยการช่วยยกแขนขึ้นเป็นต้น เด็กจะเริ่มรู้จักคำสั้นๆ ง่ายๆ เช่น ขวดนม อาบน้ำ ลูกบอล ดื่มน้ำ ถึงอายุนี้ลูกควรพูดคำแรกได้แล้ว
การมองลูก
คุณควรเอาหน้าเข้าไปจ่อใกล้ๆ ลูกให้เขาได้เห็นคุณตั้งแต่ช่วง 2-3 วันแรก การที่แม่และลูกได้ส่งสายตามองกันและกันเป็นสิ่งสำคัญมาก หนึ่งในสิ่งที่ทารกมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วยตั้งแต่วันแรกในชีวิต คือ ใบหน้าของมนุษย์ ทารกเกิดใหม่จะเห็นสิ่งที่เข้ามาใกล้ในระยะ 20-25 เซนติเมตรเท่านั้น คุณจึงควรขยับตัวเข้าไปใกล้ๆ เขา และทำอะไรบางอย่าง เพื่อดึงความสนใจของทารกมาที่ใบหน้าคุณ เช่น ขยับศีรษะพูด เลิกคิ้ว และที่สำคัญคือยิ้มตลอดเวลาและสบตาลูก จากการศึกษาพบว่าแม่ที่จ้องมองใบหน้าของลูก สบตาลูก ขณะที่ป้อนนมหรือเล่นกับเขา มีแนวโน้มที่จะไม่ใช้วิธีตีลูกเมื่อเขาเริ่มโตขึ้น และลูกที่มีแม่เช่นนั้นมักจะรู้จักสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดีเมื่อ เขาโตขึ้นในอนาคต นั่นคือ สร้างฐานอีคิวที่ดีนั่นเอง

การพูดคุยกับลูก
ทารกจะสื่อสารกับคุณครั้งแรกด้วยการใช้รอยยิ้มวิธีที่คุณใช้พูดคุยกับลูกอาจ เป็นดังนี้คุณยื่นหน้าเข้าไปใกล้ๆ ลูกระยะประมาณ 20-25 เซนติเมตร จากใบหน้าของเขาแล้วพูดคุยเรื่องอะไรก็ได้ให้ลูกฟังด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้ม ทารกจะเห็นว่าคุณมีท่าทีเป็นมิตร ทารกทุกคนมีสัญชาตญาณพื้นฐานของมนุษย์ที่จะตอบกลับด้วยความเป็นมิตรเช่นกัน ดังนั้นเขาจึงยิ้มตอบ คุณรู้สึกดีใจที่เขายิ้มให้จึงยิ่งยิ้มให้เขามากกว่าเดิมอีก คุณอาจหัวเราะโอบกอดและหอมแก้มเขา ทารกชอบสิ่งเหล่านี้ เขาจึงยิ้มอีกเพื่อทำให้คุณพอใจ แล้วคุณก็ยิ่งพยายามทำให้เขามีความสุขมากกว่าเดิมอีก วนเวียนไปเรื่อยๆ อย่างนี้
สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่และทารกก็คือ ทารกได้เรียนรู้ข้อเท็จจริง 2 ประการ ประการแรกเมื่อเขาส่งยิ้มไป ก็จะได้รับยิ้มตอบ และบางทีอาจได้คืนมากกว่านั้นอีก เช่น ได้คำชม มีคนกอดเขาตอบ ประการที่สอง คือ ทารกได้เรียนรู้วิธีทำให้คุณพอใจและวิธีสร้างความสัมพันธ์กับคุณ เขาได้รู้ว่าจะสามารถเริ่มกระบวนการนี้ได้อย่างไร และจะนำวิธีนี้ไปใช้กับคนอื่นๆ ด้วย เป็นที่ทราบกันดีว่าทารกที่ยิ้มเก่งคือทารกที่ฉลาดเพราะพฤติกรรมนี้แสดงให้ เห็นว่าทารกได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง คือ ถ้าเขายิ้มใครต่อใครก็จะชอบเขา และชีวิตจะมีความสุขยิ่งขึ้น ดังนั้น คุณจึงควรช่วยให้ลูกได้มีจุดเริ่มต้นที่ดีในการมีปฏิสัมพันธ์กับโลกที่อยู่ รอบๆ ตัวเขา
การอ่านหนังสือให้ลูกฟัง
เด็กๆ ชอบหนังสือ และชอบดูหนังสือตั้งแต่เล็กๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีพ่อหรือแม่พลิกหนังสือไปทีละหน้าพร้อมๆ กับเขาและอ่านข้อความในหนังสือให้ฟังดังๆ การที่ได้อ่านหนังสือด้วยกัน เป็นโอกาสที่คุณจะได้สอนลูกเกี่ยวกับเรื่องสี ตัวหนังสือและสำหรับเขาน้ำเสียงของคุณก็ช่างอ่อนโยนน่าฟังเหลือเกินในที่สุด คุณอาจจะพบว่าการอ่านหนังสือก่อนนอนพร้อมกับลูกเป็นกิจกรรมที่มีประโยชน์มาก และช่วยผ่อนคลายจิตใจหลังจากที่ผ่านอะไรๆ มาทั้งวัน ที่ดีไปกว่านั้น คือ ในภายหลังลูกอาจจะอยากดูหรืออ่านหนังสือเองโดยลำพัง ซึ่งนอกเหนือจากจะสร้างความเพลิดเพลินให้แก่เขาในช่วงนี้แล้ว ยังเป็นหนึ่งในวิธีที่เขาจะหาความสุขได้ตลอดช่วงเวลาที่เหลือของชีวิตอีก ด้วย การที่ได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ จากหนังสือตั้งแต่วัยเยาว์นั้นนับเป็นสิ่งที่ประมาณค่าไม่ได้ ยังเป็นกิจกรรมที่ดีที่จะไม่ทำให้ลูกไปติดทีวีเมื่อโตขึ้น
ขอแนะนำให้คุณเริ่มจากการซื้อหนังสือปกแข็งที่ทนทาน และข้างในมีรูปภาพสีสันสดใสให้ลูกก่อน ถ้าอยากให้มีอะไรแปลกๆ ให้ลูกบ้าง ก็ควรซื้อหนังสือที่เมื่อกางออกมาแล้ว มีภาพต่างๆ ตั้งขึ้นมาในลักษณะ 3 มิติแต่คุณต้องทำใจไว้ก่อนล่วงหน้า ว่าลูกจะยังไม่รู้จักการถนอมหนังสือพวกนี้เพราะเขายังเด็ก
ช่วงเรียนรู้ได้รวดเร็ว
อัตราการเรียนรู้และพัฒนาการของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอคงที่ บางช่วงพวกเขาจะมีพัฒนาการที่รวดเร็วมาก ในช่วงดังกล่าวเด็กจะมีความคิด ทักษะใหม่ๆ อยากรู้อยากลองทำไปเสียทุกอย่าง อย่างไรก็ดี อาจเกิดกรณีเรียนรู้ของใหม่และลืมของเก่าไปบ้างขออย่าได้วิตกกังวล เพราะการหลงลืมนี้จะเกิดขึ้นชั่วคราวเท่านั้น เด็กจะต้องใช้สมาธิมากในการเรียนรู้ทักษะใหม่เมื่อเขาเรียนรู้สิ่งใหม่ได้ แล้วความรู้ความสามารถเดิมๆ ที่จะหายไปจะกลับมา
ช่วงที่เด็กมีพัฒนาการรวดเร็ว ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะชักนำให้เขาพบกับสิ่งใหม่ๆ เพื่อเรียนรู้และเพิ่มพูนประสบการณ์ ในช่วงที่สติปัญญาของเขามีความพร้อมอย่างเต็มที่และในเวลาเดียวกัน หากเด็กมีกิจกรรมที่เขาโปรดปราน ก็ควรให้โอกาสเขาทำสิ่งเหล่านี้บ่อยๆ ด้วย พ่อแม่ไม่ควรไปจำกัดโลกทัศน์และประสบการณ์ของเด็ก โดยการเป็นผู้เลือกสิ่งต่างๆ ให้เขามากจนเกินไป ควรปล่อยให้ลูกได้เห็นอะไรกว้างๆ และให้เขาเป็นผู้เลือกเองว่าชอบอะไร แล้วเรียนรู้ในสิ่งที่เขาพอใจ
หลังจากช่วงที่เด็กมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วผ่านไป

การ เรียนรู้ของเขาจะเริ่มช้าลงขอให้ใช้ช่วงเวลานี้เป็นเสมือนการหยุดพักทบทวน สิ่งที่เรียนรู้มาและเตรียมให้เด็กก้าวเข้าสู่ช่วงการมีพัฒนาการอย่างรวด เร็วในครั้งต่อไปสิ่งที่คุณควรทำคือฝ่ายช่วยเขาทบทวนทักษะต่างๆ โดยอาจชวนให้ลูก “ร้องเพลงที่เคยร้องกันอีกครั้ง” หรือ “ลองมาเล่นจับตัวหมุดลอดลงรูกันอีกครั้ง”
ปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำ
ครูที่ดีคือครูที่คอยแนะแนวทางให้เราพัฒนาตัวเองและใช้ศักยภาพที่มีอยู่ให้ มากที่สุดโดยเน้นจุดดีและลบจุดด้อยที่มีอยู่ เมื่อคุณเป็นครูของลูกคุณก็ต้องพยายามดึงจุดเด่นของเขาออกมาใช้ให้มากที่สุด และช่วยพัฒนาจุดด้อยของเขาให้ดีขึ้น คุณมีหน้าที่ให้ความช่วยเหลือลูกเมื่อเขาต้องการ โปรดจำไว้ว่าการให้ความช่วยเหลือจะไม่มีคุณค่าใดๆ เลยหากผู้ที่ถูกช่วยเหลือไม่ต้องการหรือไม่ชอบที่คุณทำเช่นนั้นคุณจึงต้อง ช่วยลูกให้ถูกวิธี และไม่ล้ำเส้นจนกลายเป็นการบงการเขา เด็กควรจะได้เรียนรู้สิ่งที่เขาสนใจ ไม่ใช่สิ่งที่คุณต้องการให้เขาสนใจ ดังนั้นคุณจึงควรปล่อยให้ลูกเป็นฝ่ายชี้นำว่าเขาต้องการจะไปในทิศทางไหน เปรียบเทียบง่ายๆก็คือคุณหยิบเมนูอาหารส่งให้ลูก แต่ปล่อยให้เขาเลือกอาหารที่ต้องการรับประทานด้วยตนเอง
 
การเรียนรู้ 1-2 ขวบ
ในช่วงขวบปีแรก ทารกจะเรียนรู้ สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวกับด้านการควบคุม และการฝึกใช้ร่างกายของตัวเองเป็นส่วนใหญ่ เช่น การเรียนรู้วิธีคลาน วิธียืน และการก้าวเท้าซึ่งในอีกแง่หนึ่งก็คือการเริ่มพึ่งพาตนเองได้เด็กสามารถจะ เดินมาสำรวจโลกของเขาได้เองโดยไม่ต้องรอให้คุณพาเขาไป เมื่อเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 2 จะเป็นช่วงที่เขาฝึกฝนทักษะการควบคุมร่างกายให้ดีขึ้น โดยเฉพาะกล้ามเนื้อมัดเล็กๆ บริเวณมือ ใบหน้า รวมทั้งจะมีการพัฒนาด้านสติปัญญาครั้งสำคัญ
คือเด็ก สามารถถ่ายทอดสิ่งที่เขาคิดออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มีประสิทธิภาพมากกว่า เดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาเป็นคำพูดได้สมองที่มี ประสิทธิภาพมากกว่าเดิมจะช่วยให้เขาบอกเล่าความคิดและความปรารถนาออกมาให้ คุณได้รับรู้ และเมื่อถึงจุดนี้ทารกจะรู้สึกว่าเขาสามารถเป็นใครอีกคนหนึ่งที่แยกจากคุณ ได้ เขาเริ่มตระหนักถึงตัวตนของเขาเอง และเมื่อทารกถึงช่วงเวลานี้เขาจะหงุดหงิดมากมักร้องไห้งอแงบ่อยครั้ง เพราะอยู่ระหว่างความไม่แน่ใจที่จะเป็นตัวของเองหรือการกลับไปเป็นเด็กที่ ต้องพึ่งพาคุณ สิ่งที่เด็กต้องการอย่างยิ่งคือ ความรักและดูแลเอาใจใส่ รวมทั้งความเข้าใจจากคุณ ให้เริ่มฝึกฝนความเชื่อมั่นที่จะทำอะไรๆ ได้ด้วยตนเอง
พัฒนาการทางสติปัญญา
12 เดือน : ทารก ชอบดูรูปภาพในหนังสือไปพร้อมกับคุณ และชอบทำตลกให้คุณหัวเราะ เขารู้ว่าต้องยกแขนขึ้นเมื่อคุณจะสวมเสื้อให้ รู้ความหมายของคำสั้นๆ ง่ายๆ ที่ใช้บ่อยๆ เช่น รองเท้า ขวดนม อาบน้ำ รวมทั้งเขาอาจจะพูดอะไรได้สักคำสองคำ
15 เดือน : ทารก จะเริ่มแสดงให้คุณเห็นว่าเขาอยากทำอะไรเองบ้าง เช่น การหวีผม เขารู้ว่าการหอมแก้มคืออะไรและเขาจะหอมคุณเมื่อคุณขอ ทารกจะตื่นเต้นมากเมื่อเขาสามารถเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ ได้สำเร็จ และเขาอยากช่วยคุณทำงานบ้าน เช่น การปัดฝุ่น เป็นต้น เขาอาจไม่เข้าใจคำพูดทุกคำของคุณ แต่จะสามารถเข้าใจความรวมๆ ของรูปประโยคที่ซับซ้อนได้
18 เดือน : เมื่อคุณกับลูกดูหนังสือด้วยกัน เขาจะเริ่มชี้ที่รูปภาพ เช่น สุนัข ลูกบอล วัว และอาจพูดออกมาดังๆ ว่า “วัว” เป็นการแสดงความเข้าใจและความสามารถในการสื่อสารออกมา เด็กจะเริ่มรู้จักส่วนต่างๆ ของร่างกายและชี้ได้ถูก เมื่อคุณถามว่าอวัยวะต่างๆ ของตัวเขาอยู่ตรงไหน รวมทั้งเขาจะรู้ความแตกต่าง แยกแยะได้ว่าไหนคือจมูกของแม่ และไหนคือจมูกของเขา นอกจากนี้คุณยังสามารถสั่งให้เขาช่วยหยิบของให้คุณได้อีกด้วย
21 เดือน : เมื่อเด็กสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือมีปัญหาอะไร เขาจะเดินมาเรียกคุณให้ไปดู เขาจะชอบจับดินสอขึ้นมาขีดเล่น รวมทั้งเริ่มเข้าใจและปฏิบัติตามคำขอร้อง เข้าใจคำถามที่คุณถามเขา
2 ปี : เด็ก จะชอบการอยู่ลำพังและเล่นอะไรของเขาไปคนเดียว เขาจะเริ่มใช้ดินสอขีดเขียนในลักษณะเลียนแบบตัวหนังสือ เด็กจะเริ่มรู้ชื่อของ สิ่งของต่างๆ ให้ เขาจะพูดคำนั้นซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ
การเรียนรู้และการพูด

การพูดเป็นทักษะด้านสติปัญญาที่สำคัญที่สุดที่เด็กจะได้เรียนรู้ หากเด็กไม่สามารถสื่อสารได้ การเรียนรู้สิ่งอื่นๆ ต่อไปก็จะเป็นไปโดยลำบาก หรือมิฉะนั้นอาจถึงกับเป็นไปไม่ได้ การหัดพูดเป็นสิ่งที่มีความสำคัญยิ่งต่อการอยู่รอด และเด็กก็จะเรียนรู้อย่างรวดเร็วว่าเขาจะต้องสื่อสารกับผู้อื่นเพื่อความ อยู่รอดของตนเอง
การสื่อสารในช่วงแรกของเด็กไม่ได้เกิดขึ้นเป็นคำพูดหากแต่เป็นเสียงร้องไห้ การสื่อสารที่มีต่อกันระหว่างแม่ลูกมักเริ่มจากการยิ้ม และในเวลาต่อมาอาจใช้การโครงศีรษะเข้าช่วย คุณอาจสังเกตว่าลูกพยักหน้าให้เมื่อเขาต้องการบอกขอบคุณ เมื่อเด็กโตขึ้นเล็กน้อย เขาอาจไปยืนอยู่ใกล้ๆ สิ่งที่ต้องการและตะโกนเรียกความสนใจจากคุณ  จากนั้นเขาจะหันไปชี้ของที่อยากได้ บทเรียนขั้นต้นเหล่านี้ จะช่วยให้เด็กรับรู้ว่าชีวิตเขาจะง่ายขึ้นกว่านี้มาก หากสามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ ด้วยภาษาที่ทุกคนเข้าใจ และใช้คำพูดแทนการทำกิริยาท่าทาง
เมื่อเด็กเริ่มเรียนรู้เรื่องภาษา เขาจะได้เรียนรู้เรื่องของสิ่งต่างๆ รวมทั้งพฤติกรรมของผู้คนรอบตัวไปพร้อมๆ กันด้วย บ่อยครั้งที่เด็กพยายามเดาความหมายของคำจากประโยคที่เขาได้ยินโดยรวมและน้ำ เสียงที่ผู้พูดใช้ เวลาเด็กใช้คำเรียกอะไร มักเป็นคำที่เขาต้องการใช้แทนความหมายของคนหรือสิ่งของที่กว้างๆ กว่าที่ผู้ใหญ่กำหนดขึ้นมาใช้กัน เช่น เด็กอาจะเรียกผู้ชายทุกคนที่เขาพบว่า “พ่อ” เพราะเด็กรู้จักคำว่าพ่อจากการอยู่กับผู้ชายที่เขารักที่บ้าน
แต่ เด็กยังไม่เข้าใจว่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวเขากับผู้ชายคนนี้ เด็กอาจเรียกผลไม้ทุกชนิดที่เจอว่า ม้าม่วง (มะม่วง) เพราะนั่นคือผลไม้ชนิดแรกที่เขารู้จัก อย่างไรก็ดี ในที่สุดเด็กจะสามารถแยกรถยนต์ออกจากรถบรรทุกได้ หรือแยกสุนัขออกจากแมวได้ แม้ว่าตัวจะพอกัน รูปร่างคล้ายกันและมีหางเหมือนกันหากคุณสอนให้เขารู้จักสิ่งเหล่านี้ซ้ำๆ
การพูดคุยกับลูก
โปรดพูดคุยกับลูกให้มาก เมื่อเด็กต้องการอะไรสักอย่างหนึ่งคุณควรบอกเขาว่าคุณเข้าใจที่เขาพูดและหา สิ่งนั้นมาให้พร้อมกับเรียกชื่อสิ่งของนั้นให้เขาฟังชัดๆ อย่าพูดกับลูกโดยไม่มองหน้า เพราะเขาต้องการความสนใจจากคุณ ขอให้หยุดสิ่งที่กำลังทำอยู่และตั้งใจฟังเขา ในช่วงแรกเด็กจะยังไม่เข้าใจความหมายบางคำทุกคำ แต่เขาจะพยายามเดาเอาจากประโยคทั้งหมดดังนั้นคุณจะต้องพยายามช่วยให้เขาเดา เรื่องราวต่างๆ ได้ง่ายขึ้น เมื่อถึงเวลาเข้านอนในตอนกลางคืน สองคนแม่ลูกควรช่วยกันเก็บของเล่นเข้าที่ให้เรียบร้อยเดินไปที่ประตูห้อง นั่งเล่น แล้วพูดว่า “ได้เวลานอนแล้วลูก” จากนั้นก็จับมือเขา พาเดินไปหัวนอน แม้เด็กจะไม่รู้จักคำพูดที่คุณใช้สักคำ เขาก็จะเข้าใจความหมายได้ว่าคุณจะให้เขาทำอะไร
คุณจะเป็นผู้ช่วยเหลือลูกได้มากในช่วงที่เขาหัดพูด เด็กชอบฟังเสียงสูงๆ ต่ำๆ ของคำพูดและเขาก็ชอบให้คุณให้คุณสนใจเขาด้วยเช่นกัน พยายามนำเสนอทั้ง 2 สิ่งนี้แก่ลูกบ่อยๆ

ทุก ครั้งที่คุยกับเขาอย่าลืมสบตาเขาคุณอาจแสดงสีหน้าและท่าทางที่มากเกินปกติ สักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจสักหน่อยเพื่อเน้นให้ลูกเข้าใจความหมายของแต่ ละคำที่กล่าวออกมานอกจากนี้ยังอาจใช้น้ำเสียงและการกระทำประกอบคำพูดด้วย เช่น เมื่อกล่าวว่า “ได้เวลาอาบน้ำแล้วนะลูก” ก็ให้เดินเข้าไปในห้องน้ำแล้วเปิดก๊อกน้ำเลยหรือเมื่อบอกว่า “มาหวีผมกันเถอะ” ก็ให้หยิบหวีขึ้นมาหวีผมให้ลูกทันทีเป็นการทำให้เด็กเรียนรู้รูปธรรมของสิ่ง รอบตัวไปกับทักษะทางภาษา
การเรียนรู้และการเล่นสนุก
สำหรับเด็กแล้ว การเล่นสนุกก็เปรียบเหมือนการได้เรียนรู้ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลยสำหรับเขา ขณะที่เด็กกำลังจะเล่นอยู่เขาได้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ไปพร้อมๆ และมีพัฒนาการเพิ่มมากขึ้น การเล่นสนุกช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ในหลายทาง ดังนี้
ช่วยให้เด็กได้พัฒนาทักษะการใช้มือให้ดีขึ้น ไม่ว่าเขาจะเล่นเกมเอากล่องมาซ้อนกันเป็นตึกสูง หรือการเล่นต่อจิ๊กซอว์ ตักทราย เก็บใบไม้ คุ้ยเขี่ยดิน เมื่อโตขึ้นอีกนิด กิจกรรมเหล่านี้สอนให้เด็กควบคุมมือตนเองสำหรับทำอะไรๆ ที่เขาต้องการและเมื่อโตขึ้นเขาก็จะใช้มือทำกิจกรรมต่างๆ ที่อาศัยความละเอียดอ่อนหรือทักษะมากกว่าเดิม นั่นคือ การเล่นเป็นพื้นฐานของการฝึกทำงาน

การเล่นกับเด็กคนอื่นๆ สอนให้เด็กเข้าใจความสำคัญของการเข้าสังคมกับผู้อื่น การให้เพื่อนมาที่บ้านช่วยให้เด็กลดความขี้อายและรู้จักการแบ่งปัน สอนให้เขาแก้ปัญหาด้วยตัวเองโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้ใหญ่ รวมทั้งสอนให้เขารู้จักควบคุมอารมณ์โกรธ และพฤติกรรมต่อต้านสังคม นอกจากนี้ หากเด็กมีเพื่อนสนิทเขาก็จะได้เรียนรู้ที่จะรักคนอื่น เข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น และรู้จักนึกถึงความรู้สึกของผู้อื่นบ้าง
เด็กจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับการสื่อสารและการพูดคุยขณะที่เขาเล่น โดยเฉพาะถ้าเขาจะพูดกับเด็กคนอื่นขณะที่กำลังง่วนอยู่การเล่นที่ต้องใช้ สมาธิ หรือความคิดสร้างสรรค์ การพูดคุย จะยิ่งทำได้ยากกว่าเดิม เพราะเด็กจะต้องรวบรวมความคิดที่มีเกี่ยวกับเกมและถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดที่ จะทำให้เพื่อนเข้าใจได้
การเล่นสนุกจะช่วยให้เด็กมีพัฒนาการทั้งทางด้านร่างกายและสติปัญญาทางด้าน ร่างกายนั้นเด็กจะได้ฝึกฝนให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายทำงานร่วมกันในขณะที่เขาวิ่ง กระโดด ปีน และโหนตัว นอกจากนี้ยังทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงขึ้นและได้พัฒนาประสาทการมองและการฟัง เสียง รวมทั้งเข้าใจมิติต่างๆ อีกด้วย
การเล่นที่เหมาะสำหรับเด็ก
สำหรับเด็ก แล้วการเล่นและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่เกิดควบคู่กันไปได้ ดังนั้นคุณจึงควรให้เขาเล่นเพื่อสร้างเสริมพัฒนาการต่างๆ ให้ดีขึ้นและเหมาะกับอายุในแต่ละช่วง ลูกทั้ง 4 คนของดิฉันในช่วงที่เป็นเด็กเล็กจะชอบเล่นกับน้ำมาก ไม่ว่าการเล่นน้ำในสระเล็กๆ หรือการเล่นรองน้ำที่ไหลจากก๊อกใส่ภาชนะต่างๆ ในบ้าน น้ำเป็นสิ่งที่เสริมสร้างการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ให้แก่เด็กได้เป็น อย่างดีเพราะน้ำมีคุณสมบัติหลายอย่าง เช่น น้ำทำให้ของต่างๆ เปียก น้ำไหลได้ นำมาใส่ภาชนะต่างๆ ก็เปลี่ยนรูปไปตามภาชนะนั้นได้ เข้าออกได้ มีฟองลอยบนผิวน้ำได้ สิ่งของบางอย่างเมื่อใส่ลงในน้ำอาจจมได้ น้ำอาจเปลี่ยนสีได้เมื่อใส่ผักบางชนิดลงไป ถ้าก๊อกรั่วจะมีหยดน้ำหยดลงมา และอุ้งมือของเรามักจะเก็บไว้ไม่อยู่ เป็นต้น
การเล่นดินน้ำมันเป็นสิ่งที่เหมาะกับเด็กเช่นกัน เด็กจะรู้สึกว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจมาก เพราะดินน้ำมันเอามาปั้นเป็นรูปต่างๆ ได้ และคงอยู่ในรูปเช่นนั้นไว้ หรือถ้าอยากปั้นอย่างอื่นก็สามารถเอามาปั้นเป็นก้อนกลมๆ และทำให้เป็นรูปเป็นร่างอื่นต่อไป
ทรายเป็นวัสดุอีกประเภทหนึ่งที่น่าเรียนรู้ เพราะเป็นของที่อยู่ตรงกลางระหว่างของแข็งและของเหลว เมื่อจับทรายจะรู้สึกว่าเป็นเม็ดมันแข็ง แต่ก็สามารถเปลี่ยนรูปร่างได้ตามภาชนะที่ใส่ เมื่อทรายนั้นเปียกเราอาจจะตักทรายอัดใส่ให้แน่นเมื่อคว่ำออกมา ทรายก็สามารถคงรูปร่างเหมือนกระป๋องนั้นไว้ได้ และทรายกองนั้นก็อาจทลายลงมาได้เมื่อมันแห้งลง

สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ในช่วงขวบปีที่ 2 คือ การแยกประเภทของสิ่งต่างๆ โดยเริ่มมองเห็นความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งของ คุณอาจสร้างเสริมการเรียนรู้ในลักษณะนี้แก่เด็กได้โดยใช้ของเล่นเป็นสื่อ เช่นอาจมีชุดตุ๊กตาเล็กๆ ของฟาร์มปศุสัตว์ให้ลูกเล่น ในชุดของเล่นอาจประกอบด้วย ม้า วัว และไก่ ทำให้เด็กเข้าใจว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสัตว์เหมือนกัน แต่มีชื่อเรียกต่างกันตามลักษณะเฉพาะของแต่ละพวก คุณควรช่วยอธิบายความเหมือนและความต่างให้ลูกฟังและเรียกชื่อสัตว์สิ่งของ ต่างๆ ให้เขาฟังซ้ำๆ เวลาแยกประเภทให้ดู และอาจนำการสอนแบบนี้ไปใช้กับเรื่องผลไม้ รถ และสิ่งของอย่างอื่นได้อีกและอย่าลืมถ้ามีโอกาสต้องพาไปดูของจริงด้วย
เด็กจะชอบเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมภายในบ้านเขาจะได้เรียนรู้อะไรอีกมากมาย หากคุณยอมให้เขาเข้าร่วมกิจกรรมด้วย คุณอาจให้เขาช่วยตักแป้งอบขนมให้ ให้เขายกจานที่รับประทานแล้วนำมาไว้ที่อ่างล้างจาน รวมทั้งหาแปรงปัดกวาด และที่โกยผงอันเล็กๆ ให้เขาช่วยคุณทำความสะอาดบ้าน
คุณอาจจะเอาเสื้อผ้า เครื่องแบบ หมวก และรองเท้าที่ไม่ใช้แล้วมาเก็บไว้ในกล่องใหญ่ๆ สักใบหนึ่งเอาไว้ให้ลูกใส่เล่น เด็กส่วนใหญ่จะสนุกกับการเล่นแต่งตัวเลียนแบบผู้อื่น และสิ่งที่นับเป็นก้าวสำคัญสำหรับเขาเพราะเด็กจะเริ่มรับรู้ว่าในโลกนี้ยัง มีคนอื่นๆ อยู่ด้วยอีกมากและเขาจะต้องพบเจอกับคนเหล่านั้น แนวคิดดังกล่าวจะเป็นที่เข้าใจได้สำหรับเด็ก หากคุณเริ่มจากการให้เขาเล่นแต่งตัวเลียนแบบคนอื่น
เด็กๆ ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงต่างก็ชอบตุ๊กตา ตุ๊กตาเป็นเสมือนเพื่อนในจินตนาการของพวกเขา และช่วยให้เขาสร้างโลกส่วนตัว

ใน ขณะที่เด็กเล่นกับตุ๊กตาเขากำลังเลียนแบบอารมณ์ความรู้สึกของมนุษย์ไปด้วย โดยปฏิบัติกับตุ๊กตาราวกับมันเป็นสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะพูดคุยด้วย แต่งตัวให้ พาไปนอน และหอมแก้มก่อนบอกราตรีสวัสดิ์ อันที่จริงการกระทำเหล่านี้เป็นการเลียนแบบสิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ กับชีวิตของเด็ก เขาพยายามจะเรียนรู้และเข้าใจสิ่งเหล่านี้ และเชื่อมโยงการกระทำดังกล่าวกับผู้คนที่อยู่รอบข้าง
ก่อนที่เด็กจะเขียนหนังสือได้หรือวาดรูปได้ เขาจะเริ่มจากการจับไม้มาขีดเขียนบนพื้นดิน หรือหยิบดินสอสีต่างๆ ขึ้นมาขีดๆ เขียนๆ เล่นเสียก่อน ควรหาชอร์คสี กระดานดำ และขาตั้งขนาดสูงเท่ากับตัวเด็กมาไว้ใช้ที่บ้าน เพราะเขาจะได้วาดๆ ลบๆ ได้ตามใจชอบ นอกจากนี้คุณอาจหากระดาษแผ่นใหญ่มาวางไว้ติดที่ขาตั้ง และซื้อสีเทียนหรือสีชอร์คมาให้เด็กวาดภาพระบายสี ถ้าคุณไม่อยากซื้ออุปกรณ์เหล่านี้ คุณก็สามารถทำขึ้นมาใช้เองได้ การระบายสีลงบนตัวของเด็กเองก็เป็นเรื่องน่าสนุกเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีเพื่อนๆ มาร่วมเล่นด้วย
เด็กส่วนใหญ่ชอบเสียงเพลงและชอบให้คุณร้องเพลงให้เขาฟังตั้งแต่ช่วงแรกเกิด เด็กหลายๆ คนฮัมเพลงโปรดของตัวเองได้เป็นเวลานานก่อนที่จะพูดได้ด้วยซ้ำ เมื่อลูกเริ่มโตขึ้นคุณอาจซื้อเครื่องดนตรีที่เป็นของเล่นเด็กให้ เช่น เปียโน นิ้งหน่อง หรือเครื่องดนตรีอื่นๆ เพื่อให้เขาได้เล่นดนตรีตามแบบพวกเขาเอง คุณอาจช่วยกระตุ้นให้เขาเล่นด้วยการร่วมร้องรำทำเพลงไปด้วย ซึ่งก็จะทำให้ลูกรู้สึกสนุกสนานยิ่งขึ้น
วิธีที่จะช่วยให้ลูกเรียนรู้ได้ดีที่สุด คือ คุณควรร่วมทำกิจกรรมต่างๆ กับเขาด้วย และอาจช่วยให้คำแนะนำและแสดงให้เขาดูว่าจะทำกิจกรรมเหล่านั้นได้อย่างไรบ้าง และจะต้องทำอย่างมีศิลปะไม่ให้ลูกรู้สึกว่าคุณเข้ามายุ่งก้าวก่ายกับเขามาก เกินไป เกมที่ลูกเล่นมักจะต้องมีคนเล่นด้วย คุณจึงควรช่วยเล่นกับเขา เมื่อคุณว่าง และร่วมเล่นไปจนกว่าเขาจะไม่ต้องการคุณเวลาเล่นควรปล่อยให้ลูกนำ เขาอาจจะอยากให้คุณช่วยตักทรายใส่กระป๋องให้คุณไม่ควรจะช่วยเขาจับกระป๋อง ทรายคว่ำทำเป็นบ้านเด็ดขาด เพราะนั่นคือส่วนที่สนุกที่สุดที่เขาอยากทำเอง

ลูกของคุณอาจเริ่มมีช่วงสมาธิยาวขึ้น แต่เขาอาจจะยังมีปัญหาเรื่องสมาธิอยู่บ้างถ้าต้องทำสิ่งที่ยากเกินไป ในกรณีนี้ควรช่วยลูกโดยแสดงให้ดูว่าควรทำอย่างไร และตั้งเป้าหมายให้เขารวมทั้งคอยให้กำลังใจลูกด้วยลูกอาจทำอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้ หากขาดกำลังใจจากคุณ แต่เมื่อเขาทำสำเร็จเขาก็จะรู้สึกว่าเป็นความภูมิใจอย่างสูง
การให้ลูกเล่นคนเดียว
พ่อแม่หลายรายคิดผิดว่าควรให้ลูกเล่นหรือทำกิจกรรมต่างๆ ตลอดเวลาที่เขาตื่น ก็คือ เขาควรจะสามารถนั่งเล่นอะไรได้เงียบๆ คนเดียว บ่อยครั้งที่เด็กอยากนั่งเล่นคนเดียว ตัดสินใจเองว่าจะเล่นอะไรไปนานสักเท่าไร ควรปล่อยให้เขานั่งเล่นเองไปเรื่อยๆ จนถึงช่วงที่ต้องทำสิ่งที่ยากจนทำไม่ได้ และหันมาขอความช่วยเหลือจากคุณ หากเขาไม่ได้ร้องขอไม่ควรเข้าไปยุ่งเพราะจะทำให้เด็กหมดสนุกจนเลิกเล่นไปเลย และไม่ได้เห็นว่าสิ่งที่เขากำลังทำอยู่นั้น เมื่อสร้างเป็นรูปเป็นร่างแล้วจะออกมามีหน้าตาอย่างไร ซึ่งส่งผลให้เด็กไม่ได้มีประสบการณ์เรื่องความภาคภูมิใจกับความสำเร็จของตัว เองอย่างที่เขาควรจะมี
ความเข้าใจผิดอีกประการหนึ่ง คือ คนทั้งหลายมักคิดว่าเด็กจะต้องเล่นของเล่นเสมอ ในความเป็นจริงแล้วเด็กสามาให้ทำกิจกรรมได้มากมายหลายอย่างโดยไม่ต้องใช้ของ เล่นเลย เช่น การไปออกกำลังกาย ว่ายน้ำ ปีนเนินเตี้ยๆ วิ่งเล่นตีแบด เล่นบอล สร้างแคมป์จากกิ่งไม้และใบไม้ ตักน้ำใส่ลงในหลุมทราย เก็บก้อนกินหรือเปลือกหอยเล่น เป็นต้น และคุณควรปล่อยให้ลูกเล่นไปตามประสาของเขาให้เขามีความเป็นตัวของตัวเอง หากไม่หัดให้เขาอยู่ได้โดยลำพังบ้าง ลูกจะรู้สึกแย่มากในเวลาที่คุณไม่อยู่ และอาจนำไปสู่พัฒนาการถดถอย หรือการทำสิ่งที่เป็นอันตรายต่อตัวเขาเอง เป็นต้น
ดังนั้นคุณควรพอใจ เมื่อลูกมีความเป็นตัวของตัวเองและเขาไม่ได้ต้องการพึ่งพาคุณตลอดเวลา รวมทั้งมีความสุขได้ในยามที่ต้องเล่นอยู่คนเดียว
อย่างไรก็ดี เมื่อปล่อยให้ลูกเล่นคนเดียว คุณเองก็ต้องเตรียมทำใจกับความเลอะเทอะเปรอะเปื้อนที่จะตามมาเอาไว้ด้วยเช่น กัน พยายามป้องกันความเลอะเทอะล่วงหน้าเท่าที่พอจะทำได้ เช่น ถ้าลูกเล่นน้ำให้หาผ้าขนหนูมาปูซับน้ำ ถ้าลูกวาดภาพระบายสีให้เอาผ้าพลาสติกมาปูทับพื้นเอาไว้ ถ้าลูกเล่นปั้นดินปั้นโคลนควรใส่ผ้ากันเปื้อนให้เขา ลูกอาจเล่นจนเลอะเทอะไปถึงข้อศอกหน้าตาและผมเผ้าเปรอะเปื้อน ซึ่งก็ให้คอยล้างออกให้เขาภายหลังและไม่ควรหงุดหงิดกับเรื่องเหล่านี้.

1 ความคิดเห็น:

  1. พัฒนาการด้านการรับรู้และสังคม

    วัยแรกเกิด
    -มองจ้องหน้าที่อยู่ในระยะใกล้ (8-10 นิ้ว)
    - มองตามการเคลื่อนไหวของหน้าที่เอียงไปมาช้าๆ
    - หยุดการเคลื่อนไหวแขนขา เมื่อได้ยินเสียง หรือสะดุ้ง เมื่อได้ยินเสียง
    อายุ 2 เดือน
    - มองจ้องหน้าและมองตามได้บ่อยและนานขึ้น รู้จักเลียนแบบหน้าตา และทำปากตาม
    - สนใจฟังเสียงพูดคุย อาจขยับตัวตามจังหวะ
    อายุ 4 เดือน
    - สนใจมองคนหรือสิ่งของที่อยู่ไกลจากตัวไป สนใจมองตามคนที่คุ้นเคย
    - สนใจฟังเสียงพูดคุยด้วย และเริ่มส่งเสียงอ้อแอ้โต้ตอบสลับกับผู้เลี้ยงดู
    - หันมองหาข้างที่มีเสียง และแหล่งของเสียงได้ถูกต้อง
    อายุ 6 เดือน
    - มองสิ่งของและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น พยายามไขว่คว้า หยิบจับ เพื่อสำรวจพลิกดู เอาเข้าปาก
    - เริ่มสังเกตสิ่งที่มองเห็นเมื่อถูกบังไว้ และแยกแยะคนแปลกหน้า
    - เริ่มรับรู้มิติที่ 3 คือ ความลึก เริ่มมองตามของที่ตกลงจากมือสู่พื้น
    - ฟังเสียงพูดคุย และเริ่มเข้าใจท่าทางและสำเนียง เช่น หยุดเมื่อถูกห้าม
    - กินอาหารกึ่งเหลวที่ป้อนด้วยช้อนได้
    อายุ 9 เดือน
    - เล่นจ๊ะเอ๋ได้ ตามไปเก็บของที่ตก หรือร้องตามแม่เมื่อแม่จะออกไปจากห้อง
    - หยิบอาหารกินเองได้
    อายุ 12 เดือน
    - ตบมือ เลียนท่าทางโบกมือ ร่วมมือเวลาแต่งตัว และชอบสำรวจ

    การส่งเสริมพัฒนาการด้านการรับรู้

    1. ให้พ่อแม่สังเกตพฤติกรรมของทารกแรกเกิด และความสามารถในการรับรู้จากการมอง การฟัง การสัมผัสและการตอบสนอง

    2. ให้พาลูกมารับบริการสุขภาพ และใช้ประโยชน์จากสมุดบันทึกสุขภาพ ตามกำหนด

    3. คอยเอาใจใส่เด็กและดูแลใกล้ชิด อุ้มทารกให้หันหน้ามาสบตากันเป็นระยะ 8-10 นิ้ว ยิ้มแย้ม พูดคุยกับทารกอย่างอ่อนโยน และติดตามเฝ้าระวัง สังเกต ความก้าวหน้าของพฤติกรรมพัฒนาการของลูกอย่างต่อเนื่อง

    4. จัดสิ่งแวดล้อมและกิจกรรมการเลี้ยงดูทารกให้มีความปลอดภัย และน่าสนใจ มีคนที่อยู่ใกล้ชิด ดูแลด้วยความรัก เอาใจใส่อย่างสม่ำเสมอ มีคนที่สนใจ มีปฏิสัมพันธ์กับเด็ก พูดคุยอย่างชัดถ้อยชัดคำ ร้องเพลง ทำท่าทางให้เด็กเลียนแบบ และเรียนรู้ และเล่นกับเด็กและมีสิ่งของที่สีสดใสรูปทรงต่างๆที่น่าสนใจ ให้เด็กมอง สัมผัส จับต้อง และสำรวจ

    พัฒนาการด้านภาษา

    แรกเกิด-1 เดือน - ร้องไห้ หยุดฟังเสียง, ทำเสียงในคอ

    อายุ 2 เดือน - ฟังเสียงคุยด้วยแล้วหันหาเสียง

    อายุ 4 เดือน - ส่งเสียงอ้อแอ้ โต้ตอบ หัวเราะ ส่งเสียงแหลมรัว เวลาดีใจ สนุก

    อายุ 6 เดือน - หันหาเสียงเรียก เล่นน้ำลาย ส่งเสียงหลายเสียง

    อายุ 9 เดือน - ฟังรู้ภาษาและเข้าใจสีหน้าท่าทางได้ เปล่งเสียงเลียนเสียงพยัญชนะ แต่ไม่มีความหมาย

    อายุ 12 เดือน - เรียกพ่อ แม่ หรือพูดคำโดดที่มีความหมาย 1 คำ ทำตามคำสั่งที่มีท่าทางประกอบได้

    การส่งเสริมพัฒนาการด้านภาษา

    แรกเกิด-6 เดือน :

    ควรมีการเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและมีการพูดคุยส่งเสริมให้มีพัฒนาการทางภาษาอย่างเหมาะสมตั้งแต่แรกหลังเกิด โดยเฉพาะขณะที่ให้การดูแลเรื่องทั่วๆไปในชีวิตประจำวัน เด็กทารกมักมีความสนใจเสียงที่ค่อนข้างแหลม เสียงสูงๆต่ำๆ ซึ่งหากผู้เลี้ยงดูจะทำน้ำเสียงให้มีลักษณะแตกต่างกันไปบ้างตามสถานการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ความหมายของการสื่อสารที่บอกถึงอารมณ์ความรู้สึกแตกต่างกันไปของผู้พูด อย่างไรก็ตามการใช้ภาษาเด็กพูดคุยกับเด็กควรจะค่อยๆลดลงภายหลังอายุ 6 เดือน การสื่อสารด้วยภาษาอย่างที่ใช้กับเด็กโตหรือผู้ใหญ่เพิ่มมากขึ้นจะค่อยๆช่วยให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาในระยะต่อไปอย่างดี

    อายุ 7-12 เดือน :
    1. ควรพูดคุยทำเสียงเล่นกับเด็กและพูดเป็นเสียงของคำที่มีความหมาย ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นคำเรียกพ่อหรือแม่หรือผู้เลี้ยงดูที่ใกล้ชิดกับเด็ก
    2. พูดสอนหรือบอกให้เด็กทำสิ่งต่างๆอย่างง่ายๆพร้อมกับมีกิริยาทำท่าประกอบควบคู่กันไป จะช่วยให้เด็กเข้าใจสิ่งที่ต้องการผู้ใหญ่ต้องการสื่อสารได้ง่ายขึ้น
    3. พ่อแม่อาจไม่จำเป็นต้องพูดสอนหรือบอกเฉพาะคำศัพท์เดี่ยวๆคำใดคำหนึ่งเท่านั้น การพูดโดยมีคำขยายเพิ่มเติมก็จะเป็นการสอนให้เด็กเข้าใจความหมายของภาษาที่พูดคุยมากขึ้นแม้อาจจะยังพูดไม่ได้ทั้งหมด เช่น พ่อมา หมาเห่า เป็นต้น
    4. เมื่อเด็กพูดคุยด้วยภาษาเด็กที่แม้จะฟังไม่เข้าใจ แต่ถ้าผู้เลี้ยงดูสามาถคาดเดาได้จากสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้น ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยเป็นคำที่มีความหมายกับเด็กเพื่อเป็นแบบอย่างสอนให้เด็กเข้าใจต่อไป
    5. ผู้เลี้ยงดูควรพูดคุยกับเด็กเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เด็กสนใจ พูดบอกหรืออธิบายอย่างสั้นๆและคอยสังเกตการตอบสนองของเด็ก

    ตอบลบ