Nouns
Learn English - Nouns Tutorial
คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่
ประเภทของคำนาม โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของคำนามได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ วิสามานยนาม, สามานยนาม, และ สมุหนาม ดังจะอธิบายต่อไปนี้
1.วิสามานยนาม (Proper Noun) หมายถึง คำที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยทั่วไปคำเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วย ตัว พิมพ์ใหญ่และจะไม่มีการผันพจน์ ได้แก่ ชื่อบุคคล อาทิ Chawin Varnabhumi, ชื่อตำแหน่ง, หรือชื่อสถานที่ อาทิ Bangkok, Thailand เป็นต้น
2.สามานยนาม หรือคำนามทั่วไป (Common Noun) หมายถึง คำทั่วไปที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยมิได้เป็นชื่อ เฉพาะ เช่น a man, a cat, a pen, a lavatory เป็นต้น เราสามารถแบ่งสามานยนามออกเป็น 2 กลุ่มย่อยๆ คือ นามที่นับได้ และนาม ที่นับไม่ได้
นามที่นับได้ (Countable Noun) หมายถึง นามที่เราสามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นๆได้ด้วยสายตา เช่น a boy, a girl, a cat, a lavatory เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นกลุ่มนามที่สามารถทำให้เป็นพหูพจน์ได้ เช่น boys, girls, cats, lavatories เป็นต้น สามารถอยู่ทั้ง ในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้
นามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) หมายถึง นามที่เราไม่สามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นได้ เช่น water หรือหากแยกได้ก็ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น rice ทั้งนี้รวมทั้งอาการนามต่างๆด้วย โดยทั่วไปแล้ว คำเหล่านี้จะจัดเป็นเอกพจน์
3.สมุหนาม หรือนามบอกหมวดหมู่ (Collective Noun) หมายถึง นามที่บ่งบอกถึงหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ จัดเป็นนามที่มีรูปแบบ เอกพจน์ คงเดิม “แต่นัยทางความหมายเมื่อใช้ในประโยค เป็นไปได้ทั้งนัยเอกพจน์และนัยพหูพจน์” (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, ๒๕๕๐, หน้า ๒๙) คำนามเหล่านี้ ได้แก่ army, class, family, group, crew, crowd, committee, family, government, jury, staff, audience เป็นต้น อย่างไรก็ดี คำเหล่านี้ก็อาจใช้ในรูปพหูพจน์ได้ในบางกรณี
เช่น A reading group of my faculty is cancelled.
A group of students are having a meal at the main canteen.
Many groups of students are having a meal at the main canteen.
พจน์ของคำนาม ในภาษาไทย คำนามจะไม่ผันตามพจน์ กล่าวคือ เมื่อเรากล่าวถึงคน 1 คน เราก็จะพูดว่า “หนึ่งคน” เมื่อเรากล่าวถึงคน 2 คน เราก็จะพูดว่า “สองคน” สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า คำว่า “คน” นี้ยังใช้เป็นคำเดิม...แล้วจะพูดเพื่อ?
คำตอบก็คือ เพื่อที่จะบอกว่าคำนามในภาษาอังกฤษจะแปรผันตามพจน์ซึ่งต่างจากในภาษาไทย กล่าวคือ ถ้าเรากล่าวถึงคน 1 คน เราจะ ต้องพูดว่า “One man” (or “a man”) แต่ถ้าเราจะกล่าวถึง คน 2 คน เราจะต้องพูดว่า “Two men”
พจน์ของคำนามนั้นแบ่งออกได้เป็น นามเอกพจน์ (คือคำนามที่จะกล่าวถึงเพียงสิ่งเดียว อันเดียว) ซึ่งต้องตามหลังคำนำหน้านามเสมอ เช่น a man, a girl, a book เป็นต้น และนามพหูพจน์ (คือนามที่จะกล่าวถึงมากกว่าหนึ่งสิ่ง) เช่น men, girls, books เป็นต้น
หลักทั่วไปในการผันคำนามเป็นรูปพหูพจน์ที่ควรรู้ (ย้ำนะว่า “แค่ที่ควรรู้” เพราะจริงๆแล้วรายละเอียดมันเยอะมากๆ) มีดังต่อไปนี้
1. หลักทั่วไป เติม “s” ท้ายคำนามเอกพจน์
เช่น man men
girl girls
book books
คำยกเว้น child children
2. คำที่ลงท้ายด้วย –s, -sh, -ss, -ch, -x ให้เติม "es" ท้ายคำ
เช่น bus buses
bush bushes
glass glasses
watch watches
box boxes
คำยกเว้น ox oxen
3. คำที่ลงท้ายด้วย –o ก็ให้เติม “es” ท้ายคำ แต่ถ้าหน้า –o เป็นสระ ให้เติม “s” ท้ายคำ
เช่น tomato tomatoes
potato potatoes
mango mangoes
แต่ kangaroo kangaroos
zoo zoos
radio radios
stereo stereos
photo photos
piano pianos
memento mementos
คำยกเว้น dynamo dynamos (ไม่ได้มีแค่นี้ยกมาแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้น)
4. คำที่ลงท้ายด้วย –y ให้ (๑)เปลี่ยน y เป็น i (๒)แล้วเติม "es" แต่ ถ้าหน้า y เป็นสระ จะเติม s ได้เลย
เช่น baby babies
sixty sixties
city cities
แต่ toy toys
boy boys
5. คำที่ลงท้ายด้วย –f หรือ –fe ให้ (๑)เปลี่ยน f,fe เป็น v (๒)แล้วเติม "es"
เช่น thief thieve
wife wives
wolf wolves
life lives
ยกเว้น chief chiefs
belief beliefs
dwarf dwarfs
roof roofs
proof proofs
6. คำเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปสระภายในคำเมื่อเป็นพหูพจน์
เช่น man men
woman women
foot feet
tooth teeth
goose geese
mouse mice
louse lice
7. คำบางคำใช้เอกพจน์และพหูพจน์ในรูปเดียวกัน เช่น fruit, fish, salmon, dear, sheep, swine, cod เป็นต้น ( คำว่า “fruits” กับ “fishes” ก็มี แต่จะแปลว่า ผลไม้หลายพันธุ์ และปลาหลายพันธุ์ตามลำดับ)
ประเภทของคำนาม โดยทั่วไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของคำนามได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่ วิสามานยนาม, สามานยนาม, และ สมุหนาม ดังจะอธิบายต่อไปนี้
1.วิสามานยนาม (Proper Noun) หมายถึง คำที่เป็นชื่อเฉพาะของคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยทั่วไปคำเหล่านี้มักขึ้นต้นด้วย ตัว พิมพ์ใหญ่และจะไม่มีการผันพจน์ ได้แก่ ชื่อบุคคล อาทิ Chawin Varnabhumi, ชื่อตำแหน่ง, หรือชื่อสถานที่ อาทิ Bangkok, Thailand เป็นต้น
2.สามานยนาม หรือคำนามทั่วไป (Common Noun) หมายถึง คำทั่วไปที่ใช้เรียกชื่อคน, สัตว์, สิ่งของ และสถานที่ โดยมิได้เป็นชื่อ เฉพาะ เช่น a man, a cat, a pen, a lavatory เป็นต้น เราสามารถแบ่งสามานยนามออกเป็น 2 กลุ่มย่อยๆ คือ นามที่นับได้ และนาม ที่นับไม่ได้
นามที่นับได้ (Countable Noun) หมายถึง นามที่เราสามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นๆได้ด้วยสายตา เช่น a boy, a girl, a cat, a lavatory เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นกลุ่มนามที่สามารถทำให้เป็นพหูพจน์ได้ เช่น boys, girls, cats, lavatories เป็นต้น สามารถอยู่ทั้ง ในรูปเอกพจน์หรือพหูพจน์ก็ได้
นามที่นับไม่ได้ (Uncountable Noun) หมายถึง นามที่เราไม่สามารถแยกออกเป็นตัวๆ เป็นชิ้นได้ เช่น water หรือหากแยกได้ก็ ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก เช่น rice ทั้งนี้รวมทั้งอาการนามต่างๆด้วย โดยทั่วไปแล้ว คำเหล่านี้จะจัดเป็นเอกพจน์
3.สมุหนาม หรือนามบอกหมวดหมู่ (Collective Noun) หมายถึง นามที่บ่งบอกถึงหมวดหมู่ของสิ่งต่างๆ จัดเป็นนามที่มีรูปแบบ เอกพจน์ คงเดิม “แต่นัยทางความหมายเมื่อใช้ในประโยค เป็นไปได้ทั้งนัยเอกพจน์และนัยพหูพจน์” (พิณทิพย์ ทวยเจริญ, ๒๕๕๐, หน้า ๒๙) คำนามเหล่านี้ ได้แก่ army, class, family, group, crew, crowd, committee, family, government, jury, staff, audience เป็นต้น อย่างไรก็ดี คำเหล่านี้ก็อาจใช้ในรูปพหูพจน์ได้ในบางกรณี
เช่น A reading group of my faculty is cancelled.
A group of students are having a meal at the main canteen.
Many groups of students are having a meal at the main canteen.
พจน์ของคำนาม ในภาษาไทย คำนามจะไม่ผันตามพจน์ กล่าวคือ เมื่อเรากล่าวถึงคน 1 คน เราก็จะพูดว่า “หนึ่งคน” เมื่อเรากล่าวถึงคน 2 คน เราก็จะพูดว่า “สองคน” สิ่งที่ต้องสังเกตก็คือว่า คำว่า “คน” นี้ยังใช้เป็นคำเดิม...แล้วจะพูดเพื่อ?
คำตอบก็คือ เพื่อที่จะบอกว่าคำนามในภาษาอังกฤษจะแปรผันตามพจน์ซึ่งต่างจากในภาษาไทย กล่าวคือ ถ้าเรากล่าวถึงคน 1 คน เราจะ ต้องพูดว่า “One man” (or “a man”) แต่ถ้าเราจะกล่าวถึง คน 2 คน เราจะต้องพูดว่า “Two men”
พจน์ของคำนามนั้นแบ่งออกได้เป็น นามเอกพจน์ (คือคำนามที่จะกล่าวถึงเพียงสิ่งเดียว อันเดียว) ซึ่งต้องตามหลังคำนำหน้านามเสมอ เช่น a man, a girl, a book เป็นต้น และนามพหูพจน์ (คือนามที่จะกล่าวถึงมากกว่าหนึ่งสิ่ง) เช่น men, girls, books เป็นต้น
หลักทั่วไปในการผันคำนามเป็นรูปพหูพจน์ที่ควรรู้ (ย้ำนะว่า “แค่ที่ควรรู้” เพราะจริงๆแล้วรายละเอียดมันเยอะมากๆ) มีดังต่อไปนี้
1. หลักทั่วไป เติม “s” ท้ายคำนามเอกพจน์
เช่น man men
girl girls
book books
คำยกเว้น child children
2. คำที่ลงท้ายด้วย –s, -sh, -ss, -ch, -x ให้เติม "es" ท้ายคำ
เช่น bus buses
bush bushes
glass glasses
watch watches
box boxes
คำยกเว้น ox oxen
3. คำที่ลงท้ายด้วย –o ก็ให้เติม “es” ท้ายคำ แต่ถ้าหน้า –o เป็นสระ ให้เติม “s” ท้ายคำ
เช่น tomato tomatoes
potato potatoes
mango mangoes
แต่ kangaroo kangaroos
zoo zoos
radio radios
stereo stereos
photo photos
piano pianos
memento mementos
คำยกเว้น dynamo dynamos (ไม่ได้มีแค่นี้ยกมาแค่เป็นตัวอย่างเท่านั้น)
4. คำที่ลงท้ายด้วย –y ให้ (๑)เปลี่ยน y เป็น i (๒)แล้วเติม "es" แต่ ถ้าหน้า y เป็นสระ จะเติม s ได้เลย
เช่น baby babies
sixty sixties
city cities
แต่ toy toys
boy boys
5. คำที่ลงท้ายด้วย –f หรือ –fe ให้ (๑)เปลี่ยน f,fe เป็น v (๒)แล้วเติม "es"
เช่น thief thieve
wife wives
wolf wolves
life lives
ยกเว้น chief chiefs
belief beliefs
dwarf dwarfs
roof roofs
proof proofs
6. คำเหล่านี้จะเปลี่ยนรูปสระภายในคำเมื่อเป็นพหูพจน์
เช่น man men
woman women
foot feet
tooth teeth
goose geese
mouse mice
louse lice
7. คำบางคำใช้เอกพจน์และพหูพจน์ในรูปเดียวกัน เช่น fruit, fish, salmon, dear, sheep, swine, cod เป็นต้น ( คำว่า “fruits” กับ “fishes” ก็มี แต่จะแปลว่า ผลไม้หลายพันธุ์ และปลาหลายพันธุ์ตามลำดับ)
เพศของคำนาม ก่อนอื่นต้องบอกก่อนว่า ผู้อ่านคงไม่ต้องตกใจอะไรมาก เพราะจริงๆแล้วคำในภาษาอังกฤษมันไม่ได้มีเพศสภาพ (genders) หรอกครับ เหมือนภาษาไทยเรานี่แหละครับ เช่น ถ้าจะบอกว่า “คุณหมอตัวสูง” (The doctor is tall) เราก็จะไม่มีทางรู้ได้ เลยว่าคุณหมอคนนั้นเป็นเพศชาย หรือเพศหญิง เพราะคำว่า “คุณหมอ” หรือ “doctor” นี้ไม่ได้บ่งเพศสภาพไว้นั่นเอง (แต่ในภาษา อังกฤษ มักจะหมายถึงหมอผู้ชาย)
อย่างไรก็ดี ในภาษาที่ไม่มีเพศอย่างภาษาไทยและอังกฤษ ก็มีการใช้คำเพื่อบ่งชี้เพศได้เหมือนกัน เช่น ในภาษาไทย เราจะคำว่า “ นาย แพทย์ ” กับ “ แพทย์หญิง ” ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ doctor เป็นเพศชาย เมื่อพูดว่า doctor จึงแปลได้ว่า “ นาย แพทย์ ” แต่ถ้าเราต้องการจะพูดว่า “ แพทย์หญิง ” เราก็ต้องพูดว่า “a woman doctor” ซึ่งไอ้วิธีทำให้นามเป็นเพศชายหญิง และการ บ่งเพศนี่แหละที่เราจะพูดถึงกันในตอนนี้
การแสดงรูปแบบเป็นชาย และเป็นหญิงในภาษาอังกฤษ สามารถกระทำได้ ดังนี้
1. แสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยการเติม “-ess” ท้ายคำ หรือเปลี่ยนแปลงคำไปจากเดิม แต่ยังคงมี “-ess” อยู่ท้ายคำ
เช่น actor actress
host hostess
prince princess
Duke Duchess
lion lioness
(จริงๆแล้วยังมีการเติม –ine, -trix, -a ท้ายคำเพื่อแสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยนะครับ)
2. แสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยการเติม woman- ไว้ขยายข้างหน้าคำนาม และแสดงรูปแบบเป็นชายด้วยการเติม male- ไว้ขยายข้าง หน้าคำนาม โดยเฉพาะในงานอาชีพบางชนิดที่ธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมเป็นของกลุ่มเพศหนึ่งเท่านั้น
เช่น male secretary (เลขานุการชาย) secretary (เลขานุการหญิง)
male nurse (บุรุษพยาบาล) nurse (นางพยาบาล)
doctor (นายแพทย์) woman-doctor (แพทย์หญิง)
3. ใช้คำเฉพาะเพื่อแสดงเพศไปเลย
เช่น man (ผู้ชาย) woman (ผู้หญิง)
boy (เด็กผู้ชาย) girl (เด็กผู้หญิง)
bull (พ่อวัว) cow (แม่วัว)
cock (พ่อไก่) hen (แม่ไก่)
มีอีกหลายคำเลยนะครับที่ใช้แยกเพศแบบนี้
อย่างไรก็ดี ในภาษาที่ไม่มีเพศอย่างภาษาไทยและอังกฤษ ก็มีการใช้คำเพื่อบ่งชี้เพศได้เหมือนกัน เช่น ในภาษาไทย เราจะคำว่า “ นาย แพทย์ ” กับ “ แพทย์หญิง ” ส่วนในภาษาอังกฤษนั้น เนื่องจากส่วนใหญ่ doctor เป็นเพศชาย เมื่อพูดว่า doctor จึงแปลได้ว่า “ นาย แพทย์ ” แต่ถ้าเราต้องการจะพูดว่า “ แพทย์หญิง ” เราก็ต้องพูดว่า “a woman doctor” ซึ่งไอ้วิธีทำให้นามเป็นเพศชายหญิง และการ บ่งเพศนี่แหละที่เราจะพูดถึงกันในตอนนี้
การแสดงรูปแบบเป็นชาย และเป็นหญิงในภาษาอังกฤษ สามารถกระทำได้ ดังนี้
1. แสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยการเติม “-ess” ท้ายคำ หรือเปลี่ยนแปลงคำไปจากเดิม แต่ยังคงมี “-ess” อยู่ท้ายคำ
เช่น actor actress
host hostess
prince princess
Duke Duchess
lion lioness
(จริงๆแล้วยังมีการเติม –ine, -trix, -a ท้ายคำเพื่อแสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยนะครับ)
2. แสดงรูปแบบเป็นหญิงด้วยการเติม woman- ไว้ขยายข้างหน้าคำนาม และแสดงรูปแบบเป็นชายด้วยการเติม male- ไว้ขยายข้าง หน้าคำนาม โดยเฉพาะในงานอาชีพบางชนิดที่ธรรมเนียมปฏิบัติแต่เดิมเป็นของกลุ่มเพศหนึ่งเท่านั้น
เช่น male secretary (เลขานุการชาย) secretary (เลขานุการหญิง)
male nurse (บุรุษพยาบาล) nurse (นางพยาบาล)
doctor (นายแพทย์) woman-doctor (แพทย์หญิง)
3. ใช้คำเฉพาะเพื่อแสดงเพศไปเลย
เช่น man (ผู้ชาย) woman (ผู้หญิง)
boy (เด็กผู้ชาย) girl (เด็กผู้หญิง)
bull (พ่อวัว) cow (แม่วัว)
cock (พ่อไก่) hen (แม่ไก่)
มีอีกหลายคำเลยนะครับที่ใช้แยกเพศแบบนี้
ตัวระบุสภาวะนาม (Articles) ในเรื่อง Article นี้ จะแบ่งเป็น 4 เรื่อง ได้แก่
1. กล่าวทั่วไป
2. A, An
3. The
4. No Article (คือคำที่ไม่ต้องใช้ article นำ)
1.กล่าวทั่วไป
Articles คือ คำนำหน้าคำนามอย่างหนึ่งในภาษาอังกฤษ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า คำนามเอกพจน์ที่นับได้ในภาษาอังกฤษจะอยู่อย่าง โดด เดี่ยวไม่ได้ ต้องมีคำนำหน้าคำนามเหล่านั้นเสมอไป (ยกเว้นบางกรณี) กล่าวคือ ถ้าจะกล่าวถึงคำนาม cat ซึ่งเป็นคำเอกพจน์ ก็จะต้อง ใส่คำนำหน้าคำนามลงไปด้วย ซึ่งการใส่คำนำหน้าคำนามนั้นก็อาจทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไปได้ด้วย
เช่น I love a cat. ฉันรักแมวตัวเดียว
I love the cat. ฉันรักแมว (ตัวนั้นหน่ะ) เพียงตัวเดียว
I love my cat. ฉันรักแมวของฉัน
I love cats. ฉันรักแมว (แมวทั่วไปในโลก)
กรณียกเว้น คำว่า man และ woman ที่ใช้ในความหมายทั่วไป
เช่น Man is not immortal. มนุษย์ทุกคนย่อมไม่เป็นอมตะ
Woman is a gender of beauty. ผู้หญิงเป็นเพศสภาพแห่งความงาม
*เช่นทำนองนี้ไม่ต้องใส่ A หรือ The ข้างหน้านะครับ
Article แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. Indefinite Article (คำนำหน้านามที่ไม่ชี้เฉพาะ) ได้แก่ a,an
2. Definite Article (คำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ) ได้แก่ the
ก่อนที่เราจะไปขึ้นเรื่อง Article กันนั้น ก็ขอกล่าวทวนเรื่องการนับพจน์ของนามกันอีกครั้ง (ใครไม่อยากอ่านก็ข้ามไปได้นะครับ)
หากเราแบ่งนามตามการนับพจน์ได้ 2 ประเภท
1. นามนับได้ (Countable Noun) คือ นามที่เราสามารถแยกออกได้เป็นตัวๆ เป็นชิ้นๆ ด้วยสายตาของเรา เช่น a boy, a girl, a cat, a dog etc.
2. นามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) คือนามที่ไม่สามารถนับได้โดยการแยกด้วยสายตา หรือทำได้แต่ก็ต้องใช้ความพยายามอย่าง ยิ่ง เช่นนี้ก็รวมทั้งอาการนามต่างๆด้วยครับ เช่น rice (ข้าวนับเป็นเม็ดๆได้ แต่ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก), water (ถ้าจะนับคือ ต้องตวงเอา เพราะวัดด้วยตาไม่ได้), energy , etc.
ขอย้ำอีกครั้งว่า นามนับได้เอกพจน์ต้องมีคำนำหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็น A, An, The, หรือ Possessive Adjective ต่างๆ เป็นต้น (ยกเว้นบางกรณี)
ส่วนนามนับไม่ได้ (โดยทั่วไป) ไม่ต้องใช้ Articles ถ้าไม่ได้มีหน่วยของภาชนะหรือมาตรามาบ่งปริมาณมันไว้ (คือถ้ามันอยู่เดี่ยวๆ นะ) ให้นับเป็นเอกพจน์
เช่น Water is essential for our life.
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
แต่ I would like a goblet of water, please.
ผมขอเป็นน้ำแก้วหนึ่งแล้วกันครับ
1. กล่าวทั่วไป
2. A, An
3. The
4. No Article (คือคำที่ไม่ต้องใช้ article นำ)
1.กล่าวทั่วไป
Articles คือ คำนำหน้าคำนามอย่างหนึ่งในภาษาอังกฤษ ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า คำนามเอกพจน์ที่นับได้ในภาษาอังกฤษจะอยู่อย่าง โดด เดี่ยวไม่ได้ ต้องมีคำนำหน้าคำนามเหล่านั้นเสมอไป (ยกเว้นบางกรณี) กล่าวคือ ถ้าจะกล่าวถึงคำนาม cat ซึ่งเป็นคำเอกพจน์ ก็จะต้อง ใส่คำนำหน้าคำนามลงไปด้วย ซึ่งการใส่คำนำหน้าคำนามนั้นก็อาจทำให้ความหมายของประโยคเปลี่ยนไปได้ด้วย
เช่น I love a cat. ฉันรักแมวตัวเดียว
I love the cat. ฉันรักแมว (ตัวนั้นหน่ะ) เพียงตัวเดียว
I love my cat. ฉันรักแมวของฉัน
I love cats. ฉันรักแมว (แมวทั่วไปในโลก)
กรณียกเว้น คำว่า man และ woman ที่ใช้ในความหมายทั่วไป
เช่น Man is not immortal. มนุษย์ทุกคนย่อมไม่เป็นอมตะ
Woman is a gender of beauty. ผู้หญิงเป็นเพศสภาพแห่งความงาม
*เช่นทำนองนี้ไม่ต้องใส่ A หรือ The ข้างหน้านะครับ
Article แบ่งเป็น 2 ชนิด ได้แก่
1. Indefinite Article (คำนำหน้านามที่ไม่ชี้เฉพาะ) ได้แก่ a,an
2. Definite Article (คำนำหน้านามที่ชี้เฉพาะ) ได้แก่ the
ก่อนที่เราจะไปขึ้นเรื่อง Article กันนั้น ก็ขอกล่าวทวนเรื่องการนับพจน์ของนามกันอีกครั้ง (ใครไม่อยากอ่านก็ข้ามไปได้นะครับ)
หากเราแบ่งนามตามการนับพจน์ได้ 2 ประเภท
1. นามนับได้ (Countable Noun) คือ นามที่เราสามารถแยกออกได้เป็นตัวๆ เป็นชิ้นๆ ด้วยสายตาของเรา เช่น a boy, a girl, a cat, a dog etc.
2. นามนับไม่ได้ (Uncountable Noun) คือนามที่ไม่สามารถนับได้โดยการแยกด้วยสายตา หรือทำได้แต่ก็ต้องใช้ความพยายามอย่าง ยิ่ง เช่นนี้ก็รวมทั้งอาการนามต่างๆด้วยครับ เช่น rice (ข้าวนับเป็นเม็ดๆได้ แต่ก็ต้องใช้ความพยายามอย่างมาก), water (ถ้าจะนับคือ ต้องตวงเอา เพราะวัดด้วยตาไม่ได้), energy , etc.
ขอย้ำอีกครั้งว่า นามนับได้เอกพจน์ต้องมีคำนำหน้าเสมอ ไม่ว่าจะเป็น A, An, The, หรือ Possessive Adjective ต่างๆ เป็นต้น (ยกเว้นบางกรณี)
ส่วนนามนับไม่ได้ (โดยทั่วไป) ไม่ต้องใช้ Articles ถ้าไม่ได้มีหน่วยของภาชนะหรือมาตรามาบ่งปริมาณมันไว้ (คือถ้ามันอยู่เดี่ยวๆ นะ) ให้นับเป็นเอกพจน์
เช่น Water is essential for our life.
น้ำเป็นสิ่งจำเป็นต่อชีวิต
แต่ I would like a goblet of water, please.
ผมขอเป็นน้ำแก้วหนึ่งแล้วกันครับ
หลักทั่วไป 1. ใช้ A นำหน้าคำนามนับได้เอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ หรือออกเสียงพยางค์แรกเป็นเสียงพยัญชนะ
เช่น ( A boy ) , ( A girl ) , ( A cat ) , ( A dog ) , ( A university ) , ( A usage ), etc.
2. ใช้ An นำหน้าคำนามนับได้เอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือออกเสียงพยางค์แรกเป็นเสียงสระ
เพิ่มเติม เสียงสระในภาษาอังกฤษมี 5 เสียง ได้แก่ ( a ) เอ , ( e ) อี , ( i ) ไอ , ( o ) โอ , ( u ) อู ***ย้ำนะ ( อู ) นะ ไม่ใช่ ( ยู )***
ดังนั้น คำไหนขึ้นเสียง ( ยู ) มา ใช้ a นะ
เช่น ( An ant ) , ( An apple ) , ( An elephant ) , ( An ice-cream ) , ( An hour ) , ( An honour ) , etc.
2.หลักการใช้ A, An นำหน้านาม
2.1. ใช้เมื่อกล่าวถึงนามนั้นๆเพียงครั้งแรก
เช่น When I arrived there , I suddenly saw a bird singing on a tree.
(พูดถึงนกครั้งแรกใช้ a)
The bird was very charming.
(พูดถึงนกตัวเดิมครั้งต่อๆไป ใช้ the)
2.2. ใช้เมื่อทำให้นามนั้นมีความหมายเป็นตัวแทนของพวกเดียวกัน
เช่น A dog is an honest friend of human.
สุนัข(โดยทั่วไป)เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ของมนุษย์
แต่ An honest friend of human is dogs.
เพื่อนที่ซื่อสัตย์ของมนุษย์คือสุนัข
2.3. ใช้ในโครงสร้าง “have + a,an + อาการเจ็บป่วย
เช่น I catch a cold. (I have a cold.)
I have a fever.
I have a headache.
ยกเว้น toothache (no article)
*** ย้ำนะ ใช้ a + อาการเจ็บป่วยนะ
ไม่ใช่ชื่อโรค (ถ้าชื่อโรค no article)
2.4. ใช้บอกอัตราส่วนแทนคำว่า “ per ”
เช่น Please go to see a doctor 5 times per month.
= Please go to see a doctor 5 times a month.
2.5. ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นสำนวนเกี่ยวกับการนับจำนวนหรือการแสดงจำนวนมาก
เช่น ( a dozen of…) , ( a gross of ) , ( a lot of ) , ( a great many ) , etc.
2.6. ใช้นำหน้านามที่เป็นสำนวนในประโยคอุทาน
เช่น What a handsome boy he is !
แกช่างเป็นเด็กผู้ชายที่หล่ออะไรอย่างนี้
2.7. โดยปกติ ชื่อเฉพาะจะไม่มี article นำหน้า...ยกเว้น
2.7.1 ใช้นำหน้าชื่อเฉพาะของผู้มีชื่อเสียง ในกรณีที่ต้องการจะเปรียบเทียบใครกับบุคคลเหล่านั้น
เช่น He is a Shakespeare !
เขาช่างเขียนบทละครเก่งเหมือนเช็คเสปียร์ (ประมาณนั้น)
2.7.2 ใช้นำหน้าชื่อเฉพาะของผู้ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ในความหมายที่ว่า “ มีคนชื่อ ”
เช่น Whin, There is a Mr. Dang calling you up.
หวิน, มีคนชื่อนายแดงโทรหาแกอะ
2.8. นำหน้าชื่ออาชีพหรือสัญชาติ
เช่น I am a student of Thammasat University
I am a Thai.
2.9. นำหน้านามนับได้เอกพจน์ที่ไปทำหน้าที่กรรมของประโยคในรูปปฏิเสธ ในความหมายที่ว่า “ ไม่เลยแม้สักอันหนึ่ง ”
เช่น Because my friend got angry me so much, he doesn’t talk with me a word.
เพราะเพื่อนผมโกรธผมมาก เขาจึงไม่พูดกับผมเลยแม้สักคำ
เช่น ( A boy ) , ( A girl ) , ( A cat ) , ( A dog ) , ( A university ) , ( A usage ), etc.
2. ใช้ An นำหน้าคำนามนับได้เอกพจน์ที่ขึ้นต้นด้วยสระ หรือออกเสียงพยางค์แรกเป็นเสียงสระ
เพิ่มเติม เสียงสระในภาษาอังกฤษมี 5 เสียง ได้แก่ ( a ) เอ , ( e ) อี , ( i ) ไอ , ( o ) โอ , ( u ) อู ***ย้ำนะ ( อู ) นะ ไม่ใช่ ( ยู )***
ดังนั้น คำไหนขึ้นเสียง ( ยู ) มา ใช้ a นะ
เช่น ( An ant ) , ( An apple ) , ( An elephant ) , ( An ice-cream ) , ( An hour ) , ( An honour ) , etc.
2.หลักการใช้ A, An นำหน้านาม
2.1. ใช้เมื่อกล่าวถึงนามนั้นๆเพียงครั้งแรก
เช่น When I arrived there , I suddenly saw a bird singing on a tree.
(พูดถึงนกครั้งแรกใช้ a)
The bird was very charming.
(พูดถึงนกตัวเดิมครั้งต่อๆไป ใช้ the)
2.2. ใช้เมื่อทำให้นามนั้นมีความหมายเป็นตัวแทนของพวกเดียวกัน
เช่น A dog is an honest friend of human.
สุนัข(โดยทั่วไป)เป็นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ของมนุษย์
แต่ An honest friend of human is dogs.
เพื่อนที่ซื่อสัตย์ของมนุษย์คือสุนัข
2.3. ใช้ในโครงสร้าง “have + a,an + อาการเจ็บป่วย
เช่น I catch a cold. (I have a cold.)
I have a fever.
I have a headache.
ยกเว้น toothache (no article)
*** ย้ำนะ ใช้ a + อาการเจ็บป่วยนะ
ไม่ใช่ชื่อโรค (ถ้าชื่อโรค no article)
2.4. ใช้บอกอัตราส่วนแทนคำว่า “ per ”
เช่น Please go to see a doctor 5 times per month.
= Please go to see a doctor 5 times a month.
2.5. ใช้นำหน้าคำนามที่เป็นสำนวนเกี่ยวกับการนับจำนวนหรือการแสดงจำนวนมาก
เช่น ( a dozen of…) , ( a gross of ) , ( a lot of ) , ( a great many ) , etc.
2.6. ใช้นำหน้านามที่เป็นสำนวนในประโยคอุทาน
เช่น What a handsome boy he is !
แกช่างเป็นเด็กผู้ชายที่หล่ออะไรอย่างนี้
2.7. โดยปกติ ชื่อเฉพาะจะไม่มี article นำหน้า...ยกเว้น
2.7.1 ใช้นำหน้าชื่อเฉพาะของผู้มีชื่อเสียง ในกรณีที่ต้องการจะเปรียบเทียบใครกับบุคคลเหล่านั้น
เช่น He is a Shakespeare !
เขาช่างเขียนบทละครเก่งเหมือนเช็คเสปียร์ (ประมาณนั้น)
2.7.2 ใช้นำหน้าชื่อเฉพาะของผู้ที่ไม่เคยรู้จักมาก่อน ในความหมายที่ว่า “ มีคนชื่อ ”
เช่น Whin, There is a Mr. Dang calling you up.
หวิน, มีคนชื่อนายแดงโทรหาแกอะ
2.8. นำหน้าชื่ออาชีพหรือสัญชาติ
เช่น I am a student of Thammasat University
I am a Thai.
2.9. นำหน้านามนับได้เอกพจน์ที่ไปทำหน้าที่กรรมของประโยคในรูปปฏิเสธ ในความหมายที่ว่า “ ไม่เลยแม้สักอันหนึ่ง ”
เช่น Because my friend got angry me so much, he doesn’t talk with me a word.
เพราะเพื่อนผมโกรธผมมาก เขาจึงไม่พูดกับผมเลยแม้สักคำ
3. ตัวระบุสภาวะนามแบบชี้เฉพาะ (Definite Article) ได้แก่ The
หลักการใช้ The นำหน้านาม
3.1 . ใช้กับนามที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก
เช่น The sun, The world, The earth, etc.
3.2. คำที่ใช้เป็นพหูพจน์เสมอ
เช่น The people, The cattle, The poultry, etc.
3.3. ใช้เมื่อผู้รับสารรู้ว่ากล่าวถึงสิ่งใด อันใด โดยอาจจะรู้เพราะ
3.3.1 เป็นการกล่าวถึงในครั้งที่สองหรือครั้งต่อๆไป
เช่น When I arrived there, I suddenly saw a bird singing on a tree.
(พูดถึงนกครั้งแรกใช้ a)
The bird was very charming.
(พูดถึงนกตัวเดิมครั้งต่อๆไป ใช้ the)
3.3.2 เป็นการกล่าวแบบเจาะจง ซึ่งก็อาจจะรู้ได้จากคำนามนั้นมีประโยคขยายต่อมา หรือมี prepositional phrase ต่อท้ายมา
เช่น I love the boy who is sitting behind you.
I would like to know the girl whom you love.
3.3.3 เป็นการกล่าวชัดเจนโดยปริยาย (คือคนพูดรู้กันกับคนฟังครับ)
เช่น Please bring me the book on my desk.
(บนโต๊ะนั้นมีหนังสืออยู่เล่มเดียว)
I’m going to the kitchen.
(ในบ้านนั้นมีแค่ครัวเดียว)
3.4. สิ่งต่อไปนี้ใช้ the นำหน้าเสมอ
ได้แก่ ( the town ), ( the future ) , ( the weather ), ( the wind ) , ( the seaside ) , ( the mountains ) , ( the country ) , ( the universe ), ( the night ), ( the fog ), ( the rain ), ( the sea ), ( the sunshine ), ( the moonlight )
3.5. ใช้นำหน้าคำเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
เช่น ( the fattest ) , ( the tallest ) , ( the biggest ) , ( the most handsome ), etc.
3.6. ใช้กับคำที่ระบุเจาะจงว่ามีเพียงหนึ่งเดียว
ได้แก่ ( the first ) , ( the next ) , ( the last ) , ( the same ) , ( the only )
เช่น She is the first woman to swim across the river.
I go to the same school as they.
3.7. นำหน้าคำนามที่รู้จักกันดี
เช่น I love Jackie Chan, the actor of the love of Hongkong.
Do you know Mr.Aphisit, the Prime Minister?
Do you know Nicolas Zarkozy, the president?
แต่ ถ้าเอาตำแหน่งมานำหน้าชื่อ เป็น no article นะ
เช่น Do you know Prime Minister Aphisit?
Do you know president Nicolas Zarkozy?
ยกเว้น เมื่อกล่าวถึงพระปรมาภิไธยแห่งพระมหากษัตริย์ หรือ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้รูปแบบต่อไปนี้
Her majesty the Queen Elizabeth the second.
Queen Elizabeth the second.
Elizabeth the second, the Queen.
His Majesty the King Juan Carlos
King Juan Carlos.
Juan Carlos, the King.
8. ใช้นำหน้าชื่อต่อไปนี้ ได้แก่
นำหน้าชื่อประเทศที่มี s
เช่น The United States of America, The Philipines
สถานที่สำคัญ
เช่น The Grand Canyon, The royal palace
ชื่อเฉพาะทางภูมิศาสตร์
เช่น The north pole
ตำแหน่ง
เช่น The Prime Minister, The King, The Queen
อวัยวะ
เช่น The head, The hands
ลัทธิ
เช่น The Marxist doctrine.
จังหวะ
เช่น The tango, the waltz
อาณาจักร
เช่น The Lanna Empire, The Roman Empire
โรงภาพยนตร์
เช่น The Lido
อาบ อบ นวด
เช่น The Emmanouelle, The Chavala, The Chao Phya, The Poseidon
ฯลฯ
หลักการใช้ The นำหน้านาม
3.1 . ใช้กับนามที่มีเพียงหนึ่งเดียวในโลก
เช่น The sun, The world, The earth, etc.
3.2. คำที่ใช้เป็นพหูพจน์เสมอ
เช่น The people, The cattle, The poultry, etc.
3.3. ใช้เมื่อผู้รับสารรู้ว่ากล่าวถึงสิ่งใด อันใด โดยอาจจะรู้เพราะ
3.3.1 เป็นการกล่าวถึงในครั้งที่สองหรือครั้งต่อๆไป
เช่น When I arrived there, I suddenly saw a bird singing on a tree.
(พูดถึงนกครั้งแรกใช้ a)
The bird was very charming.
(พูดถึงนกตัวเดิมครั้งต่อๆไป ใช้ the)
3.3.2 เป็นการกล่าวแบบเจาะจง ซึ่งก็อาจจะรู้ได้จากคำนามนั้นมีประโยคขยายต่อมา หรือมี prepositional phrase ต่อท้ายมา
เช่น I love the boy who is sitting behind you.
I would like to know the girl whom you love.
3.3.3 เป็นการกล่าวชัดเจนโดยปริยาย (คือคนพูดรู้กันกับคนฟังครับ)
เช่น Please bring me the book on my desk.
(บนโต๊ะนั้นมีหนังสืออยู่เล่มเดียว)
I’m going to the kitchen.
(ในบ้านนั้นมีแค่ครัวเดียว)
3.4. สิ่งต่อไปนี้ใช้ the นำหน้าเสมอ
ได้แก่ ( the town ), ( the future ) , ( the weather ), ( the wind ) , ( the seaside ) , ( the mountains ) , ( the country ) , ( the universe ), ( the night ), ( the fog ), ( the rain ), ( the sea ), ( the sunshine ), ( the moonlight )
3.5. ใช้นำหน้าคำเปรียบเทียบขั้นสูงสุด
เช่น ( the fattest ) , ( the tallest ) , ( the biggest ) , ( the most handsome ), etc.
3.6. ใช้กับคำที่ระบุเจาะจงว่ามีเพียงหนึ่งเดียว
ได้แก่ ( the first ) , ( the next ) , ( the last ) , ( the same ) , ( the only )
เช่น She is the first woman to swim across the river.
I go to the same school as they.
3.7. นำหน้าคำนามที่รู้จักกันดี
เช่น I love Jackie Chan, the actor of the love of Hongkong.
Do you know Mr.Aphisit, the Prime Minister?
Do you know Nicolas Zarkozy, the president?
แต่ ถ้าเอาตำแหน่งมานำหน้าชื่อ เป็น no article นะ
เช่น Do you know Prime Minister Aphisit?
Do you know president Nicolas Zarkozy?
ยกเว้น เมื่อกล่าวถึงพระปรมาภิไธยแห่งพระมหากษัตริย์ หรือ พระบรมราชินีนาถ โดยใช้รูปแบบต่อไปนี้
Her majesty the Queen Elizabeth the second.
Queen Elizabeth the second.
Elizabeth the second, the Queen.
His Majesty the King Juan Carlos
King Juan Carlos.
Juan Carlos, the King.
8. ใช้นำหน้าชื่อต่อไปนี้ ได้แก่
นำหน้าชื่อประเทศที่มี s
เช่น The United States of America, The Philipines
สถานที่สำคัญ
เช่น The Grand Canyon, The royal palace
ชื่อเฉพาะทางภูมิศาสตร์
เช่น The north pole
ตำแหน่ง
เช่น The Prime Minister, The King, The Queen
อวัยวะ
เช่น The head, The hands
ลัทธิ
เช่น The Marxist doctrine.
จังหวะ
เช่น The tango, the waltz
อาณาจักร
เช่น The Lanna Empire, The Roman Empire
โรงภาพยนตร์
เช่น The Lido
อาบ อบ นวด
เช่น The Emmanouelle, The Chavala, The Chao Phya, The Poseidon
ฯลฯ
4. กรณียกเว้นที่ไม่ต้องมีคำนำหน้านาม(No Articles)
มีกรณียกเว้นอยู่พอสมควรที่ไม่ต้องใช้ Articles นำหน้าคำนาม กรณียกเว้นที่สำคัญ ได้แก่
4.1. เมื่อเป็นคำนามพหูพจน์ที่กล่าวมาลอยๆ
เช่น dogs, cats, men
4.2. นามนับไม่ได้ เช่น water, power, energy
4.3. ชื่อคน (ยกเว้น ตามหลักการใช้ a,an ข้อ 2)
4.4. เมื่อเป็นชื่อยศ + ชื่อคน (ตามหลักการใช้ the ข้อ3)
4.5. ชื่อถนน
เช่น Ladphrao Road, Chiang rak noi Road
4.6. ฤดูกาล
เช่น spring, summer, winter, autumn, fall
4.7. อาหาร
เช่น fried rice, noodles
4.8. ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อปี
เช่น Sunday, Monday, Saturday, January, February
4.9. ชื่อวิชา
เช่น Political science, Sociology, Accountancy
4.10. ชื่อภาษา
เช่น Thai, English, Spanish
แต่ ถ้าจะต้องใช้ article ให้ใช้ the + _(ชื่อภาษา)_ + language
เช่น The Thai language , The English language , The Spanish language
4.11. คำนามที่ตามหลัง kind of/ sort of
4.12. คำนามเฉพาะบางคำ อาทิ school , church , bed , prison , University, etc. ที่ใช้เป็นปกติ
แต่ถ้ามี article ความหมายจะต่างออกไป
เช่น I’m going to school.
ฉันกำลังไปโรงเรียน (เพื่อไปเรียนหนังสือ)
I’m going to the school.
อันนี้ก็ฉันกำลังไปโรงเรียนเหมือนกัน แต่ไปได้ไปในความหมาย ปกติที่ว่าจะไปเรียน แต่อาจจะไปเจอเพื่อน ไปจ่ายค่าเทอม เป็นต้น
I’m going to bed.
ฉันกำลังจะเข้านอนแล้ว
I’m going to the bed.
ฉันกำลังเดินไปที่เตียง
4.13. ชื่อโรค
เช่น measles, mumps, diabetes, influenza
4.14. โทรทัศน์ ในแง่สื่อสาระ
แต่ถ้าใช้ article จะหมายถึง เครื่องรับโทรทัศน์
เช่น I watch television everyday.
ฉันดูโทรทัศน์ทุกวัน
My cat lies on the television everyday.
แมวของฉันนอนอยู่บนโทรทัศน์ทุกวัน
4.15. วิทยุ, ภาพยนตร์, ละคร, อินเตอร์เน็ต ในแง่สถาบัน
แต่ถ้าใช้ article จะหมายถึงในแง่สื่อสาระ, เครื่องรับ
เช่น Radio was very important during the World War 2
วิทยุเป็นสิ่งสำคัญมากระหว่างสงครามโลกครั้งที่2
When I was young, I listened to the radio
เมื่อตอนฉันเด็กๆ ฉันฟังวิทยุ
I surf the internet everyday.
ฉันเล่นอินเตอร์เน็ตทุกวัน
Nowadays, internet is essential for our life.
ทุกวันนี้ อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตพวกเรา
มีกรณียกเว้นอยู่พอสมควรที่ไม่ต้องใช้ Articles นำหน้าคำนาม กรณียกเว้นที่สำคัญ ได้แก่
4.1. เมื่อเป็นคำนามพหูพจน์ที่กล่าวมาลอยๆ
เช่น dogs, cats, men
4.2. นามนับไม่ได้ เช่น water, power, energy
4.3. ชื่อคน (ยกเว้น ตามหลักการใช้ a,an ข้อ 2)
4.4. เมื่อเป็นชื่อยศ + ชื่อคน (ตามหลักการใช้ the ข้อ3)
4.5. ชื่อถนน
เช่น Ladphrao Road, Chiang rak noi Road
4.6. ฤดูกาล
เช่น spring, summer, winter, autumn, fall
4.7. อาหาร
เช่น fried rice, noodles
4.8. ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อปี
เช่น Sunday, Monday, Saturday, January, February
4.9. ชื่อวิชา
เช่น Political science, Sociology, Accountancy
4.10. ชื่อภาษา
เช่น Thai, English, Spanish
แต่ ถ้าจะต้องใช้ article ให้ใช้ the + _(ชื่อภาษา)_ + language
เช่น The Thai language , The English language , The Spanish language
4.11. คำนามที่ตามหลัง kind of/ sort of
4.12. คำนามเฉพาะบางคำ อาทิ school , church , bed , prison , University, etc. ที่ใช้เป็นปกติ
แต่ถ้ามี article ความหมายจะต่างออกไป
เช่น I’m going to school.
ฉันกำลังไปโรงเรียน (เพื่อไปเรียนหนังสือ)
I’m going to the school.
อันนี้ก็ฉันกำลังไปโรงเรียนเหมือนกัน แต่ไปได้ไปในความหมาย ปกติที่ว่าจะไปเรียน แต่อาจจะไปเจอเพื่อน ไปจ่ายค่าเทอม เป็นต้น
I’m going to bed.
ฉันกำลังจะเข้านอนแล้ว
I’m going to the bed.
ฉันกำลังเดินไปที่เตียง
4.13. ชื่อโรค
เช่น measles, mumps, diabetes, influenza
4.14. โทรทัศน์ ในแง่สื่อสาระ
แต่ถ้าใช้ article จะหมายถึง เครื่องรับโทรทัศน์
เช่น I watch television everyday.
ฉันดูโทรทัศน์ทุกวัน
My cat lies on the television everyday.
แมวของฉันนอนอยู่บนโทรทัศน์ทุกวัน
4.15. วิทยุ, ภาพยนตร์, ละคร, อินเตอร์เน็ต ในแง่สถาบัน
แต่ถ้าใช้ article จะหมายถึงในแง่สื่อสาระ, เครื่องรับ
เช่น Radio was very important during the World War 2
วิทยุเป็นสิ่งสำคัญมากระหว่างสงครามโลกครั้งที่2
When I was young, I listened to the radio
เมื่อตอนฉันเด็กๆ ฉันฟังวิทยุ
I surf the internet everyday.
ฉันเล่นอินเตอร์เน็ตทุกวัน
Nowadays, internet is essential for our life.
ทุกวันนี้ อินเตอร์เน็ตเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตพวกเรา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น