ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 ตุลาคม 2553

รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์


รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์


กรอบความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น




จากการศึกษาแนวคิด  หลักการ  ทฤษฎี  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องผู้วิจัยจึงนำมาสู่การสังเคราะห์เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ตามกรอบความคิดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาคณิตศาสตร์  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์  เพื่อเพิ่มทักษะการแก้ปัญหา  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ดังนี้



                 หลักการและเป้าหมาย



                 จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์  มุ่งพัฒนานักเรียนได้มีโอกาสได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง  โดยครูผู้สอนเป็นผู้จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ปัญหาที่สัมพันธ์กับเนื้อหาของบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  นักเรียนได้แก้ปัญหาเป็นรายบุคคลด้วยวิธีที่หลากหลาย  เนื่องจากข้อมูลความรู้ที่มีอยู่เดิมไม่เพียงพอหรือไม่สอดคล้องกับปัญหาที่ได้รับ  ทำให้เกิดการพิจารณาไตร่ตรองหาข้อมูลมาเพิ่มเติม  โดยการอธิบาย  ถกเถียงแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน

การจัดสถานการณ์ให้เกิดการสร้างความรู้นี้  ทำให้นักเรียนได้นำความรู้เดิมมาเชื่อมโยงกับความรู้ใหม่  มีโอกาสสร้างความรู้ด้วยตนเองจึงเป็นความรู้ที่มีความหมายสำหรับนักเรียน  ครูผู้สอนเป็นเพียงผู้กระตุ้นให้นักเรียนมีความกระตือรือร้นในการคิดค้นเพื่อให้เกิดการเรียนรู้  อำนวยความสะดวก  ช่วยเหลือชี้แนะและตรวจสอบความคิดของนักเรียนกิจกรรมการเรียนการสอนที่สังเคราะห์ขึ้นมีองค์ประกอบ  ดังนี้



                 จุดมุ่งหมาย



                        1 เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้มโนทัศน์  การคิดคำนวณและการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ได้

                        2 เพื่อให้นักเรียนได้สำรวจและเผชิญความคิดของตนเอง

                        3 เพื่อให้นักเรียนได้มีโอกาสในการแก้ปัญหาอย่างอิสระและมีเหตุผล

                        4 เพื่อให้นักเรียนได้รู้จักแนวทางในการแก้ปัญหาหลายๆวิธี

                        5 เพื่อให้นักเรียนได้พัฒนาเปลี่ยนแปลงและขยายความคิดของตนเอง โดยการแก้ปัญหาที่นักเรียนสนใจและตรวจสอบคำตอบที่คาดคิดไว้

                        6 เพื่อให้นักเรียนตระหนักว่าความคิดที่แท้จริงของตนเองนั้นมีความหมายและมีคุณค่า

                        7 เพื่อให้นักเรียนได้มีการสะท้อนกลับอย่างมีวิจารณญาณและพิจารณาอย่างรอบคอบถึงวิธีการที่ได้มาซึ่งคำตอบด้วยวิธีการที่รวดเร็ว

                        8 เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้จากบทเรียนไปใช้กับสถานการณ์ใหม่ได้



องค์ประกอบ



การพัฒนามโนทัศน์  การพัฒนาทักษะและการพัฒนาการแก้ปัญหาหรือการนำความรู้ไปใช้ใน

สถานการณ์ปัญหาอื่นๆ  ซึ่งได้นำมาจัดไว้ในกิจกรรมการเรียนการสอน



                 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ที่สังเคราะห์ขึ้น  มีดังนี้



                        1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  ซึ่งเป็นขั้นตอนการเตรียมความพร้อมของนักเรียน   โดยการทบทวนความรู้เดิมและพยายามกระตุ้นให้นักเรียนระลึกถึงประสบการณ์เดิมที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเนื้อหาใหม่ด้วยวิธีการต่างๆ   เช่น   การสร้างสถานการณ์   ยกตัวอย่าง  ใช้เกม  ใช้คำถาม  ฯลฯ  เพื่อเป็นแรงจูงใจในการเรียนเนื้อหาใหม่และเพื่อเป็นพื้นฐานในการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา  ครูผู้สอนจะต้องค้นหาและระลึกถึงความรู้และประสบการณ์เดิมของนักเรียน  เพราะถ้านักเรียนสามารถระลึกถึงประสบการณ์เดิมได้มากนักเรียนจะมีข้อมูลที่จะนำมาใช้ในการแก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลายได้มาก  ดังนั้นนักเรียนจะต้องแสดงออกมาให้ครูผู้สอนเห็นว่าแต่ละคนมีความรู้พื้นฐานเดิมในเรื่องที่เรียนมากน้อยเพียงใดเพื่อเป็นการทดสอบความคิดรวบยอดความรู้เดิมที่สัมพันธ์กับเนื้อหาใหม่  หลังจากนั้นครูผู้สอนแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ

                        2 ขั้นสอน

                        2.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ปัญหา  ซึ่งเป็นแก้ปัญหาเป็นรายบุคคล  ครูผู้สอนเสนอสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์กับบทเรียนและสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน  เหมาะสมกับวัยและความสามารถของนักเรียนเป็นแรงจูงใจให้นักเรียนเกิดความอยากรู้อยากเห็น  ซึ่งนักเรียนทำความเข้าใจสถานการณ์ปัญหาและหาแนวทางในการแก้ปัญหา  โดยใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมที่ครูผู้สอนเตรียมให้  ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนพยายามสำรวจหาวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายเป็นรายบุคคล  โดยใช้คำถามในลักษณะสร้างสรรค์  ซึ่งทำให้นักเรียนนำความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องที่เคยเรียนมาใช้ในการแก้ปัญหา

                        2.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับกลุ่มย่อย  เป็นขั้นตอนที่สมาชิกในกลุ่มย่อย  เสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเองที่อาจเป็นไปได้ต่อกลุ่มย่อย  ครูผู้สอนจะต้องพยายามกระตุ้นให้นักเรียนสะท้อนความคิดออกมา  เพราะการสะท้อนความคิดเป็นการแสดงออกถึงความรู้ความเข้าใจของนักเรียนว่ามีมากน้อยเพียงใด  ที่ช่วยให้สมาชิกเห็นแนวทางแก้ปัญหาของคนอื่นมากยิ่งขึ้น  โดยใช้สื่อรูปธรรม ทดลองและปฏิบัติให้เห็นจริงมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน  จากนั้นให้เพื่อนๆช่วยกันตรวจสอบความถูกต้องความสมเหตุสมผลจากการได้ปฏิบัติจริง  มีการนำวิธีการของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่มมาลองใช้กับสถานการณ์ตัวอย่าง  ซึ่งแต่ละคนอาจจะมีวิธีการที่แตกต่างกัน  ดังนั้นในแต่ละกลุ่มอาจมีวิธีการในการแก้ปัญหามากกว่า  1  วิธี   เพื่อเสนอต่อทั้งชั้น

                        2.3 เสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้นเป็นขั้นตอนที่กลุ่มย่อยเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและแสดงให้เห็นจริงถึงความสมเหตุสมผล  ในขั้นนี้กลุ่มย่อยจะมีส่วนช่วยทำให้ทุกคนมีความพร้อมที่จะนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาต่อทั้งชั้น  พร้อมทั้งตอบข้อซักถามและชี้แจงเหตุผล  นักเรียนทุกคนจะได้มีส่วนร่วมในการอภิปรายและตรวจสอบถึงความถูกต้องและเหมาะสมในแนวทางการแก้ปัญหาประเมินทางเลือกถึงข้อดีข้อจำกัดของแต่ละทางเลือกและสรุปแนวทางเลือกทั้งหมด  เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์อื่นๆ  ซึ่งครูผู้สอนต้องพร้อมที่จะรับฟังความหลากหลายและการให้เหตุผลที่แปลก ซึ่งอาจจะช่วยให้นักเรียนคนอื่นๆเกิดความเข้าใจมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์  ครูผู้สอนไม่ควรปฏิเสธคำตอบหรือคำอธิบายของนักเรียนควรให้โอกาสนักเรียนที่ตอบคลาดเคลื่อนไปจากความคาดหวังของครูผู้สอน  อาจเป็นอีกทางหนึ่งที่นักเรียนได้สร้างขึ้นและช่วยให้ครูผู้สอนได้มีโอกาสตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนและถ้าครูผู้สอนมีวิธีการอื่นๆนอกเหนือจากที่นักเรียนนำเสนอไปแล้วแต่นักเรียนไม่ได้นำเสนอครูผู้สอนสามารถเพิ่มเติมได้อีก

                 3 ขั้นสรุปนักเรียนร่วมกันสรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา  ในเรื่อง

ที่เรียนและครูผู้สอนช่วยเสริมแนวคิดหลักการความคิดรวบยอดและกระบวนการแก้ปัญหา

ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น

                 4 ขั้นฝึกทักษะและนำไปใช้  เป็นขั้นที่ให้นักเรียนฝึกทักษะจากใบงานที่ครูผู้สอนสร้างขึ้นที่มีสถานการณ์ที่หลากหลายหรือที่นักเรียนสร้างสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับสถานการณ์เดิม  นักเรียนเลือกทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาและสามารถอธิบายวิธีแก้ปัญหาของตนเองได้  โดยให้เพื่อนในกลุ่มช่วยกันตรวจสอบคำตอบที่ถูกต้องจากบัตรเฉลย นักเรียนแต่ละคนอาจจะเลือกใช้วิธีการในการแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน  ซึ่งการฝึกทักษะจะช่วยให้นักเรียนมี

ความคงทนในการจำและเกิดความคล่องแคล่วแม่นยำรวดเร็วและพัฒนาความคิดอย่างมีเหตุผล  ครูผู้สอนจะต้องดูแลและให้ความช่วยเหลือในกรณีที่นักเรียนเกิดความขัดแย้งหาข้อสรุปไม่ได้  จากนั้นให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดจากบทเรียน

                 5 ขั้นประเมินผล  ขั้นนี้จะประเมินผลจากการทำใบงาน  จากการทำแบบฝึกหัดในบทเรียนและจากสถานการณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้น  นอกจากนั้นครูผู้สอนอาจใช้การสังเกตในการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน  เพื่อเป็นการตรวจสอบระดับความรู้ของนักเรียนในเรื่องที่เรียนว่านักเรียนมีความรู้ความสามารถตามเกณฑ์ที่ได้ตั้งไว้หรือไม่มากน้อยเพียงใด  เพื่อเป็นข้อมูลในการสอนซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่ยังไม่ผ่านจุดประสงค์การเรียนรู้ก่อนที่จะทำการสอนเนื้อหาอื่นๆต่อไป

                 ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์       ซึ่งจำแนกตามบทบาทและพฤติกรรมของครูผู้สอนและนักเรียนได้ตามตารางที่ 1 


ตารางที่ 1   บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอนและบทบาท / พฤติกรรมนักเรียนตามกระบวนการเรียนการสอน 

                   ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์



<><> <><>

กิจกรรม
การเรียนการสอน
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน
ขั้นที่ 1  ขั้นนำ









ขั้นที่ 2  ขั้นสอน
  2.1 ขั้นเผชิญสถานการณ์ที่
เป็นปัญหา




 2.2 ขั้นกิจกรรมไตร่ตรองระดับ
กลุ่มย่อย











-จัดกิจกรรมเร้าความความสนใจ
-ครูผู้สอนกระตุ้นให้นักเรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่เกี่ยวข้องและไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่อง
ที่เรียน
-สำรวจ ค้นหาความคิดของนักเรียนเกี่ยวกับ
เรื่องที่เรียนโดยใช้คำถาม
-เสนอสถานการณ์ปัญหา
-แจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้
-เสนอสถานการณ์ปัญหาที่สอดคล้องกับเนื้อหา
และชีวิตประจำวัน
-จัดประสบการณ์ที่เป็นแรงจูงใจให้ศึกษา
-ตั้งคำถามและกระตุ้นให้นักเรียนสำรวจ  คิดค้น
และหาวิธีแก้ปัญหาหลายๆวิธีเป็นรายบุคคล
-ใช้คำถามในลักษณะสร้างสรรค์
-สำรวจความคิดของนักเรียน
-ช่วยให้นักเรียนเข้าใจกระบวนการเรียนรู้
-จัดเตรียมสื่อรูปธรรมให้พร้อมทุกกลุ่ม
-สังเกตการปฏิบัติกิจกรรม
-กระตุ้นให้อธิบายสิ่งที่นักเรียนคิดและสร้างขึ้น
-ให้โอกาสนักเรียนได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา
ด้วยตนเอง
-ตีความและอธิบายความคิดเห็นของนักเรียน
ให้แจ่มแจ้ง
-ช่วยนักเรียนทำความเข้าใจความคิดของ
ตนเองให้ชัดเจนและพิจารณาความคิดของ
ตนเองให้รอบคอบ
-เรียนรู้ความคิด ประสบการณ์และความสนใจ
ของนักเรียน
-สนับสนุนให้กล้าตัดสินใจในการแก้ปัญหา
-ให้คำชมเชยและให้กำลังใจนักเรียนที่พยายาม
ค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหา
-แสดงพฤติกรรมเพื่อค้นหาความรู้ที่มีอยู่เดิม
ของนักเรียนที่เกี่ยวกับมโนทัศน์นั้นๆ  โดย
การอธิบาย
-เข้าร่วมกิจกรรม






-เผชิญสถานการณ์ปัญหา
-ทำความเข้าใจปัญหาจนเข้าใจ
-สำรวจ  คิดค้นความรู้ด้วยตนเอง
-หาแนวทางแก้ปัญหาจากสื่อรูปธรรม
-แก้ปัญหาด้วยวิธีการที่หลากหลาย
-คิดและถามคำถามเกี่ยวกับมโนทัศน์
ที่เรียน

-ใช้สื่อรูปธรรมเพื่อแสดงการแก้ปัญหา
-รวบรวม อธิบายและแสดงออก  ซึ่ง
ความคิดของตนเองว่ารู้อะไรบ้าง
-เสนอแนวทางแก้ปัญหาของตนเอง  ที่
อาจเป็นไปได้ต่อกลุ่มย่อย
-อธิบายความคิดเห็นของตนเองเกี่ยวกับ
มโนทัศน์ให้ชัดเจน
-สะท้อนความคิดของตนเองและของสมาชิก
-รวบรวมแนวทางแก้ปัญหา
-ตรวจสอบและทดลองแก้ปัญหาด้วยวิธีการต่างๆ
-แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล
-เปรียบเทียบความคิดเห็นของตนเอง
กับความคิดเห็นของผู้อื่น


กิจกรรม
การเรียนการสอน
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน




2.3 เสนอทาง
แก้ปัญหาต่อ
ทั้งชั้น






















3.สรุป


-กระตุ้นและส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยน
แนวคิดซึ่งกันและกัน
-อำนวยความสะดวกในการแลกเปลี่ยน
ความคิดเห็นของนักเรียน
-เปิดการอภิปรายให้กว้าง
-ทำให้แน่ใจว่าทุกความคิดเห็นได้รับพิจารณา
-ยอมรับการแสดงความคิดเห็นได้รับพิจารณา
-ยอมรับการแสดงความคิดเห็นของนักเรียน
ที่มีต่อความคิดใหม่และกระตุ้นให้ใช้ความคิดต่อไป
-เป็นผู้ฟังที่ดีไม่ตรวจสอบความคิดของ
นักเรียนทันที
-ตอบข้อสงสัยเมื่อเกิดข้อขัดแย้ง
-นำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่นักเรียนยัง
ไม่ได้เสนอเพิ่มเติม
-ส่งเสริมและเปิดอภิปรายให้กว้าง
-กระตุ้นให้มีการร่วมอภิปรายในการแก้ปัญหา
-ช่วยเหลือนักเรียนเท่าที่จำเป็น
-กระตุ้นให้นักเรียนคิดเกี่ยวกับความคิดเห็น
ของนักเรียน
-ช่วยนักเรียนเชื่อมความรู้เก่ากับความรู้ใหม่
-อภิปรายข้อดี-ข้อจำกัดของการแก้ปัญหา
ด้วยวิธีการต่างๆที่ทั้งชั้นให้การยอมรับ
-ตอบคำถามเมื่อนักเรียนสงสัย
-ให้ข้อมูลย้อนกลับ
-ประเมินความคิดของนักเรียนเพื่อ
การเปลี่ยนแปลงและพัฒนา
-ใช้คำถามเพื่อสรุปบทเรียน
-รวบรวมความคิดของนักเรียน



-แสดงวิธีแก้ปัญหาของกลุ่ม
-เสนอมโนทัศน์ของบทเรียน  โดย
สื่อรูปธรรม
-อภิปรายและตอบข้อซักถาม
-ค้นหาข้อดี-ข้อจำกัดในความคิดเห็น
เหล่านั้น
-ตรวจสอบความถูกต้องและ
ความสมเหตุสมผล
-เสนอแนวทางเลือกที่ยังไม่มีกลุ่มใดเสนอ
-ซักถามเมื่อเกิดข้อขัดแย้งและ
ถามครูผู้สอน
เมื่อไม่เข้าใจวิธีการที่ครูผู้สอนนำเสนอ













-แสดงความคิดถึงข้อดี-ข้อจำกัดของวิธีการต่างๆ
ที่กลุ่มยอมรับ



กิจกรรม
การเรียนการสอน
บทบาท / พฤติกรรมครูผู้สอน
บทบาท / พฤติกรรมนักเรียน








ขั้นที่ 4  ฝึกทักษะและนำไปใช้













ขั้นที่ 5
ประเมินผล
-ช่วยให้นักเรียนเข้าใจแนวคิด ความคิดรวบยอดกระบวนการแก้ปัญหาและหลักการที่ถูกต้องให้
ชัดเจนยิ่งขึ้น
-ยอมรับฟังความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อ
ความคิดใหม่

-สังเกตการปฏิบัติกิจกรรมเป็นรายบุคคล
และกลุ่มย่อย
-ตรวจสอบการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่
นักเรียนสร้างขึ้น
-ตรวจแบบฝึกหัด
-สังเกตการร่วมกิจกรรม
-เสนอสถานการณ์ที่หลากหลายจากแบบฝึกทักษะ
-ช่วยเหลือเมื่อนักเรียนเกิดข้อสงสัย
-สนับสนุนให้นักเรียนเลือกใช้วิธีการที่เหมาะสม
กับสถานการณ์ปัญหา
-ช่วยเหลือและช่วยแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อน
มากยิ่งขึ้น
-แนะนำนักเรียนสิ่งที่นักเรียนต้องการ
ความช่วยเหลือ

-แบบบันทึกการสังเกตการจัดกิจการเรียนการสอน
-จากการทำใบงาน
-จากการทำแบบฝึกหัด
-จากการสร้างสถานการณ์ปัญหา
-สังเกตจากการปฏิบัติกิจกรรมในชั้นเรียน
-ประเมินความคิดของนักเรียน

-ประเมินทางเลือกให้เหมาะสมกับ
แต่ละสถานการณ์
-ซักถามข้อสงสัย
-ตอบคำถาม
-ร่วมอภิปรายและลงข้อสรุป
-สรุปหลักการและกระบวนการแก้ปัญหา
-ทำแบบฝึกทักษะจากใบงานที่ครูผู้สอนเตรียมมา
-สร้างสถานการณ์ปัญหา
-เลือกทางเลือกที่เหมาะสมโดยใช้
มโนทัศน์เป็นพื้นฐานเพื่อนำไปใช้ใน
การแก้ปัญหา
-ตรวจสอบความถูกต้องจากบัตรเฉลย
-ตรวจสอบการแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่นักเรียนสร้างขึ้น
-ทำแบบฝึกหัดเป็นการบ้าน
-สร้างสถานการณ์ที่เป็นปัญหาที่สัมพันธ์และสอดคล้องกับชีวิตประจำวัน
-ประเมินคำตอบซึ่งกันและกันอย่างมีวิจารณญาณ
-ซักถามเมื่อหาข้อสรุปไม่ได้
-ประเมินตนเองในการคิดอย่างมี
วิจารณญาณ
-มีความรับผิดชอบในการเรียนของตนเอง






                 จากกรอบแนวคิดในการวิจัยและพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ตามแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสม์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น  ได้ขั้นตอนตามภาพประกอบ












                    ******************************************



ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์เหมือนกันพอจะสรุปได้ดังนี้

                           ทฤษฎีนี้ให้ความสำคัญกับประสบการณ์และกระบวนการของรายบุคคลในการได้มาซึ่งความรู้ ทางคณิตศาสตร์ ส่งเสริมให้นักเรียนได้กระทำกิจกรรมไตร่ตรองเพื่อตรวจสอบความเป็นไปได้ของทางเลือกที่แตกต่างเปิดโอกาสให้นักเรียนได้เรียนรู้ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ในวิถีทางและในบริบทที่นักเรียนสามารถถ่ายโยงประสบการณ์ส่วนตัวทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์โดยตรงมาทำให้เกิดความเข้าใจเนื้อหาทางคณิตศาสตร์ได้อย่างลึกซึ้ง กระบวนการสร้างความรู้ทางคณิตศาสตร์ในลักษณะนี้ จะสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและส่งผลทำให้นักเรียนสามารถหาความรู้และถ่ายโยงการเรียนรู้ต่างๆได้อย่างไม่จำกัดสาขาวิชา
                          ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) เป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการสร้างความรู้ ได้มีการเปลี่ยนจากเดิมที่เน้นการศึกษาปัจจัยภายนอกมาเป็น สิ่งเร้าภายใน ซึ่งได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ หรือกระบวนการรู้คิด กระบวนการคิด(Cognitive processes) ที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ จากผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยภายในมีส่วนช่วยทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย และความรู้เดิมมีส่วนเกี่ยวข้องและเสริมสร้างความเข้าใจของผู้เรียน แนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม(Constructivism) หรือ เรียกชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ สร้างสรรความรู้นิยม หรือสรรสร้างความรู้นิยม หรือ การสร้างความรู้(โครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้, 2544)

จากการศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับคอนสตรัคติวิสซึม สรุปเป็นสาระสำคัญได้ดังนี้

1. ความรู้ของบุคคลใด คือ โครงสร้างทางปัญญาของบุคคลนั้นที่สร้างขึ้นจากประสบการณ์ในการคลี่คลายสถานการณ์ที่เป็นปัญหาและสามารถนำไปใช้เป็นฐานในการแก้ปัญหาหรืออธิบายสถานการณ์อื่น ๆ ได้

2. นักเรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยวิธีการที่ต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ความสนใจและแรงจูงใจภายในตนเองเป็นจุดเริ่มต้น

3. ครูมีหน้าที่จัดการให้นักเรียนได้ปรับขยายโครงสร้างทางปัญญาของนักเรียนเอง ภายใต้ ข้อสมมติฐานต่อไปนี้
3.1 สถานการณ์ที่เป็นปัญหาและปฏิสัมพันธ์ทางสังคมก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา
3.2 ความขัดแย้งทางปัญญาเป็นแรงจูงใจภายในให้เกิดกิจกรรมการไตร่ตรองเพื่อขจัดความขัดแย้งนั้น Dewey ได้อธิบายเกี่ยวกับลักษณะการไตร่ตรอง(Reflection) เป็นการพิจารณาอย่างรอบคอบ กิจกรรมการไตร่ตรองจะเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่เป็นปัญหา น่าสงสัย งงงวย ยุ่งยาก ซับซ้อน เรียกว่า สถานการณ์ก่อนไตร่ตรอง และจะจบลงด้วยความแจ่มชัดที่สามารถอธิบายสถานการณ์ดังกล่าว สามารถแก้ปัญหาได้ ตลอดจนได้เรียนรู้และพึงพอใจกับผลที่ได้รับ
3.3 การไตร่ตรองบนฐานแห่งประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิมภายใต้การมีปฎิสัมพันธ์ทางสังคม กระตุ้นให้มีการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา

                              จากแนวคิดข้างต้นนี้กระบวนการเรียนการสอนในแนวคอนสตรัคติวิสซึม จึงมักเป็นไปในแบบที่ให้นักเรียนสร้างความรู้จากการช่วยกันแก้ปัญหา (Cooperative problem solving) กระบวนการเรียนการสอนจะเริ่มต้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) นั่นคือประสบการณ์และโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่เดิม ไม่สามารถจัดการแก้ปัญหานั้นได้ลงตัวพอดีเหมือนปัญหาที่เคยแก้มาแล้ว ต้องมีการคิดค้นเพิ่มเติมที่เรียกว่า การปรับโครงสร้างหรือการสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive restructuring) โดยการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ถกเถียงปัญหา ซักค้านจนกระทั่งหาเหตุผล หรือหลักฐานในเชิงประจักษ์มาขจัดความขัดแย้งทางปัญญาภายในตนเอง และระหว่างบุคคลได้ (ไพจิตร, 2543)

                              จากแนวคิดพื้นฐานของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมที่เป็นรากฐานสำคัญซึ่งปรากฏจากรายงานของนักจิตวิทยาและนักการศึกษา คือ Jean Piaget ชาวสวิส และ Lev Vygotsky ชาวรัสเซีย ซึ่งแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ Cognitive Construtivism และ Social Construtivism ดังมีรายละเอียด ดังนี้

1. Cognitive Constructivism มีพื้นฐานมาจากแนวคิดของ Piaget แนวคิดของทฤษฎีนี้ เน้นผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ โดยเป็นผู้สร้างความรู้ โดยการลงมือกระทำ Piaget เชื่อว่าถ้าผู้เรียนถูกกระตุ้นด้วยปัญหาที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive conflict) หรือเรียกว่าเกิดการเสียสมดุลย์ทางปัญญา(Disequilibrium) ผู้เรียนต้องพยายามปรับโครงสร้างทางปัญญา (Cognitive structuring)ให้เข้าสู่ภาวะสมดุลย์(Equilibrium) โดยวิธีการดูดซึม (Assimilation) ได้แก่ การรับข้อมูลใหม่จากสิ่งแวดล้อมเข้าไปไว้ในโครงสร้างทางปัญญา และ การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญา(Accomodation) คือ การเชื่อมโยงโครงสร้างทางปัญญาเดิม หรือความรู้เดิมที่มีมาก่อนกับข้อมูลข่าวสารใหม่ จนกระทั่งผู้เรียนสามารถปรับโครงสร้างทางปัญญาเข้าสู่สภาพสมดุลย์ หรือสามารถที่จะสร้างความรู้ใหม่ขึ้นมาได้ หรือเกิดการเรียนรู้นั่นเอง

2. Social Constructivism เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานมาจาก Vygotsky ซึ่งมีแนวคิดที่สำคัญที่ว่า "ปฏิสัมพัธ์ทางสังคม มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญา"รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับศักยภาพในการพัฒนาด้านพุทธิปัญญาที่อาจมีข้อจำกัดเกี่ยวกับช่วงของการพัฒนาที่รียกว่า Zone of Proximal Development ถ้าผู้เรียนอยู่ต่ำกว่า Zone of Proximal Development จำเป็นที่จะต้องได้รับการช่วยเหลือในการเรียนรู้ ที่เรียกว่า Scaffolding และVygotskyเชื่อว่าผู้เรียนสร้างความรู้โดยผ่านทางการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับผู้อื่น ได้แก่ เด็ก กับ ผู้ใหญ่ พ่อแม่ ครูและเพื่อน ในขณะที่เด็กอยู่ในบริบทของสังคมและวัฒนธรรม(Sociocultural context )

หลักสำคัญ 2 ประการสำหรับการนำทฤษฎีตามแนว Cognitive constructivism ไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ :

1. การเรียนรู้เป็นกระบวนการที่ลงมือปฏิบัติ (Learning is active process) ประสบการณ์ตรง การลองผิดลองถูกและค้นหาวิธีการแก้ปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดูดซึมและการปรับเปลี่ยนของข้อมูล วิธีการที่สารสนเทศถูกนำเสนอ เป็นสิ่งสำคัญ เมื่อสารสนเทศถูกนำเข้ามาในฐานะเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหา อาจทำหน้าที่เป็นเครื่องมือมากกว่าจะเป็นข้อเท็จจริงอย่างแท้จริง

2. การเรียนรู้ควรเป็นองค์รวม เน้นสภาพจริงและสิ่งที่เป็นจริง (Learning should be whole, authentic, and "real" )

เพียเจต์ได้ให้ความกระจ่างเกี่ยวกับ "การสร้างความหมาย จะมีการสร้างขึ้นโดยเด็กมีปฏิสัมพันธ์อย่างมีความหมายกับโลกโลกที่อยู่รอบตัวของพวกเขา" นั่นหมายความว่าสิ่งที่เด็กเรียนจะมีความหมายต่อเด็กน้อยถ้าแยกฝึกทักษะของแบบฝึกหัดในการสอนโดยตัดตอนเป็นช่วงๆ เป็นส่วน ๆ จนจบประโยค เด็กจะยังคงเรียนรู้สิ่งเหล่านี้ในห้องเรียนของเพียต์เจต์แต่จะแตกต่างกันที่ว่าพวกเขาจะเข้าไปเรียนในกิจกรรมที่มีความหมาย เช่น ในชั้นเรียนที่เรียนเรื่อง การเก็บสะสมเงินหรือการฝากธนาคาร หรือการเขียนการทำข่าวในชั้นเรียนเกี่ยวกับหนังสือพิมพ์ กิจกรรมทั้งหมดจะตรงข้ามกับการฝึกทักษะในแบบฝึกหัด กิจกรรมการเรียนตามสภาพจริง (Authentic learning) ซึ่งเด็กให้ความสนใจและมีความหมายต่อพวกเขาในห้องเรียนตามแนวเพียเจต์จะเน้นกิจกรรมตามสภาพจริง จะมีผลต่อพวกเด็กมากกว่าระดับคะแนนที่ได้จากการทดสอบหรือคำชมว่าดีมาก ในสาขาวิชา คอมพิวเตอร์เพื่อการศึกษา(Educational Computing) ทฤษฎีที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Cognitive Constructivist หรือที่เรียกว่า "Dirty teaching" ซึ่งมีการเน้นที่ตรงกันข้ามกับวิธีการที่แบ่งแยกเนื้อหาเป็นส่วน ๆ หรือที่เรียกว่า "Clean teaching" กับวิชาที่เป็นองค์รวมและสภาพจริงหรือที่เรียกว่า"Dirty teaching"   เทคโนโลยีจัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นที่จะช่วยให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของห้องเรียนตามแนวทาง Social Constructivism ตัวอย่างข้างล่างนี้จะแสดงเกี่ยวกับวิธีการที่เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถสนับสนุนการเรียนการสอนตามแนวทาง Social Constructivism ต่อไปนี้

เครื่องมือการสื่อสารทางไกล เช่น การใช้อีเมล(E-mail) และอินเทอร์เนต ช่วยเป็นสื่อกลางสำหรับการสนทนา อภิปราย แก้ปัญหา ที่มีปฏิสัมพันธ์ที่นำไปสู่ การสร้างความหมายทางสังคม ผู้เรียนสามารถสนทนากับผู้เรียนอื่น ๆครู และผู้เชี่ยวชาญในวงวิชาชีพที่อาจอยู่ไกลจากชั้นเรียนของพวกเขา เครื่องมือสื่อสารทางไกลยังคงสามารถช่วยผู้เรียนเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ ที่มีรูปแบบแตกต่างกันจะช่วยทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจวัฒนธรรมของพวกเขาเองและของผู้อื่น

โปรแกรมการเรียนเกี่ยวกับการเรียนบนเครือข่าย ช่วยทำให้เกิดการร่วมมือในการเรียน ผู้เรียนสามารถเขียนข้อความ ร่วมเรียนจริงซึ่งตอบสนองในทันที และผู้อื่นสามารถที่จะเข้ามาร่วมกิจกรรมการเรียนก็ได้

สถานการณ์จำลองสามารถทำให้การเรียนรู้มีความหมายโดยสถานการณ์การเรียนในบริบทของกิจกรรมในชีวิตจริง เช่น running a nuclear power plant, การเขียนเรื่องในหนังสือพิมพ์ การจัดการเกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม


ต่อไปนี้จะเป็นสรุปแนวคิดของทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม โดยเน้นเกี่ยวกับลักษณะของสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้

- ผู้เรียนลงมือกระทำด้วยตนเอง (Learning are active) ความสำคัญของการเรียนตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสซึม เป็นกระบวนการ ที่ผู้เรียนบูรณาการข้อมูลใหม่กับประสบการณ์ที่มีมาก่อนหรือความรู้เดิมของผู้เรียน และสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ แนวคิดที่หลากหลายเป็นสิ่งที่มีค่าและจำเป็น (Multiple perspective are valued and necessary) ตามแนวทางทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม กล่าวว่า ผู้เรียนจะต้องสร้างแนวคิดของตนเอง แนวคิดนี้จำเป็นต้องประกอบด้วยแนวคิดที่หลากหลายและ กว้างขวาง อาจมาจากแหล่งข้อมูลต่างๆ โดยที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้ เช่น ครู กลุ่มเพื่อน นักเขียน และหนังสือ เป็นต้น ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึมส่งเสริมให้ผู้เรียนรวบรวมแนวคิดที่หลากหลายและสังเคราะห์สิ่งเหล่านี้เป็นแนวคิดที่บูรณาการขึ้นมาใหม่

- การเรียนรู้ควรสนับสนุนการร่วมมือกันไม่ใช่การแข่งขัน (Learning should support collaboration , not competition) จากการแลกเปลี่ยนแนวคิดที่หลากหลายนั้นหมายถึงการร่วมมือ ในระหว่างที่มีการร่วมมือ ผู้เรียนต้องมีการสนทนากับคนอื่นๆเกี่ยวกับเรื่องที่กำลังเรียนรู้ กระบวนการนี้คือ การร่วมมือและแลกเปลี่ยน หรือการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งเป็นการทำให้ผู้เรียนตกผลึกและกลั่นกรองสิ่งที่สร้างขึ้นแทนความรู้ภายในสมอง มาเป็นคำพูดที่ใช้ในการสนทนาที่แสดงออกมาภายนอกที่เป็นรูปธรรม และส่งเสริมการสังเคราะห์ความรู้ที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ และการสร้างความหมายในการเรียนรู้ของตนเอง ดังนั้น สิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่จัดให้มีการร่วมมือกันจะเป็นการส่งเสริมการสร้างความรู้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นจำเป็นต่อการเรียนรู้

- ให้ความสำคัญกับการควบคุมตนเองตามระดับของผู้เรียน (Focuses control at the leaner level) ถ้าผู้เรียนลงมือกระทำในบริบท การเรียนรู้ โดยการร่วมมือกับผู้เรียนคนอื่น และผู้สอน และจำเป็นต้องควบคุมกระบวนการเรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าการที่เรียนในลักษณะที่เป็นผู้รับฟัง (Passive listening) จากการบรรยายของผู้สอน นี่แสดงเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงพื้นฐานกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียน

- นำเสนอประสบการณ์การเรียนรู้ที่ตรงกับสภาพที่เป็นจริงหรือประสบการณ์การเรียนรู้ในชีวิตจริง (Provides authentic,real-world learning experiences) ความรู้ที่ถูกแยกออกจากบริบทในสภาพจริงในระหว่างการสอนสิ่งที่เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ใช่สภาพจริงนั้น มักจะเป็น สิ่งที่ไม่มีความหมายต่อผู้เรียนมากนัก แต่สภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม ที่จัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ในสถานการณ์ต่างๆที่อยู่ในบริบทของสภาพจริง ดังนั้นประสบการณ์ การเรียนรู้ที่ประยุกต์ไปสู่ปัญหาในชีวิตจริง (Real world problems)จะช่วยสร้างการเชื่อมโยงที่แข็งแกร่ง และส่งผลให้ผู้เรียนสามารถประยุกต์สิ่งที่ได้เรียนไปสู่สถานการณ์ใหม่ในสภาพชีวิตจริงได้


ข้อตกลงเบื้องต้นของการออกแบบการสอนที่มีพื้นฐานจากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) Bednar etal (1991) ได้ให้ข้อตกลงไว้ดังนี้
1. การสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed) ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้าง สิ่งขึ้นแทนความรู้(Representation)ในสมองที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้น
2. การแปลความหมายของแต่ละคน (Interpretation personal) การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายตามสภาพจริง (Real world) ของแต่ละคน" การเรียนรู้เป็นผลจากการแปลความหมายตามประสบการณ์ของแต่ละคน
3. การเรียนรู้เกิดจาการลงมือกระทำ (Learning active) การเรียนรู้เป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำซึ่งเป็นการสร้าง ความหมายที่พัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานของประสบการณ์
4. การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative) ความหมายในการเรียนรู้เป็นการต่อรองจากแนวคิด ที่หลากหลาย "การพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเอง ได้มาจากการร่วมแบ่งปัน แนวคิดที่หลากหลายในกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนการสร้างสิ่งที่แทนความรู้ในสมอง(Knowledge representation)ที่สนองตอบต่อแนวคิดที่หลากหลายนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการอภิปรายเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายของแต่ละคน ผู้เรียนจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความรู้ของตนด้วยและสร้างความหมายของตนเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งตรงกับแนวคิด Cunningham ที่กล่าวว่า "บทบาทของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับคนอื่นจากการร่วมแสดงแนวคิดที่หลากหลายที่จะทำให้เกิดปัญหาเฉพาะและนำไปสู่การเลือกจุดหรือสถานการณ์ที่พวกเขาจะยอมรับในระหว่างกัน…."
5. การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)ควรเกิดขึ้นในสภาพชั้นเรียนจริง (Situated or anchored) " การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพจริง หรือสะท้อนบริบทที่เป็นสภาพจริง"
6. การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated) การทดสอบควรจะเป็นการบูรณาการเข้ากับภารกิจการเรียน (Task) ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบท การเรียนรู้ " การวัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้โครงสร้างความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการคิดในเนื้อหาการเรียนรู้นั้น ๆ "


ข้อตกลงเบื้องต้นเกี่ยวกับ เทคโนโลยีตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสซึม
1. เทคโนโลยีเป็นสิ่งที่มากกว่าเครื่องมือ เทคโนโลยีประกอบด้วยการออกแบบที่จะช่วยเหลือสนับสนุนผู้เรียนกลยุทธ์การเรียนรู้ทางพุทธิปัญญา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ Replicable และเทคนิคความสามารถในการประยุกต์
2. เทคโนโลยีการเรียนรู้เป็นสิ่งแวดล้อมใด ๆ หรือชุดที่สามารถนิยามของกิจกรรมที่สนับสนุนผู้เรียนในการสร้างความรู้และสร้างความหมาย
3. การสร้างความรู้ (Knowledge Construction) ไม่ใช่สนับสนุนจากการใช้เทคโนโลยีที่ใช้เป็นผู้ส่งหรือทำหน้าที่เป็นพาหะขนส่ง ความรู้ หรือ การสอน ที่จะควบคุมปฏิสัมพันธ์ผู้เรียนทั้งหมด
4. ยิ่งไปกว่านั้น เทคโนโลยีสนับสนุนการสร้างความรู้ จะเป็นการดีถ้าผู้เรียนต้องการหรือมีแรงขับ เมื่อมีปฏิสัมพันธ์นั่นเป็นการที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างและผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมและเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับเทคโนโลยีจะเป็นการสนับสนุนหรือช่วยเหลือให้เกิดความคิดรวบยอดและสติปัญญา
5. เทคโนโลยีเสมือนชุดเครื่องมือ ที่จะกระตุ้นผู้เรียนให้สร้างการอธิบายของตนเองอย่างมีความหมายและนำเสนอในชีวิตจริง ชุดเครื่องมือนี้ต้องสนับสนุนองค์ประกอบทางสติปัญญาของความต้องการในการเรียนรู้ของรายวิชาที่จะเรียน
6. ผู้เรียนและเทคโนโลยี เทคโนโลยีควรเปรียบเสมือนเพื่อนทางสติปัญญาของผู้เรียน และช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบทางพุทธิปัญญาสำหรับการแสดงออก
ทฤษฎีคอนสตรัควิสต์ (Constructivist Theory)

                         ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivist Theory) หรือ คอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยการกระทำของตนเอง (Theory of Active Knowing) ซึ่งมีแนวคิดหลักว่า บุคคลเรียนรู้โดยอาศัยปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมด้วยวิธีการต่าง ๆ กัน โดยอาศัยประสบการณ์เดิม โครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ และแรงจูงใจภายในเป็นพื้นฐานมากกว่า โดยอาศัยแต่เพียงรับข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมหรือรับการสอนจากภายนอกเท่านั้น และความขัดแย้งทางสติปัญญา (Cognitive Conflict) ที่เกิดจากการที่บุคคลเผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหาซึ่งไม่สามารถแก้หรืออธิบายได้ด้วยโครงสร้างทางปัญญาที่มีอยู่ หรือจากการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นจะเป็นแรงจูงใจให้เกิดการไตร่ตรอง (Reflection) ซึ่งนำไปสู่โครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restrucring) ที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา ที่เป็นปัญหาหรือขจัดความขัดแย้งทางปัญญาได้ Driver and Bell (1986)(อ้างถึงใน วัลลภา อารีรัตน์, 2545) กล่าวถึงจุดเน้นของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ดังนี้
1) ผลการเรียนรู้มิได้ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้เท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความรู้เดิมของผู้เรียน
2) การเรียนรู้ คือการสร้างความหมาย ความหมายที่สร้างขึ้นจากผู้เรียนจากสิ่งที่ผู้เรียนเห็นหรือได้ยินอาจจะเป็นหรือไม่เป็นไปตามจุดมุ่งหมายของผู้สอน ความหมายที่ผู้เรียน สร้างขึ้นได้รับผลกระทบอย่างมากจากความรู้เดิมที่ผู้เรียนมีอยู่
3) การสร้างความหมายเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง และผู้เรียนเป็นผู้กระทำกระบวนการนี้เอง (Active) ในสถานการณ์การเรียนรู้ ผู้เรียนจะตั้งสมมติฐาน ตรวจสอบ และ อาจเปลี่ยนแปลงสมมติฐานขณะที่มีปฏิสัมพันธ์กับปรากฏการณ์กับผู้อื่น
4) ความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจะได้รับการตรวจสอบ และอาจจะได้รับการยอมรับหรือถูกปฏิเสธ
5) ผู้เรียนเป็นผู้รับผิดชอบการเรียนรู้เอง ในการสร้างความตั้งใจในการทำงาน การดึงความรู้ที่มีอยู่มาสร้างความหมายให้แก่ตนเองและการตรวจสอบความหมายที่สร้างขึ้นนั้น
6) มีแบบแผน (Patterns) ของความหมายที่ผู้เรียนสร้างขึ้นจากประสบการณ์โลกเชิงกายภาพและภาษาธรรมชาติที่มีความหมายเดียวกันในเชิงนามธรรม

Underhill (1991)(อ้างถึงในวัลลภา อารีรัตน์, 2545) ได้กล่าวถึงข้อตกลงเบื้องต้น (Assumptions) ของการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ไว้ดังนี้
1) ความขัดแย้งทางปัญญา(Cognitive Conflict)และความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) เป็นกลไกหลักสองประการที่จูงใจให้ผู้เรียนอยากเรียน
2) การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนเป็นกลไกหลักในการสร้างความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflict)
3) ความขัดแย้งทางปัญญาก่อให้เกิดกิจกรรมไตร่ตรอง (Reflective Activity)
4) การไตร่ตรองเป็นองค์ประกอบหลักที่ทำให้เกิดโครงสร้างใหม่ทางปัญญา (Cognitive Restruring)
5) ข้อ 1,2,3 และ 4 เป็นวงจร
6) วงจรเกิดขึ้นเสมอในประสบการณ์ของผู้เรียน
7) วงจรนี้ให้อำนาจแก่ผู้เรียนในการควบคุมการเรียนรู้ของตนเอง

คำศัพท์เฉพาะที่เกี่ยวแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีดังนี้
1. โครงสร้างทางปัญญา (Cognitive Structure) หมายถึง กรอบของความหมายหรือแบบแผนของการดำเนินการที่บุคคลสร้างขึ้นจากความพยายามจัดการกับสิ่งแวดล้อม หรือขจัดสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วใช้เป็นเครื่องมือในการตีความ การให้เหตุผล หรือการแก้ปัญหาในสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ ที่อยู่ในกรอบโครงสร้างนั้น และใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการสร้างโครงสร้างใหม่อื่น ๆ ต่อไป


2. ความขัดแย้งทางปัญญา (Cognitive Conflect) และแรงจูงใจภายใน (Intrinsic Motivation) ความขัดแย้งทางปัญญา หมายถึง สภาวะอสมดุล (Disequilibrium) อันเกิดจากการเผชิญความไม่สอดคล้องกับความเชื่อบางอย่างที่ยึดถืออยู่ ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูล ความไม่สมเหตุสมผล ความลังเล สภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ หรือสภาวะทางปัญญาที่มีอยู่ไม่สามารถดูดซึมข้อมูลใหม่หรือแก้สถานการณ์ปัญหาที่มีอยู่ แรงจูงใจภายใน เป็นความพอใจที่ได้รับจากตัวเสริมแรงภายใน (Internal Reinforce) ของบุคคลไม่ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายภายนอก พฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายในประกอบด้วย การสำรวจ(Exploration) การสืบสวน(Investigation) การจัดกระทำ(Manipulation) การเผชิญความท้าทาย (Challenge Confrontation) เพื่อสนองความสนใจ ความเพลิดเพลิน เหตุผลส่วนตัว หรือความอยากรู้อยากเห็น และหลังจากได้ประจักษ์ ความสามารถของตนแล้วจะเกิด ความพยายามไม่ลดละ (Persistence) และนำตนเองเข้าผูกพันกับงานใหม่ต่อไป (Re – Engagement)
                                ดังนั้น การจัดการเรียนรู้โดยสร้างความขัดแย้งทางปัญญา ด้วยการให้นักเรียนได้เผชิญกับสถานการณ์ที่เป็นปัญหา ซึ่งต้องการโครงสร้างทางปัญญาในการแก้ปัญหาที่เกินกว่าโครงสร้างทางปัญญาที่นักเรียนมีอยู่ แต่มีบางส่วนร่วมอยู่ในโครงสร้างทางปัญญาที่นักเรียนมีอยู่และระดับความไม่เข้ากันระหว่างโครงสร้างทางปัญญา ที่ปัญหาใหม่ต้องการกับโครงสร้างทางปัญญาที่นักเรียนมีอยู่ในระดับที่เป็นไปได้ที่นีกเรียน จะแก้ปัญหาได้โดยตนเองหรือด้วยการร่วมมือกับเพื่อน อันก่อให้เกิดความลังเล เกิดสภาวะที่ตัดสินใจไม่ได้ จะก่อให้เกิดแรงขับที่เป็นความอยากรู้ อยากเห็น อันเป็นแรงจูงใจภายในให้ผู้เรียนทำการสำรวจ ตรวจสอบเพื่อโครงสร้างใหม่ ทางปัญญาที่สามารถคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา ที่ขจัดความขัดแย้งทางปัญญาระหว่างผู้เรียนได้และการเรียนรู้ที่เกิดจากการคลี่คลายสถานการณ์ปัญหา หรือขจัดความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้จะเป็นแรงจูงใจภายในให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะเรียนรู้ด้วยการเผชิญกับปัญหาใหม่ต่อไป
3. การไตร่ตรอง (Reflection)   กิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนได้ดำเนินกระบวนการไตร่ตรอง โดยการอธิบายถึง ความเชื่อของตนเกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะอย่าง เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนประเมินหรือตรวจสอบความเชื่อของตนตามเกณฑ์ต่อไปนี้
เกณฑ์ที่ 1 ความสอดคล้องระหว่างความเชื่อของตนกับความเชื่อของผู้อื่นในเรื่องเดียวกัน
เกณฑ์ที่ 2 ความสอดคล้องภายในความเชื่อของตนเอง ระหว่างสถานการณ์เฉพาะต่าง ๆ ที่อยู่ในกรอบโครงสร้างความสัมพันธ์เดียวกัน
เกณฑ์ที่ 3 ความสอดคล้องระหว่างความเชื่อกับผลจากการสังเกตในเชิงประจักษ์
ในกระบวนการของความพยายาม แสดงความเชื่อของความเชื่อหรือความคิดของตนต่อกันและกันนั้น ผู้เรียนจะสำรวจลึกลงไปในความเชื่อของตนเอง ถึงสถานการณ์อื่นที่อยู่ในกรอบโครงสร้างความสัมพันธ์เดียวกันกับสถานการณ์ที่กำลังอภิปรายและทำการสังเกตให้ประจักษ์ การสำรวจนี้สามารถนำผู้เรียน ไปสู่การค้นพบที่ไม่สอดคล้องภายในความเชื่อของตนเอง หรือพบความขัดแย้งระหว่าง ความเชื่อกับการสังเกตในเชิงประจักษ์
4. การให้อำนาจแก่ผู้เรียน (Learner Empowerment)   กระบวนการสร้างความรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เป็นกระบวนการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียนในการสร้างความหมายต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ อย่างเป็นอิสระและแสดงออกถึงกลวิธีในการได้มาซึ่งความหมายนั้น ๆ ตลอดจนความรับผิดชอบต่อความหมายที่ตนสร้างขึ้น กระบวนการนี้เป็นวัฎจักร (Dynamic) ที่มีการพัฒนาต่อไปอย่างไม่สิ้นสุด ทำให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learming) (Henderson, 1992 อ้างถึงใน สุดา เขียงคำ, 2545)
                           จากการทีผู้เรียนเป็นผู้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ดังนั้นบทบาทของครูตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จึงหมายถึงผู้อำนวยความสะดวก ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองมากกว่าที่จะเป็นผู้บอกความรู้ และครูมีภาระที่จะต้องตระหนักถึง โครงสร้างทางปัญญาและประสบการณ์เดิมของผู้เรียน ทั้งประสบการณ์ที่ผู้เรียนได้รับจากโรงเรียนและประสบการณ์ที่ได้รับจากชีวิตประจำวันภายนอกโรงเรียน เพื่อจะได้ใช้สิ่งเหล่านี้เป็นจุดเริ่มต้นที่จะสร้างโครงสร้างใหม่ทางปัญญา และครูไม่ควรปฏิเสธกลวิธีการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ใช้ได้ผลจริง ๆ สำหรับตัวผู้เรียนเองเพราะบุคคลจะไม่เปลี่ยนความคิดของตนเองอย่างแท้จริง ตราบเท่าที่ตนยังไม่ตระหนักในความผิดพลาดของความคิดนั้น ความผิดพลาดที่พบด้วยตนเองโดยความเห็นด้วยของกลุ่มเพื่อนที่ร่วมแก้ปัญหาเดียวกัน จะให้ผลในการเปลี่ยนแปลงความคิดของผู้เรียนได้มากกว่าการได้รับการบอกว่าผิดจากภายนอก การเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จึงให้ความสำคัญกับการอภิปรายซึ่งมักอยู่ในแบบของการแก้ปัญหาร่วมกัน (Cooperative Problem Solving) ซึ่งผู้เรียนจำเป็นต้องเรียนรู้ ที่จะต้องสนทนากับผู้อื่นและกับตนเอง ในกระบวนการของกิจกรรมการสร้างความรู้ร่วมกัน การร่วมมือกันทำงานและการใช้คำถามที่มุ่งวิเคราะห์วิธีการ เช่นคุณสามารถแก้ปัญหานี้ด้วยวิธีอื่นหรือไม่” “คุณได้แก้ปัญหาอื่นที่คล้ายกับปัญหานี้หรือยังมาถามกันในระหว่างผู้ร่วมงานและถามตนเองด้วย จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาโครงสร้างทางปัญญาด้านการดำเนินการได้ในระดับที่เหนือกว่าระดับปกติของผู้เรียน นอกจากนี้การให้ผู้เรียนได้พูดออกมาถึงความเห็นเกี่ยวกับปัญหาและวิธีการแก้ปัญหา ทำให้ผู้สอนแน่ใจได้ว่า ผู้เรียนกำลังตรวจสอบโครงสร้างทางปัญญาของตนเองอยู่ สิ่งที่ มีค่ามากซึ่งเกิดขึ้นระหว่างการตรวจสอบนี้คือ การที่ผู้เรียนได้รู้ถึงความไม่เพียงพอ ความขัดแย้งหรือความไม่ตรงของความเข้าใจ หรือกระบวนการคิดของตน อันจะนำไปสู่การปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางปัญญาของตนเองในที่สุด
                วรรณจรีย์ มังสิงค์ (2541) ได้กล่าวโดยสรุปว่า ปรัชญา Constructivism ได้อธิบาย ญาณวิทยาเกี่ยวกับการเรียนรู้และการได้มาซึ่งความรู้ (Knowing and Coming to Know) และได้แปลงมาเป็นทฤษฎีในกรอบแนวคิดของกระบวนการทางการศึกษา ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism ได้เสนอหลักการที่แตกต่างจากทฤษฎีอื่นดังนี้
1. ความรู้และความเชื่อเกิดขึ้นในตัวผู้เรียน นักจิตวิทยาการเรียนรู้กลุ่ม Constructivist ไม่ได้มองว่าผู้เรียน คือ Empt vessels ซึ่งหมายถึงผู้ไม่มีความรู้หรือความคิดเห็นทางทฤษฎีเกี่ยวกับเรื่องที่จะเรียนมาก่อน แต่เชื่อว่าผู้เรียนนำความรู้และประสบการณ์และความเข้าใจมาเรียนในห้องเรียนด้วย เมื่อพบข้อสนเทศใหม่เขาจะนำสิ่งที่เขารู้มาดูดซับ (Assimilate) ข้อสนเทศเรียนในห้องเรียนด้วย (Accommodate หรือ Refreme) สิ่งที่เขารู้ให้สอดคล้องกับความเข้าใจใหม่ที่เขาได้รับ กระบวนการได้มาซึ่งความรู้นี้เป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ทั้งสิ้น
2. ผู้เรียนเป็นผู้ให้ความหมายแก่ประสบการณ์ โดยปกติครูจะเป็นผู้อธิบายความหมายให้กับผู้เรียน เช่น บทประพันธ์นี้หมายความว่าอย่างไร เหตุการณ์อะไรที่สำคัญในประวัติศาสตร์ ภาพเขียนนี้สื่อความหมายอะไร เป็นต้น ผู้เรียนจะแปลความหมาย หรือตีถ้อยคำ หรือข้อความที่ได้รับให้เป็นความเข้าใจโดยใช้ค่านิยม และความเชื่อที่เขามีอยู่รวมทั้งมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นความหมายจะถูกสร้างขึ้น และปรับแต่งโดยประสบการณ์ที่มีมาก่อนของผู้เรียน บางครั้งประสบการณ์ และความเชื่อเดิมที่ผู้เรียนมีอยู่อาจขัดแย้งกับหลักการที่ผู้เรียนรู้จากห้องเรียน ความคิดความเข้าใจดังกล่าว เป็นสิ่งที่ปรับเปลี่ยนได้ยาก และจะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของผู้เรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต้องคำนึงถึงสิ่งนี้ด้วย
3. กิจกรรมการเรียนรู้ควรจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเข้าถึงประสบการณ์ ความรู้และความเชื่อของตน การสอนเพื่อจะก่อให้เกิดความรู้ตามแนวคิดของกลุ่ม Constructivist จะต้องเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ใช้สิ่งที่เขารู้เพื่อแปลความหมายข้อสนเทศใหม่ หน้าที่ของครู คือ ต้องค้นหาประสบการณ์และความเข้าใจที่มาก่อนของผู้เรียน และใช้สิ่งที่ผู้เรียนรู้เป็นสิ่งเริ่มต้นของการสอน
4. การเรียนรู้เป็นกิจกรรมทางสังคมซึ่งเกิดขึ้นจากการสืบเสาะร่วมกัน ผู้เรียนจะเรียนรู้ได้อย่างเข้าใจลึกซึ้งขึ้น เมื่อเขาสามารถเสนอและแลกเปลี่ยนความคิดกับผู้อื่น และขยายทรรศน ของตนให้กว้างขวางขึ้น

กรอบแนวคิดการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์
สำหรับการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้บนเครือข่ายตามแนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ จะใช้หลักการพื้นฐานในการออกแบบสิ่งแวดล้อมทางการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ คือ
1. สถานการณ์ปัญหา (Problem Based) จากหลักการ Constructivist Learning Environments (CLEs)โดย Jonassen (1999) การเรียนรู้มีความตื่นตัวและเน้นสภาพจริง (Authentic) เน้นกระบวนการคิดขั้นสูง (Higher Order Thinking) เป็นการกระตุ้นให้เกิดปัญหา โดยใช้ปัญหาเป็นฐานทำให้ผู้เรียนต้องพยายามค้นคว้า และแสวงหาคำตอบจากการค้นหาจากแหล่งการเรียนรู้ การอภิปรายในกลุ่ม การอภิปรายระหว่างกลุ่ม และการสอบถามผู้เชี่ยวชาญ
2. การร่วมมือกันแก้ปัญหาCollaboration)จากหลักการ Situated Learning Environments โดย Herington and Oliver (2000) โดยการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนเป็นผู้ลงมือกระทำเอง โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันแก้ปัญหา โดยให้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ทำให้เกิดการขยายแนวคิดและมุมมองที่หลากหลาย
3. แหล่งการเรียนรู้ (Resource) จากหลักการ Situated Learning Environments โดย Herington and Oliver (2000) ซึ่งเป็นที่รวบรวมข้อมูล เนื้อหาสารสนเทศ หรือทรัพยากรที่จำเป็น สำหรับการแก้ปัญหาและขยายแนวคิดด้วยตนเองไว้อย่างเป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้เรียนเข้าไปศึกษาได้อย่างรวดเร็ว

4. ฐานความช่วยเหลือ (Scaffolding) จัดไว้สำหรับผู้ที่ต้องการได้รับคำแนะนำ หรือแนวทางการแก้ปัญหาไม่ได้ช่วยให้ผู้เรียนที่อยู่ต่ำกว่า Zone of Proximal Development ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือเกี่ยวกับการแก้ปัญหา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด (Hannafin,1999 อ้างถึงใน สุมาลี ชัยเจริญ, 2546) คือ 1) ฐานความช่วยเหลือด้านความคิดรวบยอด 2) ฐานความช่วยเหลือด้านการคิด 3) ฐานความช่วยเหลือด้านกระบวนการ และ 4) ฐานความช่วยเหลือด้านกลยุทธ์

ทฤษฎีพื้นฐานที่เกี่ยวข้องการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม
แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิซึม มาจากทฤษฎีทางจิตวิทยา ที่สำคัญ 2 ทฤษฎี คือ
1) ทฤษฎีการพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ (Piaget)
เพียเจต์ (Piaget) เป็นนักจิตวิทยาผู้เสนอ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา โดยกล่าวว่าพัฒนาการทางสติปัญญาเกิดขึ้นเมื่อบุคคลมีปฏิสัมพันธ์ (Interact) กับสิ่งแวดล้อม โดยบุคคลพยายามปรับตัว (adaptation) ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทางกระบวนการ 2 อย่าง คือ การดูดซึม (Assimilation) และ การปรับให้เหมาะ (Accommodation) (ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2550)
1.1 การดูดซึม (Assimilation) เป็นกระบวนการรับสิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมให้เข้าไปอยู่ในโครงสร้างทางความรู้ที่มีอยู่นั่นคือเป็นกระบวนการที่อินทรีย์ผสมกลมกลืนสิ่งใหม่ ๆ ที่ได้จากโลกภายนอกให้เข้ากับความคิดหรือโครงสร้างเดิมที่มีอยู่ เช่น นักเรียนสามารถเข้าใจความคิดรวบยอดของการคูณได้ก็ต่อเมื่อนักเรียนจะต้องมีพื้นฐานความเข้าใจเรื่องการนับเพิ่มเป็นกลุ่มเท่า ๆ กัน หรือกองละเท่า ๆ กัน
1.2 การปรับให้เหมาะ (Accommodation) เป็นกระบวนการปรับโครงสร้างของความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่ หรือโครงสร้างทางความรู้ขึ้นใหม่เพื่อให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมนั่นคือเป็นกระบวนการ ที่อินทรีย์ไม่อาจผสมกลมกลืนสิ่งใหม่ที่ได้จากโลกภายนอกให้กับความคิดหรือโครงสร้างเดิม ที่มีอยู่ได้ จำเป็นต้องปรับแต่งขยายโครงสร้างของประสบการณ์ หรืความรู้เดิมเพื่อที่จะรับความรู้ ใหม่ ๆ กระบวนการนี้จะเกิดขึ้นหลังจากใช้กระบนการปรับโครงสร้างแล้วไม่ประสบผลสำเร็จ (สุดา เขียงคำ, 2546)
2. ทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคมของไวกอตสกี (Vygotsky)   แนวคิดของไวกอตสกีเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนรู้ตามแนวคอนสตรัคติวิซึม (Social constructivism) ไวกอตสกีเชื่อว่า
2.1 องค์ประกอบสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ของบุคคล คือการสร้างสื่อกลาง (Mediation) และมีการปฏิสัมพันธ์ (Interaction) ทางสังคมและวัฒนธรรม
2.2 การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมรอบตัวโดยเฉพาะสิ่งแวดล้อม ทางสังคมและวัฒนธรรม ช่วยพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของบุคคล
2.3 การช่วยเหลือและชี้แนะจากผู้ที่มีความชำนาญมากกว่าจะทำให้บุคคลสามารถแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้ด้วยตนเองได
2.4 ประสบการณ์จากการแก้ปัญหาดังกล่าว จะทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้โดยลำพังในเวลาต่อมา ในด้านการเรียนรู้ของบุคคล ไวกอตสกี ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขอบเขตของการเรียนรู้ไว้ (Zone of proximal development) สรุปได้ว่าผู้เรียนสามารถพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของตนเองขึ้นได้ด้วยการรับคำชี้แนะหรือทำงานร่วมกับผู้ที่มีความชำนาญเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ไวกอตสกี อธิบายการพัฒนาขอบเขตของการเรียนรู้ว่าเป็นการลดช่วงห่างระหว่างระดับพัฒนาการทางสติปัญญาที่ผู้เรียนมีอยู่ในขณะนั้นซึ่งดูได้จากปัญหาที่ผู้เรียนไม่สามารถแก้ได้โดยลำพัง แต่สามารถแก้ปัญหานั้นได้ถ้าได้รับการชี้แนะจากผู้มีความชำนาญมากกว่า ช่วยให้ผู้เรียนรู้และสามารถแก้ปัญหานั้นได้ด้วยตนเองในเวลาต่อมา (ศูนย์พัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการศึกษา, 2550)


ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ (Constructivism theory)   รากฐานทางปรัชญา ทฤษฎี มาจากความพยายามจะเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับ ประสบการณ์ใหม่ด้วยกระบวนการ   ที่พิสูจน์ให้เห็นจริงอย่างมีเหตุผล เป็นความรู้ที่เกิดการไตร่ตรอง (Reflection)ซึ่งถือเป็นปรัชญาปฏิบัตินิยมประกอบกับรากฐาน ทางจิตวิทยาการเรียนรู้ ซึ่งมีอิทธิพลต่อพื้นฐานแนวคิดนี้ คือ จีน เพียเจต์ (Jean Piaget) ซึ่งมีพื้นฐานแนวคิดจาก ดาร์วิน (Darwin) เรื่องการดำรงเผ่าพันธุ์ของสิ่งชีวิต เพียเจต์ เชื่อว่าสภาวะความสมดุลระหว่างอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับเข้าสู่สภาวะสมดุลย์ (Equilibrium) เป็นกระบวนการของการเรียนรู้ ซึ่งมีขั้นตอน
1. การดูดซึมเข้าสู่โครงสร้าง (assimilation) เป็นการตีความ หรือรับเอาข้อมูลจากสิ่งแวดล้อมมาปรับให้ เข้ากับโครงสร้างทางปัญญา
2. การปรับโครงสร้างทางปัญญา (accommodation) เป็นความสามารถในการปรับทางปัญญาให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม
                   ดังนั้น ทฤษฎีนี้จึงเกิดจากความเชื่อในการพัฒนาการทางปัญญา (Cognitive Development) ที่ว่าความรู้เกิดจากประสบการณ์ และกระบวนการในการสร้างความรู้ เกิดจากการกระทำ (active) การไตร่ตรอง (Reflection) ดิวอี้ อธิบายลักษณะของการไตร่ตรองว่า เป็นการพิจารณาความเชื่ออย่างรอบคอบไม่ลดละกิจกรรมการไตร่ตรองจะเริ่มต้นด้วยสถานการณ์ที่งงงวย ยุ่งยาก สับสน เรียกว่า สถานการณ์ก่อนไตร่ตรอง และจบลงด้วยสถานการณ์ที่แจ่มชัด แก้ปัญหาได้ เกิดความพอใจหรือรู้แล้ว (mastery) และจะสนุกกับผลที่ได้รับ กิจกรรมที่เกิดขึ้นระหว่างไตร่ตรองประกอบด้วยข้อเสนอ (Suggestions) ขั้นกำหนดปัญหา ขั้นกำหนดความคิด ขั้นใช้เหตุผล (Resoning) และขั้นกระทำเพื่อทดสอบสมมุติฐาน และผลที่ได้รับจากกระบวนการไม่ได้เป็นไปตามที่คิด แต่ผลจากกระบวนการ คือ มีนิสัย การคิดอย่างไตร่ตรอง

การให้อำนาจแก่ผู้เรียน (Learner Empowerment)
                      พื้นฐานความคิดตามทฤษฎีนี้มุ่งเน้นกระบวนการที่ให้อำนาจแก่ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างมีความหมาย และเป็นอิสระ สร้างความรับผิดชอบ แก่ผู้เรียน กระบวนการ นี้มีพัฒนาการไปอย่างไม่สิ้นสุด (dynamie) การเรียนรู้ตลอดชีวิต เนื่องจากผู้เรียนเป็น ผู้สร้างความรู้ด้วยตนเองครูจึงทำหน้าที่เชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตประจำวันถึงองค์ความรู้ เพื่อใช้เป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างโครงสร้าง ใหญ่ทางปัญญาหรือเรียกว่า ผู้อำนวยความสะดวก (Facilitator) มากกว่าจะเป็น ผู้สอน การเรียนการสอนตามแนวคิดนี้ให้ ความสำคัญกับการอภิปรายสนทนาแลกเปลี่ยน เพื่อแก้ปัญหาร่วมกันผู้เรียนจำเป็นจะต้องมีความหลากหลาย (Divertion)สร้างพื้นฐาน การยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ร่วมมือกันทำงานมุ่งวิธีวิเคราะห์เพื่อการแก้ปัญหา จะช่วยให้ผู้เรียนพัฒนา โครงสร้างทางปัญหาได้ เหนือกว่าระดับปกติ   คอนสตรัคติวิส (Constructivism) สู่ คอนสตรัคชั่นนิส (Constructionism) Profresser Dr.Seymeur Papert เป็นนักจิตวิทยาและนักคณิตศาสตร์ซึ่งมีความเชื่อตามแนวคิดของ Piaget Dr.Papert ทำงานร่วมกับ Piaget ที่กรุงเจนิวา 5 ปี ปัจจุบัน เป็นศาสตราจารย์สถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตด์ รัฐแมสซาซูเซตต์ อเมริกาจากความรู้ และประสบการณ์ทำให้เขาเข้าใจความสัมพันธ์ของคณิตศาสตร์ ในความสอดคล้องของความคิดและโลกแห่ง
ความจริงเขาเชื่อว่าผู้เรียนสามารถจะสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ผู้เรียนคิดได้อย่างเป็นอิสระ จากการสร้างซอฟแวร์ภาษาโลโก้   นำไปใช้ โดยขั้นแรกจะต้องทำให้เกิดการเชื่อมต่อระบบของคนกับเครื่องมือหลังจากนั้นจึงทำให้โปรแกรมแสดงหรือทำงานกับผู้เรียนได้ ต่อจากนั้นเราต้องการความสนใจอย่างเพียงพอ ที่จะทำให้ผู้เรียนเรียนคอมพิวเตอร์ โดยมีจุดประสงค์ให้ผู้เรียนสอนให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ตามที่ต้องการ ซึ่งเป็นการพัฒนาปัญญาของผู้เรียน ตามแนวคิดของ Piaget ที่เชื่อว่าผู้เรียน "เรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อลงมือทำและได้ตัดสินใจ เองว่าจะทำอะไร เมื่อไรและอย่างไร" Piaget (ชัยอนันต์ : เพลินเรียน) สนใจการสร้างความรู้จากเสถียรภาพภายใน (internal stability) ซึ่งเป็นการรักษาดุลยภาพระหว่างเสถียรภาพกับการเปลี่ยนแปลง แต่ Papert สนใจ พลวัตรของการเปลี่ยนแปลง (Dynamic of change) (ศ.ดร.ชัยอนันต์ : อ้างแล้ว) เขาจึงสร้างการกระทำโดยพยายามจะสร้างกระบวนการเรียน การคิดและการเล่นโดยการลงมือทำ และเชื่อมโยงเอาประสบการณ์ และเข้าไปอยู่ในสถานการณ์จริง และเปิดโอกาส ให้ทางเลือกที่หลากหลาย มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ของผู้เรียนในห้อง หรือสังคม มีการแสดงผลงาน และการอภิปรายร่วมกัน และปรับเปลี่ยนกระบวนทัศนะของครูเสียใหม่ ให้เป็นผู้อำนวยความสะดวก(Facilitator) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีอิสระ และยึดความแตกต่างระหว่างบุคคล คอนสตรัคชั่นนิส (Constructionism) กล่าวในหนังสือ Midestrom ว่าการใช้โปรแกรมภาษา Logo หรือ Microworlds เป็นการสนับสนุนผู้เรียนในขณะ ที่เรากำลังสร้างโครงสร้างทางปัญญา (Interigent structure) สร้างเครื่องมือจากสภาพวัฒนธรรมของเขา ต้องมีแผน (Planing) ไม่มีหลักสูตรแต่ไม่ใช่ไม่มีรูปแบบ (free-from) ต้องมีโครงสร้าง มีการเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดเวลา (Learn at the sametime) มีการสะท้อนหรือ แลกเปลี่ยนข้อมูล (Reflex) รวมทั้งฝึกวิธีการเรียน การบันทึกอย่างมีระบบ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน และมี การตรวจสอบความคิดของ ตนเอง (self relationship) มีการบูรณาการเนื้อหาให้เข้ากับการศึกษาคอมพิวเตอร์ในโปรแกรมไมโครเวิลด์   โดยทำโครงงาน การทำโครงงานจะช่วยให้ผู้เรียนทำเอง เรียนรู้และช่วยเหลือผู้อื่นไปด้วยเน้นประเมินตนเองจากความก้าวหน้าไม่มุ่งเน้น การแข่งขันขณะเดียวกันก็ให้เกิดความชำนาญในการแสดงผลงาน และความคิดของตนเองสู่ระบบชั้นเรียน หรือกลุ่มเพื่อให้เกิดทักษะ และความมั่นใจ

ทฤษฎีการสร้างความรู้ (Constructionism)
                       จากเอกสาร Constructionism Tools to build (and think) with แปลและเรียบเรียงโดย นางสาววิมล ก่อเกิด
การเรียนรู้คืออะไร และเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Piaget การเรียนรู้ คือ ทฤษฎีหนึ่งของการพัฒนาการศึกษาโดยศาสตราจารย์ Papert ของ MIT. ซึ่งเป็นพื้นฐานของทฤษฎีการสร้างความรู้โดย Swiss Psychologist Jean Piaget (1896 - 1980) Papert ทำงานร่วมกับ Piaget ที่กรุงเจนีวาใน ค.ศ. 1950 ตอนปลาย และช่วงต้นของปี ค.ศ.1960
                      ทฤษฎีของการเรียนรู้ คือ กลุ่มความคิดที่พยายามจะอธิบายให้ทราบว่าการเรียนรู้คืออะไรและจะพัฒนาให้เข้าถึงจิตใจของ คนได้อย่างไร ตัวอย่าง เช่น บางทฤษฎีจะเน้นทางด้านรูปแบบ หรือเนื้อหาในวิชาเรียน แต่บางทฤษฎี เน้นว่าความรู้เป็นแค่เพียงส่วนหนึ่ง ที่ได้รับจากประสบการณ์ ทฤษฎีของ Piaget ได้กล่าวไว้ว่า "การทำกิจกรรม ช่วยสร้างความรู้" นั่นคือเขาได้สร้างระบบความคิดที่น่าเชื่อถือ จากประสบการณ์ต่าง ๆ ในโลกนี้จากเหตุผลเหล่านี้ จึงทำให้เขาเรียกทฤษฎีนี้ว่า "ทฤษฎีการสร้างความรู้" ความมุ่งหมายของ Piaget คือ ให้ศึกษาว่า เด็กสร้างการเรียนรู้อย่างไร เขาได้คิดกิจกรรมและคำถามที่จะศึกษาให้รู้ว่า ทักษะการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ในเด็กที่ต่างอายุกัน จะแตกต่างกันหรือไม่ ตัวอย่างเช่น เขาค้นพบว่าเด็กเล็ก ๆ จะเชื่อว่าปริมาณของน้ำจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่ออยู่ในภาชนะที่ต่างกันแต่เด็ก ที่โตกว่า และมีการเรียนรู้มากขึ้น จะเชื่อว่าปริมาณน้ำ จะอยู่ในภาชนะที่รูปร่างต่างกัน Piaget ไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นนักศึกษาศาสตร์ แต่เป็นนักทดลองวิทยาศาสตร์ Seymour Papert ต้องการใช้สิ่งที่ Piaget ใช้เรียนรู้เกี่ยวกับเด็กไว้เป็นพื้นฐานการเรียนรู้โดยการคิด เขาต้องการใช้ทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้เป็นรูป ของทฤษฎีเกี่ยวกับการศึกษา คุณคิดอย่างไรกับคำพูดที่ว่า การศึกษาขึ้นอยู่กับว่าคุณคิด อย่างไรเกี่ยวกับการเรียนรู้ ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณคิดว่าความรู้ คือเนื้อหาวิชาที่เรียน ดังนั้นถ้าการศึกษาเกิดจากการเรียนวาดภาพเราไม่ สามารถที่จะให้เด็กได้เรียนรู้ โดยการถามหรือตอบคำถามได้ตามที่เราต้องการ แต่ในอีกกรณีหนึ่ง ถ้าคุณคิดว่าการเรียนรู้ คือผลสะท้อน ของประสบการณ์ หรือการเรียนรู้โลกภายนอกการศึกษาก็จะเกิดจากการเปิดโอกาสให้เด็กมีประสบการณ์และแสดงว่าเขาได้ทำในสิ่งที่ ถูกต้องและสามารถจะบอกคำตอบที่ถูกต้องด้วย ตำราการศึกษา เป็นเรื่องที่กว้าง แล้วแต่ทฤษฎีแต่ละอย่างจะกล่าวถึง แต่ถ้าคุณเชื่อ
ทฤษฎีของ Piaget และ Papert ที่ว่า "การเรียนรู้ถูกสร้างโดยเด็ก" การปล่อยโอกาสให้เด็กได้มีการเรียนรู้ และสร้างสรรค์ประดิษฐ์ สิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเอง ถือได้ว่า เป็นกระบวนการเรียนรู้อย่างหนึ่ง   Papert กล่าวไว้ว่า "การเรียนรู้ที่ดีกว่าไม่ได้มาจากการเรียนรู้ที่ได้รับจากการ แนะนำสั่งสอนจากครูแต่มาจากการให้โอกาส ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตัวเอง" ทฤษฎีการสร้างความรู้ เป็นการเรียนรู้ถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ โดยเฉพาะเมื่อเด็ก ได้ประสบกับสิ่งที่ช่วยสร้าง การเรียนรู้อย่าง เช่น ปราสาททราย, โครงเครื่องจักร, หนังสือ, โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือเพลง การสร้างความรู้ ทำให้เกิดการสร้างขึ้น 2 ชนิด คือ เมื่อเด็กสร้างสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาพร้อมกันนั้นเขาก็เกิดการเรียนรู้ในหัวสมอง ของเขาด้วย การเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ช่วยให้เขาสามารถที่จะสร้างเหตุการณ์ต่าง ๆ มากกว่าที่จะอ้างเหตุผลอื่นมาประกอบอย่างผิด ๆ ซ้ำผลที่ ได้รับ จะมากกว่าการเรียนรู้ ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับตัวเอง (a self - reinforcing cycle ) ในการสร้างโอกาส ให้กับ ผู้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เป็นการนำร่องของ Papert และทีมงาน ที่ M.I.T. เพื่อออกแบบปัจจัยในการสร้างความรู้สำหรับเด็ก ให้ดีเท่าๆกับการจัดตั้งหรือการสร้างสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยนั้นสามารถที่จะใช้ได้ดีที่สุด

                    ทฤษฎี Constructionism กับความสอดคล้องกับการจัดระบบการศึกษานอกโรงเรียน เกี่ยวกับทฤษฎี Constructionism กรมการศึกษานอกโรงเรียนเคยใช้วิธีการพบกลุ่มการเรียนโดยมิได้มุ่งเน้นในการสอนตามเนื้อหาในตำราแต่การพบกลุ่มจะ มุ่งเน้นที่การเรียนรู้เพื่อสร้างให้คนสามารถานำเอาความรู้ไปใช้ได้ในสภาพความเป็นจริง ดร.โกวิท วรพิพัฒน์ นักการศึกษาไทย ได้แสดงแนวคิดการศึกษานอกโรงเรียนมีหลักการว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของการเรียนของมวลชนก็เพื่อมุ่งให้เกิดความประสม กลมกลืนและเข้ากันได้ระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งความสมดุลจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อคนสามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆหรือสามารถ ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ ซึ่งเรียกว่า "คิดเป็น"หลักการนี้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนจึงได้ใช้แนวคิดที่ว่า คิดเป็น ทำเป็นแก้ปัญหาเป็น มาใช้ในการเรียนการสอนซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎี Constructionism ที่ว่า "ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อลงมือทำและได้ตัดสินใจเองว่า จะทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร"
เราเห็นได้ว่า ทั้งทฤษฎี Constructionismและแนวทางการศึกษานอกโรงเรียนจะมุ่งเน้นให้คนได้รู้จักคิดและลงมือกระทำ รวมถึงการพัฒนาความคิด เพื่อที่จะก้าวให้ทันกับเทคโนโลยีที่พัฒนาอยู่ทุกวัน จนเราตามไม่ทันซึ่งไม่มีเนื้อหาหรือข้อมูลอยู่ในตำราเรียน ซึ่งทฤษฎีที่กล่าวมาข้างต้น สอดคล้องกับ พ.ร.บ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับปัจจุบัน ในมาตรา 24 ข้อ(2)(3) "การจัดกระบวนการ การเรียนรู้ให้สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ(2) ฝึกทักษะกระบวนการคิดการจัดการเผชิญสถานการณ์ และการ ประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา (3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงฝึกปฏิบัติ ให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง "เห็นได้ชัดว่า พ.ร.บ. การศึกษาฉบับใหม่ สอดคล้องกับแนวทาง Constructionism   คือ ต้องการพัฒนากระบวนการการคิด และกระบวนการเรียนรู้ และปรับเปลี่ยนระบบการศึกษา โดยเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้

สรุปแนวคิดตามทฤษฎี

โครงการพัฒนาการเรียนรู้ (Lighthouse project) เป็นโครงการที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิรูปเพื่อก่อให้เกิดการบรรลุ เป้าหมายการศึกษาของชาติ ซึ่งมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนารูปแบบการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย คือใช้แบบของเทคโนโลยี สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และออกแบบเทคโนโลยีดังกล่าวโดยอาศัยความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของการเรียนรู้ทันสมัยมาก ที่สุด โดยที่โครงการพัฒนาการเรียนรู้ เป็นโครงการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ตามทฤษฎี Constructionism ของ Professor Dr.Seymour Papert ที่มีรากฐานของแนวความคิดจาก Jean Piget ที่เชื่อว่า ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีที่สุด เมื่อลงมือทำ และได้ตัดสินใจเองว่า จะทำอะไร เมื่อไร และอย่างไร เพื่อเพิ่มทักษะการคิดเป็นทั้งให้เกิดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาไปสู่อนาคต โดยการสร้างพลังการเรียนรู้ (Powerful learning) ในสภาพแวดล้อมใหม่ และสามารถบูรณาการความรู้ให้เกิดประโยชน์จริงจากความคิดที่เกิดขึ้นจากตัวของเราเองทำให้ เกิดการเรียนรู้ที่ลึกลงไปและต้องการให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในตัวครู (Facilitator) นั้นเป็นผู้เรียนมากพอ ๆ กับการทำการสอนและ มุ่งให้เปลี่ยนแปลงจาก Teacher - Centered และCurriculum Driven เป็นระบบ Learner-Centered เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติ จริงเป็นคอมพิวเตอร์โปรแกรม Microworlds Hardware and Softwareซึ่งจะทำให้ผู้เรียนมีการพัฒนาทักษะและมีการมองเห็นตัวเอง ว่าเป็นผู้เรียนที่มีการเรียนรู้เนื้อหาจริงที่มีความซับซ้อน


ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์

การเปรียบเทียบความสามารถการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วนทศนิยม และการคิดวิเคราะห์ ระหว่างวิธีเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STADสอดแทรกเมตาคอกนิชั่น วิธีเรียนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์วิธีเรียนตามคู่มือครู สสวท. ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
การเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง ความน่าจะเป็น ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ตามทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ และการสอนตามปกติ
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง การหาพื้นที่ของรูปสามเหลี่ยมและรูปสี่เหลี่ยม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระคณิตศาสตร์ เรื่อง  จำนวนเชิงซ้อน ลำดับ อนุกรม โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ของนักเรียนม.5
ผลการเรียน เรื่อง การใช้โปรแกรมตารางทำงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างการเรียนบนเครือข่ายที่สร้างตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับการเรียนปกติ

                                ******************************************

3 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณครับ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า มากๆ

    ตอบลบ
  2. ยินดีค่ะ คนไทยต้องช่วยกันจริงป่าวคะ...

    ตอบลบ
  3. ขอบคุณครับ เป็นประโยชนย์มากเลย

    ตอบลบ