ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience / TrueRenew ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

19 ตุลาคม 2553

เจ้าหญิงไดอานา

ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี
นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ และทูตสันถวไมตรีที่เชื่อมทุกความขัดแย้ง แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง
วัยเด็ก
ไดอานาประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 เวลาประมาณ 18.39 น. ทรงเป็นธิดาคนสุดท้องของวิสเคานท์และวิสเคานท์เตสอัลทอป ไดอานาทรงรับศีลล้างบาปที่โบสถ์เซนต์แมรี่แม็กดาลีน พระองค์ทรงมีพี่น้อง 5 คนดังนี้
  1. อลิซาเบธ ซาราห์ ลาวินา สเปนเซอร์ (เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดล ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิไดอานา ตามพระประสงค์ของเจ้าหญิง)
  2. ซินเธีย เจน สเปนเซอร์ (เลดี้เจน เฟเลอว์ ปัจจุบันคือ บารอนเนสเฟเลอว์)
  3. ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ (เจ้าหญิงแห่งเวลส์)
  4. จอห์น สเปนเซอร์ (ถึงแก่กรรมหลังคลอดได้เพียง 10 ชั่วโมง)
  5. ชารลส์ เอ็ดเวิร์ด มัวไรส์ สเปนเซอร์ (เอิร์ลสเปนเซอร์คนที่ 9)
หลังการหย่า ออเนอเรเบิลฟรานเซส พระมารดาของเจ้าหญิงพยายามที่จะขอมีอำนาจในการปกครองบุตร-ธิดาทุกคนโดยการร้องขอต่อศาล หากแต่แพ้คดีความ อำนาจในการปกครองบุตรธิดาจึงตกอยู่ที่พระบิดา ซึ่งหลังจากพระอัยกา (ปู่) ของไดอานา เอิร์ลคนที่ 7 แห่งสเปนเซอร์ถึงแก่อนิจกรรม วิสเคานท์อัลทอปในฐานะบุตรชายคนโตจึงได้รับสืบทอดยศของตระกูลต่อมา เป็นเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ ธิดาทั้งสามคน (ซาราห์ เจนและไดอานา) ได้รับยศเป็นเลดี้ ในขณะที่ชาลส์ ในฐานะที่เป็นทายาทผู้จะสืบตำแหน่งเอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ต่อไป จึงดำรงยศเป็นวิสเคานท์อัลธอร์ำพ
ต่อมาเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ พระบิดาได้สมรสอีกครั้งกับเรนน์ เคานท์เตสแห่งดาร์มอท (ลูกสาวของ บาร์บารา คารต์แลนด์นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวอังกฤษ ที่ไดอานาชื่นชอบ) ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างแม่เลี้ยงและลูกเลี้ยงทั้ง 4 คนนั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก
อภิเษกสมรส

พระราชพิธีอภิเษกสมรส
ครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงอภิเษกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ   นอกจากนี้ ลอร์ดเมาท์แบทเทน แห่งพม่าซึ่งเป็นพระอัยยิกาน้อย (น้องชายของปู๋) ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ยังได้แนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย   อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดี้ฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือ สุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก
สำนักพระราชวังบัคคิงแฮมประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยมีแขกได้รับเชิญจำนวนกว่า 3500 คน และมีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีนี้ด้วย
ไดอานาเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ    หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ
นอกจากนี้ ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย
พระโอรส
เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ
  1. เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี
  2. เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี)
ลูกเลี้ยง
ไดอานานอกจากจะมีพระโอรส 2 พระองค์แล้ว ยังทรงมีลูกเลี้ยง (godchildren คือ เด็กที่พระองค์ทรงเป็นแม่ทูนหัว) อีกเป็นจำนวน 17 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้
  1. เลดีเอ็ดวิน่า กรอสเวนเนอร์ ธิดาของดยุคและดัชเชสแห่งเวสมินสเตอร์ โดยเป็นลูกเลี้ยงคนแรกของไดอานา
  2. ฮอนเนอเรเบิ้ลอเล็กซานดร้า นัตช์บอลล์ ธิดาของลอร์ดและเลดีโรมเซ่ย์
  3. แคลร์ คาซาแลท ธิดาของอิซาเบล และ วิคเตอร์ คาซาแลท
  4. คามิลล่า สไตรเกอร์ ธิดาของเรเบิ้น และฮอนเนอเรเบิ้ลโซเฟีย สไตรเกอร์ ซึ่งเป็นพระสหายที่เคยอยู่แฟลตห้องเดียวกันกับไดอานา
  5. เจ้าชายฟิลิปเปส์ พระราชโอรสของอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินและสมเด็จพระราชินีแอนน์ มารี
  6. ลีโอนารา ลอนสเดล ธิดาของเจมี่และลอร่า ลอนสเดล ลอร่าเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของไดอานา
  7. แจ๊กกี้ วอร์แรน บุตรของจอห์นและเลดีแคโรลีน วอร์แรน
  8. เลดีแมรี่ เวลเลสลี่ย์ ธิดาของมาควิสและมาชันเนสแห่งโดโร
  9. จอร์จ ฟรอสต์ บุตรของเซอร์เดวิดและเลดีคาริน่า ฟรอสต์
  10. แอนโทนี่ ทวิสตัน-ดาวี่ ธิดาของออดลี่ย์ ทวิสตัน-ดาวี่ และฮอนเนอเรเบิ้ลแคโรลีน ฮาร์บอด-ฮาร์มอนด์ แคโรลีนเป็นพระสหายที่ไดอานาทรงไว้พระทัยมาก
  11. แจ๊ค ฟลอคเนอร์ บุตรของซีมอนด์และอิซาเบล ฟอล์คเนอร์
  12. ลอร์ดเอ็ดเวิร์ด ดาวน์แพททริค บุตรของเอิร์ลแค้นท์เตสแห่งเซนท์แอนดรูว์
  13. แจ๊ค บาทโลเมล บุตรของวิลเลี่ยมและแคโรลีน บาทโลเมล แคโรลีนเป็นพระสหายตั้งแต่มัธยมและเคยอยู่แฟลตห้องเดียวกับไดอานา
  14. เบนจามิน ซามูแอล บุตรของฮอนเนอเรเบิลไมเคิลและจูเลีย ซามูแอล จูเลียเป็นพระสหายสนิทของไดอานา ทั้งสองคนมักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเสมอๆ อีกทั้งยังเป็นเพื่อนไม่กี่คนที่ไดอานาขอคำปรึกษาเรื่องครอบครัวที่ร้าวฉาน
  15. แอนโทนี่ แฮร์ริงตัน ธิดาของโจนาธาน แฮร์ริงตัน
  16. ดิซซี่ย์ โซแอมซ์ ธิดาของฮอนเนอเรเบิลรูเพิร์ทและคามิลลา โซแอมซ์
  17. โดเมนิก้า ลอว์ซัน ธิดาของดอมินิค ลอว์ซันและฮอนเนอเรเบิล โรซา มอนซ์ตัน โรซาเป็นพระสหายคนที่ไดอานาไปประทับอยู่ด้วย 1 เดือนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ โดเมนิก้าเป็นลูกเลี้ยงคนสุดท้ายของไดอานา
ทรงหย่า

หนังสือสำคัญการหย่าของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์
เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค บูลิเมีย (อยากอาหาร แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะอาเจียนออกมาจนหมด แต่ความอยากอาหารก็จะยังคงมีอยู่ตลอดเวลา) ซึ่งหลังจากหายขาดจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์เริ่มทรงมีความสัมพันธ์กับคามิลลา ปาร์กเกอร์โบลส์อย่างเปิดเผย บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งข่าวคราวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)
พระกรณียกิจ
เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายหลายประการ ดังนี้
  • ด้านโรคเอดส์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นบุคคลสำคัญคนแรกของโลกที่ถูกถ่ายรูปว่าจับต้องตัวผู้ป่วยโรคเอดส์ ความคิดและทัศนคติต่อคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เปลี่ยนไปทันที และคนป่วยเองก็มีกำลังใจมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะจากคำพูดของประธานาธิบดี บิล คลินตัน ซึ่งกล่าวถึงไดอานา ในปี พ.ศ. 2530 ว่า
"เมื่อปี 1987,หลายคนต่างเชื่อว่าโรคเอดส์สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสตัวกัน แต่เจ้าหญิงไดอาน่าได้ประทับร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เตียงของเขาและทรงจับมือเขาไว้ พระองค์ได้แสดงให้โลกได้รับรู้ว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่สมควรที่จะถูกทอดทิ้งแต่ควรที่จะได้รับความเอื้ออาทรจากเรามากกว่า นั่นเป็นการเปลี่ยนความคิดของประชาคมโลกและเป็นการให้ความหวังแก่ผู้ป่วยที่ด้วยโรคนี้ ''
  • ต่อต้านกับระเบิด เจ้าหญิงเสด็จไปในการทรงต่อต้านการวางกับระเบิด ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกวิสามัญของสภากาชาดแห่งอังกฤษ ภาพที่พระองค์ทรงจับมือเด็กหญิงที่ถูกกับระเบิดกำลังจะสิ้นใจตราบกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของเธอ นำความเศร้าอย่างยิ่งให้กับโลก
นอกจากนี้ เจ้าหญิงยังทรงสนพระทัยในศาสนาอย่างมาก พระองค์เคยทรงเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย และยังทรงโปรดการที่ได้เล่นกับเด็กโดยไม่ถือพระองค์ ทรงเป็นแม่ทูนหัวของเด็กถึง 17 คน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะพระองค์ทรงเคยเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลมาก่อนก็ได้ ในด้านการต่างประเทศทรงเป็นทูตสันถวไมตรีในหลายๆ ประเทศ การเสด็จของพระองค์นำความยินดีให้กับทุกคนที่จะได้เฝ้าฯ เป็นที่น่าเสียดายว่าก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นานทรงมีหมายกำหนดการที่จะเสด็จเยือน จังหวัดภูเก็ต แต่ยกเลิกไปเสียก่อน
เหตุการณ์ก่อนสิ้นชีวิต
อุบัติเหตุ

รถพระที่นั่งภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุ
เมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เวลา 15.37 น. มีผู้พบเห็นไดอานาลงจากเครื่องบินที่มีต้นทางจากหมู่เกาะซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ที่สนามบินเลอร์ บู เจ๊ตในกรุงปารีส ในเวลาประมาณ 15.40น. เจ้าหญิงได้ขึ้นรถ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส 280 สีดำ รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบินอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทรงนัดพบกับ โดดี อัลฟาเยด์ ที่อพาร์ตเมนต์กลางกรุงปารีส หลังจากนั้น เวลาประมาณ 17.45 น. มีผู้พบเห็นไดอานากับนายโดดี พร้อมองครักษ์ อีกครั้งขณะช็อปปี้งในย่านถนน "ชองเซลีเซ่" ขณะนั้นช่างภาพอิสระรุมถ่ายภาพระองค์กับนายโดดี โดยเวลา 18.40 น. เจ้าหญิงจึงเสด็จกลับ มีการดักฟังทางโทรศัพท์ว่า เจ้าหญิงจะทรงพบกับนายโดดีอีก ที่โรงแรมริทซ์เพื่อเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในเวลา 21.31 น. และเจ้าหญิงได้เสด็จถึงโรงแรมเมื่อเวลา 21.31 โดยในระหว่างเวลา 21.40-23.30 น. เจ้าหญิงได้อยู่ในภัตตาคารอันหรูหราของนายโดดี แต่มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของเจ้าหญิงว่าได้โทรศัพท์ไปหานางมารา โหรหญิงและเจ้าของร้านอาหารอิตาเลียนในกรุงลอนดอน พระสหายสนิทพระองค์ เพื่อทำนายดวงชะตาและขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตภายในอีก 2-3 อาทิตย์ข้างหน้า
ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เจ้าหญิงไดอาน่าได้เสด็จออกจากโรงแรมริตซ์พร้อมกับนายโดดี อัลฟาเยด ช่างภาพอิสระชุดเก่าที่จึงสะกดรอยตามพระองค์อีกครั้ง จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ที่ชื่อว่า Point De Alma ใต้แม่น้ำเซน แต่รถยนต์ซึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่าช่างภาพอิสระ ก็ได้พุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นอุโมงค์อย่างจัง เนื่องจากถนนลอดอุโมงค์มีความลาดชันมาก ทำให้รถยนตหมุนตัวและพุ่งชนแผงเหล็กอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้หม้อน้ำเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง โดยอองรี ปอล คนขับรถและนายโดดี เสียชีวิตทันที ส่วนเจ้าหญิงและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่พระพักตร์(ใบหน้า)และพระเศียร(ศีรษะ) มีพระโลหิต(เลือด)ไหลออกมากและยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะ(ปอด) เมื่อเวลา 00.15 น. รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลเซ็นต์เดอลาปีแอร์ มารับเจ้าหญิงและองครักษ์ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงเสียพระโลหิตมาก และยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากด้วย โดยเจ้าหญิงมีพระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. พระหทัยของไดอาน่าอ่อนแรงลงเรื่อยๆ ซึ่งในขณะนั้นพระชีพจรอยู่ที่ 23 ครั้งต่อนาที
สิ้นพระชนม์
หลังจากนั้นอีกประมาณครึ่งชั่วโมง เวลา 04.00 น.  ดร.บรูโน ริโอ แพทย์ผู้ทำการรักษาเจ้าหญิงไดอานา ประกาศว่า ไดอาน่า อดีตเจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะในและสูญเสียพระโลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์นั้นเป็นคนเดียวในอุบัติเหตุที่รอดชีวิต สำนักพระราชวังบัคกิงแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในวันรุ่งขึ้น และแจ้งว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ทรงทราบข่าวแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงานพระศพได้ที่ มหาวิหารเวสมินเตอร์ โดยพระราชวงศ์อังกฤษทุกพระองค์เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีพระศพ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ซึ่งยังคงทรงโศกเศร้ามากนั้น มีคุณปีเตอร์ ฟิลิปส์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) จับมือและคอยให้กำลังใจตลอดเวลา แขกสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ทุกพระองค์แล้วยังมีครอบครัวสเปนเซอร์ทุกคน และมีผู้ร่วมไว้อาลัยประมาณ 3,500 คน

ถวายการไว้อาลัยแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ผู้คนทั่วทั้งโลกล้วนตกตะลึงและโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของไดอาน่า ดอกไม้หลายล้านดอกและจดหมายนับล้านๆ ฉบับถูกส่งถึงหน้าพระราชวังเพื่อไว้อาลัยถวายแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยมีบุคคลสำคัญที่ได้แสดงความไว้อาลัยแก่ไดอานา เช่น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดลและ เลดี้เจน เฟเลอว์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิง ชาร์ลส์ เอิร์ล สเปนเซอร์ พระอนุชา และเซอร์เอลตัน จอห์น ได้ร้องเพลง Candle in the wind เพื่อบรรเลงถวายอาลัยแก่ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในงานพระศพ
พระพินัยกรรม

พระอิสริยยศ

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
 
“เจ้าหญิงไดอาน่า” Princess of Wales 13 ปีของการสิ้นพระชนม์"
 
ในโลกนี้จะมีสักกี่ครั้งที่มีผู้คนจำนวนมากร้องไห้โฮๆ พร้อมกันทั้งโลก หากมิใช่การสิ้นพระชนม์ของ “เจ้าหญิงไดอาน่า” เป็นปรากฏการณ์ที่สามารถกระชากใจผู้คนแทบทั้งโลกให้สะอื้นไห้ได้มากมายเช่นนั้น


ห้วงเวลาทีท่านกำลังอ่านเรื่องราวต่อไปนี้....คือ ห้วงเวลาแห่งการสิ้นพระชนม์ของ“เจ้าหญิงไดอาน่า” (หรือทรงมีพระนามอย่างเป็นทางการว่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์” หรือ Princess of Wales )
และปีนี้ได้ครบรอบ 13 ปีของการจากไป(วันที่ 31 สิงหาคม - 5 กันยายน 2540 เป็นวันสิ้นพระชนม์และพระราชพิธีพระศพ)
ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อยของวันที่ 30 สิงหาคม 2540 เจ้าหญิงไดอาน่าได้เดินทางออกทางจากโรงแรมริตซ์พร้อมกับนายโดดี อัลฟาเยด มีช่างภาพอิสระ(ปาปารัซซี่) ชุดหนึ่งติดตามสะกดรอยรถยนต์ยี่ห้อเมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส 280 สีดำ รุ่นปี 1997 จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ใต้แม่น้ำเซน(Seine) รถยนต์วิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่าช่างภาพอิสระเหล่านั้น ในช่วงที่อุโมงค์มีความลาดชันต่ำลงไปนั้น รถยนต์ได้เสียหลักพุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นเข้าอย่างจัง ด้วยโมเมนตัมของรถยนต์ที่ทำให้หยุดนิ่งอย่างฉับพลัน ส่งผลให้รถยนต์หมุนตัวคว้าง  พุ่งชนแผงเหล็กอีกด้าน สภาพรถยนต์พังยับเยินในทันที  พระสหายและคนขับรถเสียชีวิตคาที่ ส่วนเจ้าหญิงและองครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส

เมื่อรถพยาบาลมาถึงพบว่า เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่ใบหน้าและศีรษะ และมีเลือดออกในปอดเป็นจำนวนมาก   จึงรีบนำเจ้าหญิงส่งโรงพยาบาล แต่ทว่า...เจ้าหญิงทรงเสียเลือดมาก ทีมแพทย์ถวายการรักษาอย่างเต็มที่ พระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. สัญญาญชีพจรก็เต้นแผ่วเบาลง เจ้าหญิงไดอาน่าสิ้นพระชนม์ในเช้ามืดวันรุ่งขึ้น.....!
ย้อนกลับไปก่อนนั้นในช่วงกลางวัน ในตอนบ่ายวันเดียวกันนั้น ปาปารัซซี่กลุ่มหนึ่งพากันซุ่มติดตามถ่ายภาพพระองค์ หากปาปารัซซี่คนใดสามารถบันทึกภาพที่ถือว่า “สุดยอด”เหล่านั้นได้ ก็ย่อมตีค่าเป็นตัวเงินได้มากมายมหาศาล กิจการปาปารัซซี่จึงมีความรุ่งเรืองและทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน มีเอเยนต์รับซื้อภาพถ่ายบุคคลที่มีชื่อเสียงทั่วโลก แต่ช่างภาพมืออาชีพเหล่านั้นไม่ได้คำนึงทั้งเรื่องสิทธิส่วนบุคคลและภยันตรายที่หยิบยื่นให้แก่บุคคลที่ตกเป็นเป้าหมายของพวกเขา
 นี่อาจเป็นต้นเหตุการสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงที่เป็นดวงตาดวงใจของผู้คนทั้งโลก ทุกอิริยาบถของพระองค์ล้วนตกอยู่ในสายตาของชาวโลกด้วยความห่วงหาอาทร ในขณะที่พระองค์กำลังประสบกับมรสุมชีวิตอย่างหนักจากสำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮม และเรื่องส่วนพระองค์
เนื่องจากข่าวความสัมพันธ์ของเจ้าหญิงกับนายโดดี อัลฟาเยด์ พระสหายคนใหม่ของเจ้าหญิง ได้ถูกชาวโลกจับตามองมาโดยตลอด  เรื่องความสัมพันธ์อื้อฉาวกับปัญหาในราชสำนัก ส่งผลให้ราชวงศ์อังกฤษทรงวางตัวลำบากในเรื่องดังกล่าว
ด้วยความรักและศรัทธาที่ชาวอังกฤษและชาวโลกมีมากกว่าที่มีต่อรางวงศ์ เจ้าหญิงทรงทำอะไรผู้คนก็เห็นดีเห็นงามด้วย  ด้วยเหตุนี้จึงมีข่าวลือกันว่า การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงไดอาน่านั้น “เป็นแผนของราชวงศ์อังกฤษ”  (มีการวิเคราะห์กันว่า เป็นพวกที่ใช้ “ทฤษฎีสมคบคิด”)  
แม้ว่าเจ้าหญิงไดอาน่าเพิ่งจะทรงพบรักกับนายโดดี อัลฟาเยด์ มหาเศรษฐีจากตะวันออกกลางก็ตาม แต่ชาวโลกก็ให้อภัยแก่พระองค์ เพราะถือว่าพระองค์ก็เป็นมนุษย์ปุถุชนเช่นเดียวกัน ย่อมมีความรัก ความผิดหวัง หรือสุขทุกข์ เช่นเดียวกันผู้คนทั่วๆ ไป
ดังนั้น หากพระองค์จะทรงมีความรักครั้งใหม่ก็ไม่แปลกอะไร เพื่อชดเชยกับความเจ็บปวดที่พระองค์ทรงได้รับตลอดมาที่ดำรงตำแหน่งเจ้าหญิงไดอาน่า

เจ้าหญิงไดอาน่า ผู้ทรงเป็นดั่งเจ้าหญิงในเทพนิยายพระองค์นี้ มีพระนามเดิมว่า “ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์”ประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม   2504 ทรงเป็นธิดาคนสุดท้องของวิสเคานท์และวิสเคานท์เตสอัลทอป มีพี่น้อง 5 คน  ครอบครัว “สเปนเซอร์”นั้น มีความใกล้ชิดกับพระราชวงศ์อังกฤษมานานแล้ว โดยคุณยายเป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ
 เจ้าฟ้าชาร์ล เจ้าชายแห่งเวลส์ นั้นทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา จึงทรงคุ้นเคยกับเลดี้ไดอานาพอสมควร ครั้นเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ 30 พรรษา ทรงได้รับการร้องขอให้ทรงอภิเษกสมรส เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมทำตามพระทัยสมเด็จยาย ด้วยการที่ทรงเสแสร้งพระองค์ว่าทรงรักและชอบพอกับ “ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์”  ด้วยสิริโฉมและความน่ารักของ “เลดี้ไดอาน่า” ในขณะนั้น จึงทรงทำให้เห็นว่า “เลดี้ไดอาน่า” เป็นผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์มากที่สุด
“วันที่ 24 กุมภาพันธ์  2524 สำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮมประกาศว่า พระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ในปีเดียวกันนั้น โดยมีแขกที่ได้รับเชิญจำนวนกว่า 3,500 คน และมีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีนี้ออกไปทั่วโลกด้วย”
“หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" และมีลำดับพระอิสริยยศในลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ” 
นอกจาก"เจ้าหญิงแห่งเวลส์" จะทรงมีพระสิริโฉมอันงดงามเป็นที่ถูกจับตาจ้องมองกันทั้งโลกแล้ว และยังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์
ชีวิตสมรสของเจ้าหญิงแห่งเวลส์นั้น ทรงมีพระโอรส 2 พระองค์ คือ  เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ (ประสูติ 21 มิถุนายน   2525 ทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ  ปริญญาโท จากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์  เกียรตินิยมอันดับ 2  สาขาวิชาประวัติศาสตร์)  และ เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ (ประสูติ 15 กันยายน  2527 ทรงเป็นรัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ)
แต่ชีวิตการสมรสของพระองค์ไม่ได้ราบรื่นอย่างที่ควรจะเป็น ที่กล่าวกันอย่างเป็นหลักเป็นฐานก็มีอยู่ 2-3 เรื่อง
ในระยะแรกของการที่ต้องทรงย้ายเข้าไปอยู่ในพระราชวังนั้น เจ้าหญิงทรงไม่สามารถปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตในวังได้ และทรงมีความทุกข์ทรมานจากพระโรคบูลิเมีย (มีความอยากอาหาร แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะอาเจียนออกมาจนหมด) กับเรื่องที่ เจ้าหญิงถูกเปิดเผยว่ามีความสัมพันธ์อันลึกซึ้งกับนายทหารหนุ่มครูสอนขี่ม้า ชื่อ “เจมส์ เฮวิต” ซึ่งครูคนเดียวกันนี้ก็เอาเรื่องความสัมพันธ์นั้นออกมาขายหากิน จนทำให้พระองค์ถูกปลดจากตำแหน่ง “เจ้าหญิงแห่งเวลส์” และนำไปสู่การหย่าขาดอย่างเป็นทางการเมื่อต้นปี 2539 โดยเจ้าหญิงต้องสูญเสียคำนำหน้าว่า Her Royal Honest” เพื่อแลกกับค่าเลี้ยงดูจำนวนหนึ่ง ยังคงไว้เพียงตำแหน่ง “พระมารดาแห่งกษัตริย์อังกฤษ”เพียงตำแหน่งเดียวหากเจ้าชายวิลเลียมทรงได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากเจ้าชายแห่งเวลส์
แต่เจ้าชายแห่งเวลส์ก็ไม่ได้น้อยหน้าเจ้าหญิงแห่งเวลส์นัก  เพราะทรงมีความสัมพันธ์ลึกซึ้งกับ “นางคามิลลา ปาร์กเกอร์โบลส์”อย่างเปิดเผย ยิ่งทำให้สภาพชีวิตสมรสของเจ้าหญิงได้รับความเห็นใจจากชาวโลกมากยิ่งขึ้น
แล้วยังมีเรื่องความสัมพันธ์ส่วนพระองค์ที่มีความระหองระแหงมาโดยตลอด และเรื่อง “บนเตียง”ของทั้งสองพระองค์อีกด้วย
การกระทำการใดๆ ของสำนักพระราชวังบัคกิ้งแฮมเพื่อเป็นการโต้ตอบเจ้าหญิงก็ยิ่งถูกมองในแง่ร้าย และสร้างความเห็นอกเห็นใจต่อเจ้าหญิงมากขึ้นไปอีก กิจกรรมทางด้านสังคมของพระองค์ก็ยังได้รับการยกย่องชื่นชมมากกว่าด้วย
การสิ้นพระชนม์ของเจ้าหญิงสามารถสั่นคลอนราชสำนักบัคกิ้งแฮมเป็นอย่างมาก ซ้ำยังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักต่อท่าทีที่ไม่แสดงความเศร้าโสกเสียใจต่อการจากไปของเจ้าหญิง
ราชสำนักอังกฤษไม่ได้มีชีวิตจิตใจความรู้สึกเช่นเดียวกับประชาชนชาวอังกฤษและชาวโลก ....! 
จนถึงใกล้วันพระราชพิธีพระศพ สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 จึงยอมออกมาอ่านพระราชสาส์นแสดงความเสียใจอย่างเป็นทางการ
 แต่ชาวอังกฤษก็ไม่พอใจที่พระบรมวงศานุวงศ์แสดงอาการเย็นชาในพิธีพระศพ ยกเว้นแต่เพียงการหลั่งพระอัสสุชลของเจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี่เท่านั้น
ไม่กี่สัปดาห์หลังจากนั้นชาวอังกฤษร่วมกันลงประชามติว่า  เจ้าชายวิลเลียมเหมาะสมที่จะขึ้นคองราชย์ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 (โดยเป็นการยินยอมของประชาชนชาวอังกฤษให้ข้ามลำดับของเจ้าชายแห่งเวลส์ไปเลย) 
เรื่องดังกล่าวนี้ยังความโกรธพระทัยแก่เจ้าชายแห่งเวลส์เป็นอย่างมาก
นี้คือ หนึ่งในหลายตัวอย่างในบทสรุปของชีวิต “เจ้าหญิงแห่งเวลส์”
เพลง “Candle with the Wind” ซึ่งมีความไพเราะจับใจ ตรึงจิตใจผู้คนทั้งโลกให้แน่นิ่งได้ราวกับว่า ร่วมกันแสดงความไว้อาลัยแก่เจ้าหญิงไอดาน่า..ก่อนร่างจะถูกฝังลงในสุสานหลวง เพลงนี้ขับร้องโดย เซอร์ เอลตัน จอห์น เนื้อเพลงเขียนขึ้นใหม่ โดยดัดแปลงจากเพลงที่การแต่งไว้อาลัยต่อการจากไปของดาราฮอลลีวู้ดคนดัง มาริลีน มอนโร ซึ่งเสียชีวิต 36 ปี เท่ากันกับเจ้าหญิงพอดิบพอดี
เพลงนี้แม้ได้ยินคราวใด.....ก็ยังทำให้จิตใจของผู้คนทั้งโลกน้อมโค้งคำนับให้แก่ "เจ้าหญิงแห่งเวลส์"


และ... มาดอนน่า นักร้องดังแห่งยุคศตวรรษที่ 20 กล่าวในพิธีพระศพว่า “พวกเราที่เสพข่าวส่วนตัวอันอื้อฉาวของคนดังทั้งหลาย  ล้วนแต่เป็นคนที่มีมือเปื้อนเลือด เพราะถ้าไม่มีคนซื้อหนังสือรูปภาพเหล่านั้นอ่าน พวกปาปารัซซี่ก็ไม่มีช่องทางทำมาหากินอย่างแน่นอน”

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

 

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube

วิดีโอ YouTube


ไดอาน่าทรงดำรงพระอิสริยยศต่างกันตามช่วงเวลาดังนี้
  • The Honourable Diana Frances Spencer (1 กรกฎาคม พ.ศ. 25049 มิถุนายน พ.ศ. 2518
  • The Lady Diana Frances Spencer (9 มิถุนายน พ.ศ. 251829 กรกฎาคม พ.ศ. 2524
  • Her Royal Highness the Princess of Wales (29 กรกฎาคม พ.ศ. 252428 สิงหาคม พ.ศ. 2539
  • Diana, Princess of Wales (28 สิงหาคม พ.ศ. 253931 สิงหาคม พ.ศ. 2540)
สำหรับพระนามและพระอิสริยยศเต็มๆ ของพระองค์นับตั้งแต่พระราชพิธีอภิเษกสมรสจนถึงทรงหย่า คือ
  • Her Royal Highness The Princess Charles, Princess of Wales and Countess of Chester, Duchess of Cornwall, Duchess of Rothesay, Countess of Carrick, Baroness of Renfrew, Lady of the Isles, Princess and Great Stewardess of Scotland

หลังไดอาน่า ได้มีการเปิดพินัยกรรมในวันที่ 2 มีนาคม ปีถัดมา สาระสำคัญของพินัยกรรมคือ
  1. มีความประสงค์ให้มารดาและนายพลแพทริค เป็นผู้รับผิดชอบและจัดการทรัพย์ของพระองค์
  2. ต้องการให้มีการปลงศพของเธอโดยการฝัง
  3. หากว่าไดอาน่าและพระสวามีสิ้นพระชนม์ก่อนที่พระโอรสทั้งสองพระองค์จะมีพระชนม์ได้ 20 พรรษา มีความประสงค์ประสงค์ให้พระมารดาและพระอนุชา (เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 9) เป็นผู้ปกครองเจ้าชายทั้ง 2 พระองค์
  4. ไดอาน่ายินดีที่จะจ่ายภาษี
ผู้พิทักษ์ของไดอาน่ามีทรัพย์สินรวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 35,600,000 ดอลล่าร์ซึ่งหลังจากจ่ายภาษีแล้วจะเหลือประมาณ 21,300,000 ดอลล่าร์ พระองค์ทรงโปรดให้แบ่งทรัพย์สินประทานให้แก่ลูกเลี้ยงของพระองค์ทั้ง 17 คนก่อน คนละ 82,000 ดอลล่าร์ และให้นายพอล เบอร์เรล มหาดเล็กต้นห้องของพระองค์ 80,000 ดอลลาร์ ทรัพย์ที่เหลือนั้น ให้เก็บรักษาไว้จนกว่าเจ้าชายแฮร์รี่จะมีพระชนม์ 25 พรรษา (และหากว่าทรัสต์มีผลกำไรงอกเงยขึ้นมา) ให้แบ่ง (ทั้งเงินต้นและกำไรของผู้พิทักษ์) เป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ประทานแก่พระโอรสทั้ง 2 พระองค์
ทั้งนี้พระโอรสทั้งสองพระองค์ และลูกเลี้ยงทั้ง 17 คน จะต้องมีชีวิตอยู่หลังจากเธอเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 เดือนจึงจะมีสิทธิ์รับมรดกตามพินัยกรรม
ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดสร้างน้ำพุอนุสรณ์เจ้าหญิงไดอานา ที่บริเวณสวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก ในกรุงลอนดอน มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์ถึงชีวิตของเจ้าหญิง ออกแบบโดย แคธรีน กุสตาฟเซิน และ นีล พอร์เตอร์ โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และบริเตนใหญ่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

26 ความคิดเห็น:

  1. Royal descent
    On her father's side, she was a descendant of King Charles II of England through four illegitimate sons:

    •Henry Fitzroy, 1st Duke of Grafton, son by Barbara Villiers, 1st Duchess of Cleveland
    •Charles Lennox, 1st Duke of Richmond and Lennox, son by Louise de Kérouaille
    •Charles Beauclerk, 1st Duke of St Albans, son by Nell Gwyn
    •James Crofts-Scott, 1st Duke of Monmouth, leader of the famous Monmouth Rebellion in 1685, son by Lucy Walter
    She was also a descendant of King James II of England through an illegitimate daughter, Henrietta FitzJames, by his mistress Arabella Churchill. On her mother's side, Diana was Irish and Scottish, as well as a descendant of American heiress Frances Work, her mother's grandmother and namesake, from whom the considerable Roche fortune was derived.

    The Spencers had been close to the British Royal Family for centuries, rising in royal favour during the 17th century. Diana's maternal grandmother, Ruth, Lady Fermoy, was a long-time friend and a lady-in-waiting to Queen Elizabeth The Queen Mother. Her father had served as an equerry to King George VI and to Queen Elizabeth II.

    In August 2009, the New England Historic Genealogical Society published Richard K. Evans's The Ancestry of Diana, Princess of Wales, for Twelve Generations.

    From her marriage in 1981 to her divorce in 1996 she was styled Her Royal Highness the Princess of Wales. She was generally called "Princess Diana" by the media despite having no legal right to that particular honorific, as it is reserved for a princess by birthright rather than marriage

    ตอบลบ
  2. Education
    Diana was first educated at Silfield School, Kings Lynn, Norfolk, then at Riddlesworth Hall in Norfolk, and at West Heath Girls' School (later reorganised as The New School at West Heath) in Sevenoaks, Kent, where she was regarded as a poor student, having attempted and failed all of her O-levels twice. Her outstanding community spirit was recognised with an award from West Heath. In 1977, at the age of 16, she left West Heath and briefly attended Institut Alpin Videmanette, a finishing school in Rougemont, Switzerland. At about that time, she first met her future husband, who was then dating her eldest sister, Lady Sarah. Diana reportedly excelled in swimming and diving, and longed to be a professional ballerina with the Royal Ballet. She studied ballet for a time, but then grew to 5'10", far too tall for the profession.

    Diana moved to London before she turned seventeen, living in her mother's flat, as her mother then spent most of the year in Scotland. Soon afterwards, an apartment was purchased for £50,000 as an 18th birthday present, at Coleherne Court in Earls Court. She lived there until 1981 with three flatmates.

    In London she took an advanced cooking course at her mother's suggestion, although she never became an adroit cook, and worked first as a dance instructor for youth, until a skiing accident caused her to miss three months of work. She then found employment as a playgroup (pre-preschool) assistant, did some cleaning work for her sister Sarah and several of her friends, and worked as a hostess at parties.

    ตอบลบ
  3. Relationship with the Prince of Wales
    Prince Charles had previously been linked to Diana's older sister Sarah, and to Davina Sheffield, Scottish heiress Anna Wallace, the Honourable Amanda Knatchbull (granddaughter of Louis Mountbatten, 1st Earl Mountbatten of Burma), actress Susan George, Lady Jane Wellesley, heiress Sabrina Guinness and Camilla Shand, inter alia. In his early thirties, he was under increasing pressure to marry. Under the Royal Marriages Act 1772, his marriage required the Queen's formal consent. Under the Act of Settlement 1701, royals must marry within the Church of England or forfeit their place in the order of succession to the throne. Diana's aristocratic descent, Church of England faith, presumed virginity and native Englishness appeared to render her a suitable royal bride.

    Prince Charles had known Diana for several years, but he first took a serious interest in her as a potential bride during the summer of 1980, when they were guests at a country weekend, where she watched him play polo. The relationship developed as he invited her for a sailing weekend to Cowes aboard the royal yacht Britannia, followed by an invitation to Balmoral (the Royal Family's Scottish residence) to meet his family. There, Diana was well received by Queen Elizabeth II, by Prince Philip, Duke of Edinburgh, and by the Queen Mother. The couple subsequently courted in London. The Prince proposed on 6 February 1981, and Diana accepted, but their engagement was kept secret for the next few weeks.

    ตอบลบ
  4. Engagement and wedding
    Main article: Wedding of Charles, Prince of Wales, and Lady Diana Spencer
    Their engagement became official on 24 February 1981, after Diana selected a large £30,000 ring consisting of 14 diamonds surrounding a sapphire, similar to her mother's engagement ring. 20-year-old Diana became The Princess of Wales when she married Charles on 29 July 1981 at St Paul's Cathedral, which offered more seating than Westminster Abbey, generally used for royal nuptials. It was widely billed as a "fairytale wedding," watched by a global television audience of 750 million. At the altar Diana accidentally reversed the order of Charles's first two names, saying Philip Charles Arthur George instead. She did not say that she would "obey" him; that traditional vow was left out at the couple's request, which caused some comment at the time. Diana wore a dress valued at £9000 with a 25-foot (8-metre) train. The couple's wedding cake was created by Belgian pastry chef S. G. Sender, who was known as the "cakemaker to the kings."

    ตอบลบ
  5. Children
    On 5 November 1981, Diana's first pregnancy was officially announced, and she frankly discussed her pregnancy with members of the press corps. In the private Lindo Wing of St. Mary's Hospital, Paddington on 21 June 1982, Diana gave birth to her and Prince Charles's first son and heir, William. Amidst some media criticism, she decided to take William, still a baby, on her first major tours of Australia and New Zealand, but the decision was popularly applauded. By her own admission, Diana had not initially intended to take William until it was suggested by the Australian prime minister.

    A second son, Henry, was born about two years after William on 15 September 1984. Diana asserted that she and Prince Charles were closest during her pregnancy with "Harry", as the younger prince became known. She was aware their second child was a boy, but did not share the knowledge with anyone else, including Prince Charles.

    She was universally regarded as a devoted and demonstrative mother. However, she rarely deferred to Prince Charles or to the Royal Family, and was often intransigent when it came to the children. She chose their first given names, defied the royal custom of circumcision, dismissed a royal family nanny and engaged one of her own choosing, in addition to selecting their schools and clothing, planning their outings and taking them to school herself as often as her schedule permitted. She also negotiated her public duties around their timetables.

    ตอบลบ
  6. Charity work.

    Though in 1983 she confided in Premier of Newfoundland Brian Peckford: "I am finding it very difficult to cope with the pressures of being Princess of Wales, but I am learning to cope," from the mid-1980s, the Princess of Wales became increasingly associated with numerous charities. As Princess of Wales she was expected to visit hospitals, schools, etc., in the 20th-century model of royal patronage. Diana developed an intense interest in serious illnesses and health-related matters outside the purview of traditional royal involvement, including AIDS and leprosy. In addition, the Princess was the patroness of charities and organisations working with the homeless, youth, drug addicts and the elderly. From 1989, she was President of Great Ormond Street Hospital for Children.

    During her final year, Diana lent highly visible support to the International Campaign to Ban Landmines, a campaign that went on to win the Nobel Peace Prize in 1997 after her death.

    ตอบลบ
  7. Problems and separation.

    During the early 1990s, the marriage of Diana and Charles fell apart, an event at first suppressed, then sensationalised, by the world media. Both the Prince and Princess of Wales allegedly spoke to the press through friends, each blaming the other for the marriage's demise.

    The chronology of the break-up identifies reported difficulties between Charles and Diana as early as 1985. During 1986, Prince Charles turned again to his former girlfriend, Camilla Shand, who had become Camilla Parker-Bowles, wife of Andrew Parker-Bowles. This affair was exposed in May 1992 with the publication of Diana: Her True Story, by Andrew Morton. The book, which also laid bare Diana's allegedly suicidal unhappiness, caused a media storm. This publication was followed during 1992 and 1993 by leaked tapes of telephone conversations which negatively reflected on both the royal antagonists. Transcripts of taped intimate conversations between Diana and James Gilbey were published by the Sun newspaper in Britain in August 1992. The article's title, "Squidgygate", referenced Gilbey's affectionate nickname for Diana. Next to surface, in November 1992, were the leaked "Camillagate" tapes, intimate exchanges between Charles and Camilla, published in Today and the Mirror newspapers.

    In the meantime, rumours had begun to surface about Diana's relationship with James Hewitt, her former riding instructor. These would be brought into the open by the publication in 1994 of Princess in Love.

    In December 1992, Prime Minister John Major announced the Wales' "amicable separation" to the House of Commons,. and the full Camillagate transcript was published a month later in the newspapers, in January 1993. On 3 December 1993, Diana announced her withdrawal from public life. Charles sought public understanding via a televised interview with Jonathan Dimbleby on 29 June 1994. In this he confirmed his own extramarital affair with Camilla, saying that he had only rekindled their association in 1986, after his marriage to the Princess of Wales had "irretrievably broken down."

    While she blamed Camilla Parker-Bowles for her marital troubles, Diana at some point began to believe Charles had other affairs. In October 1993 Diana wrote to a friend that she believed her husband was now in love with Tiggy Legge-Bourke and wanted to marry her. Legge-Bourke had been hired by Prince Charles as a young companion for his sons while they were in his care, and Diana was extremely resentful of Legge-Bourke and her relationship with the young princes.

    ตอบลบ
  8. Divorce


    Diana was interviewed in a BBC Panorama interview with journalist Martin Bashir, broadcast on 20 November 1995. In it, Diana asserted of Hewitt, "Yes, I loved him. Yes, I adored him." Of Camilla, she claimed "There were three of us in this marriage." For herself, she said "I'd like to be a queen of people's hearts." On Charles's suitability for kingship, she said: "Because I know the character I would think that the top job, as I call it, would bring enormous limitations to him, and I don't know whether he could adapt to that."

    In December 1995, the Queen asked Charles and Diana for "an early divorce," as a direct result of Diana's Panorama interview. This followed shortly after Diana's accusation that Tiggy Legge-Bourke had aborted Charles's child, after which Legge-Bourke instructed Peter Carter-Ruck to demand an apology. Two days before this story broke, Diana's secretary Patrick Jephson resigned, later writing Diana had "exulted in accusing Legge-Bourke of having had an abortion".

    On 20 December 1995, Buckingham Palace publicly announced the Queen had sent letters to Charles and Diana advising them to divorce. The Queen's move was backed by the Prime Minister and by senior Privy Councillors, and, according to the BBC, was decided after two weeks of talks. Prince Charles immediately agreed with the suggestion. In February Diana announced her agreement after negotiations with Prince Charles and representatives of the Queen, irritating Buckingham Palace by issuing her own announcement of a divorce agreement and its terms.

    The divorce was finalised on 28 August 1996.

    Diana received a lump sum settlement of around £17 million along with a clause standard in royal divorces preventing her from discussing the details. Diana and her advisers negotiated with Charles and his representatives, with Charles reportedly having to liquidate all of his personal holdings, as well as borrowing from the Queen, to meet her financial demands. The Royal Family would have preferred an alimony settlement, which would have provided some degree of control over the erstwhile Princess of Wales.

    Days before the decree absolute of divorce, Letters Patent were issued with general rules to regulate royal titles after divorce. In accordance, as she was no longer married to the Prince of Wales, Diana lost the style Her Royal Highness and instead was styled Diana, Princess of Wales. Buckingham Palace issued a press release on the day of the decree absolute of divorce was issued, announcing Diana's change of title.

    Buckingham Palace stated Diana was still a member of the Royal Family, as she was the mother of the second- and third-in-line to the thrones, which was confirmed by the Deputy Coroner of the Queen's Household, Baroness Butler-Sloss, after a pre-hearing on 8 January 2007: "I am satisfied that at her death, Diana, Princess of Wales continued to be considered as a member of the Royal Household." This appears to have been confirmed in the High Court judicial review matter of Al Fayed & Ors v Butler-Sloss. In that case, three High Court judges accepted submissions that the "very name ‘Coroner to the Queen’s Household’ gave the appearance of partiality in the context of inquests into the deaths of two people, one of whom was a member of the Family and the other was not."

    ตอบลบ
  9. Personal life after divorce


    After the divorce, Diana retained her double apartment on the north side of Kensington Palace, which she had shared with Prince Charles since the first year of their marriage, and it remained her home until her death.

    Diana dated the respected heart surgeon Hasnat Khan, from Jhelum, Pakistan, who was called "the love of her life" after her death by many of her closest friends, for almost two years, before Khan ended the relationship. Khan was intensely private and the relationship was conducted in secrecy, with Diana lying to members of the press who questioned her about it. Khan was from a traditional Pakistani family who expected him to marry from a related Muslim clan, and their differences, not only religion, became too much for Khan. According to Khan's testimonial at the inquest for her death, it was Diana herself, not Khan, who ended their relationship in a late-night meeting in Hyde Park, which adjoins the grounds of Kensington Palace, in June 1997.

    Within a month Diana had begun dating Dodi Al-Fayed, son of her host that summer, Mohamed Al-Fayed. Diana had considered taking her sons that summer on a holiday to the Hamptons on Long Island, New York, but security officials had prevented it. After deciding against a trip to Thailand, she accepted Fayed's invitation to join his family on the south of France, where his compound and large security detail would not cause concern to the Royal Protection squad. Mohamed Al-Fayed bought a multi-million pound yacht on which to entertain the princess and her sons.

    ตอบลบ
  10. Landmines
    In January 1997, pictures of the Princess touring an Angolan minefield in a ballistic helmet and flak jacket were seen worldwide. It was during this campaign that some accused the Princess of meddling in politics and declared her a 'loose cannon.' In August 1997, just days before her death, she visited Bosnia with the Landmine Survivors Network. Her interest in landmines was focused on the injuries they create, often to children, long after a conflict is over.

    She is believed to have influenced the signing, though only after her death, of the Ottawa Treaty, which created an international ban on the use of anti-personnel landmines. Introducing the Second Reading of the Landmines Bill 1998 to the British House of Commons, the Foreign Secretary, Robin Cook, paid tribute to Diana's work on landmines:

    All Honourable Members will be aware from their postbags of the immense contribution made by Diana, Princess of Wales to bringing home to many of our constituents the human costs of landmines. The best way in which to record our appreciation of her work, and the work of NGOs that have campaigned against landmines, is to pass the Bill, and to pave the way towards a global ban on landmines.

    The United Nations appealed to the nations which produced and stockpiled the largest numbers of landmines (United States, China, India, North Korea, Pakistan, and Russia) to sign the Ottawa Treaty forbidding their production and use, for which Diana had campaigned. Carol Bellamy, Executive Director of the United Nations Children's Fund (UNICEF), said that landmines remained "a deadly attraction for children, whose innate curiosity and need for play often lure them directly into harm's way".

    ตอบลบ
  11. Death

    Main article: Death of Diana, Princess of Wales
    On 31 August 1997, Diana was fatally injured in a car crash in the Pont de l'Alma road tunnel in Paris, which also caused the deaths of her then boyfriend, Dodi Al-Fayed and the acting security manager of the Hôtel Ritz Paris, Henri Paul, who was their chauffeur. Millions of people watched the princess's funeral.

    ตอบลบ
  12. Conspiracy theories and inques.


    Main article: Death of Diana, Princess of Wales conspiracy theories
    The initial French judicial investigation concluded that the accident was caused by Henri Paul's drunken loss of control. From February 1999, Dodi's father, Mohamed Al-Fayed (the owner of the Paris Ritz, for which Paul had worked) maintained that the crash had been planned, accusing MI6 as well as Prince Philip, Duke of Edinburgh. Inquests in London during 2004 and 2007 finally attributed the accident to grossly negligent driving by Henri Paul and to the pursuing paparazzi. The following day Al-Fayed announced he would end his 10-year campaign for the sake of the late Princess of Wales's children.

    ตอบลบ
  13. Tribute, funeral, and burial

    Main article: Funeral of Diana, Princess of Wales
    The sudden and unexpected death of a very popular royal figure brought statements from senior figures worldwide and many tributes by members of the public. People left public offerings of flowers, candles, cards and personal messages outside Kensington Palace for many months.

    Diana's funeral took place in Westminster Abbey on 6 September 1997. The previous day Queen Elizabeth II had paid tribute to her in a live television broadcast. Her sons, the Princes William and Harry, walked in the funeral procession behind her coffin, along with the Prince of Wales and the Duke of Edinburgh, and with Diana's brother, Charles Spencer, 9th Earl Spencer.

    ตอบลบ
  14. Memorials

    Immediately after her death, many sites around the world became briefly ad hoc memorials to Diana, where the public left flowers and other tributes. The largest was outside the gates of Kensington Palace. Permanent memorials include:

    •The Diana, Princess of Wales Memorial Gardens in Regent Centre Gardens Kirkintilloch
    •The Diana, Princess of Wales Memorial Fountain in Hyde Park, London opened by Queen Elizabeth II.
    •The Diana, Princess of Wales Memorial Playground in Kensington Gardens, London.
    •The Diana, Princess of Wales Memorial Walk, a circular path between Kensington Gardens, Green Park, Hyde Park and St James's Park, London
    In addition, there are two memorials inside Harrods department store, at the time owned by Dodi Al-Fayed's father Mohamed Al-Fayed, in London. The first memorial consists of photos of the two behind a pyramid-shaped display that holds a wine glass still smudged with lipstick from Diana's last dinner as well as an 'engagement' ring Dodi purchased the day before they died. The second, unveiled in 2005 and titled "Innocent Victims", is a bronze statue of the two dancing on a beach beneath the wings of an albatross. There is an unofficial memorial in Paris, Place de l'Alma: it is the flame of liberty, erected here in 1989.

    ตอบลบ
  15. Memorabilia


    Following Diana's death, the Diana Memorial Fund was granted intellectual property rights over her image. In 1998, after refusing the Franklin Mint an official license to produce Diana merchandise, the fund sued the company, accusing it of illegally selling Diana dolls, plates and jewellery. In California, where the initial case was tried, a suit to preserve the right of publicity may be filed on behalf of a dead person, but only if that person is a Californian. The Memorial Fund therefore filed the lawsuit on behalf of the estate and, upon losing the case, were required to pay the Franklin Mint's legal costs of £3 million which, combined with other fees, caused the Memorial Fund to freeze their grants to charities.

    In 1998, Azermarka issued the postage stamps with both Azeri and English captions, commemorating Diana. The English text reads "Diana, Princess of Wales. The Princess that captured people's hearts".

    In 2003 the Franklin Mint counter-sued; the case was eventually settled in 2004, with the fund agreeing to an out-of-court settlement, which was donated to mutually agreed charitable causes.

    Today, pursuant to this lawsuit, two California companies continue to sell Diana memorabilia without the need for any permission from Diana's estate: the Franklin Mint and Princess Ring LLC.

    ตอบลบ
  16. Diana in contemporary art.


    Diana has been depicted in contemporary art since her death. Some of the artworks have referenced the conspiracy theories, as well as paying tribute to Diana's compassion and acknowledging her perceived victimhood.

    In July 1999, Tracey Emin created a number of monoprint drawings featuring textual references about Diana's public and private life, for Temple of Diana, a themed exhibition at The Blue Gallery, London. Works such as They Wanted You To Be Destroyed (1999) related to Diana's bulimia, while others included affectionate texts such as Love Was On Your Side and Diana's Dress with puffy sleeves. Another text praised her selflessness - The things you did to help other people, showing Diana in protective clothing walking through a minefield in Angola - while another referenced the conspiracy theories. Of her drawings, Emin maintained "They're quite sentimental . . . and there's nothing cynical about it whatsoever."

    In 2005 Martin Sastre premiered during the Venice Biennial the film Diana: The Rose Conspiracy. This fictional work starts with the world discovering Diana alive and enjoying a happy undercover new life in a dangerous favela on the outskirts of Montevideo. Shot on a genuine Uruguayan slum and using a Diana impersonator from Sao Paulo, the film was selected among the Venice Biennial's best works by the Italian Art Critics Association.

    In 2007, following an earlier series referencing the conspiracy theories, Stella Vine created a series of Diana paintings for her first major solo exhibition at Modern Art Oxford gallery. Vine intended to portray Diana's combined strength and vulnerability as well as her closeness to her two sons.The works, all completed in 2007, included Diana branches, Diana family picnic, Diana veil and Diana pram, which incorporated the quotation "I vow to thee my country". Immodesty Blaize said she had been entranced by Diana crash, finding it "by turns horrifying, bemusing and funny".Vine asserted her own abiding attraction to "the beauty and the tragedy of Diana’s life".

    ตอบลบ
  17. Recent events.


    On 13 July 2006 Italian magazine Chi published photographs showing the princess amid the wreckage of the car crash, despite an unofficial blackout on such photographs being published. The editor of Chi defended his decision by saying that he published the photographs simply because they had not been previously seen, and that he felt the images are not disrespectful to the memory of the Princess.Fresh controversy arose over the issue of these photographs when Britain's Channel 4 broadcast them during a documentary in June 2007.

    1 July 2007 marked a concert at Wembley stadium. The event, organised by the Princes William and Harry, celebrated the 46th anniversary of their mother's birth and occurred a few weeks before the 10th anniversary of her death on 31 August.

    The 2007 docudrama Diana: Last Days of a Princess details the final two months of her life.

    On an October 2007 episode of The Chaser's War on Everything, Andrew Hansen mocked Diana in his "Eulogy Song", which immediately created considerable controversy in the Australian media.

    ตอบลบ
  18. ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์

    ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส - สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี

    นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ และทูตสันถวไมตรีที่เชื่อมทุกความขัดแย้ง แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง

    ตอบลบ
  19. วัยเด็ก

    ไดอานาประสูติเมื่อวันเสาร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 เวลาประมาณ 18.39 น. ทรงเป็นธิดาคนสุดท้องของวิสเคานท์และวิสเคานท์เตสอัลทอป ไดอานาทรงรับศีลล้างบาปที่โบสถ์เซนต์แมรี่แม็กดาลีน พระองค์ทรงมีพี่น้อง 5 คนดังนี้

    1.อลิซาเบธ ซาราห์ ลาวินา สเปนเซอร์ (เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดล ปัจจุบันเป็นประธานมูลนิธิไดอานา ตามพระประสงค์ของเจ้าหญิง)
    2.ซินเธีย เจน สเปนเซอร์ (เลดี้เจน เฟเลอว์ ปัจจุบันคือ บารอนเนสเฟเลอว์)
    3.ไดอานา ฟรานเซส สเปนเซอร์ (เจ้าหญิงแห่งเวลส์)
    4.จอห์น สเปนเซอร์ (ถึงแก่กรรมหลังคลอดได้เพียง 10 ชั่วโมง)
    5.ชารลส์ เอ็ดเวิร์ด มัวไรส์ สเปนเซอร์ (เอิร์ลสเปนเซอร์คนที่ 9)

    หลังการหย่า ออเนอเรเบิลฟรานเซส พระมารดาของเจ้าหญิงพยายามที่จะขอมีอำนาจในการปกครองบุตร-ธิดาทุกคนโดยการร้องขอต่อศาล หากแต่แพ้คดีความ อำนาจในการปกครองบุตรธิดาจึงตกอยู่ที่พระบิดา ซึ่งหลังจากพระอัยกา (ปู่) ของไดอานา เอิร์ลคนที่ 7 แห่งสเปนเซอร์ถึงแก่อนิจกรรม วิสเคานท์อัลทอปในฐานะบุตรชายคนโตจึงได้รับสืบทอดยศของตระกูลต่อมา เป็นเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ ธิดาทั้งสามคน (ซาราห์ เจนและไดอานา) ได้รับยศเป็นเลดี้ ในขณะที่ชาลส์ ในฐานะที่เป็นทายาทผู้จะสืบตำแหน่งเอิร์ลแห่งสเปนเซอร์ต่อไป จึงดำรงยศเป็นวิสเคานท์อัลธอร์ำพ

    ต่อมาเอิร์ล คนที่ 8 แห่งสเปนเซอร์ พระบิดาได้สมรสอีกครั้งกับเรนน์ เคานท์เตสแห่งดาร์มอท (ลูกสาวของ บาร์บารา คารต์แลนด์นักเขียนนวนิยายชื่อดังชาวอังกฤษ ที่ไดอานาชื่นชอบ) ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างแม่เลี้ยงและลูกเลี้ยงทั้ง 4 คนนั้นเป็นไปอย่างไม่ราบรื่นนัก

    ตอบลบ
  20. อภิเษกสมรส

    พระราชพิธีอภิเษกสมรสครอบครัวสเปนเซอร์ใกล้ชิดกับพระราชวงศ์มานานแล้ว เลดีฟรอยเมยซึ่งเป็นคุณยายของเจ้าหญิงนั้น เป็นพระสหายและนางสนองพระโอษฐ์ในสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ มาเป็นเวลานาน ประกอบกับการที่เจ้าชายแห่งเวลส์เคยทรงคบหาอยู่กับเลดี้ซาราห์และเลดี้เจน พี่สาวของเลดี้ไดอานา ทำให้พระองค์ทรงคุ้นเคยกับไดอานาพอสมควร และเมื่อเจ้าฟ้าชายชาลส์พระชนม์ได้ราว 30 พรรษา พระองค์ได้รับการร้องขอให้ทรงอภิเษกสมรส ตามกฎหมายพระองค์จะต้องเสกสมรสกับสตรีที่ไม่ได้นับถือนิกายโรมันคาทอลิค แต่นับถือนิกายโบสถ์แห่งอังกฤษ นอกจากนี้ ลอร์ดเมาท์แบทเทน แห่งพม่าซึ่งเป็นพระอัยยิกาน้อย (น้องชายของปู๋) ของเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ยังได้แนะนำให้พระองค์เสกสมรสกับหญิงบริสุทธิ์ด้วย อีกทั้งการที่สมเด็จพระราชชนนี ทรงพระราชประสงค์จะให้พระองค์เองกับเลดี้ฟรอมเมยได้เป็น "ทองแผ่นเดียวกัน" เจ้าฟ้าชายผู้ทรงรักสมเด็จยายมากจึงทรงยอมตามพระทัย และพยายามทำพระองค์ให้คิดว่าไดอานานี้แหละ คือ สุดยอดผู้หญิงที่เหมาะสมกับพระองค์ และเป็นผู้หญิงที่พระองค์รัก

    สำนักพระราชวังบัคคิงแฮมประกาศเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2524 ว่าพระราชพิธีอภิเษกสมรสจะจัดขึ้นที่โบสถ์เซนต์ปอล ในลอนดอน ในวันที่ 29 กรกฎาคม ปีเดียวกัน โดยมีแขกได้รับเชิญจำนวนกว่า 3500 คน และมีการถ่ายทอดสดพระราชพิธีนี้ด้วย

    ไดอานาเป็นหญิงคนแรกในรอบหลายศตวรรษที่สมรสกับรัชทายาทแห่งราชบัลลังก์อังกฤษ หลังการอภิเษกสมรสไดอานาได้รับยศเป็น "เจ้าหญิงแห่งเวลส์" และมีลำดับพระอิสริยยศเป็นลำดับที่ 3 แห่งพระราชวงศ์ฝ่ายในของอังกฤษ ต่อจากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 และสมเด็จพระราชชนนีอลิซาเบธ

    นอกจากนี้ ไดอานายังเป็นสตรีสามัญชนคนแรกที่อภิเษกสมรสกับเจ้าชายแห่งเวลส์ และได้ดำรงพระอิสริยยศเป็นเจ้าหญิงแห่งเวลส์ด้วย

    ตอบลบ
  21. พระโอรส

    เจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์ มีพระโอรส 2 พระองค์ คือ

    1.เจ้าชายวิลเลียม แห่งเวลส์ ประสูติ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2525 รัชทายาทลำดับที่ 2 แห่งอังกฤษ ทรงสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก มหาวิทยาลัยอีตันในสาขาวิชาภูมิศาสตร์ ชีววิทยาและประวัติศาสตร์ศิลปะ (ผลการทรงศึกษาทั้งหมดด้วยลำดับขั้น A) จากนั้นทรงเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท สาขาวิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเซนต์แอนดริวส์ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 ปัจจุบันทรงเข้ารับการฝึกเป็นทหารอยู่ที่ประเทศชิลี
    2.เจ้าชายเฮนรีแห่งเวลส์ ประสูติ 15 กันยายน พ.ศ. 2527 รัชทายาทลำดับที่ 3 แห่งอังกฤษ ถูกโจมตีมากที่สุดว่าเป็นเจ้าชายเจ้าปัญหา ด้วยพระอารมณ์รุนแรง หรือการฉลองพระองค์ไม่เหมาะสม (เช่นชุดนาซี)


    ลูกเลี้ยง

    ไดอานานอกจากจะมีพระโอรส 2 พระองค์แล้ว ยังทรงมีลูกเลี้ยง (godchildren คือ เด็กที่พระองค์ทรงเป็นแม่ทูนหัว) อีกเป็นจำนวน 17 คน ดังมีรายชื่อต่อไปนี้

    1.เลดีเอ็ดวิน่า กรอสเวนเนอร์ ธิดาของดยุคและดัชเชสแห่งเวสมินสเตอร์ โดยเป็นลูกเลี้ยงคนแรกของไดอานา
    2.ฮอนเนอเรเบิ้ลอเล็กซานดร้า นัตช์บอลล์ ธิดาของลอร์ดและเลดีโรมเซ่ย์
    3.แคลร์ คาซาแลท ธิดาของอิซาเบล และ วิคเตอร์ คาซาแลท
    4.คามิลล่า สไตรเกอร์ ธิดาของเรเบิ้น และฮอนเนอเรเบิ้ลโซเฟีย สไตรเกอร์ ซึ่งเป็นพระสหายที่เคยอยู่แฟลตห้องเดียวกันกับไดอานา
    5.เจ้าชายฟิลิปเปส์ พระราชโอรสของอดีตกษัตริย์คอนสแตนตินและสมเด็จพระราชินีแอนน์ มารี
    6.ลีโอนารา ลอนสเดล ธิดาของเจมี่และลอร่า ลอนสเดล ลอร่าเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของไดอานา
    7.แจ๊กกี้ วอร์แรน บุตรของจอห์นและเลดีแคโรลีน วอร์แรน
    8.เลดีแมรี่ เวลเลสลี่ย์ ธิดาของมาควิสและมาชันเนสแห่งโดโร
    9.จอร์จ ฟรอสต์ บุตรของเซอร์เดวิดและเลดีคาริน่า ฟรอสต์
    10.แอนโทนี่ ทวิสตัน-ดาวี่ ธิดาของออดลี่ย์ ทวิสตัน-ดาวี่ และฮอนเนอเรเบิ้ลแคโรลีน ฮาร์บอด-ฮาร์มอนด์ แคโรลีนเป็นพระสหายที่ไดอานาทรงไว้พระทัยมาก
    11.แจ๊ค ฟลอคเนอร์ บุตรของซีมอนด์และอิซาเบล ฟอล์คเนอร์
    12.ลอร์ดเอ็ดเวิร์ด ดาวน์แพททริค บุตรของเอิร์ลแค้นท์เตสแห่งเซนท์แอนดรูว์
    13.แจ๊ค บาทโลเมล บุตรของวิลเลี่ยมและแคโรลีน บาทโลเมล แคโรลีนเป็นพระสหายตั้งแต่มัธยมและเคยอยู่แฟลตห้องเดียวกับไดอานา
    14.เบนจามิน ซามูแอล บุตรของฮอนเนอเรเบิลไมเคิลและจูเลีย ซามูแอล จูเลียเป็นพระสหายสนิทของไดอานา ทั้งสองคนมักรับประทานอาหารกลางวันร่วมกันเสมอๆ อีกทั้งยังเป็นเพื่อนไม่กี่คนที่ไดอานาขอคำปรึกษาเรื่องครอบครัวที่ร้าวฉาน
    15.แอนโทนี่ แฮร์ริงตัน ธิดาของโจนาธาน แฮร์ริงตัน
    16.ดิซซี่ย์ โซแอมซ์ ธิดาของฮอนเนอเรเบิลรูเพิร์ทและคามิลลา โซแอมซ์
    17.โดเมนิก้า ลอว์ซัน ธิดาของดอมินิค ลอว์ซันและฮอนเนอเรเบิล โรซา มอนซ์ตัน โรซาเป็นพระสหายคนที่ไดอานาไปประทับอยู่ด้วย 1 เดือนก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ โดเมนิก้าเป็นลูกเลี้ยงคนสุดท้ายของไดอานา

    ตอบลบ
  22. ทรงหย่า

    หนังสือสำคัญการหย่าของเจ้าชายและเจ้าหญิงแห่งเวลส์เหตุการณ์ไม่เป็นไปอย่างความคาดหมายของทุกคน ในระยะแรกเจ้าหญิงไม่สามารถทรงปรับพระองค์ให้เข้ากับชีวิตของความเป็นเจ้าฟ้าหญิงได้ และทรงทุกข์ทรมานจากพระโรค บูลิเมีย (อยากอาหาร แต่เมื่อรับประทานเข้าไปแล้ว จะอาเจียนออกมาจนหมด แต่ความอยากอาหารก็จะยังคงมีอยู่ตลอดเวลา) ซึ่งหลังจากหายขาดจากพระโรค เจ้าหญิงได้มีพระประสูติกาลเจ้าชายวิลเลียม หลังจากนั้นอีก 3 ปี พระองค์ได้มีพระประสูติกาลอีกครั้ง เจ้าชายแฮร์รี เจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายแห่งเวลส์เริ่มทรงมีความสัมพันธ์กับคามิลลา ปาร์กเกอร์โบลส์อย่างเปิดเผย บางคนเชื่อว่าเนื่องจากเจ้าฟ้าชายชาลส์ไม่สามารถทนได้ที่พระชายาได้รับความชื่นชมมากกว่าพระองค์ (คล้ายคลึงกับเหตุการณ์ของเจ้าฟ้าหญิงมาซาโกะ มกุฎราชกุมารีแห่งญี่ปุ่นในปัจจุบัน) ภาระทั้งหมดกลับตกไปที่ไดอานาในฐานะที่ควรจะ "ทรงทนให้ได้" เจ้าหญิงพยายามอย่างยิ่งที่จะพยายามเชื่อมความสัมพันธ์ของพระองค์กับชาลส์ไว้ให้นานที่สุด แต่ไม่เป็นผล สื่อมวลชนประโคมข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของเจ้าฟ้าชายชาลส์กับคามิลลา อย่างครึกโครม รวมทั้งข่าวคราวระหว่างเจ้าหญิงกับผู้ชายอีกหลายคน นั่นทำให้ทั้ง 2 พระองค์คิดว่า เรื่องราวทั้งหมดควรจะจบลงเสียที ความสัมพันธ์ของทั้งสองพระองค์ในขณะนั้น สื่อมวลชนเรียกว่า "สงครามแห่งเวลส์" (War of Waleses)

    ตอบลบ
  23. พระกรณียกิจ

    เจ้าหญิงแห่งเวลส์ได้ทรงบำเพ็ญพระกรณียกิจมากมายหลายประการ ดังนี้

    ด้านโรคเอดส์ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2530 เจ้าหญิงแห่งเวลส์ทรงเป็นบุคคลสำคัญคนแรกของโลกที่ถูกถ่ายรูปว่าจับต้องตัวผู้ป่วยโรคเอดส์ ความคิดและทัศนคติต่อคนที่ป่วยเป็นโรคเอดส์เปลี่ยนไปทันที และคนป่วยเองก็มีกำลังใจมากขึ้นอีกด้วย โดยเฉพาะจากคำพูดของประธานาธิบดี บิล คลินตัน ซึ่งกล่าวถึงไดอานา ในปี พ.ศ. 2530 ว่า
    "เมื่อปี 1987,หลายคนต่างเชื่อว่าโรคเอดส์สามารถติดต่อกันได้โดยการสัมผัสตัวกัน แต่เจ้าหญิงไดอาน่าได้ประทับร่วมกับผู้ป่วยโรคเอดส์ที่เตียงของเขาและทรงจับมือเขาไว้ พระองค์ได้แสดงให้โลกได้รับรู้ว่าผู้ป่วยโรคเอดส์ไม่สมควรที่จะถูกทอดทิ้งแต่ควรที่จะได้รับความเอื้ออาทรจากเรามากกว่า นั่นเป็นการเปลี่ยนความคิดของประชาคมโลกและเป็นการให้ความหวังแก่ผู้ป่วยที่ด้วยโรคนี้ ''

    ต่อต้านกับระเบิด เจ้าหญิงเสด็จไปในการทรงต่อต้านการวางกับระเบิด ในฐานะที่ทรงเป็นสมาชิกวิสามัญของสภากาชาดแห่งอังกฤษ ภาพที่พระองค์ทรงจับมือเด็กหญิงที่ถูกกับระเบิดกำลังจะสิ้นใจตราบกระทั่งลมหายใจสุดท้ายของเธอ นำความเศร้าอย่างยิ่งให้กับโลก
    นอกจากนี้ เจ้าหญิงยังทรงสนพระทัยในศาสนาอย่างมาก พระองค์เคยทรงเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 อีกด้วย และยังทรงโปรดการที่ได้เล่นกับเด็กโดยไม่ถือพระองค์ ทรงเป็นแม่ทูนหัวของเด็กถึง 17 คน ซึ่งส่วนหนึ่งอาจเพราะพระองค์ทรงเคยเป็นครูที่โรงเรียนอนุบาลมาก่อนก็ได้ ในด้านการต่างประเทศทรงเป็นทูตสันถวไมตรีในหลายๆ ประเทศ การเสด็จของพระองค์นำความยินดีให้กับทุกคนที่จะได้เฝ้าฯ เป็นที่น่าเสียดายว่าก่อนที่จะสิ้นพระชนม์ไม่นานทรงมีหมายกำหนดการที่จะเสด็จเยือน จังหวัดภูเก็ต แต่ยกเลิกไปเสียก่อน

    ตอบลบ
  24. เหตุการณ์ก่อนสิ้นชีวิต


    อุบัติเหตุ

    รถพระที่นั่งภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เวลา 15.37 น. มีผู้พบเห็นไดอานาลงจากเครื่องบินที่มีต้นทางจากหมู่เกาะซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ที่สนามบินเลอร์ บู เจ๊ตในกรุงปารีส ในเวลาประมาณ 15.40น. เจ้าหญิงได้ขึ้นรถ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส 280 สีดำ รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบินอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทรงนัดพบกับ โดดี อัลฟาเยด์ ที่อพาร์ตเมนต์กลางกรุงปารีส หลังจากนั้น เวลาประมาณ 17.45 น. มีผู้พบเห็นไดอานากับนายโดดี พร้อมองครักษ์ อีกครั้งขณะช็อปปี้งในย่านถนน "ชองเซลีเซ่" ขณะนั้นช่างภาพอิสระรุมถ่ายภาพระองค์กับนายโดดี โดยเวลา 18.40 น. เจ้าหญิงจึงเสด็จกลับ มีการดักฟังทางโทรศัพท์ว่า เจ้าหญิงจะทรงพบกับนายโดดีอีก ที่โรงแรมริทซ์เพื่อเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในเวลา 21.31 น. และเจ้าหญิงได้เสด็จถึงโรงแรมเมื่อเวลา 21.31 โดยในระหว่างเวลา 21.40-23.30 น. เจ้าหญิงได้อยู่ในภัตตาคารอันหรูหราของนายโดดี แต่มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของเจ้าหญิงว่าได้โทรศัพท์ไปหานางมารา โหรหญิงและเจ้าของร้านอาหารอิตาเลียนในกรุงลอนดอน พระสหายสนิทพระองค์ เพื่อทำนายดวงชะตาและขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตภายในอีก 2-3 อาทิตย์ข้างหน้า

    ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เจ้าหญิงไดอาน่าได้เสด็จออกจากโรงแรมริตซ์พร้อมกับนายโดดี อัลฟาเยด ช่างภาพอิสระชุดเก่าที่จึงสะกดรอยตามพระองค์อีกครั้ง จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ที่ชื่อว่า Point De Alma ใต้แม่น้ำเซน แต่รถยนต์ซึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่าช่างภาพอิสระ ก็ได้พุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นอุโมงค์อย่างจัง เนื่องจากถนนลอดอุโมงค์มีความลาดชันมาก ทำให้รถยนตหมุนตัวและพุ่งชนแผงเหล็กอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้หม้อน้ำเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง โดยอองรี ปอล คนขับรถและนายโดดี เสียชีวิตทันที ส่วนเจ้าหญิงและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่พระพักตร์(ใบหน้า)และพระเศียร(ศีรษะ) มีพระโลหิต(เลือด)ไหลออกมากและยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะ(ปอด) เมื่อเวลา 00.15 น. รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลเซ็นต์เดอลาปีแอร์ มารับเจ้าหญิงและองครักษ์ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงเสียพระโลหิตมาก และยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากด้วย โดยเจ้าหญิงมีพระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. พระหทัยของไดอาน่าอ่อนแรงลงเรื่อยๆ ซึ่งในขณะนั้นพระชีพจรอยู่ที่ 23 ครั้งต่อนาที

    [แก้] สิ้นพระชนม์
    หลังจากนั้นอีกประมาณครึ่งชั่วโมง เวลา 04.00 น.[7] ดร.บรูโน ริโอ แพทย์ผู้ทำการรักษาเจ้าหญิงไดอานา ประกาศว่า ไดอาน่า อดีตเจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะในและสูญเสียพระโลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์นั้นเป็นคนเดียวในอุบัติเหตุที่รอดชีวิต สำนักพระราชวังบัคกิงแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในวันรุ่งขึ้น และแจ้งว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ทรงทราบข่าวแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงานพระศพได้ที่ มหาวิหารเวสมินเตอร์ โดยพระราชวงศ์อังกฤษทุกพระองค์เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีพระศพ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ซึ่งยังคงทรงโศกเศร้ามากนั้น มีคุณปีเตอร์ ฟิลิปส์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) จับมือและคอยให้กำลังใจตลอดเวลา แขกสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ทุกพระองค์แล้วยังมีครอบครัวสเปนเซอร์ทุกคน และมีผู้ร่วมไว้อาลัยประมาณ 3,500 คน

    ตอบลบ
  25. ถวายการไว้อาลัยแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์


    ผู้คนทั่วทั้งโลกล้วนตกตะลึงและโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของไดอาน่า ดอกไม้หลายล้านดอกและจดหมายนับล้านๆ ฉบับถูกส่งถึงหน้าพระราชวังเพื่อไว้อาลัยถวายแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยมีบุคคลสำคัญที่ได้แสดงความไว้อาลัยแก่ไดอานา เช่น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดลและ เลดี้เจน เฟเลอว์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิง ชาร์ลส์ เอิร์ล สเปนเซอร์ พระอนุชา และเซอร์เอลตัน จอห์น ได้ร้องเพลง Candle in the wind เพื่อบรรเลงถวายอาลัยแก่ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในงานพระศพ

    ตอบลบ
  26. พระพินัยกรรม


    หลังไดอาน่า ได้มีการเปิดพินัยกรรมในวันที่ 2 มีนาคม ปีถัดมา สาระสำคัญของพินัยกรรมคือ

    1.มีความประสงค์ให้มารดาและนายพลแพทริค เป็นผู้รับผิดชอบและจัดการทรัพย์ของพระองค์
    2.ต้องการให้มีการปลงศพของเธอโดยการฝัง
    3.หากว่าไดอาน่าและพระสวามีสิ้นพระชนม์ก่อนที่พระโอรสทั้งสองพระองค์จะมีพระชนม์ได้ 20 พรรษา มีความประสงค์ประสงค์ให้พระมารดาและพระอนุชา (เอิร์ลสเปนเซอร์ที่ 9) เป็นผู้ปกครองเจ้าชายทั้ง 2 พระองค์
    4.ไดอาน่ายินดีที่จะจ่ายภาษี
    ผู้พิทักษ์ของไดอาน่ามีทรัพย์สินรวมมูลค่าทั้งหมดประมาณ 35,600,000 ดอลล่าร์ซึ่งหลังจากจ่ายภาษีแล้วจะเหลือประมาณ 21,300,000 ดอลล่าร์ พระองค์ทรงโปรดให้แบ่งทรัพย์สินประทานให้แก่ลูกเลี้ยงของพระองค์ทั้ง 17 คนก่อน คนละ 82,000 ดอลล่าร์ และให้นายพอล เบอร์เรล มหาดเล็กต้นห้องของพระองค์ 80,000 ดอลลาร์ ทรัพย์ที่เหลือนั้น ให้เก็บรักษาไว้จนกว่าเจ้าชายแฮร์รี่จะมีพระชนม์ 25 พรรษา (และหากว่าทรัสต์มีผลกำไรงอกเงยขึ้นมา) ให้แบ่ง (ทั้งเงินต้นและกำไรของผู้พิทักษ์) เป็นสองส่วนเท่าๆ กัน ประทานแก่พระโอรสทั้ง 2 พระองค์

    ทั้งนี้พระโอรสทั้งสองพระองค์ และลูกเลี้ยงทั้ง 17 คน จะต้องมีชีวิตอยู่หลังจากเธอเสียชีวิตแล้วอย่างน้อย 3 เดือนจึงจะมีสิทธิ์รับมรดกตามพินัยกรรม

    ในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการจัดสร้างน้ำพุอนุสรณ์เจ้าหญิงไดอานา ที่บริเวณสวนสาธารณะไฮด์ปาร์ก ในกรุงลอนดอน มีลักษณะเชิงสัญลักษณ์ถึงชีวิตของเจ้าหญิง ออกแบบโดย แคธรีน กุสตาฟเซิน และ นีล พอร์เตอร์ โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร และบริเตนใหญ่เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2547

    ตอบลบ