ศูนย์ LifeVantage

ศูนย์จำหน่ายผลิตภัณฑ์ LifeVantage : Protandim Nrf1 / Nrf2 / ProBio / TrueScience ติดต่อสอบถาม/สั่งซื้อ โทร ☎️ :: 084-110-5021 📍 Line ID :: pla-prapasara 🌸 รับโปรโมชั่นสุดพิเศษเฉพาะทาง Line ค่ะ

24 ตุลาคม 2553

การเรียนแบบร่วมมือ

                   การเรียนแบบร่วมมือ

1. ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning)

ความหมาย
การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงาน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่จำกัดมากกว่า และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจน ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning
Nagata and Ronkowski (1998) ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียกว่า Cooperative Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นชนิดหนึ่งของ Collaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน
Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
Penn State University College of Education (2004) ได้ให้คำจำกัดความของ Collaborative Learning ว่ามีคุณลักษณะของการแบ่งปัน เข้าใจเป้าหมาย มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นและมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการติดต่อสื่อสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการตัดสินใจจากการลงความเห็นร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยและชี้แนะให้ นักเรียนได้มองเห็นทางออกของปัญหานั้นๆ
Thirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงในชนิดของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานแบบเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

2. ทฤษฎีและหลักการของการเรียนรู้แบบร่วมมือ
2.1 องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ

2.1.1 องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ


Johnson and Johnson (1994 : 31 - 37) ได้สรุปว่า Cooperative Learning มีองค์ประกอบ ที่สำคัญ 5 ประการ ดังนี้
1. ความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันในทางบวก (Positive Interdependent) หมายถึงการพึ่งพากันใน
ทางบวก แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การพึ่งพากันเชิงผลลัพธ์ คือการพึ่งพากันในด้านการได้รับผลประโยชน์จากความสำเร็จของกลุ่มร่วมกัน ซึ่งความสำเร็จของกลุ่มอาจจะเป็นผลงานหรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่ม ในการสร้างการพึ่งพากันในเชิงผลลัพธ์ได้ดีนั้น ต้องจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนทำงาน โดยมีเป้าหมายร่วมกัน จึงจะเกิดแรงจูงใจให้ผู้เรียนมีการพึ่งพาซึ่งกันและกัน สามารถร่วมมือกันทำงานให้บรรลุผลสำเร็จได้ และการพึ่งพาในเชิงวิธีการ คือ การพึ่งพากันในด้านกระบวนการทำงานเพื่อให้งานกลุ่มสามารถบรรลุได้ตามเป้าหมาย ซึ่งต้องสร้างสภาพการณ์ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มได้รับรู้ว่าตนเองมีความสำคัญต่อความสำเร็จของกลุ่ม ในการสร้างสภาพการพึ่งพากันในเชิงวิธีการ มีองค์ประกอบ ดังนี้

1.1 การทำให้เกิดการพึ่งพาทรัพยากรหรือข้อมูล (Resource Interdependence) คือ แต่ละ
บุคคลจะมีข้อมูลความรู้เพียงบางส่วนที่เป็นประโยชน์ต่องานของกลุ่ม ทุกคนต้องนำข้อมูลมารวมกันจึงจะทำให้งานสำเร็จได้ ในลักษณะที่เป็นการให้งานหรืออุปกรณ์ที่ทุกคนต้องทำหรือใช้ร่วมกัน
1.2 ทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงบทบาทของสมาชิก (Role Interdependence) คือ การกำหนด บทบาทของการทำงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่ม และการทำให้เกิดการพึ่งพาเชิงภาระงาน (Task Interdependence) คือ แบ่งงานให้แต่ละบุคคลในกลุ่มมีทักษะที่เกี่ยวเนื่องกัน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งทำงานของตนไม่เสร็จ จะทำให้สมาชิกคนอื่นไม่สามารถทำงานในส่วนที่ต่อเนื่องได้
2. การมีปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่ม (Face to Face Promotive Interdependence) หมายถึง การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนช่วยเหลือกัน มีการติดต่อสัมพันธ์กัน การอภิปรายแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด การอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกในกลุ่ม การมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงระหว่างสมาชิกในกลุ่มได้เกิดการเรียนรู้ การรับฟังเหตุผลของสมาชิกภายในกลุ่ม จะก่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการคิดของผู้เรียน เป็นการเปิดโอกาสให้ ผู้เรียนได้รู้จักการทำงานร่วมกันทางสังคม จากการช่วยเหลือสนับสนุนกัน การเรียนรู้เหตุผลของกัน
และกัน ทำให้ได้รับข้อมูลย้อนกลับเกี่ยวกับ การทำงานของตนเอง จากการตอบสนองทางวาจา และท่าทางของเพื่อนสมาชิกช่วยให้รู้จักเพื่อนสมาชิกได้ดียิ่งขึ้น ส่งผลให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
3. ความรับผิดชอบของสมาชิกแต่ละบุคคล (Individual Accountability) หมายถึง ความรับผิดชอบในการเรียนรู้ของสมาชิกแต่ละคน โดยต้องทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างเต็มความสามารถ ต้องรับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองและเพื่อนสมาชิก ให้ความสำคัญเกี่ยวกับความสามารถและความรู้ที่แต่ ละคนจะได้รับ มีการตรวจสอบเพื่อความแน่ใจว่า ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้เป็นรายบุคคลหรือไม่ โดยประเมินผลงานของสมาชิกแต่ละคน ซึ่งรวมกันเป็นผลงานของกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับทั้งกลุ่มและรายบุคคลให้สมาชิกทุกคนรายงานหรือมีโอกาสแสดงความคิดเห็นโดยทั่วถึง ตรวจสรุปผลการเรียนเป็นรายบุคคลหลังจบบทเรียน เพื่อเป็นการประกันว่าสมาชิกทุกคนในกลุ่มรับผิดชอบทุกอย่างร่วมกับกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความมั่นใจ และพร้อมที่จะได้รับการทดสอบเป็นรายบุคคล
4. การใช้ทักษะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Interpersonal and Small Group Skills) หมายถึง การมีทักษะทางสังคม (Social Skill) เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข คือ มีความเป็นผู้นำ รู้จักตัดสินใจ สามารถสร้างความไว้วางใจ รู้จักติดต่อสื่อสาร และสามารถแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งในการทำงานร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการทำงานร่วมกันที่จะช่วยให้การทำงานกลุ่มประสบความสำเร็จ
5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) หมายถึง กระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม โดยผู้เรียนจะต้องเรียนรู้จากกลุ่มให้มากที่สุด มีความร่วมมือทั้งด้านความคิด การทำงาน และความ รับผิดชอบร่วมกันจนสามารถบรรลุเป้าหมายได้ การที่จะช่วยให้การดำเนินงานของกลุ่มเป็นไปได้อย่าง มีประสิทธิภาพและบรรลุเป้าหมายนั้น กลุ่มจะต้องมีหัวหน้าที่ดี สมาชิกดี และกระบวนการทำงานดี นั่นคือ มีการเข้าใจในเป้าหมายการทำงานร่วมกัน
ในกระบวนการนี้สิ่งที่สำคัญ คือ การประเมินทั้งในส่วนที่เป็นวิธีการทำงานของกลุ่ม พฤติกรรมของสมาชิกกลุ่ม และผลงานของกลุ่ม โดยเน้นการประเมินคะแนนของผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มมาเป็นคะแนนกลุ่ม เพื่อตัดสินความสำเร็จของกลุ่มด้วย ประเมินกระบวนการทำงานกลุ่ม ประเมินหัวหน้า และประเมินสมาชิกกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อให้ ผู้เรียนเห็นความสำคัญของกระบวนการกลุ่มที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของกลุ่มได้

2.1.2 องค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ

The Faculty of Social Sciences at Flinders University (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning มีองค์ประกอบ 5 ประการ ดังนี้
1. มีการรับรู้ชัดเจนต่อการพึ่งพาอาศัยกันในเชิงบวก (Clearly Perceived Positive
Interdependence)
2. มีปฏิสัมพันธ์ (Interaction)ระหว่างสมาชิกทีมในเชิงบวก เพื่อการบรรลุเป้าหมายและมีการ
ช่วยเหลือ ให้คำแนะนำต่อกัน

3. มีความรับผิดชอบรายบุคคลและความรับผิดชอบส่วนบุคคล (Individual Accountability
and Personal Responsibility)
4. ทักษะการทำงานกลุ่มย่อย (Small Group Skills) ซึ่งประกอบด้วยทักษะส่วนบุคคล ถือเป็น
เรื่องสำคัญยิ่ง ในการที่จะบรรลุเป้าหมายได้นั้น นักเรียนจะต้อง รู้จักและให้ความเชื่อถือต่อผู้อื่น มีการ ติดต่อสื่อสารที่ให้ความกระจ่างชัด เตรียมการและยอมรับการสนับสนุน พยายามในการแก้ไขปัญหา ที่เกิดขึ้น
5. กระบวนการทำงานของกลุ่ม (Group Processing) : กลุ่มทำงานที่ประสบผลสำเร็จก็ต่อเมื่อ
กลุ่มได้มีส่วนร่วมในหน้าที่เป็นอย่างดี สมาชิกได้รักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์ในการทำงานที่ดี โดยมุ่งเน้นที่การสะท้อนกลับของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล สนับสนุนทักษะการร่วมมือ มีการให้รางวัลสำหรับ พฤติกรรมเชิงบวก และยินดีต่อความสำเร็จที่ได้รับ

จากการพิจารณาความหมายที่ Cooperative Learning เป็นส่วนหนึ่งของ Collaborative Learning และองค์ประกอบของ Cooperative Learning และ Collaborative Learning ที่เหมือนกันนั้นจึงสรุปได้ว่าทั้ง Cooperative Learning และ Collaborative Learning ก็คือ การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แต่ในความหมายใกล้เคียงกันนั้นได้มีระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน และมีโครงสร้างของงานที่ต่างกันด้วย

2.2 ประเภทของกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือ


ทิศนา แขมมณี (2545 : 102 – 103) ได้แบ่งกลุ่มการเรียนรู้ที่ใช้อยู่โดยทั่วไป มี 3 ประเภท ดังนี้
1. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างเป็นทางการ (Formal Cooperative Learning Group)
กลุ่มประเภทนี้ ครูจัดขึ้นโดยการวางแผน จัดระเบียบ กฎเกณฑ์ วิธีการและเทคนิคต่างๆ
เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมมือกันเรียนรู้สาระต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจเป็นหลายๆชั่วโมงติดต่อกัน หรือหลายสัปดาห์ติดต่อกัน จนกระทั่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุจุดมุ่งหมายตามที่กำหนด
2. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างไม่เป็นทางการ (Informal Cooperative Learning Group)
กลุ่มประเภทนี้ ครูจัดขึ้นเฉพาะกิจเป็นครั้งคราว โดยสอดแทรกอยู่ในการสอนปกติอื่นๆ
โดยเฉพาะการสอนแบบบรรยาย ครูสามารถจัดกลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมือสอดแทรกเข้าไปเพื่อช่วยให้ผู้เรียนมุ่งความสนใจ หรือใช้ความคิดเป็นพิเศษในสาระบางจุด
3. กลุ่มการเรียนรู้แบบร่วมมืออย่างถาวร (Cooperative Base Group) หรือ Long - Term
Group
กลุ่มประเภทนี้ เป็นกลุ่มการเรียนรู้ที่สมาชิกกลุ่มมีประสบการณ์การทำงาน / การเรียนรู้ร่วม
กันมานานมากกว่า 1 หลักสูตร หรือภาคการศึกษา จนกระทั่งเกิดสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้น สมาชิกกลุ่มมีความผูกพัน ห่วงใย ช่วยเหลือกันและกันอย่างต่อเนื่อง
ในการเรียนรู้แบบร่วมมือ มักจะมีกระบวนการดำเนินงานที่ต้องทำเป็นประจำ เช่น การเขียนรายงาน การเสนอผลงานของกลุ่ม การตรวจผลงาน เป็นต้น ในกระบวนการที่ใช้หรือดำเนินการเป็นกิจวัตรในการเรียนรู้แบบร่วมมือนี้ เรียกว่า Cooperative Learning Scripts ซึ่งหากสมาชิกกลุ่มปฏิบัติอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน จะเกิดเป็นทักษะที่ชำนาญในที่สุด

2.3 ข้อดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

Thirteen Organization (2004) ได้สรุปข้อดีของสิ่งแวดล้อมในการเรียนรู้แบบร่วมมือจากการ
เรียนของนักเรียนในกลุ่มเล็ก ซึ่งรวมถึงเรื่องต่างๆ ดังนี้
ก. ใคร่ครวญในความหลากหลาย : นักเรียนได้เรียนรู้การทำงานกับคนที่มีหลายแบบมีปฏิ
สัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเล็ก นักเรียนได้ค้นพบโอกาสจากการสะท้อนกลับ และการตอบกลับต่อการตอบสนองที่หลากหลายของผู้เรียนแต่ละคน นำมาซึ่งการเพิ่มคำถาม กลุ่มเล็กได้อนุญาตให้นักเรียนเพิ่มมุมมองในประเด็นที่มีฐานบนความแตกต่างด้านวัฒนธรรม จึงเป็นการแลกเปลี่ยนความช่วยเหลือต่อนักเรียนที่ดีกว่าการเข้าใจวัฒนธรรมอื่นๆ และการชี้มุมมองเท่านั้น
ข. ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล : เมื่อมีคำถามเพิ่มขึ้น นักเรียนที่มีความแตกต่างกัน
จะมีการตอบสนองที่หลากหลาย อย่างน้อยนักเรียนคนหนึ่งสามารถช่วยกลุ่มในการสร้างผลผลิตที่สะท้อนกลับในพิสัยอันกว้างของมุมมอง และมีความสมบูรณ์และกว้างขวางครอบคลุม
ค. การพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล : นักเรียนจะสร้างความสัมพันธ์กับเพื่อนและผู้เรียน
คนอื่นๆ จากการทำงานร่วมกันในกลุ่มกิจการ โครงการต่างๆ เหล่านี้สามารถช่วยเหลือเป็นการเฉพาะต่อนักเรียนที่ประสบอุปสรรคในด้านทักษะทางสังคม ซึ่งพวกเขาสามารถได้รับผลประโยชน์จากโครงสร้างการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
ง. การรวมนักเรียนที่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ : สมาชิกแต่ละคนมีโอกาสได้รับการช่วย
เหลือในกลุ่มเล็ก นักเรียนมีแนวโน้มในการแสดงความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของต่อวัสดุอุปกรณ์ และการคิดเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับประเด็นความสัมพันธ์ เมื่อพวกเขาได้ทำงานเป็นทีม
จ. มีโอกาสมากกว่าสำหรับการป้อนกลับส่วนบุคคล : ด้วยเหตุที่มีการแลกเปลี่ยนในนักเรียนกลุ่มเล็กมากกว่าการป้อนกลับส่วนบุคคล ที่นักเรียนได้รับเป็นส่วนตัว กับแนวคิดและการตอบสนองของหลายคน ซึ่งการป้อนกลับ ไม่สามารถพบได้ในการเรียนการสอนแบบกลุ่มใหญ่ ซึ่งมีนักเรียนหนึ่งหรือสองคนที่ได้แลกเปลี่ยนแนวคิด ส่วนนักเรียนคนอื่นๆในห้องเรียนได้แต่หยุดเงียบเพื่อฟัง เป็นผู้ฟังเท่านั้น




Imel Susan (1991 : 4) ได้สรุปข้อดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือในบริบทของการศึกษาผู้ใหญ่ ดังนี้
ก. การเรียนรู้แบบร่วมมือได้จัดหาสิ่งแวดล้อมของการวางแผนประชาธิปไตย การตัดสินใจ
และพลังของกลุ่ม เช่น การพัฒนาความเป็นอิสระของผู้เรียน
ข. การอนุญาตให้มีส่วนร่วมของการเรียนรู้ ที่มีการเข้าใจอย่างถ่องแท้ในศักยภาพและพลัง
ของกลุ่ม เช่น การพัฒนาความเป็นอิสระของผู้เรียน
ค. การช่วยเหลือต่อการพัฒนาส่วนบุคคลที่ดีกว่า การพิจารณาตัดสินผ่านการเปิดเผย และ
การลงมติที่ลำเอียงและไม่มีการแบ่งปันเช่นแต่ก่อน
ง. เป็นความสามารถของผู้ใหญ่ในการวาดภาพประสบการณ์เดิมของเขาทั้งหลาย โดยการ
วิพากษ์วิจารณ์ด้วยประสบการณ์เดิมทางด้านปัญญาและความรู้

Johnson,D.W.,Johnson,R.T., and Holubec.E.J.(1994) ได้สรุปผลลัพธ์เชิงบวกจากการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียนในด้านต่างๆ ดังนี้
ก. ผู้เรียนมีความพยายามที่จะบรรลุเป้าหมายมากขึ้น (Greater Effort to Achieve)
การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีความพยายามที่จะเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย เป็นผล
ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น และมีผลงานมากขึ้น การเรียนรู้มีความคงทนมากขึ้น (Long – Term Retention) มีแรงจูงใจภายในและแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ มีการใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ ใช้เหตุผลดีขึ้น และคิดอย่างมีวิจารณญาณมากขึ้น
ข. ผู้เรียนมีความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนดีขึ้น (More Positive Relationships among
Students)
การเรียนรู้แบบร่วมมือช่วยให้ผู้เรียนมีน้ำใจนักกีฬามากขึ้น ใส่ในในผู้อื่นมากขึ้น เห็นคุณ
ค่าของความแตกต่าง ความหลากหลาย การประสานสัมพันธ์และการรวมกลุ่ม
ค. ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น (Greater Psychological Health)
การเรียนรู้แบบร่วมมือ ช่วยให้ผู้เรียนมีสุขภาพจิตดีขึ้น มีความรู้สึกที่ดีเกี่ยวกับตนเอง
และมีความเชื่อมั่นในตนเองมากขึ้น นอกจากนั้นยังช่วยพัฒนาทักษะทางสังคม และความสามารถในการเผชิญกับความวิตกกังวล ความโกรธ ความเครียดและความผันแปรต่างๆด้านอารมณ์ได้ดีขึ้น
ความกดดัน ความวิตกกังวล ความรู้สึกผิด ความละอาย และความโกรธของผู้เรียนนั้น ล้วนเป็นสิ่งที่บั่นทอนศักยภาพในการสร้างความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน ดังนั้นเมื่อผู้เรียนมีสุขภาพจิตที่ดีก็จะเป็นการเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมกัน ที่ต้องการความร่วมมือ การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ภาวะผู้นำ และการจัดการกับข้อขัดแย้ง ตลอดกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ



ผลลัพธ์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้ง 3 ด้านดังกล่าว แสดงในแผนภาพที่ 1 ดังนี้




แผนภาพที่ 1 : แสดงผลลัพธ์จากการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Outcomes of Cooperation)
(Johnson,D.W.,Johnson,R.T., and Holubec.E.J.:1989)


Johnson,D.W.,Johnson,R.T., and Holubec.E.J.(1989) ได้อธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง
ผลลัพธ์จากการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อผู้เรียน ดังที่แสดงไว้ในแผนภาพที่ 1 : แสดงผลลัพธ์จากการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Outcomes of Cooperation) ว่าทั้งหมดนั้น มีความสัมพันธ์โดยตรงระหว่างกัน ได้แก่ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (Acheivement) ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล (Interpersonal Relationships) สุขภาพจิต (Psychological Health)และทักษะทางสังคม (Social Competence) การปฏิสัมพันธ์ที่ส่งเสริมกัน (Promotive Interaction) และ การพึ่งพาอาศัยกันทางบวก (Positive Interdependence) ซึ่งแต่ละส่วนต่างมีอิทธิพลต่อกันและกัน นำพาซึ่งการยอมรับต่อสัมพันธภาพที่มาจากความรู้สึกของความสำเร็จซึ่งกันและกัน ความภูมิใจของทั้งสองฝ่ายในการร่วมกันทำงาน และสายสัมพันธ์ที่แสดงผลลัพธ์จากความพยายามร่วมกัน

จากการพิจารณาข้อดีของการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทั้งในบริบทการศึกษาของบุคคลในวัย
เด็กและวัยผู้ใหญ่ดังกล่าวข้างต้น จึงสรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือมีข้อดีหลายประการ ในการพัฒนาผู้เรียน ดังนี้ คือ ช่วยพัฒนาความเชื่อมั่นของผู้เรียน พัฒนาความคิดของผู้เรียน เกิดเจตคติ ที่ดีในการเรียน ช่วยยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียน สร้างความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสมาชิก ส่งเสริมทักษะในการทำงานร่วมกัน ฝึกให้รู้จักรับฟังความคิดเห็นของ ผู้อื่น ทำให้นักเรียนมีวิสัยทัศน์ หรือมุมมองกว้างขึ้น ส่งเสริมทักษะทางสังคม ตลอดจนช่วยให้ผู้เรียนมีการปรับตัวในสังคมได้ดีขึ้น

2.4 ข้อจำกัดและมุมมองเชิงวิพากษ์ของการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ถึงแม้ว่าการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้ก่อให้เกิดการพัฒนาผู้เรียนหลายประการ สถานการณ์การ
เรียนรู้แบบร่วมมือก็ไม่ได้ง่ายต่อการจัดตั้งให้มีขึ้นได้โดยง่าย ในหลายๆสถานการณ์ ซึ่งในบางส่วนนั้นบุคคลที่ต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นบนปัญหาต่างๆ การเรียนรู้ในการขัดขวางข้อขัดแย้ง การเรียนรู้แบบร่วมมือต้องการที่จะสอนเด็กในการทำงานได้ดีกับผู้อื่น โดยแก้ไขปัญหาความขัดแย้งต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นมาโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้
ได้มีนักการศึกษาหลายท่านได้วิเคราะห์ และเสนอมุมมองเชิงวิพากษ์เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในประเด็นข้อจำกัดที่พบในกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ และเสนอเทคนิคเพื่อจัดการความ ขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่มไว้ ดังนี้


2.4.1 ข้อจำกัดที่พบในกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ

ก. การเรียนรู้แบบกลุ่มเล็ก บ่อยครั้งพบปัญหาที่สัมพันธ์กับความคลุมเครือของวัตถุประสงค์
และมีความคาดหวังในความรับผิดชอบต่ำ การขึ้นอยู่กับกลุ่มทำงานกลุ่มเล็ก การเรียกร้องสิทธิบางประการ เป็นการหลีกเลี่ยงการสอนกับการวิจารณ์ต่างๆนั้น จะทำให้ไม่เห็นด้วยกับห้องเรียนในกลุ่มเล็กที่ทำให้ผู้สอนหลบหลีกความรับผิดชอบต่อผู้เรียน
ข. Vicki Randall (1999 cited in Thirteen Organization 2004 : 6) เป็นครูผู้สอนในระดับ มูลฐาน (Elementary) โรงเรียนมัธยม (High-School) และนักเรียนระดับวิทยาลัย (College –Level Students) เป็นผู้มีความรอบคอบในการต่อต้านการใช้ในทางที่ผิด และใช้บ่อยเกินไปของการทำงาน เป็นกลุ่ม เนื่องจากผลประโยชน์มากมายที่ได้รับจากการเรียนรู้แบบร่วมมือ บางครั้งจึงทำให้มองไม่เห็นอุปสรรคขัดขวางต่างๆ ซึ่งจำแนกการปฏิบัติในจุดอ่อนด้านต่างๆ ดังนี้
* การสร้างความรับผิดชอบของสมาชิกในกลุ่ม เพื่อการเรียนรู้ของคนอื่นๆ แต่ละคนนั้น
ในการผสมผสานความสามารถของคนในกลุ่ม ผลลัพธ์ที่ได้บ่อยครั้งก็คือ นักเรียนที่เก่งจะไม่สอนงานนักเรียนที่อ่อน และจะทำงานนั้นเองเป็นส่วนใหญ่
* การส่งเสริมระดับความคิดระดับต่ำเพียงอย่างเดียว จะเป็นการปิดกั้นความคิดอันเป็นประโยชน์ จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์หรือความคิดระดับสูงเข้าด้วยกันในการทำงานกลุ่มเล็กนั้น บางครั้งเวลาที่ใช้ไปสำหรับภาระกิจหนึ่ง ส่วนมากจะเป็นเพียงความคิดในระดับพื้นฐานเท่านั้น

2.4.2 เทคนิคเพื่อจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในกลุ่ม

นักวิชาการบางท่านได้กล่าวถึง การรวมผู้เรียนเข้าด้วยกันเป็นกลุ่ม จะก่อให้เกิดปัญหาบางอย่างติดตามมา แต่ก็มองเห็นประโยชน์อันเกิดจากความร่วมมือที่จะเกิดตามมามากกว่าการเรียนโดยลำพัง บางท่านแนะนำว่า ควรถามนักเรียนว่าพวกเขาชื่นชอบการเรียนรูปแบบใด แล้วจึงจัดโครงสร้างชั้นเรียนตามรูปแบบนั้น
การเสนอแนะจากกลุ่มผู้สนับสนุนการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยเสนอเทคนิคการจัดการความ ขัดแย้งของกลุ่ม มีการพูดถึงในประเด็นการวิจารณ์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงสิ่งต่างๆ ดังนี้
* การทำให้มั่นใจในการจำแนกคำถามที่ชัดเจนโดยเริ่มแรก และการเสนอคำถามอย่างไรที่สัมพันธ์กับความสนใจของนักเรียน และความสามารถ ตลอดจนเป้าหมายของการสอน
* การลดปัญหา ข้อขัดแย้งในกลุ่มเล็กทันที่ที่เขาทั้งหลายได้พบ และเสนอนักเรียนว่า ทำอย่างไรในการป้องกันความยุ่งยากที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
* การสร้างข้อควรปฎิบัติที่การเริ่มต้นของการมอบหมาย และใช้การชี้นำกระบวนการเรียนรู้ และเพื่อการประเมินงานเมื่อสิ้นสุดการทำงาน (Final Work)
* การช่วยเหลือการสะท้อนกลับของนักเรียนในความก้าวหน้าของเขาทั้งหลายบนพื้นฐานโดยปกติ
* การคาดหวังความเป็นเลิศ จากนักเรียนทั้งหลาย และทำให้เขาทั้งหลายได้รู้ว่าผู้สอนเชื่อว่าเขาทั้งหลายและความสามารถของเขาทั้งหลายสามารถผลิตผลงานที่ดีเยี่ยมได้

สรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือนั้น ย่อมมีทั้งข้อดีในการพัฒนาผู้เรียนในด้านต่างๆ และข้อจำกัดของกระบวนการจัดการเรียนรู้ เพราะเป็นการทำงานร่วมกับบุคคลอื่นที่มีความแตกต่างในหลายๆด้าน ซึ่งทักษะทางสังคมเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องพัฒนาในตัวผู้เรียนแต่ละคน และหากผู้สอนได้นำเทคนิคการจัดการกับความขัดแย้งมาใช้ได้ทันท่วงที ในระยะแรกที่ความขัดแย้งได้เกิดขึ้น ก็จะเป็นการช่วยลดอุปสรรคในการเรียนรู้ และยังเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วย

3.1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเชิงทฤษฎี


3.1.1 การสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม (Group Investigations)

Shlomo Sharon and Yael Sharon (1992) ได้เสนอรูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวน ซึ่งการจัดการเรียนการสอนรูปแบบนี้ เน้นการสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มนี้ เป็นโครงสร้างการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญของทักษะการคิดระดับสูง เช่นการวิเคราะห์และการประเมินผล ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยใช้การสืบค้นแบบร่วมมือกันเพื่อการอภิปรายเป็นกลุ่ม รวมทั้งวางแผนเพื่อผลิตโครงการของกลุ่ม

การสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. ผู้เรียนร่วมกันเสนอหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา ค้นคว้าจากสิ่งที่ได้เรียนไป
2. ผู้เรียนจะมีการแบ่งกลุ่มกันเอง โดยผู้เรียนจะเลือกเข้ากลุ่มตามหัวข้อที่ตนเองต้องการ
ศึกษา มีสมาชิกกลุ่มประมาณ 4- 6 คน จำนวนสมาชิกในกลุ่มของแต่ละหัวข้ออาจมีจำนวนไม่เท่ากัน ก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวข้อที่จะศึกษา แต่ละกลุ่มควรมีผู้เรียนที่มีความสามารถหลากหลาย
3. ครูจะแนะนำวิธีทำงานกลุ่ม การสืบค้น การรวบรวมข้อมูลความรู้ในแต่ละหัวข้อ
4. ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการศึกษาในหัวข้อของตน และแบ่งงานกันทำตามที่ได้
วางแผนไว้ โดยสมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิกแต่ละคู่ในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย (Subtopic) และเลือกวิธี
แสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคนหรือแต่ละคู่จะเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มทราบ โดยสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน

5. กลุ่มจะประเมินผลงาน/การทำงาน และร่วมอภิปรายเกี่ยวกับรายงานของสมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิกแต่ละคู่ในกลุ่มที่ได้เลือกหัวข้อย่อยไปศึกษา และรวบรวมจัดทำรายงานของกลุ่ม จากนั้นนำเสนอให้เพื่อนทั้งชั้นเรียนฟัง

3.1.2 การเรียนการสอนแบบกลุ่มแข่งขันแบบแบ่งตามผลสัมฤทธิ์ (Student Teams – Achievement Divisions หรือ STAD)
Robert Slavin (1990) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ STAD ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของ
การเรียนแบบร่วมมือ ที่ใช้ร่วมกับกิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบอื่นๆ หรือหลังจากที่ครูได้สอนผู้เรียนทั้งชั้นไปแล้ว และต้องการให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ร่วมกันภายในกลุ่มสืบเนื่องจากสิ่งที่ครูได้สอนไป ซึ่งใช้ได้กับทุกวิชาที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นข้อเฑ็จจริง เกิดความคิดรวบยอด ค้นหาสิ่งที่มีคำตอบ ชัดเจน แน่นอน

การเรียนการสอนตามรูปแบบ STAD มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. ครูอธิบายงานที่ต้องทำในกลุ่ม ลักษณะการเรียนภายในกลุ่ม กฎ กติกา ข้อตกลงในการ
ทำงานกลุ่ม ได้แก่
- ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เพื่อนเกิดการเรียนรู้
- งานกลุ่มเสร็จ คือ การที่สมาชิกทุกคนทำงานทีได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นและเข้าใจในงาน
ที่ทำอย่างชัดเจน
- หากมีปัญหาอะไร ให้ปรึกษาหรือถามเพื่อนในกลุ่มก่อนที่จะถามครู
- ปรึกษาและทำงานกันเงียบๆ ไม่รบกวนกลุ่มอื่น
- เมื่อทำงานเสร็จนั่นคือทุกคนในกลุ่มพร้อมได้รับการทดสอบ หรือการประเมินจากครู
2. ครูเป็นผู้กำหนดกลุ่ม โดยผู้เรียนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในกลุ่มคละเพศ คละความ
สามารถ ในกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกจำนวน 4 – 5 คน หรือขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษา
3. หลังจากที่ผู้สอนได้สอนเนื้อหาตามบทเรียนแล้ว มีการมอบหมายใบงาน/แบบฝึกหัดให้ผู้
เรียนได้ศึกษาด้วยกันในกลุ่มของตนเอง และผู้เรียนต้องพยายามที่จะช่วยเหลือให้สมาชิกทุกคนเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมด และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบตามใบงาน/แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนแต่ละคน ได้คิดคำตอบขึ้นมา และอภิปรายร่วมกันเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง
4. มีการประเมินในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนไป โดยทดสอบคะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนน
ของแต่ละคนในกลุ่มมารวมเป็นคะแนนของกลุ่มและหาค่าเฉลี่ย กลุ่มที่มีคะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับรางวัล (Rewards) หรือมีการประกาศผลในที่สาธารณะ เช่นบอร์ดของโรงเรียน หรือวารสารของ โรงเรียน

องค์ประกอบของรูปแบบ STAD
ก. การนำเสนอบทเรียน (Class Presentation) เป็นการนำเสนอความคิดรวบยอดใหม่หรือ
บทเรียนใหม่โดยส่วนมากแล้วจะเป็นวิธีการสอนโดยตรงของผู้สอน ด้วยการบรรยาย การอภิปราย รวมไปถึงการนำเสนอแบบโสตทัศน์ (Audiovisual Presentation) ในการนำเสนอความคิดรวบยอดหรือบทเรียน
ข. การจัดกลุ่ม (Teams) จะจัดผู้เรียนเป็นกลุ่ม ประกอบด้วยสมาชิกกลุ่มละ 4 –5 คน ผู้เรียน
แต่ละกลุ่มจะแบ่งแบบคละความสามารถในด้านต่างๆ เพื่อร่วมกันศึกษาเนื้อหา และปฏิบัติตามกติกาการเรียนรู้แบบร่วมมือ ในบทบาทต่างๆ เช่น เป็นผู้หาคำตอบ เป็นผู้สนับสนุน และเป็นผู้จดบันทึก การแบ่งกลุ่มลักษณะนี้ จุดประสงค์หลักเพื่อการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เรียน ซึ่งสมาชิกทุกคนในกลุ่มมีการช่วยเหลือกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีภายในกลุ่ม มีการนับถือตนเองและยอมรับต่อกัน จึงทำให้เกิดความรู้สึกผูกพันกัน
ค. การทดสอบ (Quizs) หลังจากที่ผู้สอนได้เสนอบทเรียนไปแล้ว 1- 2 คาบ จะมีการทดสอบผู้
เรียนเป็นรายบุคคล โดยไม่เปิดโอกาสให้ปรึกษากันในระหว่างทำการทดสอบ เพื่อวัดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาที่เรียนมาแล้ว ดังนั้นผู้เรียนแต่ละคนจึงต้องมีความรับผิดชอบต่อตัวเองในการรับความรู้จากผู้สอนและเพื่อน
ง. คะแนนพัฒนาการรายบุคคล (Individual Improvement Scores) แนวคิดหลักของการให้
คะแนนแบบนี้ ก็เพื่อให้ผู้เรียนแต่ละคนบรรลุวัตถุประสงค์หรือเพื่อแสดงออกซึ่งความสามารถของตนเองให้ดีกว่าครั้งก่อน ผู้เรียนแต่ละคนก็สามารถทำคะแนนสูงสุดให้กลุ่มตนได้ด้วยวิธีนี้ นักเรียนแต่ละคนจะมีคะแนนพื้นฐาน ซึ่งคิดมาจากคะแนนเฉลี่ยจากการทดสอบหลายๆครั้ง
จ. การตระหนักถึงความสำเร็จของกลุ่ม (Team Recognition) การที่กลุ่มได้รับรางวัลก็ต่อเมื่อ
กลุ่มนั้นได้รับความสำเร็จเหนือกลุ่มอื่น ซึ่งจะตัดสินด้วยคะแนนที่ได้มาจากการทำแบบทดสอบของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม แล้วคิดเป็นคะแนนพัฒนานำมาเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่ม

3.1.3 การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม (Team Game Tournament หรือ TGT.)John Hopkins (อ้างถึงใน Devries and Others,1980) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ
การแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้เรียนในกลุ่มเล็กๆ คละความสามารถและเพศ เช่นเดียวกับรูปแบบการเรียนการสอนแบบกลุ่มแข่งขันแบบแบ่งตามผลสัมฤทธิ์ (STAD) โดยมีความแตกต่างกันที่การเข้าร่วมกลุ่มจะมีลักษณะถาวรกว่า โดยสมาชิกแต่ละคนของกลุ่มหนึ่งๆ ต้องแข่งขันตอบคำถามกับสมาชิกของกลุ่มอื่นที่โต๊ะแข่ง (Tournament Tables) เป็นรายสัปดาห์ โดยนักเรียนที่มีระดับผลสัมฤทธิ์เดียวกันจะแข่งขันกันเพื่อทำคะแนนให้กลุ่มของตน


การเรียนรู้แบบการเรียนการสอนตามรูปแบบการแข่งขันระหว่างกลุ่มด้วยเกม มีลักษณะการ
เรียนรู้ ดังนี้
1. การจัดผู้เรียนเข้ากลุ่ม โดยให้ผู้เรียนที่มีระดับความสามารถใกล้เคียงกันอยู่กลุ่มเดียวกัน
ซึ่งแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 3– 5 คน โดยสมาชิกของกลุ่มจะร่วมกันปฏิบัติกิจกรรมตามกติกาของการจัดการเรียนการสอน ช่วยเหลือกันเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และสมาชิกทุกคนต้องพยายามทำให้ดีที่สุดเพื่อความสำเร็จร่วมกันของกลุ่ม
2. กำหนดให้ผู้เรียนในแต่ละกลุ่มแข่งขันกันตอบคำถามหรือโจทย์ที่ครูเตรียมไว้ให้โดยแต่ละ
โต๊ะจะมีโจทย์คำถามที่มีระดับความยากง่ายไม่เหมือนกัน ตามระดับความสามารถในกลุ่มของผู้เรียนที่แข่งขันด้วยกันนั้น
3. จะจัดการแข่งขันกี่รอบก็ได้ แต่ละรอบจะใช้โจทย์คำถามกี่ข้อก็ได้ แต่ไม่ควรมากเกินไป
ปกติจะใช้เวลาในการแข่งขันรอบหนึ่งๆ ประมาณ 10 – 15 นาที การแข่งขันในแต่ละรอบจะมีการเปลี่ยนโจทย์คำถามเป็นชุดใหม่ทุกครั้ง
4. ในการแข่งขันจะมีกติกาที่ชัดเจน และเมื่อสิ้นสุดการแข่งขันในแต่ละรอบจะมีการย้ายหรือ
เปลี่ยนผู้เรียนไปแข่งขันยังโต๊ะอื่นๆ เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกทำโจทย์ที่เหมาะกับความสามารถของเขามากยิ่งขึ้น
5. เมื่อแข่งขันครบทุกรอบตามที่กำหนดไว้ มีการประเมินความสำเร็จของกลุ่ม โดยการนำ
คะแนนที่สมาชิกไปแข่งขันมารวมเป็นคะแนนของกลุ่ม และหาค่าเฉลี่ย กลุ่มที่มีคะแนนหรือค่าเฉลี่ยสูงสุดจะได้รับการยอมรับให้เป็นทีมชนะเลิศ และทีมที่ได้อันดับรองชนะเลิศลงมา หลังจากนั้นให้มีการประกาศผลการแข่งขันในที่สาธารณะ เช่น บอร์ดในชั้นเรียน บอร์ดของโรงเรียน หรือวารสารของ โรงเรียน และมีการบันทึกสถิติไว้ด้วย

3.1.4 การเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล (Team Assisted Individualization หรือ TAI)
Robert Slavin (1990) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วย
เหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล ซึ่งเป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเองตามความสามารถจากแบบฝึกทักษะ และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

การเรียนรู้แบบการเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล มีลักษณะการเรียนรู้
ดังนี้
1. การทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนก่อนเรียน
2. ให้ผู้เรียนเข้ากลุ่ม โดยกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันทำงานร่วมกัน ซึ่ง
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 4 – 5 คน
3. มอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษากันเป็นคู่ๆ จะเน้นการฝึกปฏิบัติ โดยให้ผู้เรียนต่างศึกษา
เอกสารของครู แล้วฝึกหัดทำตาม ในเวลาเรียนนักเรียนต้องมีความร่วมมือกัน นักเรียนที่เก่งจะต้องช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่อ่อน ต่างตรวจสอบงานของกันและกัน เมื่อทำงานเสร็จเรียบร้อยให้เซ็นชื่อกำกับว่าปฏิบัติงานนั้นผ่านเรียบร้อยแล้ว และทำกิจกรรมอื่นๆต่อ จนครบทุกกิจกรรมหรือหัวข้อที่ครูกำหนดไว้ และรวมตัวทำงานกลุ่มร่วมกันที่เป็นการสังเคราะห์ความรู้ทั้งหมด จากการที่ผู้เรียนได้ร่วมกันฝึกปฏิบัติกันในคู่ของตนมาก่อนแล้วนั่นเอง
4. ระหว่างที่ผู้เรียนช่วยกันเรียนภายในคู่และภายในกลุ่ม ครูจะใช้เวลานี้ทยอยเรียกผู้เรียนจาก
กลุ่มต่างๆที่มีความสามารถระดับใกล้เคียงกนมาครั้งละ 4- 6 คน เพื่อให้ความรู้เสริม ให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียน
5. หลังจากที่ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ได้เรียนร่วมกับเพื่อน ผ่านทุกจุดประสงค์หรือทุกกิจกรรมร่วมกันทุกคน และได้เรียนจากครูเป็นกลุ่มย่อยแล้ว เมื่อจบหน่วยการเรียน ครูจะมีการประเมินผลสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนไปทั้งหมด โดยการทดสอบรายบุคคล และนำคะแนนการทดสอบของนักเรียน แต่ละคนมาเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่ม

3.1.5 การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน (Cooperative Integrated Reading and Composition หรือ CIRC)
Stevens and Others (1987) ได้เสนอการเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน
ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มีพื้นฐานเดิมจากการมุ่งเพื่อใช้ในการเรียนการสอนภาษา เพื่อพัฒนาทักษะสัมพันธ์ของการพูด อ่าน เขียน ไปพร้อมๆกัน

การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. แบ่งกลุ่มผู้เรียน เป็นกลุ่มคละความสามารถ กลุ่มละ 4 คน
2. ภายในกลุ่ม ผู้เรียนจับคู่กัน ร่วมกันศึกษากิจกรรม ทบทวน และทดสอบไปทีละเรื่อง หรือ
ทีละจุดประสงค์ เมื่อเรียนเสร็จเรียบร้อย จนเข้าใจทั้งคู่ดีแล้ว ให้เซ็นชื่อกำกับว่าผ่านการเรียนเรื่องนั้นหรือจุดประสงค์นั้นแล้ว จากนั้นเรียนเรื่องใหม่หรือจุดประสงค์ใหม่ จนครบตามที่ครูกำหนดไว้


3. จากนั้นให้ผู้เรียนมารวมกลุ่มกันอีกครั้ง เพื่อทำงานร่วมกันตามที่ครูกำหนด จนงานกลุ่ม
เสร็จเรียบร้อย และในขณะทำงาน สมาชิกในกลุ่มต้องปฏิบัติตามบทบาทที่ครูกำหนด เพื่อให้การทำงานกลุ่มมีประสิทธิภาพ
4. เมื่อทุกกลุ่มศึกษาทุกกิจกรรมเสร็จเรียบร้อย นั่นคือ เป็นการพร้อมรับการประเมินจากครู

การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน เป็นการสอนที่เน้นการพัฒนาทักษะ
ดังนั้น จึงไม่ควรสอนเป็นกลุ่มใหญ่ จึงได้กำหนดให้ผู้เรียนจับคู่เรียนด้วยกัน เรียนไปทีละกิจกรรม ทีละจุดประสงค์ย่อยทีละเรื่อง และกิจกรรมหรือเรื่องที่จะให้ผู้เรียนเรียนเป็นคู่นั้น จะเป็นกิจกรรมหรือเรื่องเล็กๆ เช่น กิจกรรมการอ่าน กิจกรรมการศึกษาเนื้อหาสาระ ไวยากรณ์ และฝึกทักษะการเขียน ศึกษาคำศัพท์ ศึกษาความหมายของคำ สรุปเรื่องราว สะกดคำ และทำกิจกรรมอิสระ ที่ให้ผู้เรียนเลือกอ่านหนังสือที่ตนเองชอบ กำหนดให้อ่านทุกวัน วันละประมาณ 20 นาที มีการรายงานให้ผู้ครูและปกครองเซ็นรับทราบ เพื่อสร้างนิสัยรักการอ่านให้แก่นักเรียน กลุ่มใดที่สมาชิกในกลุ่มมีการรายงานการอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ ใน 1-2 สัปดาห์ จะมีการสะสมแต้มเป็นคะแนนของกลุ่ม การเรียนรู้แบบร่วมมือรูปแบบนี้ จึงมีความเหมาะสมสำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 –6 เพราะการทำกิจกรรมอิสระนี้ นักเรียนต้องมีความสามารถในการอ่านพอสมควร และสามารถตัดสินใจเลือกหนังสืออ่านตามที่ตนเองสนใจได้

ถึงแม้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน จะนำมาใช้ในการเรียนการสอนภาษา แต่หลักการและวิธีการของ การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน สามารถนำไปใช้ได้ในวิชาอื่นๆ ได้ที่มีจุดประสงค์เอื้อต่อการจัดกิจกรรมแบบ การเรียนรู้แบบร่วมมือผสมผสานการอ่านและการเขียน เพราะทักษะทางภาษาถือเป็นเครื่องมือการเรียนรู้สำหรับทุกวิชา อยู่แล้ว

3.1.6 เทคนิคการต่อบทเรียน (Jigsaw)

Elliot Aronson (1978) ได้เสนอเทคนิคการต่อบทเรียน ซึ่งการเรียนแบบนี้ บางทีเรียกว่า
การเรียนแบบต่อชิ้นส่วน หรือการศึกษาเฉพาะส่วน

การเรียนการสอนเทคนิคการต่อบทเรียน มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. เป็นวิธีการที่แบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม คละความสามารถและเพศ
2. ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน โดยผู้สอนให้เนื้อหา 1 เรื่องสำหรับ
1 กลุ่ม และแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้แต่ละคนในกลุ่มศึกษาเฉพาะในหัวข้อนั้นๆ คนละ 1 หัวข้อ โดยผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย สมาชิกที่อยู่ต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) จากนั้นนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหัวข้อของตนเองไปเสนอแก่สมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้รู้เนื้อหาครบทุกหัวข้อ
3. หลังจากจบบทเรียนแล้วมีการทดสอบรายบุคคลตามเนื้อหาทุกหัวข้อ และนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม

3.1.7 การเรียนด้วยกัน (Learning Together)


David Lohnson and Robert Johnson (1991) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ
การเรียนด้วยกัน ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีความคล้ายคลึงกับรูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวน (Group Investigation) ซึ่งรูปแบบการเรียนด้วยกันนี้ จะแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มคละความสามารถ เน้นการสร้างกลุ่มเพื่อทำกิจกรรมก่อนที่จะทำงานร่วมกันจริง และเน้นการอภิปรายในกลุ่มว่าสมาชิกทำงานช่วยกันได้ดีเพียงใด

การเรียนรู้แบบการเรียนการสอนตามรูปแบบการเรียนด้วยกัน มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. ครูกำหนดโครงงานให้นักเรียนทำ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่นักเรียนเคยเรียนมาก่อน
กำหนดว่าให้ทำโครงงานอะไร แต่ไม่ได้กำหนดรายละเอียดของงาน เพื่อให้นักเรียนได้มีความคิดสร้างสรรค์ผลงานเอง อาจจะเป็นโครงงานขนาดใหญ่ที่ต้องทำทั้งชั้นเรียน แต่ต้องมีการแบ่งงานกันทำในส่วนต่างๆและนำมารวมกัน และจะต้องรับรู้ในงานส่วนอื่นๆของเพื่อนนักเรียนคนอื่นที่ทำด้วย
2. การจัดนักเรียนเข้ากลุ่ม โดยคละความสามารถ ซึ่งแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 3– 5 คน
และทำโครงงานตามที่ครูได้กำหนดไว้ให้ จากนั้นร่วมกันวางแผนการทำงาน มอบหมายบทบาทหน้าที่ของแต่ละคนให้ชัดเจน
3. โครงงานที่ทำนั้นมีลักษณะที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน สมาชิกกลุ่มมีความรับผิดชอบในงานส่วนของตนเอง เมื่องานในส่วนของตนเองเสร็จแล้ว จะนำงานของทุกคนมารวมเป็นงานของกลุ่ม ดังนั้นความสำเร็จของกลุ่มเกิดจากความร่วมมือของสมาชิกกลุ่มทุกคน
4. มีการนำเสนอผลงานเมื่องานเสร็จสิ้นลง โดยสมาชิกกลุ่มได้ร่วมปรึกษาถึงวิธีการนำเสนอผลงานและวิธีการทำงานของกลุ่ม
5. ครูเป็นผู้ประเมินผลการทำงานของกลุ่ม โดยเน้นผลงานและกระบวนการทำงาน ซึ่งมีวิธีการประเมินโดยคัดเลือกตัวแทนกลุ่มออกมาสอบถามเกี่ยวกับงานที่ได้ทำ และกระบวนการทำงานของกลุ่ม



3.1.8 การเรียนแบบ Team Interview

Spencer Kagan (1992) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ การเรียนแบบ Team Interview ซึ่งเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีวิธีการที่น่าสนใจ เพราะเป็นการฝึกทักษะการเรียนและทักษะทางสังคมแก่ผู้เรียน ฝึกการยอมรับซึ่งกันและกัน และการมีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกค้นหาความรู้ด้วยตนเอง มีความคิดสร้างสรรค์ รู้จักการตั้งคำถาม การสัมภาษณ์เพื่อสืบค้นข้อมูลจากตัวบุคคล รวมทั้งได้มีโอกาสฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ได้อย่างครบถ้วน
การเรียนแบบ Team Interview มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. ครูกำหนดเรื่องที่จะให้ผู้เรียนศึกษากันในกลุ่ม ซึ่งจำนวนของผู้เรียนในแต่ละกลุ่มจะขึ้นอยู่กับเรื่องที่จะให้ผู้เรียนศึกษา
2. ผู้เรียนจะเลือกศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองก่อน จากนั้นจึงให้เพื่อนมาสัมภาษณ์ตน และมีการสรุปความรู้ทั้งหมด ซึ่งทุกคนในกลุ่มจะต้องมีความรู้ความเข้าใจครบถ้วนในเรื่องที่ศึกษาตามที่ครูกำหนด โดยรับความรู้จากกันและกันโดยการสัมภาษณ์

3.1.9 Think – Pair – Share

Spencer Kagan (1992) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ Think – Pair – Share ที่มีการ
รวมโครงสร้างของทั้งสามขั้นตอนของการเรียนแบบร่วมมือ
การเรียนตามรูปแบบ Think – Pair – Share มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. ขั้นตอนที่หนึ่ง จะเป็นขั้นตอนที่ผู้เรียนรายบุคคลคิดเงียบๆ เกี่ยวกับคำถามของผู้สอน
2. ในขั้นตอนที่สอง จะมีการจับคู่กันคิดซึ่งมีการดูแลช่วยเหลือ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความ
คิดเห็นซึ่งกันและกัน
3. ในขั้นตอนที่สาม ผู้เรียนคู่นั้นจะมีการตอบสนองความคิดของคู่ตนเองไปยังคู่อื่นๆ และ
เพื่อนสมาชิกทั้งกลุ่ม

3.1.10 3 By 3 By 3

Jacobs and Others (1996) ได้เสนอการเรียนการสอนตามรูปแบบ 3 By 3 By 3 ซึ่งมีลักษณะกิจกรรมที่คล้ายคลึงกับรูปแบบ Team Interview ที่ในระหว่างการสอนก็ให้ผู้เรียนได้ตั้งคำถามจากสิ่งที่เรียนเหมือนกัน แต่รูปแบบ 3 By 3 By 3 นั้นจะเน้นให้ผู้เรียนตั้งคำถามที่สร้างสรรค์มากกว่า คือนอกเหนือจากสิ่งที่ผู้เรียนกำลังเรียนอยู่ในขณะนั้น


การเรียนตามรูปแบบ 3 By 3 By 3 มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้
1. กำหนดให้ผู้เรียนจับคู่กับเพื่อนที่นั่งข้างๆ เข้ากลุ่มกันกลุ่มละ 3 คน
2. ผู้เรียนแต่ละกลุ่ม ต่างคนต่างตั้งคำถามจากสิ่งที่ได้ฟังครูอธิบายไป
3. นำคำถามของแต่ละคนมาร่วมพิจารณาหาคำตอบ
4. ครูสุ่มคำถามของผู้เรียนมาร่วมกันพิจารณาหาคำตอบ
5. คำถามบางข้อที่ผู้เรียนช่วยกันหาคำตอบไม่ได้ ครูจะหยิบยกมาอธิบายชี้แจงกับผู้เรียน
ทั้งชั้นเรียน

3.2 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเชิงปฎิบัติบน e-Learning

จากการศึกษาถึงรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือในแบบที่ใช้ในห้องเรียนปกติข้างต้น เมื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้บน e- Learning จะมีลักษณะการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ดังตัวอย่างรูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือทั้ง 4 รูปแบบ ดังนี้

3.2.1 การสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม (Group Investigations)

รูปแบบการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่ม ได้เน้นการสร้างบรรยากาศการทำงานร่วมกัน
เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มซึ่งมีลักษณะ เป็นโครงสร้างการเรียนรู้ที่เน้นความสำคัญของทักษะการคิดระดับสูง เช่นการวิเคราะห์และการประเมินผล ผู้เรียนทำงานเป็นกลุ่มเล็กๆ โดยใช้การสืบค้นแบบร่วมมือกันเพื่อการอภิปรายเป็นกลุ่ม รวมทั้งวางแผนเพื่อผลิตโครงการของกลุ่ม

เมื่อนำการเรียนการสอนแบบสืบสวนสอบสวนเป็นกลุ่มมาประยุกต์ใช้กับ e – learning มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้

1. ผู้เรียนร่วมกันเสนอหัวข้อหรือประเด็นที่ต้องการศึกษา ค้นคว้าจากสิ่งที่ได้เรียนไปผ่านทาง
Web board เพื่อให้ผู้สอนได้รับทราบเพื่อนำมาดำเนินการจัดเป็นหัวข้อหรือประเด็นการศึกษาต่อไป
2. เมื่อผู้สอนได้จัดหัวข้อหรือประเด็นการศึกษาในกระดานข่าวแล้ว เมื่อผู้เรียนเข้าไปอ่าน
แล้วจะมีการแบ่งกลุ่มกันเอง โดยผู้เรียนจะเลือกเข้ากลุ่มตามหัวข้อที่ตนเองต้องการศึกษา ซึ่งมีสมาชิก
กลุ่มประมาณ 4- 6 คน จำนวนสมาชิกในกลุ่มของแต่ละหัวข้ออาจมีจำนวนไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวข้อที่จะศึกษา แต่ละกลุ่มควรมีผู้เรียนที่มีความสามารถหลากหลายคละกันไป

3. เมื่อผู้สอนได้จัดหัวข้อหรือประเด็นการศึกษาในกระดานข่าวแล้ว เมื่อผู้เรียนเข้าไปอ่าน
แล้วจะมีการแบ่งกลุ่มกันเอง โดยผู้เรียนจะเลือกเข้ากลุ่มตามหัวข้อที่ตนเองต้องการศึกษา ซึ่งมีสมาชิก
กลุ่มประมาณ 4- 6 คน จำนวนสมาชิกในกลุ่มของแต่ละหัวข้ออาจมีจำนวนไม่เท่ากันก็ได้ ขึ้นอยู่กับลักษณะของหัวข้อที่จะศึกษา แต่ละกลุ่มควรมีผู้เรียนที่มีความสามารถหลากหลายคละกันไป
4. ผู้สอนจะแนะนำวิธีทำงานกลุ่ม การสืบค้น การรวบรวมข้อมูลความรู้ในแต่ละหัวข้อโดย
ชี้แจงไว้ในส่วนรายละเอียด/คำชี้แจงของแต่ละหัวข้อหรือประเด็นการศึกษารายตามละเอียดของWebcourse
5. มีการกำหนดไว้ในหน้า “ข้อตกลงทางการเรียน” ให้ผู้เรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันวางแผนการ
ศึกษาในหัวข้อของตน และแบ่งงานกันตามที่ได้วางแผนไว้ โดยสมาชิกแต่ละคน หรือสมาชิกแต่ละคู่ในกลุ่มจะเลือกหัวข้อย่อย (Subtopic) และเลือกวิธีแสวงหาคำตอบในเรื่องนั้นๆด้วยตนเอง หลังจากนั้นสมาชิกแต่ละคนหรือแต่ละคู่ จะเสนอรายงานความก้าวหน้าและผลการทำงานให้กลุ่มทราบ โดยผ่านทาง Web board หรือ Chat ซึ่งสมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
5. การประเมินผลงาน/การทำงาน และร่วมอภิปรายออนไลน์ผ่านการ Chat เกี่ยวกับรายงานของสมาชิกแต่ละคนหรือสมาชิกแต่ละคู่ ในกลุ่มที่ได้เลือกหัวข้อย่อยไปศึกษาและรวบรวมจัดทำรายงานของกลุ่ม จากนั้นนำเสนอให้เพื่อนทั้งชั้นเรียนฟัง โดยการนำเสนอในลักษณะการUpload File ไว้ในเว็บไซต์ให้เพื่อนร่วมชั้นเรียนได้ศึกษา ทั้งนี้จะต้องส่งข้อมูลที่จะนำเสนอให้กับผู้สอนได้พิจารณาก่อน และผู้สอนจะเป็นผู้ Upload File ไว้ให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้ศึกษา

3.2.2 การเรียนการสอนแบบกลุ่มแข่งขันแบบแบ่งตามผลสัมฤทธิ์ (Student Teams – Achievement Divisions หรือ STAD)

การเรียนการสอนตามรูปแบบ STAD เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนแบบร่วมมือ ที่ใช้ร่วมกับ
กิจกรรมการเรียนการสอนรูปแบบอื่นๆ หรือหลังจากที่ครูได้สอนผู้เรียนทั้งชั้นไปแล้ว และต้องการให้ ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้า ร่วมกันภายในกลุ่มสืบเนื่องจากสิ่งที่ครูได้สอนไป ซึ่งใช้ได้กับทุกวิชา ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้ ความเข้าใจในสิ่งที่เป็นข้อเฑ็จจริง เกิดความคิดรวบยอด ค้นหาสิ่งที่มีคำตอบ ชัดเจน แน่นอน

เมื่อนำการเรียนการสอนแบบกลุ่มแข่งขันแบบแบ่งตามผลสัมฤทธิ์ มาประยุกต์ใช้กับ
e – learning มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้

1. ผู้สอนใช้ webpage ก่อนเรียนอธิบายงานที่ต้องทำในกลุ่ม ลักษณะการเรียนภายในกลุ่ม
กฎ กติกา ข้อตกลงในการทำงานกลุ่ม ได้ประกอบด้วย

- การกำหนดให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบในการช่วยเหลือกันและกัน เพื่อให้เพื่อนทุกคนเกิด
การเรียนรู้ไปด้วยกัน
- สมาชิกของกลุ่มต้องทำงานของตนเองให้เสร็จสมบูรณ์เพื่องานกลุ่มเสร็จสมบูรณ์ด้วย
กล่าวคือ การที่สมาชิกทุกคนทำงานทีได้รับมอบหมายเสร็จสิ้นและเข้าใจในงาน ที่ทำอย่างชัดเจน
- การปรึกษาหรือถามปัญหาให้กระทำในกลุ่มเพื่อนก่อนที่จะถามครู
- หลังทำงานเสร็จนั่นคือทุกคนในกลุ่มพร้อมได้รับการทดสอบ หรือการประเมินจากครู
2. ผู้สอนเป็นผู้กำหนดกลุ่ม โดยผู้เรียนจะได้รับมอบหมายให้อยู่ในกลุ่มคละเพศ คละความ
สามารถ ในกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกจำนวน 4 – 5 คน หรือขึ้นอยู่กับจำนวนหัวข้อที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษา ซึ่งผู้สอนจะพิจารณาจากประวัติ และข้อมูลพื้นฐานของผู้เรียนจากการลงทะเบียนเข้าศึกษาในหลักสูตร e- Learning
3. กำหนดระยะเวลาเพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาเนื้อหาในบทเรียนออนไลน์ และหลังจากที่ผู้เรียน
ได้ศึกษาเนื้อหาตามบทเรียนออนไลน์แล้ว มีการมอบหมายใบงาน/แบบฝึกหัด ให้ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยกันในกลุ่มของตนเอง และผู้เรียนต้องพยายามที่จะช่วยเหลือให้สมาชิกทุกคนเข้าใจในเนื้อหาทั้งหมด และร่วมกันตรวจสอบความถูกต้องของคำตอบตามใบงาน/แบบฝึกหัดที่ผู้เรียนแต่ละคน ได้คิดคำตอบขึ้นมา และอภิปรายออนไลน์ร่วมกันเพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้อง ทั้งนี้โดยใช้ Web board และ Chat เป็นสื่อกลางในการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับสมาชิกกลุ่ม
4. มีการประเมินในสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนไป โดยทดสอบคะแนนเป็นรายบุคคล และนำคะแนน
ของแต่ละคนในกลุ่มมารวมเป็นคะแนนของกลุ่มและหาค่าเฉลี่ย กลุ่มที่มีคะแนนถึงเกณฑ์ที่กำหนดจะได้รับรางวัล (Rewards) หรือมีการประกาศผลในที่สาธารณะ เช่น เว็บไซต์ของโรงเรียน บอร์ดของ โรงเรียน หรือวารสารของโรงเรียน

3.2.3 เทคนิคการต่อบทเรียน (Jigsaw)

เทคนิคการต่อบทเรียน บางทีเรียกว่า การเรียนแบบต่อชิ้นส่วน หรือการศึกษาเฉพาะส่วน

เมื่อนำเทคนิคการต่อบทเรียนมาประยุกต์ใช้กับ e – learning มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้

1. เป็นวิธีการที่ผู้สอนแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่ม คละตามความสามารถและเพศ
2. ทุกกลุ่มจะได้รับมอบหมายให้ทำกิจกรรมเดียวกัน โดยผู้สอนกำหนดให้เนื้อหา 1 เรื่อง
สำหรับ 1 กลุ่ม และแบ่งเนื้อหาออกเป็นหัวข้อย่อยเท่าจำนวนสมาชิกในแต่ละกลุ่ม เพื่อให้แต่ละคนในกลุ่มศึกษาเฉพาะในหัวข้อนั้นๆ คนละ 1 หัวข้อ โดยผู้เรียนแต่ละคนจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะเรื่องที่ตนเองได้รับมอบหมาย สมาชิกที่อยู่ต่างกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในหัวข้อเดียวกันจะร่วมกันศึกษา เรียกว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ (Expert Group) จากนั้นนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ในหัวข้อของตนเองไปเสนอแก่สมาชิกในกลุ่ม เพื่อให้เพื่อนในกลุ่มได้รู้เนื้อหาครบทุกหัวข้อ โดยมีลักษณะการนำเสนอแก่เพื่อนด้วยการแนบไฟล์ส่งไปยัง e - mail ของเพื่อนในกลุ่ม
3. หลังจากจบบทเรียนแล้วมีการทดสอบรายบุคคลตามเนื้อหาทุกหัวข้อ และนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่ม ซึ่งในกรณีนี้จะมีการดำเนินการบริหารการสอบ โดยจัดเป็นห้องสอบไว้โดยเฉพาะ มีผู้ดำเนินการจัดสอบ และให้ผู้เรียนทำข้อสอบออนไลน์ และจัดส่งไฟล์ข้อสอบไปยังผู้สอนโดยตรง ภายในระยะเวลาการสอบที่ได้กำหนดไว้

3.2.4 การเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล (Team Assisted Individualization หรือ TAI)


การเรียนการสอนตามรูปแบบ การเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล
เป็นการเรียนการสอนที่ผสมผสานระหว่างการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนการสอนรายบุคคลเข้าด้วยกัน โดยให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนด้วยตนเอง ตามความสามารถจากแบบฝึกทักษะ และส่งเสริมความร่วมมือภายในกลุ่ม มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ ตลอดจนการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม

เมื่อนำการเรียนการสอนกลุ่มเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล มาประยุกต์ใช้กับ e – learning มีลักษณะการเรียนรู้ ดังนี้

1. การทดสอบความรู้พื้นฐานของผู้เรียนก่อนเรียน โดยทำการทดสอบแบบออนไลน์บน
Webpage แรกๆ
2. ผู้สอนจัดกลุ่มผู้เรียน โดยกำหนดให้นักเรียนที่มีความสามารถแตกต่างกันทำงานร่วมกัน โดย
แบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มๆละ 4 – 5 คน
3. ผู้สอนมอบหมายงานให้ผู้เรียนศึกษาร่วมกันเป็นคู่ๆ จะเน้นการฝึกปฏิบัติ โดยให้ผู้เรียนต่าง
ศึกษาเอกสารของผู้สอน ตามสิ่งที่ระบุในการมอบหมายใบงาน ที่ได้แจ้งไว้บนกระดานข่าว แล้วฝึกหัดทำตาม ในเวลาเรียนผู้เรียนต้องมีความร่วมมือกัน ผู้เรียนที่เก่งจะต้องช่วยเหลือเพื่อนที่อ่อน ต่างตรวจสอบงานของกันและกัน เมื่อทำเสร็จแล้ว ให้ทำกิจกรรมอื่นๆต่อ จนครบทุกกิจกรรมหรือหัวข้อที่ผู้สอนกำหนดไว้ และรวมตัวทำงานกลุ่มร่วมกันที่เป็นการสังเคราะห์ความรู้ทั้งหมด จากการที่ผู้เรียนได้ร่วมกันฝึกปฏิบัติกันในคู่ของตนมาก่อนแล้วนั่นเอง
4. ระหว่างที่ผู้เรียนช่วยกันเรียนกับคู่ของตนและกับสมาชิกอื่นๆในกลุ่ม ผู้สอนจะใช้เวลานี้นัด
หมายเวลาให้ ผู้เรียนจากกลุ่มต่างๆที่มีความสามารถระดับใกล้เคียงกันมาครั้งละ 4- 6 คน เพื่อให้ความรู้เสริม ให้เหมาะกับระดับความสามารถของผู้เรียน โดยให้ความรู้เสริมผ่านการ Chat
5. หลังจากที่ผู้เรียนได้ศึกษาด้วยตนเอง ได้เรียนร่วมกับเพื่อน ผ่านทุกจุดประสงค์หรือทุก กิจกรรมร่วมกันทุกคน และได้เรียนจากครูเป็นกลุ่มย่อยโดยผ่านการ Chat แล้ว เมื่อจบหน่วยการเรียน ครูจะมีการประเมินผลสิ่งที่ผู้เรียนได้เรียนไปทั้งหมด โดยการทดสอบรายบุคคล ซึ่งในกรณีนี้จะมีการดำเนินการบริหารการสอบ โดยจัดเป็นห้องสอบไว้โดยเฉพาะ มีผู้ดำเนินการจัดสอบ และให้ผู้เรียนทำ ข้อสอบออนไลน์ และจัดส่งไฟล์ข้อสอบไปยังผู้สอนโดยตรง ภายในระยะเวลาการสอบที่ได้กำหนดไว้
และนำคะแนนการทดสอบของนักเรียนแต่ละคนมาเฉลี่ยเป็นคะแนนของกลุ่มต่อไป

3.3 การประยุกต์ใช้กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e – Learning


การประยุกต์ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือมาใช้ในกระบวนการเรียนการสอนแบบ e – Learning
นั้น เพื่อให้กระบวนการเรียนการสอนได้ส่งผลต่อการเพิ่มทักษะการทำงานแบบร่วมมือ และทักษะทางสังคมของผู้เรียน รูปแบบที่เหมาะสมในกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e – learning จึงควรจะเป็นในลักษณะการแบ่งผู้เรียนเป็นกลุ่มเล็ก คละความสามารถ โดยผู้สอนพิจารณาจากข้อมูลที่สมัครเข้าสู่ระบบ ซึ่งได้ระบุรายละเอียดข้อมูลพื้นฐาน ส่วนบุคคล ตลอดจนความสามารถพิเศษของผู้เรียนที่เข้า สู่การเรียนการสอนในระบบออนไลน์ โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อนช่วยเหลือเพื่อนเป็นกลุ่ม ผู้สอนมีการมอบหมายงานให้ผู้เรียนในลักษณะใบงาน โดยสมาชิกทุกคนในกลุ่มต่างร่วมมือกันรับผิดชอบทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จ โดยตั้งเป้าหมายร่วม ที่มุ่งสู่ความสำเร็จของกลุ่ม และวางแผนการทำงานซึ่งมาจากความคิดเห็นที่ตรงกันของสมาชิกกลุ่มทุกคน สมาชิกแต่ละคนมีการ ช่วยเหลือกันให้ทุกคนได้เรียนรู้ไปพร้อมๆกัน ซึ่งนักเรียนที่เก่งจะต้องช่วยเหลือเพื่อนนักเรียนที่อ่อน ต่างตรวจสอบงานของกันและกัน
นอกจากนี้แล้ว ผู้สอนยังมีบทบาทเป็น Moderator ที่จะคอยกระตุ้นให้สมาชิกในกลุ่มได้มีการแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ สะท้อนคิดและอภิปราย ในระหว่างดำเนินกิจกรรมกลุ่มออนไลน์แบบมีปฏิสัมพันธ์ทั้งแบบประสานเวลาและแบบไม่ประสานเวลา โดยใช้เทคโนโลยีที่สนับสนุนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ซึ่งได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้คุ้นเคยวิธีการใหม่ๆ ประสบการณ์ใหม่ๆ ความคาดหวังใหม่ๆ โดยเครื่องมือเกี่ยวกับความร่วมมือในปัจจุบัน เช่น e – mail , เครือข่ายคอมพิวเตอร์ , White boards , Bulletin Board System , Chat Lines
สรุปได้ว่า กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e – Learning นั้น ได้ให้ความสำคัญกับการ สื่อสาร การสนทนา และการมีปฏิสัมพันธ์ของผู้เรียน ดังเช่น Curtis J. Bonk (2002) ที่ได้กล่าวว่า แนวโน้มของการเรียนรู้วิธีใหม่ คือ อาศัยการสื่อสาร และการสนทนาเป็นหลัก อย่างเช่น Peter Drucker ได้กล่าวไว้ว่า “เราต้องการคนทำงานที่มีความรู้ ซึ่งมีทักษะในการแก้ปัญหา มีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น และสามารถเรียนรู้ได้ เพราะฉะนั้น การศึกษาต้องเตรียมคนทำงานได้เรียนรู้ทักษะเหล่านี้”

เครื่องมือในการเรียนรู้แบบร่วมมือแบบประสานเวลา (Synchronous Collaboration Tools) และการฝึกอบรมแบบสด (Live Training)
หลายองค์การยอมรับว่า เรากำลังย่างเข้าสู่ยุคของการทำงานแบบความร่วมมือ เครื่องมือการเรียนรู้แบบประสานสัมพันธ์ที่โดดเด่นมากในการฝึกอบรมของบริษัทเอกชน คือ สิ่งแวดล้อมของการฝึกอบรมแบบประสานเวลา จากการสำรวจพบว่าผู้ตอบร้อยละ 35 ได้เรียนรู้โดยการนำเสนอผ่านระบบออนไลน์ เพราะฉะนั้นเทคโนโลยีสามารถสื่อสารระหว่างผู้เรียนด้วยกันเองผ่านทางไกลจากผู้เชี่ยวชาญหรือผู้สอน , Online Meetings , Virtual Classrooms
มีแนวโน้มว่าการสอนสด หรือการฝึกอบรมแบบ Synchronous บนเว็บจะมีความคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพดีขึ้นเรื่อยๆ เครื่องมือเหล่านี้ เช่น Astound (Gynesys) , WebEx , PlaceWare , HorizonLive , Learnlinc (Mentergy) , Interwise, Centra , Raindance และ NeetMeeting
Platformของความร่วมมือของ Web-Based แบบ Synchronous และเครื่องมือต่างๆ มักจะรวมถึงการแบ่งปัน Whiteboard และเครื่องมือการสนทนา ในความหมายของการร่วมมือเหล่านี้ เครื่องมือในการสนทนาจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการระดมสมอง เกิดการตั้งคำถาม เปิดโอกาสให้ผู้สอนได้อธิบายเพิ่มเติม ชี้แจงเพิ่มเติม เล่นบทบาทสมมุติ และตรวจสอบผู้เรียนเป็นการส่วนตัวได้ ผู้สอนสามารถตรวจสอบและตอบสนองแนวคิดจากผู้เรียนได้รอบโลก สำหรับ Electronic Whiteboard สามารถช่วย ผู้เรียนเพิ่งความสนใจไปยังแนวคิดลักษณะเฉพาะ หรือกระบวนการลักษณะเฉพาะได้ เครื่องมือในการฝึกอบรมแบบ Synchronous อื่นๆ เช่น Breakoutrooms , การสำรวจออนไลน์ หรือการทำโพล (Pooling) การส่งถ่ายไฟล์จำนวนมาก และกระดานสนทนา
จะเห็นได้ว่าในระบบดังกล่าว มีประโยชน์ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพราะจะช่วยในการส่งผ่านความรู้จากการสาธิตของผู้เชี่ยวชาญ หรือจากต้นแบบ และช่วยให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างทันท่วงที ในขณะเดียวกันก็จะมีจุดอ่อนของการเรียนแบบนี้เกี่ยวกับความเสถียร (Stability) และความเชื่อถือได้ (Fidelity) ของภาพและเสียง การฝึกอบรมแบบ Synchronous มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะใช้การฝึกพนักงานขาย ที่เกี่ยวกับการโฆษณาสินค้าใหม่ๆ เป็นหลัก

เครื่องมือที่ใช้ในการประชุม (Conferencing Tools) และระบบบริหารจัดการการเรียนรู้ (Learning Management Systems)

นอกจากการฝึกอบรมแบบ Synchronous แล้ว ก็ยังมีวิธีการฝึกอบรมแบบร่วมมือในแบบ Asynchronous ด้วย ตัวอย่างเช่น เครื่องมือในการจัดการประชุมหลายรูปแบบเช่น Webboard , SiteScape Forum, FirstClass ฯลฯ เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถสนทนาในประเด็นต่างๆในเวลาที่เหมาะสมของตนเอง ไม่มีข้อจำกัดเรื่องภูมิศาสตร์ และเส้นแบ่งเวลา (Time-Zone) ดังนั้นการพบปะกันเป็นทีม สามารถพบปะกันได้ข้ามทวีป สำหรับคนที่ต้องการสนทนากันในลักษณะ Real Time เครื่องมือชนิดนี้เปิดโอกาสให้มีการสนทนากันแบบ Synchronous ได้ด้วย
เครื่องมือเหล่านี้หลายตัวยังอยู่ใน Platform ของ Courseware อยู่แล้ว เช่น BlackBoard, e College , Lotus, Learning Space , WebCt รวมถึง LMS อื่นๆ เช่น Docent , Saba , Plateau , THINQ เครื่องมือเหล่านี้บางตัวเปิดโอกาสให้ผู้สอนสร้างทีมออนไลน์ขึ้นมาทำงานกับกลุ่มเล็ก หรือการพัฒนาผลงานด้วยการสร้างกล่องสำหรับหย่อนความคิดเห็น (Drop Boxes) เครื่องมือบางตัวก็ฝังตัวอยู่ในเครื่องมือสนทนาแบบ Real Time ซึ่งมีวงสนทนาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้จัดประชุมในเหตุการณ์พิเศษ เช่น Teem Meetings เครื่องมือสำหรับการป้อนกลับได้มีการสร้างไว้เบ็ดเสร็จ (Built in) อย่างไรก็ตามระบบหรือ Platform เหล่านี้ ก็ยังขาดความสมบูรณ์เกี่ยวกับปฏิสัมพันธ์อยู่บ้าง เพราะว่าผู้จำหน่าย LMS มักจะรับประกัน หรือเน้นไปยังการเรียนแบบควบคุมความก้าวหน้าในการเรียนด้วย ตนเอง (Self-Paced Learner)

เครื่องมือสำหรับทำงานเป็นทีม (Work Team Tools)

ในวงการธุรกิจ การฝึกอบรมมีแนวโน้มที่จะเพิ่มเครื่องมือแบบร่วมมือเข้าไปใช้งาน เช่น Instant Messaging , ข้อความและการประชุมทางเสียง , การสำรวจความคิดเห็น (Polling) , ความตระหนักรู้ในเหตุการณ์ปัจจุบัน , การแลกเปลี่ยนไฟล์ , สถานที่ทำงานแบบเสมือน โดย e-Learning สามารถนำมาใช้เพื่อเตรียมผู้เรียนให้ใช้เครื่องมือเหล่านี้ได้
ในกรณีที่ การส่ง e-mail ล่าช้า สามารถใช้ การส่งข้อความแบบด่วน (Instant Messaging) แทนกันได้ เพื่อให้เกิดความร่วมมือสำหรับผู้ทำงานได้อย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพได้ดีเช่นกัน
ในขณะผู้ทำงานใช้เวลาเป็นล้านๆนาทีในแต่ละเดือน เพื่อใช้เวลาในการสนทนา แต่พวกเขา ก็ใช้ทักษะดังกล่าวในการเรียนรู้แบบ e-Learning น้อยมาก
ในขณะที่ e-Learning มีความจำเป็นต้องนำมาใช้ในการฝึกคนในการทำงานในสิ่งแวดล้อมแบบประสานสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น การพัฒนาผลผลิตที่เป็นทีมส่วนใหญ่ จะใช้เทคโนโลยีแบ่งปันข่าวสาร และแนวคิดที่เกี่ยวกับผลผลิตใหม่ๆ หรือส่วนประกอบใหม่ๆ
Software เกี่ยวกับการประชุมทาง Electronic มักจะมาจากบริษัท Smart Technology ซึ่งสามารถช่วยให้ทีมงานทั่วโลกของบริษัทได้วางเป้าหมายร่วมกัน บันทึก แบ่งปันแนวความคิด และ ตัดสินใจในประเด็นสำคัญๆร่วมกัน
นอกจากนี้บริษัท Ourproject.com มีเครื่องมือในการบริหารจัดการโครงการแบบร่วมมือ เช่น การจัดเก็บ และการสื่อสารข้อมูลของโครงการ การพยากรณ์ค่าใช้จ่าย และการจัดสรรงาน โปรแกรมที่ใช้ในการติดตามโครงการโดยใช้การสนทนาแบบ Real Time ใช้ WhiteBoard การตัดสินใจแบบ ต่อเนื่อง และเครื่องมือร่วมมือ (Cooperative Tools) เพื่อติดตามผังงาน แหล่งทรัพยากรเพื่อการ จัดการ นำเสนอประเด็นหลักสำคัญ และแนวทางแก้ปัญหา
สถานการณ์จำลองแบบ Simulations ตัวอย่าง Software ของบริษัท Wisdom Tools ได้พัฒนา
เครื่องมือการเรียนรู้ แสดงถึงการเปิดโอกาสให้มีความร่วมมือและพัฒนาความร่วมมือระหว่างผู้เรียนได้
การประเมินความร่วมมือบน e-Learning

รูปแบบของความร่วมมือ จะบังคับให้ผู้เรียนจะต้องร่วมมือกับเพื่อนและทีม การแสดงออกของ ผู้เรียนจะเป็นตัวกำหนดว่า e –Learners เกิดทักษะใหม่ๆ หรือเกิดการเรียนรู้หรือยัง
ในการประเมินความร่วมมือของผู้เรียน จะมีเครื่องมือสำหรับการสำรวจบนเว็บ (Web-based) ได้แก่ Zoomerang ,SurveyMonkey , SurveyShare ซึ่งประกอบไปด้วย แบบฟอร์มสำรวจคำถาม (Survey Templates) , คำถามและผลของคำถาม

การเรียนรู้ภาษาที่สอง และการแปลภาษา

บริษัทที่ผลิต Software เช่น บริษัท GlobalEnglish และ Englishtown มีโปรแกรมที่ใช้ในการเรียนภาษา ที่สอนด้วยครูที่มีความเชี่ยวชาญ , Expert mentors , ห้องสนทนากับเพื่อนส่วนตัวออนไลน์ ดังนั้นการเรียนภาษาอังกฤษจึงเป็นการเรียนออนไลน์ที่มีปริมาณค่อนข้างสูง
ดังนั้นจึงมีข้อเสนอ ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนได้หลายๆภาษา มีเครื่องมือและภาษา เช่น DejaVU ซึ่งก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรม และภาษาได้มากขึ้น

แนวโน้มอนาคตของเครื่องมือการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e-Learning

ถ้าเราจะมองไปในอีก 10 ปีข้างหน้า เทคโนโลยีสำหรับความร่วมมือมาตรฐานจะรวมถึง Videoconferencing , Chat , Surveying , Mentoring , การสร้างเอกสารร่วมกัน , การแบ่งปันทรัพยากร ,การเขียนนวนิยาย อาจรวมถึงความร่วมมือในการสรรหาหัวข้อ การหาแหล่งอ้างอิง
นอกจากนี้ ยังมีการให้คำปรึกษา มีSpecialist Online มีการระดมสมองทั้งแนวคิดและระดมเอกสารสำหรับ การบรรณาธิกรเอกสารออนไลน์ด้วย นอกจากนี้แล้ว ยังมีการจัดอันดับกลุ่มเพื่อนเพื่อที่จะเลือกคนที่ดีที่สุดสำหรับงานแต่ละชิ้น ในขณะที่การศึกษาจะมีแนวโน้มเป็นแบบตลอดชีวิต เครื่องมือการเรียนรู้แบบร่วมมือ จะมีผลกระทบต่อทุกคน แต่ไม่ได้หมายความว่า เครื่องมือแบบร่วมมือจะมีความสำคัญที่สุด แต่เทคโนโลยีก็สามารถทำให้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นไปได้แล้ว ดังนั้น จึงเป็นการเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ทำให้คนได้คบค้าสมาคมผ่าน e-Learning ได้อีกทางหนึ่ง



ตัวอย่างกรณีศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e-Learning

กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือ ได้มีหลายสถาบันการศึกษา และองค์กรต่างๆได้นำไปใช้แพร่หลาย ใน รูปแบบของ e-Learning ดังนี้

The Infoshare Module

Tales.L and Rylands.J(1998) ได้นำเสนอ The Infoshare Module เป็นการใช้การฝึกอบรมแบบร่วมมือแบบไม่ประสานเวลาในการปรับปรุงทักษะการสืบค้นจากเว็บ The Infoshare on the Web นั้นเป็นการออกแบบเพื่อใช้อบรมผู้เข้าร่วมในโครงการว่าจะใช้และ/หรือปรับปรุงการใช้ Web Search Engines เพื่อเข้าถึงสารสนเทศบนเว็บได้อย่างไร ผู้เข้าร่วมในโครงการได้ร่วมมือในกลุ่มที่มีภาระงานที่สมบูรณ์ และใช้การติดต่อสื่อสารแบบไม่ประสานเวลาที่ถูกจัดเตรียมโดย Simon Fraser,s Virtual University , Web – Based Environment ได้มีการสนับสนุนการศึกษาทางไกล การแบ่งปันข้อมูลสารสนเทศ และการฝึกอบรม
หน่วยการเรียน (Module) ได้ถูกส่งผ่านไปยังผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์และผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมนั้นได้ค้นพบประโยชน์และข้อจำกัดในการใช้สิ่งแวดล้อมการมีปฏิสัมพันธ์แบบไม่ประสานเวลาสำหรับการฝึกอบรม
Online Asynchronous Training ได้อนุญาตให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมในการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศและการมีพันธะผูกพันธ์กับภาระงานความร่วมมือ และการดำเนินการอภิปรายต่อในเวลาที่เหมาะสมตามตารางเวลาของพวกเขาทั้งหลาย การเรียนรู้แบบร่วมมือให้ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้มี มุมมองที่หลากหลายในประเด็นต่างๆ เช่น พัฒนาทักษะการแก้ปัญหา เช่นการที่เขาทั้งหลายได้เรียนรู้จากภาระงาน ห้องเรียนแบบออนไลน์เป็นการใช้พื้นที่ในการเสนอหลักสูตรที่มีหน่วยกิต และการแบ่งปันความช่วยเหลือด้านความรู้ต่อกันและกัน ซึ่งในเวลาอันใกล้นี้ สิ่งแวดล้อมออนไลน์จะกลายเป็นข้อกำหนดเฉพาะเพื่อการฝึกอบรมแบบร่วมมือ
The Infoshare Module ได้ถูกเสนอในระหว่างกลางเดือนกันยายน – กลางเดือนตุลาคม ค.ศ.1996 โดยมีผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมที่มีความกระตือรือร้น 24 คน ซึ่งเป็นสมาชิกของ National Research Council’s Industrial Research Assistance Program ใน British Columbia โดยส่วนใหญ่อาศัยอยู่ใน Lower Mainland มีบางส่วนที่อาศัยอยู่ที่อื่น ใน British Columbia , The Yukon และ Ontario
ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมได้ถูกแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คน ซึ่งThe Infoshare Module ได้รวมประเด็นและภาระงานในแต่ละสัปดาห์ มีการแนะนำในช่วงการเผชิญหน้า (The Introductory Face to Face Session) ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมมีการฝึกอบรมใน Virtual University และจัดหาด้วยวัสดุอุปกรณ์ตามหลักสูตรและความต้องการของหน่วยการเรียน มีการดำเนินการตาม 3 Sessions ที่รวมการออนไลน์และ มุ่งเน้นในการแนะนำผู้เข้าร่วมโครงการให้รู้จัก Web Search Engines และให้เขาได้ขยาย Web Resource List , Containing Sites ที่ตรงประเด็นกับสิทธิที่จะได้รับ ,ความมั่งคั่งทางสติปัญญา , การตลาด และการ วางแผนด้านการเงินสำหรับความต้องการเชิงวิชาชีพ

Web Search Engines

Web Search Engines บนเว็บ เช่น Excite , Tnfoseek , Altavista , Yahoo ฯลฯ เป็นSoftware Packages ที่ช่วยเหลือในการเข้าถึงและการค้นคืนสารสนเทศ และสนับสนุนฐานข้อมูลที่ครอบคลุมข้อมูลสารสนเทศที่ถูกสะสมผ่านเครื่องมือดัชนี (Index Tools) การบริการประกาศข่าวใหม่ๆ และการนำเข้าข้อมูลของผู้ใช้งาน
ฐานข้อมูลได้มีการปรับปรุงให้ทันสมัยเสมอ เป็นการใช้ลักษณะที่หลากหลาย และกว้างขวางของระเบียบวิธีการสืบค้น แต่คำค้นจะถูกควบคุมในBoolean Option ซึ่ง Search Engines ได้ตรวจสอบ Web Database ของดัชนีเอกสาร โดยการสกัดความสัมพันธ์ในทางเลือกของหัวข้อ และการค้นหาเอกสาร ในส่วนหนึ่งของการเรียนนั้นๆ ที่ได้มุ่งเน้นที่Search Engine 1 ชนิด คือ Altavista

Course Design : การออกแบบหลักสูตร

ผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมจะมีการเข้าถึงการประชุมใน 4 รูปแบบ ได้แก่
- The café : เป็นการเข้าร่วมการอภิปราย
- Resourse : ทรัพยากรสำหรับการแบ่งปันสารสนเทศ
- Help : สำหรับการช่วยเหลือด้านเทคนิค
- Group A ,Group B : เพื่อดำเนินภาระงานความร่วมมือระหว่างกันและกันภายในกลุ่ม
จากการฝึกอบรมตามInfoshare Module นั้น มีการพิจารณาจำนวนข้อความทั้งหมดที่ผู้เข้าร่วมการฝึก
อบรมได้ส่งถึงกัน ตลอดระยะเวลา3 สัปดาห์ ซึ่งเป็นการแสดงถึงการมีความร่วมมืออย่างกระตือรือร้นของผู้เข้าร่วมการฝึกอบรม ที่เป็นข้อความในลักษณะเพื่อนถึงเพื่อน ซึ่ง แสดงถึงระดับความร่วมมือและการมีปฏิสัมพันธ์ในระดับสูง

The T3 project (Telematics for teacher training)

The T3 project เป็นโครงการที่ทั้งเจ็ดมหาวิทยาลัยในยุโรปได้นำมาใช้ในหลักสูตร ฝึกอบรมด้าน การสอน เป็นโครงการที่รับทุนสนับสนุนโดย EU. มีการเข้าร่วมจากยุโรปในการอธิบายและการนำไปใช้ หลากหลายกับICT ในการฝึกอบรมครู The T3 Project ออกแบบเพื่อสนับสนุนครูมากกว่า 4000 คน เพื่อนำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารและเทคโนโลยีสมัยใหม่ในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยมาใช้
ผู้ร่วมมือได้ร่วมมือผ่านการประชุมแบบเผชิญหน้า , Videoconferencing และ Virtual workshops ซึ่ง Virtual workshops เป็นการอภิปรายบนเว็บใช้ groupware Facilities เป็นหลัก โดยมุ่งเน้นการวางแผนความร่วมมือในอนาคตที่มากขึ้น มีรายงานที่แสดงถึง Virtual workshops ที่จัดตั้งอยู่ภายในสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้แบบTelematic ที่สร้างโดยทีมประเมินผลโครงการ เป็นการวิจัยที่ได้มุ่งเน้นที่ผลของการเรียนรู้ ของ Virtual workshops ถึงแม้ว่า workshop เป็นทั้งหมดที่ได้รับการประเมินเชิงบวกโดยผู้มีส่วนร่วม ผลที่ได้แสดงเช่นเดียวกันว่า Virtual workshops ไม่ได้ช่วยเหลือกระบวนการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมโครงการ ทั้งหลายอย่างมีนัยสำคัญ
สิ่งนี้จึงเป็นการนำการสรุปว่า การกระตุ้นการเรียนรู้ใน Virtual workshops , จะต้องรวมเอาวิธีการ เรียนการสอนรูปแบบเฉพาะเข้าไว้ด้วย และประสิทธิภาพในการใช้ข้อมูลข่าวสารและเทคโนโลยีการติดต่อ สื่อสาร (ICT) สำหรับการสอนและการเรียนรู้ต้องการการเรียนการสอนในรูปแบบใหม่ๆ การออกแบบและ
การพัฒนาสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบ Telematic เป็นประเด็นหลักในThe T3 Project (Telematics for Teacher Training)

A Model of Telematic Learning Environments

ในโมเดลของ T3 Project มีหน้าที่ที่จำแนกเป็นสามประเด็นหลัก ที่สัมพันธ์ถึง
1.ข้อมูลเช่นข้อมูลข่าวสารและวัสดุการสอนอื่นๆรวมถึงรูปภาพและเสียง
2.ปฎิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับเครื่องจักร (human-machine interaction)
3.การติดต่อสื่อสารเกิดขึ้นท่ามกลาง กลุ่มเพื่อน ผู้เรียนด้วยกัน ครู เพื่อนและคนอื่นๆภายในการเรียนรู้ แบบออนไลน์ ซึ่งการติดต่อสื่อสารในโมเดล ผู้เข้าร่วมในThe T3 Project เป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ ร่วมมือบนเว็บ รูปแบบการเรียนการสอนถูกพัฒนาเป็นVirtual Workshop ซึ่งรวมถึงการร่วมมือในการ ออกแบบและการพัฒนาของทรัพยากรออนไลน์ในT3 Project ผลจากWorkshop ช่วยเหลือการพัฒนาของ หน้าที่หรืองานของครูของ Telematic Learning Environments

The Virtual Workshop

การทำ Virtual Workshop ใช้เวลา 2 สัปดาห์สำหรับผู้ร่วมมือในT3 ระหว่างเดือนพฤศจิกายน
ปีค.ศ. 1996 ซึ่งรูปแบบการเรียนการสอนที่ทำตามใน Virtual workshop สามารถกล่าวโดยสรุปได้ ดังนี้
- จะต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่เป็นT3-team, และกลุ่มที่เกี่ยวข้องอย่างเด่นชัด
- การจำกัดช่วงเวลาด้วยการกำหนดวันเริ่มต้นและวันสุดท้ายไว้
- เว็บไซต์ URL
http://www.ruu.nl/ivlos/t3/vwshop/index.htm ด้วยเฟรมที่รวมถึงหน้าที่ของ ข้อมูลข่าวสาร (ตารางเวลา วิธีการ การแนะนำภาระงาน และกรอบแนวคิดด้านประสบการณ์ของบุคคล) และประสิทธิภาพ ของเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร (a web forum facility ที่เรียกว่า PROTO ที่ถูกพัฒนาโดย The Finnish partner)
- ช่องทางการติดต่อสื่อสารอื่นๆ เช่น E-mail , litserv, โทรศัพท์ และ Video Conferencing
- Moderators เป็นตัวกลางที่จะกระตุ้รให้เกิดการอภิปราย ในลักษณะตัวหนังสือ ที่นำมาเสนอไว้ บนเว็บไซต์

ถึงแม้ว่า มีข้อสรุปว่าผู้เข้าร่วมใน T3 project ได้พิจารณาว่า Virtual workshop เป็นเครื่องมือที่มี พลังสำหรับความร่วมมือระหว่างโครงการในยุโรป กระบวนการเรียนรู้ของผู้เข้าร่วมส่วนบุคคลดูเหมือนว่า ไม่มีผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของพวกเขามากนัก มีการอภิปรายถึงความแตกต่างอย่างชัดเจน ระหว่างการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลาในการสื่อสารทางไกล และการสื่อสารแบบประสานเวลาแบบ
เผชิญหน้า ตัวอย่างเช่น การสื่อสาร แบบอวัจนภาษาขาดไปในVirtual workshop และยากในการทำให้ ข้อความชัดเจน ถ้าผู้เข้าร่วมโครงการมีการ แปลความหมายผิดจะเกิดอันตรายในการสื่อความได้
การสื่อสารภายในT3 virtual workshop ใช้ภาษาต่างชาติสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการ องค์กร Virtual workshop ควรสร้างความแตกต่างไปในการพิจารณา และประสบการณ์ที่สนับสนุนการวัดของ ระดับปฏิสัมพันธ์ ที่ผู้เข้าร่วมได้มีกระบวนการปฏิสัมพันธ์ที่กลายเป็นการสื่อสารแบบเผชิญหน้า การวัด เช่น การฝึกอบรมผู้เข้าร่วมในการอภิปรายออนไลน์ รวมถึงการมีส่วนร่วมในการเตรียมการทำ workshop และรวมถึงการสื่อสารแบบประสานเวลาและเพิ่มด้วยการสื่อสารแบบไม่ประสานเวลาใช้ Videoconferencing
หรือ synchronous computer conferencing ประเด็นทั้งหลายสำหรับการเพิ่มผลการเรียนรู้ใน Virtual workshop อนาคตจะมีโอกาส ท้าทายสำหรับผู้เข้าร่วมใน T3 project และช่วยเหลือในการสร้างความเข้าใจ ที่ดีกว่าของการเรียนการสอนของ Tele – learning

The World Programme

Ardil,C.(2003) ได้นำเสนอถึง การสร้างสิ่งแวดล้อมของกระบวนการศึกษาในรูปแบบการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ และการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e- learning ภายใต้โปรแกรม World (World Links for Development Programme) ที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1998 โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก E.U. และการสนับสนุนโดยการเรียนการสอนบนเว็บที่พัฒนาขึ้นในประเทศตุรกี ตั้งแต่เดือนกันยายน ค.ศ.1998
The World Program ได้เชื่อมโยงนักเรียนและครูในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา (Secondary Schools) ในการพัฒนาประเทศกับนักเรียนและครูในประเทศอุตสาหกรรม เพื่อการวิจัยด้านความ ร่วมมือ การสอนและการเรียนรู้โปรแกรมผ่านอินเทอร์เน็ต เป็นเวลามากกว่า 6 ปี (ระหว่างปี ค.ศ.1997 – 2003)
The World Programme มีจุดมุ่งหมายเพื่อการเชื่อมโยงโรงเรียนมัธยมศึกษามากกว่า 2,000 แห่งในประเทศกำลังพัฒนา 40 ประเทศ ด้วยการมีส่วนร่วมกับโรงเรียนต่างๆ ในประเทศ Australia , Canada , Europe , Japan , The United States ซึ่งบทบาทของสารสนเทศ และเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสารทางการศึกษา กลายเป็นการทดสอบความต่อเนื่องในวันนี้ กับการข้ามผ่านโลกสู่ประชาชาติ และในประเทศตุรกี The World Links Projects จึงเป็นตัวอย่างที่มีพลวัตรของการมี ข้อตกลงของประเทศเพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษากว้างขวางสู่ประชากร และก่อให้เกิดการพัฒนาประชากรในเมืองหลวง
The World Programme เป็น Computer – based Learning Environment ที่เป็นหนึ่งใน กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สุดสำหรับการวิจัยและในกระบวนการเรียนรู้ของบุคคลนั้นๆ
The World Programme ได้ถูกนำไปทดลองใช้ในThe World School ที่มีการเพิ่มพูนความ มั่งคั่งของข้อมูลข่าวสารในรูปแบบของการออกแบบ การส่งผ่านบทเรียนออนไลน์ การติดตามดูแล และการประเมินโครงการการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e-learning โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อการทำให้การเข้าถึงเทคโนโลยีทางการศึกษาใหม่ๆผ่านอินเทอร์เน็ตได้มากขึ้น ด้วยเหตุนี้ นักเรียนที่เข้าร่วมในโครงการ (World Students) และครู จึงได้ค้นพบโอกาสทางการศึกษาและการปรับปรุงประสิทธิภาพของทรัพยากรที่ใช้ในกระบวนการสอน และกระบวนการเรียนรู้ของตนเอง
สำหรับผู้เรียน ประสบการณ์แวดล้อมทั้งการเข้าถึงในรูปแบบ Top-Down และ Bottom Up ของ Computer-based Learning ได้ก่อให้เกิดผลประโยชน์ในทางตรงซึ่งเป็นสิ่งที่คาดหวังของบุคคลในวัยเยาว์ ซึ่งใครก็ตามที่จบการศึกษาภายใต้โครงการ The World Programme และ นักเรียนที่เข้าร่วมจะได้รับผลโยชน์ในโอกาสที่ดีหลายประการ เช่น การใช้วัสดุอุปกรณ์การเรียนการสอนที่ดีกว่า ได้รับการกระตุ้นที่ดีกว่า และมีครูที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ตลอดจนการมีห้องเรียนที่ไม่แออัดคับคั่ง ส่วนครูนั้นได้รับผลประโยชน์จากการปรับปรุงการฝึกอบรมและความละเอียดเข้มข้นในหลักสูตรดังกล่าว
การเชื่อมต่อของโปรแกรมและความพยายามทางการศึกษานับเป็นการสนับสนุนความเข้าใจระหว่างวัฒนธรรมและการแลกเปลี่ยนระหว่างกันในระดับโลก และแนวคิดยิ่งใหญ่นี้ได้บรรลุผลสำเร็จภายใต้ The World Programme ซึ่งเป็นเครื่องมืออันทรงพลังในกระบวนการสอนและการเรียนรู้ที่ได้กระตุ้นการสนับสนุนชุมชน อย่างยั่งยืนอีกด้วย
ภายหลังการทดลองใช้ The World Programme ใน The World Schools ได้มีการทำงานในโครงการความร่วมมือบน e- learning มากมายระหว่างผู้เรียนทั่วโลก และมีโครงการทางการศึกษามากกว่า 100 โครงการและในปัจจุบันยังคงดำเนินการอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นการแสดงถึงการเห็น คุณค่าของครู และนักเรียนจาก The World Schools ที่สร้างสรรค์เว็บไซต์ของพวกเขา , เชื่อมต่อไปยัง ผู้อื่น , การมี e-mail และ การปฎิสัมพันธ์โดยการ Chat ผ่านเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ต
ท้ายสุดนี้ ครูและบุคคลในวัยเยาว์จาก The World Schools ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมความร่วมมือ เปิดประตูสู่โรงเรียนที่เป็นหุ้นส่วนกัน ทำงานร่วมกันออนไลน์ พัฒนาการเรียนรู้และทักษะการสอน และร่วมยินดีในการทำโครงการร่วมกัน


CDM Program

Mohr.G and Nault,J.M (2004) ได้เสนอCDM Program ซึ่งเป็นโปรแกรมที่พัฒนาจากการส่งผ่านออนไลน์แบบประสานเวลา , การสาธิตกลยุทธ์เพื่อการติดต่ออย่างสร้างสรรค์ , การมีปฏิสัมพันธ์ , และ สัมพันธภาพผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์

ภูมิหลัง : CDM เป็นโครงการการให้คำปรึกษาด้านวิศวกรรม การก่อสร้างและการปฏิบัติการในศูนย์กลางใน Cambridge , Massachusette มีสมาชิกที่เข้าร่วมในโครงการนี้มากกว่า 3,000คน ในสำนักงานทั้งหมด 90 แห่ง
ผู้จัดการโครงการมีความรับผิดชอบในเรื่องโครงการที่มีลักษณะซับซ้อนขนาดเล็ก แต่มีจำนวนมากมาย ด้วยเหตุที่ความต้องการของลูกค้าประจำวันได้เพิ่มขึ้น ความต้องการสำหรับการตัดสินใจเกี่ยวกับข้อขัดแย้งที่ดีกว่า และการจัดการ กลายเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตามการบรรลุถึงความแพร่หลายไปทั่วโลกสู่ผู้จัดการหลายๆร้อยคน การประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย CDM มีความจำเป็นในการใช้เครือข่าย
ผู้เข้าร่วมโครงการพบการสรุปและใช้เวลาส่วนใหญ่ในการเข้าถึงกับคนอื่นๆ มีความหมายในการมีปกิสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยระหว่างผู้เข้าร่วมโครงการ และไม่มีโอกาสสำหรับผู้เข้าร่วมในการฝึกหัด หรืออภิปรายตลอดจนการประยุกต์แนวคิดที่เขาได้จากการเรียนรู้
ผู้เข้าร่วมได้สัมผัสสภาพการณ์ภายนอก มีความเข้าใจในศักยภาพในขั้นต่อไป หรือความรู้สึกของชุมชนในการเรียนรู้ โดยมีจุดมุ่งหมายของสถานการณ์ e-learning ที่จะคงไว้ในระดับการสัมผัสระดับสูงของการสัมมนาแบบเผชิญหน้าระหว่างการจำกัดการกำหนดโดยการแบ่งแยกทางกายภาพของผู้เข้าร่วมโครงการและเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในการติดต่อกับเขาทั้งหลาย การออกแบบใหม่ได้เปลี่ยนแปลงการสัมมนาไปยัง 6 Sessions ใช้เวลา 75 นาทีในการมีปฏิสัมพันธ์แบบประสานเวลาที่ส่งผ่าน ไปยัง Vision cast (A Version of Microsoft Live Meeting Provided by Premiere Conferencing) และการประชุมทางโทรศัพท์

องค์ประกอบของการออกแบบโปรแกรม

โปรแกรมได้มีองค์ประกอบด้านต่างๆ ดังนี้
- กรณีตัวอย่างมากมายจากผู้เข้าร่วมโครงการและผู้ทำงานร่วม
- โครงการของทีมที่ถามผู้เข้าร่วมโครงการในการประยุกต์กลยุทธ์ใหม่ๆและยุทธศาสตร์ใน
กรณีตัวอย่างจริง ที่เป็นการเตรียมการโดยผู้จัดการอาวุโส
- ผู้บริหารอาวุโสได้เข้าร่วมในหลักสูตรที่การเริ่มต้น และการจบของการกระตุ้นจูงใจว่าเป็น
เรื่องสำคัญของบริษัท เช่น บทวิจารณ์การทำงาน และการกระตุ้นจูงใจพนักงานในการบูรณาการสิ่งที่เขาทั้งหลายเรียนรู้จากการปฏิบัติชีวิตประจำวัน
- มีการใช้ลักษณะการมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive Features) ที่ครอบคลุม เช่น การทำโพล
(Pooling) และ Breakout Sessions
- มีการประเมินเครื่องมือและการสำรวจ ซึ่งมีการออกแบบเฉพาะเจาะจงในการขยายความถึง
Rich Profiles ไปยังผู้เข้าร่วมแต่ละคน จากสิ่งที่เขาทั้งหลายสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับเขาทั้งหลายเอง และผู้ทำงานร่วมทั้งหลายด้วย ข้อมูลที่เป็นผลลัพธ์นั้นได้ถูกเรียบเรียง หลักสูตรเป็นทฤษฎีการติดต่อกับการดำเนินการในสภาพจริง

ปัจจัยสู่ความสำเร็จ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จของโปรแกรมCDM มีดังนี้
- การจัดการเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้เข้าร่วมในโครงการ
- การสร้างพื้นฐานความรู้เบื้องต้นก่อนเริ่มหลักสูตร
- การสร้างความกระจ่างสูงสุดว่าผู้เข้าร่วมโครงการจะสื่อสารเมื่อใดและอย่างไร
- การสาธิตเทคโนโลยีที่กระตุ้นจูงใจในหลักสูตร
- การสร้าง Synchronous Sessions ในระดับการมีปฏิสัมพันธ์ในระดับสูง
- ให้นักเรียนได้ขยายความข้อมูล และตัวอย่างต่างๆได้ถูกนำมาใช้ในหลักสูตร
- การรวมโครงการความร่วมมือเข้าด้วยกันที่เน้นการปฏิบัติการ
- การรวมถึงการปิดโครงการและแผนการเพื่อดำเนินการต่อ

สรุปจากการประยุกต์เทคนิคทั้งหมดนั้น CDM มีความสามารถในการสำเร็จอย่างเป็นพลวัตร
สิ่งแวดล้อมการเรียนรู้แบบมีปฏิสัมพันธ์ที่ผู้เข้าร่วมสามารถแสดงความสามารถเกี่ยวกับวัสดุอุปกรณ์ ในขณะที่สร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นและความมั่นคงบางส่วนของการพัฒนาทักษะที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องระหว่างบริษัท ผู้เข้าร่วมโครงการได้ดำเนินการตามโปรแกรมเป็นระยะเวลา 6 เดือน ผู้เข้าร่วมโครงการยังคงกล่าวอ้างถึงคุณค่าสำคัญจากโปรแกรม CDM ที่ได้แสดงถึงการตระหนักถึงผลประโยชน์อันยิ่งใหญ่ ของเวลาและทรัพยากร ตลอดจนการริเริ่ม e-Learning


4. บทสรุป

การเรียนรู้แบบร่วมมือ เป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มย่อย ส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน เพื่อการบรรลุเป้าหมายร่วมของกลุ่ม ส่งผลต่อการพัฒนาวุฒิภาวะ และทักษะด้านสังคม อารมณ์ ในการทำงานและอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม
การเรียนรู้แบบ e-Learning สามารถนำการเรียนรู้แบบร่วมมือที่ใช้ในห้องเรียนปกติไปใช้ใน การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ ทั้งในรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บหรือการฝึกอบรมบนเว็บได้เป็นอย่างดี โดยอาศัยศักยภาพของเครื่องมือติดต่อสื่อสารต่างๆ เช่น e-mail , Webboard , Chat ฯลฯ มาใช้ในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน ได้แก่ ผู้เรียนกับผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้สอน ผู้เรียนกับผู้เชี่ยวชาญและคนอื่นๆ ซึ่งสามารถกระทำได้ในรูปแบบประสานเวลา (Synchronous) และแบบไม่ประสานเวลา (Asynchronous) ตามที่ได้กล่าวถึงในกรณีตัวอย่างข้างต้น ได้แก่ The Infoshare Module , The T3 Project , The World Programme และ CDM Program
ทั้งนี้การใช้เครื่องมือติดต่อสื่อสารออนไลน์ดังกล่าว ยังเป็นการตอบสนองต่อความแตกต่างของ ผู้เรียนแต่ละคน เช่น ผู้เรียนบางคนมีลักษณะเก็บตัว ไม่กล้าซักถามเมื่อสงสัย ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายต่อหน้าผู้อื่นในการเข้าร่วมกลุ่มแบบเผชิญหน้า การใช้เครื่องมือสื่อสารออนไลน์นี้ อาจทำให้เขากล้าที่จะซักถามข้อสงสัยกับ ผู้สอน หรือผู้เชี่ยวชาญ กล้าแสดงความคิดเห็น หรืออภิปรายได้มากขึ้น โดยใช้รูปแบบของการอภิปรายผ่านWebboard หรือการสนทนาโต้ตอบ แบบ Chat ซึ่งเป็นการเพิ่มทักษะการสื่อสารระหว่างผู้เรียน และผู้สอนมากขึ้น

อ้างอิง
สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ.(2549). การพัฒนารูปแบบการแบ่งปันความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือเพื่อพัฒนาความเป็นชุมชนนักปฏิบัติของครูในโรงเรียนที่เข้าร่วมในโครงการหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝันของกรุงเทพมหานคร.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
(หน้า 79-81: ความหมายและองค์ประกอบของการเรียนแบบร่วมมือ)

สุภณิดา ปุสุรินทร์คำ.(2552)"ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน e-Learning"ในเอกสารคำสอนรายวิชา02-051-522 เทคโนโลยีการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์.นครราชสีมา: สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประยุกต์.คณะวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.




ตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

3 ความคิดเห็น:

  1. การเรียนรู้แบบร่วมมือ

    การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ หมายถึง การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้เรียนตั้งแต่สองคนขึ้นไปหรือโดยการแบ่งผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อยๆ ส่งเสริมให้ผู้เรียนทำกิจกรรมร่วมกัน โดยในกลุ่มประกอบด้วยสมาชิกที่มีความสามารถแตกต่างกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการช่วยเหลือพึ่งพากัน มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทั้งในส่วนตนและส่วนรวม เพื่อให้ตนเองและสมาชิกทุกคนในกลุ่มประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด ซึ่งตรงข้ามกับการเรียนที่เน้นการแข่งขันและการเรียนตามลำพัง


    ความหมายและแนวคิดของการเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning)

    ความหมาย

    การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative and Collaborative Learning) เป็นคำที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เพราะมีลักษณะเป็นกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบร่วมมือ ข้อแตกต่างระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning อยู่ที่ระดับความร่วมมือที่แตกต่างกัน Sunyoung, J. (2003) ได้สรุปว่า ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่าง Cooperative Learning กับ Collaborative Learning คือ เรื่องโครงสร้างของงาน ได้แก่ Pre – Structure , Task – Structure และ Content Structure โดย Cooperative Learning จะมีการกำหนดโครงสร้างล่วงหน้ามากกว่า มีความเกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างไว้เพื่อคำตอบที่จำกัดมากกว่า และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ชัดเจน ส่วน Collaborative Learning มีการจัดโครงสร้างล่วงหน้าน้อยกว่า เกี่ยวข้องกับงานที่มีการจัดโครงสร้างแบบหลวมๆ (ill – Structure Task) เพื่อให้ได้คำตอบที่ยืดหยุ่นหลากหลาย และมีการเรียนรู้ในขอบข่ายความรู้และทักษะที่ไม่จำกัดตายตัว ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสภาพการเรียนการสอนออนไลน์มักนิยมใช้คำว่า Collaborative Learning
    Nagata and Ronkowski (1998) ได้สรุปเปรียบว่า Collaborative Learning เป็นเสมือนร่มใหญ่ที่รวมรูปแบบหลากหลายของ Cooperative Learning จากกลุ่มโครงการเล็กสู่รูปแบบที่มีความเฉพาะเจาะจงของกลุ่มการทำงานที่เรียกว่า Cooperative Learning กล่าวได้ว่า Cooperative Learning เป็นชนิดหนึ่งของ Collaborative Learning ที่ได้ถูกพัฒนาโดย Johnson and Johnson (1960) และ ยังคงเป็นที่นิยมใช้แพร่หลายในปัจจุบัน
    Office of Educational Research and Improvement (1992) ได้ให้ความหมายของ Cooperative Learning ว่าเป็นกลยุทธ์ทางการสอนที่ประสบผลสำเร็จในทีมขนาดเล็ก ที่ซึ่งนักเรียนมีระดับความสามารถแตกต่างกัน ใช้ความหลากหลายของกิจกรรมการเรียนรู้ เพื่อการปรับปรุงความเข้าใจต่อเนื้อหาวิชา สมาชิกแต่ละคนในทีมมีความรับผิดชอบไม่เพียงแต่เฉพาะการเรียนรู้แต่ยังรวมถึงการช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีมในการเรียนรู้ด้วย นอกจากนี้ยังมีการสร้างบรรยากาศเพื่อให้บังเกิดการบรรลุผลสำเร็จที่ตั้งไว้ด้วย
    Penn State University College of Education (2004) ได้ให้คำจำกัดความของ Collaborative Learning ว่ามีคุณลักษณะของการแบ่งปัน เข้าใจเป้าหมาย มีการยอมรับซึ่งกันและกัน เชื่อมั่นและมีขอบเขตความรับผิดชอบที่ชัดเจน มีการติดต่อสื่อสารในสิ่งแวดล้อมที่เป็นทั้งแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ มีการตัดสินใจจากการลงความเห็นร่วมกัน ซึ่งผู้สอนจะเป็นผู้เอื้ออำนวยและชี้แนะให้ นักเรียนได้มองเห็นทางออกของปัญหานั้นๆ
    Thirteen Organization (2004) ได้สรุปว่า Collaborative Learning เป็นวิธีการหนึ่งของการสอนและการเรียนรู้ในทีมของนักเรียนด้วยกัน เป็นการเปิดประเด็นคำถามหรือสร้างโครงการที่เต็มไปด้วยความหมาย ตัวอย่างเช่น การที่กลุ่มของนักเรียนได้มีการอภิปราย หรือการที่นักเรียนจากโรงเรียนอื่นๆทำงานร่วมกันผ่านอินเทอร์เน็ต เพื่อแบ่งปันงานที่ได้รับมอบหมาย ส่วนCooperative Learning เป็นการมุ่งเน้นโดยเบื้องต้นที่การทำกิจกรรมกลุ่ม เป็นแบบเฉพาะเจาะจงในชนิดของการร่วมมือ ซึ่งนักเรียนจะทำงานร่วมกันในกลุ่มเล็กในโครงสร้างของกิจกรรม ทุกคนจะมีความรับผิดชอบในงานของพวกเขา โดยทุกคนสามารถเข้าใจถึงการทำงานเป็นกลุ่มเป็นอย่างดี และการทำงานกลุ่มแบบ Cooperative นั้นจะมีการทำงานแบบเผชิญหน้า (Face – to –face) และเรียนรู้เพื่อทำงานเป็นทีม

    สรุปได้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperative Learning and Collaborative Learning) หรือนักวิชาการบางท่านได้แปล Collaborative Learning ว่าคือ การเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนรูปแบบหนึ่ง ที่เน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติงานเป็นกลุ่มย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถที่แตกต่างกัน เพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพการเรียนรู้ของแต่ละคน สนับสนุนให้มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน จนบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้ นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมการทำงานร่วมกันเป็นหมู่คณะ หรือทีม ตามระบอบประชาธิปไตย และเป็นการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ทำให้สามารถปรับตัวอยู่กับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข






    .

    ตอบลบ
  2. สำหรับวิธีการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้จากกลุ่มนั้น มีหลากหลาย เช่น
    Jigsaw, Teams-Games-Tournament (TGT) , Student Teams-Achievement
    Division (STAD) , Team Assisted Individualization (TAI) , Learning Together (LT) ,
    Group Investigation (GI) ,Think-Pair-Square , Think-Pair-Share Pair Check , Three-
    Step-Interview , Number Head Together ฯลฯ โดยมีวิธีที่นิยมใช้อยู่ 6 วิธี คือ
    1) Jigsaw
    2) Teams-Games-Tournament (TGT)
    3) Student Teams-Achievement Division (STAD)
    4) Team Assisted Individualization (TAI)
    5) Learning Together (LT)
    6) Group Investigation (GI)
    รายละเอียดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของแต่ละวิธีโดยสังเขป เป็นดังนี้


    1. แบบ Jigsaw
    ขั้นที่ 1 : ครูแบ่งหัวข้อที่จะเรียนเป็นหัวข้อย่อยๆ ให้เท่ากับจำนวนสมาชิกในกลุ่ม
    ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มนักเรียนโดยให้มีความสามารถคละกันภายในกลุ่มเป็น
    Home Groups กลุ่มละ 3-4 คน สมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
    อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ตน ได้รับมอบหมายเท่านั้น เช่น
    นักเรียน A1 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 1
    นักเรียน A2 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 2
    นักเรียน A3 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 3
    นักเรียน A4 อ่านเฉพาะหัวข้อย่อยที่ 4
    ขั้นที่ 3 : Expert Groups นักเรียนที่อ่านหัวข้อย่อยเดียวกันมานั่งด้วยกัน
    เพื่อทำงาน ซักถาม และทำกิจกรรมกลุ่ม Expert Groups ตัวอย่าง
    คนที่ 1 อ่านโจทย์
    คนที่ 2 จดบันทึกข้อมูลสำคัญที่โจทย์กำหนดให้
    อธิบายว่าโจทย์ ต้องการให้อะไร
    คนที่ 3 คำนวณหาคำตอบ
    คนที่ 4 สรุปทบทวนขั้นตอนทั้งหมด
    ตรวจสอบคำตอบอีกครั้ง

    เมื่อนักเรียนทำแต่ละข้อเสร็จแล้ว ให้นักเรียนหมุนเวียน
    เปลี่ยนหน้าที่กัน แล้วทำโจทย์ข้อถัดไปจนครบทุกข้อ
    ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละคนใน Expert Groups กลับมายังกลุ่มเดิม (Home
    Groups) ของตนเอง แล้วผลัดกันอธิบายให้สมาชิกในกลุ่มฟัง
    เริ่มจากหัวข้อย่อยที่ 1, 2, 3 และ 4 ตามลำดับ
    ขั้นที่ 5 : ทำการทดสอบ (Quiz) หัวข้อย่อยที่ 1-4 แก่นักเรียนทุกคนทั้งห้อง
    (สอบเดี่ยว) แล้วนำคะแนนของสมาชิกแต่ละคนในกลุ่ม
    มารวมกันเป็น “คะแนนกลุ่ม”
    ขั้นที่ 6 : กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดในการสอบครั้งนี้ จะติดประกาศเป็นมุม
    จดหมายของห้อง


    2. แบบ Teams-Games-Tournaments (TGT)
    ขั้นที่ 1 : ครูทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้วครั้งก่อนด้วยการซักถาม
    และอธิบายตอบข้อสงสัยของนักเรียน
    ขั้นที่ 2 : จัดกลุ่มแบบคละกัน (Home Teams) กลุ่มละ 3-4 คน
    ขั้นที่ 3 : แต่ละทีม ศึกษาหัวข้อที่เรียนจากแบบฝึก (Work Sheet and
    Answer Sheet) นักเรียนแต่ละคนทำหน้าที่และปฏิบัติตาม
    กติกาของ Cooperative Learning เช่น เป็นผู้จดบันทึก ผู้คำนวณ
    ผู้สนับสนุน เป็นต้น เมื่อสมาชิกทุกคน เข้าใจและสามารถ
    ทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้องทุกข้อ ทีมจะเริ่มทำการแข่งขันตอบปัญหา
    ขั้นที่ 4 : การแข่งขันตอบปัญหา (Academic Games Tournament)
    4.1 ครูเป็นผู้จัดกลุ่มใหม่ แบ่งตามความสามารถของนักเรียน เช่น
    โต๊ะที่ 1 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มเก่ง
    โต๊ะที่ 2 และ 3 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มปานกลาง
    โต๊ะที่ 4 แข่งขันนักเรียนในกลุ่มอ่อน
    4.2 ครูแจกคำถามนักเรียน จำนวน 10 คำถามให้ทุกโต๊ะ
    (เป็นคำถามเหมือนกันทุกโต๊ะ)
    4.3 นักเรียนเปลี่ยนกันหยิบซองคำถามทีละ 1 ซอง (1 คำถาม)
    อ่านคำถามแล้ววางลงกลางโต๊ะ
    4.4 นักเรียน 3 คนที่เหลือ คำนวณหาคำตอบ จากคำถามที่อ่าน
    ในข้อ 4.3 เขียนคำถามลงในกระดาษคำตอบที่แต่ละคนมีอยู่
    4.5 นักเรียนที่ทำหน้าที่อ่านคำถามจะเป็นคนให้คะแนน
    โดยมีกติกาให้คะแนน ดังนี้
    - ผู้ตอบถูกคนแรก จะได้ 2 คะแนน
    - ผู้ตอบถูกคนต่อไป จะได้คนละ 1 คะแนน
    - ถ้าตอบผิด ให้ 0 คะแนน
    4.6 ทำขั้นตอน 4.3-4.5 โดยผลัดกันอ่านคำถามจนกว่าคำถาม
    จะหมด
    4.7 นักเรียนทุกคนรวมคะแนนของตัวเอง โดยทุกคนควรได้ตอบ
    คำถามเท่า ๆ กัน จัดลำดับของคะแนนที่ได้ ซึ่งกำหนดโบนัส
    ของแต่ละโต๊ะ ดังนี้
    โบนัส
    ผู้ให้คะแนนชุดที่ 1 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 10 แต้ม
    ผู้ให้คะแนนชุดที่ 2 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 8 แต้ม
    ผู้ให้คะแนนชุดที่ 3 ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 6 แต้ม
    ผู้ให้คะแนนน้อยที่สุด ประจำโต๊ะแต่ละโต๊ะ จะได้โบนัส 4 แต้ม
    ขั้นที่ 5 : นักเรียนกลับมากลุ่มเดิม (Homes Team) รวมแต้มโบนัสของ
    ทุกคน ทีมใดที่มีแต้มโบนัสสูงสุด จะให้รางวัลหรือติดประกาศ
    ไว้ในมุมข่าวของห้อง







    .

    ตอบลบ
  3. 3. แบบ Student Teams-Achievement Division (STAD)
    ขั้นที่ 1-3 : มีลักษณะเหมือนกับแบบ TGT คือ
    - จัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ แบบคละกัน กลุ่มละ 3-4 คน
    - ใช้แบบฝึกหัด (worksheet) ชุดเดียวกับ TGT
    STAD ต่างกับแบบ TGT ตรงที่
    ขั้นที่ 4 : สำหรับ STAD นักเรียนแต่ละคนจะทำการทดสอบแทนการแข่งขัน
    ตอบปัญหา
    ขั้นที่ 5 : ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจากการทดสอบจะติดประกาศไว้ในมุม
    จดหมายข่าวของห้อง


    4. แบบ Teams-Assisted Individualization (TAI)
    ขั้นที่ 1 : จัดนักเรียนเป็นกลุ่มเล็กๆ แบบคละกัน กลุ่มละ 2-4 คน
    ขั้นที่ 2 : ครูอธิบายทบทวนบทเรียนที่เรียนมาแล้ว และให้นักเรียนแต่ละคน
    ทำแบบฝึกหัดที่ 1 (worksheet No.1) ที่ครูเตรียมไว้แล้ว
    ขั้นที่ 3 : ให้นักเรียนจับคู่กันภายในกลุ่มของตนเอง
    - แลกเปลี่ยนแบบฝึกหัดที่ 1 เพื่อตรวจสอบ อธิบายข้อสงสัย
    - ถ้านักเรียนคู่ใดทำแบบฝึกหัดได้ถูกต้อง 75% ขึ้นไป
    ให้ทำแบบฝึกหัดที่ 2 (worksheet No.2)
    - ถ้านักเรียนคนใดคนหนึ่งหรือทั้งคู่ ทำแบบฝึกหัดที่ 1 ได้
    แต่น้อยกว่า 75% ให้นักเรียนทั้งคู่ทำแบบฝึกหัดชุดที่ 3 หรือ 4
    จนกว่าจะทำได้ถูกต้อง 75% ขึ้นไปจึงจะผ่าน
    ขั้นที่ 4 : นักเรียนทุกคนทำการทดสอบ คะแนนที่ได้จากการทดสอบของ
    นักเรียน แต่ละคนจะนำมารวมกันเป็นคะแนนกลุ่มหรือใช้คะแนน
    เฉลี่ย ในกรณีที่สมาชิกในกลุ่มมีจำนวนไม่เท่ากัน
    ขั้นที่ 5 : กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุดจะติดประกาศไว้ที่มุมข่าวหน้าห้อง


    5. แบบ Learning Together (LT)
    วิธีนี้เป็นวิธีที่เหมาะสมกับการสอนเรื่อง รูปทรงเลขาคณิตหรือการทำงานที่มี
    การทำ การทดลองมาเกี่ยวข้อง โดยมีขั้นตอน ดังนี้
    ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียน อภิปรายและสรุปเนื้อหา
    ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มคละกัน กลุ่มละ 4-5 คน ครูแจกใบงานกลุ่มละ
    1 แผ่น (ถ้ามีอุปกรณ์ไม่พอ ให้นักเรียนใช้ระบบการเวียนฐาน)
    ขั้นที่ 3 : แบ่งหน้าที่ของนักเรียนแต่ละคนในกลุ่ม ดังนี้
    คนที่ 1 : อ่านโจทย์หรือคำสั่งให้ดำเนินงาน

    คนที่ 2 : ฟังโจทย์ ดำเนินงานและจดบันทึกข้อมูล
    คนที่ 3 : อ่านคำถามและหาคำตอบ
    คนที่ 4 : ตรวจคำตอบ (ข้อมูล)
    ขั้นที่ 4 : แต่ละกลุ่มส่งกระดาษคำตอบเพียงแผ่นเดียว นับเป็นกิจกรรม
    ที่สำเร็จ
    - แต่ละกลุ่มส่งงาน 1 ชิ้น ผลงานที่เสร็จแล้วเป็นผลงานที่ทุกคน
    ยอมรับ ซึ่งทุกคนในกลุ่มได้คะแนนเท่ากัน
    - กำหนดเกณฑ์การตัดสินหรือเกณฑ์การให้คะแนน
    เพราะนักเรียนจะเป็นผู้ให้คะแนน ถ้ามีปัญหาครูจึงให้คำแนะนำ
    ขั้นที่ 5 : ปิดประกาศชมเชยกลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด



    6. Group Investigation (GI)
    ขั้นที่ 1 : ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปราย ทบทวนบทเรียนที่สอน
    ขั้นที่ 2 : แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆ ละ 2 – 4 คน แบ่งเรื่องที่สอนเป็นข้อย่อย
    แต่ละหัวข้อจะเป็นใบงานที่ 1 ใบงานที่ 2 ใบงานที่ 3 เป็นต้น
    ขั้นที่ 3: ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเลือกทำเพียงหัวข้อเดียว (ใบงานเพียงใบเดียว)
    โดยเปิดโอกาสให้นักเรียนที่เรียนอ่อนเลือกหัวข้อก่อนการทำใบงาน
    อาจจะให้นักเรียนในกลุ่มแบ่งกันหาคำตอบ และนำคำตอบทั้งหมด
    มารวมเป็นคำตอบที่สมบูรณ์
    ขั้นที่ 4 : นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอภิปรายเรื่องจากใบงานที่ได้จนเป็นที่
    เข้าใจของทุกคนในกลุ่ม
    ขั้นที่ 5 : ให้แต่ละกลุ่มรายงานผลเริ่มตั้งแต่กลุ่มที่ทำจากใบงานที่ 1 จนถึง
    ใบงานสุดท้าย โดยให้คำชมเชยและรางวัลแก่กลุ่มที่ถูกต้องที่สุด



    หมายเหตุ การสอนแบบ Cooperative Learning ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Team
    Assisted Individualization (TAI) ไม่ควรเริ่มวิธีสอนแบบ Jigsaw






    .

    ตอบลบ